December 22, 2024

บทพิสูจน์แห่งองค์กรธุรกิจคู่คุณธรรม ไลอ้อนได้รับ 3 รางวัลแห่งความภาคภูมิใจล่าสุด ได้แก่ “ความคิดสร้างสรรค์และนวัตกรรมดีเด่น” “ผลิตภัณฑ์ดีเด่นแห่งปี” “ความดีตอบแทนคุณแผ่นดิน” จัดโดยโครงการหนึ่งล้านกล้าความดีตอบแทนคุณแผ่นดิน มูลนิธิเพื่อสังคมไทย เป็นโครงการที่ส่งเสริมให้คนไทยประกอบคุณงามความดีกับตัวเองครอบครัว เพื่อน ครูอาจารย์ โรงเรียน สถาบันการศึกษา องค์กร สังคม และประเทศชาติ เพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุดต่อส่วนรวม

บริษัท ไลอ้อน (ประเทศไทย) จำกัด ผู้ผลิตและจำหน่ายสินค้าอุปโภคบริโภคเพื่อคนไทย มุ่งมั่นดำเนินธุรกิจพัฒนาสินค้านวัตกรรมเพื่อสุขภาวะที่ดีของผู้บริโภค สังคม และสิ่งแวดล้อม ตลอดระยะเวลา 55 ปี  เปิดเผยว่า เป็นอีกความภาคภูมิใจของ ไลอ้อน ประเทศไทย กับการได้รับการพิจารณารับ 3 รางวัล จาก โครงการหนึ่งล้านกล้าความดีตอบแทนคุณแผ่นดิน มูลนิธิเพื่อสังคมไทย โดย พลอากาศเอก ชลิต พุกผาสุก องคมนตรี ประธานในพิธี ให้เกียรติมอบรางวัล พร้อมเผยผลงานโดดเด่นกับรางวัลต่าง ๆ ที่ได้รับในปี 2567

สำหรับ 3 รางวัล ที่ได้รับมีดังนี้ 1. รางวัล“Creative Thinking & Innovation of the year 2024” “ความคิดสร้างสรรค์และนวัตกรรมดีเด่นแห่งปี” ประจำปี 2567 สาขา นวัตกรรมกระบวนการผลิตที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม (Green Process) ซึ่งเป็นรางวัลผลิตภัณฑ์นวัตกรรมสารสกัดตรีผลาเข้มข้น สกัดด้วยวิธีจำเพาะสำหรับผลิตภัณฑ์ดูแลช่องปาก (Concentrated Triphala Extract, Processed Using a Specialized Method for Oral Care Applications) เป็นนวัตกรรมวิธีการสกัดตรีผลาให้มีฤทธิ์ต้านเชื้อแบคทีเรียก่อโรคในช่องปากที่ดี ทำงานร่วมกับฟลูออไรด์ได้อย่างมีประสิทธิภาพ ใช้สารสกัดจากธรรมชาติทดแทนสารสังเคราะห์ เพื่อตอบสนองความต้องการของผู้บริโภคที่ต้องการใช้ผลิตภัณฑ์ที่มาจากธรรมชาติมากขึ้น โดยนายชูชีพ อภิรักษ์ ผู้แทนรับรางวัล

2. รางวัล“Product of the year 2024” “ผลิตภัณฑ์ดีเด่นแห่งปี” ประจำปี 2567สาขาผลิตภัณฑ์ดูแลสุขภาพช่องปากและฟัน ผลิตภัณฑ์ยาสีฟัน ซอลส์ คิง เฮิร์บ [SALZ King Herb Toothpaste] ผลิตภัณฑ์ยาสีฟันสมุนไพรสูตรเข้มข้นที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม และส่งเสริมการใช้วัตถุดิบภายในประเทศ ใช้กรรมวิธีการผลิตด้วยการใช้สารสกัดพรีไบโอติกจาก “โมโรเฮยะ” ราชาแห่งผักและวิตามิน ที่ช่วยกระตุ้นการเจริญเติบโตของเชื้อจุลินทรีย์ที่ดีเพื่อควบคุมจุลินทรีย์ที่ก่อโรค รวมถึงการใช้บรรจุภัณฑ์ FSC ที่เป็นทรัพยากรหมุนเวียนไม่ทำลายป่าไม้โดยธรรมชาติ โดยนางสาวสรัลนุช แก้วเกียรติยศ ผู้แทนรับรางวัล

และ 3. รางวัล“Goodness Award 2024” รางวัล “ความดีตอบแทนคุณแผ่นดิน” ประจำปี 2567สาขา องค์กรที่ทำคุณประโยชน์ต่อสังคมและประเทศชาติ จากการดำเนินโครงการและกิจกรรมต่าง ๆ ที่เป็นประโยชน์ต่อการดูแลสุขภาพช่องปากและฟันให้กับประชาชน อาทิ โครงการ Kodomo School Roadshow โครงการทันตกรรมป้องกันส่งเสริมการดูแลสุขภาพช่องปาก โครงการบริหารช่องปากผู้สูงวัยด้วยหลักการ Kenkobi  และโครงการ “LION Smile Express” รถทันตกรรมเคลื่อนที่บริการฟรีเพื่อรอยยิ้มที่สดใสของคนไทย เพื่อให้ความรู้และส่งเสริมให้ประชาชนทุกช่วงวัยมีสุขภาพที่แข็งแรง เพราะสุขภาพช่องปากที่ดี จะนำไปสู่การมีสุขภาพร่างกายที่ดีโดยองค์รวม โดยนางสาวศศิธร โรจนศิรินทร์ ผู้แทนรับรางวัล

ตลอดระยะเวลาการดำเนินธุรกิจคู่คุณธรรม “ไลอ้อน” มีความมุ่งมั่นและให้ความสำคัญกับการพัฒนาสินค้านวัตกรรมเพื่อสุขภาวะที่ดีของผู้บริโภค รวมถึงโครงการเพื่อสังคมและสิ่งแวดล้อม  โดยในปี 2567 มีผลงานมากมายที่โดดเด่นและได้รับรางวัลอันทรงเกียรติ ไม่ว่าจะเป็น “รับประกาศนียบัตรรับรองการต่ออายุเป็นสมาชิกแนวร่วมต่อต้านคอร์รัปชันของภาคเอกชนไทย” “รางวัลโรงงานอุตสาหกรรมเชิงนิเวศ” (Eco Factory) จากสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย “รางวัล Golden Award จากเวที Thailand Kaizen Award 2024” พัฒนายกระดับประสิทธิภาพกระบวนการผลิตด้วยเทคนิค Kaizen "รับโล่เกียรติยศ Saint Francis of Assisi Award” ประจำปี 2567 จัดโดยคณะอนุกรรมาธิการด้านคุณธรรมและจริยธรรมในคณะกรรมาธิการการศาสนา คุณธรรม จริยธรรม ศิลปะและวัฒนธรรม วุฒิสภาร่วมกับการท่าเรือแห่งประเทศไทย และสมาคมคาทอลิกแห่งประเทศไทย"  และ “อย.ควอลิตี้ อวอร์ด 2567” คุณภาพ ปลอดภัย ใส่ใจสังคม จัดโดย สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา (อย.) กระทรวงสาธารณสุข

นับเป็นบทพิสูจน์แห่งความสำเร็จของการเป็นองค์กรคนดีของ ไลอ้อน ประเทศไทย ภายใต้วัฒนธรรมองค์กรในการยกย่องคนดี ส่งเสริมบุคลากรทุกระดับให้เป็นคนเก่ง เรียนรู้พัฒนาตลอดเวลา ยึดมั่นการดำเนินธุรกิจคู่คุณธรรมด้วยคำมั่นสัญญาเราจะนำความดีสู่สังคม และสร้างสุขภาวะที่ดีสู่ผู้บริโภค

มอบประสบการณ์ช้อปปิ้งและไลฟ์สไตล์เหนือระดับ เฉพาะลูกบ้าน “เดอะ ปาล์ม - เดอะปาล์ม เรสซิเดนเซส”

นายอนุทิน ชาญวีรกูล รองนายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย เป็นประธานงาน MEA มอบของขวัญปีใหม่ ถนนสวยไร้เสาสายจรัญสนิทวงศ์” พร้อมด้วย นายอรรษิษฐ์ สัมพันธรัตน์ ปลัดกระทรวงมหาดไทย นายขจร ศรีชวโนทัย รองปลัดกระทรวงมหาดไทย ในฐานะประธานกรรมการ MEA หรือการไฟฟ้านครหลวง นายเชษฐา โมสิกรัตน์ รองปลัดกระทรวงมหาดไทย รศ.ดร.วิศณุ ทรัพย์สมพล รองผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร ผู้อำนวยการส่วนสิทธิแห่งทาง คณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (สำนักงาน กสทช.) ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท โทรคมนาคมแห่งชาติ จำกัด (มหาชน) หรือ NT ร่วมด้วยผู้แทนจากสำนักงานตำรวจแห่งชาติ สำนักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตในภาครัฐ สำนักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ และคณะกรรมการ MEA โดยมี นายวิลาศ เฉลยสัตย์ ผู้ว่าการ MEA กล่าวรายงานผลความสำเร็จในโอกาสมอบของขวัญปีใหม่ 2568 ด้วยโครงการนำสายไฟฟ้าลงใต้ดินให้กับประชาชน ณ ลานแขกแพ Meeting Mall บางอ้อ สเตชัน ถนนจรัญสนิทวงศ์

 

รองนายกรัฐมนตรี นายอนุทิน ชาญวีรกูล เปิดเผยว่า โครงการเปลี่ยนระบบสายไฟฟ้าอากาศเป็นสายไฟฟ้าใต้ดิน เป็นหนึ่งในนโยบายสำคัญ 10 ด้านของกระทรวงมหาดไทย โดยมุ่งเน้นการอำนวยความสะดวก และดูแลความปลอดภัยให้กับประชาชน ซึ่งโครงการนี้ไม่เพียงช่วยเพิ่มความปลอดภัยต่อชีวิตและทรัพย์สินของประชาชนเท่านั้น แต่ยังช่วยปรับปรุงทัศนียภาพของเมืองให้สวยงามและเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมอีกด้วย สำหรับโครงการที่ดำเนินการในครั้งนี้ เป็นการเปลี่ยนระบบสายไฟฟ้าลงใต้ดิน ตามแนวเส้นทางรถไฟฟ้าสายสีน้ำเงิน บนถนนจรัญสนิทวงศ์ รวมระยะทางทั้งสิ้น 11.4 กิโลเมตร ซึ่งคาดว่าจะแล้วเสร็จภายในมิถุนายน 2568 นี้ โดยพื้นที่ที่ดำเนินการเสร็จล้วนเป็นพื้นที่สำคัญของเมือง ซึ่งจะช่วยยกระดับคุณภาพชีวิตและความสวยงามของภูมิทัศน์เมืองให้ดียิ่งขึ้น

 

สำหรับพื้นที่ถนนจรัญสนิทวงศ์ MEA ได้ดำเนินการรื้อถอนเสาไฟฟ้า พร้อมจัดระเบียบสายสื่อสารเพิ่มเติม ตั้งแต่ซอยจรัญสนิทวงศ์ 94/1 ถึงซอยจรัญสนิทวงศ์ 44 และช่วงแยกท่าพระถึงแยกไฟฉาย เพื่อรองรับความต้องการใช้ไฟฟ้าที่เพิ่มขึ้น และเสริมสร้างภูมิทัศน์ให้สวยงามยิ่งขึ้น โดยพื้นที่ดังกล่าวถือเป็นเขตเศรษฐกิจที่สำคัญ ความสำเร็จของโครงการนี้จะสร้างประโยชน์ให้กับประชาชนและประเทศโดยรวม ซึ่งเกิดจากความร่วมมือของหน่วยงานต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้อง และสามารถต่อยอดสู่การพัฒนาระบบสาธารณูปโภคอื่น ๆ เพื่อยกระดับคุณภาพชีวิตของประชาชนในอนาคต

 

ผู้ว่าการ MEA กล่าวเสริมถึงแผนงานภาพรวมโครงการเปลี่ยนระบบสายไฟฟ้าอากาศเป็นสายไฟฟ้าใต้ดินว่า ปัจจุบันมีแผนดำเนินการรวมทั้งสิ้น 313.5 กิโลเมตร โดยมีเป้าหมายแล้วเสร็จภายในปี 2572 ซึ่งในขณะนี้ได้ดำเนินการเสร็จสิ้นแล้ว 73.4 กิโลเมตร ครอบคลุมพื้นที่สำคัญหลายแห่ง ขณะที่อีก 240.1 กิโลเมตร อยู่ระหว่างดำเนินการ เช่น โครงการพระราม 3 โครงการรัชดาภิเษก และโครงการตามแนวรถไฟฟ้าสายสีต่าง ๆ โดยคาดว่าภายในสิ้นปี 2567 จะมีระยะทางที่ก่อสร้างแล้วเสร็จเพิ่มขึ้นอีก 16.6 กิโลเมตร ทำให้ระยะทางรวมของสายไฟฟ้าใต้ดินสะสมเป็น 90 กิโลเมตร

ในส่วนของแผนการนำสายสื่อสารลงใต้ดิน MEA และหน่วยงานภาคี ได้ดำเนินการไปแล้วรวม 32 เส้นทาง ระยะทางกว่า 68 กิโลเมตร ครอบคลุมถนนสายสำคัญ เช่น ถนนสุทธิสารวินิจฉัย ถนนอโศกมนตรี ถนนศรีอยุธยา ถนนพระราม 4 ถนนบรรทัดทอง และถนนจรัญสนิทวงศ์ นอกจากนี้ ยังมีการบูรณาการกับ หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง จัดระเบียบสายสื่อสารบนเสาไฟฟ้า จำนวน 183 เส้นทาง รวมระยะทางกว่า 570 กิโลเมตร เฉลี่ยดำเนินงานเดือนละ 45 กิโลเมตร และในปี 2568 ยังมีเป้าหมายจัดระเบียบสายสื่อสารบนเสาไฟฟ้ารวมระยะทาง 800 กิโลเมตร ซึ่งในส่วนนี้ MEA ได้สนับสนุนการติดตั้งคอนสายสื่อสาร เพื่อใช้สำหรับการยึดสายสื่อสารบนเสาไฟฟ้าให้มีความเป็นระเบียบเรียบร้อย

 

สำหรับพื้นที่ที่ยังไม่มีการดำเนินโครงการสายไฟฟ้า และสายสื่อสารใต้ดิน จะมีการจัดระเบียบสายสื่อสารบนเสาไฟฟ้า โดย MEA ช่วยสนับสนุนการติดตั้งอุปกรณ์คอนสายสื่อสารในพื้นที่กรุงเทพมหานคร นนทบุรี และสมุทรปราการ ตามแผนการจัดระเบียบ สายสื่อสารปี 2566 – 2567 ของ MEA และสำนักงาน กสทช. ที่มีระยะทางรวม 1,360 กิโลเมตร โดยความสำเร็จเหล่านี้จะเกิดขึ้นได้ด้วยความร่วมมือของทุกหน่วยงาน

อย่างไรก็ตาม MEA ยังได้ใช้เสาไฟฟ้าที่รื้อถอนมาดำเนินโครงการ MEA’s Model ในการปรับปรุงและพัฒนาแหล่งเรียนรู้ระบบนิเวศป่าชายเลน และทำแนวป้องกันการกัดเซาะชายฝั่ง ณ ป้อมพระจุลจอมเกล้า ฐานทัพเรือกรุงเทพ จ.สมุทรปราการ และชายฝั่งทะเลกรุงเทพฯ เขตบางขุนเทียน ช่วยเพิ่มการสะสมของตะกอนหลังแนวป้องกัน ส่งผลให้ต้นไม้ป่าชายเลน เช่น โกงกาง และพรรณไม้น้ำต่าง ๆ เติบโตหนาแน่นขึ้น อีกทั้งยังช่วยเพิ่มแหล่งที่อยู่อาศัยให้กับสัตว์น้ำ และนกหลากหลายชนิด

 

ทั้งนี้ การบูรณาการความร่วมมือระหว่างหน่วยงานเป็นปัจจัยสำคัญที่ทำให้โครงการสายไฟฟ้าใต้ดินประสบความสำเร็จ MEA ได้ร่วมวางแผนกับกรุงเทพมหานคร และสำนักงานตำรวจแห่งชาติ เพื่อลดความซ้ำซ้อนในการก่อสร้างและจำกัดผลกระทบด้านการจราจร โดยมุ่งดำเนินงานในช่วงวันหยุด พร้อมคงมาตรการความปลอดภัยตามมาตรฐานที่ MEA กำหนด นอกจากนี้ยังได้ประสานความร่วมมือกับ NT และ สำนักงาน กสทช. ในการนำสายสื่อสารลงใต้ดิน โดยร่วมกับผู้ประกอบการสายสื่อสารดำเนินภารกิจดังกล่าว เพื่อสร้างความมั่นคงให้กับระบบไฟฟ้าและระบบโทรคมนาคม ตลอดจนสร้างทัศนียภาพที่สวยงาม

กรุงไทย-แอกซ่า ประกันชีวิต นำโดยคุณบุปผาวดี โอวรารินท์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร ฝ่ายทรัพยากรบุคคลและภาพลักษณ์องค์กรและสื่อสารองค์กร (คนที่ 8 จากซ้าย) จับมือกับคลูฟาเรนไฮต์ พร้อมด้วยหม่อมหลวงภาสันต์ สวัสดิวัตน์ จัดแคมเปญ ”อิ๊งค์ Eat All Around” พาผู้โชคดีบินลัดฟ้าสู่เกาะฮ่องกงแบบเอ็กซ์คลูซีฟ กับทริปสุดฟิน 3 วันแบบจัดเต็ม ร่วมสัมผัสประสบการณ์อาหารระดับตำนานจากภัตตาคาร  ชื่อดัง และสนุกสนานไปกับการท่องเที่ยวที่เต็มไปด้วยเสน่ห์และวัฒนธรรม อาทิ วัดแชกุง วัดซีซ่าน วัดหมั่นโหม่  การล่องเรือลำปั้นชมวิวพระอาทิตย์ตกดิน พร้อมพาผู้โชคดีตะลุยแดนชอปปิ้งอย่าง  K11 Musea แลนด์มาร์คแห่งใหม่ล่าสุด ภายใต้คอนเซ็ปต์ Art Mall ที่ผสานรวมระหว่างห้างสรรพสินค้าและพิพิธภัณฑ์ไว้ในแห่งเดียว  

กิจกรรมดังกล่าวเป็นอีกหนึ่งกิจกรรมที่จัดขึ้นตามนโยบายของกรุงไทย-แอกซ่า ประกันชีวิต ที่มีลูกค้ามาเป็นที่หนึ่ง และพร้อมอยู่เคียงข้างทุกความเชื่อมั่น ดูแลกันตลอดไป สำหรับผู้ที่สนใจกิจกรรมลูกค้า หรือสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับบริการ และผลิตภัณฑ์ของบริษัทฯ ได้ที่ โทร 1159 ทุกวัน ตลอด 24 ชั่วโมง

ดร.อภิสิทธิ์ อนันตนาถรัตน กรรมการและประธานคณะผู้บริหาร บริษัท บีเคไอ โฮลดิ้งส์ จำกัด (มหาชน) หรือ BKIH เปิดเผยว่า นับเป็นความภาคภูมิใจอย่างต่อเนื่องที่บริษัทฯ ได้รับผลการประเมินอยู่ในรายชื่อหุ้นยั่งยืนของตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย (SET ESG Ratings) ติดต่อกันเป็นปีที่ 3 โดยเฉพาะอย่างยิ่งในปี 2567 ได้รับผลการประเมินในระดับ AAA ซึ่งเป็นระดับสูงสุดติดต่อกัน 2 ปี (ปี 2566 และปี 2567) อีกทั้งยังได้รับผลคะแนนรวมสูงกว่าค่าเฉลี่ยในกลุ่มอุตสาหกรรมธุรกิจการเงิน โดยการประเมินในภาพรวมการดำเนินงานของบริษัทฯ ตามกระบวนการขับเคลื่อนองค์กรสู่ความยั่งยืนในมิติสิ่งแวดล้อม สังคม และบรรษัทภิบาล (Environmental, Social and Governance หรือ ESG) รวมถึงมีคุณสมบัติของบริษัทจดทะเบียนตามที่ตลาดหลักทรัพย์ฯ กำหนด โดยผลการดำเนินงานด้าน ESG ของบีเคไอ โฮลดิ้งส์ ที่มีความโดดเด่นด้านการมุ่งมั่นพัฒนาธุรกิจให้เติบโตอย่างยั่งยืนและต่อเนื่อง ด้วยการบริหารงานตามหลักบรรษัทภิบาล ให้ความใส่ใจในการบริหารจัดการที่คำนึงถึงผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อม และมีความรับผิดชอบต่อชุมชนรอบข้าง สังคม ตลอดจนผู้มีส่วนได้เสียทุกกลุ่มเป็นอย่างดี รวมถึงมีแนวทางการดำเนินงานและการบริหารจัดการที่แสดงให้เห็นถึงขีดความสามารถทางการแข่งขันและการสร้างโอกาสทางธุรกิจที่ให้ความสำคัญกับการดูแลและรับผิดชอบต่อลูกค้า คู่ค้า พนักงาน และผู้มีส่วนได้เสียทุกกลุ่ม เพื่อให้บรรลุเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน

นายชูฉัตร  ประมูลผล เลขาธิการคณะกรรมการกำกับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย (เลขาธิการ คปภ.) เปิดเผยว่า ตามที่กรมบัญชีกลาง กระทรวงการคลัง จัดงานมอบรางวัลทุนหมุนเวียนดีเด่น ประจำปี 2567 ภายใต้ชื่องาน “ทุนหมุนเวียน สร้างโอกาสความเสมอภาค ทางเศรษฐกิจและสังคม” ซึ่งจัดขึ้นต่อเนื่องเป็นปีที่ 16 โดยได้รับเกียรติจากนายพิชัย ชุณหวชิร รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง เป็นประธานเปิดงานและมอบรางวัลดังกล่าว เมื่อวันที่ 16 ธันวาคม 2567 ณ ห้องแซฟไฟร์ 204 - 205 อิมแพ็คฟอรั่ม เมืองทองธานี โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อเป็นส่วนหนึ่งในการสร้างแรงจูงใจให้ทุนหมุนเวียนพัฒนาศักยภาพการบริหารจัดการให้เกิดประสิทธิภาพ สามารถสนับสนุนการปฏิบัติภารกิจของหน่วยงานของรัฐในการสร้างความเสมอภาคทางสังคม และการสร้างโอกาสให้กับประชาชน ตลอดจนเพื่อเป็นการส่งเสริมให้เกิดการแข่งขันระหว่างทุนหมุนเวียนในการยกระดับคุณภาพการบริหารจัดการในภาพรวม และตอบสนองความคาดหวังของผู้มีส่วนได้ส่วนเสียในทุกภาคส่วน เกิดการกระตุ้นเศรษฐกิจ รวมถึงการพัฒนาสังคมและคุณภาพชีวิตของประชาชน

สำหรับการมอบรางวัลการประเมินทุนหมุนเวียนดีเด่นในปีนี้แบ่งออกเป็น 5 ประเภทรางวัล ประกอบด้วย 1. รางวัลผลการดำเนินงานดีเด่น 2. รางวัลประสิทธิภาพด้านการบริหารจัดการดีเด่น 3. รางวัลการพัฒนาดีเด่น 4. รางวัลเกียรติยศ และ 5. รางวัลผู้บริหารทุนหมุนเวียนดีเด่น โดยมีทุนหมุนเวียนที่เข้ารับการประเมินผลการดำเนินงานจากกรมบัญชีกลาง จำนวน 98 ทุนหมุนเวียน และมีทุนหมุนเวียนที่ได้รับรางวัลในครั้งนี้จำนวน 9 รางวัล จาก 6 ทุนหมุนเวียน

       

โดยกองทุนทดแทนผู้ประสบภัย สำนักงานคณะกรรมการกำกับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย (สำนักงาน คปภ.) ได้เข้าสู่ระบบการประเมินผลการดำเนินงานของทุนหมุนเวียน ของกรมบัญชีกลางตั้งแต่ 2558 -2567โดยในปี 2564 กองทุนทดแทนผู้ประสบภัย ได้รับการคัดเลือกให้ได้รับรางวัลประสิทธิภาพด้านการบริหารจัดการดีเด่น ประจำปี 2564 ด้วยคะแนนการประเมินภาพรวม 4.3414 คะแนน ดังนั้นกองทุนทดแทนผู้ประสบภัยจึงได้นำผลและข้อเสนอแนะที่ได้รับจากการประเมินมาปรับปรุงการดำเนินงานของกองทุนทดแทนผู้ประสบภัยอย่างต่อเนื่องทำให้ผลการดำเนินงานประจำปี 2566 ของกองทุนทดแทนผู้ประสบภัย สำนักงาน คปภ. ได้รับคะแนนการประเมินภาพรวม 4.5888 คะแนน และเป็นคะแนนการประเมินสูงสุดที่กองทุนทดแทนผู้ประสบภัยเคยได้รับการประเมินจากกรมบัญชีกลาง จึงได้รับรางวัลประสิทธิภาพด้านการบริหารจัดการดีเด่น ประจำปี 2567

“กองทุนทดแทนผู้ประสบภัย มีความภาคภูมิใจที่ได้รับรางวัลประสิทธิภาพด้านการบริหารจัดการดีเด่น ประจำปี 2567 อันเป็นผลจากความมุ่งมั่นในการยกระดับการให้บริการและเยียวยาผู้ประสบภัยจากรถอย่างรวดเร็ว ด้วยการนำเทคโนโลยีและหลักธรรมาภิบาลมาใช้ในการบริหารจัดการ เพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุดต่อผู้ประสบภัยจากรถ และยังคงมุ่งมั่นสร้างมาตรฐานในการคุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถให้เป็นเลิศอย่างยั่งยืนต่อไป” เลขาธิการ คปภ. กล่าวในตอนท้าย

องค์กรพิทักษ์สัตว์แห่งโลก (World Animal Protection) ขอแสดงความกังวลต่อผลการประชุม COP29 (หรือการประชุมรัฐภาคีกรอบอนุสัญญาสหประชาชาติว่าด้วยการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ สมัยที่ 29) ที่จัดขึ้นเมื่อเดือนพฤศจิกายนที่ผ่านมา หลังตัวแทนจากทุกประเทศได้ร่วมตกลง “เป้าหมายทางการเงินใหม่” (New Collective Quantified Goal on Climate Finance: NCQG) โดยมุ่งจัดสรรงบประมาณในการจัดการปัญหาการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ แต่ตัวเลขเงินสนับสนุนที่ตั้งไว้กลับต่ำเกินกว่าที่จะใช้รับมือกับวิกฤตสภาพภูมิอากาศที่ทวีความรุนแรงอย่างต่อเนื่อง

แม้จะเป็นเรื่องดีที่กลุ่มประเทศพัฒนาแล้วและกลุ่มทุนข้ามชาติ ได้ให้คำสัญญาว่าจะสนับสนุนเงิน จำนวน 3 แสนล้านดอลลาร์สหรัฐ แต่ตัวเลขนี้ดูห่างไกลจาก 1.3 ล้านล้านดอลลาร์สหรัฐ ที่นักเศรษฐศาสตร์คาดการณ์ว่าจำเป็นต่อการบรรเทาผลกระทบที่รุนแรงของการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ เพื่อปกป้องชุมชนที่เปราะบาง สัตว์ป่า และหยุดยั้งความทุกข์ทรมานของสัตว์ที่อยู่ในระบบอุตสาหกรรมอาหาร

เคลลี่ เดนต์ ผู้อำนวยการฝ่ายเครือข่ายความร่วมมือ องค์กรพิทักษ์สัตว์แห่งโลก ซึ่งเข้าร่วมการประชุม COP29 กล่าวว่า "COP29 จะถูกจดจำว่าเป็น ‘การเลี่ยงจากความรับผิดชอบทางการเงินครั้งใหญ่’ หลังการเจรจาอย่างดุเดือดตลอดสองสัปดาห์ บรรยากาศเต็มไปด้วยความพยายามที่จะประวิงเวลา และลดทอนความตั้งใจจริงของการแก้ไขปัญหา ในที่สุดประเทศที่ร่ำรวยได้เลี่ยงความรับผิดชอบอีกครั้ง โดยเสนองบประมาณเพียงเล็กน้อย ในขณะที่โลกกำลังลุกเป็นไฟ พลเมืองโลกและสัตว์นับล้านกำลังทนทุกข์"

"นี่ไม่ใช่แค่เรื่องการรักษาเป้าหมายเพื่อจำกัดอุณหภูมิโลกให้สูงขึ้นไม่เกิน 1.5 องศา แต่ยังเป็นเรื่องของความยุติธรรมต่อผู้ผลิตอาหารเพื่อหล่อเลี้ยงประชากรโลก แต่พวกเขากลับถูกทอดทิ้งให้แบกรับกับผลกระทบตามลำพัง นอกจากนี้ยังเป็นเรื่องของระบบนิเวศที่ใกล้ล่มสลาย และสัตว์นับพันล้านที่ต้องทนทุกข์ในระบบอุตสาหกรรมอาหารที่ขับเคลื่อนด้วยกำไร และทำลายสภาพภูมิอากาศไปพร้อมๆ กัน"

"แทนที่จะร่วมกันแก้ไขปัญหาอย่างจริงจัง แต่เรากลับได้เพียงการแสดงเชิงสัญลักษณ์ที่แสร้งทำว่าเป็นทางออก ในขณะที่วิกฤตความหลากหลายทางชีวภาพทวีความรุนแรงขึ้น ที่อยู่อาศัยถูกทำลาย สัตว์จำนวนมากต้องทุกข์ทรมาน และชุมชนทั้งหมดถูกทิ้งไว้ให้เผชิญกับผลกระทบที่รุนแรงขึ้นของการเปลี่ยนแปลงสภาพอากาศ"

ความล้มเหลวของการจัดการแก้ปัญหาที่ต้นตอ – การเกษตรเชิงอุตสาหกรรม

การปล่อยก๊าซเรือนกระจกจากระบบการผลิตอาหารโลกยังคงเป็นปัจจัยหลักที่ก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ แต่ COP29 กลับไม่ให้ความสำคัญกับการจัดการปัญหาในส่วนนี้ เกษตรเชิงอุตสาหกรรม—โดยเฉพาะฟาร์มสัตว์อุตสาหกรรม—เป็นต้นตอของการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ ปล่อยก๊าซเรือนกระจก ทำลายที่อยู่อาศัย ส่งผลต่อความมั่นคงทางอาหาร และทำให้สัตว์ฟาร์มได้รับความทุกข์ทรมาน

เคลลี่ เดนต์ เน้นย้ำถึงความจำเป็นเร่งด่วนเพื่อสร้างการเปลี่ยนแปลงอย่างจริงจังว่า "เราไม่สามารถสนับสนุนระบบที่ทำลายสภาพภูมิอากาศ ส่งผลต่อความหลากหลายทางชีวภาพ และความทุกข์ยากของประชากรโลกได้อีกต่อไป เพราะฉะนั้นแนวทางด้านการเกษตรที่ยั่งยืน มีมนุษยธรรม และเท่าเทียมต้องเข้ามาแทนที่เกษตรเชิงอุตสาหกรรม ทางออกนี้ไม่เพียงช่วยแก้ปัญหาวิกฤตสภาพภูมิอากาศ แต่ยังช่วยยุติความทุกข์ทรมานของสัตว์นับพันล้านตัวที่อยู่ในฟาร์มอุตสาหกรรมขนาดใหญ่"

‘บรรษัทเกษตร’ เข้าครอบงำการเจรจาเรื่องสภาพภูมิอากาศ

แม้ว่าแนวคิด Harmoniya Climate (โครงการที่มีเป้าหมายเพื่อเสริมสร้างศักยภาพให้กับเกษตรกรและชุมชนชนบท โดยส่งเสริมระบบการเกษตรที่ยืดหยุ่นต่อสภาพภูมิอากาศ) ที่เปิดตัวใน COP29 จะดูเป็นแนวคิดที่ดี แต่ในทางปฏิบัติ อาจได้รับอิทธิพลจากกลุ่มธุรกิจการเกษตร

"เสียงจากผู้ผลิตรายย่อย—หรือกลุ่มคนที่มีส่วนสำคัญต่อระบบอาหารที่ยั่งยืน—เวลานี้ ถูกกลบด้วยบรรดาล็อบบี้ยิสต์ของระบบอุตสาหกรรมที่ปกป้องผลกำไรเหนือผลกระทบต่อโลกและสิ่งแวดล้อม UNFCCC ต้องดำเนินการอย่างเด็ดขาด เพื่อลดอิทธิพลของกลุ่มธุรกิจการเกษตร หากต้องการกู้ความน่าเชื่อถือก่อนการประชุมครั้งถัดไปของ COP30 ที่เมืองเบเล็ง ประเทศบราซิล" เคลลี่ เดนต์ กล่าวถึงบทบาทของล็อบบี้ยิสต์ในอุตสาหกรรมนี้

ผลกระทบต่อประเทศไทยและก้าวสำคัญต่อการปฏิรูประบบอาหาร

ประเทศไทยถูกจัดเป็นประเทศที่มีความเสี่ยงด้านภูมิอากาศโลกสูงถึงอันดับ 9 จากกว่า 180 ประเทศทั่วโลก ดังนั้นเราจึงอยากเรียกร้องให้ภาครัฐของไทยให้ความสำคัญกับการปล่อยก๊าซเรือนกระจกในภาคอุตสาหกรรมการเกษตร  โดยเฉพาะอย่างยิ่งการเลี้ยงสัตว์แบบอุตสาหกรรม

ผลกระทบจากการขยายตัวของฟาร์มสัตว์อุตสาหกรรมเกิดขึ้นแล้วในประเทศไทย ปรากฏการณ์น้ำท่วมฉับพลันที่เกิดขึ้นในภาคเหนือ และปัญหาหมอกควัน PM2.5 ที่เพิ่มสูงขึ้นในหน้าแล้ง และทวีความรุนแรงขึ้นทุกปี ล้วนมีสาเหตุสำคัญมาจากธุรกิจอาหารสัตว์ที่ขยายตัวในประเทศและภูมิภาคนี้ ส่งผลต่อการสูญเสียพื้นที่ป่า ความหลากหลายทางชีวภาพ และส่งผลให้ภัยพิบัติที่เกิดถี่และรุนแรงเพิ่มมากขึ้น

โชคดี สมิทธิ์กิตติผล ผู้จัดการแคมเปญระบบอาหาร องค์กรพิทักษ์สัตว์แห่งโลก (ประเทศไทย) กล่าวว่า“ไทยจะไม่สามารถเป็นครัวของโลกได้ และอาจไม่สามารถเป็นครัวให้กับคนไทยเองได้ด้วยซ้ำ หากเราปล่อยให้ระบบอาหารที่พึ่งพิงความเป็นอุตสาหกรรมขยายตัวต่อไปเช่นนี้ ผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศจะส่งผลกระทบอย่างรุนแรงต่อภาคการเกษตรของเรา มีรายงานและหลักฐานต่างๆที่เกิดขึ้นเป็นจำนวนมาก ที่พิสูจน์ให้เราเห็นชัดแล้วว่า เราจำเป็นต้องเริ่มปรับเปลี่ยนระบบอาหารโดยด่วน”

องค์กรพิทักษ์สัตว์โลกจะยังคงผลักดันการเปลี่ยนผ่านที่เป็นธรรมไป สู่ระบบอาหารที่ให้ความสำคัญกับความเป็นอยู่ของคน ปกป้องสัตว์ และสร้างอนาคตที่ยั่งยืนสำหรับทุกชีวิตบนโลก

นายพิชัย ชุณหวชิร รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง พร้อมด้วย นางสาวศิริพร เลิศสัตยสุกใส รองผู้อำนวยการธนาคารออมสิน กลุ่มลูกค้าบุคคล และนายสันติ วิริยะรังสฤษฎ์ ประธานจัดงานมหกรรมการเงิน MONEY EXPO ร่วมเปิดบูธธนาคารออมสิน ภายใต้แนวคิด “Providing value TOWARDS a sustainable FUTURE : มอบคุณค่า สู่การส่งต่ออนาคตที่ยั่งยืน” ภายในงานมหกรรมการเงินกรุงเทพส่งท้ายปี ครั้งที่ 7 MONEY EXPO 2024 BANGKOK YEAR-END จัดขึ้นระหว่างวันที่ 19 - 22 ธันวาคม 2567

 

โดยมี นางสาวภาคนี วิริยะรังสฤษฎ์ ประธานจัดงานร่วมมหกรรมการเงิน MONEY EXPO ร่วมด้วย โดยธนาคารออมสินได้นำเสนอโปรโมชันพิเศษ ทั้งผลิตภัณฑ์เงินฝากส่งเสริมการออม และสินเชื่อ อาทิ เงินฝากเผื่อเรียกพิเศษ 111 วัน ดอกเบี้ยแบบ Step up สูงสุด 21% ต่อปี หรือเทียบเท่าเงินฝากประจำ 4.70% ต่อปี จองสิทธิ์ภายในงานนี้เท่านั้น จำนวนจำกัด วันละ 200 สิทธิ์ และ 1 คนต่อ 1 สิทธิ์ นอกจากนี้ ยังมีสลากออมสินพิเศษ 1 ปี สินเชื่อเคหะ สินเชื่อธุรกิจ และครั้งแรกกับการเปิดตัวในงานนี้กับสินเชื่อบุคคลผ่านแอปพลิเคชัน GOOD MONEY - เงินดีดีเพื่อคนไทย แพลตฟอร์มสินเชื่อเพื่อความเท่าเทียมในสังคม โดยบริษัท เงินดีดี จำกัด อีกหนึ่งพันธมิตรของธนาคาร ณ ศูนย์การประชุมแห่งชาติสิริกิติ์ เมื่อวันที่ 19 ธันวาคม 2567a

กลุ่มบีเจซี บิ๊กซี นำโดย นางฐาปณี เตชะเจริญวิกุล ประธานเจ้าหน้าที่บริหารและกรรมการผู้จัดการใหญ่ ส่งมอบ ถุงผ้า จำนวน ๒,๐๐๐ ใบ ภายใต้โครงการ “ถุงผ้าใส่ยาให้ผู้ป่วยกลับบ้าน” ซึ่งได้จากการร่วมเพ้นท์ถุงผ้าของผู้บริหาร พนักงาน และประชาชนจิตอาสา โดยมี รศ.นพ.ฉันชาย สิทธิพันธุ์ ผู้อำนวยการโรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ และคณบดีคณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เป็นผู้รับมอบ โดยจะส่งต่อให้กับผู้ป่วยและผู้ใช้บริการในโรงพยาบาล ฯ เพื่อรณรงค์และส่งเสริมให้ทุกภาคส่วนตระหนักถึงสิ่งแวดล้อม และเปลี่ยนมาใช้ถุงผ้าแทนถุงพลาสติก ซึ่งเป็นหนึ่งในสาเหตุที่ก่อให้เกิดภาวะโลกร้อน โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ ทั้งนี้ โครงการดังกล่าวเป็น ๑ ใน ๗๒ โครงการของกลุ่มบีเจซี บิ๊กซี เพื่อเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เนื่องในโอกาสพระราชพิธีมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา ๖ รอบ วันที่ ๒๘ กรกฎาคม ๒๕๖๗

เพื่อเป็นสื่อกลางและประชาสัมพันธ์ให้ประชาชน ในกรณีบริษัทประกันวินาศภัยถูกเพิกถอนใบอนุญาต ประจำปี 2567

Page 1 of 781
X

Right Click

No right click