บริษัท หัวเว่ย ประเทศไทย (เทคโนโลยี่) ประเทศไทย จำกัด ในฐานะผู้ให้บริการชั้นนำด้านไอซีทีและการเปลี่ยนผ่านสู่ยุคดิจิทัล ประกาศจุดยืนเพื่อส่งเสริมความเท่าเทียมทางด้านดิจิทัล พร้อมเสริมสร้างศักยภาพของผู้หญิงในยุคดิจิทัล ผ่านทางการจัดกิจกรรมฝึกอบรม งานสัมมนา และการถ่ายทอดทักษะความรู้ด้านดิจิทัลอย่างต่อเนื่อง
จากรายงานของสหภาพโทรคมนาคมระหว่างประเทศ (ITU) พบว่าปัจจุบัน มีจำนวนผู้หญิงที่ใช้อินเทอร์เน็ตทั่วโลกมีสัดส่วนอยู่ที่ 57 เปอร์เซ็นต์ เมื่อเทียบกับจำนวนผู้ชายซึ่งอยู่ที่ 62 เปอร์เซ็นต์ ซึ่งหากผู้หญิงไม่สามารถเข้าถึงอินเทอร์เน็ตหรือรู้สึกไม่ปลอดภัยบนโลกออนไลน์ จะทำให้ไม่สามารถพัฒนาทักษะด้านดิจิทัล และเข้าร่วมกิจกรรมในพื้นที่ดิจิทัลได้อย่างเต็มศักยภาพ ส่งผลให้โอกาสการเติบโตในสายอาชีพด้าน STEM (วิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี วิศวกรรมศาสตร์ และคณิตศาสตร์) ลดน้อยลงตามไปด้วย
ในประเทศไทย กิจกรรม Girls in ICT Day จัดขึ้นโดยมีจุดมุ่งหมายเพื่อจุดประกายให้เหล่าเยาวชนหญิง ที่สนใจศึกษาต่อในสาขา STEM ควบคู่ไปกับการยกระดับทักษะด้านดิจิทัล และสร้างความตระหนักในการใช้เทคโนโลยีไอซีทีอย่างรู้เท่าทันและปลอดภัย กิจกรรมประกอบไปด้วยหลักสูตรฝึกอมรมที่หลากหลาย ซึ่งจัดขึ้นโดยสำนักงานคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (สำนักงาน กสทช.) ร่วมกับ กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม และสำนักงานภูมิภาคเอเชียและแปซิฟิกของ ITU โดยมีหัวเว่ยเป็นพันธมิตรหลักในการจัดกิจกรรมและโครงการฝึกอบรม เพื่อลดและปิดช่องว่างด้านดิจิทัลใน 3 ด้านหลัก
นายวรกาน ลิขิตเดชาศักดิ์ เจ้าหน้าที่บริหารฝ่ายเทคโนโลยีเครือข่ายโทรคมนาคม บริษัท หัวเว่ย (เทคโนโลยี่) ประเทศไทย จำกัด ได้อธิบายเพิ่มเติมถึงประเด็นนี้ว่า “ด้านที่ 1 คือการปิดช่องว่างด้านทักษะและความรู้ โดยหัวเว่ย เชื่อว่าความรู้คือพื้นฐานขั้นแรกของการขจัดประเด็นความไม่เท่าเทียมทางเพศในโลกดิจิทัล ดังนั้น หัวเว่ยจึงจัดหลักสูตรฝึกอบรมด้านไอซีทีในหลากรูปแบบและหลายหัวข้อ ไม่ว่าจะเป็นหัวข้อด้านการพัฒนาโครงข่าย 5G การพัฒนาระบบคลาวด์ การลงมือปฏิบัติ รวมไปถึงการเยี่ยมชมศูนย์นวัตกรรมและนิทรรศการต่างๆ นอกจากนี้ เพื่อเป็นการจุดประกายให้ผู้หญิงหันมาสนใจอาชีพในสาย STEM กันมากขึ้น หัวเว่ยยังจัดงานสัมมนาด้านอาชีพให้นักศึกษาที่สนใจได้พบปะพูดคุยกับผู้เชี่ยวชาญด้านไอซีทีในสาขาต่างๆ โดยตรง พร้อมทั้งมอบโอกาสในการฝึกงานสำหรับนักศึกษาที่ผ่านคุณสมบัติตามที่กำหนด”
สำหรับด้านที่ 2 คือ “การปิดช่องว่างด้านระบบโครงสร้างพื้นฐานและการเชื่อมต่อ” ในฐานะบริษัทผู้ให้บริการเทคโนโลยีสารสนเทศ ระบบโครงสร้างพื้นฐานด้านไอซีทีคือสิ่งจำเป็นที่จะช่วยให้ทุกคนสามารถเข้าถึงอินเทอร์เน็ตได้อย่างเท่าเทียม ด้วยเหตุนี้ หัวเว่ยจึงเดินหน้าทำงานร่วมกับพันธมิตรภาคส่วนต่างๆ ในการปรับปรุงโครงข่ายอินเทอร์เน็ตให้เข้าถึงครัวเรือนได้มากขึ้น โดยหัวเว่ยได้พัฒนาแนวคิดหมู่บ้าน Giga-village โดยใช้ประโยชน์จากโครงข่ายไฟเบอร์และสัญญาณ 5G ในการเข้าถึงครัวเรือนตามพื้นที่ห่างไกลด้วยเทคโนโลยี FWA นอกจากนี้ เมื่อปี พ.ศ. 2563 ที่ผ่านมา หัวเว่ย ยังได้ร่วมกับสำนักงาน กสทช. และ ITU เพื่อจัดทำเอกสารสมุดปกขาว “Giga Thailand” ภายใต้หัวข้อ “ระบบโครงสร้างพื้นฐานด้านดิจิทัลที่เป็นประโยชน์สำหรับทุกคน” (Digital Infrastructure Benefits Everyone) ทั้งนี้ หัวเว่ยจะยังคงเดินหน้าสานต่อตามแนวทางดังกล่าวควบคู่ไปกับแนวปฏิบัติ Connect 2030 ของ ITU
ด้านสุดท้ายคือ “การปิดช่องว่างด้านแอปพลิเคชัน” การเชื่อมต่อทางอินเทอร์เน็ตจะไม่สามารถเพิ่มคุณค่าใดๆ ให้กับผู้คนได้หากขาดแอปพลิเคชันที่ดี ดังนั้น หัวเว่ยจึงเดินหน้าพัฒนาโซลูชันด้านการศึกษาทางไกลและการแพทย์ทางไกลด้วย 5G ภายใต้โครงการ USO เพื่อให้เด็กๆ ในพื้นที่ห่างไกลสามารถเข้าถึงการบริการดังกล่าวได้ทุกที่ทุกเวลา ด้วยการเชื่อมต่อทางดิจิทัลที่ดียิ่งขึ้น ซึ่งหัวเว่ยจะเชิญนักเรียนนักศึกษาหญิงในโครงการ “Girls in ICT 2023” มาสัมผัสประสบการณ์จริงด้วยตัวเองอีกด้วย
หัวเว่ย มุ่งมั่นที่จะสร้างแรงบันดาลใจให้เยาวชนและสตรีได้เห็นถึงประโยชน์ของเทคโนโลยีไอซีที และสามารถนำไปต่อยอดทางด้านอาชีพในอนาคตได้ ทั้งนี้ ในยุคดิจิทัล มุมมองและความมีส่วนร่วมของผู้หญิงจะสร้างความหลากหลาย และเป็นกุญแจไปสู่การพัฒนาที่ยั่งยืน ความเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจ และเสรีภาพและความมั่นคงอีกด้วย
เมื่อปี พ.ศ. 2565 ที่ผ่านมา หัวเว่ยจึงได้ประกาศความร่วมมือกับ ITU เพื่อจัดกิจกรรม “เดินหน้าเข้าสู่อุตสาหกรรมไอซีที (Walk into ICT Industry)” เพื่อส่งเสริมทักษะและพัฒนาความรู้ด้านเทคโนโลยีให้กับเยาวชนคนรุ่นใหม่ โดยตัวแทนนักศึกษากว่า 20 คนจากทั่วประเทศ ได้รับเชิญให้เข้าเยี่ยมชมศูนย์นวัตกรรมและการเรียนรู้ (Customer Solution Innovation & Integration Experience Center หรือ CSIC ของหัวเว่ยในจังหวัดกรุงเทพฯ และเข้ารับการฝึกอบรมทักษะดิจิทัลโดยทีมงานจาก Huawei ASEN Academy
นอกจากนี้ หัวเว่ย ประเทศไทย ยังได้จับมือร่วมกับสำนักงานคณะกรรมการการรักษาความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์แห่งชาติ (สกมช.) จัดการแข่งขันด้านความมั่นคงปลอดภัยสำหรับผู้หญิงครั้งแรกของประเทศไทย งานแข่งขัน ‘Women: Thailand Cyber Top Talent 2022’ ชิงเงินรางวัลรวมมูลค่ากว่า 200,000 บาท ไม่เพียงจัดขึ้นเพื่อสร้างความตระหนักรู้ด้านความปลอดภัยทางไซเบอร์ แต่ยังเป็นการส่งเสริมศักยภาพผู้หญิง และเพาะบ่มผู้เชี่ยวชาญด้านความปลอดภัยทางไซเบอร์ให้กับอุตสาหกรรมไอซีทีของประเทศไทยอีกด้วย
ตามพันธกิจ “เติบโตไปพร้อมกับประเทศไทย ร่วมสนับสนุนประเทศไทย” (Grow in Thailand, Contribute to Thailand) หัวเว่ยพร้อมขับเคลื่อนประเทศไทยไปสู่ยุคอัจฉริยะที่ทุกคนเชื่อมต่อกันอย่างสมบูรณ์