January 25, 2025

ลอรีอัล ฉลองครบรอบ 10 ปี ลอรีอัล ซิติเซ่น เดย์ (L’Oréal Citizen Day) ในประเทศไทย พร้อมส่งเสริมให้พนักงานในองค์กรมีจิตสาธารณะ ทำกิจกรรมที่เป็นประโยชน์คืนสู่สังคม และสิ่งแวดล้อมอย่างต่อเนื่อง สำหรับ บริษัท ลอรีอัล (ประเทศไทย) จำกัด ที่ล่าสุด ชวนนักแสดงหนุ่มชื่อดัง อาเล็ก-ธีรเดช เมธาวรายุทธ กิจการเพื่อสังคม GEPP และพนักงานกว่า 420 ชีวิต

 

เอไอเอส เดินหน้าผลักดันการสร้างสังคม Digital อย่างยั่งยืน ผ่านแนวคิด “ถ้าเราทุกคน คือเครือข่าย” ประกาศภารกิจยิ่งใหญ่ “อุ่นใจไซเบอร์” สำหรับเยาวชน

  • การยกระดับมาตรฐานความรู้เท่าทัน Digital ด้วย DQ (Digital Quotient)
  • การพัฒนาระบบคัดกรอง Online Content ที่ไม่เหมาะสม ด้วยระบบ AIS Secure Net (Beta Phase)” และ Google Family Link” ที่เกิดจากความร่วมมือกับ Google

โครงการ “อุ่นใจไซเบอร์” มีเป้าหมายในการสร้างภูมิคุ้มกัน รณรงค์ ปลูกจิตสำนึก และสร้างเครื่องมือคัดกรอง Content ที่ไม่เหมาะสมจากโลก Digital โดยเน้นใน 2 ด้าน คือ มุ่งส่งเสริมการเรียนรู้และสร้างทักษะทาง Digital (Educator) เพื่อให้เกิดการตระหนักรู้ ควบคู่ไปกับการพัฒนาทักษะเพื่อให้ใช้ดิจิทัลอย่างรู้เท่าทัน  และ ป้องกัน (Protector) ความเสี่ยงจากการใช้งานอินเทอร์เน็ตผ่าน Digital Solutions

  1. การยกระดับมาตรฐานความรู้เท่าทัน Digital ด้วย DQ (Digital Quotient)

เอไอเอส โดยบทบาทการเป็นผู้ส่งเสริมการเรียนรู้ทักษะทางดิจิทัล (Digital Educator) เป็นรายแรกและรายเดียวในไทยที่ได้นำเข้า DQ ชุดการเรียนรู้ 360 องศา เพื่อพัฒนาทักษะและความฉลาดทางดิจิทัล DQ (Digital Quotient) ครบทั้ง 8 ทักษะ ให้กับเด็กๆ สร้างภูมิคุ้มกันในการก้าวเข้าสู่โลกออนไลน์อย่างมีไหวพริบ รู้จักวางตัวอย่างเหมาะสมกับคนแปลกหน้า และใช้มือถือ
แท็บเล็ต อย่างฉลาด ไม่ส่งผลกระทบต่อสุขภาพ ซึ่งชุดการเรียนรู้นี้ได้รับการยอมรับและมีการนำไปฝึกทักษะให้กับเด็กๆ มากกว่า 110 ประเทศทั่วโลก แปลถึง 21 ภาษา จาก 100 พาร์ทเนอร์ ขณะนี้
ได้เริ่มขยายผลการสร้างทักษะความฉลาดทางดิจิทัล DQ (Digital Quotation)  ไปสู่ภาคการศึกษาทั่วประเทศ รวมถึงเปิด Portal ศูนย์กลางการเรียนรู้สำหรับคนไทยทุกคน ที่โรงเรียน หรือ สถาบันที่ทำงานเพื่อพัฒนาเยาวชนต่างๆ สามารถเข้ามาใช้งานได้แล้ววันนี้ที่ www.ais.co.th/dq

  1. การพัฒนาระบบคัดกรอง Online Content ที่ไม่เหมาะสม

เอไอเอส โดยบทบาทการเป็นผู้ให้บริการและพัฒนาเครือข่ายที่ป้องกันความเสี่ยง (network protector) จาก Content ที่ไม่เหมาะสม

  • เปิดตัว AIS Secure Net (Beta) ที่จะช่วยป้องกันและคัดกรองเนื้อหาบนโลกออนไลน์ ไม่ว่าจะเป็นเว็บ, ข้อความ รูปภาพ หรือวิดีโอที่ไม่เหมาะสม จากบุตรหลาน ในช่วงแรกนี้ เอไอเอสจะเปิดให้ลูกค้าได้ทดลองใช้บริการเป็น Beta Phase เชิญชวนลูกค้าเอไอเอสที่สนใจอยกใช้บริการ เข้ามาลงทะเบียนผ่านหน้าเว็บไซต์ เพื่อร่วมเป็น Pioneer ในการทดลองใช้บริการก่อนใคร จำนวน 10,000 คนแรก  สามารถเข้ามาลงทะเบียนได้ตั้งแต่วันที่ 25 มิถุนายน 2562  และลูกค้ากลุ่มนี้ ก็จะได้ทดลองใช้บริการ AIS Secure Net ได้ตั้งแต่วันที่ 4 กรกฎาคม 2562 เป็นต้นไป
  • ร่วมมือกับ Google ในการนำบริการ Parental Control ผ่านแอปพลิเคชัน Google Family Link มาขยายผลสู่กลุ่มผู้ปกครองคนไทย (ใช้ได้ทุกเครือข่าย) ที่จะสามารถให้คำแนะนำ
    ดูแลการใช้งานโทรศัพท์ รวมถึงดูแลความปลอดภัยจากพิกัดปัจจุบันของบุตรหลานได้ง่ายๆ โดยเอไอเอส มอบอินเทอร์เน็ต on-top สำหรับการใช้งานให้ลูกค้าเอไอเอสสามารถดูแลบุตรหลานของท่านได้อย่างสบายใจ

นายสมชัย เลิศสุทธิวงค์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร เอไอเอส กล่าวว่า “ในฐานะ Digital Life Service Provider ที่มุ่งมั่นพัฒนา Digital Infrastructure เพื่อประเทศ นอกเหนือจากการทำหน้าที่พัฒนาบริการเพื่อตอบโจทย์ลูกค้าอย่างดีที่สุดแล้ว เรายังให้ความสำคัญกับการร่วมสร้างการเติบโตและพัฒนาสังคม สิ่งแวดล้อมอย่างสมดุลและยั่งยืน เพื่อทำให้ทุกภาคส่วน (Stakeholder) เติบโตได้อย่างแข็งแกร่ง

การมาถึงของเทคโนโลยี Digital ก่อให้เกิดผลกระทบและการเปลี่ยนแปลง ตั้งแต่วิถีการดำเนินชีวิต รูปแบบการทำธุรกิจ ตลอดจนระบบเศรษฐกิจในระดับมหภาค ซึ่งแน่นอนว่าย่อมนำมาทั้งประโยชน์มหาศาล ในขณะเดียวกันหากนำไปใช้อย่างไม่เหมาะสมก็สามารถส่งผลในทางลบกับสังคมได้เช่นกัน ทั้งนี้รวมไปถึงผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมที่มาจากขยะอิเล็กทรอนิกส์ (e-waste) ที่หากไม่ได้รับการปลูกฝัง หรือให้ข้อมูลการบริหารจัดการอย่างถูกวิธี ย่อมส่งผลร้ายแรงมาสู่ชีวิตทุกคนในโลก

โดยปรากฎการณ์ดังกล่าวสะท้อนให้เห็นเด่นชัดผ่านงานวิจัยหลากหลายสำนักที่ระบุว่า ในปี 2561เยาวชนไทยอายุระหว่าง 8 – 12 ปี มีการใช้งานอินเทอร์เน็ตสูงถึง 35 ชั่วโมงต่อสัปดาห์ ซึ่งมากกว่าค่าเฉลี่ยทั่วโลกถึง 3 ชั่วโมง อีกทั้งยังค้นพบว่าเด็กไทยขาดทักษะในการใช้งานดิจิทัลอย่างชาญฉลาดทำให้เสี่ยงได้รับภัยอันตรายที่แฝงมากับอินเทอร์เน็ตใน 4 รูปแบบ คือ การถูกกลั่นแกล้งออนไลน์ (Cyberbullying) การเข้าถึงสื่อลามก การติดเกม และการถูกหลอกให้พบกับคนแปลกหน้า

นายสมชัยกล่าวเสริมว่า “อีกปัญหาที่ประเทศไทยกำลังได้รับผลกระทบจากการมาของเทคโนโลยีคือ ปัญหาขยะอิเล็กทรอนิกส์ ปี 2561 มีรายงานว่า คนไทยทิ้งขยะอันตรายทั้งสิ้น 638,000 ตัน ซึ่งขยะส่วนใหญ่เป็นซากผลิตภัณฑ์เครื่องใช้ไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์สูงถึง 65% อีกทั้งของเสียอันตรายจากชุมชนเหล่านี้ได้รับการจัดการอย่างถูกวิธีเพียง 83,000 ตันเท่านั้น”

ในฐานะผู้ที่อยู่ในอุตสาหกรรม Digital โดยตรง เราจึงมุ่งมั่นตั้งใจที่จะเป็นแกนกลางเพื่อสร้างการเปลี่ยนแปลงในการพัฒนาความรู้แก่เยาวชน อันจะนำมาซึ่งการเติบโตของสังคม Digital อย่างยั่งยืน รวมถึงยังมีเจตนารมณ์อย่างแรงกล้า ที่จะอุทิศตนเพื่อร่วมเป็นส่วนหนึ่งของการพัฒนาสังคมให้มีความสุข จากสภาพแวดล้อมที่ดี อันจะนำมาซึ่งความแข็งแกร่ง และเติบโตอย่างยั่งยืนของประเทศชาติ ผ่าน Digital Platform  ที่จะเป็น Digital Platform ของคนไทยทุกคน ผ่านแนวคิด “ถ้าเราทุกคน คือ เครือข่าย” นั่นเอง

 

ธุรกิจแพคเกจจิ้ง เอสซีจี โดย นายวิชาญ เจริญกิจสุพัฒน์ กรรมการผู้จัดการ บริษัทผลิตภัณฑ์กระดาษไทย จำกัด ผนึกกำลัง เทสโก้ โลตัส โดย นางสาวสลิลลา สีหพันธุ์ ประธานกรรมการฝ่ายกิจการบรรษัท เทสโก้ โลตัส ในงาน Rethink Packaging คิดใหม่ ทำใหม่ ใส่ใจสิ่งแวดล้อม”

เพื่อประกาศยกเลิกใช้บรรจุภัณฑ์ที่ทำจากโฟมทั้งหมดของเทสโก้ โลตัส ตั้งแต่วันที่ 1 ก.ค. 2562 เป็นต้นไป พร้อมเพิ่มความเข้มข้นของการดำเนินนโยบายด้านสิ่งแวดล้อม ด้วยโครงการแบบครบวงจรและมุ่งสู่การสร้างระบบปิดของบรรจุภัณฑ์ (closed loop system) ภายใต้กลยุทธ์ 3R (Redesign, Reduce, Recover & Recycle) โดยมี นายรัชฎา สุริยกุล ณ อยุธยา อธิบดีกรมส่งเสริมคุณภาพสิ่งแวดล้อม กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ให้เกียรติร่วมงาน

สำหรับความร่วมมือระหว่างเอสซีจี และเทสโก้ โลตัส ครั้งนี้ มีตั้งแต่การจำหน่ายบรรจุภัณฑ์อาหารปลอดภัยที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมแบรนด์เฟสท์ (Fest) จากเอสซีจี ให้ลูกค้าสามารถเข้าถึงบรรจุภัณฑ์ที่เป็นทางเลือกได้อย่างสะดวกสบาย เพื่อเปลี่ยนพฤติกรรมการใช้งานจากกล่องโฟมหรือบรรจุภัณฑ์ที่ไม่สามารถรีไซเคิลได้มากขึ้น

นอกจากนี้ เอสซีจียังให้บริการนำบรรจุภัณฑ์กระดาษใช้แล้วที่เก็บรวบรวมจากสาขาเข้าสู่ศูนย์กระจายสินค้าเทสโก้ โลตัส ไปรีไซเคิลและผลิตเป็นถุงกระดาษสำหรับใช้แทนถุงพลาสติกอีกด้วย จึงนับเป็นความร่วมมือที่เอสซีจี และเทสโก้ โลตัส ประสานพลังในการส่งเสริมการใช้บรรจุภัณฑ์ที่ตอบสนองทั้งฟังก์ชั่นการใช้งานของผู้บริโภค และตอบโจทย์ด้านสิ่งแวดล้อมไปพร้อมๆ กัน ตามแนวทางเศรษฐกิจหมุนเวียนของเอสซีจี หรือ SCG Circular Way

 

บมจ.กรุงไทย-แอกซ่า ประกันชีวิต นำโดย คุณชัยณรงค์ เอื้อสิทธิชัย ประธานเจ้าที่บริหาร ฝ่ายจัดจำหน่ายผ่านธนาคาร (กลาง) พร้อมด้วยพนักงานจิตอาสาฝ่ายขาย ภูมิภาคนครหลวง 2 ร่วมจัดกิจกรรม “BANCs Hearts in Action Day ครั้งที่ 2” หรือกิจกรรมจิตอาสาจากใจของทีมฝ่ายจัดจำหน่ายผ่านธนาคารเพื่อสังคมไทยน่าอยู่ โดยครั้งนี้ ผู้บริหารและพนักงานจิตอาสาได้ลงพื้นที่ ณ บริเวณป่าชายเลนบางขุนเทียน เพื่อเข้าไปช่วยในการฟื้นฟูระบบนิเวศจากปัญหาน้ำทะเลกัดเซาะแนวชายฝั่ง รวมทั้งเพื่อช่วยรักษาความสมดุลระบบนิเวศป่าชายเลนบางขุนเทียนให้คงไว้  ทั้งนี้ เพื่อเป็นการตอกย้ำเป้าหมายหลักของบริษัท ฯ คือ การให้โอกาสทุกคนได้มีชีวิตที่ดีขึ้นตามใจปรารถนา

จากสถานการณ์ค่าฝุ่นละอองเกินมาตรฐาน หรือปัญหาฝุ่น PM 2.5 ที่เกิดขึ้นกับประเทศไทยในช่วงที่ผ่านมา ได้ส่งผลกระทบต่อสุขภาพของประชาชนเป็นวงกว้าง ตลอดจนกระทบถึงภาพลักษณ์ของประเทศ ทั้งด้านการท่องเที่ยวและการจัดการด้านสิ่งแวดล้อมของประเทศไทย ปัญหาดังกล่าวจึงถูกยกขึ้นเป็นวาระแห่งชาติที่ต้องดำเนินการแก้ไขอย่างเร่งด่วน พร้อมหามาตรการป้องกันไม่ให้เกิดปัญหาซ้ำรอยในอนาคต

คณะกรรมการจัดทำยุทธศาสตร์ชาติ ด้านการสร้างการเติบโตบนคุณภาพชีวิตที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม ได้ร่วมมือกับคณะปฏิรูปประเทศด้านทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม สำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ และอาศรมความคิดด้านระบบโลกศาสตร์และวิทยาศาสตร์สิ่งแวดล้อม ราชบัณฑิตยสภา จัดงานเสวนาในหัวข้อ “การขับเคลื่อนยุทธศาสตร์ชาติและปฏิรูปประเทศด้านการจัดการมลพิษทางอากาศ PM 2.5 ทั้งระบบ” ณ ห้องประชุมศรีสุริยวงศ์บอลรูม ชั้น 11 โรงแรมตวันนา สุรวงศ์ โดยมี พลเอกประวิตร วงษ์สุวรรณ รองนายกรัฐมนตรี ที่กำกับงานด้านทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม กล่าวเปิดงานเสวนาในครั้งนี้

Temperature Inversion ปรากฏการณ์ฝาชีอากาศผกผัน

ศ.ดร.ธนวัฒน์ จารุพงษ์สกุล ประธานกรรมการจัดทำยุทธศาสตร์ชาติด้านการสร้างการเติบโตบนคุณภาพชีวิตที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม ราชบัณฑิต สำนักวิทยาศาสตร์ ราชบัณฑิตยสภา ระบุว่า มลพิษทางอากาศที่ล้วนมีสาเหตุหลักจากมนุษย์เป็นผู้สร้าง ก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงของภูมิอากาศในอนาคต หากไม่ดำเนินมาตรการจัดการกับปัญหาฝุ่นละอองก็จะเกิดการสะสมไปเรื่อยๆ เมื่ออากาศเปลี่ยนผันเข้ามาก็กลายเป็นฝาชีครอบเอาไว้ ทำให้ฝุ่นละอองจะไม่สามารถกระจายไปไหนได้ จนท้ายที่สุดฝุ่นละออง PM 2.5 ก็มีการสะสมในปริมาณมาก และส่งผลกระทบต่อประชาชน ถึงขั้นก่อให้เกิดอันตรายกับสุขภาพได้

ความมุ่งหวังต่ออายุคาดเฉลี่ยของการมีสุขภาพดี...ที่ดียิ่งขึ้น

บนเวทีเสวนา นายแพทย์ดนัย ธีวันดา รองอธิบดีกรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข ได้เปิดประเด็นเกี่ยวกับความมุ่งหวังในอีก 20 ข้างหน้า กับการได้เห็นคนไทยมีช่วงอายุของการมีสุขภาพดีที่ยืนยาวขึ้น มีอายุคาดเฉลี่ยของการมีสุขภาพดีไม่ต่ำกว่า 75 ปี และมีอัตราการเสียชีวิตที่เกี่ยวข้องกับมลพิษทางอากาศ เพราะปัจจุบันมีคนไทยจำนวนไม่น้อยที่ประสบปัญหาสุขภาพตั้งแต่ช่วงอายุประมาณ 50 ปี ส่วนหนึ่งเป็นผลมาจากมลพิษอากาศที่กระตุ้นให้เกิดโรคภัยได้ง่ายขึ้น โดยมลพิษทางอากาศนั้นจัดเป็นสาเหตุอันดับ 2 ของการเกิดโรคไม่ติดต่อรองจากการสูบบุหรี่ ทั้งโรคหลอดเลือดสมอง โรคปอดอุดกั้นเรื้อรัง โรคหัวใจขาดเลือด และมะเร็งปอด ซึ่งมีประชากรปีละกว่า 7 ล้านคนทั่วโลกที่ต้องเสียชีวิตก่อนเวลาอันควรจากมลพิษทางอากาศ

บนเวทีเสวนา นายแพทย์พันศักดิ์ ได้เผยถึงการดำเนินงานของกระทรวงสาธารณสุขตลอดช่วงที่ผ่านมาว่า “จากสถานการณ์ฝุ่นละออง PM 2.5 ที่เกิดขึ้น เรามีการประเมินสถานการณ์ในทุกๆ วัน ผ่านการเฝ้าระวังสถานการณ์ฝุ่นละอองจากกรมควบคุมมลพิษ และนำข้อมูลเหล่านั้นแปลงเป็นสาระสำคัญสื่อสารไปยังหน่วยงานที่เกี่ยวข้องต่างๆ ต่อไป ขณะเดียวกันเรามีการเฝ้าระวังโรค โดยเฉพาะในกลุ่มเสี่ยงที่เป็นผู้สูงอายุ เด็กเล็กหญิงตั้งครรภ์ และกลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรังอย่าง หอบหืด หลอดลมอุดกั้นเรื้อรัง หัวใจและหลอดเลือด รวมทั้งจัดทําแนวทางการดูแลประชาชนกลุ่มเสี่ยง เปิดศูนย์ปฏิบัติการด้านการแพทย์และสาธารณสุข (EOC) และยังดำเนินการสื่อสาร แจ้งเตือนประชาชน ให้ข้อมูลความรู้กับทุกภาคส่วน พร้อมสนับสนุนการใช้ พ.ร.บ.สธ. 2535”

อย่างไรก็ตาม รองอธิบดีกรมอนามัย กล่าวทิ้งท้ายถึงภาพรวมที่มุ่งหวังให้เกิดการขับเคลื่อนอย่างแท้จริง นั่นคือการบริหารจัดการ ข้อมูลข่าวสารต่างๆ และการวิจัยของประเทศไทยเองที่จับต้องได้ สามารถเชื่อมโยงให้เห็นได้ชัดเจนว่า มลพิษทางอากาศก่อให้เกิดผลกระทบต่อสุขภาพของคนไทยจริงๆ ไม่ใช้เพียงค่าประมาณการ หรืองานวิจัยอ้างอิงจากต่างประเทศ ที่อาจจะไม่ใช่บริบทของคนไทย

สร้างระบบภูมิคุ้มกันให้กับ...ทรัพยากรฯ และสิ่งแวดล้อม

ด้านผู้แทนจากกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม นายพันศักดิ์ ถิรมงคล ผู้อำนวยการสำนักจัดการคุณภาพอากาศและเสียง ชี้ให้เห็นในเบื้องต้นว่า จากสภาพอุตุนิยมวิทยาในช่วงต้นปีที่มีสภาวะอากาศนิ่ง ลมสงบ ไม่เอื้อต่อการกระจายตัว ได้ส่งผลต่อการสะสมของฝุ่นในบรรยากาศอีกทั้งจากการเผาไหม้ของเชื้อเพลิงอันเกิดจากแหล่งกำเนิดต่างๆ อาทิ การคมนาคมและขนส่ง ภาคอุตสาหกรรม การเผาในที่โล่ง การก่อสร้าง และหมอกควันข้ามแดนจากประเทศใกล้เคียง ล้วนเป็นปัจจัยสำคัญที่มีผลต่อการเพิ่มขึ้นของ PM 2.5 ที่ประเทศไทยกำลังเผชิญ

ทั้งนี้ กรมควบคุมมลพิษได้จัดทำร่างแผนปฏิบัติการขับเคลื่อนวาระแห่งชาติ ในการแก้ไขปัญหามลพิษด้านฝุ่นละออง โดยมีสาระสำคัญภายใต้กรอบแนวคิดที่จะใช้หลักการจัดการเชิงรุก เน้นการป้องกันผลกระทบล่วงหน้า ด้วยการสร้างระบบภูมิคุ้มกันให้กับทรัพยากรฯ และสิ่งแวดล้อม โดยเฉพาะพื้นที่เสี่ยงหรือพื้นที่ที่มีปัญหามลพิษ เพื่อนํามาใช้เป็นแนวทางในการป้องกันความเสียหายหรือผลกระทบที่จะเกิดขึ้น พร้อมคํานึงถึงกิจกรรมที่จะก่อให้เกิดความเสี่ยง และเป็นอันตรายต่อสุขภาพอนามัยหรือสิ่งแวดล้อม ผ่าน 3 มาตรการสำคัญ ได้แก่

มาตรการที่ 1 : การเพิ่มประสิทธิภาพในการบริหารจัดการเชิงพื้นที่ โดยกําหนดเป็นแนวทางการดําเนินงานในระยะเร่งด่วน รวมถึงแนวทางปฏิบัติการแก้ไขปัญหาในช่วงวิกฤตในพื้นที่ที่มีปัญหาหรือพื้นที่เสี่ยง โดยอาศัยกลไกของระบบศูนย์สั่งการแบบเบ็ดเสร็จ (Single Command) โดยมีผู้ว่าราชการจังหวัดเป็นผู้บัญชาการเหตุการณ์ มาตรการที่ 2 : การป้องกันและลดการเกิดมลพิษจากแหล่งกำเนิด โดยให้หน่วยงานที่มีหน้าที่ตามกฎหมายออกกฎระเบียบ หรือแนวทางข้อบังคับในการแก้ไขปัญหาฝุ่นละออง มาตรการที่ 3 : การเพิ่มประสิทธิภาพการบริหารจัดการมลพิษ ผ่านการพัฒนาระบบ เครื่องมือ กลไกในการบริหารจัดการ รวมถึงศึกษาวิจัยเพื่อพัฒนาองค์ความรู้ด้านต่างๆ เพื่อเป็นข้อมูลประกอบการตัดสินใจและกําหนดแนวทางมาตรการป้องกันและแก้ไขปัญหาในอนาคต

เมื่ออุตสาหกรรมเติบโต ต้องเติบโตอย่างยั่งยืน

ขณะที่ นางสาวพะเยาว์ คำมุข ผู้อำนวยการกองวิจัยและเตือนภัยมลพิษโรงงาน ผู้แทนจากกระทรวงอุตสาหกรรม บอกเล่าถึงความคาดหวังในอีก 20 ปีข้างหน้าที่อยากเห็นการเจริญเติบโตของภาคอุตสาหกรรมในรูปแบบของ Green Industry ที่สามารถอยู่ร่วมกับประชาชนได้อย่างยั่งยืน โดยชี้ให้เห็นถึงมาตรการป้องกันและแก้ไขปัญหาฝุ่นละออง PM 2.5 จากภาคอุตสาหกรรม ผ่านการดำเนินงานการกำกับดูแลให้โรงงานระบายอากาศตามมาตรฐานที่กฎหมายกำหนด ทั้งในกลุ่มโรงงานทั่วไป กลุ่มโรงงานที่ก่อให้เกิดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม และกลุ่มโรงงานที่ก่อให้เกิดมลพิษสูง พร้อมตรวจสอบและเฝ้าระวังโรงงานเพื่อป้องกันการเกิดฝุ่นและมลพิษทางอากาศทั่วประเทศ รวมถึงการสุ่มตรวจวัดมลพิษทางอากาศในพื้นที่ที่มีโรงงานหนาแน่น

นอกจากนี้ ยังมีมาตรการส่งเสริมการใช้ยานยนต์ไฟฟ้าภายในประเทศ (S-Curve) ในการเปลี่ยนผ่านจากเครื่องยนต์ดีเซลเป็นเครื่องยนต์ไบโอดีเซล เร่งส่งเสริมการใช้ยานยนต์ไฟฟ้าหรือ EV ภายในประเทศ พร้อมพัฒนามาตรฐานการควบคุมปริมาณสารมลพิษอเสียของเครื่องยนต์จาก EURO 4 เป็น EURO 5 และยังมีการร่วมมือกับ METI ประเทศญี่ปุ่น จัดทำโครงการศึกษาแหล่งกำเนิดและผลกระทบของ PM 2.5 ในภาคอุตสาหกรรมไทย

มากกว่านั้น ภาคอุตสาหกรรมยังร่วมกับ ปตท. และ กทม. สร้างและติดตั้งเครื่องต้นแบบ “ระบบขจัดมลพิษแบบเคลื่อนที่” ในพื้นที่สาธารณะ 11 เครื่อง ควบคู่กับการขอความร่วมมือรณรงค์ประชาสัมพันธ์และกำหนดหลักเกณฑ์เกี่ยวกับการกำหนดให้ “ชาวไร่อ้อยไม่เผาอ้อย” และขอความร่วมมือจากสมาชิด ส.อ.ท. ดำเนินมาตรการการหยุดหรือลดกำลังการผลิตในบางช่วงเวลา การบำรุงรักษาเครื่องจักร และ Big Cleaning โรงงาน ร่วมด้วย

งบประมาณที่เสียไป… ต้องได้กลับมาอย่างคุ้มค่า

จากการกำหนดนโยบายต่างๆ หรือแม้แต่มาตรการจัดการที่แต่ละหน่วยงานได้จัดทำออกมานั้น ล้วนแล้วแต่ต้องใช้งบประมาณในการดำเนินการ แต่ประเด็นคือ เราจะใช้งบประมาณเหล่านั้นอย่างไรให้คุ้มค่าที่สุด? ดังนั้น นักวิชาการด้านเศรษฐศาสตร์จึงทำการตีมูลค่าจากมลพิษที่เกิดขึ้นว่าก่อให้เกิดต้นทุนกับสังคมไทยมากน้อยแค่ไหน เพื่อนำไปสู่การเลือกใช้มาตรการที่ดีที่สุดภายใต้ทรัพยากรและงบประมาณที่มีอยู่อย่างจำกัด โดยใช้วิธีทางเศรษฐมิติประมาณค่าความเต็มใจที่จะจ่ายต่อครัวเรือนสำหรับความเสียหายขั้นต่ำ อิงจาก PM 10 จำนวน 1 ไมโครกรัม/ลบ.ม. = 6,380 บาท/ปี และจากยอดจำนวนครัวเรือนในกรุงเทพจาก 2.89 ล้านครัวเรือน ดังนั้น สำหรับกรุงเทพฯ ทุกๆ 1 ไมโครกรัมต่อลบ.ม. ของ PM10 ที่เกินระดับปลอดภัย จึงสร้างความเสียหายมูลค่า 18,420 ล้านบาท/ปี ซึ่งในปี 2560 กรุงเทพฯ มีค่าเฉลี่ย PM10 = 44.21 ไมโครกรัม ต่อ ลบ.ม./ปี ดังนั้น เมื่อคำนวณแล้วจะพบว่าความเสียหายทั้งหมดที่เกิดขึ้นจากมลพิษทางอากาศจึงตีเป็นมูลค่าได้สูง 446,023 ล้านบาท/ปี

รศ.ดร.วิษณุ อรรถวานิช นักวิชาการด้านเศรษฐศาสตร์ ได้เสนอมาตรการจัดการผ่านการออกกฎหมายโดยใช้แนวคิดทางเศรษฐศาสตร์ที่อาศัยกลไกในการควบคุมพฤติกรรม หรือการสร้างแรงจงูใจ ไม่เน้นการบังคับอย่างเดียว โดยให้มีการจัดทำมาตรการทั้งระยะสั้น ระยะกลาง และระยะยาว ผ่านการสร้างความตระหนักรู้ถึงอันตรายของมลพิษ ลดมลพิษจากการเผาไหม้ของเชื้อเพลิงในรถยนต์ ลดมลพิษจากการเผาในภาคเกษตรและป่าไม้ ลดมลพิษจากการเผาไหม้ของเชื้อเพลิงจากกระบวนการผลิตในโรงงานอุตสาหกรรม ลดมลพิษที่มาจากประเทศเพื่อนบ้าน และประเมินผลสัมฤทธิ์ของมาตรการ

“มาตรการที่เสนอข้างต้นจะประสบผลสำเร็จอย่างยั่งยืนก็ต่อเมื่อ เรามีงบประมาณด้านสิ่งแวดล้อมที่เพียงพอและต่อเนื่อง ควบคู่ไปกับการริเริ่มนำกฎหมายอากาศสะอาดมาบังคับใช้ (Clean Air Act) พร้อมจัดตั้งหน่วยงานพิทักษ์สิ่งแวดล้อม (Environmental Protection Agency) และสำคัญที่สุดคือ การมีส่วนร่วมของภาคประชาชน” รศ.ดร.วิษณุ อรรถวานิชกล่าวทิ้งท้าย

X

Right Click

No right click