SCB CIO พร้อมสนับสนุนมาตรการรัฐ กระตุ้นตลาดทุนไทย ปรับเกณฑ์เพิ่มวงเงินลงทุนกองทุน ThaiESG ไม่เกิน 30% ของเงินได้พึงประเมิน และไม่เกิน 300,000 บาท ลดระยะเวลาลงทุนเหลือเพียง 5ปี นับจากวันที่ลงทุน พร้อมดึง 6 กองทุน 3 รูปแบบ 2 ทางเลือก ได้แก่ SCBTM(ThaiESG) SCBTM(ThaiESGA) SCBTA(ThaiESG) SCBTA(ThaiESGA) SCBTP(ThaiESG) และ SCBTP(ThaiESGA) เป็นทางเลือกการออม

ที่ผ่านการคัดสรรมาอย่างดีให้กับผู้ลงทุน เพื่อตอบโจทย์ตามเป้าหมายความต้องการของลูกค้า แนะสะสมหุ้นไทยไว้ใน Core port จาก 5 ปัจจัยหลัก ที่หนุนดัชนีหุ้นไทยปีนี้ ได้แก่ 1) การเบิกจ่ายงบประมาณภาครัฐในปี 2567 ที่เร่งตัวขึ้น และมีแนวโน้มปรับเพิ่มขึ้นต่อเนื่อง 2) Valuation ของตลาดหุ้นไทยยังอยู่ในระดับที่ไม่แพง 3) ผลประกอบการของบริษัทจดทะเบียนในปี 2567 ที่คาดว่าจะขยายตัวประมาณ 14% 4) ค่าเงินบาทที่มีแนวโน้มแข็งค่าขึ้น หาก Fed ปรับลดอัตราดอกเบี้ย และ 5) การประกาศใช้มาตรการ Uptick Rule หรือ ให้ Short Sales หุ้นได้เฉพาะราคาที่สูงกว่าราคาตลาด

นายศรชัย สุเนต์ตา, CFA รองผู้จัดการใหญ่ ผู้บริหารสายงาน Investment Office and Product กลุ่มธุรกิจ Wealth ธนาคารไทยพาณิชย์ เปิดเผยว่า SCB CIO พร้อมสนับสนุนมาตรการส่งเสริมการออมการลงทุน ภายหลังจากที่ 3 หน่วยงาน ได้แก่ กระทรวงการคลัง สำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ก.ล.ต.) และตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย (ตลท.) ได้สรุปแนวทางและพร้อมเสนอคณะรัฐมนตรี (ครม.) ภายใน2 สัปดาห์นี้ ในการปรับเงื่อนไขกองทุนรวมไทยเพื่อความยั่งยืน (Thailand ESG Fund : ThaiESG) โดย SCB CIO มองว่า การขยายวงเงินลงทุนจากไม่เกิน 30% ของเงินได้พึงประเมิน ที่ซื้อได้ไม่เกิน 100,000 บาท เพิ่มขึ้นเป็น ไม่เกิน300,000 บาท และลดระยะเวลาการถือครองจาก 8 ปี เป็น 5 ปี นับจากวันที่ลงทุน จะช่วยดึงดูดเม็ดเงินลงทุนเข้ามาในตลาดหุ้นไทยได้มากขึ้น จากกลุ่มผู้ลงทุนที่ต้องการรับสิทธิประโยชน์ทางภาษี และลงทุนเพื่อการออมระยะยาว โดยเฉพาะกลุ่มนักลงทุนรุ่นใหม่ กลุ่มคนที่มีรายได้ประจำ รวมถึงผู้ประกอบอาชีพอิสระ ที่ต้องการสร้างวินัยในการออม เพื่อเป้าหมายในอนาคต โดยเลือกลงทุนตามความเสี่ยงที่รับได้

นอกจากนี้ การขยายนโยบายการลงทุนให้ครอบคลุมด้านธรรมาภิบาล (Governance) ส่งเสริมความโปร่งใส จากเดิมเน้นด้านสิ่งแวดล้อม (Environment) ซึ่งจะทำให้ครอบคลุมจำนวนบริษัทจดทะเบียนใน SET และ mai เพิ่มขึ้น จาก 128 บริษัท เป็น 200 บริษัทนั้น SCB CIO มองว่า จะทำให้การลงทุนในหุ้นไทยผ่าน ThaiESG มีความครอบคลุมครบทุกมิติของ ESG และมีความหลากหลายในการเลือกลงทุนเพิ่มมากขึ้น ซึ่งเป็นโอกาสในการสร้างผลตอบแทนที่ดีให้กับนักลงทุนได้มากขึ้น และสร้างความเชื่อมั่นที่ดีให้กับนักลงทุนเพราะเงื่อนไขการลงทุนของบริษัทต่างๆ จะต้องเป็นไปตามเกณฑ์ที่ก.ล.ต. กำหนด

ทั้งนี้ SCB CIO แนะนำให้ผู้ลงทุน พิจารณาลงทุนในตลาดหุ้นไทยบนพอร์ตลงทุนหลัก (Core port) ที่เป็นพอร์ตการลงทุนระยะยาว โดยเรามองว่า ดัชนีตลาดหุ้นไทยมีปัจจัยสนับสนุนระยะยาว 5 ประเด็นหลักที่หนุนดัชนีหุ้นไทย ได้แก่ 1) การเบิกจ่ายงบประมาณภาครัฐในปี 2567 ที่เร่งตัวขึ้นประมาณ 39% ในช่วงต้นเดือน มิ.ย. 2567 และยังมีแนวโน้มปรับเพิ่มขึ้นต่อเนื่อง ช่วยสนับสนุนการขยายตัวของเศรษฐกิจไทยในระยะต่อไป 2) Valuation ของตลาดหุ้นไทยยังอยู่ในระดับที่ไม่แพง ใกล้เคียงกับช่วงโควิด-19 3) ผลประกอบการของบริษัทจดทะเบียนในปี 2567 ที่คาดว่าจะขยายตัวประมาณ 14% เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีที่ผ่านมา 4) ค่าเงินบาทที่มีแนวโน้มแข็งค่าขึ้นในช่วงครึ่งหลังของปี 2567 หลังจากที่ธนาคารกลางสหรัฐฯ (Fed) ปรับลดอัตราดอกเบี้ยนโยบายลง จะช่วยสนับสนุนเงินทุนไหลกลับเข้าไทยมากขึ้น และ 5) การประกาศเริ่มใช้มาตรการ Uptick Rule หรือ ให้ Short Sales หุ้นได้เฉพาะราคาที่สูงกว่าราคาตลาด ล่าสุด (uptick) ตั้งแต่วันที่ 1 ก.ค. เป็นต้นไป ซึ่งคาดว่าจะช่วยลดความผันผวนของตลาดลงได้ จากการที่ทำธุรกรรม Short Sales ได้ยากขึ้นในช่วงตลาดขาลง

สำหรับ ผู้ลงทุนที่สนใจลงทุนระยะยาว พร้อมรับสิทธิประโยชน์ทางภาษี ผ่านกองทุนรวม ThaiESG นั้น ปัจจุบัน SCB มีกองทุน ThaiESG ให้เลือก 3 รูปแบบที่ผ่านการคัดสรรมาอย่างดี และตอบโจทย์ตามความต้องการของลูกค้า โดยในแต่ละรูปแบบมี 2 ทางเลือก คือ แบบปันผล และสะสมมูลค่า ได้แก่ กองทุน SCBTM(ThaiESG) และ SCBTM(ThaiESGA) ที่ลงทุนแบบผสมหุ้นไทยและตราสารหนี้ ESG กองทุน SCBTA(ThaiESG) และ SCBTA(ThaiESGA) ที่ลงทุนหุ้นไทย ESG ด้วยกลยุทธ์บริหารเชิงรุก และกองทุน SCBTP(ThaiESG) และ SCBTP(ThaiESGA) ลงทุนหุ้นไทย ESG ที่ผลตอบแทนอิงตามดัชนี SET ESG รวมทางเลือกมากที่สุดในตลาดทั้งหมด 6 กองทุน โดยผู้ลงทุนสามารถเลือกตามความเหมาะสม และเป้าหมายของแต่ละท่านที่ตั้งไว้ รวมทั้งความเสี่ยงที่สามารถรับได้

“สกาย กรุ๊ป”  ผ่านเข้า SET100  เผยผลงานเติบโตโดดเด่น  สะท้อนจุดยืนการเป็นผู้เชี่ยวชาญเทคโนโลยีเกี่ยวกับอุตสาหกรรมการบิน พร้อมการรักษาความปลอดภัยอัจฉริยะ และแพลตฟอร์มดิจิทัล โดยได้รับการคัดเลือกให้เป็นบริษัทจดทะเบียนในดัชนี SET100 ประจำปี 2567 ซึ่งเป็นดัชนีที่รวบรวมบริษัทที่มีมูลค่าหลักทรัพย์ตามราคาตลาดสูง 100 อันดับแรกของตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย

การเข้าสู่ดัชนี SET100 ถือเป็นเครื่องบ่งชี้ถึงความแข็งแกร่งทางการเงินและศักยภาพในการเติบโตของบริษัท โดยเกณฑ์การคัดเลือกบริษัทเข้าสู่ดัชนี SET100 นั้นประกอบด้วย มูลค่าหลักทรัพย์ตามราคาตลาด (Market Capitalization) มูลค่าการซื้อขายเฉลี่ยรายวัน (Average Daily Trading Value) สภาพคล่องของหุ้น (Free Float) การติดดัชนี SET100 ของ SKY เป็นการตอกย้ำถึงความแข็งแกร่งของสกายกรุ๊ป ในฐานะผู้ให้บริการโซลูชันด้านไอซีทีชั้นนำของประเทศ และเป็นอีกหนึ่งก้าวสำคัญในการขับเคลื่อนการเติบโตของบริษัทอย่างมั่นคงในอนาคต

นายสิทธิเดช มัยลาภ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท สกาย ไอซีที จำกัด (มหาชน) หรือ สกาย กรุ๊ป (SKY Group) กล่าวว่า การที่ SKY ได้รับคัดเลือกให้เป็นบริษัทจดทะเบียนในดัชนี SET100 นับเป็นความสำเร็จที่สำคัญอีกครั้งหนึ่งของบริษัท ซึ่งสะท้อนให้เห็นถึงการเติบโตอย่างต่อเนื่องของรายได้และกำไรของสกาย กรุ๊ป โดยบริษัทฯ มุ่งมั่นที่จะพัฒนาธุรกิจอย่างยั่งยืนและสร้างผลตอบแทนที่ดีให้กับผู้ถือหุ้นในระยะยาว และการเข้าสู่ดัชนี SET100 จะช่วยเพิ่มโอกาสในการเข้าถึงนักลงทุนทั้งในและต่างประเทศมากขึ้น บริษัทฯ ขอขอบคุณตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยที่คัดเลือกหลักทรัพย์ SKY เป็น 1 ใน 9 บริษัทที่เข้าคำนวณดัชนี SET 100 ในช่วงครึ่งหลังของปี 2567 (1 กรกฎาคม-31 ธันวาคม 2567) นับเป็นความภูมิใจและอีกหนึ่งก้าวสำคัญของ SKY และขอขอบคุณผู้ถือหุ้นทุกคนที่เชื่อมั่นในบริษัทฯ

บริษัทฯ เชื่อมั่นว่าผลประกอบการในช่วงครึ่งปีหลังจะได้ตามเป้าหมาย เนื่องจากการเติบโตของอุตสาหกรรมท่องเที่ยว และการเดินทางเข้า-ออกของผู้โดยสาร โดยสถิติของนักท่องเที่ยวต่างชาติที่เดินทางเข้าไทยใน 5 เดือนแรกของปี 2567 มีจำนวนนักท่องเที่ยวต่างชาติสะสมประมาณ 14.7 ล้านคน โตจากช่วงเดียวกันของปี 2566 ถึง 38% ส่งผลให้รายได้ของ SKY เติบโต นอกจากนี้ บริษัทลูกก็มีแผนที่เติบโตอย่างต่อเนื่อง ไม่ว่าจะเป็นบริษัท โปร อินไซด์ จำกัด (มหาชน) ที่พร้อมระดมทุนในตลาดหลักทรัพย์ในปีนี้ และประมูลงานภาครัฐ หรือบริษัท เมทเธียร์ จำกัด ที่เป็นกำลังหลักในการบุกภาคเอกชนด้วยธุรกิจให้บริการการบริหารจัดการอสังหาริมทรัพย์อัจฉริยะ พร้อมขยายฐานลูกค้าอย่างต่อเนื่องด้วยบุคลากรมืออาชีพและเทคโนโลยีระดับโลก

บริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุน เกียรตินาคินภัทร จำกัด (บลจ.เกียรตินาคินภัทร) นำเสนอโอกาสลงทุนในหุ้นคุณค่าทั่วโลก ภายใต้เป้าหมายเติบโตในระยะยาว เปิดเสนอขาย 2 กองทุนใหม่ ได้แก่ กองทุนเปิดเคเคพี GLOBAL VALUE – UNHEDGED (KKP GVALUE-UH) และกองทุนเปิดเคเคพี GLOBAL VALUE – HEDGED (KKP GVALUE-H) โดยมีกลยุทธ์การบริหารการลงทุนแบบเชิงรุก (Active Management) ที่เน้นลงทุนในกองทุนหลัก MFS Meridian Funds - Contrarian Value Fund โดยกองทุนหลักมีเป้าหมายการลงทุนในบริษัทที่มีราคาต่ำกว่ามูลค่าที่แท้จริง (Intrinsic Value) และแบ่งเป็นประเภทไม่ป้องกันความเสี่ยงอัตราแลกเปลี่ยน (UNHEDGED) และป้องกันความเสี่ยงอัตราแลกเปลี่ยนทั้งหมดหรือเกือบทั้งหมด (HEDGED) กำหนดการเสนอขายครั้งแรกระหว่างวันที่ 22 – 27 มีนาคม 2567 ด้วยมูลค่าขั้นต่ำในการซื้อเพียง 1,000 บาท

นายยุทธพล ลาภละมูล กรรมการผู้จัดการ บลจ.เกียรตินาคินภัทร เปิดเผยว่า จากสถานการณ์เศรษฐกิจสหรัฐฯที่แข็งแกร่งและคาดว่าจะไม่เข้าสู่ภาวะถดถอย ธนาคารกลางสำคัญของโลกเริ่มมีแนวโน้มปรับลดอัตราดอกเบี้ยลง และตัวเลขประมาณการกำไรสุทธิปี 2024 ของหุ้นโลกยังคงมีการปรับเพิ่มขึ้นมากกว่าการปรับลดลง ทำให้การลงทุนในหุ้นโลกยังคงมีความน่าสนใจ โดยเฉพาะการลงทุนในหุ้น Global Value ที่มีระดับ P/E 15.5 เท่าในปัจจุบัน ซึ่งยังคงถูกกว่าตลาดหุ้นโลกโดยรวม (P/E 18.05 เท่า) และต่ำกว่าของหุ้น Global Growth (P/E 32.6 เท่า) ถึง 50% นอกจากนี้ หุ้นในกลุ่ม Global Value มีหุ้นวัฎจักรที่ฟื้นตัวตามเศรษฐกิจในสัดส่วนที่มากกว่าตลาดหุ้นโลกโดยรวม ทำให้การเพิ่มการลงทุนในหุ้น Global Value ในพอร์ตหุ้นโลกสามารถสร้างโอกาสเพิ่มอัตราผลตอบแทนได้ ด้วยเหตุนี้ ทางบลจ.เกียรตินาคินภัทร จึงได้คัดเลือกกองทุน KKP GVALUE-UH และ KKP GVALUE-H ที่กองทุนหลักมีสไตล์การลงทุนแบบ Contrarian Value เน้นเลือกลงทุนในหุ้นที่มีราคาต่ำกว่ามูลค่าที่แท้จริง เพื่อนำเสนอเป็นทางเลือกให้แก่นักลงทุนไทย

สำหรับ กองทุน KKP GVALUE-UH และ KKP GVALUE-H ระดับความเสี่ยง 6 เป็นกองทุนรวมหน่วยลงทุนประเภท Feeder Fund มีนโยบายเน้นลงทุนในกองทุนหลัก MFS Meridian Funds - Contrarian Value Fund ไม่น้อยกว่าร้อยละ 80 ของมูลค่าทรัพย์สินสุทธิของกองทุนรวม โดยกองทุนหลักเน้นลงทุนอย่างน้อยร้อยละ 70 ในตราสารทุน โดยเฉพาะในตลาดที่พัฒนาแล้ว และอาจลงทุนในตราสารทุนในตลาดเกิดใหม่ ซึ่งโดยทั่วไปแล้วกองทุนหลักจะลงทุนในประมาณ 50 บริษัทหรือน้อยกว่า ที่ผู้จัดการกองทุนเชื่อว่ามีราคาต่ำกว่ามูลค่าที่แท้จริง (Intrinsic Value)

 กองทุน KKP GVALUE-UH จะไม่ลงทุนในหรือมีไว้ซึ่งสัญญาซื้อขายล่วงหน้า (Derivatives) เพื่อลดความเสี่ยง (Hedging) ด้านอัตราแลกเปลี่ยนเงินตราต่างประเทศ ส่วนกองทุน KKP GVALUE-H จะลงทุนในหรือมีไว้ซึ่งสัญญาซื้อขายล่วงหน้า (Derivatives) เพื่อลดความเสี่ยง (Hedging) ด้านอัตราแลกเปลี่ยนเงินตราต่างประเทศ ไม่น้อยกว่า 90% ของเงินลงทุนในต่างประเทศ

สำหรับผู้ลงทุนที่สนใจสามารถขอรับหนังสือชี้ชวนและข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ บริษัทหลักทรัพย์ เกียรตินาคินภัทร จำกัด (มหาชน) โทร. 02 305 9559 หรือ ธนาคารเกียรตินาคินภัทรทุกสาขา หรือ https://am.kkpfg.com หรือผู้สนับสนุนการขายและรับซื้อคืนที่ได้รับการแต่งตั้ง

ข้อมูลกองทุน KKP GVALUE-UH และ KKP GVALUE-H :

· เปิดเสนอขายหน่วยลงทุนครั้งแรก (IPO) ระหว่างวันที่ 22 – 27 มีนาคม 2567

· มูลค่าขั้นต่ำในการซื้อครั้งแรก 1,000 บาท ครั้งถัดไป 1,000 บาท

คำเตือน

· ผู้ลงทุนควรทำความเข้าใจลักษณะสินค้าเงื่อนไขผลตอบแทน และความเสี่ยงก่อนตัดสินใจลงทุน

· กองทุน KKP GVALUE-H จะทำสัญญาซื้อขายล่วงหน้า (Derivatives) เพื่อป้องกันความเสี่ยงด้านอัตราแลกเปลี่ยนเกือบทั้งหมด (ไม่น้อยกว่าร้อยละ 90 ของมูลค่าเงินลงทุนในต่างประเทศ) กองทุนจึงอาจมีความเสี่ยงด้านอัตราแลกเปลี่ยนในส่วนที่ไม่ได้ทำการป้องกันความเสี่ยงไว้ ซึ่งอาจทำให้ผู้ลงทุนได้รับผลขาดทุนจากอัตราแลกเปลี่ยนหรือได้รับเงินคืนต่ำกว่าเงินลงทุนเริ่มแรกได้

· กองทุน KKP GVALUE-UH จะไม่ลงทุนในหรือมีไว้ซึ่งสัญญาซื้อขายล่วงหน้า (Derivatives) เพื่อลดความเสี่ยงด้านอัตราแลกเปลี่ยนเงินตราต่างประเทศ ดังนั้น กองทุนจึงมีความเสี่ยงด้านอัตราแลกเปลี่ยน ซึ่งอาจทำให้ผู้ลงทุนได้รับผลขาดทุนจากอัตราแลกเปลี่ยนหรือได้รับเงินคืนต่ำกว่าเงินลงทุนเริ่มแรกได้

· โปรดศึกษาคำเตือนที่สำคัญอื่นและข้อมูลเพิ่มเติมได้ในหนังสือชี้ชวนส่วนข้อมูลกองทุนรวม https://am.kkpfg.com หรือผู้สนับสนุนการขายและรับซื้อคืนที่ได้รับการแต่งตั้ง

บริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุน เกียรตินาคินภัทร จำกัด (บลจ.เกียรตินาคินภัทร) เล็งเห็นโอกาสการเติบโตทางเศรษฐกิจของกลุ่มประเทศตลาดเกิดใหม่ เปิดเสนอขาย 2 กองทุน ได้แก่ กองทุนเปิดเคเคพี EMERGING MARKETS EX CHINA – UNHEDGED (KKP EMXCN-UH) และกองทุนเปิดเคเคพี EMERGING MARKETS EX CHINA – HEDGED (KKP EMXCN-H) โดยมีกลยุทธ์การบริหารการลงทุนแบบเชิงรับ (Passive Management) มุ่งหวังให้ผลตอบแทนเป็นไปตามดัชนี MSCI Emerging Markets ex China Index ที่ครอบคลุมการลงทุนในหุ้นของกลุ่มประเทศตลาดเกิดใหม่ทั้งหมด ยกเว้นประเทศจีน รวม 23 ประเทศ เพื่อเป็นทางเลือกให้แก่ผู้ลงทุนที่ต้องการกระจายการลงทุน และหาโอกาสการเติบโตจากหุ้นในประเทศตลาดเกิดใหม่ โดยมีทั้งประเภทไม่ป้องกันความเสี่ยงอัตราแลกเปลี่ยน (UNHEDGED) และป้องกันความเสี่ยงอัตราแลกเปลี่ยนทั้งหมดหรือเกือบทั้งหมด (HEDGED) กำหนดการเสนอขายครั้งแรกระหว่างวันที่ 2 – 8 กุมภาพันธ์ 2567 ด้วยมูลค่าขั้นต่ำในการซื้อเพียง 1,000 บาท

นายยุทธพล ลาภละมูล กรรมการผู้จัดการ บลจ.เกียรตินาคินภัทร เปิดเผยว่า ปีนี้ตลาดหุ้นเกิดใหม่ หรือ Emerging Markets (EM) มีความน่าสนใจในการลงทุนเนื่องจากการสิ้นสุดวัฎจักรดอกเบี้ยขาขึ้นและจะเริ่มกลับเป็นขาลงทำให้มีโอกาสที่กระแสเงินทุนจะไหลเข้าตลาดเกิดใหม่ (Emerging Markets: EM) ที่มีประมาณการกำไรสุทธิในปีนี้เติบโต 16% สูงกว่าตลาดหุ้นโลกที่มีอัตราการเติบโตประมาณ 7% โดยเป็นผลมาจากการฟื้นตัวของกลุ่มเซมิคอนดักเตอร์ในไต้หวันและเกาหลี ประกอบกับระดับมูลค่า P/E ของตลาด EM ที่ระดับ 11.1 เท่ายังคงถูกกว่าตลาดหุ้นโลกและถูกกว่าค่าเฉลี่ยย้อนหลัง 5 ปี ทั้งนี้ บลจ.เกียรตินาคินภัทรมองว่า การลงทุนในตลาด EM ที่ไม่รวมจีน มีความน่าสนใจมากกว่าตลาด EM โดยรวม เนื่องจากปัจจัยกดดันการเติบโตเศรษฐกิจของจีนยังต้องใช้เวลาในการแก้ไขและผู้ลงทุนมีทางเลือกการลงทุนในหุ้นจีนโดยตรงมาก่อนนี้แล้ว จึงเห็นว่าการนำเสนอทางเลือกการลงทุนในตลาด EM ที่ไม่รวมจีนจะเป็นประโยชน์ต่อผู้ลงทุนไทยได้

สำหรับ กองทุน KKP EMXCN-UH และ KKP EMXCN-H ระดับความเสี่ยง 6 เป็นกองทุนรวมหน่วยลงทุนประเภท Feeder Fund มีนโยบายเน้นลงทุนในกองทุนหลัก iShares MSCI Emerging Markets ex China ETF โดยกองทุนหลักมีวัตถุประสงค์เพื่อสร้างผลตอบแทนให้ใกล้เคียงกับผลการดำเนินงานจากการลงทุนของดัชนี MSCI Emerging Markets ex China Index ที่ประกอบด้วยหุ้นของกลุ่มประเทศตลาดเกิดใหม่ขนาดกลางและขนาดใหญ่ ไม่รวมประเทศจีน กองทุน KKP EMXCN-UH จะไม่ลงทุนในหรือมีไว้ซึ่ง

สัญญาซื้อขายล่วงหน้า (Derivatives) เพื่อลดความเสี่ยง (Hedging) ด้านอัตราแลกเปลี่ยนเงินตราต่างประเทศ ส่วนกองทุน KKP EMXCN-H จะลงทุนในหรือมีไว้ซึ่งสัญญาซื้อขายล่วงหน้า (Derivatives) เพื่อลดความเสี่ยง (Hedging) ด้านอัตราแลกเปลี่ยนเงินตราต่างประเทศ ไม่น้อยกว่า 90% ของเงินลงทุนในต่างประเทศ

สำหรับผู้ลงทุนที่สนใจสามารถขอรับหนังสือชี้ชวนและข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ บริษัทหลักทรัพย์ เกียรตินาคินภัทร จำกัด (มหาชน) โทร. 02 305 9559 หรือ ธนาคารเกียรตินาคินภัทรทุกสาขา หรือ https://am.kkpfg.com หรือผู้สนับสนุนการขายและรับซื้อคืนที่ได้รับการแต่งตั้ง

ข้อมูลกองทุน KKP EMXCN-UH และ KKP EMXCN-H :

· เปิดเสนอขายหน่วยลงทุนครั้งแรก (IPO) ระหว่างวันที่ 2 – 8 กุมภาพันธ์ 2567

· มูลค่าขั้นต่ำในการซื้อครั้งแรก 1,000 บาท ครั้งถัดไป 1,000 บาท

 

สำนักงานนโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม โดยกองทุนสิ่งแวดล้อม ร่วมกับองค์กรความร่วมมือระหว่างประเทศของเยอรมัน (GIZ) จัดงานสัมมนาวิชาการกองทุนสิ่งแวดล้อม ประจำปี พ.ศ. ๒๕๖๖: เปิดตัวกองทุน ThaiCI (Thai Climate Initiative Fund) ภายใต้กองทุนสิ่งแวดล้อม เพื่อเป็นกลไกขับเคลื่อนการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศใหม่ที่สนับสนุนการดำเนินการกิจกรรมด้านการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศในประเทศไทย

 นายเถลิงศักดิ์ เพ็ชรสุวรรณ รองปลัดกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม (ทส.) เป็นประธานในพิธีเปิดตัว “กองทุน ThaiCI ภายใต้กองทุนสิ่งแวดล้อม” เมื่อวันที่ 17 สิงหาคม พ.ศ. 2566 โดยมีนายฮานส์ อูลริช ซูดเบค อุปทูต สถานเอกอัครราชทูตสหพันธ์สาธารณรัฐเยอรมนี ประจําประเทศไทย กล่าวแสดงความยินดี และมีปาฐกถาพิเศษจากนายพิรุณ สัยยะสิทธิ์พานิช เลขาธิการสำนักงานนโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม (สผ.) และนายฟิลิปป์ เบห์เรนส์ หัวหน้าแผนงานปกป้องการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศระดับสากล (IKI) กระทรวงเศรษฐกิจและการดำเนินการด้านสภาพภูมิอากาศ (BMWK) สหพันธ์สาธารณรัฐเยอรมนี พร้อมด้วยนายไรน์โฮลด์ เอลเกส ผู้อำนวยการองค์กรความร่วมมือระหว่างประเทศของเยอรมัน (GIZ) ประจำประเทศไทย โดยมีส่วนราชการ องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น สถาบันการศึกษา องค์กรเอกชนด้านสิ่งแวดล้อม ภาคเอกชน และสื่อมวลชน ประมาณ 200 ท่าน ร่วมงาน ณ โรงแรมพูลแมน คิง เพาเวอร์ (รางน้ำ) กรุงเทพมหานคร

กองทุน ThaiCI (Thai Climate Initiative fund) เป็นกลไกการเงินที่สนับสนุนการดำเนินการด้านการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศในประเทศไทย ที่ดำเนินการภายใต้กองทุนสิ่งแวดล้อม โดยได้รับเงินสนับสนุนสูงสุดถึง 6.5 ล้านยูโร จากแผนงานปกป้องการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศระดับสากล (IKI) โดยกระทรวงเศรษฐกิจและการดำเนินการ ด้านสภาพภูมิอากาศ (BMWK) ซึ่งประกอบด้วยการสนับสนุนด้านวิชาการ เพื่อการยกระดับขีดความสามารถด้านการดำเนินงานของกองทุนสิ่งแวดล้อม และการเสริมสร้างขีดความสามารถของผู้ดำเนินโครงการด้านการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ และเงินทุน (Seed funding) เพื่อสนับสนุนโครงการด้านการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศในประเทศไทย ทั้งโครงการด้านการลดก๊าซเรือนกระจก และการปรับตัวต่อการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ

นายเถลิงศักดิ์ เพ็ชรสุวรรณ รองปลัด ทส. กล่าวขอบคุณประเทศเยอรมนีสำหรับการเป็นพันธมิตรในการดำเนินงาน ด้านทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมร่วมกันอย่างต่อเนื่อง รวมทั้งเน้นย้ำความมุ่งมั่นของไทยในการขับเคลื่อนการดำเนินงานด้านการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ โดยกลไกทางการเงิน (Finance Mechanism) ของรัฐและการขอรับการสนับสนุนงบประมาณจากต่างประเทศจะเป็นปัจจัยที่จะนำไปสู่ความสำเร็จในการดำเนินงานด้านการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ ด้วยเหตุนี้ ความร่วมมือกับรัฐบาลเยอรมันในการจัดตั้งกองทุนภูมิอากาศของไทย หรือที่เรียกชื่อย่อว่า กองทุน ThaiCI (ไทย-กี้) ภายใต้กองทุนสิ่งแวดล้อม จึงถือเป็นหมุดหมายที่สำคัญอันจะนำไปสู่ผลสำเร็จในการจัดการปัญหาการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศในระดับสากล

นายฮานส์ อูลริช ซูดเบค อุปทูต สถานเอกอัครราชทูตสหพันธ์สาธารณรัฐเยอรมนี ประจําประเทศไทย เน้นย้ำถึงการขยายความร่วมมือระหว่างไทยและเยอรมนีจากระดับการเมือง เศรษฐกิจ และประชาสังคม สู่การส่งเสริม

การพัฒนาที่ยั่งยืนพร้อมรับมือกับความท้าทายด้านการเปลี่ยนแปลงภูมิสภาพอากาศและสิ่งแวดล้อม “การเปิดตัว ThaiCI ซึ่งเป็นการริเริ่มการให้เงินทุนในการดำเนินโครงการด้านการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศขนาดเล็ก-กลางในภาคส่วนที่เกี่ยวข้อง และหวังเป็นอย่างยิ่งว่า ThaiCI จะเป็นกลไกทางการเงินในการนำด้านนโยบายที่เกี่ยวข้องกับการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ เปลี่ยนผ่านไปสู่การดำเนินการที่สร้างผลลัพธ์ที่เป็นรูปธรรม

ในปาฐกถาหัวข้อกลไกทางการเงินในการขับเคลื่อนการดำเนินงานด้านการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศไปสู่ระดับพื้นที่ นายพิรุณ สัยยะสิทธิ์พานิช กล่าวว่า กองทุน ThaiCI จะสนับสนุนเงินให้กับหน่วยงานภาครัฐ องค์กรปกครอง ส่วนท้องถิ่น สถาบันการศึกษา องค์กรเอกชนด้านสิ่งแวดล้อม (NGOs) และภาคเอกชน ในรูปแบบการเปิดรับข้อเสนอ (Call for Proposals) สำหรับโครงการลดก๊าซเรือนกระจกและการปรับตัวต่อการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ โดยคาดว่าจะเปิดรับข้อเสนอโครงการ ภายในสิ้นปี พ.ศ. 2566 และกองทุน ThaiCI จะเปิดโอกาสให้ประเทศไทยสามารถเป็นพันธมิตรกับแหล่งเงินทุนอื่น ๆ ทั้งในและต่างประเทศเพิ่มเติม

นายฟิลิปป์ เบห์เรนส์ หัวหน้าแผนงาน IKI กระทรวงเศรษฐกิจและการดำเนินการด้านสภาพภูมิอากาศ กล่าวถึงการฉลองครบรอบ 15 ปี ของแผนงานปกป้องการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศระดับสากล (IKI) และเน้นย้ำว่าประเทศไทยเป็นหนึ่งประเทศที่กองทุน IKI ให้ความสำคัญ ทั้งนี้ ThaiCI เป็นโครงการนำร่องใหม่ที่ได้รับการสนับสนุนแบบทวิภาคี (IKI Country Call) โดยมีจุดมุ่งหมายเพื่อเป็นเครื่องมือทางการเงินด้านการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศสำหรับประเทศไทย ซึ่ง ThaiCI มีความคล้ายคลึงกับ IKI Small Grants ที่สนับสนุนผู้ดำเนินการโครงการขนาดกลาง และขนาดเล็ก

นอกจากนี้ ภายในงานยังมีการอภิปรายในหัวข้อ "การต่อยอดขยายผลการจัดการด้านทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมไปสู่การดำเนินงานด้านการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ" ซึ่งมีผู้ดำเนินโครงการด้านสิ่งแวดล้อมและ การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศร่วมอภิปรายความสำคัญของการบูรณาการการดำเนินการด้านสภาพภูมิอากาศเข้ากับ การจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม อีกทั้งยังมีการจัดแสดงนิทรรศการเกี่ยวกับกองทุน ThaiCI กองทุนสิ่งแวดล้อม และการดำเนินงานด้านการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศของหน่วยงานภาคีเครือข่าย

นายไรน์โฮลด์ เอลเกส ผู้อำนวยการองค์กรความร่วมมือระหว่างประเทศของเยอรมัน (GIZ) ประจำประเทศไทย แสดงความยินดีกับประเทศไทยในก้าวแรกของการมีเงินทุนเฉพาะด้านที่สนับสนุนงานด้านการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ และมั่นใจว่ากองทุน ThaiCI จะเป็นรากฐานที่เข้มแข็งสำหรับประเทศไทยในการขับเคลื่อนการปฏิบัติ ซึ่งจะทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงในเชิงบวกของทุกภาคส่วนในเศรษฐกิจและสังคม ในนามของรัฐบาลกลางเยอรมัน GIZ จะยังคงทำงานร่วมกับประเทศไทยอย่างต่อเนื่องเพื่อเปลี่ยนความมุ่งมั่นไปสู่การปฏิบัติอย่างเป็นรูปธรรม

ThaiCI เป็นส่วนหนึ่งของโครงการความร่วมมือ Thai-German Cooperation on Energy, Mobility and Climate Programme (TGC EMC) ซึ่งมีวัตถุประสงค์ในการส่งเสริมความร่วมมือเพื่อมุ่งสู่เป้าหมายความเป็นกลางทางคาร์บอนภายในปี 2593 ของประเทศไทย โดยได้รับงบประมาณสนับสนุนจำนวน 26 ล้านยูโรจากกองทุน IKI ของ BMWK และดำเนินการผ่าน GIZ ในระยะเวลา 5 ปี (พ.ศ. 2566-2570)

Page 1 of 4
X

Right Click

No right click