September 08, 2024
×

Warning

JUser: :_load: Unable to load user with ID: 813

รมต.สุวิทย์ “SEP for SDGs: หัวใจขับเคลื่อนThailand 4.0”

September 29, 2017 4065

เป้าหมายการพัฒนายั่งยืนหรือ (SDGsSustainableDevelopment Goals เป็นเป้าหมายการพัฒนาประเทศของสหประชาชาติที่อยู่ภายใต้การพัฒนา ปี ค.ศ. 2030 โดยมีประเทศสมาชิก 194 ประเทศร่วมลงนามเพือรับรองและให้คำมั่นว่าจะร่วมกันบรรลุ SDGs ภายในปี ค.ศ. 2030 ซึ่งประเทศไทยก็เป็นหนึ่งในสมาชิกที่ให้คำมั่นด้วย ในการนี้รัฐบาลไทยจึงดำเนินการผลักดัน SDGs ผ่านกลไกคณะกรรมการที่ยั่งยืน(กพย.) ในโอกาสที่สำนักงานกองทุนสนันสนุนการวิจัย (สกว.) และโครงการประสานงานการวิจัยเพื่อสนับสนุนการพัฒนาที่ยั่งยืน SDGs Move เปิดเวทีสาธารณะ เป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืนของประเทศไทย : สถานะก้าวต่อไป" ณ.โรงแรมโนโวเทล สยามสแควร์ องค์กรหลายภาคส่วนได้เข้าร่วมงาน เพื่อร่วมระดมความคิดเห็นและพร้อมขับเคลื่อนการพัฒนาที่ยั่งยืน SDGs ผ่านภาคีเครือข่ายประชารัฐ องค์กรเอกชนและกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมืองที่มีทั่วประเทศ 

ดร.สุวิทย์ เมษินทรีย์ รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี  เป็นประธานเปิดงานและปาฐกถาพิเ ศษ เรื่อง“SEP for SDGs: หัวใจขับเคลื่อน Thailand 4.0” กล่าวว่า เป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน (Sustainable Development Goals: SDGs) และปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง (Sufficiency Economy Philosophy: SEP) ในนาม "SEP for SDGs" กับ "Thailand 4.0" มีความเหมือนหรือแตกต่างกันอย่างไร บางท่านเห็นว่า SDGs เป็นการนำแนวคิดจากข้างบนลงมาสู่ระดับล่าง From Grand To Ground ซึ่งเห็นว่าหลักการ SDGs นำมาจากหลักเศรษฐกิจพอเพียงที่ รัชกาลที่ 9 ได้ผ่านการลงพื้นที่ปฎิบัติจริงและพิสูจน์มาแล้ว จากนั้นจึงนำมาเป็นแนวคิดใหม่ของการพัฒนาโลก From Grand To Ground 

ดังนั้น SEP และ SDGs จึงสอดรับไปด้วยกัน และประเทศไทยของเราจะก้าวเดินไป ทางไหนในอนาคต ทางสกว.จะดำเนินโครงการสำรวจสถานะของเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืนในบริบทประเทศไทย ซึ่ง"SEP for SDGs" และ "Thailand 4.0" นั้นเป็นเรื่องที่สอดรับกัน และมีเป้าหมายเดียวกัน นั่นคือการมุ่งพัฒนาประเทศไปสู่ “ความยั่งยืน” การเดินหน้าไปสู่ความยั่งยืนนั้น จะต้องเริ่มจากการสร้างสมดุลในการพัฒนา หรือ "Thriving in Balance" ตามปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง ซึ่งจะต้องมีการปรับเปลี่ยนหลัก คิดของคนให้ถูกต้อง และปรับกระบวนทัศน์ในการพัฒนาให้ถูกทาง เพื่อเปลี่ยนผ่านประเทศไปสู่ Thailand 4.0

 

สำหรับการปรับโครงสร้างสู่ ระบบเศรษฐกิจที่เน้นคุณค่า (Value-Based Ecosystem) ได้แก่

          1.ระบบเศรษฐกิจไหลเวียน (Circular Economy)ระบบเศรษฐกิจที่ทำให้มนุษย์มีความสมดุลอยู่ร่วมกับธรรมชาติ ตอบโจทย์ ความยั่งยืน การเติบโตโดยใช้ทรัพยากรอย่างชาญฉลาด ไม่ทำลายสิ่งแวดล้อม เช่น การมุ่งเน้นธุรกิจ การผลิตและการใช้เทคโนโลยีที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม  การปรับแนวคิดจากเดิมที่เคยคำนึงแต่ความได้เปรียบเรื่องต้นทุนเป็นหลัก (Cost Advantage)มาเป็นการคำนึงถึงประโยชน์ที่ได้จากการสูญเสียที่เกิดขึ้นทั้งระบบ(Loss Advantage) การส่งเสริมองค์กรที่ คิดดี ทำดี การบริหารจัดการความเสี่ยงจากภัยพิบัติ การพัฒนาเมืองอัจฉริยะและเมืองน่าอยู่ การมุ่งเน้นการใช้พลังงานทดแทน ตัวอย่างงานวิจัยของ ม.เทคโนโลยีสุรนารีได้ทำโครงการ จัดตั้งศูนย์ถ่ายทอดนวัตกรรมเศรษฐกิจหมุนเวียน, เทคโนโลยีบำบัดขยะมูลฝอยโดยวิธีกลและชีวภาพ

          2.ระบบเศรษฐกิจกระจายตัว (Distributive Economy)  จะลดความเหลื่อมล้ำทำให้เกิดสมดุลระหว่างมนุษย์กับมนุษย์ จะได้ตอบโจทย์ ความมั่นคง” โดยกระจายความมั่งคั่งและโอกาส ทำให้คนอยู่ร่วมกันได้อย่างสันติสุข เช่น สร้างภูมิคุ้มกันที่เพียงพอให้ กับคนยากจน 40 แรก การส่งเสริมวิสาหกิจเพื่อสังคม ยกระดับผลิตภาพของาคการเกษตร การปรับปรุงคุณภาพของการศึกษาและ ปรับทักษะแรงงานให้สอดรับกับโลก ยุค 4.0 การส่งเสริมเอสเอ็มอีให้เข้มแข็ งและแข่งขันได้บนเวทีโลก การสร้างคลัสเตอร์เศรษฐกิจระดับ กลุ่มจังหวัด และจังหวัด  การพัฒนา Innovation Hub ให้กระจายในระดับูมิภาค การสร้างเศรษฐกิจฐานรากในชุมชน การสร้างเครือข่ายความร่วมมือใน รูปแบบประชารัฐ เป็นต้น ยกตัวอย่าง ภาคประชารัฐและมหาวิทยาลัยในภาคอีสาน ได้ทำวิจัยโครงการเสริมสร้างศักยภาพสินค้าและผลิตภัณฑ์ชุมชนเพื่อการท่องเที่ยว

         

3.ระบบเศรษฐกิจขับเคลื่อนด้วยนวัตกรรม (Innovation-Driven Economy ) เป็นกลไกขับเคลื่อนสู่ ความมั่งคั่ง”  ปรับเปลี่ยนจากเดิมที่เน้นเงิน ทุนและทุนทางกายภาพ มาเป็นการเน้นปัญญามนุษย์และเทคโนโลยี เพราะมันจะตอบโจทย์ความสมดุลระหว่างมนุษย์กับเทคโนโลยี ทำให้เทคโนโลยีเกิดประโยชน์ต่อมนุษย์ นำความมั่งคั่งมาให้ เช่น การยกระดับทักษะด้านดิจิตอลไอซีทีและมีเดีย การยกระดับความสามารถด้านวิจัยและพัฒนา การสร้างคลัสเตอร์และเทคโนโลยีและนวัตกรรม การบ่มเพาะผู้ประกอบการด้านเทคโนโลยี การออกแบบและความคิดสร้างสรรค์ การพัฒนาวิสาหกิจที่ขับเคลื่อนด้วยนวัตกรรม การพัฒนาทักษะและงานใหม่เพื่อรองรับการเปลี่ยนแปลงในอนาคต การสร้างสภาพแวดล้อมที่เอื้อต่อ การทำธุรกิจ การบริหารจัดการสมัยใหม่ เป็นต้น

 

        

ทั้ง  ระบบเศรษฐกิจที่เน้นคุณค่า นี้ช่วยสร้างสมดุลให้เกิดขึ้น ทั้งระหว่าง "มนุษย์ กับ ธรรมชาติ" "มนุษย์ กับ มนุษย์" และ "มนุษย์ กับ เทคโนโลยี" สอดรับกับ SDGs ทั้ง 17 เป้าหมายอย่างสอดคล้องลงตัว ในบริบทของเอกชนนั้น การพัฒนาที่ยั่งยืนยากที่จะเกิดขึ้น จากการทำกิจกรรม CSR เพียงอย่างเดียว แต่จะเกิดขึ้นได้อย่างยั่งยืนถาวรก็ต่อเมื่อภาคเอกชนมีการ ปรับเปลี่ยนกระบวนทัศน์ในการดำเนินธุรกิจ จาก"Greed for Growth, Growth for Greed" มาเป็น "Doing Good, Doing Well" Doing Good เพื่อตอบโจทย์ Stakeholders ส่วน Doing Well เพื่อตอบโจทย์ Shareholders ของบริษัท Doing Good สะท้อนความเป็น "คน" ขององค์กร ในขณะที่ Doing Well สะท้อนความเป็น "ตน" ขององค์กร Doing Good และ Doing Well จึงเสมือน หยิน กับ หยาง ที่ต้องสร้างให้เกิดความสมดุล เมื่อสมดุลจึงจะเกิดการเติบโต แต่เป็นการเติบโตที่ยั่งยืน

 

การขับเคลื่อน SEP for SDGs บนภาคีเครือข่ายความร่วมมือประชารัฐ และกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมืองทั่วประเทศ  79,593 แห่งจะเป็นแพลตฟอร์มที่ยั่งยืน SEP for SDGs จะเกิดขึ้นไม่ได้ หากไม่มีการ “ลงมือปฏิบัติ” อย่างจริงจัง และต้องเป็นการลงมือปฏิบัติในระดับพื้นที่ ภูมิสังคม ศักยภาพ เงื่อนไขและความท้าทายที่แตกต่างกัน ตามโมเดล "Action-Oriented Area-Based Economy ส่วนโมเดลธุรกิจที่ยั่งยืน จะยังคงเป็นกลไกทางตลาด (Market-Based Economy) แต่ต้องเสริมสร้างให้เป็น "Merit-Oriented Market-Based Economy" ที่แต่ละองค์กรดำเนินธุรกิจคิดดี ทำดีจะได้รับประโยชน์ โดยยึด “Doing Good, Doing Well” เป็นสำคัญนั่นเอง

        "SEP for SDGs" จะบรรลุผล หากร่วมมือกันและลงไปสู่พื้นที่อย่างจริงจัง ถึงเวลาที่เราคนไทยทุกาคส่วนจะร่วมกันทำเรื่องนี้ให้ กลายเป็นจริง เชื่อว่าอีก 3-4 ปีข้างหน้าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างแท้จริง 

 
 
X

Right Click

No right click