PT Bank Rakyat Indonesia (Persero) Tbk (IDX: BBRI) เปิดเผยกลยุทธ์เพื่อเร่งการทำระบบนิเวศ UMi (Ultra-Micro Holding) ในอินโดนีเซีย หลังจากการก่อตั้ง UMi holding อย่างเป็นทางการในวันที่ 13 กันยายน 2564 โดย BRI มีการใช้กลยุทธ์หลัก 3 ประการตั้งแต่ช่วงครึ่งแรกของปี 2564
สำหรับระบบนิเวศนั้น BRI ได้ออกหุ้นเพิ่มทุนและจัดสรรหุ้นเพิ่มทุนให้แก่ผู้ถือหุ้นเดิมตามสัดส่วน (Rights Issue) สูงสุด 28,213,191,604 หุ้นสำหรับการระดมทุนรอบ B Series ที่ราคา 3,400 รูเปียห์ต่อหุ้น รัฐบาลอินโดนีเซียได้จองซื้อตามสิทธิทั้งหมดในรูปแบบที่ไม่ใช่ตัวเงิน (inbreng) โดยใช้หุ้นใน PT Pegadaian (Pegadaian) และ PT Permodalan Nasional Madani (PNM) แก่ BRI
ในช่วง 3 ปีแรก BRI ตั้งเป้าในการวางพื้นฐานผ่านแผนหลังบูรณาการ ขณะเดียวกันก็ดำเนินการตามการริเริ่มต่าง ๆ รวมถึงโคโลเคชันด้วย ส่วนในเฟส 2 นั้น BRI, Pegadaian และ PNM จะเริ่มระยะการเสริมความแข็งแกร่ง ซึงรวมถึงการริเริ่มใหม่ ๆ เช่น ช่องทางดิจิทัลที่ช่วยให้ลูกค้าเข้าถึงผลิตภัณฑ์ของ UMi holding ได้ง่ายขึ้น
ในเฟส 3 BRI จะยกระดับความสามารถในด้านการเงินที่ครอบคลุมในอินโดนีเซีย โดย BRI วางแผนจะเปิดตัวโปรแกรมเพิ่มความสามารถเต็มรูปแบบเพื่อเพิ่มความรู้ด้านการเงิน การเติบโตของธุรกิจ และการเข้าถึงดิจิทัลสำหรับลูกค้าองค์กรทั้ง 3 นี้
กระทรวงสหกรณ์และ SME เปิดเผยว่า มีองค์กรขนาดย่อยราว 45 ล้านแห่งในอินโดนีเซียที่ต้องการเงินทุนสนับสนุนในปี 2562 แต่มีธุรกิจขนาดย่อยเพียง 20 ล้านแห่งเท่านั้นที่เข้าถึงสถาบันในระบบได้
Catur Budi Harto รองประธานของ BRI กล่าวว่า “ธุรกิจรายย่อยราว 12 ล้านแห่งเข้าถึงเงินทุนจากแหล่งนอกระบบ เช่น ครอบครัว ญาติ และสถาบันนอกระบบอื่น ๆ ในขณะเดียวกัน ธุรกิจรายย่อยราว 14 ล้านแห่งไม่มีโอกาสเข้าถึงเงินทุนเลย ไม่ว่าจะในระบบหรือนอกระบบ สิ่งนี้จะเป็นเป้าหมายสำหรับการเติบโตของธุรกิจรายย่อยในอนาคต”
ในแง่ของธุรกิจนั้น UMi Ecosystem จะเปิดโอกาสให้องค์กรทั้งสามได้เสริมแกร่งกระบวนการได้มาและการค้ำประกัน ด้วยการผนวกรวมฐานข้อมูลลูกค้าสินเชื่อกว่า 20 ล้านรายการโดยใช้ขีดความสามารถทางดิจิทัลและการวิเคราะห์
นับจนถึงวันนี้ BRI มีลูกค้าเงินฝากกว่า 120 ล้านราย และลูกค้าสินเชื่อกว่า 13 ล้านราย ในฐานะผู้นำตลาดธุรกิจรายย่อยในอินโดนีเซีย BRI คว้าส่วนแบ่งตลาดมาได้ 60% ซึ่งประกอบด้วยลูกค้ารายย่อย 12.4 ล้านราย