และหากพิจารณาเทียบกับเดือนกุมภาพันธ์ (ปรับผลของฤดูกาล) การส่งออกจะขยายตัว 7.3% (MOM, SA) อย่างไรก็ตาม เมื่อหักทองคำ (ซึ่งเป็นสินค้าที่ไม่ได้สะท้อนภาวะการค้าที่แท้จริง) มูลค่าการส่งออกขยายตัวอยู่ที่ 9.5% ชะลอตัวจากเดือนก่อนหน้าที่ 13.2% สอดคล้องกับดัชนีผู้จัดการฝ่ายจัดซื้อในภาคการผลิตโลก (Global Manufacturing PMI) และดัชนีคำสั่งซื้อจากต่างประเทศ (Export Orders) ที่ปรับลดลงต่ำที่สุดในรอบ 18 เดือน และ 20 เดือน ตามลำดับ สะท้อนทิศทางการชะลอตัวในภาคการผลิตและการค้าโลกในระยะข้างหน้า สำหรับการส่งออกไทยในเดือนมีนาคมมีสินค้าส่งออกหนุนสำคัญนอกจากทองคำหลายสินค้า เช่น คอมพิวเตอร์ อัญมณีและเครื่องประดับ ไขมันและน้ำมันจากพืชและสัตว์ น้ำตาลทราย เป็นต้น และมีตลาดสำคัญที่ขยายตัวได้ดีคือ อาเซียน-5 อินเดีย และตะวันออกกลาง ในภาพรวมมูลค่าส่งออกไทยไตรมาสแรกของปีขยายตัว 14.9%
สงครามในยูเครนและนโยบายปิดเมืองของจีนเริ่มส่งผลกระทบต่อส่งออกไทยส่งออกไทยเริ่มได้รับผลกระทบจากการชะลอตัวของอุปสงค์รวมถึงปัญหาชะงักชะงันของอุปทานโลกจากภาวะสงครามระหว่างรัสเซียและยูเครน โดยส่งออกไทยไปรัสเซียและยูเครน เดือนมีนาคมหดตัวถึง 73% และ 77.8% ตามลำดับ ประกอบกับการใช้มาตรการควบคุมโรคที่เข้มงวดของจีน ซึ่งเป็นผู้เล่นสำคัญในห่วงโซ่อุปทานโลก ทั้งนี้ถึงแม้ว่าที่ผ่านมาผลกระทบต่อมูลค่าส่งออกไทยจะยังจำกัด แต่ EIC คาดว่าการส่งออกของไทยจะได้รับผลกระทบมากขึ้นในระยะถัดไป สะท้อนจากข้อมูลการส่งออก 20 วันแรกของเดือนเมษายนของเกาหลีใต้ที่ยังทรงตัวและอาจมีแนวโน้มชะลอตัวลง หากจีนยังคงดำเนินมาตรการควบคุมโรคที่เข้มงวดต่อไป และหลายอุตสาหกรรมที่พึ่งพาตลาดยุโรปสูงอาจได้รับผลกระทบ อย่างไรก็ตาม อุตสาหกรรมบางกลุ่มก็อาจได้รับอานิสงส์จากการส่งออกสินค้าเพื่อทดแทนสินค้าจากรัสเซียในตลาดยุโรปและอาจขยายส่วนแบ่งตลาดได้
EIC คาดการส่งออกไทยในปี 2022 ยังขยายตัวต่อเนื่อง โดย EIC ปรับคาดการณ์มูลค่าส่งออกสินค้าไทยขยายตัวที่ 6.1% สูงกว่าคาดการณ์เดิมที่ 3.4% โดยถึงแม้เศรษฐกิจโลกมีแนวโน้มชะลอตัวจากผลกระทบของภาวะสงคราม ทำให้ปริมาณส่งออกไทยอาจขยายตัวในอัตราที่ชะลอลงในระยะข้างหน้า แต่ราคาสินค้าส่งออกของไทยจะมีแนวโน้มเพิ่มสูงขึ้น ตามราคาสินค้าและโภคภัณฑ์ที่สูงขึ้นทั่วโลก โดยเฉพาะสินค้าพลังงาน จากผลกระทบของสงครามรัสเซีย-ยูเครน เนื่องจากรัสเซียและยูเครนเป็นผู้ส่งออกโภคภัณฑ์ที่สำคัญหลายชนิด ประกอบกับแนวโน้มเงินบาทที่อาจอ่อนค่าในระยะสั้นจากแรงกดดัน
จากความต้องการถือสินทรัพย์เสี่ยงที่ลดลง ดุลบัญชีเดินสะพัดที่มีแนวโน้มขาดดุลมากขึ้น และการขึ้นดอกเบี้ยของหลายเศรษฐกิจสำคัญทั่วโลก จะสนับสนุนความสามารถในการแข่งขันด้านราคาของภาคส่งออกไทย ส่งผลให้ส่งออกขยายตัวสูงกว่าประมาณการเดิม
KEY POINTS
การส่งออกเดือนมีนาคม 2022 มีมูลค่าสูงสุดนับตั้งแต่มีการเก็บข้อมูลที่ 28,859.6 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ขยายตัว 19.5%YOY (เทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อนหน้า) ซึ่งเป็นการขยายตัวต่อเนื่องเป็นเดือนที่ 13 โดยได้รับปัจจัยหนุนจากการส่งออกทองคำเป็นหลัก โดยหากหักทองคำการส่งออกจะขยายตัวชะลอลงมาที่ 9.5%
ในภาพรวมการส่งออกรายสินค้าเดือนมี.ค.พบว่า ขยายตัวได้ทั้งในกลุ่มสินค้าเกษตร สินค้าอุตสาหกรรมการเกษตร สินค้าอุตสาหกรรม รวมถึงสินค้าแร่และเชื้อเพลิง
• สินค้าเกษตรขยายตัว 3.3% หลังจากที่หดตัว -1.7% ในเดือนก่อนหน้า โดยมีข้าว (+53.9%), ผลิตภัณฑ์สำปะหลัง (+6.3%), และไก่แปรรูป (+6.6%) เป็นสินค้าหนุนสำคัญ และมีตลาดหนุนหลายตลาด เช่น อิรัก (+60,612%), สหรัฐฯ (+31.8%) และสหราชอาณาจักร (+26%) เป็นต้น
• สินค้าอุตสาหกรรมการเกษตรขยายตัว 27.7% ขยายตัวต่อเนื่อง 13 เดือน โดยมีไขมันและน้ำมันจากพืชและสัตว์ (+350.1%) และน้ำตาลทราย (+204.3%) เป็นสินค้าหนุนสำคัญ โดยมีอินเดีย (+1,191.8%) และอินโดนีเซีย (+262.7%) เป็นตลาดหนุนสำคัญ
• สินค้าอุตสาหกรรมขยายตัว 20.6% ขยายตัวต่อเนื่องเป็นเดือนที่ 13 โดยมีสินค้าหนุนหลายประเภท เช่น ทองคำ (+1,046.7%), คอมพิวเตอร์และส่วนประกอบ (+32.3%) อัญมณีและเครื่องประดับไม่รวมทองคำ (+37.1%) เป็นต้น ในขณะที่มีรถยนต์และส่วนประกอบ (-10.9%) และผลิตภัณฑ์ยาง (-13.4%) เป็นสินค้าฉุดสำคัญ
• สินค้าแร่และเชื้อเพลิงขยายตัว 19.5% ขยายตัวต่อเนื่อง 13 เดือน โดยมีน้ำมันสำเร็จรูป (+19.8%) เป็นสินค้าหนุนสำคัญ และมีตลาดหนุนหลายตลาด เช่น มาเลเซีย (+52.8%), ลาว (+25.4%) และเกาหลีใต้ (+674.6%) เป็นต้น อย่างไรก็ตาม มีจีน (-56.1%) เป็นตลาดฉุดสำคัญ
ด้านการส่งออกรายตลาด พบว่าตลาดรัสเซียและยูเครนหดตัวรุนแรง ตลาดยุโรปชะลอตัวลง ในขณะที่ตลาดฮ่องกงหดตัวเล็กน้อย
• การส่งออกไปรัสเซียและยูเครนหดตัวอย่างรุนแรงที่ -73% และ -77.8% จากผลกระทบของสงครามระหว่างสองประเทศ
• การส่งออกไปสหภาพยุโรปและสหราชอาณาจักร (EU28) ขยายตัว 8% ชะลอตัวจากเดือนก่อนหน้าที่ 9.6% โดยมีสินค้าหนุนสำคัญเป็นอากาศยานฯ (+3,575.3%), และอัญมณีและเครื่องประดับ (+85.5%) ในขณะที่คอมพิวเตอร์และส่วนประกอบ (-22.1%), และรถยนต์และส่วนประกอบ (-48.2%) เป็นสินค้าฉุดสำคัญ อย่างไรก็ตาม หากหักสินค้าในกลุ่มอากาศยานฯ ซึ่งอาจโตขึ้นจากปัจจัยเฉพาะชั่วคราวและไม่สะท้อนการส่งออกของไทยได้อย่างแท้จริง การส่งออกไป EU28 จะขยายตัวได้เพียง 2.1% ในเดือนมีนาคม ชะลอตัวลงจากเดือนก่อนหน้าที่ 9.4%
• การส่งออกไปฮ่องกงหดตัว -1% หลังจากที่ขยายตัว 29.7% ในเดือนก่อนหน้า โดยมีแผงวงจรไฟฟ้า (-13.6%), อุปกรณ์กึ่งตัวนำ ทรานซิสเตอร์ และไดโอด (-17.7%), เครื่องสำอางฯ (-50.1%) และโทรศัพท์ฯ (-48.7%) เป็นสินค้าฉุดสำคัญ ในขณะที่มีเครื่องยนต์สันดาปภายในแบบลูกสูบและส่วนประกอบ (+10,901.6%), เครื่องคอมพิวเตอร์และส่วนประกอบ (+4.9%) และอัญมณีและเครื่องประดับ (+71.3%) เป็นสินค้าหนุนสำคัญ
• การส่งออกไปสวิตเซอร์แลนด์ขยายตัว 2,865% จากการส่งออกทองคำไปยังสวิตเซอร์แลนด์ที่มากถึง 1,812.9 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ในเดือนมีนาคม 2022 คิดเป็น 67.9% ของการส่งออกทองคำทั้งหมดของไทย
ด้านมูลค่านำเข้าในไตรมาสแรกของปี 2022 ขยายตัว 18.4%YOY ชะลอตัวจากไตรมาสก่อนหน้าที่ 29.4%โดยในไตรมาสนี้ขยายตัวในเกือบทุกหมวดนำเข้าสำคัญ ได้แก่ สินค้าเชื้อเพลิง (+86.2%) ที่ขยายตัวตามราคาที่ปรับเพิ่มขึ้นสูงมาจากการฟื้นตัวของอุปสงค์โลกและสงครามในยูเครน สินค้าทุน (+12%), สินค้าอุปโภคบริโภค (+10.8%) และสินค้าวัตถุดิบและกึ่งสำเร็จรูป (+7.3%, หรือ +17.6% หากหักทองคำ) ยกเว้นสินค้ากลุ่มยานพาหนะและอุปกรณ์การขนส่ง (-20.2%) ทั้งนี้ในภาพรวมของปี 2021 การนำเข้าขยายตัวที่ 29.8% ในส่วนของดุลการค้าไตรมาสแรกของปี 2022 ขาดดุลอยู่ที่ -944 ล้านดอลลาร์สหรัฐ
IMPLICATIONS
มูลค่าการส่งออกในเดือนมีนาคมยังขยายตัวต่อเนื่องแต่เริ่มเห็นถึงสัญญาณชะลอตัวจากผลกระทบของสงครามต่ออุปสงค์โลกและปัญหาชะงักงันของอุปทาน ภาพรวมการส่งออกสินค้าของไทยขยายตัวได้ในอัตราที่เร่งตัวขึ้นที่ 19.5% จาก 16.2% ในเดือนกุมภาพันธ์ โดยหากพิจารณาเทียบกับเดือนกุมภาพันธ์ (ปรับผลของฤดูกาล) การส่งออกจะยังขยายตัวที่ 7.3% (MOM, SA) อย่างไรก็ตาม หากพิจารณามูลค่าส่งออกหักทองคำ ซึ่งเป็นสินค้าที่ไม่ได้สะท้อนภาวะการค้าที่แท้จริง การส่งออกจะขยายตัวอยู่ที่ 9.5% ชะลอตัวจากเดือนก่อนหน้าที่ 13.2% และ หากพิจารณาเทียบกับเดือนกุมภาพันธ์ (ปรับผลของฤดูกาล) การส่งออกหักทองจะขยายตัวเพียง 2.4% (MOM, SA) สอดคล้องกับดัชนีผู้จัดการฝ่ายจัดซื้อในภาคการผลิตโลก (Global Manufacturing PMI) ที่ย่อลงมาอยู่ที่ 53 ต่ำที่สุด ในรอบ 18 เดือน สะท้อนทิศทางการชะลอตัวในภาคการผลิตในระยะข้างหน้า และดัชนีคำสั่งซื้อจากต่างประเทศ (Export Orders) ที่ปรับตัวลดลงต่ำกว่าระดับ 50 และอยู่ในระดับที่ต่ำที่สุดในรอบ 20 เดือนที่ 48.2
ซึ่งเป็นผลกระทบจากการชะลอตัวของอุปสงค์จากผลกระทบของสงครามระหว่างรัสเซียและยูเครน นอกจากนี้ ปัญหาชะงักงันของอุปทานโลกเริ่มส่งผลต่อภาคการผลิตของไทย สะท้อนจากมูลค่าส่งออกรถยนต์ที่หดตัวลงกว่า 11% และอาจมีความเสี่ยงเพิ่มมากขึ้นในระยะต่อไปจากการใช้มาตรการควบคุมการแพร่ระบาดของโอมิครอนที่เข้มงวดของจีนซึ่งเป็นผู้เล่นสำคัญในห่วงโซ่อุปทานโลกในช่วงที่ผ่านมา ทำให้ EIC คาดว่าการส่งออกของไทยจะได้รับผลกระทบมากขึ้นเป็นลำดับ
สะท้อนจากข้อมูลการส่งออก 20 วันแรกของเดือนเมษายนของเกาหลีใต้ที่ยังทรงตัวและอาจมีแนวโน้มชะลอตัวลงหากจีนยังคงดำเนินมาตรการควบคุมโรคที่เข้มงวดต่อไปและการส่งออกไปตลาดฮ่องกงที่หดตัวลงจากการกลับมาใช้มาตรการควบคุมโรคที่เข้มงวดขึ้นในช่วงก่อนหน้า การส่งออกไปยุโรปยังขยายตัวได้แต่มีแนวโน้มชะลอลง โดยถึงแม้ว่าตัวเลขการส่งออกไปรัสเซียและยูเครนจะลดลงเป็นอย่างมากที่ 73% และ 77.8% ตามลำดับ รวมถึงดัชนี Manufacturing PMI ของรัสเซียในเดือนมีนาคมจะลดลงมาอยู่ในระดับที่ต่ำที่สุดในรอบเกือบ 1 ปีที่ 44.1 แต่ตลาดรัสเซียและยูเครนยังนับว่าเป็นตลาดส่งออกขนาดเล็กของไทย คิดเป็นเพียง 0.43% ของการส่งออกทั้งหมด (ข้อมูลปี 2021) ทำให้ผลกระทบต่อการค้าไทยยังคงค่อนข้างจำกัด ในขณะที่การส่งออกไปยุโรปซึ่งเป็นตลาดส่งออกที่สำคัญของไทยที่มีสัดส่วนมูลค่าคิดเป็น 9.3% ยังขยายตัวได้ดีแม้จะชะลอตัวลงที่ 8% สอดคล้องกับดัชนี Manufacturing PMI ของยุโรปที่ถึงแม้ว่าจะลดตัวลงมาจากเดือนก่อนหน้าเล็กน้อยที่ 54 แต่ก็ยังยืนเหนือระดับ 50 ได้ เป็นระยะเวลา 21 เดือนติดต่อกัน โดยหากภาวะสงครามในยูเครนยังคงยืดเยื้อและส่งผลถึงการชะลอตัวของเศรษฐกิจโลกโดยเฉพาะยุโรป อาจส่งผลให้ส่งออกไทยในระยะข้างหน้ามีความเสี่ยงเพิ่มมากขึ้นโดยเฉพาะกลุ่มสินค้าที่พึ่งพาตลาดยุโรปสูง (รูป 4 ซ้าย) อย่างไรก็ตาม ส่งออกไทยในบางกลุ่มสินค้าอาจได้รับอานิสงส์จากการคว่ำบาตรต่อรัสเซียทำให้มีโอกาสเข้าไปทำตลาดในยุโรปได้มากขึ้น เช่น ยางสังเคราะห์ ไม้อัด ปลาแช่แข็ง ฟอสฟิเนต รวมถึงสินค้าที่เกี่ยวเนื่องกับคาร์โบไฮเดรตที่อาจนำมาทดแทนข้าวสาลี ข้าวบาร์เลย์ และข้าวโพดของรัสเซียและยูเครน เป็นต้น
ในระยะถัดไปการส่งออกไปจีนมีแนวโน้มชะลอตัวลงจากมาตรการควบคุมโรคที่เข้มงวดและผลกระทบจากการชะลอตัวของเศรษฐกิจจีน โดยตัวเลขการส่งออกจากไทยไปยังประเทศจีนขยายตัวในอัตราชะลอลงมากจากปีที่แล้วที่ 3.2% ในเดือนมีนาคม สอดคล้องกับตัวเลขการนำเข้าโดยรวมของจีนที่ชะลอลง (รูปที่ 5 ซ้าย) ดัชนี Manufacturing PMI ของจีนในที่ลดลงจาก 50.4 ในเดือนกุมภาพันธ์เหลือ 48.1 ในเดือนมีนาคม และข้อมูลเร็วที่แสดงถึงกิจกรรมทางเศรษฐกิจที่ปรับตัวลดลงเช่นเดียวกัน
EIC ได้ปรับประมาณการส่งออกของไทยในปี 2022 เพิ่มขึ้นเป็น 6.1% จากเดิม 3.4% (ตัวเลขในระบบดุลการชำระเงิน) แต่การขยายตัวเป็นผลจากปัจจัยด้านราคาที่สูงขึ้นตามต้นทุนโดยเฉพาะในหมวดพลังงานเป็นหลักและมากกว่าการเพิ่มขึ้นในเชิงปริมาณ ซึ่งสอดคล้องกับการปรับลดอัตราการขยายตัวของเศรษฐกิจและการค้าโลกโดยหน่วยงานต่าง ๆ รวมถึง EIC และดัชนีราคาสินค้าส่งออกที่มีแนวโน้มปรับตัวสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง นอกจากนี้ เงินบาทที่อ่อนค่าจะเป็นปัจจัยสนับสนุนรายได้ของผู้ส่งออกไทยและอาจช่วยเพิ่มความสามารถในการแข่งขัน ซึ่งนับตั้งแต่เกิดสงครามเงินบาทอ่อนค่ามากกว่าสกุลเงินส่วนใหญ่ในภูมิภาค โดย EIC คาดเงินบาทในระยะสั้นจะเผชิญแรงกดดันจากความต้องการถือสินทรัพย์เสี่ยงที่ลดลง ดุลบัญชีเดินสะพัดที่มีแนวโน้มขาดดุลมากขึ้น และการขึ้นดอกเบี้ยของหลายเศรษฐกิจสำคัญทั่วโลก ก่อนจะกลับมาแข็งค่าขึ้นในช่วงครึ่งปีหลัง ในช่วงเปลี่ยนผ่านนี้ ภาคส่งออกไทยจึงจะได้รับประโยชน์จากความสามารถในการแข่งขันด้านราคาเพื่อเพิ่มส่วนแบ่งตลาด ซึ่งจะแปรเป็นรายได้ที่เพิ่มขึ้นของธุรกิจส่งออกไทย อย่างไรก็ตาม คาดว่ามูลค่าการนำเข้าสินค้าจะขยายตัวในอัตราที่เร่งตัวกว่ามากที่ 13.2%
KEY POINTS
การส่งออกเดือนมีนาคม 2022 มีมูลค่าสูงสุดนับตั้งแต่มีการเก็บข้อมูลที่ 28,859.6 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ขยายตัว 19.5%YOY (เทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อนหน้า) ซึ่งเป็นการขยายตัวต่อเนื่องเป็นเดือนที่ 13 โดยได้รับปัจจัยหนุนจากการส่งออกทองคำเป็นหลัก โดยหากหักทองคำการส่งออกจะขยายตัวชะลอลงมาที่ 9.5%
ในภาพรวมการส่งออกรายสินค้าเดือนมี.ค.พบว่า ขยายตัวได้ทั้งในกลุ่มสินค้าเกษตร สินค้าอุตสาหกรรมการเกษตร สินค้าอุตสาหกรรม รวมถึงสินค้าแร่และเชื้อเพลิง
- สินค้าเกษตรขยายตัว 3.3% หลังจากที่หดตัว -1.7% ในเดือนก่อนหน้า โดยมีข้าว (+53.9%), ผลิตภัณฑ์สำปะหลัง (+6.3%), และไก่แปรรูป (+6.6%) เป็นสินค้าหนุนสำคัญ และมีตลาดหนุนหลายตลาด เช่น อิรัก (+60,612%), สหรัฐฯ (+31.8%) และสหราชอาณาจักร (+26%) เป็นต้น
- สินค้าอุตสาหกรรมการเกษตรขยายตัว 27.7% ขยายตัวต่อเนื่อง 13 เดือน โดยมีไขมันและน้ำมันจากพืชและสัตว์ (+350.1%) และน้ำตาลทราย (+204.3%) เป็นสินค้าหนุนสำคัญ โดยมีอินเดีย (+1,191.8%) และอินโดนีเซีย (+262.7%) เป็นตลาดหนุนสำคัญ
- สินค้าอุตสาหกรรมขยายตัว 20.6% ขยายตัวต่อเนื่องเป็นเดือนที่ 13 โดยมีสินค้าหนุนหลายประเภท เช่น ทองคำ (+1,046.7%), คอมพิวเตอร์และส่วนประกอบ (+32.3%) อัญมณีและเครื่องประดับไม่รวมทองคำ (+37.1%) เป็นต้น ในขณะที่มีรถยนต์และส่วนประกอบ (-10.9%) และผลิตภัณฑ์ยาง (-13.4%) เป็นสินค้าฉุดสำคัญ
- สินค้าแร่และเชื้อเพลิงขยายตัว 19.5% ขยายตัวต่อเนื่อง 13 เดือน โดยมีน้ำมันสำเร็จรูป (+19.8%) เป็นสินค้าหนุนสำคัญ และมีตลาดหนุนหลายตลาด เช่น มาเลเซีย (+52.8%), ลาว (+25.4%) และเกาหลีใต้ (+674.6%) เป็นต้น อย่างไรก็ตาม มีจีน (-56.1%) เป็นตลาดฉุดสำคัญ
ด้านการส่งออกรายตลาด พบว่าตลาดรัสเซียและยูเครนหดตัวรุนแรง ตลาดยุโรปชะลอตัวลง ในขณะที่ตลาดฮ่องกงหดตัวเล็กน้อย
- การส่งออกไปรัสเซียและยูเครนหดตัวอย่างรุนแรงที่ -73% และ -77.8% จากผลกระทบของสงครามระหว่างสองประเทศ
- การส่งออกไปสหภาพยุโรปและสหราชอาณาจักร (EU28) ขยายตัว 8% ชะลอตัวจากเดือนก่อนหน้าที่ 9.6% โดยมีสินค้าหนุนสำคัญเป็นอากาศยานฯ (+3,575.3%), และอัญมณีและเครื่องประดับ (+85.5%) ในขณะที่คอมพิวเตอร์และส่วนประกอบ (-22.1%), และรถยนต์และส่วนประกอบ (-48.2%) เป็นสินค้าฉุดสำคัญ อย่างไรก็ตาม หากหักสินค้าในกลุ่มอากาศยานฯ ซึ่งอาจโตขึ้นจากปัจจัยเฉพาะชั่วคราวและไม่สะท้อนการส่งออกของไทยได้อย่างแท้จริง การส่งออกไป EU28 จะขยายตัวได้เพียง 2.1% ในเดือนมีนาคม ชะลอตัวลงจากเดือนก่อนหน้าที่ 9.4%
- การส่งออกไปฮ่องกงหดตัว -1% หลังจากที่ขยายตัว 29.7% ในเดือนก่อนหน้า โดยมีแผงวงจรไฟฟ้า (-13.6%), อุปกรณ์กึ่งตัวนำ ทรานซิสเตอร์ และไดโอด (-17.7%), เครื่องสำอางฯ (-50.1%) และโทรศัพท์ฯ (-48.7%) เป็นสินค้าฉุดสำคัญ ในขณะที่มีเครื่องยนต์สันดาปภายในแบบลูกสูบและส่วนประกอบ (+10,901.6%), เครื่องคอมพิวเตอร์และส่วนประกอบ (+4.9%) และอัญมณีและเครื่องประดับ (+71.3%) เป็นสินค้าหนุนสำคัญ
- การส่งออกไปสวิตเซอร์แลนด์ขยายตัว 2,865% จากการส่งออกทองคำไปยังสวิตเซอร์แลนด์ที่มากถึง 1,812.9 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ในเดือนมีนาคม 2022 คิดเป็น 67.9% ของการส่งออกทองคำทั้งหมดของไทย
ด้านมูลค่านำเข้าในไตรมาสแรกของปี 2022 ขยายตัว 18.4%YOY ชะลอตัวจากไตรมาสก่อนหน้าที่ 29.4%
โดยในไตรมาสนี้ขยายตัวในเกือบทุกหมวดนำเข้าสำคัญ ได้แก่ สินค้าเชื้อเพลิง (+86.2%) ที่ขยายตัวตามราคาที่ปรับเพิ่มขึ้นสูงมาจากการฟื้นตัวของอุปสงค์โลกและสงครามในยูเครน สินค้าทุน (+12%), สินค้าอุปโภคบริโภค (+10.8%) และสินค้าวัตถุดิบและกึ่งสำเร็จรูป (+7.3%, หรือ +17.6% หากหักทองคำ) ยกเว้นสินค้ากลุ่มยานพาหนะและอุปกรณ์การขนส่ง (-20.2%) ทั้งนี้ในภาพรวมของปี 2021 การนำเข้าขยายตัวที่ 29.8% ในส่วนของดุลการค้าไตรมาสแรกของปี 2022 ขาดดุลอยู่ที่ -944 ล้านดอลลาร์สหรัฐ
IMPLICATIONS
มูลค่าการส่งออกในเดือนมีนาคมยังขยายตัวต่อเนื่องแต่เริ่มเห็นถึงสัญญาณชะลอตัวจากผลกระทบของสงครามต่ออุปสงค์โลกและปัญหาชะงักงันของอุปทาน ภาพรวมการส่งออกสินค้าของไทยขยายตัวได้ในอัตราที่เร่งตัวขึ้นที่ 19.5% จาก 16.2% ในเดือนกุมภาพันธ์ โดยหากพิจารณาเทียบกับเดือนกุมภาพันธ์ (ปรับผลของฤดูกาล) การส่งออกจะยังขยายตัวที่ 7.3% (MOM, SA) อย่างไรก็ตาม หากพิจารณามูลค่าส่งออกหักทองคำ ซึ่งเป็นสินค้าที่ไม่ได้สะท้อนภาวะการค้าที่แท้จริง การส่งออกจะขยายตัวอยู่ที่ 9.5% ชะลอตัวจากเดือนก่อนหน้าที่ 13.2% และ หากพิจารณาเทียบกับเดือนกุมภาพันธ์ (ปรับผลของฤดูกาล) การส่งออกหักทองจะขยายตัวเพียง 2.4% (MOM, SA) สอดคล้องกับดัชนีผู้จัดการฝ่ายจัดซื้อในภาคการผลิตโลก (Global Manufacturing PMI) ที่ย่อลงมาอยู่ที่ 53 ต่ำที่สุด
ในรอบ 18 เดือน สะท้อนทิศทางการชะลอตัวในภาคการผลิตในระยะข้างหน้า และดัชนีคำสั่งซื้อจากต่างประเทศ (Export Orders) ที่ปรับตัวลดลงต่ำกว่าระดับ 50 และอยู่ในระดับที่ต่ำที่สุดในรอบ 20 เดือนที่ 48.2
ซึ่งเป็นผลกระทบจากการชะลอตัวของอุปสงค์จากผลกระทบของสงครามระหว่างรัสเซียและยูเครน นอกจากนี้ ปัญหาชะงักงันของอุปทานโลกเริ่มส่งผลต่อภาคการผลิตของไทย สะท้อนจากมูลค่าส่งออกรถยนต์ที่หดตัวลงกว่า 11% และอาจมีความเสี่ยงเพิ่มมากขึ้นในระยะต่อไปจากการใช้มาตรการควบคุมการแพร่ระบาดของโอมิครอนที่เข้มงวดของจีนซึ่งเป็นผู้เล่นสำคัญในห่วงโซ่อุปทานโลกในช่วงที่ผ่านมา ทำให้ EIC คาดว่าการส่งออกของไทยจะได้รับผลกระทบมากขึ้นเป็นลำดับ สะท้อนจากข้อมูลการส่งออก 20 วันแรกของเดือนเมษายนของเกาหลีใต้ที่ยังทรงตัวและอาจมีแนวโน้มชะลอตัวลงหากจีนยังคงดำเนินมาตรการควบคุมโรคที่เข้มงวดต่อไปและการส่งออกไปตลาดฮ่องกงที่หดตัวลงจากการกลับมาใช้มาตรการควบคุมโรคที่เข้มงวดขึ้นในช่วงก่อนหน้า (รูปที่ 3 ขวา)
การส่งออกไปยุโรปยังขยายตัวได้แต่มีแนวโน้มชะลอลง โดยถึงแม้ว่าตัวเลขการส่งออกไปรัสเซียและยูเครนจะลดลงเป็นอย่างมากที่ 73% และ 77.8% ตามลำดับ รวมถึงดัชนี Manufacturing PMI ของรัสเซียในเดือนมีนาคมจะลดลงมาอยู่ในระดับที่ต่ำที่สุดในรอบเกือบ 1 ปีที่ 44.1 แต่ตลาดรัสเซียและยูเครนยังนับว่าเป็นตลาดส่งออกขนาดเล็กของไทย คิดเป็นเพียง 0.43% ของการส่งออกทั้งหมด (ข้อมูลปี 2021) ทำให้ผลกระทบต่อการค้าไทยยังคงค่อนข้างจำกัด ในขณะที่การส่งออกไปยุโรปซึ่งเป็นตลาดส่งออกที่สำคัญของไทยที่มีสัดส่วนมูลค่าคิดเป็น 9.3% ยังขยายตัวได้ดีแม้จะชะลอตัวลงที่ 8% สอดคล้องกับดัชนี Manufacturing PMI ของยุโรปที่ถึงแม้ว่าจะลดตัวลงมาจากเดือนก่อนหน้าเล็กน้อยที่ 54 แต่ก็ยังยืนเหนือระดับ 50 ได้ เป็นระยะเวลา 21 เดือนติดต่อกัน โดยหากภาวะสงครามในยูเครนยังคงยืดเยื้อและส่งผลถึงการชะลอตัวของเศรษฐกิจโลกโดยเฉพาะยุโรป อาจส่งผลให้ส่งออกไทยในระยะข้างหน้ามีความเสี่ยงเพิ่มมากขึ้นโดยเฉพาะกลุ่มสินค้าที่พึ่งพาตลาดยุโรปสูง (รูป 4 ซ้าย) อย่างไรก็ตาม ส่งออกไทยในบางกลุ่มสินค้าอาจได้รับอานิสงส์จากการคว่ำบาตรต่อรัสเซียทำให้มีโอกาสเข้าไปทำตลาดในยุโรปได้มากขึ้น เช่น ยางสังเคราะห์ ไม้อัด ปลาแช่แข็ง ฟอสฟิเนต รวมถึงสินค้าที่เกี่ยวเนื่องกับคาร์โบไฮเดรตที่อาจนำมาทดแทนข้าวสาลี ข้าวบาร์เลย์ และข้าวโพดของรัสเซียและยูเครน เป็นต้น
ในระยะถัดไปการส่งออกไปจีนมีแนวโน้มชะลอตัวลงจากมาตรการควบคุมโรคที่เข้มงวดและผลกระทบจากการชะลอตัวของเศรษฐกิจจีน โดยตัวเลขการส่งออกจากไทยไปยังประเทศจีนขยายตัวในอัตราชะลอลงมากจากปีที่แล้วที่ 3.2% ในเดือนมีนาคม สอดคล้องกับตัวเลขการนำเข้าโดยรวมของจีนที่ชะลอลง (รูปที่ 5 ซ้าย) ดัชนี Manufacturing PMI ของจีนในที่ลดลงจาก 50.4 ในเดือนกุมภาพันธ์เหลือ 48.1 ในเดือนมีนาคม และข้อมูลเร็วที่แสดงถึงกิจกรรมทางเศรษฐกิจที่ปรับตัวลดลงเช่นเดียวกัน
EIC ได้ปรับประมาณการส่งออกของไทยในปี 2022 เพิ่มขึ้นเป็น 6.1% จากเดิม 3.4% (ตัวเลขในระบบดุลการชำระเงิน) แต่การขยายตัวเป็นผลจากปัจจัยด้านราคาที่สูงขึ้นตามต้นทุนโดยเฉพาะในหมวดพลังงานเป็นหลักและมากกว่าการเพิ่มขึ้นในเชิงปริมาณ ซึ่งสอดคล้องกับการปรับลดอัตราการขยายตัวของเศรษฐกิจและการค้าโลกโดยหน่วยงานต่าง ๆ รวมถึง EIC และดัชนีราคาสินค้าส่งออกที่มีแนวโน้มปรับตัวสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง นอกจากนี้ เงินบาทที่อ่อนค่าจะเป็นปัจจัยสนับสนุนรายได้ของผู้ส่งออกไทยและอาจช่วยเพิ่มความสามารถในการแข่งขัน ซึ่งนับตั้งแต่เกิดสงครามเงินบาทอ่อนค่ามากกว่าสกุลเงินส่วนใหญ่ในภูมิภาค โดย EIC คาดเงินบาทในระยะสั้นจะเผชิญแรงกดดันจากความต้องการถือสินทรัพย์เสี่ยงที่ลดลง ดุลบัญชีเดินสะพัดที่มีแนวโน้มขาดดุลมากขึ้น และการขึ้นดอกเบี้ยของหลายเศรษฐกิจสำคัญทั่วโลก ก่อนจะกลับมาแข็งค่าขึ้นในช่วงครึ่งปีหลัง ในช่วงเปลี่ยนผ่านนี้ ภาคส่งออกไทยจึงจะได้รับประโยชน์จากความสามารถในการแข่งขันด้านราคาเพื่อเพิ่มส่วนแบ่งตลาด ซึ่งจะแปรเป็นรายได้ที่เพิ่มขึ้นของธุรกิจส่งออกไทย อย่างไรก็ตาม คาดว่ามูลค่าการนำเข้าสินค้าจะขยายตัวในอัตราที่เร่งตัวกว่ามากที่ 13.2%