"เมื่อกล่าวถึง Disruptive Technologies ซึ่งนานๆทีจะเกิดสักครั้ง แต่นั่นหมายถึงเทคโนโลยีที่จะมาสร้างความเปลี่ยนแปลง เช่น พฤติกรรมผู้บริโภค (Consumer behavior) หรือ Lifestyle ของผู้คนครั้งสำคัญ เหมือนเช่นดั่งในปี 1975 ที่ คอมพิวเตอร์ส่วนบุคคล(Personal computer) เป็น Disruptive platform เป็น infrastructure ที่เปิดโอกาสให้คนอย่าง บิล เกตต์ สร้างแอพพลิเคชั่นมาเปลี่ยนแปลงโลกจนทุกวันนี้ที่ไม่มีใครไม่ใช้ Personal computer และอีกครั้งในเวลาต่อมาคือในปี 1990 ที่เทคโนโลยี อินเทอร์เนต TCP/IP ก็เป็น Infrastructure รอบใหม่ที่เปิดโอกาสให้คนอย่าง มาร์ก ซัคเกอร์เบริก สร้างแอพพริเคชั่น facebook หรือ แลร์รี่ เพจ สร้าง Google ขึ้นมาและสามารถสร้างความเปลี่ยนแปลงให้กับโลกดังเช่นที่เห็นกันในทุกวันนี้"
สำหรับรอบนี้ถือเป็นความโชคดีของคนในยุคนี้ที่จะมีโอกาสได้ใช้ Blockchain ซึ่งจะเป็น Disruptive Technology เป็น Infrastructure ของ Generation โดยที่ผ่านมามี Bitcoin ที่พวกเราแทบทุกคนรู้จักกันดีทั่วโลก เป็นแอพพริเคชั่นตัวแรกซึ่งถูกปล่อยออกมาในปี 2009 แต่ในเวลาไม่ถึง 9 ปี ธนาคารทั่วโลกต้องขยับตัวกันอย่างมหาศาล หรือกระทั่งวงการระดมทุนที่เรียกว่า ICO จะเห็นได้ว่าในปี 2017 มูลค่าการลงทุนผ่าน ICO ปีเดียวมากกว่า VC ทั่วโลกรวมกัน
"หมายความว่า Blockchain คือ Disruptive platform ตัวต่อไปที่ทุกวงการจะต้องหันมาใช้ เหมือนกับที่เคยต้องหันมาใช้ Personal computer และ Internet TCP/IP ในทำนองเดียวกัน" นั่นคือ Talk บทเปิดของ จิรายุส ทรัพย์ศรีโสภา บนเวที Thailand MBA Forum 2018
Blockchain Technology
เปลี่ยนผ่าน Internet of information → Internet of Value
"ท๊อป จิรายุส ทรัพย์ศรีโสภา" Group CEO Blockchain Capital, Group Holdings Co.,Ltd. ได้บรรยายถึงหัวใจสำคัญของ บล็อกเชน เทคโนโลยี ซึ่งเป็น layer ที่สองของอินเตอร์เน็ท ที่มีพัฒนาการเหนือไปกว่ายุคแรกที่เป็น TCP/IP ที่เป็น Internet of Information ซึ่งส่งผ่านได้เพียงข้อมูล แต่สำหรับ บล็อกเชน เป็นอินเตอร์เน็ทที่มีความสามารถเหนือไปกว่า เพราะสามารถที่จะส่งผ่านสิ่งที่เรียกว่า "มูลค่า" (Value) ออกไปได้ด้วย โดยไม่ต้องผ่านเทคโนโลยีของตัวกลางดั่งเช่นในอดีตอีกต่อไป และแปลว่าในอนาคตอันใกล้ เหล่ากลไกตัวกลางในวงการแลกเปลี่ยนต่างๆ จะต้องปรับตัวครั้งยิ่งใหญ่
"ท๊อป จิรายุส" ยกกรณีตัวอย่างของวงการแลกเปลี่ยนมูลค่า อย่างเช่น การโอนเงินที่เคยมีธนาคารเป็นตัวกลาง การซื้อขายหุ้นที่เคยต้องผ่านโบรคเกอร์ หรือกระทั่งการซื้อขายที่ดินที่เคยต้องผ่านตัวแทนหรือนายหน้า ธุรกรรมต่างๆ ที่เคยต้องอาศัยเทคโนโลยีหรือกลไกของตัวกลางในการดำเนินการ ต่อไปเราสามารถแลกเปลี่ยนมูลค่ากันได้โดยตรง เพราะบล็อกเชนมีความพร้อมและอนุญาตให้เราสามารถ digitized มูลค่ากันได้แล้ว เรียกว่า Decentralized Vs. Centralized system
ในอดีตเราใช้อินเตอร์เนท TCP/IP ส่งออกส่งที่เป็นข้อมูลหรือรูปภาพ คือการส่งสิ่งที่เป็นสำเนาออกไป มากมายเพียงใดก็ทำได้ แต่ต้นฉบับก็ยังคงเหลืออยู่ ดังนั้นจึงส่งสิ่งที่เป็นมูลค่า ออกไปไม่ได้จริง ไม่เช่นนั้นเราก็ย่อมจะสามารถส่งออกสิ่งที่มูลค่า เช่นธนบัตรใบละ 1,000 บาทออกไปให้ใครต่อใครก็ได้ มากเท่าไหร่ก็ได้ เพราะส่งกี่ครั้ง ต้นฉบับก็ยังคงเหลืออยู่ และนั่นคือข้อจำกัดหรือที่เรียกว่า Double spent problem
แต่สำหรับ บล็อกเชน ได้รับการพัฒนาภายใต้การรวบรวมปัญหาและงานวิจัยโดยนักพัฒนาผู้มีนามว่า ซาโตชิ นากาโมโตะ ผู้คิดและพัฒนาบิทคอย โดยเขาได้แก้ปัญหาในสิ่งที่เรียกว่า Solve Double Spent Problem ทำให้บล็อคเชน สามารถเก็บมูลค่า และสามารถส่งออก "มูลค่า" ได้โดยตรงระหว่างผู้ส่งและผู้รับ และนั่นคือเป็นวิวัฒนาการของสิ่งที่ว่า Internet of value
4 Development ของ Blockchain
"จิรายุส" บอกกล่าวเล่าถึงพัฒนาการในวงการบล็อกเชนว่า สามารถแบ่งออกได้เป็นขั้นเป็นตอนอยู่ 4 ระยะ ใน stage แรกของบล็อกเชน คือ Internet of Money เช่น bitcoin ที่ออกมาได้ 8-9 ปี ทุกวันนี้ digital currency ทั่วโลกมีมากกว่า 1,700 ตัว โดยกลุ่มแรกของคริปโตนั้น มุ่งเป้าไปสู่การเป็น internet of money เพื่อที่จะทำให้เราสามารถ digitized เงินแล้วโอนหากันแบบ peer to peer โดยไม่ต้องอาศัยตัวกลางอีกต่อไป
เพราะในระบบที่ใช้กันมาจนทุกวันนี้ การโอนเงิน ซึ่งหมายถึงการโอนเงินจากธนาคารต้นทางไปยังธนาคารผู้รับ จะมีสิ่งที่เรียกว่า international clearing house เปรียบเสมือนทางด่วนที่เราต้องจ่ายค่าผ่านทางเพื่อจะไปยังจุดที่หมาย ยิ่งหลายด่านก็หมายถึงค่าผ่านทางที่ต้องเพิ่มขึ้นและต้องจ่ายไปเรื่อยๆ จนกว่าจะถึงปลายทาง และนั่นคือที่มาของค่าธรรมเนียมการโอนเงิน 5-10 % ในการโอนเงินไปต่างประเทศ แต่พอมี digital money อย่าง bitcoin,light coin, state cash หรือ Ripple เหล่านี้คือ Digital money ที่ล้วนมีเป้าหมายที่ต้องการจะเอาออกในสิ่งที่เรียกว่า international clearing house หรือกลไกตัวกลางออกไปเพื่อให้เราสามารถโอนเงินกันได้อย่างเร็วขึ้น-ประหยัดขึ้น และมีประสิทธิภาพมากขึ้น
Internet of Assets = Value Registry
stageที่สองของบล็อกเชน เป็นความสามารถในการ digitized ทุกอย่างที่มีมูลค่า ซึ่งไม่ได้หมายความว่า คือ เพียงเงิน(money)อย่างเดียว แต่สินทรัพย์ที่มีมูลค่าอื่นอาทิเช่น ที่ดิน, เพชร, พลอย, ภาพเขียนหรืออื่นๆ อีกมากมาย ก็สามารถนำมา digitized อยู่ในบล็อกเชนได้เช่นกัน
Internet of Entities = Value Ecosystem
สำหรับstageที่ 3 บล็อคเชนจะถูกนำมาใช้ในการปลดล็อค ทำให้ก่อเกิดโมเดลธุรกิจ และการจัดการใหม่ๆ เป็น decentralized autonomous ตัวอย่างที่เห็นได้ชัดเจนคือ Ethereum หนึ่งในบล็อกเชนที่เป็น Generalized platform ที่ถูกใช้ในการสร้างเหรียญและมี Smart contract ที่เปิดโอกาสให้คนสามารถสร้างบล็อคเชนและโทเคน(Token) ขึ้นมาอย่างง่ายดาย กลายเป็นเครื่องมือในการออกTokenเพื่อระดมทุนในรูปแบบที่เรียกว่า ICO ( Initial Coin Offering) ซึ่งปรากฏว่าจากคริปโตที่เคยมีเพียงไม่กี่ตัวในอดีต เพียงปีเศษๆ ที่ผ่านมามีคริปโตเกิดขึ้นกว่า 1,700 ตัวทั่วโลก โดยกว่า 90% ของเหรียญเหล่านั้นถูกสร้างบน Ethereum
Interoperable Ledgers = Value web
เป็นพัฒนาขั้นที่ 4 ที่ปัจจุบันกำลังเร่งพัฒนาเพื่อให้โทเคนที่มีอยู่ทั่วโลกจำนวนมากมาย และจะเพิ่มจำนวนขึ้นอีกมาก แต่มีสิ่งที่เป็นปัญหาติดอยู่ ณ ขณะนี้คือ โทเคนในแต่ละแพลตฟอร์ม ยังคุยกันคนละภาษา ซึ่งหากจะมีการแลกเปลี่ยนมูลค่าซื้อขาย-แลกเปลี่ยน ก็จะต้องเอาเหรียญเหล่านั้นโอนไปยังที่ที่เรียกว่า Centralized exchange crypto แล้วก็ซื้อขายเพื่อแลกเปลี่ยนกันเหมือนซื้อขายหุ้น เหตุเช่นนี้เพราะคริปโตแต่ละตัวยังไม่สามารถคุยกันได้โดยตรง ( เหมือนอินเตอร์เนทในยุคแรกๆ)
ในขณะนี้นักพัฒนากลุ่มใหม่ๆ เช่น Kyber, Ox, Airswap หรือ OmiseGo กำลังเร่งพัฒนาเพื่อสร้างการเชื่อมโยงระหว่างโทเคนตัวต่างๆ ให้สามารถคุยกันหรือแลกเปลี่ยนมูลค่ากันได้โดยตรง
สามารถรับชมคลิปวิดีโอ หัวข้อ "Blockchain for Management" โดย จิรายุส ทรัพย์ศรีโสภา จากงาน Thailand MBA Forum 2018 ได้ที่นี่