October 14, 2024

สินค้าจีนทะลักเข้ามาตีตลาดในไทยเป็นประเด็นที่ถูกพูดถึงอย่างต่อเนื่องในสื่อ ซึ่งเริ่มเห็นสินค้าจีนหลากหลายประเภทหลั่งไหลเข้ามาในไทยมากขึ้นเรื่อย ๆ KKP Research ประเมินว่าแนวโน้มดังกล่าว ไม่เพียงแต่จะกระทบต่อผู้ประกอบธุรกิจที่ต้องแข่งขันกับจีนโดยตรงเท่านั้น แต่ยังจะกระทบเศรษฐกิจไทยในภาพรวม ทั้งรายได้ธุรกิจและแรงงาน การขาดดุลทางการค้า ซึ่งเป็นประเด็นที่ภาครัฐจำเป็นต้องพิจารณามาตรการในการช่วยดูแลผลกระทบอย่างเหมาะสม

จีนก้าวขึ้นเป็นมหาอำนาจในการผลิตสินค้าอุตสาหกรรมและกำลังรุกคืบเข้ามาไทย จีนก้าวขึ้นเป็นมหาอำนาจในภาคการผลิตโลกอย่างรวดเร็วนับตั้งแต่ประเทศจีนเข้าร่วมองค์กรการค้าโลก (World Trade Organization : WTO) ในปี 2001 อย่างไรก็ตามในช่วงวิกฤตโควิด มีหลายการเปลี่ยนแปลงที่เร่งให้สินค้าจากจีนสามารถส่งออกไปยังโลกและไทยได้เร็วมากขึ้น โดยแบ่งออกเป็นสองปัจจัยผลักจากจีน คือ (1) พัฒนาการการเติบโตที่รวดเร็วของแพลตฟอร์ม e-Commerce ในจีนโดยและธุรกรรมในประเทศจีนมีขนาดใหญ่กว่า 50% ของมูลค่าการซื้อขายทั้งโลก และยังขยายธุรกิจส่งออกโดยอาศัย e-Commerce ข้ามประเทศ (Cross-border e-Commerce) ซึ่งเติบโตขึ้นถึง 15% ในปี 2021 โดยประเทศไทยมีสัดส่วนจากการส่งสินค้าข้ามประเทศจากจีนขนาดประมาณ 24% ของมูลค่า e-Commerce ทั้งหมด (2) เศรษฐกิจภายในประเทศของจีนที่ชะลอตัวลงจากปัญหาในภาคอสังหาริมทรัพย์ ทำให้จีนต้องหันมาพึ่งพาภาคการส่งออกสินค้าอุตสาหกรรมเป็นแรงขับเคลื่อนหลักของเศรษฐกิจ

 อย่างไรก็ตาม KKP Research ประเมินว่ามี 4 ปัจจัยในไทยเอง ที่มีส่วนดึงดูดสินค้าจากจีนให้เร่งเข้ามามากกว่าในหลายประเทศ คือ

1) ประเทศไทยมีกฎระเบียบที่เอื้อต่อการนำเข้าสินค้าจากจีน ตัวอย่างเช่น การคิดอัตราภาษีจากสินค้าจีนในระดับต่ำ

2) การเปลี่ยนแปลงทางเทคโนโลยีที่จีนเป็นผู้นำ เช่น รถยนต์ไฟฟ้า

3) การเกิดขึ้นของ e-Commerce ในประเทศไทย โดยคนไทยมีความคุ้นเคยและนิยมซื้อสินค้าออนไลน์มากขึ้นเรื่อย ๆ โดยพิจารณาจากราคา ไม่ยึดติดกับแบรนด์

4) การให้ Free visa กับนักท่องเที่ยวจากจีน ทำให้ไม่มีการตรวจสอบการเข้าออกประเทศอย่างเข้มงวด เปิดช่องทางให้คนจีนเข้ามาทำการค้าทำธุรกิจในไทยได้โดยง่าย

ปัจจัยทั้งหมดส่งผลให้ไทยเป็นหนึ่งในเป้าหมายการส่งออกสินค้าจากจีน ไทยถือเป็นหนึ่งในประเทศที่มีการเร่งตัวของการขาดดุลการค้ากับจีนเร็วมากที่สุดเมื่อเทียบกับประเทศอื่น ๆ โดยเพิ่มขึ้นจาก 2.5% ของ GDP ในปี 2012 เป็น 7.5% ของ GDP ในปี 2022 หรือเพิ่มขึ้นกว่า 5 p.p. ซึ่งเกิดจากทั้งการนำเข้ามาเพื่อบริโภคในประเทศเอง และการนำเข้าเพื่อส่งออกสินค้าต่อไปยังต่างประเทศ

สินค้าที่ทะลักเข้าไทยมากที่สุด

KKP Research ประเมินว่าหากพิจารณาพัฒนาการของการค้าระหว่างไทยกับจีนในรายละเอียดอาจสามารถแบ่งได้เป็น 5 กลุ่มสินค้าสำคัญที่น่าสนใจ คือ

1) กลุ่มสินค้าอิเล็กทรอนิกส์ จะเป็นกลุ่มที่ส่งผลให้มีการขาดดุลมากที่สุด โดยสินค้าที่สำคัญที่ไทยนำเข้าจากจีนค่อนข้างมาก คือ สินค้าในกลุ่ม smartphone ซึ่งเป็นสินค้าที่สามารถซื้อขายได้ผ่าน e-Commerce Platform ทำให้เห็นภาพว่า e-Commerce มีบทบาทสำคัญเช่นกันในการส่งผ่านสินค้าจากจีนมายังไทยมากขึ้นในช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมา

2) สินค้าในกลุ่มเครื่องจักร เคยเป็นหนึ่งในประเภทสินค้าที่ไทยเกินดุลการค้ากับจีนจากสินค้าอย่าง Hard Disk Drive อย่างไรก็ดี ในภายหลังสินค้าเครื่องจักรจากจีนเริ่มเข้ามาในตลาดไทยมากขึ้น นำโดย Laptop และเครื่องใช้ไฟฟ้า

3) สินค้าในกลุ่มยานยนต์ สินค้าที่ขาดดุลกับจีนเป็นอันดับต้น ๆ ส่วนใหญ่เป็นชิ้นส่วนรถยนต์ ขณะที่สินค้าที่เกินดุลการค้ากับจีนเป็นสินค้ารถยนต์ที่ประกอบสำเร็จแล้ว โดยในปี 2022 เริ่มเห็นสัญญาณความเสี่ยงจากการที่ไทยเริ่มขาดดุลการค้ากับจีนในสินค้ารถยนต์ไฟฟ้า หรือ EV โดยมีการขาดดุลเพิ่มขึ้นแซงหน้าชิ้นส่วนยานยนต์ทุกประเภท

4) เหล็กกล้าและอะลูมิเนียม พบว่าเหล็กและอะลูมิเนียมขาดดุลการค้ามากขึ้นทุกปีกับจีน โดยมีสาเหตุจากกำลังการผลิตที่เกินอุปสงค์ภายในประเทศจีนที่ชะลอตัวลงตามภาวะเศรษฐกิจ สุดท้ายจึงต้องส่งออกเหล็กสำเร็จรูปเหล่านั้นมาที่ประเทศอื่น ๆ รวมถึงประเทศไทย

5) เคมีภัณฑ์และพลาสติก เปลี่ยนจากการเกินดุลการค้าเป็นขาดดุลการค้าในช่วงที่ผ่านมา โดยข้อมูลจากองค์กรพลังงานระหว่างประเทศ (IEA) ระบุว่าในปัจจุบันจีนมีการพัฒนาเพื่อรองรับการขยายตัวของเศรษฐกิจและภาคอุตสาหกรรม โดยมีกำลังผลิตรวมมากกว่ายุโรป ญี่ปุ่น และเกาหลีใต้รวมกันเสียอีก จีนจึงไม่จำเป็นต้องพึ่งพาการนำเข้าอีกต่อไป

 e-Commerce platform คลื่นยักษ์ลูกใหม่ที่เร่งการทะลักของสินค้าจีนมาไทย

KKP Research ประเมินว่าหนึ่งในปัจจัยเร่งการส่งสินค้าจีนมายังไทย คือ การเติบโตของ e-Commerce platform โดยข้อมูลชี้ว่ามูลค่า e-Commerce เติบโตเฉลี่ยถึงปีละ 10.5% ในช่วง 5 ปีที่ผ่านมา โดยการเติบโตเร่งขึ้นมากในช่วงโควิดส่งผลให้ในปี 2023 ตลาด e-Commerce มีมูลค่าโดยรวมอยู่ที่ราว 5.96 ล้านล้านบาท โดยสัดส่วนกว่า 50% เป็นธุรกิจประเภท Business-to-Consumer (B2C) คือการขายของออนไลน์จากธุรกิจไปยังผู้บริโภคโดยตรง ในด้านช่องทางการซื้อขายออนไลน์ที่ได้รับความนิยมมากที่สุดอันดับแรก คือ e-Marketplace

สาเหตุที่ทำให้ e-Commerce ในประเทศไทยเติบโตอย่างรวดเร็วและยังมีโอกาสเติบโตต่อไปได้สูงจากหลายปัจจัย ได้แก่

(1) การเข้าถึงอินเทอร์เน็ตที่อยู่ในระดับสูง โดยสัดส่วนประชากรที่เข้าถึงอินเทอร์เน็ตสูงถึง 88% จัดอยู่ในอันดับต้น ๆ ของโลก เทียบกับค่าเฉลี่ยโลกที่ 66%

(2) สัดส่วนการเข้าถึง smart phone สูงถึง 77.2% เทียบกับค่าเฉลี่ยโลกที่ 69%

(3) การเข้าถึงข่องทางการชำระเงินออนไลน์ (online payments) ที่หลากหลาย ช่วยสนับสนุนการค้าปลีกออนไลน์ให้มีความสะดวกในต้นทุนที่ต่ำ ติดอันดับต้น ๆ ของโลก ในระยะข้างหน้าการแข่งขันในสมรภูมิ e-Commerce กำลังจะเข้มข้นขึ้นอีก เมื่อ มี e-Marketplace platform เจ้าใหม่ที่เจาะตลาดไปแล้วถึง 51 ประเทศทั่วโลกและได้รุกก้าวเข้ามาบุกตลาดในประเทศไทยเมื่อไม่นานมานี้

 เศรษฐกิจไทยภายใต้แรงกดดันจากสินค้าจีน

ในกรณีของประเทศไทยการเติบโตของ e-Commerce มีแนวโน้มส่งผลกระทบทางลบต่อเศรษฐกิจไทยในระยะยาว โดยผลจะแตกต่างกันในแต่ละกลุ่มผู้เล่นในระบบเศรษฐกิจ 1) ผู้บริโภคมีแนวโน้มได้ประโยชน์ เพราะสามารถซื้อสินค้าได้ในราคาถูกลง 2) ผู้ผลิตในกลุ่มธุรกิจที่ได้ประโยชน์จากการใช้วัตถุดิบราคาถูก หรือธุรกิจที่โตไปพร้อมกับ e-Commerce 3) ผู้ผลิตในกลุ่มสินค้าเดียวกับสินค้าที่นำเข้าผ่าน e-Commerce มีแนวโน้มได้รับผลกระทบทางลบจากการเข้ามาทดแทนของสินค้าจีน ตัวอย่างเช่น สินค้าในกลุ่มเครื่องใช้ไฟฟ้า

เมื่อพิจารณาสินค้าในกลุ่มที่มีแนวโน้มส่งออกผ่านแพลตฟอร์ม e-Commerce มายังประเทศไทย กลุ่มสินค้าที่ไทยมีแนวโน้มขาดดุลกับจีนมากขึ้นและมีแนวโน้มเกี่ยวข้องกับ e-Commerce คือ คอมพิวเตอร์และอิเล็กทรอนิกส์ซึ่งมีมูลค่าเพิ่มมากถึง 8.8% ของภาคการผลิตไทย เครื่องใช้ไฟฟ้ามีมูลค่าเพิ่ม 3.5 % และอุตสาหกรรมสิ่งทอและเสื้อผ้ามีมูลค่าประมาณ 3 % โดยนับรวมเป็นมูลค่าเพิ่มในภาคการผลิตในกลุ่มที่มีความเสี่ยงนี้คิดเป็นประมาณ 18% ของ มูลค่าการผลิตทั้งหมดของประเทศ โดยเริ่มเห็นทิศทางการผลิตที่ชะลอลงแล้วในช่วงที่ผ่านมา นอกจากนี้การเข้ามาของ e-Commerce ยังมีแนวโน้มส่งผลกระทบต่อ ภาคบริการแบบเก่า คือ กลุ่มค้าปลีกมีโอกาสได้รับผลกระทบ ซึ่งคิดเป็นสัดส่วนใหญ่ถึงประมาณ 16% ของ GDP

KKP Research ประเมินว่าอาจมีผลกระทบสำคัญตามมาอีกอย่างน้อย 5 เรื่อง คือ 1) รายได้ของธุรกิจมีแนวโน้มถูกกระทบรุนแรงขึ้น โดยเฉพาะผู้ประกอบการขนาดเล็กที่ปรับตัวได้ยากกว่า 2) หนี้เสียมีแนวโน้มปรับตัวสูงขึ้น โดยในปัจจุบันเริ่มเห็นสัญญาณการเพิ่มขึ้นของหนี้เสียของธุรกิจในภาคอุตสาหกรรม ซึ่งมีแนวโน้มเป็นกลุ่มสินค้าเดียวกันกับสินค้าที่ไทยขาดดุลกับจีนมากขึ้น เช่น สิ่งทอและเสื้อผ้า เหล็ก 3) ดุลการค้ามีแนวโน้มพลิกเป็นขาดดุลในระยะยาวและกดดันค่าเงินบาทจากการนำเข้าสินค้าจีนทดแทนการผลิต 4) เงินเฟ้อไทยมีแนวโน้มอยู่ในระดับต่ำต่อเนื่อง จากสินค้าราคาถูกจากจีน 5) รัฐบาลไทยสูญเสียรายได้ภาษี จากการที่การชำระเงินให้กับการซื้อสินค้าออนไลน์บนแพลตฟอร์มข้ามชาติเหล่านี้ ถูกจ่ายตรงไปยังธุรกิจในต่างประเทศ

 ไทยควรรับมืออย่างไร ?

การเข้ามาบุกตลาดของสินค้าจีนอาจมีข้อดีทำให้ซื้อสินค้าในราคาถูกลง แต่ตามมาด้วยผลกระทบด้านลบต่อผู้ประกอบการไทย ทั้งนี้การออกมาตรการสกัดกั้นหรือตอบโต้สินค้าจากจีนอาจเป็นประเด็นที่ละเอียดอ่อนในทางการเมืองและความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ KKP Research ประเมินว่าภาครัฐไม่จำเป็นต้องกีดกันสินค้าจากจีนในวงกว้าง หากแต่ควรพิจารณาออกแบบมาตรการรับมือ ที่เหมาะสมกับสถานการณ์และหลักการในมิติดังต่อไปนี้

1) Fair competition: สินค้านำเข้าเป็นการนำเข้าที่เข้าข่ายผิดกฎหมาย มีการลักลอบ หรือใช้ช่องว่างทางกฎหมายต่าง ๆ เพื่อหลบเลี่ยงภาษี หรือเป็นการทุ่มตลาด ทำให้ผู้ประกอบการไทยเสียผลประโยชน์จากการแข่งขันที่ไม่เท่าเทียม

2) Quality and standards: สินค้านำเข้าเป็นการนำเข้าสินค้าที่ไม่ได้คุณภาพมาตรฐานตามที่กำหนดโดยมาตรฐานสินค้าและอาหารของหน่วยงานภาครัฐไทยหรือไม่?

3) Strategic industry: สินค้านำเข้าเป็นการนำเข้าที่มาแข่งขันกับการผลิตในประเทศในอุตสาหกรรมสำคัญที่มีความสำคัญเชิงยุทธศาสตร์สำหรับเศรษฐกิจไทย และการจ้างงานในภาพรวมหรือไม่?

ในกรณีที่สินค้ามีลักษณะที่ตรงตามเกณฑ์ต่าง ๆ ภาครัฐควรให้ความช่วยเหลือธุรกิจไทยในกรณีที่มีการแข่งขันที่ไม่เป็นธรรม หรือเป็นการช่วยให้อุตสาหกรรมที่มีความสำคัญกับเศรษฐกิจมีเวลาปรับตัวมากเพื่อรักษาผลประโยชน์สูงสุดต่อเศรษฐกิจ

อย่างไรก็ตาม ไม่ว่าจะเป็นมาตรการใดที่จะใช้ในการตั้งรับกับการแข่งขันในสมรภูมิสินค้าที่ดุเดือดมากขึ้นนี้ก็อาจเป็นเพียงการซื้อเวลาให้ผู้ประกอบการได้พอมีเวลาปรับตัว แต่สุดท้ายแล้วผู้ชนะในตลาดนี้จำเป็นต้องแข่งกันด้วยคุณภาพของสินค้า ประสิทธิภาพในการผลิต ความคุ้มค่า รวมไปถึงการบริการที่ตอบโจทย์และได้ความพึงพอใจจากผู้บริโภค นับเป็นโอกาสที่ดีที่ภาคการผลิตไทยจำเป็นต้องปรับเปลี่ยนรูปแบบการทำธุรกิจ พัฒนาประสิทธิภาพการผลิต สร้างนวัตกรรม สร้างแบรนด์ที่มีความแตกต่าง เพื่อสร้างมูลค่าเพิ่มที่สูงขึ้น โดยภาครัฐอาจต้องช่วยส่งเสริมด้วยการสนับสนุนการลงทุนในเทคโนโลยีและนวัตกรรม การพัฒนาปรับปรุงการผลิต รวมถึงการบุกเบิกตลาดใหม่

กลุ่มธุรกิจการเงินเกียรตินาคินภัทร (KKP) จัดงานสัมมนา 2024 Mid Year Outlook Seminar: Surfing a Sea of Opportunities Amid Geopolitical Tides  วิเคราะห์ทิศทางการลงทุนในช่วงครึ่งปีหลัง 2567 เมื่อวันที่ 11 กรกฎาคม 2567 ที่ผ่านมา โดยคาดการณ์ว่าตลาดหุ้นไทยในไตรมาส 3 ยังคงผันผวนจากปัจจัยด้านการเมืองและนโยบายที่ไม่แน่นอน แนะนักลงทุนมองหาโอกาสและเพิ่มสัดส่วนการลงทุนในกลุ่มอุตสาหกรรมค้าปลีก   โรงแรม   อาหาร   และสื่อสารโทรคมนาคม ซึ่งมีปัจจัยหนุนจากการเบิกจ่ายงบประมาณภาครัฐและการฟื้นตัวของภาคการท่องเที่ยว 

ภายในงานสัมมนา ภายใต้หัว Thai Equity Strategy and Thai Stock Highlight นายแดเนียล ไฟน์แมน นักวิเคราะห์หลักทรัพย์และนักวางแผนกลยุทธ์ บล.เกียรตินาคินภัทร เผยถึงมุมมองที่บล.เกียรตินาคินภัทรมีต่อตลาดหุ้นไทยในช่วงครึ่งปีหลังว่า ตลาดหุ้นไทยในไตรมาส 3 จะเป็นช่วงเวลาแห่งการเปลี่ยนผ่านจากจุดต่ำสุดของตลาดในไตรมาสก่อน โดยคาดว่าผลตอบแทนจะเริ่มค่อนข้างคงที่หรือไม่เปลี่ยนแปลงมากนัก ซึ่งปัจจัยหลักมาจากความไม่แน่นอนทางการเมืองและนโยบายต่างๆ อย่างไรก็ตาม ยังมีปัจจัยหนุนจากการเบิกจ่ายงบประมาณภาครัฐและการฟื้นตัวของภาคการท่องเที่ยวที่จะช่วยลดความผันผวนของตลาดได้บางส่วน สำหรับกลยุทธ์การลงทุน บล.เกียรตินาคินภัทรแนะนำให้เพิ่มสัดส่วน (Overweight)   หุ้นในกลุ่มค้าปลีก   โรงแรม   อาหาร   และสื่อสารโทรคมนาคม เนื่องจากมีแนวโน้มเติบโตดีจากปัจจัยหนุนข้างต้น ในขณะเดียวกันหุ้นกลุ่มที่ควรลดสัดส่วน (Underweight) คือ หุ้นกลุ่มธนาคาร ไฟแนนซ์ สื่อ เคมี และอสังหาริมทรัพย์ เนื่องจากเศรษฐกิจกำลังเผชิญสภาวะสินเชื่อชะลอตัวและการลดลงของสัดส่วนหนี้สิน (deleveraging cycle) ปัญหาการเปลี่ยนแปลงโครงสร้างอุตสาหกรรม และปัญหาการผลิตสินค้าเกินกำลังการผลิตในจีน 

ด้านนายศิริชัย โฉลกพันธ์รัตน์ นักวิเคราะห์หุ้นกลุ่มค้าปลีก บล.เกียรตินาคินภัทร และ นายชาตรี แพรวพรายกุล นักวิเคราะห์หุ้นกลุ่มโรงพยาบาลและท่องเที่ยว บล.เกียรตินาคินภัทร ให้ข้อมูลว่าหุ้นกลุ่มที่น่าสนใจในช่วงครึ่งปีหลัง ได้แก่

หนึ่ง กลุ่มค้าปลีก โดยราคาหุ้นกลุ่มนี้ปรับตัวลดลงมาตั้งแต่ต้นปี ซึ่งบล.เกียรตินาคินภัทรมองว่า ถึงแม้ระดับราคาปัจจุบันมีความน่าสนใจในเชิงมูลค่า (valuation) แต่ยังต้องเลือกหุ้นลงทุน ซึ่งหุ้นค้าปลีกวัสดุก่อสร้าง DOHOME (ราคาเป้าหมาย 13 บาท) และ GLOBAL (ราคาเป้าหมาย 18.4 บาท) น่าจะมีโอกาสสร้างผลตอบแทนในช่วงครึ่งปีหลังได้สูงที่สุดในกลุ่ม ด้วยปัจจัยสนับสนุนจากการเร่งตัวของการเบิกจ่ายงบประมาณภาครัฐในขณะที่ CPALL (ราคาเป้าหมาย 72 บาท) ได้อานิสงส์จากการกลับมาของนักท่องเที่ยวและธุรกิจดิจิทัลวอลเล็ต 

สอง หุ้นกลุ่มท่องเที่ยว โดยเฉพาะหุ้น MINT (ราคาเป้าหมาย 40 บาท) ถือว่าน่าสนใจมากสำหรับกลุ่มโรงแรม เนื่องจากมีรายได้หลักจากยุโรปซึ่งกำลังเข้าสู่ไฮซีซั่นทางการท่องเที่ยว หนุนให้ผลประกอบการเติบโตดีในไตรมาส 2-3 นี้ และ valuation อยู่ในระดับต่ำกว่าหุ้นในกลุ่มเดียวกันโดยเฉลี่ยถึง 10% นอกจากนี้คือ BH (ราคาเป้าหมาย 295 บาท) ที่บล.เกียรตินาคินภัทรมองว่าจะได้รับอานิสงส์สูงจากการท่องเที่ยวเชิงการแพทย์ (Medical Tourism) โดยคาดว่าจำนวนผู้ป่วยต่างชาติจะเติบโตต่อเนื่อง โดยเฉพาะผู้ป่วยจากประเทศตะวันออกกลาง อีกทั้งความซับซ้อนของการรักษาที่สูงขึ้นจะส่งผลให้อัตรากำไรเพิ่มสูงขึ้นด้วย 

ผู้ลงทุนควรศึกษาข้อมูลและทำความเข้าใจลักษณะสินค้า เงื่อนไข ผลตอบแทนและความเสี่ยงก่อนตัดสินใจลงทุน      

ข้อมูลในเอกสารฉบับนี้ รวบรวมมาจากแหล่งข้อมูลที่น่าเชื่อถือซึ่งพิจารณาแล้วว่ามีความน่าเชื่อถือซึ่งปรากฎขณะจัดทำ ซึ่งอาจเปลี่ยนแปลงได้ในแต่ละขณะเวลา อย่างไรก็ตามบริษัทไม่สามารถยืนยันหรือรับรองข้อมูลความถูกต้องของข้อมูลเหล่านี้ได้ ไม่ว่าประการใด ๆ บริษัทขอสงวนสิทธิ์ในการเปลี่ยนความเห็นหรือประมาณการต่าง ๆ ที่ปรากฏโดยไม่ต้องแจ้งให้ทราบล่วงหน้า ทั้งนี้ การตัดสินใจซื้อหรือขายหลักทรัพย์ใด ๆ ไม่ว่าจะมาจากการอ่านเอกสารหรือบทความนี้หรือไม่ก็ตาม ล้วนเป็นผลจากการพิจารณาและใช้วิจารณญาณของผู้อ่านแต่เพียงผู้เดียว โดยไม่มีส่วนเกี่ยวข้องหรือพันธะผูกพันใด ๆ กับบริษัท 

 

นช่วงหลายเดือนที่ผ่านมา ประเด็นการปรับโครงสร้างเศรษฐกิจไทยเริ่มถูกพูดถึงอีกครั้งในวงกว้าง หลังจากการฟื้นตัวของเศรษฐกิจไทยหลังการระบาดของโควิด-19 ยังไม่ค่อยเป็นที่น่าพอใจ จนเริ่มมีคำถามว่า ‘หรือเศรษฐกิจไทยไม่ใช่กำลังโตต่ำกว่าศักยภาพ แต่ศักยภาพของเศรษฐกิจไทยได้ลดต่ำลงไปแล้ว?

แรงงาน-ทุน-เทคโนโลยี 

แล้วอะไรเป็นตัวกำหนดศักยภาพเศรษฐกิจไทย ตามหลักการเศรษฐศาสตร์ ปัจจัยที่กำหนดว่าเศรษฐกิจของแต่ละประเทศควรจะเติบโตได้เท่าไร แบ่งออกได้เป็น 3 กลุ่มหลักตามปัจจัยการผลิต ได้แก่ 1) จำนวนแรงงาน 2) การสะสมทุน และ 3) เทคโนโลยี ที่จะช่วยให้แรงงานและทุนสามารถผลิตได้มากขึ้น หรือเพิ่มผลิตภาพของปัจจัยการผลิตนั้นเอง 

KKP Research ประเมินว่า ‘ศักยภาพ’ การเติบโตของเศรษฐกิจไทยอาจจะลดลงมาอยู่ที่เพียงต่ำกว่า 2% หากไม่มีการปฏิรูปเชิงโครงสร้างอย่างจริงจัง  โดยปัจจัยการผลิตที่เป็นแรงฉุดสำคัญ คือ ‘แรงงาน’ ที่ลดลง ซึ่งจะทำให้ศักยภาพการเติบโต (GDP Potential) ลดลงประมาณ 0.5 จุดต่อปีจนถึงปี 2030 และลดลง 0.8 จุดต่อปีในทศวรรษที่ 2040 ซึ่งจะทำให้ศักยภาพ GDP ไทยเหลือต่ำเพียงราว 2% ต่อปี โดยที่คงสมมติฐานให้การสะสมทุนและผลิตภาพเท่าเดิม ซ้ำร้ายกว่านั้น หากการสะสมทุนหรือผลิตภาพหดตัวลงด้วย (ซึ่ง KKP Research มองว่าจะทยอยลดลงเช่นกัน) จะทำให้ศักยภาพ GDP ไทยจะต่ำลงไปได้ถึง 1.3% ต่อปีในปลายทศวรรษหน้า 

 แรงงานหดหายฉุดเศรษฐกิจ 

ปัจจัยด้านแรงงาน สำหรับประเทศไทยนอกจากจะเริ่มเข้าสู่สังคมสูงวัย (Aged society) ซึ่งหมายถึงการที่มีประชากรอายุมากกว่า 65 ปีเป็นสัดส่วนมากกว่า 20% แล้ว กำลังแรงงานในวัยทำงาน (15-60 ปี) ก็ได้ลดลงแล้วด้วย จากประมาณการของสหประชาชาติคาดว่าประชากรไทยจะถึงจุดสูงสุดภายในปี 2030 โดยประชากรวัยทำงานได้ผ่านจุดสูงสุดไปล่วงหน้าแล้วตั้งแต่ปี 2012 และจะหดตัวอย่างต่อเนื่องเฉลี่ยปีละ 0.7% จนลดลงเหลือสัดส่วนเพียง 60% ของประชาการทั้งหมดในปี 2030 จาก 70% ในปี 2012 ขณะที่ประชากรวัยเด็กมีแนวโน้มลดลงเฉลี่ยปีละ 1.8% ต่อปีจนถึง 2030 ทั้งหมดนี้สวนทางกับประชากรผู้สูงอายุกลับมีสัดส่วนเพิ่มขึ้นจาก 10% ในปี 2012 เป็น 20% ในปี 2023 

ประชากรวัยทำงานและวัยเด็กที่ลดลง ผู้สูงอายุที่เพิ่มขึ้น สร้างความท้าทายกับเศรษฐกิจไทยอย่างน้อยใน 2 ด้านหลัก

ประเด็นแรก คือ กำลังซื้อในประเทศจะลดลง และจะทวีความรุนแรงมากขึ้นเมื่อไทยเคลื่อนตัวเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุมากขึ้นเรื่อย ๆ กำลังซื้อสินค้าคงทนอย่างรถยนต์และสินค้าฟุ่มเฟือยต่าง ๆ คาดว่าจะหดตัวลง แต่สินค้าอย่างสินค้าหรือบริการด้านสุขภาพและสินค้าจำเป็นจะเติบโตมากขึ้น 

ประเด็นที่สอง คือ นอกจากกำลังแรงงานลดลงแล้ว ผลิตภาพแรงงานก็ลดลงด้วย โดยกำลังแรงงานผ่านจุดสูงสุดไปแล้วในปี 2012 และจะมีแนวโน้มลดลงเรื่อย ๆ ขณะที่ผลิตภาพแรงงานที่สะท้อนความสามารถในการทำงานของแรงงานไทยก็ชะงักงันหรือเติบโตได้เล็กน้อยมาในช่วงเวลาใกล้เคียงกันจนถึงปัจจุบันเช่นเดียวกัน

 การลงทุนหายไปตั้งแต่วิกฤตต้มยำกุ้ง 

เมื่อกำลังงานแรงงานกำลังหดตัว การสะสมทุนหรือเทคโนโลยีควรจะเพิ่มขึ้นมาชดเชยความสามารถในการผลิตที่จะหายไป แต่ระดับการลงทุนในเศรษฐกิจไทยกลับหายไปนับตั้งแต่หลังวิกฤตต้มยำกุ้ง จากที่มีการสะสมทุนเฉลี่ยปีละ 6.6% ต่อปี ลดลงเหลือ 2.1% ตั้งแต่ปี 2012 เป็นต้นมา 

 KKP Research มองว่าฐานผู้บริโภคที่หดตัวลง การค้าโลกที่ผ่านยุคทองไปแล้ว ความสามารถในการแข่งขันโดยรวมที่ลดลง และการขาดการลงทุนขนาดใหญ่ของภาครัฐที่จะช่วยกระตุ้นการลงทุนจากภาคเอกชน มีส่วนทำให้การสะสมทุนในช่วงหลังวิกฤตต้มยำกุ้งลดลง ขณะที่แนวโน้มในอนาคต ความขัดแย้งของภูมิรัฐศาสตร์และห่วงโซ่อุปทาน การค้าและการลงทุนโลกที่กำลังเปลี่ยนไปจะสร้างความไม่แน่นอนและความเสี่ยงต่อเศรษฐกิจไทยเพิ่มขึ้นอีก 

นอกจากนี้ ปัญหาหนี้ครัวเรือน และหนี้ภาคเอกชนโดยรวมที่สูงขึ้น คุณภาพของหนี้ที่ลดลง นโยบายการเงินที่ตึงตัวเพื่อแก้ไขปัญหาหนี้ และการระมัดระวังในการปล่อยสินเชื่อของธนาคารพาณิชย์ในระยะหลัง ทำให้โอกาสที่จะขยายการลงทุนในเศรษฐกิจไทยโดยรวมลดลงไปด้วย 

ผลิตภาพอยู่ในช่วงขาลง 

นอกจากการสะสมทุนเพื่อการผลิตแล้ว อีกทางหนึ่งที่สามารถชดเชยกำลังแรงงานได้คือการพัฒนาเทคโนโลยีใหม่ ๆ เพื่อทำให้แรงงาน 1 คน หรือ ทุน 1 หน่วยสามารถผลิตสินค้าและบริการได้มากขึ้น หรือคือมี ‘ผลิตภาพ’ หรือ ‘productivity’ มากขึ้น  แม้ว่าผลิตภาพของไทยส่วนหนึ่งจะได้รับผลกระทบจาก “วัฏจักรเศรษฐกิจ” ในระยะสั้น แต่ภาพในระยะยาวจากข้อมูลของ Penn World Table พบว่าผลิตภาพในช่วงหลายทศวรรษที่ผ่านมามีแนวโน้มลดลงอย่างต่อเนื่อง 

KKP Research มองว่ามี 3 ปัจจัยที่ทำให้ผลิตภาพของไทยลดลง 1) การเพิ่มขึ้นของสัดส่วนภาคบริการที่มีมูลค่าเพิ่มหรือผลิตภาพต่ำกว่าภาคอุตสาหกรรม 2) คุณภาพของการศึกษาที่นำไปสู่ปัญหาคุณภาพแรงงาน และ 3) การขาดการลงทุน ทั้งจากธุรกิจภายในประเทศและจากการลงทุนโดยตรงจากต่างประเทศ และขาดนโยบายสนับสนุนนวัตกรรมและการเพิ่มผลิตภาพแรงงาน 

หากไม่มีการลงทุนที่จะยกระดับโครงสร้างพื้นฐานและเทคโนโลยีที่สำคัญต่อเศรษฐกิจในอนาคตและทุนมนุษย์ คงเป็นไปได้ยากที่ผลิตภาพจะเพิ่มขึ้นจนสามารถชดเชยจำนวนแรงงานหรือทุนที่ลดลงไป

ปฏิรูป 4 ด้านยกระดับ GDP 

KKP Research เสนอแนะว่ารัฐบาลไทยควรให้ความสำคัญกับการปฏิรูปใน 4 ด้าน เพื่อยกระดับศักยภาพ GDP อีกครั้ง ได้แก่ 

  1. เพิ่มผลิตภาพ ดึงดูดแรงงานทักษะสูง โดยหากไทยจะสามารถกลับมาเนื้อหอมและดึงดูดการลงทุนได้อีกครั้ง การปฏิรูปการศึกษาเป็นสิ่งที่หลีกเลี่ยงไม่ได้ เพื่อเพิ่มแรงงานทักษะสูงที่จะมาพร้อมกับการลงทุนใหม่ ๆ นอกจากนี้ การทบทวนนโยบายนำเข้าแรงงานทักษะสูงจะต้องคิดใหม่ เพื่อให้สามารถดึงดูดแรงงานที่ประเทศไทยยังขาด และที่สำคัญคือนโยบายส่งเสริมการแข่งขันและต่อด้านการผูกขาด  
  1. การเปิดเสรีภาคบริการ เนื่องจากเป็นภาคเศรษฐกิจที่ใหญ่ที่สุดและมีผลต่อศักยภาพของเศรษฐกิจไทยที่สุด โดยเฉพาะการส่งเสริมและเพิ่มการแข่งขันในภาคบริการที่มีมูลค่าเพิ่มสูง รวมไปถึงการแก้ไขกฎหมายระเบียบข้อบังคับที่เป็นอุปสรรคอื่น ๆ ในการทำธุรกิจ 
  1. เพิ่มผลิตภาพของภาคเกษตร ภาคการเกษตรนับเป็นภาคเศรษฐกิจที่มีผลิตภาพต่ำสุด แต่มีความสำคัญต่อภาคเศรษฐกิจมากในแง่ของสัดส่วนแรงงาน การเพิ่มผลิตภาพของภาคเกษตรและแรงงานในภาคเกษตร และการเพิ่มมูลค่าเพิ่มของสินค้าเกษตร จะช่วยเพิ่มศักยภาพของเศรษฐกิจไทยได้อีกมาก 
  1. ปฏิรูปภาคการคลัง ประเด็นนี้อาจจะไม่เกี่ยวกับการยกระดับศักยภาพโดยตรง แต่ความท้าทายของสังคมผู้สูงอายุย่อมนำไปสู่ความเสี่ยงทางด้านการคลังของประเทศโดยตรง การที่ฐานภาษีที่อยู่ในระดับต่ำ (สัดส่วนรายได้ต่อ GDP อยู่ที่เพียงไม่ถึง 15% ซึ่งต่ำกว่าค่าเฉลี่ยของหลายประเทศ) และรายจ่ายด้านสาธารณสุขที่สูงขึ้นต่อเนื่อง จึงเป็นไปได้ยากที่ภาครัฐจะสามารถลงทุนขนาดใหญ่เพื่อยกระดับศักยภาพเศรษฐกิจไทยได้อย่างจริงจัง หากไม่จัดการปัญหาด้านภาระทางการคลังเสียก่อน 

 

 บทความ  :  "KKP Research  โดยกลุ่มธุรกิจการเงิน เกียรตินา คินภัทร" หรือ " เกียรตินาคินภัทร ( KKP)"

บริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุน เกียรตินาคินภัทร จำกัด (บลจ.เกียรตินาคินภัทร) นำเสนอโอกาสลงทุนในหุ้นคุณค่าทั่วโลก ภายใต้เป้าหมายเติบโตในระยะยาว เปิดเสนอขาย 2 กองทุนใหม่ ได้แก่ กองทุนเปิดเคเคพี GLOBAL VALUE – UNHEDGED (KKP GVALUE-UH) และกองทุนเปิดเคเคพี GLOBAL VALUE – HEDGED (KKP GVALUE-H) โดยมีกลยุทธ์การบริหารการลงทุนแบบเชิงรุก (Active Management) ที่เน้นลงทุนในกองทุนหลัก MFS Meridian Funds - Contrarian Value Fund โดยกองทุนหลักมีเป้าหมายการลงทุนในบริษัทที่มีราคาต่ำกว่ามูลค่าที่แท้จริง (Intrinsic Value) และแบ่งเป็นประเภทไม่ป้องกันความเสี่ยงอัตราแลกเปลี่ยน (UNHEDGED) และป้องกันความเสี่ยงอัตราแลกเปลี่ยนทั้งหมดหรือเกือบทั้งหมด (HEDGED) กำหนดการเสนอขายครั้งแรกระหว่างวันที่ 22 – 27 มีนาคม 2567 ด้วยมูลค่าขั้นต่ำในการซื้อเพียง 1,000 บาท

นายยุทธพล ลาภละมูล กรรมการผู้จัดการ บลจ.เกียรตินาคินภัทร เปิดเผยว่า จากสถานการณ์เศรษฐกิจสหรัฐฯที่แข็งแกร่งและคาดว่าจะไม่เข้าสู่ภาวะถดถอย ธนาคารกลางสำคัญของโลกเริ่มมีแนวโน้มปรับลดอัตราดอกเบี้ยลง และตัวเลขประมาณการกำไรสุทธิปี 2024 ของหุ้นโลกยังคงมีการปรับเพิ่มขึ้นมากกว่าการปรับลดลง ทำให้การลงทุนในหุ้นโลกยังคงมีความน่าสนใจ โดยเฉพาะการลงทุนในหุ้น Global Value ที่มีระดับ P/E 15.5 เท่าในปัจจุบัน ซึ่งยังคงถูกกว่าตลาดหุ้นโลกโดยรวม (P/E 18.05 เท่า) และต่ำกว่าของหุ้น Global Growth (P/E 32.6 เท่า) ถึง 50% นอกจากนี้ หุ้นในกลุ่ม Global Value มีหุ้นวัฎจักรที่ฟื้นตัวตามเศรษฐกิจในสัดส่วนที่มากกว่าตลาดหุ้นโลกโดยรวม ทำให้การเพิ่มการลงทุนในหุ้น Global Value ในพอร์ตหุ้นโลกสามารถสร้างโอกาสเพิ่มอัตราผลตอบแทนได้ ด้วยเหตุนี้ ทางบลจ.เกียรตินาคินภัทร จึงได้คัดเลือกกองทุน KKP GVALUE-UH และ KKP GVALUE-H ที่กองทุนหลักมีสไตล์การลงทุนแบบ Contrarian Value เน้นเลือกลงทุนในหุ้นที่มีราคาต่ำกว่ามูลค่าที่แท้จริง เพื่อนำเสนอเป็นทางเลือกให้แก่นักลงทุนไทย

สำหรับ กองทุน KKP GVALUE-UH และ KKP GVALUE-H ระดับความเสี่ยง 6 เป็นกองทุนรวมหน่วยลงทุนประเภท Feeder Fund มีนโยบายเน้นลงทุนในกองทุนหลัก MFS Meridian Funds - Contrarian Value Fund ไม่น้อยกว่าร้อยละ 80 ของมูลค่าทรัพย์สินสุทธิของกองทุนรวม โดยกองทุนหลักเน้นลงทุนอย่างน้อยร้อยละ 70 ในตราสารทุน โดยเฉพาะในตลาดที่พัฒนาแล้ว และอาจลงทุนในตราสารทุนในตลาดเกิดใหม่ ซึ่งโดยทั่วไปแล้วกองทุนหลักจะลงทุนในประมาณ 50 บริษัทหรือน้อยกว่า ที่ผู้จัดการกองทุนเชื่อว่ามีราคาต่ำกว่ามูลค่าที่แท้จริง (Intrinsic Value)

 กองทุน KKP GVALUE-UH จะไม่ลงทุนในหรือมีไว้ซึ่งสัญญาซื้อขายล่วงหน้า (Derivatives) เพื่อลดความเสี่ยง (Hedging) ด้านอัตราแลกเปลี่ยนเงินตราต่างประเทศ ส่วนกองทุน KKP GVALUE-H จะลงทุนในหรือมีไว้ซึ่งสัญญาซื้อขายล่วงหน้า (Derivatives) เพื่อลดความเสี่ยง (Hedging) ด้านอัตราแลกเปลี่ยนเงินตราต่างประเทศ ไม่น้อยกว่า 90% ของเงินลงทุนในต่างประเทศ

สำหรับผู้ลงทุนที่สนใจสามารถขอรับหนังสือชี้ชวนและข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ บริษัทหลักทรัพย์ เกียรตินาคินภัทร จำกัด (มหาชน) โทร. 02 305 9559 หรือ ธนาคารเกียรตินาคินภัทรทุกสาขา หรือ https://am.kkpfg.com หรือผู้สนับสนุนการขายและรับซื้อคืนที่ได้รับการแต่งตั้ง

ข้อมูลกองทุน KKP GVALUE-UH และ KKP GVALUE-H :

· เปิดเสนอขายหน่วยลงทุนครั้งแรก (IPO) ระหว่างวันที่ 22 – 27 มีนาคม 2567

· มูลค่าขั้นต่ำในการซื้อครั้งแรก 1,000 บาท ครั้งถัดไป 1,000 บาท

คำเตือน

· ผู้ลงทุนควรทำความเข้าใจลักษณะสินค้าเงื่อนไขผลตอบแทน และความเสี่ยงก่อนตัดสินใจลงทุน

· กองทุน KKP GVALUE-H จะทำสัญญาซื้อขายล่วงหน้า (Derivatives) เพื่อป้องกันความเสี่ยงด้านอัตราแลกเปลี่ยนเกือบทั้งหมด (ไม่น้อยกว่าร้อยละ 90 ของมูลค่าเงินลงทุนในต่างประเทศ) กองทุนจึงอาจมีความเสี่ยงด้านอัตราแลกเปลี่ยนในส่วนที่ไม่ได้ทำการป้องกันความเสี่ยงไว้ ซึ่งอาจทำให้ผู้ลงทุนได้รับผลขาดทุนจากอัตราแลกเปลี่ยนหรือได้รับเงินคืนต่ำกว่าเงินลงทุนเริ่มแรกได้

· กองทุน KKP GVALUE-UH จะไม่ลงทุนในหรือมีไว้ซึ่งสัญญาซื้อขายล่วงหน้า (Derivatives) เพื่อลดความเสี่ยงด้านอัตราแลกเปลี่ยนเงินตราต่างประเทศ ดังนั้น กองทุนจึงมีความเสี่ยงด้านอัตราแลกเปลี่ยน ซึ่งอาจทำให้ผู้ลงทุนได้รับผลขาดทุนจากอัตราแลกเปลี่ยนหรือได้รับเงินคืนต่ำกว่าเงินลงทุนเริ่มแรกได้

· โปรดศึกษาคำเตือนที่สำคัญอื่นและข้อมูลเพิ่มเติมได้ในหนังสือชี้ชวนส่วนข้อมูลกองทุนรวม https://am.kkpfg.com หรือผู้สนับสนุนการขายและรับซื้อคืนที่ได้รับการแต่งตั้ง

กลุ่มธุรกิจการเงินเกียรตินาคินภัทร (KKP) ภายใต้บริการสินเชื่อเช่าซื้อรถยนต์ KKP AUTO และบริการการลงทุน EDGE by KKP มอบประสบการณ์สุดพิเศษให้กับลูกค้าที่สนใจนวัตกรรมเพื่อสิ่งแวดล้อม ผนึกกำลังกับ 2 พันธมิตรสำคัญ ได้แก่ บริษัท เทสลา (ประเทศไทย) จำกัด บริษัทผู้ผลิตรถไฟฟ้าชั้นนำของโลก และ บริษัท แมกโนเลีย ควอลิตี้ ดีเวล็อปเม้นต์ คอร์ปอเรชั่น (MQDC) หนึ่งในบริษัทผู้พัฒนาอสังหาริมทรัพย์ชั้นนำของไทย จัดกิจกรรม “Nature meets Future” พาลูกค้า EDGE by KKP เยี่ยมชมโครงการ The Forestias by MQDC เมกะโปรเจคที่อยู่อาศัยยักษ์ใหญ่บนพื้นที่สีเขียวที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมย่านบางนา-ตราด และทดลองขับรถไฟฟ้าเทสลา เมื่อวันที่ 7 – 8 มีนาคม 2567 ที่ผ่านมา

นายธงผา ศรีนาม รองผู้อำนวยการ หัวหน้าทีมพัฒนาการตลาดและความสัมพันธ์คู่ค้ารถยนต์ใหม่ ธนาคารเกียรตินาคินภัทร กล่าวว่า KKP AUTO เล็งเห็นความสำคัญของเทรนด์ ESG และนวัตกรรมยานยนต์ไฟฟ้า (EV) ที่กำลังเติบโตอย่างรวดเร็ว โดยอ้างอิงจากบทวิเคราะห์ของ KKP Research ที่มองการเติบโตตลาดรถ EV กลุ่ม passenger ในประเทศไทยว่าจะเร่งตัวขึ้นจากเกือบ 0 ถึง 15% ภายในช่วงกลางปี 2568 KKP AUTO ในฐานะผู้ให้บริการสินเชื่อเช่าซื้อรถยนต์ จึงได้ร่วมมือกับ เทสลา (ประเทศไทย) และ MQDC ผู้ริเริ่มโครงการที่อยู่อาศัยเพื่อสิ่งแวดล้อมที่ใหญ่ที่สุดในประเทศไทย นำลูกค้าของบริการ EDGE by KKP กว่า 30 ท่าน เยี่ยมชมห้องตัวอย่างภายในโครงการ เดอะ ฟอเรสเทียส์ หรือ ‘อาณาจักรป่ากลางเมือง’ ซึ่งมีพื้นที่โครงการ 398 ไร่ โครงการเมืองที่ออกแบบมาเพื่อให้ผู้อยู่อาศัยได้มีชีวิตที่ใกล้ชิดกับธรรมชาติ ตลอดจนได้นำนวัตกรรมและเทคโนโลยีเพื่อความยั่งยืนมาใช้ในการพัฒนาโครงการ ทั้งนี้ มีไฮไลท์คือการให้ลูกค้าเปิดประสบการณ์การขับขี่ที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม ด้วยการทดลองขับรถยนต์ไฟฟ้าจากแบรนด์ผู้นำระดับโลกอย่างเทสลา ภายในพื้นที่โครงการด้วย

“เราพบว่ากลุ่มลูกค้าและนักลงทุนของ EDGE by KKP ให้ความสนใจเกี่ยวกับพัฒนาการของนวัตกรรมรถ EV ตลอดจนเทคโนโลยีเพื่อความยั่งยืนอื่นๆ ตามเทรนด์ ESG เป็นอย่างมาก กิจกรรม Nature meets Future ในครั้งนี้จึงเป็นการผสมผสานประสบการณ์พิเศษ ให้ลูกค้าได้สัมผัสกับนวัตกรรมยานยนต์ล้ำสมัย และแนวคิดการอยู่อาศัยที่ยั่งยืนในคราวเดียวกัน ตามความมุ่งมั่นของ KKP ที่จะนำเสนอบริการทางการเงินที่ครอบคลุมไร้รอยต่อ ตอบโจทย์ไลฟ์สไตล์ยุคใหม่ และใส่ใจสิ่งแวดล้อมให้กับลูกค้า

นายธนัท มนัญญภัทร์ ผู้จัดการฝ่ายขาย เทสลา ประจำประเทศไทย กล่าวว่า ตลาดรถ EV ในไทยถือว่ามีการเติบโตอย่างก้าวกระโดดในปีที่ผ่านมาจากมาตรการภาครัฐที่สนับสนุนผ่านส่วนลดภาษีและเงินอุดหนุน และเติบโตได้เร็วกว่าหลายประเทศในภูมิภาค อย่างไรก็ตาม ในระยะยาวการขยายตลาดรถยนต์ EV ของเทสลาเอง ก็มีแผนเปิดตัวโมเดลใหม่ๆ อย่างต่อเนื่อง โดยเน้นย้ำเรื่องนวัตกรรมเพื่อสิ่งแวดล้อมและสมรรถนะที่ตอบโจทย์การขับขี่สำหรับคนไทย

นายอัษฎา แก้วเขียว ประธานเจ้าหน้าที่ประสบการณ์ลูกค้า MQDC กล่าวว่า โครงการ The Forestias by MQDC เป็น Theme Project ที่เราเนรมิตผืนป่าขึ้นมาให้ “คน สัตว์ และธรรมชาติ” ได้อยู่ร่วมกัน ผสานกับความงามของสถาปัตยกรรมและเทคโนโลยีล้ำสมัยมาสร้างสรรค์นวัตกรรมแห่งสังคมของคนทุกเจนเนเรชั่นให้มีความสุขและสุขภาพดี

EDGE by KKP เป็นบริการการลงทุนที่เปิดโอกาสให้นักลงทุนเข้าถึงโลกการลงทุนจาก บล.เกียรตินาคินภัทร เริ่มต้นได้บนแอป KKP MOBILE โดยลูกค้าสามารถสร้างความเติบโตให้กับการลงทุนพร้อมมีผู้ดูแลการลงทุนส่วนตัว ให้คำแนะนำ และวางแผนการเงินได้ผ่านบริการการลงทุนของ EDGE by KKP

Page 1 of 9
X

Right Click

No right click