ฉลองครบรอบ 130 ปีของการสร้างสรรค์นวัตกรรม ความร่วมมือ และความรับผิดชอบต่อสังคม ฟิลิปส์ ก่อตั้งขึ้นเมื่อวันที่ 15 พฤษภาคม พ.ศ. 2434 (ค.ศ. 1891) ในเมืองไอนด์โฮเวน ประเทศเนเธอร์แลนด์ โดยตลอดระยะเวลาที่ผ่านมา ฟิลิปส์ได้มีการนำเสนอนวัตกรรมใหม่ๆ ที่สอดคล้องกับบริบททางสังคมในแต่ละยุคสมัย และปัจจุบันฟิลิปส์ตั้งเป้าที่จะยกระดับคุณภาพชีวิตของผู้คนให้ดีขึ้นปีละ 2.5 พันล้านคน ภายในปีพ.ศ. 2573 ด้วยนวัตกรรมอันทรงคุณค่า
นายวิโรจน์ วิทยาเวโรจน์ ประธานและกรรมการผู้จัดการ บริษัท ฟิลิปส์ (ประเทศไทย) จำกัด กล่าวว่า “เนื่องในโอกาสครบรอบ 130 ปี ฟิลิปส์ถือโอกาสนี้ในการฉลองความสำเร็จในการสร้างสรรค์นวัตกรรมอย่างต่อเนื่อง ที่ช่วยยกระดับคุณภาพชีวิตที่ดีให้กับความเป็นอยู่ของผู้คนทั่วโลก และเราไม่หยุดยั้งที่จะคิดค้น สร้างความร่วมมือ และยกระดับการทำธุรกิจที่ยั่งยืนและรับผิดชอบต่อสังคมให้เกิดขึ้นต่อไป ด้วยการทำงานร่วมกับผู้สร้างนวัตกรรม ผู้เชี่ยวชาญ และสังคม ในการสร้างสรรค์ โซลูชันใหม่ๆ เพื่อมาตอบโจทย์ความท้าทายของธุรกิจเฮลท์แคร์ในปัจจุบัน”
นวัตกรรมและการเป็นผู้นำด้านเทคโนโลยีเพื่อสุขภาพ
จุดเริ่มต้นของการเข้าสู่ธุรกิจเทคโนโลยีด้านสุขภาพของฟิลิปส์เกิดขึ้นในช่วงสงครามโลกครั้งที่หนึ่ง เมื่อฟิลิปส์ได้ประยุกต์เอาความรู้ความเชี่ยวชาญในการผลิตหลอดไฟมาพัฒนาการผลิตหลอดเอกซเรย์สำหรับการฉายภาพรังสีวินิจฉัย ที่ช่วยลดการปล่อยรังสีเอกซเรย์ออกมาให้น้อยลงและได้ภาพที่คมชัดขึ้น นับแต่นั้นมาฟิลิปส์ได้คิดค้นนวัตกรรมสำคัญต่างๆ ด้านรังสีวินิจฉัยออกมาอย่างต่อเนื่อง ตั้งแต่อัลตร้าซาวด์ เอ็มอาร์ไอ (MRI) และคอมพิวเตอร์เอกซเรย์ (CT Scan)
ปัจจุบัน นวัตกรรมของฟิลิปส์ครอบคลุมการดูแลสุขภาพอย่างครบวงจร (Health Continuum) ตั้งแต่การป้องกัน การตรวจวินิจฉัย การรักษา ไปจนถึงการดูแลสุขภาพที่บ้าน ฟิลิปส์ ได้มีการบูรณาการอุปกรณ์ ระบบ ซอฟต์แวร์ เทคโนโลยีปัญญาประดิษฐ์อัจฉริยะ (AI) และการวิเคราะห์ข้อมูลขั้นสูง เข้ามาไว้ด้วยกัน เพื่อนำเสนอโซลูชันอัจฉริยะที่ช่วยให้ผู้บริโภคทั่วโลกมีสุขภาพดี และสนับสนุนการทำงานของบุคลากรทางการแพทย์ทั้ง 4 ด้าน ได้แก่ การสร้างประสบการณ์ที่ดีให้ผู้ป่วย เพิ่มประสิทธิภาพการรักษา ลดต้นทุนการรักษา และช่วยให้คุณภาพของชีวิตการทำงานของบุคลากรทางการแพทย์ดีขึ้น
นวัตกรรมล่าสุดจากฟิลิปส์ อาทิ
- Philips’ AI Workflow Suite – โซลูชัน IntelliSpace เป็นโซลูชันที่ใช้เทคโนโลยี AI เข้ามาช่วยในขั้นตอนการประมวลผลด้านภาพรังสีวินิจฉัย มีการส่งข้อมูลไปยังแอปพลิเคชัน AI เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพ / ประสิทธิผล ช่วยลดภาระงานของบุคลากรทางการแพทย์ และยกระดับประสบการณ์ที่ดีให้กับผู้ป่วย
- Philips Image Guided Therapy System – เครื่องตรวจสวนหลอดเลือดหัวใจ Azurion ที่มาพร้อมเทคโนโลยีล่าสุด เปลี่ยนการผ่าตัดใหญ่แบบเปิดไปเป็นการผ่าตัดเล็กที่มีแผลน้อย ทำให้ผู้ป่วยฟื้นตัวได้เร็วขึ้น และช่วยลดค่าใช้จ่ายสำหรับตัวผู้ป่วยและโรงพยาบาล
- eICU telemedicine program และ wearable biosensor – ระบบการประเมินและส่งข้อมูลผู้ป่วยวิกฤต (ICU) และเซ็นเซอร์ไร้สายที่ใช้ติดตามอาการของผู้ป่วย ใช้ในการตรวจติดตามอาการของผู้ป่วยได้ตลอด 24 ชั่วโมง ทั้งในขณะที่อยู่ภายในโรงพยาบาลและนอกโรงพยาบาล
- เครื่องใช้ไฟฟ้าขนาดเล็กที่ประยุกต์เทคโนโลยี AI เข้าไว้ด้วยกัน อาทิ แปรงสีฟันไฟฟ้า Philips Sonicare Power Toothbrush 9900 Series Prestige ที่มาพร้อมเทคโนโลยี SenseIQ และเครื่องโกนหนวดไฟฟ้า Shaver 9000 Series ที่มาพร้อมเทคโนโลยี SkinIQ ซึ่งช่วยดูแลสุขภาพส่วนบุคคลด้วยโซลูชันที่พร้อมปรับการทำงานของเครื่องใช้ไฟฟ้าให้เข้ากับพฤติกรรมและความต้องการของผู้ใช้แต่ละคนที่แตกต่างกัน
ความร่วมมือและพันธมิตรของเรา
ในโลกที่มีความซับซ้อนและเชื่อมโยงกันมากขึ้น การพัฒนานวัตกรรมด้านเฮลท์แคร์จำเป็นต้องอาศัยความร่วมมือกับนักวิจัยทางคลินิกและสถาบันทางการแพทย์ชั้นนำ รวมถึงความร่วมมือระยะยาวกับโรงพยาบาลชั้นนำต่างๆ ในการพัฒนาโซลูชันที่ครอบคลุมความต้องการด้านการเพิ่มประสิทธิภาพการรักษา ปรับปรุงกระบวนการทำงาน และลดต้นทุนทางธุรกิจ
ตัวอย่างเช่น
- สถาบันการแพทย์มหาวิทยาลัยอูเทรคต์ (University Medical Center Utrecht) ประเทศเนเธอร์แลนด์ กับความร่วมมือด้านการวิจัยเชิงปริมาณด้านรังสีวินิจฉัย quantitative MRI technology หรือ MR STAT
- สถาบันมะเร็งดาน่า-ฟาร์เบอร์ (Dana-Farber Cancer Institute) เมืองบอสตัน ประเทศสหรัฐอเมริกา ร่วมพัฒนา Philips Oncology Pathways powered by Dana-Farber เพื่อให้บุคลากรทางการแพทย์ทั่วโลกเข้าถึงข้อมูลเกี่ยวกับแนวปฏิบัติที่เป็นเลิศและการดูแลรักษาแบบเฉพาะบุคคลสำหรับผู้ป่วยโรคมะเร็ง ซึ่งจะอัปเดตตามความก้าวหน้าทางวิทยาศาสตร์ในปัจจุบัน
- ฟิลิปส์ ร่วมกับ MONET Technologies และเมืองอินะ ประเทศญี่ปุ่น ในการทดสอบการเตรียมความพร้อมด้านเฮลท์แคร์เพื่อรับมือกับจำนวนผู้สูงอายุที่เพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว ส่งผลให้เกิดความขาดแคลนสถานพยาบาลและบุคลากรทางการแพทย์ในประเทศญี่ปุ่น จึงริเริ่มการนำรถมาติดตั้งอุปกรณ์การแพทย์และเทคโนโลยี Connected Care เพื่อให้สามารถเคลื่อนที่ไปให้บริการประชาชนในสถานที่ต่างๆ ได้ โดยสามารถปรึกษาแพทย์ที่โรงพยาบาลจากวิดีโอระยะไกลได้
- โรงพยาบาล Klinikum Stuttgart เมืองสตุทท์การ์ท ประเทศเยอรมนี กับความร่วมมือระยะยาวถึง 10 ปี ด้านนวัตกรรม เพื่อให้โรงพยาบาลมีเครื่องมือแพทย์ด้านรังสีวินิจฉัยที่ทันสมัย รวมถึงโซลูชันเชื่อมต่อ Connected Care และระบบการจัดการข้อมูล Informatics
สำหรับในประเทศไทย ได้มีความร่วมมือกับโรงพยาบาล และสถาบันชั้นนำต่างๆ ในการพัฒนาวงการเฮลท์แคร์ในประเทศไทย อาทิ
- ศูนย์การเรียนรู้และอบรมการตรวจคลื่นเสียงสะท้อนหัวใจขั้นสูง แห่งแรกในประเทศไทย ด้วยความร่วมมือระหว่าง ฟิลิปส์ ประเทศไทย และศูนย์โรคหัวใจ โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ สภากาชาดไทย ที่ต้องการมีศูนย์ฝึกอบรมเชิงปฏิบัติการ เพื่อถ่ายทอดความรู้และทักษะด้านการตรวจคลื่นเสียงสะท้อนหัวใจขั้นสูง (Echocardiography) ให้บุคลากรทางการแพทย์เพื่อเพิ่มขีดความสามารถและจำนวนแพทย์ผู้เชี่ยวชาญในประเทศให้มากขึ้น
- ความร่วมมือด้านงานวิชาการและการวิจัย ฟิลิปส์ ประเทศไทย ร่วมกับกลุ่มโรงพยาบาลกรุงเทพด้านการวิจัยและพัฒนาการตรวจวินิจฉัยและการรักษาโรคทางระบบประสาทและสมอง รวมถึงโรคหัวใจและหลอดเลือดผ่านการติดตามผลการรักษาทางสถิติ การใช้นวัตกรรมและเทคโนโลยีแบบเชื่อมต่อเข้ามาสนับสนุน เพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุดกับผู้ป่วยในอนาคต
ความรับผิดชอบต่อสังคม
ฟิลิปส์ได้ริเริ่มกิจกรรมเพื่อสังคม ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2475 (ค.ศ. 1932) ณ เมืองไอนด์โฮเวน ประเทศเนเธอร์แลนด์ เพื่อตรวจคัดกรองวัณโรคให้พนักงานและประชาชนในเมืองทั้งหมด ต่อมาในช่วงยุค 90 ฟิลิปส์มีส่วนช่วยริเริ่มโครงการตรวจคัดกรองมะเร็งเต้านมของประเทศเนเธอร์แลนด์อีกด้วย
ปัจจุบัน ฟิลิปส์มีกิจกรรมด้านความยั่งยืนมากมาย เพื่อช่วยเหลือและรับผิดชอบต่อสังคม ทั้งด้านสิ่งแวดล้อม สังคมและบรรษัทภิบาล (ESG) อาทิ การลดการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ และ 75% ของการดำเนินงานโดยใช้พลังงานหมุนเวียน
นอกจากนี้ ฟิลิปย์ยังตั้งเป้ายกระดับคุณภาพชีวิตของผู้คนให้ได้ 2.5 พันล้านคนต่อปีภายในปี พ.ศ. 2573ฟิลิปส์จึงมุ่งมั่นที่จะช่วยเหลือผู้ด้อยโอกาสกว่า 400 ล้านคนให้สามารถเข้าถึงระบบสาธารณสุขได้ ด้วยความร่วมมือเชิงกลยุทธ์กับพันธมิตรและการสนับสนุนจากมูลนิธิ ฟิลิปส์ ที่จะช่วยให้ผู้คนเข้าถึงระบบสาธารณสุขได้แม้มีทรัพยากรที่จำกัด ตัวอย่างเช่น การนำโซลูชันอัลตร้าซาวด์แบบพกพา ไปมอบให้กับพยาบาลผดุงครรภ์ที่ได้รับการฝึกอบรมในสถานพยาบาลระดับปฐมภูมิ เพื่อดูแลหญิงตั้งครรถ์ในเคนยา
สำหรับประเทศไทย ฟิลิปส์ ได้ร่วมกับ สมาคมแพทย์โรคหัวใจแห่งประเทศไทยฯ และชมรมคลื่นเสียงสะท้อนหัวใจแห่งประเทศไทย เพื่อออกหน่วยตรวจโรคหัวใจด้วยเครื่องตรวจคลื่นเสียงสะท้อนหัวใจ(Echocardiography) ณ โรงพยาบาลกระบี่ ซึ่งขาดแคลนเครื่องมือและบุคลากรทางการแพทย์
ต้องการข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับประวัติบริษัท ฟิลิปส์ คลิกที่นี่ หรือเยี่ยมชม พิพิธภัณฑ์ฟิลิปส์