มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ จับมือกับ SkillLane บริษัท Online Learning  Platform และ Digital Training Platform อันดับหนึ่งของประเทศไทย ร่วมลงนามบันทึกข้อตกลงในความร่วมมือกันจัดทำหลักสูตรปริญญาโทออนไลน์ เพื่อเผยแพร่ความรู้และทักษะของยุคดิจิทัล โดยจะเปิดเผยรายชื่ือหลักสูตรและรายละเอียดเพิ่มเติมในเดือนพฤษภาคม

การร่วมมือครั้งนี้เป็นก้าวสำคัญในการขยายโอกาสทางการศึกษาให้ประชาชนทั่วไปได้เข้าถึงองค์ความรู้ของโลกยุคใหม่โดยไม่จำกัดว่าต้องเป็นนักศึกษาภาคปกติของมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์เท่านั้น ซึ่งจะเป็นการเรียนออนไลน์ 100% เรียนได้จากทุกที่ และตามเวลาที่สะดวก ผู้เรียนสามารถเลือกเรียนเพื่อเพิ่มพูนความรู้เพียงอย่างเดียว หรือจะเรียนเพื่อเก็บหน่วยกิตไปจนถึงสำเร็จการศึกษาระดับปริญญาโทได้เช่นเดียวกัน โดยผู้เรียนจะสามารถเก็บหน่วยกิตไว้เป็นระยะเวลาไม่เกิน 8 หรือ 10 ปี 

รศ.เกศินี วิฑูรชาติ อธิการบดี มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ กล่าวว่า “ในโลกปัจจุบันที่กำลังเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว ธรรมศาสตร์ต้องกล้าที่จะสร้างนวัตกรรมการเรียนรู้เพื่อขับเคลื่อนการศึกษาไทยไปข้างหน้าท่ามกลางความท้าทายใหม่ๆ เราเห็นความสำคัญในการใช้เทคโนโลยีเพื่อเผยแพร่ความรู้ของคณาจารย์ธรรมศาสตร์และความเชี่ยวชาญของอาจารย์รับเชิญซึ่งเป็นผู้ทรงคุณวุฒิในสาขาอาชีพต่างๆ ไปสู่คนไทยในวงกว้าง

ทางธรรมศาสตร์มองว่าการร่วมมือกับ SkillLane เป็นโอกาสในการส่งเสริมความเท่าเทียมของการเข้าถึงการศึกษาเพราะการเรียนออนไลน์ช่วยลดอุปสรรคต่างๆ ในการเข้าถึงองค์ความรู้ ไม่ว่าจะเป็นเรื่องของอายุ สุขภาพ เวลา สถานะ หรือที่อยู่อาศัย”

รองศาสตราจารย์ ดรชาลี เจริญลาภนพรัตน์ รองอธิการบดีฝ่ายวิชาการ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ กล่าวว่า “ในการคิดหลักสูตร เราใช้วิธีการคิดแบบ Learner First เริ่มจากการทำความเข้าใจว่ากลุ่มผู้เรียนส่วนใหญ่ยังขาดความรู้อะไรในการทำงานในยุคปัจจุบัน จากนั้นเราจึงสร้างเนื้อหา และสรรหาอาจารย์ที่เหมาะสมมาร่วมสร้างหลักสูตรเพื่อตอบโจทย์ผู้เรียน วิชาส่วนใหญ่ในหลักสูตรจะเน้นเรื่องที่เป็น Practical Skills กล่าวคือสามารถนำไปประยุกต์ในการทำงาน เน้นความเข้าใจ สามารถนำไปคิดวิเคราะห์ ต่อยอด แทนที่จะเน้นการท่องจำ”

นายฐิติพงศ์ พิสิฐวุฒินันท์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหารและผู้ร่วมก่อตั้งเว็บไซต์ SkillLane กล่าวว่า “ทีมงาน SkillLane ทุกคนรู้สึกเป็นเกียรติและภูมิใจเป็นอย่างมาก ที่ได้ร่วมมือกับมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์สร้างแนวทางใหม่ๆ ให้กับการศึกษาในระดับอุดมศึกษาของประเทศไทย เราเชื่อมั่นว่าหลักสูตรปริญญาโทออนไลน์จะเป็นก้าวสำคัญในการพัฒนาการศึกษาของประเทศไทย

จากการสำรวจของ SkillLane เราพบว่า มีคนไทยจำนวนมากที่คิดว่าองค์ความรู้ของการทำงานในยุคปัจจุบันได้เปลี่ยนแปลงไปจากสมัยที่พวกเขาเรียนในสถาบันการศึกษาเมื่อหลายปีที่แล้ว เขามีความประสงค์ที่จะเรียนต่อเพื่อพัฒนาองค์ความรู้ของตัวเอง แต่ยังเข้าใจว่าการเรียนต่อต้องเรียนเต็มเวลาในเวลาปกติ ซึ่งต้องตัดสินใจว่าจะเรียนหรือทำงาน ทำให้เสียโอกาสในการเรียนรู้ ด้วยความร่วมมือระหว่างมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์และ SkillLane เขาเหล่านั้นจะสามารถเรียนทักษะของยุคดิจิทัลผ่านระบบออนไลน์ตามเวลาที่เขาสะดวก โดยที่สามารถทำงานควบคู่ไปได้”

บริษัท ซีพี ออลล์ จำกัด (มหาชน) ผู้ก่อตั้งร้านเซเว่น อีเลฟเว่น ในประเทศไทย มอบโอกาสทางการศึกษาให้กับเยาวชนไทย ที่สำเร็จการศึกษาในระดับมัธยมศึกษาชั้นปีที่ 3 และมัธยมศึกษาชั้นปีที่ 6 ด้วยการเปิดรับสมัครนักเรียน เพื่อเข้าศึกษาในระดับ ปวช. และปริญญาตรี สาขาต่างๆ ในสถาบันการจัดการปัญญาภิวัฒน์ (พีไอเอ็ม) และวิทยาลัยเทคโนโลยีปัญญาภิวัฒน์ (พีเอที) จำนวนกว่า 24,000 ทุน โดยผู้สนใจสามารถสอบถามรายละเอียดและสมัครเรียนได้ในงาน “วันแห่งโอกาสดี @ CP ALL” บริเวณชั้น 2 อาคารรัฐประศาสนภักดี (อาคาร B) ศูนย์ราชการ ถ.แจ้งวัฒนะ ระหว่างวันที่ 27-29 มีนาคม 2562 นอกจากนี้ ภายในงานยังมีกิจกรรมการจัดสัมมนาเติมความรู้ในหัวข้อต่างๆ ที่น่าสนใจอีกมากมาย สามารถดูรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ https://www.cpall.co.th/cp-all-opportunity-day/

เอปสัน ประเทศไทย เปิดเกมรุกธุรกิจกระดานใหม่ ชู 4 กลุ่มผลิตภัณฑ์หลัก อิงค์เจ็ท พรินเตอร์ความเร็วสูง พรินเตอร์เชิงพาณิชย์และอุตสาหกรรม เลเซอร์โปรเจคเตอร์ และหุ่นยนต์แขนกล มุ่งสร้าง รายได้เติบโตต่อเนื่องอีกไม่ต่ำกว่า 5 ปี

นายยรรยง มุนีมงคลทร ผู้อำนวยการ บริษัท เอปสัน (ประเทศไทย) จำกัด เปิดเผยถึงผลการดำเนินงานในปี 2561 ของบริษัทฯ ว่า “ถึงแม้ตลาดไอทีโดยรวมของประเทศในปีที่ผ่านมาจะมีอัตราการเติบโตถดถอยลงอยู่ที่ -3% แต่ เอปสันยังคงสามารถรักษาระดับการเติบโตทางธุรกิจไว้ได้อยู่ที่ 5% โดยที่กลุ่มผลิตภัณฑ์หลักส่วนใหญ่ของบริษัทฯ ยังคงทำผลงานได้ดี สามารถสร้างการเติบโตได้ทั้งหมด โดยคาดการณ์ว่าเมื่อสิ้นปีงบประมาณของบริษัทฯ
(31 มีนาคม 2562) ผลิตภัณฑ์โปรเจคเตอร์จะเติบโตเพิ่มขึ้นจากปีก่อนกว่า 10% ซึ่งมีโปรเจคเตอร์ความสว่างสูงเป็นกลุ่มที่เติบโตมากที่สุด ขณะที่พรินเตอร์เชิงพาณิชย์และอุตสาหกรรมจะเติบโตขึ้น 6% โดยที่ผลิตภัณฑ์ในกลุ่มโฟโต้ มินิแล็บ และอุตสาหกรรมสิ่งทอต่างยังได้รับการตอบรับเป็นอย่างดี ส่วนกลุ่มอิงค์เจ็ทพรินเตอร์จะขยายตัวขึ้น 5% โดยมาจากพรินเตอร์แท็งค์แท้ หรือ EcoTank เป็นหลัก”

“ปัจจัยสนับสนุนการเติบโตของเอปสันในตลาดประเทศไทยมาจากการที่บริษัทฯ ได้มีการพัฒนาเทคโนโลยีและ ผลิตภัณฑ์ที่สามารถนำเสนอความคุ้มค่าในการลงทุนที่ดียิ่งขึ้นต่อลูกค้า รวมถึงมีความต่อเนื่องในการออก ผลิตภัณฑ์ใหม่และทำตลาดเพื่อเข้าถึงตลาดใหม่ๆ มากขึ้น เช่น การเปิดตัวพรินเตอร์ความเร็วสูงเพื่อรองรับงาน พิมพ์สิ่งทอระดับโรงงานอุตสาหกรรม อย่าง SureColor F9330 หรือเลเซอร์โปรเจคเตอร์ความสว่างสูง ในระดับ 6,000-15,000 ลูเมน ที่เน้นเจาะกลุ่มธุรกิจบันเทิงและการจัดงานอีเวนท์เอาท์ดอร์ รวมทั้งกลุ่มอิงค์เจ็ทพรินเตอร์ ความเร็วสูงรุ่น WF-C869R สำหรับเอสเอ็มอีที่ใช้เทคโนโลยีหัวพิมพ์รุ่นล่าสุดของเอปสัน PrecisionCore และระบบ หมึก RIPs (Replaceable Ink Pack) ชุดหมึกที่ถอดเปลี่ยนได้สามารถรองรับการพิมพ์ปริมาณสูงถึง 86,000 แผ่น”

“ส่วนตลาดต่างประเทศที่บริษัทฯ ดูแลอยู่ ได้แก่ เมียนมาร์ กัมพูชา ลาว และปากีสถาน มีอัตราการเติบโตโดยรวม  6% โดยมีปัจจัยจากการที่บริษัทฯ ได้ป้อนผลิตภัณฑ์ใหม่เข้าสู่ตลาดอย่างต่อเนื่อง อาทิ ในกลุ่มอิงค์เจ็ทพรินเตอร์ EcoTank ทั้ง L-Series และ M-Series เพื่อเพิ่มทางเลือกให้กับกลุ่มลูกค้าธุรกิจโซโหและเอสเอ็มอี รวมถึงทำการ ตลาดเชิงรุกมากยิ่งขึ้น เพื่อแย่งมาร์เก็ตแชร์จากเลเซอร์พรินเตอร์ นอกจากนี้ ยังได้นำโปรเจคเตอร์ความสว่างสูง เข้าไปทำตลาดกับกลุ่มลูกค้าในธุรกิจบันเทิงและสถาบันศึกษาที่กำลังขยายตัวอย่างมาก โดยชูจุดเด่นด้านความ ทนทานและคุณภาพที่ดีกว่าคู่แข่ง ซึ่งทำให้ได้รับการตอบรับเป็นอย่างดี”

นายยรรยง กล่าวต่อว่า “หลังจากที่สร้างความสำเร็จขึ้นมาจากดอทเมทริกซ์พรินเตอร์เมื่อกว่า 20 ปีที่แล้ว จนกลาย เป็นแบรนด์เดียวที่มีมาร์เก็ตแชร์มากกว่า 90% ต่อมาบริษัทฯ ได้นำผลิตภัณฑ์อิงค์เจ็ทพรินเตอร์และโปรเจคเตอร์ 3LCD เข้ามาทำตลาดจนได้รับความนิยมอย่างแพร่หลาย และเมื่อ 9 ปีก่อน บริษัทฯ ได้สร้างปรากฏการณ์ใหม่ให้ กับวงการพรินเตอร์ด้วยการเปิดตัวพรินเตอร์แท็งค์แท้รุ่นแรกของโลก ซึ่งประสบความสำเร็จอย่างมากจนสามารถ เข้าไปแทนที่อิงค์เจ็ทพรินเตอร์แบบใช้ตลับหมึกและเลเซอร์พรินเตอร์ได้ในหลายตลาด จนทำให้เอปสันได้กลาย เป็นเจ้าตลาดมาจนถึงทุกวันนี้  ในช่วงเดียวกัน บริษัทฯ ยังได้เปิดตัวโปรเจคเตอร์ความสว่างสูงหลายรุ่น โดยเน้น จุดขายที่คุณภาพของภาพฉาย ความทนทาน ความประหยัด และฟังก์ชั่นที่ครบครัน พร้อมตอกย้ำความมั่นใจของ ลูกค้าด้วยตำแหน่งโปรเจคเตอร์ที่มียอดขายสูงสุดในโลกติดต่อกันถึง 17 ปีซ้อน ในวันนี้ เอปสัน ประเทศไทยกำลัง ก้าวเข้าสู่เฟสใหม่ของวงจรธุรกิจ หรือ S-Curve ใหม่​ เพื่อสร้างการเติบโตอย่างต่อเนื่องไปอีกไม่น้อยกว่า 5 ปี โดย จะเน้นที่การสร้างตลาดและขยายฐานลูกค้าให้กับ 4 กลุ่มผลิตภัณฑ์สำคัญของบริษัทฯ ได้แก่ อิงค์เจ็ทพรินเตอร์ ความเร็วสูง พรินเตอร์เชิงพาณิชย์และอุตสาหกรรม เลเซอร์โปรเจคเตอร์ความสว่างสูง และหุ่นยนต์แขนกล ซึ่งล้วน แต่เป็นกลุ่มผลิตภัณฑ์ที่มีมูลค่าสูง มีแนวโน้มการเติบโตในระยะยาว และเป็นที่ต้องการอย่างมากในกลุ่มลูกค้า องค์กรธุรกิจและอุตสาหกรรม”

“ในช่วงแรกของการสร้าง S-Curve ใหม่ บริษัทฯ ได้ตั้งเป้าเติบโตไว้ที่ 5% สำหรับประเทศไทย และ 10% สำหรับ ตลาดต่างประเทศ ซึ่งในปี 2562 นี้ ยังมีปัจจัยอีกมากที่ต้องจับตา ไม่ว่าจะเป็นสถานการณ์ทางการเมืองหลังการ เลือกตั้งในประเทศ หรือปัจจัยภายนอก อาทิ การชะลอตัวของเศรษฐจีนและเศรษฐกิจโลก สงครามการค้าระหว่าง จีนและสหรัฐฯ ซึ่งจะทำให้ค่าเงินเกิดความผันผวน ขณะเดียวกันก็มีปัจจัยที่เอื้อต่อการขยายตัวของธุรกิจอยู่ ไม่ว่า จะเป็นการผลักดันให้เกิดการใช้เทคโนโลยีในการดำเนินธุรกิจตามยุทธศาสตร์ Thailand 4.0 ของรัฐบาล กระแส การเปลี่ยนถ่ายเทคโนโลยีด้านการผลิตและการปฏิบัติงานสู่ระบบดิจิทัล รวมไปถึงเศรษฐกิจโดยรวมของประเทศ ยังอยู่ในช่วงขาขึ้น นอกจากนี้ ในหลายวงการธุรกิจและอุตสาหกรรม ยังเกิดกระแสความต้องการใช้ผลิตภัณฑ์ที่ ช่วยรักษาสิ่งแวดล้อมได้อย่างจริงจังมากขึ้นเรื่อยๆ  บริษัทฯ จึงมั่นใจว่าจะสามารถสร้างการเติบโตใน S-Curve ใหม่นี้ได้อย่างต่อเนื่อง โดยมีการกำหนดกลยุทธ์เพื่อผลักดัน S-Curve ใหม่นี้ไว้ 4 ด้าน ครอบคลุมด้านผลิตภัณฑ์ การบริการ ช่องทางจัดจำหน่าย และการสื่อสารการตลาด”

สำหรับกลยุทธ์ทางด้านผลิตภัณฑ์ เอปสัน ประเทศไทยมีแผนที่จะนำผลิตภัณฑ์ใหม่ใน 4 กลุ่มผลิตภัณฑ์เข้ามาทำ ตลาดมากขึ้น โดยในกลุ่มอิงค์เจ็ทพรินเตอร์ความเร็วสูง บริษัทฯ จะทยอยเปิดตัวสินค้าใหม่ครบทั้งไลน์อัพ เพื่อตอบ โจทย์ความต้องการขององค์กรธุรกิจทุกขนาด ตั้งแต่เอสเอ็มอี โซโห ไปจนถึงองค์กรขนาดใหญ่ โดยมีเป้าหมายที่จะ เข้าไปแทนที่การใช้งานเลเซอร์พรินเตอร์ ซึ่งอิงค์เจ็ทพรินเตอร์ความเร็วสูงของเอปสันในปัจจุบันถูกพัฒนาให้ก้าว ข้ามเลเซอร์พรินเตอร์ไปแล้ว ทั้งด้านคุณภาพงานพิมพ์ที่ดีเยี่ยม การใช้พลังงานที่น้อยกว่า การดูแลรักษาที่ง่ายและ ประหยัดกว่า ทั้งยังเป็นมิตรต่อสุขภาพและสิ่งแวดล้อม เช่นเดียวกับกลุ่มพรินเตอร์เชิงพาณิชย์และอุตสาหกรรม ที่จะมีการเปิดตัวสินค้าใหม่อีกหลายรุ่น ทั้งในกลุ่มโฟโต้ มินิแล็บ อุตสาหกรรมสิ่งทอ หรืองานพิมพ์ป้ายโฆษณาทั้ง ภายในและภายนอกอาคาร เพื่อตอกย้ำความเป็นผู้นำและเติมเต็มความต้องการของตลาดที่ยังมีโอกาสอยู่อีกมาก เช่น เครื่องพิมพ์อุตสาหกรรมความเร็วสูง ที่สามารถพิมพ์ตรงลงบนผ้าม้วนได้ (Direct to Fabric หรือ DTF) ซึ่งเป็น เครื่องพิมพ์สิ่งทอระบบดิจิทัลที่รองรับการพิมพ์แบบออนดีมานด์ ทั้งยังใช้หมึกพิมพ์ที่สามารถพิมพ์ผ้าได้หลายชนิด และยังช่วยลดการใช้สารเคมีและของเสียในการผลิตลายผ้าได้อย่างมาก เมื่อเทียบกับการผลิตลายผ้าแบบเดิม

 

ในขณะที่กลุ่มเลเซอร์โปรเจคเตอร์ เอปสันยังคงให้ความสำคัญ เพราะต้องการรักษาตลาด และตำแหน่งอันดับหนึ่ง ของตลาดนี้ โดยล่าสุดได้มีการเปิดตัวเลเซอร์โปรเจคเตอร์ความสว่างสูง 20,000 ลูเมน และเลเซอร์โปรเจคเตอร์ ความละเอียดระดับ 4K สำหรับหุ่นยนต์แขนกล ผลิตภัณฑ์ใหม่ที่จะนำเข้ามาจะมีราคาถูกลงถึง 35% เพื่อรองรับ ตลาดการศึกษาและเพิ่มโอกาสให้กับผู้ประกอบการรายเล็กสามารถนำหุ่นยนต์แขนกลเข้าไปใช้เพิ่มประสิทธิภาพ ในการผลิต รวมทั้งจะมีการเปิดตัวหุ่นยนต์รุ่นใหม่ที่สามารถยกวัตถุหรือชิ้นงานที่มีน้ำหนักมากขึ้นได้

ด้านกลยุทธ์ในการบริการ นายยรรยง ให้ข้อมูลว่า “การบริการหลังการขายเป็นองค์ประกอบสำคัญที่แยกจากการ ขายสินค้าไม่ได้ บริษัทฯ จึงให้ความสำคัญอย่างมากในการพัฒนา Service Excellence หรือความเป็นเลิศในการ บริการ เพื่อให้บรรลุเป้าหมายความพึงพอใจในระดับสูงและประสบการณ์ที่ดีของลูกค้า บริษัทฯ ได้จัดตั้งหน่วยงาน พิเศษขึ้นมาเพื่อตรวจสอบและพัฒนาการให้บริการ พร้อมติดตามผลการทำงานอย่างใกล้ชิด ทั้งยังเพิ่มความรวด เร็วในการให้บริการซ่อมสินค้า โดยตั้งเป้า 90% จะซ่อมเสร็จภายใน 1-3 วัน นอกจากนี้ ยังมีแผนจะลงทุนขยาย ศูนย์บริการเพิ่มขึ้นจาก 154 แห่ง เป็น 170 แห่งทั่วประเทศ เพื่อให้ครอบคลุมพื้นที่ในการให้บริการมากยิ่งขึ้น ทั้งยัง จะเพิ่มจำนวนจุดรับสินค้าหรือดรอปพอยท์ในบางจังหวัดโดยร่วมมือกับพันธมิตรทางธุรกิจ รวมถึงพัฒนาระบบการ บริหารจัดการและจัดส่งชิ้นส่วนอะไหล่ให้มีความรวดเร็วมากขึ้น”

“นอกจากนี้ยังมีแผนสำหรับการให้บริการลูกค้าองค์กรที่ซื้อผลิตภัณฑ์ใน 4 กลุ่มผลิตภัณฑ์ ไม่ว่าจะเป็นอิงค์เจ็ท พรินเตอร์ความเร็วสูง พรินเตอร์เชิงพาณิชย์และอุตสาหกรรม เลเซอร์โปรเจคเตอร์ความสว่างสูง และหุ่นยนต์แขนกล ให้มีบริการดูแลเครื่องถึงสำนักงานของลูกค้าทุกแห่งทั่วประเทศ รวมถึงยังมีทีมงานพิเศษ เพื่อมอนิเตอร์ การทำงานของเครื่องหรือมีเครื่องสำรองให้ใช้งานแทนในกรณีที่เครื่องลูกค้าที่ใช้งานอยู่เกิดปัญหาขึ้น”

“เอปสันยังลงทุนเพิ่มเติมในส่วนระบบการวิเคราะห์ประมวลผล สำหรับงานด้าน CRM ซึ่งจะสามารถนำข้อมูลและ ความรู้ด้านต่างๆ จากลูกค้ามาช่วยพัฒนาระบบการให้บริการ ตั้งแต่ Call Center การจัดการฐานข้อมูลสินค้าและ การใช้งาน การบริหารศูนย์บริการและทีมงานบริการนอกสถานที่ รวมถึงฐานข้อมูลการรับประกันสินค้า เพื่อสร้าง ประสบการณ์การใช้งานสินค้าและการบริการหลังการขายที่ดีให้กับลูกค้า” นายยรรยง กล่าว

ด้านกลยุทธ์สำหรับช่องทางจำหน่ายสินค้า ในปีนี้เอปสันจะทำการเพิ่มจำนวน Epson Authorized Partner (EAP) สำหรับผลิตภัณฑ์กลุ่มอิงค์เจ็ทพรินเตอร์และโปรเจคเตอร์เป็น 170 รายทั่วประเทศ กลุ่มพรินเตอร์เชิงพาณิชย์และ อุตสาหกรรมเป็น 13 ราย และกลุ่มหุ่นยนต์แขนกลเป็น 10 ราย ซึ่งจะทำให้บริษัทฯ สามารถเข้าถึงลูกค้าได้มากขึ้น และเจาะเข้าตลาดใหม่ๆ ได้

สำหรับกลยุทธ์ทางการสื่อสารการตลาด จะมุ่งเน้นด้านการผสมผสานเครื่องมือการตลาดทั้งออนไลน์และออฟไลน์ เพื่อให้สามารถเข้าถึงลูกค้าแต่ละกลุ่มได้อย่างมีประสิทธิภาพที่สุด นอกจากนี้ บริษัทฯ จะเดินหน้าทำ Technology Showcase เพื่อแสดงศักยภาพของเทคโนโลยีในกลุ่มต่างๆ ผ่านอีเวนท์ที่สามารถสร้างประสบการณ์พิเศษให้กับ ลูกค้า โดยร่วมมือกับพาร์ทเนอร์ในภาคธุรกิจและภาครัฐ เช่นเดียวกับปีที่ผ่านมา เอปสันได้ร่วมกับจังหวัดสุโขทัย ในการจัดแสดงแสงเสียงงานประเพณีลอยกระทงเผาเทียนเล่นไฟ โดยนำเลเซอร์โปรเจคเตอร์รุ่น EB-L25000U ที่มีความสว่างสูงถึง 25,000 ลูเมน ไปจัดแสดงเทคนิค Projection Mapping

“การสร้าง S-Curve ใหม่ทางธุรกิจในปีนี้ถือเป็นจังหวะที่ดีของบริษัทฯ เพราะเอปสันมีผลิตภัณฑ์ครบทุกไลน์ และมี จำนวนรุ่นมากเพียงพอที่จะทำการตลาดอย่างต่อเนื่อง อีกทั้งเอปสันยังเป็นบริษัทเจ้าของเทคโนโลยีเอง จึงสามารถ พัฒนาเทคโนโลยีในแต่ละด้านให้ทันสมัย นำหน้าความต้องการของลูกค้าอยู่เสมอ และมีสินค้าใหม่ๆ ป้อนเข้าสู่ ตลาดอย่างต่อเนื่องไม่ขาดช่วง ที่สำคัญผลิตภัณฑ์ทั้ง 4 กลุ่มใน S-Curve ใหม่นี้ล้วนแต่เป็นที่รู้จักคุ้นเคยและได้รับ ความมั่นใจจากลูกค้าในหลากหลายวงการธุรกิจและอุตสาหกรรมของประเทศไทยอยู่แล้ว เอปสัน ประเทศไทยจึง เชื่อมั่นว่า S-Curve ใหม่นี้จะไม่เพียงแต่จะสร้างการเติบโตอย่างต่อเนื่องในระยะเวลา 5 ปีได้ แต่ยังจะทำให้มิติทาง ธุรกิจของเอปสันในประเทศไทยกว้างออกไป และแบรนด์ของเอปสันจะเติบโตมากยิ่งขึ้นด้วย” นายยรรยง ทิ้งท้าย

ดร.สมพร สืบถวิลกุล กรรมการผู้จัดการใหญ่ บมจ.ทิพยประกันภัย คุณสมบูรณ์ พัฒนรัตน์เจริญ ประธานกรรมการ และคุณจิตรา วุฒิศิริศาสตร์ กรรมการผู้จัดการ บ.อะมิตี้ อินชัวร์รันซ์ โบรคเกอร์ มอบรางวัลรถยนต์ Toyota Yaris ATIV มูลค่า 479,000 บาท ให้แก่ คุณเมษยา หมื่นแก้ว ผู้โชคดีที่ซื้อกรมธรรม์รถยนต์ TIP Lady จาก แคมเปญ "TIP Lady แจกโชคลุ้นรถ" จัดโดย บ.อะมิตี้ อินชัวรันส์โบรกเกอร์ นอกจากนี้ ทิพยประกันภัยยังได้เพิ่มบริการเสริมพิเศษสำหรับลูกค้า TIP Lady โดยจัดทีมให้คำปรึกษาด้านกฏหมายในทุกเรื่องแก่ลูกค้าที่ทำประกันภัยรถยนต์ TIP Lady ให้คุณสุภาพสตรีได้อุ่นใจเมื่อต้องการที่ปรึกษาทางกฎหมาย ถือว่าเป็นอีกหนึ่งบริการเสริมพิเศษ โดยสามารถติดต่อขอคำปรึกษา ได้ที่สายด่วน 1736 กด 8 สำหรับลูกค้าเดิมก็สามารถใช้บริการเสริมนี้ได้เช่นกัน

ซีพี ออลล์ จับมือ 10 องค์กรชั้นนำระดับประเทศ ร่วมพัฒนานวัตกรรมเพื่อเศรษฐกิจและสังคมไทย จัดงาน “Thailand Synergy เพื่อ SMEs ไทย” พร้อมประกาศผลและมอบรางวัล สุดยอดนวัตกรรม “เซเว่น อินโนเวชั่น อวอร์ดส์ 2019” (7 Innovation Awards 2019) มอบรางวัลแก่เอสเอ็มอีและสตาร์ทอัพที่มีการพัฒนาผลงานนวัตกรรม โดยมี ดร.สุเมธ ตันติเวชกุล กรรมการและเลขาธิการมูลนิธิชัยพัฒนา และ ดร.ชัยวัฒน์ วิบูลย์สวัสดิ์ ประธานกรรมการตลาดหลักทรัพย์ฯ เป็นประธานมอบรางวัล

นายก่อศักดิ์ ไชยรัศมีศักดิ์ ประธานกรรมการบริหาร บริษัท ซีพี ออลล์ จำกัด (มหาชน) และผู้ก่อตั้งร้านเซเว่น อีเลฟเว่น ในประเทศไทย กล่าวว่า การจัดประกวดรางวัล “สุดยอดนวัตกรรม 7 Innovation Awards 2019” เป็นโครงการที่จัดต่อเนื่องเป็นปีที่ 6 ภายใต้ความร่วมมือกับ 10 องค์กรระดับประเทศ ได้แก่ สำนักงานคณะกรรมการนโยบายวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและนวัตกรรมแห่งชาติ (สวทน.), สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.), สำนักงานนวัตกรรมแห่งชาติ (องค์การมหาชน) (สนช.), สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (ส.อ.ท.), ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย , สำนักงานปลัดกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี, สมาคมหน่วยบ่มเพาะธุรกิจและอุทยานวิทยาศาสตร์ไทย(Thai-BISPA), หอการค้าไทยและสภาหอการค้าแห่งประเทศไทย, สมาคมธนาคารไทย และสำนักงานส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (สสว.) โดย ได้คัดเลือกสินค้าและบริการของผู้ประกอบการสตาร์ทอัพ และเอสเอ็มอีไทย ที่คิดค้นนวัตกรรมใหม่ๆ ในการพัฒนาผลิตภัณฑ์ บริการ หรือรูปแบบสินค้า บริการ การดำเนินธุรกิจใหม่ๆ ที่จะช่วยให้เกิดมูลค่าและคุณค่ามากขึ้น รวมถึงเป็นการพัฒนาธุรกิจเอสเอ็มอีให้เติบโตอย่างยั่งยืน ตามปณิธานของบริษัท “ร่วมสร้างสรรค์และแบ่งปันโอกาสให้ทุกคน”

นายก่อศักดิ์  กล่าวต่อว่า  ซีพี ออลล์ ได้ให้ความสำคัญกับการส่งเสริมผู้ประกอบการสตาร์ทอัพ และเอสเอ็มอีไทย โดยสนับสนุนการพัฒนามาตรฐานผลิตภัณฑ์  การสร้างสรรค์สินค้าที่มีความแปลกใหม่ออกสู่ตลาด เพื่อก่อให้เกิดมูลค่าและประโยชน์ต่างๆในทางเศรษฐกิจ และเปิดโอกาสให้ผู้ประกอบการได้ต่อยอดธุรกิจ ผ่านช่องทางการจำหน่ายผลิตภัณฑ์ อันหลากหลาย ได้แก่ ร้านเซเว่น อีเลฟเว่น เว็บไซต์ทเวนตี้โฟร์ ช้อปปิ้ง รวมไปถึงช่องทางใหม่ๆในเครือข่ายความร่วมมือ เช่น ร้านริมปิง  ซูเปอร์มาร์เก็ต  ร้านกาแฟมวลชน  Makroclick.com ในกลุ่มธุรกิจของแม็คโคร  Weloveshopping.com ในกลุ่มธุรกิจของทรู และร้านซีเอ็ดบุ๊คเซ็นเตอร์ เพื่อให้เกิดการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ และเกิดการพัฒนาต่อยอดไปสู่ผลงานนวัตกรรมที่สูงขึ้นในระดับประเทศต่อไป เพื่อกระจายรายได้ให้เป็นไปอย่างทั่วถึง

โดยเมื่อเร็วๆนี้ ได้มอบรางวัล “สุดยอดนวัตกรรมเซเว่น อินโนเวชั่น อวอร์ดส์ 2019” ในงาน “Thailand Synergy เพื่อ SMEs ไทย” ซึ่งมีผู้ประกอบการส่งผลงานเข้าประกวดทั้งสิ้น 120 ผลงาน และมีผลงานที่โดดเด่นผ่านการตัดสินให้ได้รับรางวัลทั้งสิ้น จำนวน 40 ผลงาน แบ่งเป็นผลงานนวัตกรรมที่ก่อให้เกิดประโยชน์ด้านเศรษฐกิจ จำนวน 21 ผลงาน และผลงานนวัตกรรมที่ก่อให้เกิดประโยชน์ด้านสังคม จำนวน 19 ผลงาน และในงานนี้ยังมีการเสวนาพิเศษหัวข้อ “เทคนิคการนำเสนอโครงการนวัตกรรมให้ได้รางวัล (Innovation Pitching)” ซึ่งผลงานที่ชนะเลิศ ด้านก่อให้เกิดประโยชน์ทางสังคม ได้แก่ ผลิตภัณฑ์จากโพรไบโอติกสายพันธุ์ใหม่ป้องกันฟันผุ จาก คณะทันตแพทยศาสตร์มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ และ 1 to 5 Brain Exercise จาก บริษัท ไรทว์วิว วิสาหกิจสังคม จำกัด ในส่วนของผลงานที่ชนะเลิศ ด้านก่อให้เกิดประโยชน์ทางเศรษฐกิจ ได้แก่ ขนมบราวนี่กรอบอร่อยปราศจากกลูเตนสู่ตลาดอาหารอนาคต (Future Food) จาก บริษัท สมายล์ มีล จำกัด งานในนครั้งนี้จักขึ้น ณ ภิรัช ฮอลล์ ชั้น 2 ศูนย์นิทรรศการและการประชุมไบเทค สำหรับผู้สนใจสามารถสอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ศูนย์นวัตกรรม

X

Right Click

No right click