ศูนย์วิเคราะห์เศรษฐกิจ ทีทีบี หรือ ttb analytics ประมาณรายได้ท่องเที่ยวไทยปี 2567 อยู่ที่ระดับ 2.75 ล้านล้านบาท จากการท่องเที่ยวในประเทศที่ฟื้นตัวสมบูรณ์ในฝั่งของรายได้ ในขณะที่กลุ่มนักท่องเที่ยวต่างชาติคาดว่านักท่องเที่ยวชาวจีนกลับมาเพียง 52% ของภาวะปกติจากแรงกดดันทางเศรษฐกิจภายในประเทศ และพฤติกรรมการเดินทางที่เริ่มเปลี่ยนตามโครงสร้างอายุและรายได้ แนะภาครัฐออกนโยบายกระตุ้นการท่องเที่ยวให้เหมาะสมกับนักท่องเที่ยวในแต่ละกลุ่มที่มีพฤติกรรมต่างกัน

 ในปี 2566 ที่ผ่านมานับเป็นความสำเร็จของการท่องเที่ยวไทยทั้งในมิติของนักท่องเที่ยวในประเทศที่สูงเป็นประวัติการณ์ที่ตัวเลข 254.4 ล้านคน-ครั้ง สร้างรายได้กว่า 8 แสนล้านบาท รวมถึงในฝั่งของนักท่องเที่ยวต่างชาติที่ได้ตามเป้าที่ทาง ttb analytics ประมาณการไว้ที่ 28 ล้านคน สร้างเม็ดเงินราว 1.4 ล้านล้านบาท ส่งผลให้ภาพรวมประเทศไทยสร้างเม็ดเงินจากการท่องเที่ยวได้กว่า 2.2 ล้านล้านบาท ซึ่งคิดเป็น 73% เมื่อเทียบกับจุดสูงสุดเดิมที่ 3 ล้านล้านบาทในปี 2562 อย่างไรก็ตาม จำนวนเงินดังกล่าวหลุดเป้าไปราว 2 แสนล้านบาทจากที่ภาครัฐได้ตั้งเป้าไว้ที่ 2.4 ล้านล้านบาท

อย่างไรก็ตาม แม้การประมาณรายได้จากนักท่องเที่ยวที่พลาดเป้าในปีที่ผ่านมา ในปี 2567 นี้ ก็ยังเห็นมุมมองของภาครัฐที่ตั้งเป้านักท่องเที่ยวต่างชาติทั้งในมิติของจำนวนที่คาดว่าจะสูงถึง 40 ล้านคนสร้างรายได้กว่า 2.5 ล้านล้านบาท เมื่อรวมกับรายได้จากการท่องเที่ยวในประเทศ จะสามารถสร้างเม็ดเงินได้สูงถึง 3.5 ล้านล้านบาท ซึ่งเป็นการตั้งเป้าหมายเพิ่มขึ้นกว่า 60% ทั้งที่รายได้จากปีก่อนก็ยังหลุดเป้าไปราว 10% โดยในมุมมองของ ttb analytics มีความเห็นว่าในปี 2567 นี้ ศักยภาพรายได้จากการท่องเที่ยวคาดว่าจะอยู่ที่ราว 2.75 ล้านล้านบาท โดยมีรายละเอียดดังนี้

1) กลุ่มนักท่องเที่ยวคนไทย ttb analytics ประเมินปี 2567 การท่องเที่ยวในประเทศยังสามารถสร้างประวัติศาสตร์เป็นปีที่ 2 ต่อเนื่องจากปี 2566 ด้วยจำนวนนักท่องเที่ยวที่คาดว่าจะสูงถึง 292.1 ล้านคน-ครั้ง บนพฤติกรรมการใช้จ่ายในการท่องเที่ยวต่อทริปลดลงจากภาวะค่าครองชีพและภาระทางการเงินที่สูงขึ้นลดทอนรายได้ที่ใช้จ่ายได้จริง แต่จากการชดเชยของมิติเชิงจำนวนสามารถดันให้รายได้จากการท่องเที่ยวในประเทศคาดแตะระดับ 1 ล้านล้านบาท ได้อีกครั้งหนึ่ง บนรูปแบบของการท่องเที่ยวจากคนไทยดังนี้ 1) เทรนด์การเที่ยวแบบไปเช้าเย็นกลับ (One-Day Trip) โดยไม่พักแรมเพิ่มขึ้น สะท้อนผ่านจำนวนนักท่องเที่ยวในภาคกลาง และภาคตะวันตก ฟื้นตัวเทียบช่วงก่อนสถานการณ์โควิด-19 ที่ 136% และ 146% แต่รายได้กลับฟื้นตัวเพียง 103% และ 119% ตามลำดับ 2) นักท่องเที่ยวคนไทยมีแนวโน้มเที่ยวเมืองรองที่มีค่าใช้จ่ายต่ำกว่าเมืองหลักเพิ่มขึ้น เช่น จังหวัดเชียงราย น่าน แพร่ ในพื้นที่ภาคเหนือมีนักท่องเที่ยวเพิ่มขึ้นมากกว่า 50% และจังหวัดสตูล และนราธิวาส ในพื้นที่ภาคใต้มีตัวเลขนักท่องเที่ยวเพิ่มสูงขึ้นประมาณ 30-40% เมื่อเทียบกับช่วงก่อนสถานการณ์โควิด-19 3) การปรับลดคืนค้างแรมลงโดยเฉพาะกลุ่มจังหวัดห่างไกล ส่งผลต่อค่าใช้จ่ายที่ลดลงต่อทริป

โดยเฉพาะในกลุ่มภาคใต้ และภาคตะวันออกเฉียงเหนือ สะท้อนผ่านเม็ดเงินจากการท่องเที่ยวเทียบก่อนสถานการณ์โควิด-19 กลับมาที่ 58% และ 72% ในขณะที่จำนวนนักท่องเที่ยวฟื้นตัวในอัตราที่สูงกว่าที่ 100% และ 92% ตามลำดับ

2) ตลาดนักท่องเที่ยวต่างชาติ ในปี 2567 คาดการณ์นักท่องเที่ยวต่างชาติจะอยู่ที่ 33.1 ล้านคน สร้างรายได้กว่า 1.75 ล้านล้านบาท จากค่าเฉลี่ยในการใช้จ่ายต่อทริปที่คาดสูงขึ้นจากราคาที่พักที่ปรับตัวรับอุปสงค์ และแนวโน้มวันท่องเที่ยวที่เพิ่มมากขึ้น โดยในรายละเอียดพบว่า กลุ่มนักท่องเที่ยวไม่นับรวมชาวจีน (Non-Chinese Travelers) คาดกลับมาใกล้เคียงช่วงก่อนเกิดสถานการณ์โควิด-19 แต่ปัจจัยที่น่าจับตา คือการกลับมาของนักท่องเที่ยวชาวจีน (Chinese Travelers) ที่คาดยังไม่ฟื้นตัวสมบูรณ์ด้วยอัตราการกลับมาที่ราว 5.7 ล้านคน คิดเป็น 52% เมื่อเทียบกับจำนวนนักท่องเที่ยวชาวจีนในช่วงก่อนเกิดโควิด-19 เนื่องจากแรงกดดันดังต่อไปนี้

2.1) แรงกดดันจากเศรษฐกิจภายในประเทศของจีน เช่น ปัญหาการว่างงานในคนอายุ 16-24 ปี ที่สูงเกินกว่า 20% ส่งผลต่อจำนวนนักท่องเที่ยวหน้าใหม่ที่จะเดินทางออกนอกประเทศที่ลดลง ซึ่งตามสถิติจากการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย (ททท.) ชี้นักท่องเที่ยวจากเอเชียตะวันออกกว่า 63% มีอายุต่ำกว่า 35 ปี รวมถึงความมั่งคั่งสุทธิที่ลดลงจากปัญหาภาคอสังหาริมทรัพย์ และภาคการเงินที่ยังน่ากังวล ที่ส่งผลให้สินทรัพย์หรือรายได้ของชาวจีนบางกลุ่มลดลงจนอาจกระทบต่อการตัดสินใจท่องเที่ยวต่างประเทศ

2.2) จำนวนนักท่องเที่ยวที่ส่งสัญญาณเติบโตชะลอตั้งแต่ช่วงก่อนสถานการณ์โควิด-19 ในช่วงปี 2560-2562 นักท่องเที่ยวชาวจีนเข้าไทยเพิ่มขึ้นที่ 6.5% ต่อปี ในขณะที่ ญี่ปุ่น และ เกาหลีใต้ ยังรักษาอัตราการเติบโตของนักท่องเที่ยวชาวจีนได้สูงถึง 14% และ 20% ต่อปีตามลำดับ กอปรกับในปี 2566 พบนักท่องเที่ยวชาวจีนขาออกนอกประเทศภาพรวมฟื้นตัวกว่า 60%-65% ในขณะที่การกลับมาของนักท่องเที่ยวจีนในไทยกลับฟื้นตัวเพียง 32% ของภาวะปกติ

2.3) ความดึงดูดในเรื่องของอัตราการท่องเที่ยวซ้ำ เนื่องจากตลาดท่องเที่ยวไทยเป็นตลาดที่เข้าถึงง่ายจากค่าใช้จ่ายต่อทริปที่ไม่สูง ส่งผลให้ตลาดไทยอยู่ในฐานะจุดหมายแรกของการเริ่มเดินทางท่องเที่ยวต่างประเทศ (Entry Level) ที่อาจได้ประโยชน์ในระยะแรกแต่อาจเริ่มถูกตั้งคำถามถึงอัตราการท่องเที่ยวซ้ำ (Revisit Intention) เมื่อนักท่องเที่ยวชาวจีนที่มีรายได้ที่เพิ่มขึ้นตามช่วงเวลาอาจมีทางเลือกในการเดินทางไปยังประเทศอื่นเพิ่มมากขึ้น สะท้อนผ่านสัดส่วนของจำนวนนักท่องเที่ยวและรายได้จากนักท่องเที่ยวชาวจีนในปี 2562 มีสัดส่วนที่เท่ากันที่ 28% ในขณะที่นักท่องเที่ยวชาวจีนในฝรั่งเศสที่มีสัดส่วนเพียง 3% แต่สามารถสร้างรายได้ให้การท่องเที่ยวเป็นสัดส่วนที่สูงถึง 7%

 โดยสรุป ttb analytics คาดว่าปี 2567 มูลค่าการท่องเที่ยวไทยจะมีมูลค่า 2.75 ล้านล้านบาทต่ำกว่าเป้าที่ภาครัฐได้วางไว้ที่ 3.5 ล้านล้านบาทหรือห่างจากเป้าหมายเกือบ 8 แสนล้านบาท แต่มองว่ายังมีศักยภาพดึงดูดนักท่องเที่ยวได้มากขึ้นในเชิงคุณภาพ หากมีการกำหนดเป้าหมายและกลยุทธ์ให้ตรงตามกลุ่มให้ชัดเจน เช่น นักท่องเที่ยวจากเอเชียที่ไทยได้ประโยชน์จากการเดินทางที่สะดวกและค่าใช้จ่ายต่อทริปที่ต่ำ ภาครัฐควรตั้งเป้าหมายในการดึงดูดให้เกิดการท่องเที่ยวซ้ำ เช่น สิทธิประโยชน์ที่อาจมอบให้เมื่อมีการกลับมาท่องเที่ยวซ้ำ ในกรอบระยะเวลาที่กำหนด รวมถึงเร่งพัฒนาโครงข่ายคมนาคมให้สะดวก ปลอดภัย ที่สามารถเชื่อมกับภูมิภาคต่าง ๆ เพื่อดึงดูดให้นักท่องเที่ยวมีความต้องการท่องเที่ยวซ้ำในภูมิภาคอื่น ๆ และในกลุ่มนักท่องเที่ยวยุโรป สหรัฐอเมริกา และออสเตรเลีย ที่มีสัดส่วนนักท่องเที่ยวที่อยู่อาศัยระยะยาวสูงโดยเปรียบเทียบอาจให้เป็นในรูปแบบสิทธิประโยชน์เรื่องการจัดหาที่อยู่อาศัยที่มีคุณภาพ จัดหาบริการระบบประกันสุขภาพที่

ครอบคลุม รวมถึงในภาพรวมควรจัดตั้งหน่วยงานสายด่วนรับเรื่องร้องเรียนที่สามารถแก้ปัญหานักท่องเที่ยวต่างชาติถูกเอารัดเอาเปรียบอย่างจริงจัง เพื่อยกระดับคุณภาพการท่องเที่ยวไทยให้ก้าวไปอีกระดับเพื่อสามารถส่งต่อบรรยากาศการท่องเที่ยวที่เป็นมิตร เพิ่มโอกาสการกลับมาเที่ยวซ้ำสำหรับกลุ่มนักท่องเที่ยวอายุน้อย และโน้มน้าวให้นักท่องเที่ยวมีความประสงค์ที่จะอยู่อาศัยระยะยาว เพื่อโอกาสในการยกระดับให้การท่องเที่ยวไทยเป็นกลไกในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจในระยะยาว

ตอกย้ำความเป็นพันธมิตร สนับสนุนให้ลูกค้าเติบโตอย่างยั่งยืน

ทีเอ็มบีธนชาต หรือ ทีทีบี ร่วมฉลองการเปิดตัวของ The EM District อย่างเต็มรูปแบบ ด้วย 2 แคมเปญที่มอบสิทธิพิเศษสำหรับผู้ถือบัตรเครดิต ttb เมื่อจับจ่ายที่ศูนย์การค้าเอ็มโพเรียม เอ็มควอเทียร์ และเอ็มสเฟียร์ ระหว่างวันที่ 1 ธันวาคม 2566 – 21 มกราคม 2567 ดังนี้ 

แคมเปญ 7 Days Countdown : เมื่อมียอดใช้จ่ายสะสมครบ 19,000 บาทขึ้นไปในหมวดช้อปปิ้ง และรวม ยอดใช้จ่ายสะสมครบ 1,000 บาทขึ้นไปในหมวดร้านอาหาร ระหว่างวันที่ 25 ธันวาคม 2566  – 31 ธันวาคม 2566 รับบัตรกำนัลศูนย์การค้า มูลค่า 4,800 บาท รับสิทธิ์ด้วยการนำบัตรประชาชนและบัตรเครดิตที่มีชื่อสกุลตรงกัน ณ EM Privilege Counter ชั้น M ศูนย์การค้าเอ็มสเฟียร์  จำกัด 1 สิทธิ์ / หมายเลขบัตรตลอดรายการ และจำกัดรวม 50 สิทธิ์ตลอดรายการ

แคมเปญ Mission Possible : เมื่อใช้จ่ายที่ศูนย์การค้าเอ็มโพเรียม เอ็มควอเทียร์ และเอ็มสเฟียร์ ระหว่างวันที่ 11 มกราคม 2567 - 21 มกราคม 2567 ช้อปครบตามเงื่อนไข

  • มียอดใช้จ่ายตั้งแต่ 10,000 บาทขึ้นไป / เซลล์สลิป รับบัตรกำนัลศูนย์การค้า มูลค่า 1,000 บาท
  • มียอดใช้จ่ายตั้งแต่ 50,000 บาทขึ้นไป / เซลล์สลิป รับบัตรกำนัลศูนย์การค้า มูลค่า 5,000 บาท

จำกัด 1 สิทธิ์ / หมายเลขบัตร / วัน และจำกัดรับบัตรกำนัล สูงสุด 6,000 บาท จำกัดรวม 50 สิทธิ์ตลอดรายการรับบัตรกำนัลโดยนำเซลล์สลิปพร้อมบัตรเครดิต ลงทะเบียน ณ EM Privilege Counter ชั้น M ศูนย์การค้าเอ็มสเฟียร์

การวางแผน “ภาษี” เป็นเรื่องใกล้ตัวที่คนวัยทำงานต้องไม่ลืม เมื่อใกล้สิ้นปีแล้ว! ควรรีบคำนวณรายได้ปี 2566 ว่าต้องเสียภาษีเท่าไหร่ และควรใช้ตัวช่วยอะไรมาลดหย่อนภาษีให้ได้คุ้มค่า สำหรับใครที่นิยมซื้อกองทุน อย่าลืมว่านอกจาก SSF และ RMF ตัวช่วยที่คุ้ม 2 ต่อ ทั้งลดหย่อนค่าภาษีเซฟเงินในกระเป๋า และต่อยอดเงินลงทุนแล้ว ในปีนี้ยังมีตัวช่วยใหม่เพื่อการลดหย่อนภาษีอย่างยั่งยืนกองทุน “ThaiESG” เพิ่มมาอีกด้วย

วันนี้ fintips by ttb #เรื่องเงินที่รู้จริงแบบเพื่อนที่รู้ใจ จะชวนมาทำความรู้จักกองทุนใหม่ ThaiESG พร้อมวิธีช่วยคำนวณในการซื้อกองทุนต่าง ๆ เพื่อลดหย่อนภาษีปลายปีกัน

รู้จักกองทุน ThaiESG

กองทุน ThaiESG หรือ กองทุนรวมไทยเพื่อความยั่งยืน (Thailand ESG Fund) มีนโยบายลงทุนในหลักทรัพย์ไทยที่เป็น ESG ประกอบด้วย ความยั่งยืนด้านสิ่งแวดล้อม (Environmental) สังคม (Social) ​และบรรษัทภิบาล (Governance) เป็นกองทุนลดหย่อนภาษีเช่นเดียวกับ SSF และ RMF แต่มีเงื่อนไขแตกต่างกัน โดยการลงทุนในกองทุน ThaiESG จะต้องลงทุนระยะยาว 8 ปีเต็มนับจากวันที่ซื้อ หรือ 10 ปีปฏิทิน ซื้อปีไหน ลดหย่อนได้ปีนั้น และไม่จำเป็นต้องซื้อต่อเนื่องทุกปี สามารถลดหย่อนภาษีไม่เกิน 30% ของเงินได้ สูงสุด 100,000 บาท ซึ่งจะเป็นการแยกวงเงินออกจากกองทุน SSF และ RMF

ในขณะที่กองทุน SSF ลดหย่อนได้ไม่เกิน 30% ของเงินได้ สูงสุดไม่เกิน 200,000 บาท และกองทุน RMF ลดหย่อนภาษีได้ไม่เกิน 30% ของเงินได้ สูงสุดไม่เกิน 500,000 บาท แต่เมื่อรวมกับกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ (PVD) กองทุนการออมแห่งชาติ (กอช.) กองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ (กบข.) กองทุนสงเคราะห์ครูโรงเรียนเอกชน ประกันชีวิตบำนาญแล้ว ต้องรวมกันไม่เกิน 500,000 บาท

พูดง่าย ๆ ก็คือ จะสามารถใช้ กองทุน ThaiESG ลดหย่อนภาษีได้สูงสุด 100,000 บาท และเมื่อรวมกับกองทุนการออมเพื่อการเกษียณอายุอื่น ๆ จะสามารถลดหย่อนได้สูงสุด 600,000 บาท

คำนวณดี ๆ รายได้เท่านี้ ควรซื้อกองทุนเท่าไหร่?

STEP 1 : คำนวณหาเงินได้สุทธิ

อันดับแรกต้องคำนวณหาเงินได้สุทธิเพื่อนำมาใช้ในการคำนวณภาษีก่อน โดยคำนวณจากการนำเงินได้ทั้งปี 2566 มารวมกัน แล้วหักด้วยค่าใช้จ่าย และค่าลดหย่อน

รายได้ทั้งปี - ค่าใช้จ่าย – ค่าลดหย่อน = เงินได้สุทธิ

หากมีเงินเดือน 100,000 บาท รวมรายได้ทั้งปี 1,200,000 บาท จะสามารถหักค่าใช้จ่ายได้ 50% แต่ไม่เกิน 100,000 บาท หักค่าลดหย่อนส่วนตัว 60,000 บาท และค่าลดหย่อนประกันสังคม 9,000 บาท เมื่อคิดเงินได้สุทธิแล้วจะอยู่ที่ 1,031,000 บาท

STEP 2 : คำนวณภาษีที่ต้องจ่าย

หลังจากคำนวณเงินได้สุทธิแล้วให้นำมาเทียบกับอัตราภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาแบบขั้นบันได โดยนำเงินได้สุทธิคูณกับอัตราภาษีแต่ละขั้น เพื่อหาว่าต้องจ่ายภาษีท่าไหร่

[(เงินได้สุทธิ - เงินได้สุทธิสูงสุดของขั้นก่อนหน้า) x อัตราภาษี ]

+ ภาษีสะสมสูงสุดของขั้นก่อนหน้า = ภาษีที่ต้องจ่าย

จากจำนวนเงินได้สุทธิ 1,031,000 บาท จะอยู่ระหว่างฐาน 1,000,001 -  2,000,000 บาท อัตราภาษี 25% ทำให้จะต้องเสียภาษี (1,031,000 - 1,000,000) x 25% + 115,000 เท่ากับภาษีที่ต้องจ่าย 122,750 บาท

STEP 3 : คำนวณเงินที่ควรซื้อกองทุนลดหย่อนภาษี

หากต้องการเปลี่ยนเงินที่ต้องจ่ายภาษีมาเป็นเงินออมไว้ใช้ในอนาคต สามารถเลือกลงทุนในกองทุนรวมลดหย่อนภาษีอย่าง SSF RMF และ ThaiESG ได้ ซึ่งจะคำนวณจาก

เงินได้สุทธิ – เงินได้สุทธิที่ได้รับการยกเว้น = เงินที่ซื้อกองทุนลดหย่อนภาษีได้สูงสุด

ดังนั้น จำนวนเงินที่สามารถนำไปซื้อกองทุนลดหย่อนภาษีให้พอดี จะคิดจากเงินได้สุทธิ 1,031,000 บาท หักเงินได้สุทธิที่ได้รับการยกเว้น 150,000 บาท จะได้เท่ากับ 881,000 บาท แต่เนื่องจากเงื่อนไขของกองทุน SSF และ RMF ซื้อได้ไม่เกิน 30% ของเงินได้ และรวมกันไม่เกิน 500,000 บาท ดังนั้น เมื่อรวมกับกองทุน ThaiESG อีก 100,000 บาท จะเท่ากับว่าสามารถซื้อกองทุนลดหย่อนภาษีได้ทั้งหมด 600,000 บาทเท่านั้น

แล้วควรซื้อกองทุนไหนดี จำนวนเท่าไหร่บ้างนั้น ก็ให้ดูตามความเหมาะสม ได้แก่ เป้าหมายการลงทุนและความเสี่ยงที่รับได้ เช่น หากต้องการลงทุนระยะยาว 10 ปี ก็สามารถลงน้ำหนักไปที่กองทุน SSF จำนวน 200,000 บาท และกองทุน RMF อีก 300,000 บาท หรือหากต้องการลงทุนเพื่อเกษียณอายุก็สามารถลงน้ำหนักไปที่กองทุน RMF จำนวน 360,000 บาท แล้วที่เหลืออีก 140,000 บาท จึงนำไปซื้อ SSF ก็ได้เช่นกัน

สรุป หากซื้อกองทุนลดหย่อนภาษี 600,000 บาท จะทำให้เหลือเงินได้สุทธิ (1,031,000 – 600,000) เท่ากับ 431,000 บาท ซึ่งจากเดิมจะเสียภาษีฐาน 25% มาเหลือเพียงฐาน 10% เท่านั้น และเมื่อคำนวณภาษีใหม่ จะเสียภาษี (431,000 - 300,000) x 10% + 7,500 เท่ากับ 20,600 บาท ซึ่งประหยัดได้ถึง 102,150 บาท เลยทีเดียว

จากตัวอย่างข้างต้น จะเห็นได้ว่าหากไม่มีตัวช่วยลดหย่อนภาษี จะทำให้มนุษย์เงินเดือนเสียภาษีหลักพันไปจนถึงหลักแสน แต่ถ้าย้ายเงินไปลงทุนในกองทุนลดหย่อนภาษี นอกจากจะช่วยเซฟเงินในกระเป๋าแล้ว ยังช่วยสร้างโอกาสรับผลตอบแทนที่ดีอีกด้วย

หากยังเลือกไม่ได้ ไม่รู้จะซื้อกองทุนไหนดี ทีทีบีคัดกองทุนลดหย่อนภาษีเด่น สร้างโอกาสรับผลตอบแทนที่ดี พร้อมรับสิทธิประโยชน์ทางภาษีมาให้แล้ว โดยมีให้เลือกหลากหลายทั้ง SSF และ RMF กับกองเด่นลดหย่อนภาษี ปี 2566 และยังมีกองทุน ThaiESG ตัวใหม่เพื่อการลดหย่อนภาษีอย่างยั่งยืน ที่คัดมาให้แล้ว คลิกดูรายละเอียดได้ที่ https://www.ttbbank.com/th/personal-invest

มาวางแผนลดหย่อนภาษีกันแต่เนิ่น ๆ ไปกับ “fintips by ttb” เรื่องเงินที่รู้จริงแบบเพื่อนที่รู้ใจ เพื่อการเงินที่ดีขึ้นกัน!

ทีเอ็มบีธนชาต หรือ ทีทีบี มั่นใจมาถูกทางกับการสร้างโซลูชันทางการเงินเพื่อคนรักบ้าน หลังยอดสมัครบัตรเครดิต ttb Global House เติบโตทะลุเป้าที่ตั้งไว้เกือบเท่าตัว ตอกย้ำการขับเคลื่อนธุรกิจที่มุ่งสร้างชีวิตทางการเงินที่ดีขึ้นรอบด้านให้กับคนไทย มั่นใจสามารถบรรลุเป้าหมายการขึ้นเป็น Top 4 ผู้นำตลาดบัตรเครดิตและสินเชื่อบุคคลได้ภายใน 3 ปี

จากที่ ทีทีบี มุ่งมั่นขับเคลื่อนพันธกิจให้ลูกค้ามีชีวิตทางการเงินที่ดีขึ้น ผ่านกลยุทธ์หลัก Ecosystem Play ต่อยอดจุดแข็งของผลิตภัณฑ์ที่โดดเด่นและเป็นที่ชื่นชอบของลูกค้าสู่โซลูชันทางการเงินที่ตอบโจทย์สำหรับลูกค้า หลังจากเมื่อเดือนกันยายนที่ผ่านมา ทีทีบีได้จับมือกับสยามโกลบอลเฮ้าส์ เปิดตัวผลิตภัณฑ์บัตรเครดิต และบัตรกดเงินสดร่วม ttb Global House เพื่อส่งมอบสิ่งดี ๆ และสิทธิประโยชน์ให้กับทั้งลูกค้าของทั้งสองฝ่าย พร้อมเพิ่มกำลังซื้อให้กับลูกค้าโกลบอลเฮ้าส์ผ่านบัตรเครดิตและบัตรกดเงินสด ด้วยข้อเสนอที่คุ้มค่าและตรงใจ โดยใช้การวิเคราะห์ข้อมูลพฤติกรรมของลูกค้า ซึ่งได้ช่วยสร้าง Brand Loyalty ให้กับทั้งโกลบอลเฮ้าส์ และทีทีบี จนถึงปัจจุบัน พบว่า มีจำนวนผู้สมัครบัตรเครดิต ttb Global House มากกว่า 50,000 ราย สูงกว่าเป้าที่ตั้งไว้ที่ 40,000 บัตร

การตอบรับที่ดีจากตลาดต่อบัตรเครดิตร่วม ttb Global House สะท้อนว่า ทีทีบี สร้างสรรค์โซลูชันการเงินได้ตอบโจทย์และตรงใจกลุ่มคนรักบ้านอย่างแท้จริง ส่งผลให้ยอดใช้จ่ายผ่านบัตรในหมวดบ้านเติบโตขึ้นอย่างต่อเนื่องเมื่อเทียบกับหมวดอื่น ๆ ผู้ที่ต้องการสัมผัสประสบการณ์ดี ๆ เพื่อบ้านที่รักควรสมัครบัตรเครดิต ttb Global House เพื่อรับสิทธิประโยชน์เหนือระดับที่ให้ความคุ้มค่ายิ่งกว่า ซึ่งบัตรเครดิต ttb Global House นี้ ยังถือเป็นหนึ่งในโซลูชันการเงินหลักที่จะช่วยให้ ทีทีบี ขับเคลื่อนกลยุทธ์เพื่อมุ่งสู่เป้าหมาย Top 4 ผู้นำตลาดบัตรเครดิตและสินเชื่อบุคคลได้ภายใน 3 ปี

บัตรเครดิต ttb Global House เป็นบัตรเครดิตที่ผนวกจุดแข็งระหว่าง ทีทีบี และโกลบอลเฮ้าส์ เพื่อสร้าง Home Owner Ecosystem ส่งมอบโซลูชันการเงินที่ตอบโจทย์และตรงใจ ช่วยสร้างประสบการณ์การช้อปเพื่อบ้านที่คุ้มค่าที่สุดให้กับลูกค้า รวมถึงสิทธิประโยชน์อีกมากมายที่ผู้ถือบัตรจะได้รับจากโกลบอลเฮ้าส์ ทั้งส่วนลดพิเศษ สิทธิประโยชน์จากรายการส่งเสริมการขาย หรือจากรายการแบ่งชำระค่าซื้อสินค้า เพื่อให้ลูกค้าที่มีบ้านมีชีวิตที่ดีขึ้นรอบด้าน

สำหรับสิทธิประโยชน์ที่โดดเด่น บัตรเครดิต ttb Global House มอบส่วนลดเพิ่ม 3% เมื่อช้อปผลิตภัณฑ์ใด ๆ ยกเว้นวัสดุก่อสร้าง ส่วนลด 5% เมื่อใช้บริการใดๆ ที่โกลบอลเฮ้าส์ สิทธิประโยชน์จากการผ่อนชำระ 0% นานสูงสุด 10 เดือน ที่โกลบอลเฮ้าส์ และยังทำรายการแบ่งจ่าย 0% นาน 3 เดือน ได้ด้วยตัวเองผ่านแอป ttb touch ได้ทุกรายการใช้จ่ายที่มียอดตั้งแต่ 1,000 บาท ขึ้นไป / เซลล์สลิป กับบริการ ttb so goood สิทธิประโยชน์จากการสะสมคะแนน ทุก 25 บาท รับ 1 คะแนน รวมถึงวัสดุก่อสร้าง และรับสิทธิประโยชน์จากการใช้จ่ายที่ร้านค้าอื่น ๆ อีกมากมาย

ผู้สนใจสามารถสมัครบัตรได้ 3 ช่องทาง คือสมัครที่สยามโกลบอลเฮ้าส์ หรือทีทีบี ทุกสาขา สมัครทางแอป ttb touch และสมัครทางเว็บไซต์ ttbbank.com ผู้สมัครบัตรใหม่ทั้งลูกค้าปัจจุบันและลูกค้าใหม่ รับฟรี กระเป๋าเดินทางมูลค่า 3,990 บาท และคูปองส่วนลด สยามโกลบอลเฮ้าส์ มูลค่า 500 บาท เมื่อมียอดใช้จ่ายผ่านบัตร  5,000 บาทขึ้นไป ภายใน 30 วันหลังบัตรอนุมัติ นอกจากนี้ ยังมีโปรโมชันต้อนรับลูกค้าใหม่ ให้ใช้จ่ายที่โกลบอลเฮ้าส์ได้คุ้มที่สุด คุ้ม 1 ทุกยอดการใช้จ่ายผ่านบัตรเครดิต ttb Global House ที่สยามโกลบอลเฮ้าส์ จนถึง 31 ธันวาคม 2566 นี้ รับคะแนนสะสมเพิ่ม 3 เท่า และคุ้ม 2 รับเครดิตเงินคืนเพิ่ม 5,000 บาท / เดือน เพียงมียอดใช้จ่ายสะสมที่โกลบอลเฮ้าส์ผ่านบัตรเครดิต หรือ บัตรกดเงินสด ttb Global House ครบ 200,000 บาทขึ้นไป / เดือน จำกัดเครดิตเงินคืนสำหรับบัตรเครดิต 5,000 บาท / บัญชีบัตรหลัก / เดือน  สูงสุด 30,000 บาทตลอดรายการ และสำหรับบัตรกดเงินสด 5,000 บาท / เดือน สูงสุด 30,000 บาทตลอดรายการ

X

Right Click

No right click