×

Warning

JUser: :_load: Unable to load user with ID: 802

JUser: :_load: Unable to load user with ID: 807

สสว. ติวเข้มผู้ประกอบการรายย่อย (Micro Enterprises) บุกตลาดต่างประเทศ ผ่าน Born Global Business Model พร้อมมั่นใจภายใน 5 ปี แผนส่งเสริมการใช้ดิจิทัลดันยอดส่งออกผู้เข้าร่วมโครงการได้ไม่น้อยว่าร้อยละ 25

ดร.วิมลกานต์ โกสุมาศ รองผู้อำนวยการสำนักงานส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (สสว.) กล่าวภายหลังเป็นประธานเปิดงาน Born Global Rising Star Demo Day ว่า กิจกรรมในวันนี้ เป็นความร่วมมือระหว่าง สสว. กับ ศูนย์วิจัยธุรกิจและเศรษฐกิจอีสาน มหาวิทยาลัยขอนแก่น ซึ่งเป็นอีกแนวทางในการสรรหาช่องทางที่เหมาะสมในการนำผู้ประกอบการขนาดเล็กของไทย (Micro Enterprises) ออกสู่ตลาดต่างประเทศ ภายใต้ปัจจัยและทรัพยากรที่ผู้ประกอบการแต่ละรายมี โดยจะสร้างความมั่นใจให้กับผู้ประกอบการรายเล็กในการก้าวสู่ตลาดต่างประเทศตั้งแต่ปีแรกที่เริ่มประกอบธุรกิจ ด้วยเครื่องมือและการมีคู่มือ รวมถึงพี่เลี้ยงในการให้คำปรึกษาและค้นหาตลาดที่เหมาะสมสำหรับธุรกิจของตนเองตลอดระยะเวลา 5 วัน ที่เข้าร่วมโครงการ ซึ่งจะมีการติวเข้มผู้ประกอบการอย่างเข้มข้น โดยผู้ที่ได้รับการคัดเลือก จำนวน 20 ราย จะได้รับการฝึกวิธีสร้างธุรกิจที่มีนวัตกรรม เรียนรู้และปฏิบัติในการกำหนดแผนและทำความเข้าใจกลุ่มคนที่จะมาเป็นลูกค้าหรือผู้ใช้สินค้าหรือบริการของตน

ดร.วิมลกานต์ เผยอีกว่า นอกจากนี้ ผู้ประกอบการยังได้ฝึกการมองปัญหาและการแก้ปัญหาได้อย่างตรงจุด และสามารถนำไปใช้ในการหา Customer pain point ซึ่งจะทำให้ออกแบบสร้างสินค้าหรือบริการที่ตรงความต้องการของลูกค้าได้ โดยผู้ประกอบการจะได้ลงมือปฏิบัติและคิดเองทั้งหมด โดยโครงการนี้ยังได้รับเกียรติจาก Mr.Hassan Moosa ผู้ก่อตั้ง UtooCentral จากประเทศอินโดนีเซีย กูรูเรื่องการสร้างแบรนด์ในตลาดโลก มาให้ความรู้ในการทำแบรนด์ให้ปัง ดังไปทั่วโลก และภายหลังเสร็จสิ้นการอบรม ผู้เข้าร่วมโครงการจะได้ปฏิบัติจริงโดยจัดแสดงสินค้าและบริการของตนเอง (Business Show Case) พร้อมประกวดการนำเสนอไอเดียธุรกิจ (Pitching)   โดยไอเดียผู้ประกอบการรายใดน่าสนใจมากที่สุด จะมีรางวัล Born Global Rising Star Award มอบให้

รองผอ.สสว. กล่าวด้วยว่า นอกจาก Born Global Business Model จะส่งเสริมให้ผู้ประกอบการรายย่อย กลุ่ม Micro Enterprises สามารถที่จะเปิดตลาดในต่างประเทศ ได้ตั้งแต่วันแรกที่เป็นผู้ประกอบการแล้ว สสว.ยังส่งเสริมการใช้ดิจิทัลในผู้ประกอบการรายย่อยซึ่งมีจำนวนมากกว่า 80 % ของผู้ประการทั้งหมดโดยถือเป็นสัดส่วนหลักในภาพรวมของวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมและรายย่อยของไทย ทั้งนี้ สสว.มั่นใจว่าหากผู้ประกอบการดำเนินการตามแผนกลยุทธ์และรูปแบบที่เตรียมไว้ จะสามารถเป็นผู้ส่งออกได้ตั้งแต่วันแรกหรือปีแรกที่เริ่มก่อตั้งธุรกิจเลยทีเดียว โดยผู้ประกอบการแบบ Born Global Firm หมายถึง ธุรกิจขนาดกลาง ขนาดย่อมและรายย่อย ที่เข้าสู่ตลาดต่างประเทศภายในระยะเวลา 2 – 5 ปีนับตั้งแต่ก่อตั้งธุรกิจ และในขณะเดียวกันต้องมียอดส่งออกไปยังตลาดต่างประเทศไม่น้อยกว่าร้อยละ 25

“ตลอดระยะเวลาการอบรมแบบเข้มข้นตลอด 5 วัน สสว. เชื่อว่า สิ่งผู้ประกอบการจะได้รับคือ โอกาสในการเสริมสร้างทักษะและการติดอาวุธทางความคิดให้แก่ตนเองในเรื่องการค้าและการต่างประเทศแบบเจาะลึก รวมถึงการสร้างแผนพัฒนาธุรกิจของตนเอง การสร้างกลยุทธ์ต่างๆ รวมถึงการสร้างแบรนด์ตนเองในตลาดต่างประเทศเพื่อการบุกตลาดสากล ให้ประสบผลสำเร็จ ซึ่งเป็นอีกหนึ่งความตั้งใจของ สสว. เพื่อผู้ประกอบการ”  ดร.วิมลกานต์ กล่าวในที่สุด

นโยบายที่ทางสำนักงานส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมหรือ สสว. ได้วางเป้าไว้โดยต้องการพา SMEs ไทยสู่ตลาดโลก  มีการแบ่งกลไกกระบวนการดำเนินงานเป็น 3 ส่วนหลักๆ  คือ Transformation, Internationalization และ Cooperative  Networking ก่อให้เกิดกิจกรรมและโครงการต่างๆ เพื่อส่งเสริมให้ ผู้ประกอบการนำเทคโนโลยีเข้ามาประยุกต์ใช้ให้เกิดประโยชน์ กับธุรกิจของตัวเองมากมาย หนึ่งในนั้นคือ SME ONE ซึ่งเป็น  Platform กลางที่ผู้ใช้สามารถเชื่อมโยงกับองค์กรต่างๆ ที่ทาง สสว. มีความร่วมมือด้วย ทำให้การติดต่อและติดตามข่าวสารต่างๆ ง่ายและสะดวกมากขึ้น สุวรรณชัย โลหะวัฒนกุล ผู้อำนวยกร สำนักงนส่งเสริมวิสหกิจขนดกลงและขนดย่อม ได้ให้ข้อมูลเกี่ยวกับการดำเนินงานของ Platform เหล่านี้ในช่วงปี  พ.ศ. 2561 ที่ผ่านมาว่า

เราเปิดตัว SME ONE ไปเมื่อช่วงต้นเดือนกันยายนปี พ.ศ. 2561 มีภาคส่วนต่างๆ  มาเข้าร่วมกว่า 69 หน่วยงาน เพื่อต้องการมีส่วนร่วมในการขับเคลื่อน SMEs ประเทศไทยให้ก้าวหน้าไปด้วยกัน และยังมีอีกหนึ่ง Platform คือ SME CONNEXT เป็นแอปพลิเคชันที่เปรียบเสมือนหน้าต่างประจำตัวของแต่ละหน่วยงานเพื่อใช้เชื่อมโยงสู่ SME ONEโดยหวังผลเป็น Big Data กลางในอนาคตข้อมูลประเภทต่างๆ ที่ได้จะรวบรวมแล้วส่งให้หน่วยงานที่ทำหน้าที่ด้านนั้นๆ เป็นผู้ดูแลโดยตรง อย่างเช่น ข้อมูลด้านการเงินก็จะถูกส่งให้กับทางสถาบันการเงินเพื่อนำไปใชวิเคราะห์หรือช่วยเหลือต่อไป”

ในปี พ.ศ.2562 ทาง สสว. ก็อยากจะชวนให้ผู้ประกอบการ SMEs ทุกรายมา Born Digital ด้วยกันทั้งประเทศ หมายความว่า ต่อจากนี้ไปการสมัครหรือเข้าร่วมกิจกรรมต่างๆ กับ สสว. จะทำ ผ่านแอปพลิเคชัน SME CONNEXT โดยจะมีองค์ความรู้และ ข่าวสารให้ผู้ประกอบการซึ่งเป็นผู้นำในแต่ละธุรกิจคอยอัปเดต ความรู้อยู่เสมอผ่านระบบการสะสมเหรียญ รวมถึงหาก ผู้ประกอบการมีการเปิดเผยข้อมูลการทำธุรกิจก็จะสามารถ ยกระดับสมาชิกเพื่อสร้างความน่าเชื่อถือให้คู่ค้า โดยข้อมูลเหล่านี้ จะเป็นประโยชน์ในการนำไปเป็นพื้นฐานของการพัฒนา โครงการต่างๆ และยังจะมีการต่อยอดจากระบบเหล่านี้เพื่อให้มี การส่งเสริมผู้ประกอบการแบบ Individual Solution ผ่าน  SME Coach ด้วยการนำเอาองค์ความรู้ชุดใหม่แบบ 4.0 เพื่อให้ ผู้ประกอบการยุคใหม่นั้นมีความพร้อมที่จะก้าวไปสู่โลกอนาคต ไม่ว่าจะเป็นเรื่อง Transformation, Technology, IOT,  Blockchain, Robotics และ Development ต่างๆ มา Plug In  ให้กับ SMEs เขาจะได้มีที่พึ่งจากหน่วยงานยุคใหม่ที่มองเห็น เทรนด์และการเติบโตในอนาคต มีการเรียนรู้ในเรื่องที่ SMEs สนใจ  การประเมินทดสอบเพื่อให้ได้ใบรับรองและนำเอาองค์ความรู้ ที่ได้ไปปฏิบัติจริงด้วยการช่วยเหลือให้คำปรึกษา SMEs อื่นๆ ได้ จริงด้วย ทำให้เกิดการยกระดับของผู้เชี่ยวชาญ โดยเป้าหมาย ของ Platform นี้คือภายใน 3 ปี ต้องการมีผู้เข้าร่วมเพิ่มขึ้น ในระบบจนถึง 2,200 Coaches

การทำงานของ สสว. ในปี พ.ศ. 2562 คือ SMEs Modernization  โดยเน้นให้ผู้นำทุกคนกล้าที่จะก้าวออกมาจากกรอบเดิมๆ เพื่อ ให้เกิดการเติบโตที่จะส่งผลไปสู่รุ่นลูกหลาน สุวรรณชัยตีโจทย์ ในเรื่องการส่งเสริมที่ต้องการปรับเปลี่ยนทัศนคติในการทำงาน ของผู้ประกอบการด้วยกระบวนการภายใต้แนวคิด SMEs SPEED  โดยที่มาคือ

  • มาจาก Smart การมีความรู้ที่สดใหม่และสามารถ คาดการณ์แนวโน้มอนาคตได้
  • มาจาก Proactive การจัดการบริหารกระบวนการผลิต และบริการได้ดี
  • มาจาก Efficiency การเพิ่มประสิทธิภาพผลิตภัณฑ์ และการบริการ
  • มาจาก Exclusive การสร้างความแตกต่างให้กับธุรกิจ เจาะกลุ่ม Niche Market ให้ได้
  • มาจาก Digitalization การใช้เทคโนโลยีเพื่อนำพาธุรกิจไปสู่ กลุ่ม Global Niche

สุวรรณชัย ชี้ว่า ผู้ประกอบการและผู้นำต้องให้ความสำคัญ กับกระบวนการเหล่านี้ เพราะเราต้องเดินหน้าด้วยความเร็ว ที่สอดคล้องกับการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นในปัจจุบัน โดยทาง สสว. ก็จะมีการจัดกิจกรรมส่งเสริม SMEs ภายใต้ Born Scenario ช่วยให้ผู้ประกอบการที่สนใจในการเริ่มทำธุรกิจผ่าน Track ต่างๆ ซึ่งจะเฉพาะทางและเหมาะกับเป้าหมายของเขา โดยจะมีทั้ง  Born Strong คือ เติบโตอย่างแข็งแรงด้วยการนำเอาองค์ความรู้ จากงานวิจัยต่างๆ มาประยุกต์ใช้พัฒนาผลิตภัณฑ์และการ จัดการให้มีความโดดเด่น Born Global คือ สามารถเปิดตลาด ทำการค้ากับต่างประเทศได้ทันทีตั้งแต่วันที่เริ่มต้นทำธุรกิจ โดย เขาเองก็ต้องมีต้นทุนทางการสื่อสารภาษาในกลุ่มเป้าหมาย มาด้วย ก่อนที่จะเข้าสู่เส้นทางในการพบปะหรือทำ Business Matching ต่อมาเป็น Born@50plus เพื่อส่งมอบกระบวนการ เรียนรู้และการตัดสินใจที่เหมาะกับผู้ประกอบการในวัย 50 กว่า หรือคนในวัยเกษียณซึ่งก็จะมีวิธีการที่แตกต่างไปจากคน รุ่นใหม่ๆ และสุดท้ายคือ Born General เหมาะสำหรับ ผู้ที่ต้องการเข้าร่วมโครงการ SMEs แบบทั่วไปไม่เฉพาะกลุ่ม

ทั้งนี้ ทุก Track จะต้อง Born Digital หรือเข้าสู่โลกดิจิทัลและ นำเอาเทคโนโลยีมาปรับใช้ในธุรกิจจนเกิด SMEs Modernization ผ่านกระบวนการแบบ SMEs SPEED ผู้นำหรือคนที่จะพาธุรกิจ ไปสู่จุดที่ประสบความสำเร็จได้ต้องเริ่มต้นด้วยการคิด ต้องมี Systems Thinking เพื่อนำไปสู่การลงมือทำ การวัดผลประเมิน และปรับปรุงสิ่งต่างๆ ให้ดีขึ้น

สุวรรณชัย เผยว่า “จากการสำรวจ ข้อมูลที่ผ่านมาพบว่าคนไทยมีความ ต้องการที่จะเป็นผู้ประกอบการค่อนข้างสูง  แต่ยังไม่ค่อยกล้าคิดที่จะทำเรื่องใหม่ๆ ทำให้ หลายคนไม่กล้าลงมือทำเพราะกลัว อย่างไร ก็ตามช่วงสองสามปีที่ผ่านก็มีสัญญาณที่ เรามองเห็นว่าผู้ประกอบการของไทยเริ่มมี การขยับขยายการเติบโตส่งออกสินค้าไป ต่างประเทศมากขึ้น แสดงให้เห็นว่าเรา เริ่มที่จะเปิดกว้างและก้าวออกจากข้อจำกัด ของเราแล้ว”

สำหรับความท้าทายของการเติบโตในกลุ่ม ธุรกิจ SMEs ก่อนหน้านี้หลายคนอาจจะคิดว่าเป็น ปัญหาเรื่องการเงินที่ทำให้การพัฒนาธุรกิจกลุ่มนี้ เติบโตไม่ได้เท่าที่ควร แต่ทาง สสว. มีการสำรวจ เก็บข้อมูลเชิงลึกระดับโครงการในกลุ่ม SMEs  รายย่อยระดับ Micro จังหวัดละ 6 ราย ทั้งหมด 462 ราย พบว่า 60 เปอร์เซ็นต์ของผู้ประกอบการ อยากได้รับการสนับสนุนจากภาครัฐในเรื่องการ ทำการตลาด รองมาคือการจัดการระบบมาตรฐาน การผลิต การจัดการทรัพยากรมนุษย์ในองค์กร และอันดับสุดท้ายเป็นเรื่องเงินซึ่งมีสัดส่วนเพียง 10 เปอร์เซ็นต์เท่านั้น จะเห็นได้ว่าเราต้องมีการ ปรับเปลี่ยนมุมมองและทัศนคติใหม่ๆ เพื่อ สามารถช่วยเหลือทำให้เกิดการแก้ไขปัญหาและ การเปลี่ยนแปลงที่ตรงจุดมากยิ่งขึ้น ดังนั้น เป้าหมาย สูงสุด สสว. ในปี พ.ศ. 2562 ที่จะเห็นเป็นรูปธรรม คือ การเดินหน้าทำโครงการทางการตลาดและ ช่วยเหลือบริการในเรื่ององค์ความรู้ต่างๆ โดยจะมี การกระจายไปสู่ธุรกิจระดับท้องถิ่นให้มากขึ้นเพื่อ นำมาซึ่งตัวชี้วัดคือ รายได้ที่เพิ่มขึ้นของกลุ่ม SMEs ให้มากขึ้นเป็น 4.5 เท่าของงบประมาณที่ใช้ในการดำเนินงาน

สุวรรณชัยกล่าวถึงจังหวะการก้าวต่อไปของประเทศไทยใน อนาคตว่า เราต้องวิ่งให้เร็วขึ้น เริ่มต้นง่ายๆ จาก ตัวเราเองก่อนเป็นอันดับแรก เราต้องมีความรู้ ความเข้าใจในบทบาทหน้าที่ของตัวเองอย่าง ชัดเจน จากนั้นเรียนรู้ระบบการทำงานและพัฒนา ให้ดีขึ้นด้วยการนำเอาดิจิทัลและเทคโนโลยีเข้ามา ช่วย มีการเชื่อมต่อกันระหว่างระบบความคิดเดิม และระบบความคิดจากคนรุ่นใหม่ ที่มองเห็น อนาคตที่จะก้าวไปด้วยกัน เพิ่มประสิทธิภาพการ ทำงานระหว่างรุ่นให้ดีมากขึ้น สิ่งเหล่านี้จะทำให้ เราขับเคลื่อนไปได้รวดเร็ว ทั้งนี้ ต้องมีการรักษา สมดุลระหว่างกฎระเบียบและความยืดหยุ่นควบคู่ กันไปด้วย ทาง สสว. เองก็จะทำหน้าที่เป็นสะพาน เพื่อเชื่อมต่อสิ่งใหม่ๆ และส่งต่อสิ่งที่ดีให้กับ คนรุ่นใหม่ ผ่านการตีความทุกอย่างในมุมมองที่ แตกต่างจากเดิม อย่างสุภาษิตสมัยก่อนที่ บอกว่าช้าๆ ได้พร้าเล่มงาม ที่ผ่านมาเรามัก ตีความผิด คนเลยเลือกทำงานในนาทีสุดท้ายแล้ว บอกตัวเองว่าไม่เป็นไร ถึงทำงานช้าแต่ได้งานที่ดี  แต่กลายเป็นทำให้เราเดินหน้าช้าและผลงานที่ออกมา ก็ไม่มีคุณภาพเท่าที่ควร ซึ่งในความเป็นจริงแล้ว หากตีความในมุมที่เหมาะสมกว่าน่าจะเป็นการที่เรา ต้องมีความประณีต อดทน ละเอียดรอบคอบ ในการทำงานจึงจะได้งานที่มีคุณภาพ ไม่ใช่การ ผัดวันประกันพรุ่งแล้วมาลุ้นผลสำเร็จเอาใน นาทีสุดท้าย

เพราะฉะนั้น การจะก้าวมาเป็นผู้ประกอบการหรือผู้นำในยุคแบบนี้จึงต้อง กล้าคิดนอกกรอบเดิมๆ กล้าลงมือทำสิ่งใหม่ๆ และเคลื่อนตัวอย่างรวดเร็ว มีประสิทธิภาพจึงจะสามารถประสบความสำเร็จได้


เรื่อง : พิรพลอย พูนขำ
ภาพ : สาธิดา พิชณุษากร

สุวรรณชัย โลหะวัฒนกุล ผู้อำนวยการสำนักงานส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (สสว.) เปิดเผยถึงความสำเร็จโครงการ SME Provincial Champions พร้อมเปิดตัวผู้ประกอบการ 154 รายจากโครงการพัฒนาสู่สุดยอดเอสเอ็มอีจังหวัด (SME Provincial Champions) ที่ผ่านการคัดเลือกจากทั่วประเทศมาออกร้านแสดงผลงานและจำหน่ายสินค้าภายใต้สโลแกน ช้อบ กิน เที่ยว ครบที่เดียว 77 จังหวัด ณ ศูนย์การค้าฟิวเจอร์พาร์ครังสิต ปทุมธานี ระว่างวันที่ 7 - 9 กันยายน โดยในงานมีกิจกรรมหลักที่น่าสนใจประกอบด้วย การออกร้านแสดงสินค้าของผู้ประกอบการ การเสวนาเทคนิคการทำธุรกิจในยุค 4.0 การเจรจาธุรกิจระหว่างผู้ประกอบกับตัวแทนจากห้างสรรพสินค้าและโมเดิiร์นเทรดรายใหญ่

สุวรรณชัย โลหะวัฒนกุล ผู้อำนวยการสำนักงานส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (สสว.)

โอกาสนี้ สสว. ขอเชิญชวนให้นักท่องเที่ยวและผู้สนใจ ได้มา ช้อป กิน เที่ยว ครบที่เดียว 77 จังหวัด ในงาน SME Provincial Champions Fair ระหว่างวันที่ 7-9 กันยายน 2561 ณ ศูนย์การค้าฟิวเจอร์พาร์ครังสิต ปทุมธานี และสามารถติดตามความเคลื่อนไหวและเยี่ยมชม สุดยอดเอสเอ็มอีจังหวัด (SME Provincial Champions) ได้ทาง www.provincialchamp.com      


โครงการ Turnaround ปรับแผนธุรกิจและเพิ่มขีดความสามารถ มี SME เข้าร่วมทั้งสิ้น 13,751 ราย สามารถฟื้นฟูได้แล้ว 4,445 ราย สสว.สร้างระบบติดตามดูแลต่อเนื่องจนแข็งแรงอย่างแท้จริง

นางสาลินี วังตาล ผู้อำนวยการสำนักงานส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (สสว.) เปิดเผยว่า ตามที่คณะรัฐมนตรี (ครม.) ได้มีมติเมื่อวันที่ 27 ตุลาคม 2558 มอบหมายให้ สสว. ดำเนินโครงการปรับแผนธุรกิจและเพิ่มขีดความสามารถเอสเอ็มอี (Turnaround) เพื่อช่วยฟื้นฟูกิจการของ SME ที่มียอดขายตกต่ำเนื่องจากภาวะเศรษฐกิจชะลอตัว หรือจากปัจจัยอื่นๆ พร้อมทั้งได้มอบหมายให้ สสว. ดำเนินโครงการเงินทุนพลิกฟื้นวิสาหกิจขนาดย่อม วงเงิน 1,000 ล้านบาท เพื่อให้กู้ยืมระยะยาวแก่ SME ในโครงการ Turnaround ที่เคยเป็น NPL

แต่ได้ผ่านการปรับโครงสร้างหนี้ แล้ว รายละไม่เกิน 1 ล้านบาท โดยไม่คิดดอกเบี้ย บัดนี้ โครงการ Turnaround ได้ดำเนินการครบถ้วนตามแผนงานที่ กำหนดไว้แล้ว กล่าวคือ มี SME สมัครเข้าร่วมโครงการ 13,751 ราย สูงกว่าเป้าหมายที่กำหนดไว้  10,000 ราย

เมื่อศึกษารายละเอียดจากการดำเนินโครงการ พบว่า ปัญหาหลักๆ SME คือ

  1. การตลาด ขาดการพัฒนาสินค้าหรือสินค้าไม่ ตรงความต้องการของผู้บริโภค
  2. ต้นทุนสูง ไม่ได้ใช้เทคโนโลยีมาช่วยเพิ่ มประสิทธิภาพ เสียเปรียบในการแข่งขัน
  3. สภาพคล่องตึงตัว เงินทุนหมุนเวียนติดขัด หากทิ้งไว้มีโอกาสสูงที่จะต้ องเลิกกิจการ

กิจการที่เข้าร่วมโครงการส่ วนใหญ่เป็นกิจการประเภทค้าปลีก- ค้าส่ง ก่อสร้าง และบริการด้านต่างๆ สสว. ได้มอบหมายให้มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรีช่ วยแก้ไขปัญหาต่างๆ ของ SME ที่สำคัญ ได้แก่ จัดทำแผนปรับปรุงธุรกิจเชิงลึ กจำนวน 4,445 ราย และช่วยเจรจาหนี้ระหว่างผู้ประกอบการกับธนาคาร

ปัจจุบัน SME ในโครงการ Turnaround ได้รับอนุมัติการปรับโครงสร้างหนี้กับธนาคารเจ้าหนี้แล้ว 330 ราย วงเงิน 273 ล้านบาท และอยู่ระหว่างกระบวนการพิ จารณาอีก 1,720 ราย

สำหรับผู้ประกอบการ SME อีก 8,000 กว่ารายที่เหลือ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธั ญบุรี ได้ช่วยวินิจฉัยและให้คำปรึกษา เพื่อปรับปรุงกิจการต่อไป เช่น ให้ความรู้ด้าน E-Commerce การจัดหาพื้นที่ขายสินค้า การทำ packaging รวมทั้งมีการแจกคูปองจากบริษัท ห้องปฏิบัติการกลาง (ประเทศไทย) หรือ เซ็นทรัลแล็บไทย เพื่อให้ผู้ประกอบการได้นำไปใช้ ในการตรวจและรับใบอนุญาตจากสำนั กงานคณะกรรมการอาหารและยา (อย.) เพื่อเป็นการยกระดับสินค้ าและบริการ เป็นต้น

“การดำเนินโครงการ Turnaround สามารถช่วยฟื้นฟู SME ไทยได้ 4,445 ราย เมื่อ SME พอมีกำลังจะทำกิจการต่อไปได้แล้ ว ก็จะส่งเข้าโครงการอื่นๆ โดยเฉพาะการพัฒนาศักยภาพให้ สามารถแข่งขันได้ในโลกยุคปัจจุ บัน”นางสาลินี กล่าว

 

Page 5 of 5
X

Right Click

No right click