×

Warning

JUser: :_load: Unable to load user with ID: 802

JUser: :_load: Unable to load user with ID: 6847

JUser: :_load: Unable to load user with ID: 7637

ศูนย์วิเคราะห์ Customer Insights by TMB Analytics เผยผลการศึกษาพฤติกรรมการซื้อลอตเตอรี่และหวย(ใต้ดิน)คนไทยพบว่า หวยไม่ใช่แค่เรื่องของมวลชน กลุ่มพนักงานประจำและเจ้าของธุรกิจ ที่เป็นแรงขับเคลื่อนของประเทศ กว่า    9 ล้านคน  เสพติดหวย ส่วนใหญ่มีครอบครัวมีภาระ ที่ซื้อลอตเตอรี่เพราะหวังรวยทางลัดและอยากเสี่ยงโชค หวยเป็นปัจจัยพื้นฐานแม้เศรษฐกิจไม่ดีก็ยังซื้อ

 “1 ใน 4 ของคนไทยซื้อลอตเตอรี่และหวย รวมเป็นเงินกว่า 2.5 แสนล้านบาทต่อปี” พูดง่ายๆคือคนไทยราว 20 ล้านคนซื้อลอตเตอรี่และเล่นหวยเทียบเป็นมูลค่าในแต่ละปีเท่ากับ 3 เท่าของมูลค่าซื้อกองทุน LTF และ RMF หรือมองในมุมของเศรษฐกิจเทียบเท่ากับเม็ดเงินลงทุนโครงการรถไฟความเร็วสูงเชื่อม 3 สนามบินเลยทีเดียว 

แล้วทุกวันนี้คนไทยมองการซื้อลอตเตอรี่หรือการเล่นหวยอย่างไร เสียงสะท้อนจากสื่อโซเชียลส่วนใหญ่และผลสำรวจ พบว่าร้อยละ 55 มองหวยเป็นความฝันและความหวังที่ทำให้รวยและมีความเป็นอยู่ที่ดี แต่จาก สถิติชี้ว่าโอกาสที่จะรวยจากการถูกรางวัลนั้นน้อยมากไม่ว่าเป็นลอตเตอรี่หรือหวย โดยคนคาดหวังว่าจะถูกลอตเตอรี่รางวัลที่ 1 มีอยู่ 44% แต่โอกาสถูกจริงเน้นว่าเป็นเพียง 1 ในล้าน ส่วนด้านคนเล่นหวยคาดว่าจะถูก 2-3 ตัวบนล่างมีอยู่ถึง 78% แต่โอกาสถูกจริงคิดเป็น 0.4-2% เท่านั้น

นอกจากนี้ข้อมูลจาก Google Trend ยังชี้ว่าในช่วง 15  ปีที่ผ่านมาคนไทย search คำว่า “เลขเด็ด” ซึ่งเป็นคำที่ฮิตทั่วไทยเพิ่มขึ้นถึงปีละ 18% ขณะที่การ search คำว่า “ฝากเงิน”เพิ่มขึ้นเฉลี่ยเพียงปีละ 9% และกระจุกอยู่แค่หัวเมืองเท่านั้น ซึ่งสอดคล้องกับข่าวที่ได้ยินเสมอว่าถ้ามีเลขเด็ดแพร่สะพัดไปเมื่อไรละก็ ทั่วทั้งประเทศแผงไหนๆ จังหวัดไหนก็ขายหมด และไม่ว่าเศรษฐกิจจะเป็นอย่างไรคนไทยก็ยังคงเสพติดหวยอย่างสม่ำเสมอ บ่งชี้จากในช่วงเศรษฐกิจตกต่ำทั่วโลกในปี 2552 รายจ่ายในการซื้อลอตเตอรี่และหวยของคนไทยอยู่ที่  340 บาทต่อเดือนหรือคิดเป็น 2.1% ต่อรายได้ทั้งหมด เทียบกับในช่วงที่เศรษฐกิจไทยฟื้นตัวในปี 2560 รายจ่ายในด้านนี้อยู่ที่  452 บาทต่อเดือน หรือคิดเป็น 2.1% ต่อรายได้ทั้งหมด ซึ่งตอกย้ำความเชื่อที่ว่าหวยเป็นความหวังที่ทำให้รวยและมีชีวิตที่ดีขึ้น แม้ในสถานการณ์ที่รายได้ตกต่ำควรเก็บเงินเพื่อใช้จ่ายในสิ่งที่จำเป็น แต่ก็ยังต้องการเสี่ยงโชคแทงหวย หรือหวยจะมีบทบาทกลายเป็นสินค้าจำเป็นตามหลักเศรษฐศาตร์เข้าไปทุกที

เมื่อเจาะลึกถึงหน้าตาผู้ซื้อลอตเตอรี่หรือหวยเป็นอย่างไร เราพบว่าความเชื่อที่ว่าคนรายได้น้อยเท่านั้นที่เล่นหวย ส่วนคนรวยเล่นหุ้นนั้นไม่จริง จากสถิติและผลสำรวจพบว่า คนไทยไม่ว่าจะรายได้มากหรือน้อยก็เล่นหวยทั้งนั้น โดยกลุ่มคนที่มีรายได้สูงกว่า 15,000 บาทต่อเดือน มีการซื้อลอตเตอรี่และหวยเฉลี่ยต่อเดือนอยู่ที่ 680 บาท คิดเป็น 1.2% ของรายได้ ซึ่งมากกว่ากลุ่มคนที่มีรายได้น้อยกว่า 15,000 บาทต่อเดือนที่เฉลี่ยอยู่ที่ 350 บาท คิดเป็น 2.2% ของรายได้

และไม่ว่าจะอายุมากหรือน้อย ก็เล่นหวยทั้งนั้น แต่หนักไปที่คนวัยสร้างครอบครัว ส่วนใหญ่เป็นมนุษย์เงินเดือนและเจ้าของกิจการ แถมเริ่มเล่นหวยตั้งแต่อายุยังน้อย จากสถิติและผลสำรวจชี้ว่า กลุ่มคนวัยสร้างครอบครัว (อายุ 35-55 ปี) หรือมีภาระรับผิดชอบเยอะ เป็นกลุ่มที่ซื้อลอตเตอรี่และเล่นหวยหนักที่สุดเฉลี่ยเดือนละ 500 บาท มากกว่าวัยทำงานและวัยเกษียณที่เฉลี่ยต่อเดือนราว 400 บาท โดยส่วนใหญ่เป็นมนุษย์เงินเดือนและเจ้าของกิจการ อย่างไรก็ตาม สถิติและผลสำรวจยังชี้ถึงประเด็นที่น่าตกใจว่า  10% ของจำนวนนักเรียนและนักศึกษาเล่นหวย โดยซื้อหวยต่อเดือนเฉลี่ยประมาณ 187 บาท เรียกว่าเริ่มเล่นหวยกันตั้งแต่ยังไม่มีรายได้ สาเหตุที่ซื้อเพราะมีแรงจูงใจมาจากผู้ปกครองและคนรอบข้าง และสื่อโซเชียล 

ทุกวันนี้มนุษย์เงินเดือนและเจ้าของธุรกิจเสพติดการเล่นหวยอยู่ในระดับใด?  ที่เราเซอร์ไพรส์คือ 50% ของมนุษย์เงินเดือนและเจ้าของธุรกิจ หรือประมาณ 12 ล้านคนเล่นหวย  โดยหากแบ่งออกเป็น 3 กลุ่มตามลักษณะการเล่นหวย เราพบว่า  26%       “เล่นขำๆ” คือ เล่นสนุกไม่จริงจัง มีความสุขจากการได้หวังเงินรางวัล 63% “ชอบหวย” เพราะชอบลุ้นหรือเสี่ยงโชค มีความสุขจากการได้หวังเงินรางวัล และที่น่าสนใจคือ 11% “ติดหวย” ชอบลุ้นหรือเสี่ยงโชค มองว่ามูลค่าของเงินรางวัลสูงยังไงก็คุ้มกับเงินที่ซื้อหวย จึงซื้อแบบไม่ได้คิด  ทั้งนี้เราอาจสรุปได้ว่า มนุษย์เงินเดือนและเจ้าของธุรกิจส่วนใหญ่ หรือราว 9 ล้านคน ชอบลุ้นรางวัลไปจนถึงเสี่ยงโชคเพื่อรวยขึ้น

เมื่อเจาะลึกถึงพฤติกรรมการซื้อหวยของกลุ่มคน “ชอบหวย” พบว่ากว่า 80% ซื้ออย่างน้อยเดือนละครั้ง เฉลี่ยเดือนละ 420 บาท และซื้อเพิ่มขึ้นจากครั้งแรกของการเล่นหวยราว 18%  ยิ่งไปกว่านั้น เราพบว่า กลุ่มคน “ติดหวย” จะซื้อทุกงวด หรือ 24 ครั้งต่อปี  จ่ายค่าหวยมากกว่ากลุ่ม “ชอบหวย”ถึงสองเท่า แถมยังซื้อเพิ่มขึ้นจากครั้งแรกถึง 26% ทั้งนี้หากกลุ่มคนเหล่านี้ซื้อหวยต่อเนื่อง 50 ปี  สิ่งที่พวกเขาเสียไปเทียบเท่าได้กับ รถยนต์ City Car หรือบ้านถึง 1 หลัง เลยทีเดียว สะท้อนให้เห็นว่า หวย คือความฝันที่แลกด้วยเงินล้านของคนไทยจริงๆ

นอกจากนี้เราได้เจาะลึกไปถึงสาเหตุของพฤติกรรม โดยพบว่า ทั้งคน “ชอบหวย” และคน “ติดหวย” มองเงินที่ซื้อหวยเป็นค่าใช้จ่ายที่ต้องมี เพราะชอบเสี่ยงโชค แต่ต่างกันตรงที่ คน “ชอบหวย” มีการวางแผนทางการเงิน  โดยกันเงินเพื่อซื้อหวย ในขณะที่คน “ติดหวย” ซื้อหวยแบบไม่ได้คิด คือ หากได้เงินมาก็ใช้ซื้อหวยทันที และอาจยอมลดเงินซื้อหวยส่วนหนึ่งเท่านั้น และเพื่อทำความเข้าใจมากขึ้น เราพบว่า คน “ติดหวย” จะนำเงิน(ถ้าถูกรางวัล) จ่ายหนี้  ต่างจากคน “ชอบหวย” ที่เก็บไว้ใช้ในยามจำเป็น และให้ครอบครัว จึงเป็นข้อยืนยันว่า หวยคือความหวังที่ช่วยปลดล็อดให้มีความเป็นอยู่ที่ดี

อย่างไรก็ตาม จากผลสำรวจสัดส่วนในการออมเงิน คน “ชอบหวย” ส่วนใหญ่ราว 66% มีเงินออมเฉลี่ยมากกว่า 5,000 บาท ขณะที่เงินออมเฉลี่ยต่อเดือนของคน “ติดหวย” นั้นส่วนใหญ่น้อยกว่า 5,000 บาท

โดยสรุปแล้ว มนุษย์เงินเดือนและเจ้าของธุรกิจ ที่    “ชอบหวย” และ “ติดหวย” หากนำเงินเหล่านี้ไปออมเพิ่มขึ้น หรือลงทุนในทางเลือกอื่น ที่มีผลตอบแทนและความเสี่ยงอยู่ในระดับที่ยอมรับได้ มีการเผยแพร่ข้อมูลข่าวสารอย่างทั่วถึง โปร่งใส รวมถึงการมีผู้เชี่ยวชาญให้คำแนะนำ จะทำให้มีรายรับเพิ่มขึ้น และอาจนำไปใช้จ่ายสิ่งจำเป็น เช่น ประกันสุขภาพ รถยนต์ หรือ บ้าน ได้โดยไม่ต้องหวังลุ้นเสี่ยงโชคทุกวันที่ 1 และ 16 ของแต่ละเดือนอีกต่อไป ¾

“ศูนย์ Customer Insights by TMB Analytics เป็นศูนย์วิเคราะห์มุมมองใหม่ๆ ด้านการพฤติกรรมทางการเงิน เพื่อสร้างการตระหนักรับรู้ ความเข้าใจ เพื่อนำไปสู่การวางแผนการเงินส่วนบุคคลให้เหมาะสมยิ่งขึ้น” นำเสนอผลการศึกษาวิเคราะห์สถานการณ์ทางการเงินของคนไทยตลอดเส้นทางทั้งการออม การใช้จ่าย การลงทุน ตลอดจนการป้องกันความเสี่ยง ซึ่งสามารถสะท้อนอะไรหลายๆ อย่างเกี่ยวกับพฤติกรรมการใช้ชีวิต รวมถึงปัจจัยต่างๆ ที่มีผลต่อพฤติกรรมในด้านต่างๆ

พลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี เป็นประธานมอบรางวัลรัฐวิสาหกิจดีเด่น ประจำปี 2561 ในงาน "รวมพลังรัฐวิสาหกิจพัฒนาเศรษฐกิจไทย ก้าวไกลอย่างยั่งยืน" ซึ่งจัดโดยสำนักงานคณะกรรมการนโยบายรัฐวิสาหกิจ (สคร.) โดย นายผยง ศรีวณิชกรรมการผู้จัดการใหญ่ ธนาคารกรุงไทยรับรางวัลการเปิดเผยข้อมูลและความโปร่งใสดีเด่น ที่โรงแรมเซ็นทาราแกรนด์ แอท เซ็นทรัล เวิลด์

 

 อภินันท์ เกลียวปฏินนท์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร กลุ่มธุรกิจการเงินเกียรตินาคินภัทร KKP เปิดเผยผลการดำเนินงานครึ่งปีแรก 2561 มียอดการเติบโตของสินเชื่อที่ 10.2% ส่งผลให้ภาพรวมผลประกอบการออกมาดีเกินกว่าที่ตั้งเป้าไว้ โดยมีกำไรสุทธิ ไม่รวมส่วนของผู้ถือหุ้นส่วนน้อยเท่ากับ 3,064 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 13.1% จากงวดเดียวกันของปี 2560 ซึ่งเป็นผลมาจากการปรับเปลี่ยนรูปแบบการทำงานของกลุ่มธุรกิจฯ อย่างต่อเนื่อง อาทิ การจัดตั้งสายช่องทางการตลาดและพัฒนาฐานลูกค้า และการยกระดับกระบวนการวิเคราะห์ข้อมูล (Data Analytic) และการบริหารจัดการความเสี่ยง (Risk Management) ซึ่งทำให้ธนาคารวิเคราะห์จำแนกกลุ่มลูกค้า (Segmentation) ได้โดยละเอียด และสามารถลดสินเชื่อกลุ่มที่ไม่มีคุณภาพ และขยายสินเชื่อกลุ่มที่ให้ผลกำไรเหมาะสมและมีศักยภาพที่จะเติบโตอย่างยั่งยืนได้มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น ไม่ว่าจะเป็นสินเชื่อเช่าซื้อรถยนต์ สินเชื่อบุคคล สินเชื่อเพื่อที่อยู่อาศัย หรือสินเชื่อ KK SME นอกจากนั้น ยังได้รับแรงสนับสนุนในด้านต้นทุนการเงินจากผลิตภัณฑ์เงินฝากเพื่อการลงทุน KKPSS (KK Phatra Smart Settlement) ที่ให้ดอกเบี้ยสูงเหมือนเงินฝากประจำสำหรับลูกค้า Wealth Management ของ บล. ภัทรโดยเฉพาะ ซึ่งนับเป็นการระดมเงินฝากจำนวนมากให้กับธนาคารโดยไม่ต้องใช้ต้นทุนในด้านสาขาและบุคลากรเพิ่มเติม ทั้งนี้ หลังเปิดตัวเพียงเมื่อต้นปี 2561 ปัจจุบันมียอดกว่า 2 หมื่นล้านบาท

 ชวลิต จินดาวณิค ประธานสายการเงินและงบประมาณ ให้รายละเอียดผลการดำเนินงานงวดหกเดือน สิ้นสุดวันที่ 30 มิถุนายน 2561 ของธนาคารเกียรตินาคิน และบริษัทย่อยว่า กลุ่มธุรกิจฯ มีกำไรสุทธิ ไม่รวมส่วนของผู้ถือหุ้นส่วนน้อยเท่ากับ 3,064 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 13.1% จากงวดเดียวกันของปี 2560 เป็นกำไรสุทธิของธุรกิจตลาดทุน ซึ่งดำเนินการโดยบริษัท ทุนภัทร จำกัด (มหาชน) (ทุนภัทร) และบริษัทย่อย ได้แก่ บล.ภัทร และ บลจ.ภัทร จำนวน 824 ล้านบาท  มีรายได้ดอกเบี้ยสุทธิ  5,397 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 3.9%จากงวดเดียวกันของปีก่อน  ส่วนรายได้ค่าธรรมเนียมและบริการสุทธิ อยู่ที่ 2,206 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 18.7%  และรายได้อื่น 1,160 ล้านบาท รวมเป็นรายได้จากการดำเนินงานทั้งสิ้น 8,763 ล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 13.0 จากงวดเดียวกันของปี 2560 ครึ่งปีแรกสินเชื่อโดยรวมขยายตัวที่ 10.2% โดยสินเชื่อมีการขยายตัวในทุกประเภท รวมถึงสินเชื่อเช่าซื้อที่ยังคงมีการขยายตัวต่อเนื่องที่ 2.8 % จากสิ้นปี 2560 ในด้านคุณภาพของสินเชื่อ อัตราส่วนสินเชื่อด้อยคุณภาพต่อสินเชื่อรวมยังคงปรับลดลง ณ สิ้นไตรมาส 2/2561 อยู่ที่ 4.5% ลดลงเมื่อเทียบกับ 5.0% ณ สิ้นปี 2560  ธนาคารมีอัตราส่วนเงินกองทุนต่อสินทรัพย์เสี่ยง (BIS Ratio) คำนวณตามเกณฑ์ Basel III ซึ่งรวมกำไรถึงสิ้นปี 2560 อยู่ที่ 16.27% โดยเงินกองทุนชั้นที่ 1 เท่ากับ12.72% แต่หากรวมกำไรถึงสิ้นไตรมาส 2/2561 อัตราส่วนเงินกองทุนต่อสินทรัพย์เสี่ยงจะเท่ากับ 17.35% และเงินกองทุนชั้นที่ 1 เท่ากับ 13.80%

  อภินันท์กล่าวเพิ่มเติมถึงทิศทางธุรกิจในครึ่งปีหลังว่า กลุ่มธุรกิจฯ ยังคงให้ความสำคัญกับการพัฒนา Business Model ใน 3 ธุรกิจหลัก เพื่อกระจายโครงสร้างรายได้ให้เป็นไปอย่างเหมาะสม และมีประสิทธิภาพ ได้แก่ 1. ด้านธุรกิจสินเชื่อยังคงมุ่งเติบโตอย่างต่อเนื่อง โดยเน้นในผลิตภัณฑ์และกลุ่มลูกค้าที่เลือกแล้วว่ามีอัตราผลตอบแทนเทียบกับความเสี่ยง (risk-adjusted return) ที่เหมาะสม หรือสามารถนำไปสู่รายได้ด้านอื่นแก่กลุ่มธุรกิจฯ  อาทิ สินเชื่อเช่าซื้อรถยนต์ สินเชื่อเพื่อที่อยู่อาศัย สินเชื่อลอมบาร์ด สินเชื่อธุรกิจอสังหาริมทรัพย์สำหรับลูกค้าขนาดใหญ่หรือบริษัทจดทะเบียน 2. ด้านธุรกิจ Wealth Management จะมุ่งเติบโตทั้งในด้านสินทรัพย์ของลูกค้า และสินทรัพย์ภายใต้คำแนะนำ โดยนำเสนอผลิตภัณฑ์และบริการใหม่ๆ ซึ่งจะทำให้สามารถเพิ่มสัดส่วนการให้บริการของกลุ่มธุรกิจฯ ในกระเป๋าของลูกค้า (share of wallet) โดยขยายผลผลิตภัณฑ์เพื่อการลงทุนอย่าง บัญชี KKPSS, หุ้นกู้ที่มีอนุพันธ์แฝง (Structured Note), Shark-Fin Note, Daily Range Accrual Note (DRAN), Fund Linked Note ซึ่งจะเป็นทั้งฐานเงินฝากและค่าธรรมเนียมของธนาคารต่อไป ยิ่งกว่านั้น เนื่องจากมีลูกค้า Wealth Management จำนวนมากขึ้นเรื่อยๆ สนใจโอกาสการลงทุนในต่างประเทศ กลุ่มธุรกิจฯ จึงจะเปิดตัวบริการการลงทุนในต่างประเทศ (Offshore Investment) โดยร่วมกับ Investment Bank และ Asset Management ของต่างประเทศ ประมาณ 10 แห่ง ที่ผ่านการกลั่นกรองโดยทีมวิจัยลูกค้าบุคคล (CIO Office) และนำเสนอต่อลูกค้าแต่ละรายโดยทีมที่ปรึกษาทางการเงิน (Financial Consultant) และทีมที่ปรึกษาวางแผนการลงทุน (Investment Advisor) พร้อมกันนั้น ยังยกระดับสาขาธนาคารให้เป็น Financial Hub หรือศูนย์บริการทางการเงินครบวงจรที่สามารถให้บริการในด้านการลงทุนให้กับลูกค้า โดยปัจจุบันมี 3 สาขา  คือ เซ็นทรัลเวิลด์ ทองหล่อ และเยาวราช  3. ด้านธุรกิจสินเชื่อบรรษัท ธุรกิจตลาดการเงิน และธุรกิจวานิชธนกิจ ของกลุ่มธุรกิจฯ ยังเติบโตก้าวกระโดดจากการผสานความร่วมมือและบูรณาการอย่างเป็นผลระหว่างบริษัทในกลุ่มธุรกิจฯ ในช่วงที่ผ่านมา สะท้อนจากสินเชื่อที่เติบโตกว่า 60% และการเพิ่มขึ้นของสัดส่วนรายได้ที่เกิดจากการทำงานร่วมกัน

ตลาดทุนและตลาดเงินของไทยในช่วงครึ่งหลังของปีต้องเผชิญความผันผวนที่เพิ่มขึ้นจากเงินทุนที่เคลื่อนย้ายอย่างรวดเร็ว โดยเฉพาะอย่างยิ่ง การไหลออกของเงินทุนจากต่างประเทศ จากความกังวลเกี่ยวกับสงครามการค้า และสภาพคล่องที่ลดลงจากการใช้นโยบายการเงินที่ตึงตัวขึ้นของสหรัฐฯ ที่อาจส่งผลให้ต้นทุนการกู้ยืมและความผันผวนของค่าเงินบาทเพิ่มสูงขึ้น นักลงทุนและผู้ประกอบการจึงควรเตรียมรับมือ

หลังจากวิกฤติการเงินปี 2008 ธนาคารกลางใหญ่ๆ ทั่วโลกเลือกใช้นโยบายการเงินที่ผ่อนคลายโดยการลดดอกเบี้ยนโยบายจนอยู่ในระดับต่ำสุดเป็นประวัติการณ์ และอัดฉีดสภาพคล่องผ่านโปรแกรม QE ทำให้เกิดสภาวะสภาพคล่องล้นตลาด นักลงทุนจึงเลือกที่จะเอาเงินไปลงในสินทรัพย์ที่ความเสี่ยงสูงขึ้นเพื่อให้ได้ผลตอบแทนที่สูงขึ้น เกิดเป็นพฤติกรรม Search for Yields ทำให้มีเงินทุนจำนวนมากไหลเข้ามาในตลาดเกิดใหม่ ทั้งในพันธบัตรรัฐบาล ตราสารหนี้ที่ออกโดยภาคเอกชน และตลาดหุ้น ทำให้ spread ของหุ้นกู้เอกชนลดลง ในขณะที่ตลาดหุ้นปรับตัวสูงขึ้น โดย spread ของหุ้นกู้ BBB rating ของไทยลดต่ำลง จากที่ระดับกว่า 300bps ก่อนที่จะมีมาตรการ QE ในปี 2009 ลงมาอยู่ที่ระดับ 170bps หลังเฟดยกเลิกมาตรการ QE ในปี 2014 ในขณะที่ SET Index ก็ปรับเพิ่มขึ้นจาก 500 จุด ไปเป็น 1600 จุด

ดังนั้น ตอนนี้ธนาคารกลางที่เคยเป็นคนเพิ่มสภาพคล่องให้ระบบ กลายเป็นคนที่ดูดสภาพคล่องของระบบออกไป โดยการยกเลิกการทำ QE และเริ่มลดขนาดงบดุล ประกอบกับการขึ้นดอกเบี้ยของเฟดที่ทำให้สินทรัพย์ของสหรัฐฯน่าดึงดูดมากขึ้น ทำให้ที่ผ่านมามีเงินทุนไหลออกจากตลาดเกิดใหม่ค่อนข้างรุนแรง โดยเฉพาะประเทศที่พื้นฐานทางเศรษฐกิจด้านต่างประเทศยังไม่แข็งแกร่ง เช่น เงินสำรองระหว่างประเทศต่ำ ในขณะที่ขาดดุลบัญชีเดินสะพัด อย่างเช่น อาร์เจนตินา บราซิล ตุรกี และอินโดนีเซีย ทำให้ค่าเงินอ่อนลงไปตั้งแต่6% ถึง กว่า 30% จากเงินทุนที่ไหลออกรุนแรง จนทำให้ประเทศเหล่านี้ ต้องปรับขึ้นดอกเบี้ยนโยบายเพื่อลดความกดดันจากค่าเงินที่อ่อนค่าจากเงินทุนไหลออกและเงินเฟ้อที่ทยอยปรับขึ้น

นอกจากจะได้รับผลกระทบจากนโยบายการเงินที่ตึงตัวขึ้นของเฟดแล้ว ตลาดเกิดใหม่เหล่านี้ก็ยังถูกกระทบจากความกังวลเกี่ยวกับสงครามการค้าระหว่างสหรัฐฯและจีน แม้ผลกระทบต่อภาคเศรษฐกิจจริงยังไม่ชัดเจนก็ตาม โดยหลังจาก Trump เริ่มประกาศสงครามการค้ากับจีนตั้งแต่วันที่ 23 มีนาคม 2561 มีเงินไหลออกจากตลาดหุ้นเอเชีย (ไม่รวมญี่ปุ่น) ค่อนข้างรุนแรง จนค่าเงินในตลาดเอเชียอ่อนค่าลงโดยเฉลี่ยกว่า 5%

สำหรับประเทศไทย แม้จะมีเสถียรภาพด้านต่างประเทศที่ดี เงินสำรองระหว่างประเทศอยู่ในระดับสูง และเกินดุลบัญชีเดินสะพัด ประกอบกับการขยายตัวทางเศรษฐกิจอยู่ในเกณฑ์ดี ทำให้เงินทุนยังไม่ไหลออกรุนแรงเมื่อเทียบกับตลาดเกิดใหม่อื่นๆ แต่หากนับจากช่วงต้นปีนี้ ตลาดทุนและตลาดเงินไทยก็มีเงินไหลออกสุทธิรวมกันแล้วกว่า 8 หมื่นล้านบาท เทียบกับช่วงเวลาเดียวกันของปี 2016 และ ปี 2017 ที่มีเงินทุนต่างชาติไหลเข้าสุทธิกว่า 2.8 แสนล้านบาทโดยเฉลี่ยต่อปี  ที่ประเทศไทยมีเงินทุนต่างชาติไหลเข้าสุทธิมาโดยตลอด ทำให้ค่าเงินบาทผันผวนมาก โดยตั้งแต่ช่วงต้นปีจนถึงตอนนี้ เคลื่อนไหวอยู่ในกรอบ 31.10 ถึง 33.50 บาทต่อดอลลาร์สหรัฐ และอ่อนค่าจากต้นปีแล้วกว่า 2.2%

ความผันผวนในตลาดทุนและตลาดเงินจึงเป็นสิ่งที่หลีกเลี่ยงไม่ได้  โดยเฉพาะอย่างยิ่งหากเฟดขึ้นดอกเบี้ยได้เร็วกว่าที่ตลาดมอง จากตลาดแรงงานที่ร้อนแรงขึ้น เมื่อความต้องการแรงงาน 6.7 ล้านตำแหน่งสูงกว่าจำนวนคนว่างงาน 6.1 ล้านคน กดดันให้เงินเฟ้อสูงขึ้นเร็วกว่าที่ตลาดคาด ซึ่งอาจทำให้เกิด market correction รุนแรง เงินทุนไหลออก มูลค่าสินทรัพย์ลดลง ซึ่งจะส่งผลให้ต้นทุนการเงินเพิ่มสูงขึ้นอย่างรวดเร็ว และอัตราแลกเปลี่ยนผันผวนมาก ดังนั้นทั้งนักลงทุนและผู้ประกอบการ จึงควรเตรียมป้องกันความเสี่ยงในอนาคต ไว้ด้วย

พลเอก อนันตพร กาญจนรัตน์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ เป็นประธานเปิดตัว การจ่ายเงินอุดหนุนให้กับผู้ประสบปัญหาทางสังคม ผ่านระบบอิเล็กทรอนิกส์ Krungthai Corporate Online โดยมี สุทธิรัตน์ รัตนโชติ อธิบดีกรมบัญชีกลาง นภา  เศรษฐกร อธิบดีกรมพัฒนาสังคมและสวัสดิการ และ ผยง ศรีวณิช กรรมการผู้จัดการใหญ่ ธนาคารกรุงไทย ร่วมในพิธีเปิด ณ กรมพัฒนาสังคมและสวัสดิการ

ผยง กล่าวว่า ความร่วมมือกับกรมพัฒนาสังคมและสวัสดิการ กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ และกรมบัญชีกลางในครั้งนี้ นอกจากสนองนโยบายภาครัฐในเรื่องธรรมาภิบาลแล้ว ยังช่วยเพิ่มความรวดเร็ว มั่นใจ โปร่งใส และสะดวกสบายให้กับทุกภาคส่วนที่เกี่ยวข้อง โดยระบบ Krungthai Corporate Online จะดำเนินการโอนเงินโดยอัตโนมัติ ซึ่งผู้ประสบภัยทางสังคมที่มีบัญชีธนาคารกรุงไทยจะได้รับเงินในทันที ส่วนผู้ที่มีบัญชีของธนาคารอื่นจะได้รับเงินภายใน 2 วัน

ทั้งนี้ ระบบดังกล่าว ผู้ทำรายการสามารถดูสถานะการทำรายการต่างๆ รวมถึงมีหลักฐานแสดงข้อมูลการทำรายการทั้งแบบสรุป และแบบมีรายละเอียดอย่างครบถ้วน  รวมทั้งมีระบบตรวจสอบข้อมูลของผู้รับเงินก่อนจะดำเนินการโอนเงินด้วย

อย่างไรก็ตาม เพื่อแบ่งเบาภาระค่าใช้จ่าย ธนาคารกรุงไทยได้ยกเว้นค่าธรรมเนียมการเปิดบัญชีสำหรับผู้รับเงินอุดหนุนที่ไม่มีบัญชีธนาคาร ค่ารักษาบัญชีสำหรับผู้มีบัญชีธนาคารกรุงไทย ซึ่งเมื่อโอนเงินเข้าบัญชีแล้ว ผู้รับเงินจะได้รับ SMS แจ้งเตือนเงินเข้าบัญชี ตามหมายเลขโทรศัพท์ที่แจ้งไว้ โดยไม่ต้องเสียค่าธรรมเนียมแต่อย่างใด นอกจากนี้ เพื่ออำนวยความสะดวกให้กับกลุ่มผู้รับเงินอุดหนุนที่ไม่มีบัญชีธนาคารหรือไม่สะดวกในการไปเปิดบัญชี ในอนาคต จะสามารถรับเงินผ่านบัตรสวัสดิการแห่งรัฐ หรือใช้บัตร E-​​​​​Money ได้อีกด้วย

Page 3 of 7
X

Right Click

No right click