November 02, 2024

ลอรีอัล กรุ๊ป ได้ดำเนินโครงการให้ความช่วยเหลือ เพื่อสนับสนุนการต่อสู้กับเชื้อไวรัสโคโรนาในหลายภาคส่วน

สถานการณ์ ไวรัสโควิด-19 ที่แพร่ระบาดหนักในหลายประเทศทั่วโลกรวมถึงในประเทศไทยด้วยนั้น ส่งผลให้ปัจจุบันในประเทศไทยมีอัตราการเพิ่มจำนวนของผู้ป่วยสะสม และผู้ที่ต้องเฝ้าระวังเพิ่มมากขึ้นทุกวัน

ดร.สุทธิพล ทวีชัยการ เลขาธิการคณะกรรมการกำกับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย (เลขาธิการ คปภ.) เปิดเผยว่า ตามที่มีสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโควิด-19 ไปทั่วทุกภูมิภาค

บริษัท โกลบิช อคาเดเมีย (ไทยแลนด์) จำกัด สตาร์ทอัพ EdTech ผู้พัฒนาแพลตฟอร์มการเรียน Live English Classroom ที่ใหญ่ที่สุดในประเทศไทย เผยวิกฤตไวรัส ‘โควิด-19’ ระบาด ส่งผลกระทบนักเรียน-นักศึกษาทั่วโลก รวมถึงประเทศไทยประกาศมาตรการให้ รร.รัฐและเอกชนหยุดเรียนจนกว่าจะมีการเปลี่ยนแปลง ด้านสถาบันสอนพิเศษ – กวดวิชา งดการเรียการสอนด้วยเช่นกัน ส่งผลเด็กและเยาวชนขาดโอกาสการพัฒนาทักษะความรู้ Globish ผุดไอเดียพลิกวิกฤตโควิด เปิดโครงการ “Summer Class by Globish Kids” ภายใต้คอนเซ็ปต์ Summer ซัมเมอร์นี้ เด็กไทยต้องไม่หยุดพัฒนาภาษาอังกฤษ ให้เด็กไทยชั้นประถม- ม.ต้น เรียนฟรีทั้งประเทศ ชูจุดเด่น Live Interaction ให้ประสิทธิภาพในการสอนสูงกว่า E-Learning ถึง 3 เท่า รองรับผู้เข้าเรียนกว่า 100,000 คน ใน 100 คลาสรูม จากครูมากประสบการณ์จากทั่วโลก

นายธกานต์ อานันโทไทย ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร และผู้ร่วมก่อตั้ง บริษัท โกลบิช อคาเดเมีย (ไทยแลนด์) จำกัด เผยว่า  ท่ามกลางการแพร่ระบาดอย่างต่อเนื่องของไวรัสโคโรนาสายพันธุ์ใหม่ ‘โควิด-19’ กระทบในวงกว้างต่อระบบเศรษฐกิจและสังคมทั่วโลก ซึ่งล่าสุด “UNESCO” ได้คาดการณ์ว่า ขณะนี้มีนักเรียน-นักศึกษากว่า 363 ล้านคนทั่วโลก ได้รับผลกระทบจากวิกฤตไวรัส ‘โควิด-19’ ระบาด และประมาณการณ์ว่ามีสถาบันการศึกษาใน 15 ประเทศ ทั้งในภูมิภาคเอเชีย ตะวันออกกลาง ยุโรป และอเมริกาเหนือ ต้องปิดการเรียนการสอนในโรงเรียนและมหาวิทยาลัย ซึ่งในประเทศไทยกระทรวงศึกษาธิการ (ศธ.) ประกาศให้สถานศึกษาทุกแห่งของรัฐและเอกชนทั้งในระบบและนอกระบบ ซึ่งอยู่ในสังกัดและในกำกับของ ศธ. ปิดเรียนด้วยเหตุพิเศษตั้งแต่วันที่ 18 มีนาคม 2563 เป็นต้นไป จนกว่าจะมีประกาศเปลี่ยนแปลง ประกอบกับสถาบันสอนพิเศษและสถาบันกวดวิชาได้งดการเรียนการสอน เพื่อให้เด็กและเยาวชนปลอดภัยจากการโรคระบาด จึงส่งผลให้ขาดช่องทางในการศึกษาหาความรู้เพิ่มเติมเพื่อพัฒนาทักษะที่ต่อเนื่อง ประกอบกับผู้ปกครองมีความกังวลในการหากิจกรรมที่ส่งเสริมความรู้ให้แก่เด็กและเยาวชนเป็นอย่างมาก ล่าสุด Globish ได้จัดโครงการ Summer Class by Globish Kids ภายใต้คอนเซ็ปต์ “ซัมเมอร์นี้ เด็กไทยต้องไม่หยุดพัฒนาภาษาอังกฤษ” โดยการเปิดคลาสรูเรียนภาษาอังกฤษออนไลน์ ฟรีไม่มีค่าใช้จ่าย ทั่วประเทศ

ทั้งนี้ โครงการดังกล่าวเป็นหลักสูตรที่มุ่งเสริมสร้างทักษะทางภาษาอังกฤษให้กับเด็กและเยาวชนไทยได้ใช้เวลาว่างให้เกิดประโยชน์สูงสุด ในบ้านที่ปลอดภัย ไร้ความเสี่ยง จากสถานการณ์การระบาดของโรคระบาด ‘โควิด-19’ โดยเป็นหลักสูตรการเรียนภาษาอังกฤษผ่านระบบ Live Interaction ของ Globish Kids ซึ่งมีจุดเด่นด้านการสร้างประสบการณ์การเรียนออนไลน์ในรูปแบบ Live Interaction ซึ่งจากสถิติเป็นการเรียนที่ได้ประสิทธิภาพมากกว่าการเรียนแบบ E-Learning ถึง 3 เท่า

นางสาวชื่นชีวัน วงษ์เสรี เจ้าหน้าที่บริหารฝ่ายธุรกิจ และผู้ร่วมก่อตั้ง บริษัท โกลบิช อคาเดเมีย (ไทยแลนด์) จำกัด เผยว่า โครงการ Summer Class by Globish Kids ประกอบด้วยคลาสรูมที่พร้อมรองรับผู้เข้าเรียนกว่า 100,000 คน ได้ฝึกใช้ภาษาอังกฤษในเชิงพัฒนา จำนวนมากกว่า 100 คลาสภายในเดือนเมษายนนี้ โดย 1 คลาสรูมสามารถรองรับนักเรียนได้ 1,000 คน  โดยจะมี 20 คลาสรูมภายในเดือนมีนาคม และจะขยายอีก 80 คลาสรูมในเดือนเมษายน หลักสูตรถูกออกแบบการเรียนมาให้เหมาะกับระดับภาษาของเด็กไทยส่วนมาก จึงไม่ได้เจาะจงระดับภาษาของผู้เรียน เป็นหลักสูตรสำหรับผู้เรียนระดับชั้นประถมศึกษาถึงมัธยมศึกษาตอนต้น มุ่งเสริมสร้างทักษะด้านภาษาอังกฤษที่รวบรวมคำศัพท์ และการใช้ภาษาอังกฤษในชีวิตประจำวัน ประกอบด้วย ทักษะการพูด สนทนาตอบโต้ และทักษะการฟังให้เข้าใจ ในหัวข้อเรื่องราวต่าง ๆ ผ่านเกมที่สนุกเพื่อไม่ให้น่าเบื่อ พัฒนารูปแบบการเรียนการสอนสำหรับเด็กโดยเฉพาะ ด้วยโค้ช Globish Kids ผู้มีประสบการณ์สูงกว่า 70 ราย แบ่งเป็นครูชาวไทย 30 คน และครูชาวต่างชาติ 40 คน ซึ่งชาวต่างชาติเป็นผู้เชี่ยวชาญด้านภาษาพื้นฐาน (Native Speaker) และ EU เป็นหลัก ด้วยรูปแบบการเรียนการสอนแบบสดผ่านระบบ Live Interaction ที่ผู้เรียนสามารถโต้ตอบกับครูผู้สอนได้แบบเรียลไทม์ผ่าน Comment, Poll และ Q&A อีกทั้งครูผู้สอนยังสามารถเลือกนักเรียนในห้องเรียนตอบคำถาม หรือถามคำถามผ่านแพลตฟอร์มทั้งในรูปแบบ Live Video และแบบเสียงได้อีกด้วย ซึ่งทำให้นักเรียนสามารถตอบโต้กับครูผู้สอนได้อย่างมีประสิทธิภาพกว่าการเรียน E-Learn อย่างมาก

“โครงการ Summer Class by Globish Kids เป็นห้องเรียนที่เน้นการสอนแบบสดผ่านระบบ Live Interaction ออนไลน์ ด้วยครูผู้สอน 1 คน กับผู้เรียนหลายคน (มากสุด 1,000 คนต่อ 1 คลาสรูม) ซึ่งจะแตกต่างจากการเรียนกับ Globish kids ในรูปแบบ 1 on 1 Class ที่เป็นครูผู้สอน 1 คน ต่อผู้เรียน 1 คน ซึ่งเป็นรูปแบบที่ผู้เรียนทุกคนต้องวัดระดับภาษาเพื่อค้นหาคอร์สเรียนที่เหมาะสมกับตัวนักเรียนมากที่สุด และในระหว่างเรียนสามารถโต้ตอบกับโค้ชได้ทันทีผ่าน VDO Call ออนไลน์ รองรับทุกเครื่องมือสื่อสารทั้งคอมพิวเตอร์ แท็บเล็ต และสมาร์ทโฟน” นางสาวชื่นชีวันกล่าว

สำหรับผู้ที่สนใจสามารถสมัครและเข้าเรียนออนไลน์กับโครงการ Summer Class by Globish Kids ได้แล้วตั้งแต่วันนี้ ถึง 30 เมษายน 2563 โดยลงทะเบียน และสร้างบัญชีผู้ใช้งานผ่านเว็บไซต์ Globish kids หรือ http://bit.ly/3d8oIcj จากนั้นสามารถจองคลาสเรียนที่ต้องการ และเข้าเรียนตามวัน เวลาที่จองไว้ได้เลย พร้อมสามารถติดตามอัพเดทข่าวสาร และกิจกรรมเพิ่มเติมได้จากทางโซเชียลมีเดีย เฟสบุ๊กแฟนเพจ @GlobishKids

สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) กระทรวงการอุดมศึกษาวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) ขอเชิญชวนเกษตรกร ประชาชน และผู้สนใจ

ท่ามกลางสถานการณ์การแพร่ระบาดของ COVID-19 ที่ทวีความรุนแรงมากขึ้นทั่วโลกและส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจในวงกว้าง

ธนาคารเกียรตินาคิน จำกัด (มหาชน) บริษัทในกลุ่มธุรกิจการเงินเกียรตินาคินภัทร โดยนายสำมิตร สกุลวิระ ประธานสายสินเชื่อธุรกิจ ร่วมในพิธีลงนามบันทึกข้อตกลงโครงการสินเชื่อดอกเบี้ยต่ำ (ซอฟท์โลน) กับธนาคารออมสิน ตลอดจนสถาบันการเงินและสถาบันการเงินเฉพาะกิจรวม 20 แห่ง ผ่าน VDO Conference โดยการลงนามในครั้งนี้เป็นการผนึกกำลังระหว่างสถาบันการเงินเพื่อช่วยเหลือผู้ประกอบการที่ได้รับผลกระทบจากการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัส COVID-19 ให้สามารถเข้าถึงแหล่งเงินทุนผ่านธนาคารพาณิชย์ และธนาคารเฉพาะกิจของรัฐ โดยมีธนาคารออมสินเป็นผู้สนับสนุนเงินทุนดอกเบี้ยต่ำให้แก่สถาบันการเงินในการปล่อยสินเชื่อแก่ผู้ประกอบการ ซึ่งเงื่อนไขของสินเชื่อซอฟต์โลนนี้ กำหนดวงเงินกู้รายละไม่เกิน 20 ล้านบาท คิดอัตราดอกเบี้ย 2.00% ต่อปี เป็นระยะเวลา 2 ปี โดยผู้ประกอบการสามารถยื่นขอสินเชื่อกับธนาคารได้ถึงวันที่ 30 ธ.ค.63 ทั้งนี้ พิธีลงนามฯ จัดขึ้นเมื่อเร็วๆ นี้

กล่าวได้ว่าตลอดปี 2562 เป็น ความเคลื่อนไหวใหญ่ หรือ Big Moves ก็ว่าได้ สำหรับคณะการบริหารและจัดการ สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง (สจล.) หรือ FAM (Faculty Administration and Management) ภายใต้การนำการขับเคลื่อนของคณบดี ผศ.ดร.สุดาพร สาวม่วง ที่มีความมุ่งหมายในการที่จะนำพาคณะฯ และทีมงาน ก้าวให้ทันโลกที่หมุนไปอย่างรวดเร็ว การเปลี่ยนใหญ่ไม่เพียงเน้นย้ำความสำคัญในส่วนของนักศึกษาหรืองานวิชาการเพียงเท่านั้น แต่มีการขยับทั้งโครงการด้านการศึกษาและงานส่งเสริมพัฒนาความรู้ให้กับทั้งภาคสังคม ธุรกิจ อุตสาหกรรม ไปจนถึงศิษย์เก่าและประชาชนทั่วไปอย่างครบถ้วนทุกมิติ ผศ.ดร. สุดาพร ได้เปิดเผย กับนิตยสาร MBAถึงความเคลื่อนไหวที่ผ่านมาและที่กำลังจะเป็นการขยับใหญ่ในปี 2563

พร้อมรับผู้เรียน ทั้งนอก-ใน

เมื่อเริ่มเข้าสู่ปี 2563 ทาง FAM มีความคืบหน้าในด้านการจัดการด้านการศึกษาหลายๆ เรื่อง ในส่วนของภาคผู้เรียนทาง FAM แบ่งเป้าหมายการทำงานเป็น 2 ส่วน ในส่วนแรกคือภาคหลักสูตรนานาชาติ ทาง FAM ได้เปิดความร่วมมือกับมหาวิทยาลัยในต่างประเทศคือ Shandong Technology and Business University ประเทศจีนเพื่อที่จะจัดหลักสูตรอินเตอร์สำหรับรองรับนักศึกษาจากประเทศจีน โดยแผนงานยังครอบคลุมไปยังกลุ่มนักศึกษาจากแถบยุโรปและประเทศในอาเซียน เป็นลักษณะที่นักศึกษาเข้ามาเรียนกับทาง FAM โดยตรงแล้วก็ Transfer Credit Bank ซึ่งส่วนงานของหลักสูตรนานาชาติ นอกเหนือไปจากเรื่องการจัดวางหลักสูตร ทางคณะต้องเตรียมความพร้อมด้านวิชาการเพื่อพร้อมรับผู้เรียนทั้งในเรื่องการปรับพื้นฐานนักศึกษาก่อนเข้าสู่ระบบการเรียนของเรา เรื่องเหล่านี้มีทั้งเรื่องภาษา เรื่องวัฒนธรรมความเป็นอยู่ซึ่งนับเป็นพร้อมที่สำคัญเพราะทาง สจล.มีสถานที่หอพักรองรับอย่างครบครัน โดยเรื่องนี้ก็เป็นความคืบหน้าของการบริหารจัดการด้านการศึกษาของคณะฯ ในปีที่ผ่านมาและต่อเนื่องมาถึงปี 2563 นี้

สำหรับส่วนผู้เรียนในประเทศนั้นทาง FAM ได้เริ่มมีการทำ MOU กับโรงเรียนมัธยมทั่วประเทศ 130 แห่ง บนการสื่อความกับคณาจารย์และนักเรียนเพื่อให้มีความเชื่อมั่นว่า FAM สามารถบ่มเพาะพัฒนาการและศักยภาพของเด็กให้เข้มแข็ง เปิดโอกาสให้เด็กที่มีความสนใจทางด้านบริหารจัดการเข้ามาเป็นส่วนหนึ่งของ FAM ร่วมทำกิจกรรมต่างๆ ที่เขาจะได้เรียนรู้จากการลงมือจริง และยังมีความพยายามผลักดัน Output ในส่วนของนักศึกษา ไม่ว่าจะเป็นเชิง Qualitative ที่มีเข้ามาเท่าไหร่ก็จบการศึกษาออกไปเท่านั้น และเมื่อจบออกมาก็มีงานทำ มีความสามารถ เป็นที่ยอมรับในกิจการและบริษัทชั้นนำ ส่วนในเชิง Quantitative นั้นเรามีการวัดผลจากองค์กรผู้จ้างงานหลายแห่งที่ค่อนข้างพอใจกับบัณฑิตของ FAM

บ่มเพาะผู้ประกอบการ

สำหรับนักศึกษาที่มีอัตลักษณ์ของการเป็น Entrepreneur ทาง FAN ก็มีกิจกรรมส่งเสริมอย่างเข้มข้น พบว่านักศึกษามี Outcome เป็นการจดบริษัท Startup กว่า 3 บริษัทในปีที่ผ่านมา โดยนักศึกษาได้มีโอกาสเรียนรู้กระบวนการต่างๆ ที่เกิดขึ้น ซึ่งตอนนี้ทาง FAM กำลังเตรียมจัดทำพื้นที่ Co-working Space ในคณะเพื่ออำนวยให้นักศึกษาสามารถทำProject ร่วมกันได้อย่างเต็มที่ และต่อไปจะหมายถึงความพยายามที่จะก่อตั้ง ศูนย์บ่มเพาะผู้ประกอบการ เพื่อสร้างแรงสนับสนุนนักศึกษาที่ต้องการ Startup ธุรกิจทั้งในด้านเงินทุนเริ่มต้นและโค้ชซึ่งเป็นอาจารย์ในคณะที่จะคอยให้คำปรึกษาและแนะนำ โดยเรื่องนี้ยังคงอยู่ในกระบวนการทำงานต่อต่อเนื่อง

ความเคลื่อนไหวภายในของ FAM

นอกเหนือไปจากเรื่องแนวทางการพัฒนาผู้เรียน ในส่วนของการบริหารภายใน คณบดีหญิงของ FAM ยังได้เผยถึงการปรับเปลี่ยนโครงสร้างภายในที่เกิดขึ้นระหว่างช่วงที่เข้ามาบริหารคณะฯ ว่า การบริหารหลักสูตร

“ในช่วง 4 ปีของวาระบริหารของอาจารย์เรามีแผนงานที่จะปรับโครงสร้างบุคลากรภายใน เพื่อให้องค์กรก้าวไปได้รวดเร็วมากขึ้น โดยเราจะลดเลิกการมีภาควิชา แต่จะเน้นไปที่ประธานหลักสูตรมากกว่า เพื่อให้เขาสามารถทำหน้าที่ภายใต้กลไกที่ว่องไว เมื่อมีระเบียบ นโยบายอะไรก็ลงถึงหลักสูตรได้ทันที เพื่อความคล่องในการเคลื่อนตัว ได้ผลแม่นยำ และยังทำให้อาจารย์ได้มีเวลามุ่งเน้นโครงการในเชิงพัฒนา การบริการวิชาการแก่สังคม

งานวิจัย มุ่งความสำคัญการจดสิทธิบัตร หรืออนุสนธิบัตร

ในส่วนของ ‘งานวิจัย’ ซึ่งเป็นหัวใจสำคัญของภาคการศึกษา ผศ.ดร สุดาพร เผยถึงนโยบายซึ่งมุ่งให้ความสำคัญเกี่ยวกับเรื่องของสิทธิบัตรหรืออนุสนธิบัตร โดยจะมีการจัดเงินทุนให้อาจารย์ทำวิจัยปีละ 3 ทุน เมื่ออาจารย์ทำวิจัยออกมาและสามารถมีผลสำเร็จเป็นผลิตภัณฑ์หรือส่วนบริการที่สามารถนำไปจดสิทธิบัตรและจัดจำหน่ายเชิงพาณิชย์ได้ ซึ่งบริษัท Startup สามารถมารับช่วงไปจำหน่ายต่อ เราทำหน้าที่เป็น Incubator บ่มเพาะทางธุรกิจไปในตัว ทำงานร่วมกับสำนักงานวิจัยนวัตกรรมของ สจล.

คณบดีของ FAM ได้ยกกรณีตัวอย่างงานวิจัยที่ ผศ.ดร สุดาพรเองได้จัดทำขึ้น ภายใต้การลงพื้นที่เพื่อทำวิจัยเกษตรกรที่เป็นชาวนา เพื่อศึกษาการทำนาและปลูกข้าว ทำให้ได้รับรู้ปัญหาจากชาวนาว่าเขามีความต้องการอะไร? หลังจากได้โจทย์ปัญหาก็นำมาระดมความคิด ประมวลความต้องการร่วมกับ ภาควิชาวิศวฯ จนในที่สุดเกิดเป็น Prototype เครื่องสีข้าวขนาดเล็กในครัวเรือนที่สามารถเคลื่อนที่ได้รุ่นแรก ที่จะเป็นตัวช่วยให้ชาวนาผู้ปลูกข้าวสามารถสีข้าวเองได้ ไม่จำเป็นจะต้องไปที่โรงสี โครงการวิจัยนี้ได้มีการนำไปจดอนุสิทธิบัตร เป็นเทคโนโลยีที่ต่อยอดมาให้ทำงานสะดวก Fit need มากขึ้น สามารถสีข้าวได้ 12 kg ต่อชั่วโมง และมีบริษัทเอกชนเข้ามารับสิทธิเพื่อไปจัดจำหน่ายแล้ว เป็นต้น

ก้าวใหม่และก้าวใหญ่ในปี 2563

นอกเหนือไปจากโครงการบริหารการศึกษา วิชาการและอื่นๆ ที่เป็นภารกิจหลักของทางคณะฯ แล้ว คณบดีหญิงของ FAM ยังบอกเล่าถึงเป้าหมายในการรวบรวมศิษย์เก่าที่มีศักยภาพคืนสู่เหย้ามาร่วมทำกิจกรรมเพื่อร่วมส่งเสริมคณะ และร่วมพัฒนารุ่นน้อง โดยอีกนัยสำคัญเพื่อว่า ให้ศิษย์เก่ากลับมาเพื่อ Re-skill หรือ Up-skill ความรู้ใหม่ๆ ที่เปลี่ยนไปตามความเปลี่ยนแปลงของเทคโนโลยีและโครงสร้างอุตสาหกรรม แน่นอนว่าเหนือไปกว่านั้นคือเป็นการกระชับความผูกพันและเป็นเครือข่ายที่สามารถเอื้อและเกื้อหนุนกันได้ระหว่างคณะฯ และศิษย์เก่า หรือแม้แต่ ศิษย์เก่าและศิษย์เก่าที่ไม่ได้พบนับแต่สำเร็จการศึกษาออกไป ซึ่งเป็นโครงการที่อยากให้เกิดขึ้นภายในปีนี้

สำหรับก้าวใหญ่ที่สำคัญของ FAM นับแต่นี้คือทางคณะการบริหารและจัดการจะเริ่มเข้าสู่การรับรองมาตรฐาน AACSB ในปี 2020 ซึ่งถือว่าเป็นจะเป็นอีกก้าวใหญ่ที่จะมูฟไปข้างหน้าและจะเป็นก้าวที่ FAM จะเป็นที่รู้จักและยอมรับในเวทีการศึกษาระดับชั้นนำของโลกในที่สุด

ความท้าทาย

แน่นอนว่าการพัฒนาย่อมต้องมาพร้อมกับความท้าทาย ผศ.ดร. สุดาพร มองว่าสิ่งสำคัญที่มองข้ามไม่ได้ในศักราชใหม่นี้คือเรื่องของ Human Resource Management เพราะการเก่งคนเดียวนั้นไม่เพียงพอ ต้อง Drive team ทำให้ทีมมีแรงที่จะเคลื่อนตัวเอง เคลื่อนองค์กร จัดกระบวนการต่างๆ ให้มีการปฏิบัติที่ชัดเจน สร้างคนให้มีความรู้สึกว่าเขาอยากมีส่วนร่วม มีบทบาท มีหน้าที่ มีรางวัลให้เขาภาคภูมิใจ ไม่ว่าจะเป็นอาจารย์ ทีมบริหารและนักศึกษา เพื่อให้ก้าวไปข้างหน้าเป็นทีมอย่างพร้อมกัน

ตอนที่อาจารย์แถลงวิสัยทัศน์ไว้ว่า อาจารย์ทุกคนต้องมีโครงการวิจัย โครงการบริการวิชาการเป็นของตัวเองอย่างน้อย 1 โครงการ หรืออาจจะเป็นโครงการที่ทำร่วมกับทีมงานหรือคณบดีก็ได้ ทั้งนี้เพื่อพยายามสร้างให้เกิด Human Value Capital นอกเหนือจากงานสอนปกติ เพราะฉะนั้นทุกท่านจะเป็นบุคลากรที่ครบเครื่อง และยังทำให้เกิดแรงบันดาลใจจากการได้ออกไปพบปะผู้คนภายนอก ได้ให้บริการแก่บุคคล เอาสังคมภายนอก เอาประสบการณ์เข้ามาปรับใช้ในมหาวิทยาลัยได้ ด้วยกลยุทธ์นี้อาจารย์ของคณะฯ ก็จะทันต่อการเปลี่ยนแปลง อย่างเรื่องเทคโนโลยีดิจิตอล หรือประสบการณ์ในการเป็นผู้ถ่ายทอด มีโครงการที่เราทำอยู่ตอนนี้คือ Smart Supervisor หลักสูตรที่เราทำให้กับสถาบันเทคโนโลยีป้องกันประเทศ กระทรวงกลาโหม ซึ่งเป็นรุ่นที่ 2 แล้ว โดยทีมงานของอาจารย์ทุกคนเราก็ร่วมกันเป็นวิทยากรในด้านที่ถนัด ได้ฝึกฝนทักษะการบรรยายให้กับผู้ที่มีตำแหน่งสูงซึ่งอาจจะเป็นเรื่องที่แปลกใหม่แต่ก็ทำให้อาจารย์ได้เพิ่มพูนประสบการณ์


เรื่อง: กองบรรณาธิการ

ภาพ: อาทิตย์ กัณฐัศว์กำพล

เคทีซีทุบสถิติใหม่ต่อเนื่อง 7 ปีซ้อน เปิดกำไรสุทธิปี 2562 ที่ 5,524 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 7.5%

X

Right Click

No right click