×

Warning

JUser: :_load: Unable to load user with ID: 805

วิทยาศาสตร์ & เทคโนโลยีสร้างชาติ

October 24, 2017 10299

การวางระบบการขนส่งคมนาคม ระบบสาธารณูปโภค สาธารณูปการ ระบบชลประทาน ระบบการบริหารจัดการพลังงาน ไปจนถึงระบบข้อมูลสารสนเทศของประเทศชาติให้มั่นคง ล้วนเป็นตัวบ่งชี้สำคัญของก้าวแรกสู่การพัฒนาอย่างยั่งยืน เพราะหากประเทศไหนไม่คิดวางแผนระบบทั้งหมดนี้ให้มั่นคง ประเทศนั้นก็ยากที่จะเริ่มนับหนึ่งในเรื่องนี้ได้

 

การวางระบบการขนส่งคมนาคม ระบบสาธารณูปโภค สาธารณูปการ ระบบชลประทาน ระบบการบริหารจัดการพลังงาน ไปจนถึงระบบข้อมูลสารสนเทศของประเทศชาติให้มั่นคง ล้วนเป็นตัวบ่งชี้สำคัญของก้าวแรกสู่การพัฒนาอย่างยั่งยืน เพราะหากประเทศไหนไม่คิดวางแผนระบบทั้งหมดนี้ให้มั่นคง ประเทศนั้นก็ยากที่จะเริ่มนับหนึ่งในเรื่องนี้ได้

 

หากให้วิเคราะห์ระบบขนส่งคมนาคมของประเทศไทยในยุค AEC เชื่อแน่ว่า ตั้งแต่ก่อนที่เราจะก้าวเข้าสู่ยุค AEC ใครหลายคนมองเห็นศักยภาพของไทยในการเป็นศูนย์กลางของอาเซียน ทั้งด้านการค้าการลงทุน การท่องเที่ยวการคมนาคม-ขนส่ง การศึกษา ฯลฯ ดังนั้น การให้ความสำคัญกับการสร้างระบบโครงข่ายการคมนาคม-ขนส่งที่มีประสิทธิภาพสำหรับเชื่อมโยงประเทศสมาชิกอาเซียน ที่อาจหมายรวมถึง อาเซียน + 3 นั่นคือ ประเทศจีน เกาหลีใต้ ประเทศญี่ปุ่น เข้าด้วยกัน จึงนับเป็น Priority แรก ที่ทุกภาคส่วนต้องเดินหน้าพัฒนาให้เป็นจริง 

 

กรณีศึกษาที่อยากหยิบยกมาอัพเดตนั่นคือ การก่อสร้างรถไฟความเร็วสูงรางคู่ เป็นอีกหนึ่งการดำเนินงานที่ภาครัฐตั้งใจทำขึ้นเพื่อเอื้อต่อการก้าวเข้าสู่ยุค AEC ซึ่งต้องยอมรับว่ามีทั้งกระแสสนับสนุนและคัดค้าน ควบคู่กันไปอย่างดุเดือด ฝ่ายสนับสนุนก็มองไปในทางเดียวกันว่า “การโดยสารและขนส่งสินค้าทางรถยนต์ยังนับว่ามีต้นทุนสูงและใช้เวลานาน กว่าการใช้บริการด้วยรถไฟความเร็วเป็นอย่างมาก จึงถือเป็นโอกาสดีที่สุดและได้เวลาเหมาะสมที่สุดสำหรับรัฐบาลไทย ในการสนับสนุนผลักดันให้มีการพัฒนาระบบรถไฟไทยยกระดับสู่รถไฟความเร็วสูงรางคู่ให้สำเร็จโดยเร็วที่สุด เพื่อรองรับการยกระดับศักยภาพการแข่งขันด้านโลจิสติกส์เชื่อมโยงของไทยใน AEC ได้อย่างทันการณ์” 

 

 

 

ส่วนฝ่ายคัดค้าน ก็มีมุมมองแตกต่างกันออกไป ทั้งในเรื่องต้นทุนการก่อสร้างที่มหาศาล ว่ากันว่าถ้าจะสร้างตามแผนทั้งหมดจะต้องใช้งบประมาณ 1.3 - 1.4 ล้านล้านบาท ทำไปจะคุ้มจริงหรือ ไปจนถึงการตั้งคำถามต่อว่าผลประโยชน์ที่จะเกิดขึ้นและการวางรูปแบบในการเชื่อมต่อมีความชัดเจนแค่ไหน เพราะสิ่งที่ประเทศต้องการคือรถไฟความเร็วสูง ซึ่งจะว่าไปตอนนี้มีการศึกษาเรื่องนี้น้อยมาก ดังนั้น ณ ตอนนี้ ข้อเท็จจริงที่ดูจะเป็นข้อสรุป คือ ควรลงทุนในรถไฟรางคู่ก่อน เนื่องจากมีผลประโยชน์ทางเศรษฐกิจที่เห็นได้ชัดเจนมากกว่า ดังนั้นบทเรียนเบื้องต้นที่ได้จากการพัฒนาระบบคมนาคม ที่สรุปได้ในเวลานี้ คือ การลงทุนในการพัฒนาระบบนั้นต้องเหมาะสมและคุ้มค่ากับการลงทุน รวมถึงต้องได้รับการศึกษาอย่างถ่องแท้ในระบบที่จะลงทุนนั้นแล้วด้วย จึงจะดีที่สุด

 

ทั้งนี้ สำหรับประเทศกำลังพัฒนา ยังมีอีกหนึ่งภารกิจที่ต้องให้ความสำคัญ นั่นคือการวางแผนระยะยาวโดยใช้องค์ความรู้ทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีใหม่ๆมาใช้ทำให้เกิดนวัตกรรมสร้างสรรค์ ซึ่งจะเป็นฟันเฟืองสำคัญในการช่วยขับเคลื่อนภาคอุตสาหกรรมให้พัฒนาได้อย่างยั่งยืนอีกทางหนึ่ง

 

เมื่อมามองในมุมประเทศไทย ถึงตอนนี้เราก็ยังจำกัดความตัวเองว่าเป็นประเทศเกษตรกรรม แต่ที่เพิ่มเติมเข้ามาเห็นจะเป็นการเดินหน้าเต็มกำลังเพื่อเพิ่มขีดความสามารถและก้าวสู่ประเทศอุตสาหกรรมการเกษตร ซึ่งมีลู่ทางที่สดใสในยุคที่โลกกำลังให้ความสนใจในเรื่องความมั่นคงทางอาหาร โดยอุตสาหกรรมแปรรูปทางการเกษตร ก็นับเป็นอีกหนึ่งภาคธุรกิจที่ได้รับการส่งเสริมมาอย่างต่อเนื่องจากภาครัฐบาลไทย เนื่องจากผลผลิตทางการเกษตรของไทยมีหลากหลายและในแต่ละปีก็มีจำนวนมากการแปรรูปเป็นผลิตภัณฑ์รูปแบบต่างๆ จึงเป็นคำตอบที่เหมาะสมที่สุด ซึ่งในการแปรรูปนี้ถ้าทำอย่างจริงจัง รักษาคุณภาพ มาตรฐาน นั่นย่อมเป็นการยกระดับสินค้าเกษตรแปรรูปไทยให้ส่งออกไปสร้างรายได้ในต่างประเทศได้ไม่ยากเลย

 

ยิ่งถ้าสินค้าหรือผลิตภัณฑ์นั้นได้รับการพัฒนา สร้างสรรค์ ออกแบบด้วยเทคโนโลยีใหม่ๆจนกลายเป็นนวัตกรรมขึ้นมา ยิ่งทวีความน่าสนใจ อย่างความสำเร็จของบริษัท อุตสาหกรรมทวีวงษ์ จำกัด ผู้ผลิตและจัดจำหน่ายอาหารทะเลแช่แข็งรายใหญ่ของไทย ที่ให้ความสำคัญในการพัฒนาสินค้ารูปแบบใหม่ๆ เพื่อขยายตลาด ยิ่งในยุค AEC นี้ ปรากฏว่า อาหารทะเลแช่แข็งของบริษัทนี้สามารถไปตีตลาดประเทศสิงคโปร์ได้อย่างสวยงาม ทั้งๆ ที่ประเทศสิงคโปร์เป็นประเทศที่ขึ้นชื่ออย่างมากในเรื่องการตรวจสอบคุณภาพที่เข้มงวด โดยกระบวนการผลิตของที่นี่ผ่านการรับรองคุณภาพมากมาย ทั้ง GMP HACCP HALAL Q-Mark ISO 9001: 2008 และ OTOP ระดับ 5 ดาว พิสูจน์ได้ถึงมาตรฐานการผลิตซึ่งเป็นหัวใจสำคัญของความสำเร็จนี้ได้อย่างดี 

 

 

 

ขณะเดียวกัน ในยุคนี้นับว่าเป็นยุคของเหล่า Startup หรือ Entrepreneur ใหม่ที่ประสบความสำเร็จในธุรกิจของแต่ละคน เพราะฉะนั้นการส่งเสริมและปลูกฝังให้บุคลากรในชาติไม่หยุดคิดสร้างสรรค์ นำเสนอไอเดียธุรกิจที่สร้างมูลค่าทางเศรษฐกิจได้ จึงเป็นอีกหนึ่งภารกิจที่ทุกภาคส่วนต้องตื่นตัวให้การสนับสนุน ซึ่งสอดคล้องกับเป้าหมายหนึ่งที่กำหนดไว้ใน 17 Sustainable Development Goals ว่า ภายในปี 2030 ต้องเพิ่มช่องทางการส่งเสริมภาคอุตสาหกรรมขนาดเล็กและบริษัทขนาดกลางและขนาดย่อมในประเทศกำลังพัฒนา ให้สามารถเข้าถึงแหล่งเงินทุน ความช่วยเหลือทางการเงิน และสามารถเข้าสู่ตลาดในฐานะธุรกิจที่ประสบความสำเร็จให้ได้มากที่สุด

 

และเพื่อให้บรรลุ Goal ที่ 9 อย่างยั่งยืน อีกหนึ่งภารกิจที่ต้องให้ความสำคัญ คือ การสนับสนุนให้เกิดงานวิจัยที่ตอบสนองความต้องการของภาคอุตสาหกรรม และสามารถนำมาปรับใช้เพื่อเพิ่มศักยภาพให้กับภาคการผลิตได้อย่างเห็นผล ซึ่งที่ผ่านมา เป็นนิมิตหมายที่ดีที่หลายบริษัทในประเทศไทย ต่างให้ความสำคัญกับงาน R&D หรือ Research & Development โดยส่วนใหญ่จะจัดตั้งขึ้นเป็นฝ่าย เพื่อทำหน้าที่พัฒนาคุณภาพสินค้าและผลิตภัณฑ์ และคิดค้นสินค้าใหม่เพื่อตอบสนองความต้องการของผู้บริโภค

 

ต้นแบบของบริษัทขนาดใหญ่ในประเทศไทย ที่ให้ความสำคัญกับงาน R&D ที่อยากหยิบยกมากล่าวถึง นั่นคือ กลุ่มมิตรผล ผู้ดำเนินธุรกิจอุตสาหกรรมอ้อยและน้ำตาลรายใหญ่ของไทย ที่มองว่า 

 

 

 

“สถานประกอบการ หรือ บริษัท นับเป็นตัวแปรหนึ่งที่จะสร้างความเปลี่ยนแปลงให้กับวงการงานวิจัยได้ ถ้าเจ้าของกิจการเลือกที่จะให้ความสำคัญกับการลงทุนในด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี เพื่อมาพัฒนาระบบการผลิตโดยรวมในฐานะผู้ที่สัมผัสกับปัญหาต่างๆ ที่เกิดขึ้นในการทำธุรกิจจริง ซึ่งนั่นจะกลายมาเป็นโจทย์วิจัยคุณภาพให้กับวงการวิจัยไทยต่อไป” 

 

ด้วยความเชื่อเช่นนี้ จึงได้จัดตั้ง บริษัท มิตรผลวิจัย พัฒนาอ้อยและน้ำตาล จำกัด ขึ้นตั้งแต่ปี 2540 โดยมุ่งผลระยะยาวในการพัฒนาการผลิตอ้อยอย่างยั่งยืน รวมทั้งพัฒนาคุณภาพของอ้อย ซึ่งเป็นวัตถุดิบตั้งต้นในการผลิตน้ำตาล รวมถึงธุรกิจที่จะสร้างผลิตภัณฑ์ต่อเนื่อง (Value Added Product) จากวันที่ก่อตั้งจนถึงวันนี้ นอกจากจะเกิดผลดีต่อธุรกิจของมิตรผลเองอย่างชัดเจนในด้านการผลิตที่รักษามาตรฐานไว้ได้แล้ว ยังส่งผลต่อเนื่องกับการพัฒนาคุณภาพชีวิตความเป็นอยู่ของชาวไร่ให้ดีขึ้น ทำให้ฐานเศรษฐกิจของประเทศชาติ ด้านอุตสาหกรรมการเกษตรเข้มแข็งขึ้นด้วย

 

แต่อย่างไรก็ตาม ความสำเร็จในการวางรากฐานระบบวิจัยและพัฒนา อาจเกิดขึ้นได้ไม่ยากนักกับบริษัทขนาดใหญ่ หากแต่ในบริษัทขนาดเล็ก หรือ SME ที่การวิจัยและพัฒนาก็จำเป็นต่อการพัฒนาสินค้าและบริการเพื่อให้ธุรกิจนั้นขยายต่อไปได้ การลงทุนกับการวิจัยและพัฒนาดูจะเป็นเรื่องยาก เพราะ SME อาจไม่มีเงินทุนมากพอสำหรับเรื่องนี้ ปัญหานี้จึงตีกลับมาที่เป้าหมายที่ทาง UN ต้องการพิชิตให้ได้ เพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืนใน Goal นี้ นั่นคือ การเพิ่มช่องทางการส่งเสริมภาคอุตสาหกรรมขนาดเล็ก บริษัทขนาดกลางและขนาดย่อมในประเทศกำลังพัฒนา ให้สามารถเข้าถึงแหล่งเงินทุนได้มากขึ้นนั่นเอง

 

เรื่อง : กองบรรณาธิการ 

X

Right Click

No right click