หัวเว่ย จัดงานสัมมนาภายใต้หัวข้อ “การมาถึงของ 5.5G”

ฟาร์มพลังงานไฮบริดขนาดใหญ่ที่สุดในยุโรปกลางและยุโรปตะวันออกกำลังจะสร้างขึ้นในประเทศโปแลนด์

ซึ่งประกอบด้วยโรงไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์และโรงไฟฟ้าพลังงานลมที่มีกำลังการผลิตรวม 205 เมกะวัตต์ โดยกำลังการผลิตต่อปีสามารถจ่ายไฟฟ้าให้แก่บ้านเรือนได้มากกว่า 100,000 ครัวเรือน และลดการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ได้เกือบ 160 ตัน ทั้งนี้ เพื่อพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานทางเทคโนโลยีของโรงไฟฟ้าดังกล่าว หัวเว่ย (Huawei) เตรียมจัดหาเครื่องแปลงกระแสไฟฟ้าแบบสตริง (สตริงอินเวอร์เตอร์) จำนวน 710 เครื่อง และสถานีหม้อแปลงไฟฟ้าอัจฉริยะ 23 สถานีให้แก่ฟาร์มพลังงานไฮบริดแห่งนี้ ซึ่งสร้างขึ้นบนพื้นที่เหมืองเก่าในเมืองเคลตเชฟ (Kleczew) จังหวัดวีแยลกอปอลสกา (Wielkopolska)

เคลตเชฟ โซลาร์ แอนด์ วินด์ (Kleczew Solar & Wind) ตั้งอยู่ในพื้นที่เหมืองเก่า และจะกลายเป็นอุทยานพลังงานหมุนเวียนที่ใหญ่ที่สุดแห่งหนึ่งในยุโรปกลางและยุโรปตะวันออก อีกทั้งยังเป็นโครงการใหญ่โครงการแรกของโปแลนด์ที่มีการผสมผสานเทคโนโลยีการผลิตไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์และพลังงานลมเข้าด้วยกัน สำหรับการก่อสร้างในเฟสแรกประกอบด้วยการก่อสร้างโรงไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์ขนาด 193 เมกะวัตต์พีค (MWp) และโรงไฟฟ้าพลังงานลมขนาด 12 เมกะวัตต์ (MW) โดยหัวเว่ยจะสนับสนุนด้วยสถานีหม้อแปลงไฟฟ้าอัจฉริยะ 23 สถานี และสตริงอินเวอร์เตอร์จำนวน 710 เครื่อง ซึ่งเป็นหนึ่งในหัวใจสำคัญของโรงไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์ ทั้งนี้ กำลังการผลิตต่อปีจากโรงไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์คาดว่าจะอยู่ที่ประมาณ 222 กิกะวัตต์ชั่วโมง (GWh) และของโรงไฟฟ้าพลังงานลมจะอยู่ที่ราว 47 กิกะวัตต์ชั่วโมง ฟาร์มพลังงานไฮบริดแห่งนี้จะสามารถตอบสนองความต้องการด้านพลังงานของบ้านเรือนมากกว่า 100,000 ครัวเรือน

รีสซาร์ด ฮอร์ดีนสกี (Ryszard Hordynski) ผู้อำนวยการฝ่ายกลยุทธ์และการสื่อสารของหัวเว่ย โปแลนด์ กล่าวว่า หัวเว่ยมีส่วนร่วมในการพัฒนาภาคส่วนพลังงานสมัยใหม่อย่างต่อเนื่อง ด้วยการสนับสนุนโซลูชันพลังงานแสงอาทิตย์อัจฉริยะมาเป็นระยะเวลาหลายปี ผมรู้สึกยินดีเป็นอย่างยิ่งที่เทคโนโลยีของเราสามารถสนับสนุนการเปลี่ยนแปลงเพื่อสิ่งแวดล้อมเชิงรุกของโปแลนด์ในโครงการสำคัญ ๆ เช่น โรงไฟฟ้าไฮบริดในเมืองเคลตเชฟ นี่เป็นการลงทุนที่สำคัญมากบนเส้นทางสู่การลดคาร์บอนอย่างเต็มรูปแบบของเศรษฐกิจโปแลนด์ รวมถึงการจัดหาพลังงานที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม สะอาด และคุ้มค่าให้แก่สังคม

ผู้ลงทุนในโครงการเคลตเชฟ โซลาร์ แอนด์ วินด์ คือบริษัทเลวันด์โพล กรุ๊ป (Lewandpol Group), ผู้จัดการทรัพย์สินคือบริษัทเออร์จี (Ergy), ผู้รับผิดชอบด้านการทำสัญญาทั่วไปคือบริษัทอิเล็กทรัม กรุ๊ป (Electrum Group) และผู้ดำเนินงานควบคุมกำลังไฟฟ้าจริง (Active Power) และกำลังไฟฟ้ารีแอคทีฟ (Reactive Power) คือบริษัทเรนีเดียม (Renedium)

มาร์ซิน คูเปรล (Marcin Kuprel) ซีอีโอของบริษัทเออร์จี กล่าวว่า โครงการนี้มีความสำคัญเชิงกลยุทธ์ต่อการลดคาร์บอนของเศรษฐกิจโปแลนด์ ซัพพลายเออร์และผู้รับเหมาที่เกี่ยวข้องในห่วงโซ่อุปทานได้ผ่านการคัดเลือกมาอย่างรอบคอบ เพื่อให้มั่นใจถึงประสิทธิภาพและความน่าเชื่อถือในระหว่างและหลังจากการก่อสร้างโรงไฟฟ้า เรามั่นใจว่าเรากำลังจะร่วมมือกับซัพพลายเออร์ที่ดีที่สุด และหนึ่งในนั้นคือหัวเว่ย ซึ่งเป็นที่รู้จักในตลาดโปแลนด์อยู่แล้วในฐานะซัพพลายเออร์อินเวอร์เตอร์ระดับไฮเอนด์ที่เชื่อถือได้

หัวเว่ยอาศัยจุดแข็งด้านเทคโนโลยีดิจิทัลและอิเล็กทรอนิกส์กำลัง (Power Electronics) และสร้างสรรค์นวัตกรรมในการผสานรวมเทคโนโลยีดิจิทัลเข้ากับเซลล์แสงอาทิตย์ ระบบกักเก็บพลังงาน คลาวด์ และเทคโนโลยี AI โดยนำเสนอโซลูชันเซลล์แสงอาทิตย์+ระบบกักเก็บพลังงานอัจฉริยะ สำหรับสามสถานการณ์หลักในการผลิตไฟฟ้า การส่งกําลังไฟฟ้า การจ่ายไฟฟ้า และการใช้ไฟฟ้า ได้แก่ โซลูชันเซลล์แสงอาทิตย์อัจฉริยะระดับสาธารณูปโภค โซลูชันเซลล์แสงอาทิตย์อัจฉริยะเชิงพาณิชย์และอุตสาหกรรม และโซลูชันเซลล์แสงอาทิตย์อัจฉริยะสำหรับที่อยู่อาศัย ซึ่งโซลูชันเหล่านี้ช่วยลดต้นทุนการผลิตไฟฟ้าต่อหน่วยปรับเฉลี่ย (LCOE) ของโรงไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์ตลอดอายุการใช้งาน และช่วยยกระดับประสิทธิภาพโครงข่ายไฟฟ้า (กริด) ตลอดจนทำให้พลังงานแสงอาทิตย์กลายเป็นแหล่งพลังงานหลัก

พาเวล สตราซซอลคาวสกี (Pawel Strzalkowski) ตัวแทนฝ่ายบัญชีอาวุโส ธุรกิจพลังงานดิจิทัลของหัวเว่ย โปแลนด์ กล่าวว่า การที่พันธมิตรทางธุรกิจเลือกอินเวอร์เตอร์และสถานีหม้อแปลงอัจฉริยะของเรา เป็นเครื่องยืนยันคุณภาพและความน่าเชื่อถือของเทคโนโลยีของเราได้ดีที่สุด การลงทุนในโครงการเคลตเชฟ โซลาร์ แอนด์ วินด์ เป็นทั้งจุดสูงสุดของความร่วมมือทางธุรกิจแบบองค์รวมที่ดำเนินมานานหลายปี รวมถึงเป็นปัจจัยสำคัญสำหรับการพัฒนาโรงไฟฟ้าไฮบริดให้ก้าวหน้าต่อไป ความเชื่อมั่นของพันธมิตรทางธุรกิจทั้งเออร์จี อิเล็กทรัม และผู้ลงทุนอย่างเลวันด์โพล ที่มีต่อผลิตภัณฑ์ของเรา ทำให้เรามีความภาคภูมิใจและมีแรงทำงานต่อไปเพื่อพัฒนาแหล่งพลังงานที่ปราศจากมลพิษ และเป็นที่น่าจดจำว่าอินเวอร์เตอร์ของหัวเว่ยเป็นเจ้าแรกในโปแลนด์ที่ได้รับใบรับรองภาคบังคับแบบไม่มีกำหนด

 

ทั้งนี้ โรงไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์ของโครงการเคลตเชฟ โซลาร์ แอนด์ วินด์ กำลังก่อสร้างด้วยความร่วมมือของบริษัทอิเล็กทรัม, จินโกะ โซลาร์ (Jinko Solar), บุดมัต (Budmat) และเตเล-โฟนิกา คาเบล (Tele-Fonika Kable)

ในงานมหกรรมระดับโลกด้านเทคโนโลยีไร้สาย โมบายล์ เวิลด์ คองเกรส บาร์เซโลนา ประจำปี พ.ศ. 2566 (MWC Barcelona 2023)

การสร้างความแข็งแกร่งให้แก่ระบบโครงสร้างพื้นฐานด้านไอซีที โดยเฉพาะด้านเทคโนโลยีคลาวด์ในประเทศไทย ถือเป็นหนึ่งในเป้าหมายสำคัญของหัวเว่ยเสมอมา

ในฐานะบริษัทด้านเทคโนโลยีระดับโลกที่ให้บริการคลาวด์สาธารณะ (Public Cloud) ชั้นนำในประเทศไทย หัวเว่ยได้นำแพลตฟอร์มคลาวด์ระดับโลกมาช่วยให้องค์กรทุกขนาดในทุกภาคอุตสาหกรรมของไทย ประยุกต์ใช้เพื่อขยายศักยภาพธุรกิจไปสู่การเป็นผู้เล่นชั้นนำทั้งในระดับประเทศ ระดับภูมิภาค หรือแม้แต่ในระดับโลก ด้วยการให้บริการคลาวด์ที่เหมาะสมกับความต้องการของธุรกิจ มีประสิทธิภาพการใช้งานในระดับสูงจากการมีศูนย์ข้อมูลในประเทศ และยังมีทีมผู้เชี่ยวชาญที่พร้อมสนับสนุนลูกค้าในทุกด้าน ซึ่งในปี พ.ศ. 2566 นี้ คุณเดวิด หลี่ ประธานกรรมการบริหารคนใหม่ของบริษัท หัวเว่ย เทคโนโลยี่ (ประเทศไทย) จำกัด ได้ประกาศถึงความพร้อมที่จะรุกขยายฐานการให้บริการคลาวด์ในไทยให้ครอบคลุมมากขึ้น รองรับการเปลี่ยนผ่านสู่ยุคดิจิทัลให้แก่ลูกค้าไทยจำนวนมากยิ่งกว่าเดิม ตามเจตจำนงของหัวเว่ยที่ประกาศอย่างชัดเจนว่า “จะไม่ทิ้งใครไว้เบื้องหลัง” และให้ความสำคัญกับธุรกิจท้องถิ่นทุกขนาดในประเทศเพื่อการมุ่งสู่ยุคดิจิทัล

นาย เดวิด หลี่ ประธานกรรมการบริหารคนใหม่ของบริษัท หัวเว่ย เทคโนโลยี่ (ประเทศไทย) จำกัด ได้กล่าวถึงทิศทางในการขับเคลื่อนประเทศไทยสู่แพลตฟอร์มดิจิทัลบนคลาวด์อย่างสมบูรณ์แบบ ว่า “เพื่อการวางรากฐานด้านโครงสร้างพื้นฐานด้านไอซีทีของประเทศให้แข็งแกร่ง และเพื่อให้มั่นใจว่าธุรกิจในภาคอุตสาหกรรมต่าง ๆ รวมถึงหน่วยงานภาครัฐของไทยจะยืนหยัดสู่การเปลี่ยนผ่านสู่ยุคดิจิทัลได้อย่างมั่นคง หัวเว่ยได้ลงทุนในกลุ่มธุรกิจคลาวด์อย่างต่อเนื่อง โดยในปี พ.ศ. 2565 ที่ผ่านมา หัวเว่ยเปิดตัวศูนย์ข้อมูลสำหรับให้บริการคลาวด์ (Availability Zone) ในประเทศไทยโดยเฉพาะ เป็นแห่งที่สามในกรุงเทพฯ ตอกย้ำจุดยืนผู้นำด้านการเป็น ผู้ให้บริการระบบคลาวด์เพียงรายเดียวที่มีศูนย์ข้อมูลของตนเองในไทย และเป็นรายเดียวที่ปฏิบัติตามข้อกำหนดด้านความเป็นส่วนตัวและการปกป้องข้อมูลในประเทศไทยอย่างเต็มรูปแบบ”

นอกจากการลงทุนด้านโครงสร้างพื้นฐาน หัวเว่ยยังลงทุนด้านการสร้างบุคลากรดิจิทัลสำหรับเทคโนโลยีคลาวด์ในไทยอย่างต่อเนื่อง ในปีที่ผ่านมา หัวเว่ยได้จัดโครงการแข่งขัน 'Spark Ignite 2022' สำหรับสตาร์ทอัพในประเทศไทยเพื่อพัฒนาศักยภาพ ต่อยอดไอเดียของตนจนสร้างนวัตกรรมชั้นยอดสู่ตลาดโลก โดยทีมผู้เข้าแข่งขันได้ใช้เทคโนโลยีต่าง ๆ รวมไปถึงคลาวด์ของหัวเว่ยเพื่อพัฒนาผลิตภัณฑ์หรือบริการ นอกจากนี้ หัวเว่ยยังได้จัด HUAWEI CLOUD Developer Contest Thailand การแข่งขันนักพัฒนาเทคโนโลยีบนคลาวด์อย่างต่อเนื่องในปี พ.ศ. 2563 – 2564 เพื่อช่วยพัฒนาศักยภาพบุคลากรไอซีทีไทยในทุกระดับ รวมถึงการจัดโครงการ Huawei Developer Competition 2022 เพื่อให้เหล่านักพัฒนาในไทยและจาก 5 ภูมิภาคทั่วโลกสร้างโซลูชันด้วยเทคโนโลยี และส่งเสริมการสร้างอีโคซิสเต็มของคลาวด์ที่แข็งแกร่ง จนถึงปัจจุบัน หัวเว่ยได้สนับสนุนให้สตาร์ทอัพในประเทศไทยให้เติบโตกว่า 1,700 รายด้วยเทคโนโลยีคลาวด์ และยังให้บริการคลาวด์ที่มีความปลอดภัยและความน่าเชื่อถือแก่องค์กรในประเทศไทยกว่า 1,200 แห่ง รวมทั้งสนับสนุนพันธมิตรในประเทศมากกว่า 300 ราย ใน 15 ภาคอุตสาหกรรม นอกจากนี้ หัวเว่ยคลาวด์ยังปฏิบัติตาม พ.ร.บ. คุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล (PDPA) และเป็นไปตามข้อกำหนดของกฎหมายไทย เพื่อการปกป้องข้อมูลของลูกค้าในประเทศไทยได้อย่างมีประสิทธิภาพสูงสุดในตลาด

ในปี พ.ศ. 2566 นี้ หัวเว่ยตั้งเป้าจะสร้างนักพัฒนาซอฟต์แวร์ด้านต่างๆโดยเฉพาะด้านคลาวด์ในประเทศไทย 20,000 รายเข้าสู่ตลาด รวมถึงจะนำความเชี่ยวชาญด้านเทคโนโลยีคลาวด์, AI และ 5G ผ่านการร่วมมือกับเครือข่ายพันธมิตร รวมถึงมหาวิทยาลัยชั้นนำ สมาคมและองค์กรต่าง ๆ มาช่วยสร้างโอกาสทางธุรกิจให้กับกลุ่มเอสเอ็มอี นอกจากนี้ หัวเว่ยจะเดินหน้าเสริมสร้างระบบนิเวศคลาวด์ในทุกพื้นที่ของประเทศไทย ผ่านกลยุทธ์ "Cloud First" และ “Everything as a Service” ด้วยการให้บริการคลาวด์สำหรับโครงสร้างพื้นฐาน เพื่อสร้างโอกาสอย่างเท่าเทียมให้กับทุกกลุ่มธุรกิจรวมถึงธุรกิจสตาร์ทอัพ ขนานไปกับการสร้าง “นักพัฒนาด้านคลาวด์” ผ่านการจับมือกับพันธมิตรทั้งภาครัฐและเอกชนในการสร้างองค์ความรู้ พัฒนาทักษะและสร้างประสบการณ์จากการลงมือปฏิบัติจริง ทั้งในด้านคลาวด์ การบริหารจัดการเก็บข้อมูล (Storage), Big Data, AI และทักษะดิจิทัลต่าง ๆ ให้กับบุคลากรในพื้นที่ห่างไกล โดยหัวเว่ยตั้งเป้าหมายที่จะฝึกอบรมนักพัฒนาในประเทศไทยกว่า 50,000 คน ให้มีความเชี่ยวชาญเทคโนโลยีคลาวด์ภายในระยะเวลา 3 ปี และเพื่อเป็นการต่อยอดโครงการแข่งขัน 'Spark Ignite 2022' ในปีนี้ หัวเว่ยจะสนับสนุนธุรกิจสตาร์ทอัพทั่วประเทศ ผ่านการเชิญเข้าร่วมโครงการ และจะนำความชำนาญทางเทคโนโลยีมาเสริมความรู้ ทักษะ และสนับสนุนสตาร์ทอัพด้วยการให้คำแนะนำในการวางกลยุทธ์สู่ตลาดแบบตรงเป้าหมาย นำไปสู่การขยายตลาดและสร้างความสามารถทางการแข่งขันได้ในที่สุด

จากความมุ่งมั่นและเป้าหมายในการให้บริการคลาวด์เพื่อยกระดับมาตรฐานโครงสร้างพื้นฐานด้านไอซีที รวมถึงการพัฒนาทักษะบุคลากรในระดับท้องถิ่นของไทยให้มีปริมาณที่เพียงพอ และมีความสามารถทัดเทียมกับตลาดแรงงานในระดับภูมิภาค หัวเว่ยมั่นใจว่าจะสามารถสร้างอีโคซิสเต็มของคลาวด์ในประเทศไทยอย่างแข็งแกร่ง ช่วยขับเคลื่อนสู่การเป็น “ประเทศไทยอัจฉริยะ” ที่เชื่อมถึงกันอย่างสมบูรณ์แบบในยุคดิจิทัลได้อย่างแท้จริง

ระบบลดเสียงรบกวน ANC 2.0 ใช้งานร่วมกับเคสชาร์จได้ 28 ชั่วโมง ในราคาสบายกระเป๋าเพียง 2,799 บาท

X

Right Click

No right click