(Bio-Circular-Green Economy) หรือ BCG Economy ซึ่งเป็นโมเดลเศรษฐกิจสู่การพัฒนาที่ยั่งยืน หนึ่งในภาคเอกชนไทย ที่นำเรื่องนี้มาประยุกต์ใช้ในการดำเนินธุรกิจได้อย่างเป็นรูปธรรม คือ บริษัท เจริญโภคภัณฑ์อาหาร จำกัด (มหาชน) หรือซีพีเอฟ ที่ผลักดันโมเดลธุรกิจสีเขียวตามนโยบาย BCG ทั้งการพัฒนากระบวนการผลิตเพื่อลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก ควบคู่กับการพัฒนาผลิตภัณฑ์คาร์บอนต่ำอย่างต่อเนื่อง พร้อมกันนี้ยังดำเนินงานภายใต้ความรับผิดชอบ 3 ด้านหลัก คือ สิ่งแวดล้อม สังคม การกำกับดูแล หรือ ESG (Environment Socialand Governance) อย่างเข้มแข็ง
ขณะเดียวกัน ยังเดินหน้าถ่ายทอดแนวคิดนี้ให้กับเยาวชนรอบสถานประกอบการ ได้นำแนวคิดนี้ไปปรับใช้ เริ่มต้นจากเรื่องง่ายๆ อย่างเช่น การบริหารจัดการขยะในโรงเรียนและต่อยอดสู่ครอบครัวในที่สุด โดยมีบุคลากรของซีพีเอฟ เป็นกำลังสำคัญในการฝึกอบรมตั้งแต่การแยกขยะที่ถูกต้อง จัดให้มีถังแยกประเภท เน้นนำขยะมาใช้ประโยชน์และเพิ่มมูลค่า
โรงเพาะฟักลูกกุ้งภาคตะวันออกซีพีเอฟ จ.ตราด ต่อยอด โครงการ “CPF Restore the Ocean” โดยร่วมกันลดปริมาณขยะที่ก่อให้เกิดปัญหาสิ่งแวดล้อมและระบบนิเวศในท้องทะเล และนำขยะมาจัดการอย่างถูกวิธี ตามแนวทางเศรษฐกิจหมุนเวียน (Circular Economy) เพื่อสนับสนุนกลยุทธ์ “CPF Sustainability in Action 2030 ยั่งยืนได้ด้วยมือเรา” โดยร่วมกับภาคีเครือข่ายในการจัดเก็บขยะทะเล เพื่อนำมาส่งเสริมการทำศูนย์การเรียนรู้การจัดการขยะ แก่วิสาหกิจชุมชนบ้านธรรมชาติล่าง ต.คลองใหญ่ อ.แหลมงอบ จ.ตราด พัฒนาสู่แหล่งเรียนรู้การจัดการขยะที่ถูกต้อง ให้กับนักท่องเที่ยวและผู้ที่สนใจ พร้อมขยายสู่ “ธนาคารขยะ” โรงเรียนวัดบางปิดล่าง (ราษฎร์สงเคราะห์) อ.แหลมงอบ ให้เป็นอีกสถานที่เรียนรู้ให้เด็กๆและโรงเรียนต่างๆ มาศึกษาดูงาน เพื่อนำไปพัฒนาโรงเรียนของตนเอง โดยซีพีเอฟสนับสนุนเป้าหมายของโรงเรียนวัดบางปิดล่าง ที่มุ่งสู่ “โรงเรียนปลอดขยะ” (Zero waste School) ตามนโยบายของสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (สพฐ.) และจะขยายผลสู่ โรงเรียนบ้านคลองใหญ่ อ.แหลมงอบ และโรงเรียนคีรีศรีสาครวิทยา อ.บ่อไร่ ต่อไป
นางศิริรัตน์ โพธิ์ทอง ผู้อำนวยการโรงเรียนวัดบางปิดล่าง กล่าวว่า โรงเรียนได้สานต่อกิจกรรมการคัดแยกขยะ สู่การบูรณาการด้านการจัดการขยะร่วมกับซีพีเอฟ ภายใต้แนวคิด 'เปลี่ยน WASTE เป็น VALUE' โดยบุคลากรของซีพีเอฟนำแนวคิดการใช้น้อย ใช้ซ้ำ นำกลับมาใช้ใหม่ (Reduce Reuse and Recycle) หรือ 3Rs ที่ใช้ในโรงงานอยู่แล้วมาถ่ายทอดแก่เด็กๆ จนสามารถนำความรู้เรื่องการคัดแยกขยะไปทำเองที่บ้าน ขายขยะเองจนเกิดรายได้ ส่วนธนาคารขยะของโรงเรียนก็สร้างรายได้จากขยะที่นักเรียนนำมาฝาก พร้อมทั้งนำบางส่วนเข้าชุมนุมหัตถกรรม นำไปรีไซเคิล ทำผลิตภัณฑ์ Upcycling อาทิ กระถางต้นไม้และอิฐบล็อกทางเดินด้วยกล่องนม สร้างมูลค่าเพิ่มได้เป็นอย่างดี ขณะเดียวกันการที่ซีพีเอฟดำเนินโครงการในชุมชน ด้วยการตั้งศูนย์การเรียนรู้ขยะ เป็นหนึ่งในฐานกิจกรรมให้นักท่องเที่ยวที่มาเยือนวิสาหกิจชุมชนบ้านธรรมชาติล่าง ได้นำองค์ความรู้ไปปรับใช้ที่บ้านเรือนของตนเอง เพื่อช่วยลดปัญหาขยะในครัวเรือน
น้องนภัสสร ประภากาศ นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 โรงเรียนวัดบางปิดล่าง เล่าหลังจากร่วมกิจกรรมผลิตอิฐบล็อกทางเดินจากกล่องนมว่า รู้สึกตื่นเต้นมากที่สามารถทำได้ การได้ลงมือเปลี่ยนขยะให้กลายเป็นของใช้ได้เช่นนี้ ช่วยพัฒนาทักษะและความรู้ว่าขยะมีประโยชน์ เช่นเดียวกับ น้องพัชรีวรรณ เจริญสาคร เพื่อนนักเรียนชั้นเดียวกัน ที่ได้ทดลองทำกระถางต้นไม้จากกล่องนม บอกว่า ขยะเหลือทิ้งนำกลับมาเพิ่มคุณค่าได้ และยังถือเป็นการเสริมสร้างทักษะทางศิลปะ รวมถึงอาจสร้างรายได้ให้กับตนเองได้ หากพัฒนาฝีมือการทำผลิตภัณฑ์ให้สวยงามขึ้น
ด้าน ธุรกิจไก่พ่อแม่พันธุ์ ซีพีเอฟ จ.นครราชสีมา ที่ร่วมกับ โรงเรียนบ้านลาดบัวขาว ต.ลาดบัวขาว อ.สีคิ้ว จ.นครราชสีมา ดำเนินโครงการบริหารจัดการขยะอย่างหมาะสมเช่นเดียวกัน โดยโรงเรียนและซีพีเอฟบูรณาการร่วมกัน ด้วยการจัดอบรมให้เด็กนักเรียน ผ่านกิจกรรมที่สนุกสนาน ทำให้นักเรียนมีส่วนร่วมและเรียนรู้ได้อย่างรวดเร็ว โดยโรงเรียนจัดตั้งธนาคารขยะ มีบัญชีรายบุคคล และโครงการอิ่มสุขปลูกอนาคตที่ซีพีเอฟเข้ามาส่งเสริมให้นักเรียนมีแหล่งอาหารที่มั่นคง มีอาหารปลอดภัยจากฝีมือการปลูกและการเลี้ยงสัตว์ของนักเรียนเอง เป็นอาหารกลางวันที่ยั่งยืนให้กับทุกคน ยังได้สนับสนุนไข่ไก่เพื่อเป็นรางวัลในกิจกรรมขยะแลกไข่ไก่ และมอบก้อนเชื้อเห็ดเพื่อนำไปเพาะที่บ้าน นอกจากนี้ ยังมีการจับรางวัลเป็นประจำเพื่อกระตุ้นให้นักเรียนมีส่วนร่วม ที่สำคัญคือการนำขยะมาพัฒนาเป็นนวัตกรรมและสร้างมูลค่าเพิ่ม โดยโรงเรียนผูกเรื่องนี้เข้ากับโครงงานอาชีพ วันนี้เด็กๆยังส่งต่อความรู้ไปถึงครอบครัว ทำให้ผู้ปกครองมีส่วนร่วมในการช่วยแยกขยะพร้อมกับบุตรหลานด้วย
ส่วนที่ ศูนย์ปรับปรุงพันธุกรรมกุ้งซีพีเอฟ ปะทิว จ.ชุมพร ร่วมกับ เทศบาลตำบลบางสน อ.ปะทิว จ.ชุมพร จัดทำ “โครงการถังขยะเปียกลดโลกร้อน" หรือ “ถังหมัก รักษ์ดิน” เพื่อกําจัดขยะอินทรีย์ที่เกิดขึ้นภายในครัวเรือน ซึ่งได้เริ่มทำการชี้แจงวัตถุประสงค์ของโครงการฯ และลงทะเบียนรับถังหมักรักษ์โลก พร้อมรับเชื้อจุลินทรีย์ (พด.6) นำร่องในกลุ่มพนักงานซีพีเอฟที่มีภูมิลำเนาอยู่ในเขตตำบลบางสน รวม 75 ครัวเรือน ส่วนถังอีก 113 ใบ ส่งมอบให้กับ อสม. เขต1 และ อสม.เขต2 ซึ่งรับผิดชอบดูแลพื้นที่ตำบลบางสน ใน 7 หมู่ (หมู่ 1 2 3 4 5 6 และ 8) จำนวนที่มอบแล้วใน 3 เฟส รวมทั้งสิ้น 188 ชุด พร้อมจัดตั้งกลุ่มในแอปพลิเคชั่นไลน์ เพื่อรายงานผลและติดตามอย่างต่อเนื่อง
นายอำนาจ ทองหญีต นายกเทศมนตรีตำบลบางสน กล่าวว่า โครงการฯนี้ เป็นหนึ่งในการขับเคลื่อนแผนปฏิบัติการจัดการขยะมูลฝอยชุมชน "จังหวัดสะอาด" ที่ดำเนินการตั้งแต่ต้นน้ำ กลางน้ำ ถึงปลายน้ำ ก่อเกิดประโยชน์ต่อชุมชนโดยเฉพาะการช่วยลดภาวะโลกร้อน จากการจัดการขยะมูลฝอยตั้งแต่ต้นทาง เพื่อลดปริมาณขยะที่ต้องนำไปฝังในหลุมฝังกลบและลดการเกิดก๊าซเรือนกระจก ซึ่งเป็นสาเหตุของโลกร้อน การย่อยสลายขยะอินทรีย์ในถังขยะเปียกให้กลายเป็นปุ๋ยยังนำไปใช้ประโยชน์ทางการเกษตร ขอขอบคุณซีพีเอฟและลูกค้าฟาร์มกุ้งของบริษัท ที่ร่วมสนับสนุนถัง 40-50 ลิตร เพื่อผลักดันภารกิจของเทศบาลตำบลบางสน โดยตั้งเป้าหมายการจัดทำโครงการ 100% ในทุกครัวเรือนที่อยู่ภายใต้ความรับผิดชอบของเทศบาลฯ รวมกว่า 900 ครัวเรือน
ทางด้าน โรงงานผลิตอาหารสัตว์ซีพีเอฟศรีราชา จ.ชลบุรี ดำเนินโครงการ "โรงเรียนปลอดภัย" แก่นักเรียนโรงเรียนอนุบาลบ้านบางพระ อ.ศรีราชา จ.ชลบุรี โดยให้ความรู้ด้านความปลอดภัย 3 ด้าน ได้แก่ การขับขี่ปลอดภัย การป้องกันอัคคีภัย และการคัดแยกขยะ โดยเฉพาะกิจกรรมคัดแยกขยะที่ดำเนินการมาอย่างต่อเนื่อง มุ่งเน้นการรณรงค์สร้างจิตสำนึกการกำจัดขยะด้วยหลัก 3Rs มีการแยกขยะก่อนทิ้งเพื่อลดขยะในโรงเรียน การทิ้งขยะให้ถูกประเภท ส่งเสริมการใช้ซ้ำและนำกลับมาใช้ใหม่ ผ่านกิจกรรมเล่นเกมส์ ชวนให้เด็กๆเข้าใจอย่างง่ายดายผ่านเกมส์จับคู่ เมื่อน้องๆเข้าใจก็จะทำให้ได้เรียนรู้การจัดการขยะที่ถูกต้องที่สามารถนำไปปรับใช้ในชีวิตประจำวัน ทำได้ที่บ้าน และถ่ายทอดให้กับครอบครัวได้ ล่าสุดกำลังต่อยอดโครงการสู่โรงเรียนวัดตโปทาราม เพื่อร่วมเดินหน้าลดขยะในโรงเรียนต่อไป
กิจกรรมสร้างสรรค์ที่ซีพีเอฟร่วมส่งเสริมนักเรียนและชาวชุมชน ในการร่วมภารกิจจัดการขยะในโรงเรียน ครัวเรือน และแหล่งชุมชนที่เกิดขึ้นอย่างต่อเนื่อง เพื่อร่วมสนับสนุน "โรงเรียนและชุมชนปลอดขยะ" สอดรับกับ BCG Economy โมเดลเศรษฐกิจสู่การพัฒนาที่ยั่งยืน