(กาญจนบุรี) บริษัท เจริญโภคภัณฑ์อาหาร จำกัด (มหาชน) หรือซีพีเอฟ นำเทคโนโลยีขั้นสูง ทั้งปัญญาประดิษฐ์ (Artificial Intelligence: AI) เทคโนโลยี Internet of Things (IoT) และการจัดเก็บข้อมูลบนระบบคราวด์ (Cloud) มาเพิ่มประสิทธิภาพการเลี้ยงสุกร พร้อมส่งต่อองค์ความรู้แก่เกษตรกร สู่การเป็น “ฟาร์มอัจฉริยะ” (Smart Farm) ผลิตเนื้อสัตว์คุณภาพ ปลอดภัย ปลอดโรคสู่ผู้บริโภค

นายสมพร เจิมพงศ์ ผู้อำนวยการใหญ่ ธุรกิจสุกร ซีพีเอฟ เปิดเผยว่า ซีพีเอฟ มุ่งมั่นยกระดับระบบการบริหารฟาร์มเลี้ยงสัตว์ด้วยนวัตกรรมและเทคโนโลยีที่ทันสมัยมาโดยตลอด ตั้งแต่การทำงานด้วยระบบอัตโนมัติ (Automation System) การติดตั้งกล้องวงจรปิด (CCTV) โดยผนึกกำลังกับ TRUE จนถึงการใช้เทคโนโลยี AI และ IoT นำไปสู่การจัดการฟาร์มด้วยระบบฟาร์มอัจฉริยะ (SMART Farm Solution) สามารถควบคุมการเลี้ยงได้จากระยะไกล โดยไม่จำเป็นต้องเข้าไปในระบบการเลี้ยง ดูพฤติกรรม ความเป็นอยู่ สภาพแวดล้อมที่เหมาะสม ผ่านสมาร์ทโฟนได้ทุกที่ทุกเวลา ทำให้บริหารจัดการการเลี้ยงสุกรได้ตลอดเวลา ช่วยให้การทำงานของผู้ปฏิบัติงานมีความสะดวกรวดเร็วขึ้น และยังถ่ายทอดองค์ความรู้ไปสู่เกษตรกรในโครงการส่งเสริมการเลี้ยงสุกร หรือคอนแทรคฟาร์ม นำเทคโนโลยีไปประยุกต์ใช้ ให้เป็นระบบเดียวกันกับบริษัท เพื่อก้าวสู่การเป็นเกษตรอัจฉริยะ ที่ช่วยเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตและลดต้นทุนในระยะยาว

“ปัจจุบันฟาร์มเกษตรกรได้ติดตั้ง CCTV ทั้งหมดแล้ว 100% รวมถึงการสนับสนุนให้เกษตรกรฟาร์มสุกรขุนใช้ระบบ ออโต้ฟีด หรือ Auto Feeding Systems ที่ช่วยลดคนเข้าไปให้อาหารในโรงเรือน เพื่อให้คนสัมผัสตัวสัตว์น้อยที่สุด ลดความเสี่ยงการนำโรคต่างๆสู่ฝูงสุกร ตามมาตรการความปลอดภัยทางชีวภาพ (Biosecurity) ทำให้วันนี้ สัตวบาล 1 คน สามารถดูแลสุกรได้ 30,000 ตัว หรือมากกว่าเดิมถึงหนึ่งเท่าตัว ที่สำคัญการใช้เทคโนโลยีและนวัตกรรมมาสนับสนุนการเลี้ยง ทำให้คนรุ่นใหม่ที่เป็นลูกหลานเกษตรกร หันมาสนใจอาชีพนี้มากขึ้น เพราะสามารถควบคุมการทำงาน การจัดการฟาร์ม และยกระดับรายได้ ด้วยเทคโนโลยี” นายสมพรกล่าว

ขณะเดียวกัน ซีพีเอฟยังใช้ระบบ Sound talk ซึ่งเป็นอุปกรณ์ IOT ติดตั้งในโรงเรือนเลี้ยงสุกรขุน เพื่อตรวจวัดเสียง  ไอ แปลงให้เป็นคลื่นเสียง ส่งสัญญาณไปยังส่วนกลาง และจะแจ้งข้อมูลให้คนเลี้ยงทราบได้ทันที ทำให้รู้ความเสี่ยงของสุกร ช่วยในการตัดสินใจรักษาสัตว์อย่างทันท่วงที ช่วยลดการแพร่กระจายโรค ส่งผลให้ปัญหาด้านสุขภาพลดลง และป้องกันการแพร่กระจายในฝูงสัตว์ จึงถือเป็นเทคโนโลยีที่เข้ามาช่วยติดตามสุขภาพสุกร เพื่อให้ได้เนื้อสัตว์คุณภาพ ปลอดภัย ปลอดโรค

นอกจากนี้ ซีพีเอฟยังพัฒนาการเลี้ยงสุกรแบบครบวงจร ด้วยระบบสุกรอัจฉริยะ (SMART PIG) ใช้ในการเลี้ยงสุกรในทุกช่วงวัย ด้วยการเก็บข้อมูล และการวิเคราะห์ประสิทธิภาพการผลิต ช่วยเพิ่มศักยภาพการบริหารจัดการของเจ้าหน้าที่ โดยข้อมูลทั้งหมดถูกนำขึ้นไปในระบบคราวด์ ทำให้สามารถการติดตามทั้งเรื่องสุขภาพและการเติบโตของสุกรได้ง่ายผ่านคิวอาร์โค้ด

ขณะที่ระบบรายงานออนไลน์สำหรับเกษตรกร (CHAT BOT) ช่วยในการบันทึกข้อมูลการผลิตได้ทั้งหมด ตั้งแต่จำนวนสุกร ปริมาณอาหาร ประวัติการให้วัคซีน ผ่านสมาร์ทโฟน ที่รวดเร็วกว่าการจดบันทึก และยังสามารถส่งภาพพฤติกรรมสุกรภายในโรงเรือนให้สัตวบาลและสัตวแพทย์ ช่วยวิเคราะห์สุขภาพสุกรได้ทุกที่ทุกเวลา

ด้านกระบวนการแปรรูปเนื้อสุกร ซีพีเอฟนำเทคโนโลยี IoT มาใช้ ด้วยการติดตั้งกล้องอัจฉริยะ ทำงานร่วมกับระบบ  AI เพิ่มความแม่นยำในการวิเคราะห์อัตราส่วนระหว่างเนื้อแดงกับไขมันในชิ้นเนื้อ ทำให้สินค้าได้มาตรฐาน ตรงกับความต้องการของผู้บริโภค และสามารถตรวจสอบย้อนกลับมาได้ถึงฟาร์มเลี้ยงต้นทาง เพื่อพัฒนาคุณภาพการเลี้ยงให้ดียิ่งขึ้น ที่สำคัญการนำเทคโนโลยีมาปรับใช้ ตั้งแต่ฟาร์มสุกรซึ่งเป็นต้นน้ำ ทำให้สุกรมีความสุข หรือ Happy Pig ต่อเนื่องไปถึงกระบวนการแปรรูปปลายน้ำ ส่งผลให้ได้เนื้อสุกรที่มีคุณภาพ ปลอดโรค และปลอดภัยสำหรับผู้บริโภคทุกคน

"เค้กไข่ลาวา" จากฝีมือของน้องๆโรงเรียนบ้านโคกสูง จังหวัดนครราชสีมา

บริษัท เจริญโภคภัณฑ์อาหาร จำกัด (มหาชน) หรือซีพีเอฟ สานต่อโครงการ "ซีพีเอฟ ปลูก ปัน ป้อง ป่าชายเลน"

กลุ่มบริษัทซีพีเอฟ โดย บริษัท ซีพีเอฟ (ประเทศไทย) จำกัด (มหาชน) หรือ CPFTH ประสบความสำเร็จในการจัดทำเงินกู้ที่สนับสนุนความยั่งยืน (Sustainability-Linked Loan) วงเงินประมาณ 15,000 ล้านบาท ระยะเวลา 5 ปี เพื่อใช้เป็นเงินทุนหมุนเวียน และสนับสนุนกับการเติบโตทางเศรษฐกิจอย่างยั่งยืนของ CPFTH

บริษัท ซีพีเอฟ (ประเทศไทย) จำกัด (มหาชน) หรือ CPFTH ซึ่งเป็นบริษัทย่อยของ บริษัท เจริญโภคภัณฑ์อาหาร จำกัด (มหาชน) หรือ CPF ผู้ดำเนินธุรกิจเกษตรอุตสาหกรรมและอาหารประเภทสัตว์บกแบบครบวงจรในประเทศไทย  มีความมุ่งมั่นในการนำเสนอผลิตภัณฑ์ที่มีโภชนาการที่ดี มีคุณภาพและความปลอดภัยให้กับผู้บริโภค ด้วยกระบวนการผลิตที่ทันสมัยได้มาตรฐานระดับสากล บนพื้นฐานการสร้างการเติบโตทางธุรกิจอย่างยั่งยืนคำนึงถึงความสมดุลในมิติทางเศรษฐกิจ สังคมและสิ่งแวดล้อม

นายไพศาล จิระกิจเจริญ ประธานผู้บริหารฝ่ายการเงิน  ซีพีเอฟ กล่าวว่า บริษัทมีความยินดีที่การจัดทำเงินกู้ Sustainability Linked Loan ประสบความสำเร็จ ซึ่งเป็นไปตามกลยุทธ์ทางการเงินในการเข้าถึงแหล่งเงินทุนที่หลากหลาย และสะท้อนความมุ่งมั่นของกลุ่มบริษัทซีพีเอฟที่ให้ความสำคัญกับการเติบโตทางเศรษฐกิจอย่างยั่งยืน คำนึงถึงการกำกับดูแลกิจการที่ดี การบริหารความเสี่ยงอย่างมีประสิทธิภาพ ควบคู่กับการดำเนินงานอย่างมีความรับผิดชอบต่อสังคมและดูแลสิ่งแวดล้อมอย่างต่อเนื่อง

ธุรกรรมครั้งนี้ CPFTH ได้แต่งตั้ง Mizuho Bank, Ltd. เป็นผู้จัดการเงินกู้แต่เพียงผู้เดียว (Sole Mandated Arranger) รวมถึงเป็นผู้ประสานงานด้านดัชนีชี้วัดความยั่งยืน (Sustainability Coordinators)  เงินกู้ที่สนับสนุนความยั่งยืนชุดนี้วงเงินประมาณ 15,000 ล้านบาท ระยะเวลา 5 ปี การขอเงินสนับสนุนในครั้งนี้ เพื่อใช้เป็นเงินทุนหมุนเวียน และสนับสนุนกับการเติบโตอย่างยั่งยืนของ CPFTH ควบคู่กับสังคมและสิ่งแวดล้อม

เป้าหมายในเรื่องความยั่งยืนของเงินกู้นี้ ประกอบด้วย “การลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกโดยเพิ่มจำนวนผลิตภัณฑ์คาร์บอนต่ำ” และ “การเพิ่มสัดส่วนของพลังงานหมุนเวียนในการดำเนินงาน” ซึ่งทั้งสองเป้าหมายย่อยนี้จะช่วยขับเคลื่อน CPFTH และ CPF สู่การลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก และขับเคลื่อนสู่เป้าหมายการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกสุทธิเป็นศูนย์ (Net Zero) ภายในปี 2050

จัดหาข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ผ่านระบบตรวจสอบย้อนกลับ 100% ปราศจากการรุกป่า ไม่เผาตอซัง

X

Right Click

No right click