September 19, 2024

บริษัท ไอ-เทล คอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน) หรือ ITC รายงานผลการดำเนินธุรกิจประจำไตรมาสที่ 2 ปี 2567 มีรายได้จากยอดขายรวมที่ 4,567 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 41 เปอร์เซ็นต์ และมีกำไรสุทธิอยู่ที่  
1,009 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 127 เปอร์เซ็นต์ เมื่อเทียบกับปีก่อนหน้า ผลจากความต้องการสินค้าอาหารสัตว์เลี้ยงที่เพิ่มขึ้น   
การเพิ่มสัดส่วนการขายสินค้าพรีเมียมและการปรับราคา ทำให้ไอ-เทลมีอัตรากำไรขั้นต้นรายไตรมาสสูงสุดเป็นประวัติการณ์ที่ 30 เปอร์เซ็นต์ สะท้อนให้เห็นถึงการบริหารต้นทุนที่มีประสิทธิภาพและความสามารถในการทำกำไรของบริษัทฯ แม้ต้องเผชิญกับความท้าทายจากความผันผวนของสภาวะเศรษฐกิจและแรงกดดันจากการแข่งขันทั่วโลก 

นายพิชิตชัย วงศ์ปิยะ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท ไอ-เทล คอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน) กล่าวว่า “เราได้เห็นการฟื้นตัวของตลาดอาหารสัตว์เลี้ยงที่ปรับตัวดีขึ้นอย่างต่อเนื่องในหลายภูมิภาคทั่วโลก อย่างไรก็ตาม แรงกดดันจากสภาวะเศรษฐกิจยังคงส่งผลกระทบต่อการดำเนินธุรกิจของไอ-เทล และภาคอุตสาหกรรม แต่เรายังคงคาดหวังการเติบโตของยอดขายที่สูงขึ้นจากการเปิดตัวผลิตภัณฑ์ใหม่ๆ ของเราในช่วงเวลาหลังจากนี้  ยิ่งไปกว่านั้น บริษัทฯ ยังเดินหน้าตามแผนเชิงกลยุทธ์เพื่อเร่งสร้างการเปลี่ยนแปลงในเชิงบวกและการเติบโตอย่างก้าวกระโดด เพื่อบรรลุเป้าหมายการดำเนินธุรกิจ 
ในระยะยาวด้วยยอดขาย 1.5 พันล้านเหรียญสหรัฐ ภายในปี 2573” 

สำหรับผลการดำเนินธุรกิจช่วงครึ่งปีแรกของปี 2567 ไอ-เทล คอร์ปอเรชั่น มีรายได้จากยอดขายรวม 8,596 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 26 เปอร์เซ็นต์ และมีกำไรสุทธิอยู่ที่ 1,831 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 110 เปอร์เซ็นต์ จากช่วงเดียวกันของปีก่อน ทั้งนี้ บริษัทฯ  
ได้อนุมัติการจ่ายเงินปันผลระหว่างกาลที่ 0.40 บาทต่อหุ้น คิดเป็น 66 เปอร์เซ็นต์ของกำไรสุทธิของรอบครึ่งปีแรก ซึ่งจะจ่ายปันผลให้แก่ผู้ถือหุ้นในวันที่ 3 กันยายน 2567 และกำหนดรายชื่อผู้ถือหุ้นที่มีสิทธิได้รับเงินปันผลในวันที่ 20 สิงหาคม 2567 โดยเตรียมขึ้นเครื่องหมาย XD ในวันที่ 19 สิงหาคม 2567 

ในช่วงครึ่งปีแรก บริษัทฯ มีสัดส่วนของยอดขายในสหรัฐอเมริกาอยู่ที่ 49 เปอร์เซ็นต์ของรายได้ทั้งหมด ในขณะที่เอเชียและโอเชียเนียอยู่ที่ 34 เปอร์เซ็นต์และยุโรปอยู่ที่ 17 เปอร์เซ็นต์  โดยสามารถแบ่งสัดส่วนของยอดขายตามประเภทของ 
สินค้าหลัก 3 ประเภท ได้แก่ อาหารแมว 70 เปอร์เซ็นต์ อาหารสุนัข 15 เปอร์เซ็นต์ ขนมทานเล่นของสัตว์เลี้ยง 11 เปอร์เซ็นต์ และธุรกิจอื่นราว 2 เปอร์เซ็นต์ โดยบริษัทฯ ได้พัฒนาและออกผลิตภัณฑ์ใหม่กว่า 700 รายการ เพื่อรองรับความต้องการสินค้าที่เพิ่มขึ้น รวมถึงบริษัทฯ ยังคงให้ความสำคัญต่อการเจาะตลาดกลุ่มสินค้าตราห้าง (private label)  และกลุ่มธุรกิจ 
ค้าปลีกสินค้าเกี่ยวกับสัตว์เลี้ยงในสหรัฐฯ และอีกหลายประเทศในยุโรป  

บริษัทฯ ให้ความสำคัญต่อการตอบสนองต่อการเติบโตของเทรนด์ Pet Humanization ในประเทศไทย ผ่านการเปิดตัว 
แบรนด์พรีเซนเตอร์ให้กับแบรนด์อาหารสัตว์เลี้ยงของไอ-เทล ได้แก่ ‘เบลลอตต้า’ อาหารแมวสูตรพรีเมียม และอาหารแมวและสุนัขสูตรเป็นมิตรต่อไต ‘เชนจ์เตอร์’ เพื่อตอกย้ำจุดยืนและความสามารถด้านการดำเนินธุรกิจในการส่งมอบผลิตภัณฑ์อาหารสัตว์เลี้ยงที่มีความโดดเด่นด้วยรสชาติที่อร่อยถูกปากและเต็มเปี่ยมด้วยคุณค่าทางโภชนาการด้วยนวัตกรรมที่ก้าวล้ำจากเทคโนโลยีและกระบวนการผลิตที่เป็นมาตรฐานระดับโลก เพื่อรองรับความต้องการและครองใจบรรดา Pet Parents ในประเทศไทยอีกด้วย 

นอกจากนี้ ไอ-เทล คอร์ปอเรชั่น มีผลงานที่โดดเด่นในช่วงครึ่งปีแรก โดยหุ้น ITC ได้รับเลือกจากตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย (ตลท.) ให้เป็นหุ้นที่เข้าคำนวณดัชนี SET50 รอบครึ่งปีหลังของปี 2567 สะท้อนให้เห็นถึงพื้นฐานที่ดีและศักยภาพในการบริหารองค์กรและนโยบายด้านการเงินที่เข้มแข็ง การได้รับเลือกครั้งนี้จะช่วยสร้างความเชื่อมั่นต่อกลุ่มนักลงทุนทั้ง 
ในประเทศไทยและต่างประเทศ  

ท้ายที่สุดนี้ ในช่วงเดือนมิถุนายนที่ผ่านมา ศูนย์วิจัยอาหารแมว i-Cattery ภายใต้การดำเนินงานของบริษัทฯ  
ประสบความสำเร็จในการเป็นหน่วยงานเอกชนรายแรกในประเทศไทยและเป็นบริษัทอาหารสัตว์เลี้ยงเพียงรายเดียวของโลกที่ได้รับการรับรองมาตรฐานสากล Association for Assessment and Accreditation of Laboratory Animal Care (AAALAC) International ซึ่งเป็นเครื่องยืนยันว่าระบบปฏิบัติการของศูนย์วิจัยฯ มีความสอดคล้องและเป็นไปตามมาตรฐานสากล และมีการรับผิดชอบต่อสวัสดิภาพที่ดีของสัตว์เพื่องานทางวิทยาศาสตร์ที่ถูกต้องตามจรรยาบรรณ ส่งผลให้ข้อมูลและงานวิจัยของศูนย์วิจัยฯ มีคุณภาพและมีความถูกต้อง แม่นยำ และน่าเชื่อถือ 

“ผมมั่นใจว่ากลยุทธ์ในการเร่งสร้างการเปลี่ยนแปลงในเชิงบวกด้วยการจัดการองค์กรสู่ความเป็นเลิศควบคู่ไปกับการบริหารต้นทุนอย่างมีประสิทธิภาพ รวมถึงการนำเสนอนวัตกรรมที่ช่วยสร้างมูลค่าเพิ่มให้กับธุรกิจจะสามารถขับเคลื่อนไอ-เทลไปในทิศทางที่ถูกต้อง เพื่อรักษาผลการดำเนินงานให้อยู่ในระดับดีอย่างต่อเนื่องตลอดปี 2567 และสร้างการเติบโตที่มั่นคงและยั่งยืนนับจากนี้” นายพิชิตชัยกล่าวทิ้งท้าย

บริษัท ไทยยูเนี่ยน กรุ๊ป จำกัด (มหาชน) รายงานผลกำไรสุทธิในไตรมาสที่สองของปี 2567 ที่ระดับ 1,219 พันล้านบาท เพิ่มขึ้น 14.2 เปอร์เซ็นต์ เมื่อเทียบกับไตรมาสเดียวกันของปีก่อน โดยได้รับแรงหนุนจากการฟื้นตัวต่อเนื่องของกลุ่มธุรกิจอาหารกระป๋องอาหารสัตว์เลี้ยง และสินค้าเพิ่มมูลค่าและอื่น ๆ ขณะที่อัตราส่วนกำไรขั้นต้นปรับตัวขึ้นมาอยู่ที่ 18.5 เปอร์เซ็นต์ นับเป็นอัตราเติบโตสูงที่สุดอันดับสองในรอบ 3 ปี และทำยอดขายได้ถึง 35,283 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 3.6 เปอร์เซ็นต์ เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันปีก่อน โดยเฉพาะการเติบโตของกลุ่มอาหารสัตว์เลี้ยง ที่มียอดขายสูงถึง 40.6 เปอร์เซ็นต์ เช่นเดียวกันกับอัตราส่วนกำไรขั้นต้นที่ขยายตัวแตะ 31.3 เปอร์เซ็นต์ นอกจากนี้ ยังเดินหน้าจ่ายปันผลต่อเนื่อง ตอกย้ำสถานะทางการเงินแข็งแกร่งของบริษัท 

 นายธีรพงศ์ จันศิริ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท ไทยยูเนี่ยน กรุ๊ป กล่าวว่า ภาพรวมธุรกิจไทยยูเนี่ยนในไตรมาสสองปี 2567 ยังคงขยายตัวดีอย่างต่อเนื่อง โดยสามารถทำยอดขายได้ดีถึง 35,283 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 3.6 เปอร์เซ็นต์ เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันปีก่อน ขณะที่อัตราส่วนกำไรขั้นต้นของบริษัท ขึ้นมาแตะที่ระดับ 18.5 เปอร์เซ็นต์ ซึ่งเป็นตัวเลขอัตราการเติบโตสูงสุดเป็นอันดับสองในรอบ 3 ปี ซึ่งปัจจัยสนับสนุนการฟื้นตัวในไตรมาสนี้มาจากกลุ่มธุรกิจอาหารสัตว์เลี้ยง ที่นำกลยุทธ์เพิ่มสัดส่วนการขายสินค้าพรีเมียมและการปรับปรุงราคาสินค้า และการปรับปรุงประสิทธิภาพของกลุ่มธุรกิจสินค้ามูลค่าเพิ่มและธุรกิจอื่น ๆ รวมถึง การปรับโครงสร้างทางกลุ่มธุรกิจอาหารทะเลแช่แข็งให้คงเฉพาะธุรกิจหลักที่สร้างรายได้และผลกำไร  

ขณะที่อัตราส่วนหนี้สินต่อทุนอยู่ในเกณฑ์ที่ดี 0.82 เท่า ณ สิ้นไตรมาสสองปี 2567 ซึ่งดีกว่าเกณฑ์ของทั่วไปที่กำหนดไว้ 1.0 – 1.1 เท่า นอกจากนี้ บริษัทยังประกาศจ่ายเงินปันผลระหว่างกาลสำหรับงวดครึ่งปีแรก 2567 ในอัตราหุ้นละ 0.31 บาท คิดเป็นอัตราการจ่ายเงินปันผล 59 เปอร์เซ็นต์ โดยบริษัทได้กำหนดวันกำหนดรายชื่อผู้ถือหุ้นที่มีสิทธิรับเงินปันผลในวันที่ 22 สิงหาคม 2567 และมีกำหนดจ่ายเงินปันผลในวันที่ 4 กันยายน 2567 สะท้อนให้เห็นถึงสถานะทางการเงินที่แข็งแกร่งของบริษัท 

ไทยยูเนี่ยนได้แสดงให้เห็นว่าเราสามารถรับมือและปรับตัวให้เข้ากับสถานการณ์ทางเศรษฐกิจที่ท้าทายตั้งแต่ปี 2566 ได้อย่างรวดเร็ว และการที่บริษัทให้ความสำคัญกับธุรกิจหลักมากขึ้นจึงทำให้กลุ่มธุรกิจอาหารกระป๋อง กลุ่มธุรกิจอาหารสัตว์เลี้ยง และกลุ่มธุรกิจสินค้าเพิ่มมูลค่าและอื่น ๆ ฟื้นตัวดีขึ้น จนสามารถขับเคลื่อนการเติบโตทางธุรกิจจากไตรมาสแรกได้เป็นอย่างดี ส่งผลให้บริษัทมีผลการดำเนินงานที่แข็งแกร่ง มั่นคง พร้อมก้าวสู่การเติบโตอย่างยั่งยืนในที่สุด นายธีรพงศ์ กล่าว  

สำหรับผลประกอบการตามกลุ่มธุรกิจในไตรมาสสอง พบว่า กลุ่มธุรกิจอาหารกระป๋อง มียอดขายอยู่ที่ 17,376 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 1.4 เปอร์เซ็นต์ เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันปีก่อน จากความต้องการที่เพิ่มขึ้นในสหรัฐอเมริกา แคนาดา และตะวันออกกลาง ขณะที่อัตราส่วนกำไรขั้นต้นอยู่ที่ 18.9 เปอร์เซ็นต์ เนื่องจากต้นทุนวัตถุดิบที่มีอยู่ในสต็อกต่ำลง และราคาทูน่าที่ปรับตัวสูงขึ้น กลุ่มธุรกิจอาหารสัตว์เลี้ยง มียอดขายอยู่ที่ 4,456 ล้านบาท เพิ่มขึ้นสูงถึง 40.6 เปอร์เซ็นต์ เมื่อเทียบกับไตรมาสที่สองของปีที่ผ่านมา โดยได้ปัจจัยสนับสนุนจากกลยุทธ์เพิ่มสัดส่วนการขายสินค้าพรีเมียม การปรับปรุงราคาสินค้า รวมถึง ปริมาณความต้องการสินค้าในตลาดยุโรปและสหรัฐอเมริกาที่ดีต่อเนื่อง ทำให้ในไตรมาสนี้กลุ่มอาหารสัตว์เลี้ยงมีอัตรากำไรขั้นต้นขยายตัวสูงสุดเป็นประวัติการณ์ที่ 31.3 เปอร์เซ็นต์  

ขณะที่กลุ่มธุรกิจสินค้ามูลค่าเพิ่มและธุรกิจอื่น ๆ สามารถขับเคลื่อนยอดขายในไตรมาสที่สองได้ 2,609 ล้านบาท เพิ่มขึ้นถึง 15.5 เปอร์เซ็นต์ คิดเป็นอัตราส่วนกำไรขั้นต้นถึง 26.5 เปอร์เซ็นต์ เมื่อเทียบกับไตรมาสเดียวกันปีก่อน อย่างไรก็ดี กลุ่มธุรกิจอาหารทะเลแช่แข็ง ยอดขายอยู่ที่ 10,842 ล้านบาท โดยปรับตัวลดลงราว 5.7 เปอร์เซ็นต์ เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันปีก่อน เนื่องจากปริมาณความต้องการที่ลดลงในสหรัฐอเมริกา แต่เมื่อพิจารณาอัตราส่วนกำไรขั้นต้นของกลุ่มธุรกิจอาหารทะเลแช่แข็งพบว่ามีการฟื้นตัว 10.7 เปอร์เซ็นต์ เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันปีก่อน เนื่องจากราคาต้นทุนวัตถุดิบที่ลดลงและธุรกิจอาหารสัตว์น้ำอาหารสัตว์เศรษฐกิจมีการปรับปรุงโครงสร้างมุ่งสร้างประสิทธิภาพในการดำเนินธุรกิจได้ดีขึ้นต่อเนื่อง 

 

ทั้งนี้ สัดส่วนยอดขายของไทยยูเนี่ยนตามภูมิภาค มาจากประเทศสหรัฐอเมริกาและแคนาดา คิดเป็นอัตรา 40.0 เปอร์เซ็นต์ของรายได้รวมทั้งหมด รองลงมาเป็น ยุโรป 32.3 เปอร์เซ็นต์ ไทย 10.3 เปอร์เซ็นต์ และ อื่นๆ อีก 17.3 เปอร์เซ็นต์ 

นอกจากนี้ ในครึ่งแรกของปี 2567 บริษัทยังประสบความสำเร็จในโครงการซื้อหุ้นคืนเพื่อบริหารทางการเงิน จำนวน 200 ล้านหุ้นเป็นที่เรียบร้อย พร้อมทั้งดำเนินการจดทะเบียนลดทุนจากการตัดหุ้นที่ซื้อคืนและจำหน่ายไม่ได้ในโครงการดังกล่าวที่เกิดขึ้นเมื่อปี 2566 ได้แล้วเสร็จเมื่อวันที่ 25 กรกฏาคม 2567 ทั้งนี้ เพื่อแสดงสถานะทางการเงินที่แข็งแกร่งของบริษัทสร้างความมั่นใจให้แก่ผู้ถือหุ้น รวมถึงช่วยเพิ่มกำไรต่อหุ้นให้ดีขึ้น  

นอกจากนี้ ไทยยูเนี่ยนยังมีได้รับปัจจัยบวกจากการที่บริษัท ไอ-เทล คอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน) หรือ ITC ได้รับการคัดเลือกให้เป็น 1 ใน 50 บริษัทในดัชนี SET 50 ของตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย (ตลท.) เป็นครั้งแรก นับตั้งแต่เข้าจดทะเบียนเมื่อเดือนธันวาคม 2565 และยังเป็นบริษัทใหม่เพียงรายเดียวจากกลุ่มอุตสาหกรรมอาหารและเครื่องดื่มในดัชนีดังกล่าวอีกด้วย 

ขณะเดียวกัน บริษัทยังคงเดินหน้าวิจัยและพัฒนานวัตกรรมใหม่ ๆ ต่อเนื่อง เพราะเป็นกุญแจสำคัญต่อการเติบโตในระยะยาวของธุรกิจ โดยในไตรมาสที่ผ่านมาแบรนด์ จอห์น เวสต์ (John West) ของไทยยูเนี่ยนประกาศเปิดตัว ECOTWIST® ซึ่งเป็นบรรจุภัณฑ์ที่ปฏิวัติวงการออกแบบ เพื่อให้ใช้งานง่าย ใส่ใจสิ่งแวดล้อมอย่างยั่งยืน และลดจำนวนขยะบรรจุภัณฑ์ให้มากที่สุด โดย ECOTWIST® เป็นการเดินหน้าสร้างนวัตกรรมบรรจุภัณฑ์ครั้งใหญ่สำหรับกลุ่มผลิตภัณฑ์ปลาทูน่ากระป๋องของ สหราชอาณาจักร ในช่วง 20 ปีที่ผ่านมา 

เพราะความยั่งยืนนับเป็นหัวใจสำคัญในการดำเนินธุรกิจของไทยยูเนี่ยนมาโดยตลอด ทำให้บริษัทเดินหน้าทำกิจกรรมอย่างต่อเนื่อง โดยในวันมหาสมุทรโลกที่ผ่านมา อาสาสมัครไทยยูเนี่ยนได้ร่วมกันเก็บขยะทะเลในชุมชนท้องถิ่นในประเทศไทย สหรัฐอเมริกา แอฟริกา และยุโรป นอกจากนี้ ไทยยูเนี่ยนยังได้รับการคัดเลือกให้เป็นสมาชิกของดัชนี FTSE4Good Emerging Index เป็นปีที่ 9 ติดต่อกัน พร้อมออกรายงานความยั่งยืนประจำปี 2566 เพื่อรายงานถึงความก้าวหน้าในการดำเนินงานตามกลยุทธ์ SeaChange® 2030 ของไทยยูเนี่ยนอีกด้วย 

ผมมั่นใจว่าแผนยุทธศาสตร์องค์กรเพื่อมุ่งสู่ปี 2573 จะช่วยเตรียมความพร้อม สร้างนวัตกรรม เพื่อการเติบโตอย่างยั่งยืนในระยะยาว ให้เราสามารถดูแลสุขภาพที่ดีของผู้คน สัตว์เลี้ยง ควบคู่กับการดูแลโลกใบนี้ และสามารถบรรลุเป้าหมายในการเป็นผู้นำการเปลี่ยนแปลงเชิงบวกด้านสุขภาพและโภชนาการเพื่อความอุดมสมบูรณ์ของท้องทะเลอย่างยั่งยืน” นายธีรพงศ์ กล่าว 

 

นายเติมพงษ์  เหมาะสุวรรณ  รองกรรมการผู้จัดการอาวุโส กลุ่มงานบัญชีและการเงิน บริษัท ยูนิค เอ็นจิเนียริ่ง แอนด์ คอนสตรัคชั่น จำกัด (มหาชน) หรือ UNIQ บริษัทรับเหมาก่อสร้างชั้นนำของไทย เปิดเผยว่า บริษัทฯ เตรียมออกและเสนอขายหุ้นกู้ชนิดระบุชื่อผู้ถือ ประเภทไม่ด้อยสิทธิ ไม่มีประกัน และมีผู้แทนผู้ถือหุ้นกู้ อายุ 3 ปี อัตราดอกเบี้ยอยู่ระหว่าง [5.25-5.50]% ต่อปี โดยจะประกาศอัตราดอกเบี้ยที่แน่นอนอีกครั้ง คาดว่าจะเสนอขายในระหว่างวันที่ 2-4 กันยายน 2567 ให้แก่ผู้ลงทุนทั่วไป ผ่านสถาบันการเงินที่ได้รับการแต่งตั้งเป็นผู้จัดการการจัดจำหน่ายหุ้นกู้ 5 แห่ง ได้แก่ ธนาคารกรุงไทย จำกัด (มหาชน) บริษัทหลักทรัพย์ กรุงไทย เอ็กซ์สปริง จำกัด บริษัทหลักทรัพย์ บลูเบลล์ จำกัด  บริษัทหลักทรัพย์ เอเซีย พลัส จำกัด และ บริษัทหลักทรัพย์ หยวนต้า (ประเทศไทย) จำกัด  

หุ้นกู้ที่จะเสนอขายครั้งนี้ได้รับการจัดอันดับความน่าเชื่อถือจากบริษัท ทริสเรทติ้ง จำกัด เมื่อวันที่ 14 มิถุนายน 2567 ที่ระดับ BBB- ซึ่งเป็น “ระดับลงทุน” (Investment grade) ขณะที่อันดับความน่าเชื่อถือองค์กรอยู่ที่ BBB โดยทริสเรทติ้ง ระบุว่า อันดับเครดิตดังกล่าวสะท้อนขีดความสามารถในการแข่งขันของบริษัทฯ ในการรับงานก่อสร้างโครงการโครงสร้างพื้นฐานภาครัฐขนาดใหญ่และมีมูลค่างานในมือ (Backlog) จำนวนมาก โดยในช่วง 3 เดือนแรกของปี 2567 บริษัทฯ มีรายได้ประมาณ 2.6 พันล้านบาท ซึ่งเป็นไปตามประมาณการของทริสเรทติ้ง ขณะที่ความสามารถในการทำกำไรของบริษัทฯ ในช่วง 3 เดือนแรกของปี 2567 ดีกว่าประมาณการของทริสเรทติ้งด้วย EBITDA (กำไรก่อนหักดอกเบี้ย ภาษี ค่าเสื่อมและค่าตัดจำหน่าย) จำนวน 590 ล้านบาท หรือ EBITDA Margin ที่ 23% สะท้อนถึงการควบคุมต้นทุนที่ดีขึ้นและต้นทุนวัสดุก่อสร้างที่ลดลง  สอดคล้องกับผลการดำเนินงานไตรมาสแรก (มกราคมถึงมีนาคม) ปี 2567 ของบริษัทฯ ซึ่งมีกำไรสุทธิ 34.09 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากช่วงเดียวกันของปี 2566 ถึง 133.41% โดยมีปัจจัยสนับสนุนจากการที่บริษัทฯ มีโครงการที่มีลักษณะการทำงานคล้ายๆ กัน ทำให้การบริหารรวมถึงการใช้เครื่องจักรเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น และการซื้อวัสดุก่อสร้างในปริมาณมากๆ ทำให้บริษัทฯ มีขีดความสามารถในการจัดซื้อวัสดุก่อสร้างในราคาที่ลดลงได้ 

UNIQ เป็นผู้ประกอบการธุรกิจรับเหมาก่อสร้างชั้นนำของไทย ที่มุ่งเน้นงานสาธารณูปโภคขนาดกลางและขนาดใหญ่ เช่น สถานีกลางบางซื่อ ของการรถไฟแห่งประเทศไทย ที่ต้องอาศัยความเชี่ยวชาญในด้านบริหารการจัดการและการเลือกใช้เทคโนโลยีระดับสูงให้เหมาะสม และยังเป็นผู้เชี่ยวชาญงานก่อสร้างสะพานโครงสร้างเหล็กและสะพานโครงสร้างคอนกรีตเสริมเหล็ก งานก่อสร้างอุโมงค์รถยนต์ลอดใต้ทางแยก งานก่อสร้างทางพื้นคอนกรีตเสริมเหล็กและแอลฟัลท์ติกคอนกรีต งานระบบสาธารณูปโภคใต้ดิน ทั้งไฟฟ้า ประปา และโทรศัพท์ รวมถึงงานในโครงการรับเหมาก่อสร้างที่มีขนาดใหญ่มูลค่าโครงการสูง หรือเป็นโครงการที่ต้องอาศัยความชำนาญหรือเทคโนโลยีเฉพาะด้าน   

ลูกค้าของบริษัทฯ ส่วนใหญ่เป็นหน่วยงานภาครัฐหรือรัฐวิสาหกิจ เช่น กรมทางหลวง การไฟฟ้านครหลวง การทางพิเศษแห่งประเทศไทย การรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย บมจ.ท่าอากาศยานไทย การรถไฟแห่งประเทศไทย เป็นต้น ทำให้ความเสี่ยงในการไม่ได้รับชำระเงินอยู่ในระดับต่ำ เนื่องจากงานของบริษัทฯ ได้รับการยอมรับอย่างกว้างขวางถึงคุณภาพและการบริหารโครงการที่มีประสิทธิภาพสูง ทำให้มีโอกาสรับงานจากภาครัฐอย่างต่อเนื่อง โดยเฉพาะในช่วงเวลาที่ภาครัฐจะต้องเร่งเบิกจ่ายงบประมาณเพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจ ก็จะยิ่งส่งผลดีต่อบริษัทฯ 

ล่าสุด กิจการร่วมค้ายูเอ็น-ซีซี ซึ่งประกอบด้วย บมจ. ยูนิค เอ็นจิเนียริ่ง แอนด์ คอนสตรัคชั่น และ บริษัท ซีวิล คอนสตรัคชั่น เซอร์วิสเซส แอนด์ โปรดักส์ จำกัด ได้ลงนามในสัญญาจ้างก่อสร้าง กับการไฟฟ้านครหลวง (กฟน.) สำหรับการจ้างงานก่อสร้างบ่อพักและท่อร้อยสายไฟฟ้าใต้ดิน พร้อมโครงการก่อสร้างทางพิเศษสายพระราม 3 – ดาวคะนอง - วงแหวนรอบนอก กรุงเทพมหานครด้านตะวันตก สัญญา 1 ของการทางพิเศษแห่งประเทศไทย มูลค่า 383.916 ล้านบาท โดยเป็นมูลค่าสัดส่วนงานของ UNIQ จำนวน  322.489 ล้านบาท หรือคิดเป็น 84% ของมูลค่ารวม ส่งผลให้งานในมือ (Backlog) ของบริษัทฯ ณ วันที่ 31 มีนาคม 2567 อยู่ที่ 49,574.45  ล้านบาท ซึ่งสามารถทยอยรับรู้รายได้จนถึงปี 2571   

“เราเชื่อว่า หุ้นกู้ UNIQ จะยังคงเป็นทางเลือกที่น่าสนใจของผู้ลงทุน และจะได้รับการตอบรับจากผู้ลงทุนเป็นอย่างดีเหมือนทุกครั้งที่ผ่านมา โดยเฉพาะเมื่อพิจารณาจากศักยภาพและโอกาสในการเติบโตของบริษัทฯ ที่สามารถรับงานโครงการใหญ่ได้อย่างต่อเนื่อง สะท้อนให้เห็นโอกาสในการขยายงานโครงสร้างพื้นฐานขนาดใหญ่ของยูนิค ในฐานะบริษัทรับเหมาก่อสร้างชั้นนำของประเทศ” นายเติมพงษ์กล่าว 

ผู้ลงทุนที่สนใจหุ้นกู้ UNIQ สามารถศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ www.sec.or.th หรือติดต่อสถาบันการเงินที่ได้รับแต่งตั้งเป็นผู้จัดการการจัดจำหน่ายหุ้นกู้ ดังนี้ 

ซีพี ออลล์” ผู้บริหารร้านเซเว่น อีเลฟเว่น  เซเว่น เดลิเวอรี่ และผู้ถือหุ้นใหญ่ บริษัท ซีพี  แอ็กซ์ตร้า จำกัด (มหาชน) เตรียมออกหุ้นกู้เสนอขายแก่ประชาชนเป็นการทั่วไป จำนวน 4 ชุด อายุหุ้นกู้ตั้งแต่ 4 ปี 4 วัน ถึง 10 ปี อัตราดอกเบี้ยคงที่ระหว่าง [3.05 – 3.98]% ต่อปี

โดยหุ้นกู้ที่เสนอขายครั้งนี้ได้รับการปรับเพิ่มอันดับความน่าเชื่อถืออยู่ที่ระดับ “AA-” แนวโน้ม “คงที่” (Stable) จากทริสเรทติ้ง สะท้อนถึงสถานะทางการเงินที่แข็งแกร่งขึ้นของบริษัท ทั้งจากระดับกำไรที่ปรับตัวดีขึ้นและอัตราส่วนหนี้สินทางการเงินที่ลดลง คาดว่าเปิดให้จองซื้อระหว่างวันที่ 19 - 21 สิงหาคม 2567 ผ่านสถาบันการเงินชั้นนำ 4 แห่ง รวมถึงขายผ่านแอปพลิเคชั่น TrueMoney Wallet พร้อมเตือนนักลงทุนให้ระมัดระวังมิจฉาชีพหลอกลงทุน 

นายเกรียงชัย บุญโพธิ์อภิชาติ Chief Financial Officer บริษัท ซีพี ออลล์ จำกัด (มหาชน) เปิดเผยว่า “ซีพี ออลล์” เตรียมพร้อมที่จะเสนอขายหุ้นกู้ไม่ด้อยสิทธิ ไม่มีประกัน และมีผู้แทนผู้ถือหุ้นกู้ ให้แก่ประชาชนเป็นการทั่วไป จำนวน 4 ชุด ประกอบด้วย  

หุ้นกู้ชุดที่ 1 

อายุ 4 ปี 4 วัน อัตราดอกเบี้ย [3.05 – 3.25]% ต่อปี 

หุ้นกู้ชุดที่ 2 

อายุ 5 ปี อัตราดอกเบี้ย [3.20 – 3.45]% ต่อปี 

หุ้นกู้ชุดที่ 3 

อายุ 8 ปี อัตราดอกเบี้ย [3.55 – 3.75]% ต่อปี 

หุ้นกู้ชุดที่ 4 

อายุ 10 ปี อัตราดอกเบี้ย [3.75 – 3.98]% ต่อปี 

อัตราดอกเบี้ยสุดท้ายจะประกาศให้ทราบอีกครั้ง คาดว่าจะเสนอขายระหว่างวันที่ 19 - 21 สิงหาคม 2567 ผ่านสถาบันการเงินชั้นนำ 4 แห่ง ที่ได้รับการแต่งตั้งเป็นผู้จัดการการจัดจำหน่ายหุ้นกู้ ได้แก่ ธนาคารกรุงเทพ ธนาคารกรุงไทย ธนาคารกสิกรไทย และธนาคารไทยพาณิชย์ รวมทั้งเสนอขายผ่านแอปพลิเคชั่น TrueMoney Wallet  

เมื่อวันที่ 5 กรกฎาคม 2567 ทริสเรทติ้งปรับเพิ่มอันดับเครดิตองค์กร รวมถึงหุ้นกู้ที่จะเสนอขายครั้งนี้ มาอยู่ที่ระดับ “AA-” แนวโน้มอันดับเครดิตเป็น “คงที่” (Stable) จากระดับ “A+” สะท้อนถึงสถานะการเงินที่แข็งแกร่งขึ้น มีระดับกำไรที่ปรับตัวดีขึ้น และอัตราส่วนหนี้สินทางการเงินที่ลดลง นอกจากนั้น ยังแสดงให้เห็นถึงการเติบโตของธุรกิจอย่างต่อเนื่อง จากการมีสาขาที่ครอบคลุมทั่วประเทศ และมีธุรกิจสนับสนุนที่เข้มแข็ง รวมถึงแพลตฟอร์มออนไลน์ที่ประสบความสำเร็จ  

“ซีพี ออลล์” เป็นที่รู้จักของประชาชนในวงกว้างด้วยแบรนด์ร้าน  “เซเว่น อีเลฟเว่น” ผู้ให้บริการความสะดวกกับทุกชุมชน โดยบริษัทฯ ยังคงกลยุทธ์การเป็นจุดหมายปลายทางของอาหารและเครื่องดื่ม (Food & Drink Destination) เพื่อให้ลูกค้าได้มีโอกาสเข้าถึงสินค้ากลุ่มอาหารและเครื่องดื่ม ภายใต้สโลแกน “หิวเมื่อไหร่ก็แวะมา” และ “หิวเมื่อไหร่ก็สั่งเลย” โดยมีแผนงานที่จะพัฒนาช่องทางการจำหน่ายสินค้าและบริการ แบบ O2O เชื่อมโยงช่องทางออนไลน์และออฟไลน์แบบไร้รอยต่อ ผ่านบริการ 7-Delivery ส่งตรงถึงบ้าน นอกจากนี้ ยังมีแนวทางการขยายสาขาและสร้าง “เสน่ห์ร้าน” ให้สอดคล้องกับพฤติกรรมและความต้องการของลูกค้าในแต่ละพื้นที่ เพื่อสร้างประสบการณ์ที่เหนือความคาดหมายให้กับลูกค้า (Beyond Customer Experience) โดยมุ่งกระจายตัวให้เข้าถึงทุกชุมชน  ทั้งนี้ ณ ไตรมาส 1 ปี 2567 มีจำนวนร้านสาขารวม 14,730 สาขาทั่วประเทศ และยังคงมีการขยายเครือข่ายร้านสาขาต่อเนื่องไปตามการขยายตัวของชุมชน โครงสร้างพื้นฐานต่างๆ แหล่งท่องเที่ยวและทำเลที่มีศักยภาพอื่นๆ เพื่ออำนวยความสะดวกและเข้าถึงความต้องการของลูกค้าให้ได้มากที่สุด โดยบริษัทวางแผนที่จะลงทุนเปิดสาขาในประเทศไทยอีกประมาณปีละ 700 สาขา นอกจากนี้ การขยายธุรกิจไปยังประเทศกัมพูชา และสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชน (สปป.) ลาว ยังได้รับการตอบรับเป็นอย่างดีจากลูกค้าในต่างประเทศ โดยบริษัทมีแผนที่จะเปิดสาขาเพิ่มเติมตามศักยภาพของแต่ละประเทศ  

ผลการดำเนินงานของบริษัทฯ ในไตรมาส 1 ปี 2567 ที่ผ่านมา  บริษัทฯ มีรายได้รวม 241,307 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 9% จากไตรมาสเดียวกันของปีก่อน และกำไรสุทธิ 6,319 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 53% จากไตรมาสเดียวกันของปีก่อน แสดงให้เห็นถึงความสำเร็จในกลยุทธ์ด้านสินค้าที่สามารถตอบโจทย์ได้ตรงกับความต้องการของลูกค้าที่หลากหลาย ขณะที่บริษัทฯ ยังคงดำเนินตามกลยุทธ์ของบริษัทฯ ภายใต้สโลแกน “สะดวกครบ จบที่เดียว (All Convenience)” ทั้งในเรื่องของสินค้าอาหารและเครื่องดื่ม รวมถึงการเป็นศูนย์บริการด้านสุขภาพและความงามของชุมชน ซึ่งสอดรับกับการบริโภคภายในประเทศที่ฟื้นตัว จำนวนนักท่องเที่ยวที่กลับมา และกิจกรรมทางเศรษฐกิจต่างๆที่เพิ่มมากขึ้น  ด้วยความมุ่งมั่นที่จะเป็น กลไกที่ช่วยขับเคลื่อนเศรษฐกิจไทย ตลอดทั้งเศรษฐกิจของประเทศที่เข้าไปดำเนินธุรกิจให้ทุกภาคส่วนที่เกี่ยวข้องพร้อมเติบโตอย่างยั่งยืน ด้วยหลักการ ของการเป็น “เพื่อนที่รู้ใจ” ใกล้ทุกชุมชน และ เป็น “เพื่อนบ้าน” ที่พึ่งพาได้ 

ขณะเดียวกัน บริษัทฯ ยังได้รับเลือกให้เป็นสมาชิก FTSE4Good Index ติดต่อกันเป็นปีที่ 6, เป็นสมาชิก DJSI ในกลุ่มดัชนี DJSI Emerging Markets ต่อเนื่องเป็นปีที่ 7, กลุ่มดัชนี DJSI World ต่อเนื่องเป็นปีที่ 6 อีกทั้งได้รับการจัดอันดับด้านการกำกับดูแลกิจการจาก IOD ในระดับดีเลิศ ต่อเนื่องเป็นปีที่ 4 สะท้อนถึงศักยภาพของ “ซีพี ออลล์”  ที่สามารถสร้างผลตอบแทนอย่างยั่งยืน เป็นธุรกิจที่มีผลิตภัณฑ์และกระบวนการผลิตที่ดีต่อสิ่งแวดล้อมและสังคม และเป็นธุรกิจที่มีความรับผิดชอบต่อสังคม ทั้งนี้ในปี 2567 บริษัทฯ ได้กำหนดนโยบายด้านความยั่งยืนองค์กร  “2ลด 4สร้าง 1DNA” เพื่อยึดมั่นเป็นองค์กรที่อยู่เคียงคู่ชุมชน สร้างสรรค์สังคมยั่งยืน ผ่านแนวคิด ESG ครอบคลุมด้านสิ่งแวดล้อม (Environmental) สังคม (Social) และธรรมาภิบาล (Governance) โดย “2 ลด” จะเน้นลดการใช้พลาสติกแบบใช้ครั้งเดียวทิ้ง และ ลดการใช้พลังงาน เป็นแกนขับเคลื่อนด้านการดูแลสิ่งแวดล้อม,  “4 สร้าง” เพื่อบรรลุเป้าหมายด้านสังคม (Social)  ได้แก่ สร้างคน สร้างงาน สร้างอาชีพ สร้างชุมชนอุ่นใจ และ “1 DNA” เพื่อบรรลุเป้าหมายด้านธรรมาภิบาล (Governance) โดยรวมพลังพนักงานกว่า 250,000 คน ขับเคลื่อน “DNA ความดี 24 ชั่วโมง”  

 

หลังหุ้นกู้ WEH ครั้งที่ 1/2567 เสนอขายวันแรก ได้รับกาตอบรับจากนักลงทุนสถาบันและผู้ลงทุนรายใหญ่เป็นจำนวนมาก จากความเชื่อมั่นในการเป็นผู้นำธุรกิจพลังงานลมที่มีกำลังการผลิตติดตั้งมากที่สุดในประเทศไทย โดยหุ้นกู้ครั้งนี้มีอายุ 2 ปี อัตราดอกเบี้ยคงที่ 6.75% ต่อปี จ่ายดอกเบี้ยทุก 3 เดือน ตลอดอายุหุ้นกู้ มูลค่าเสนอขายไม่เกิน 400 ล้านบาท และ มีหุ้นกู้สำรองเพื่อเสนอขายเพิ่มเติมมูลค่ารวมไม่เกิน 100 ล้านบาท มูลค่ารวมทั้งสิ้นไม่เกิน 500 ล้านบาท เพื่อนำเงินที่ได้ไปทุนเตรียมขยายิจการ และลงทุนพัฒนาโครงการใหม่ รวมถึงใช้เปนเงินทุนหมุนเวียน โดยมีเป้าหมายขยายกำลังการผลิตจาก 717 เมกะวัตต์ เป็น 1,500 เมกะวัตต์ ภายใน 5ปี สามารถจองซื้อได้ถึงวันที่ 15 ก.ค. 67 ผ่านบล. BYD, DAOL, GBS, MST, PST, PI, TRINITY และ UOBKH 

X

Right Click

No right click