×

Warning

JUser: :_load: Unable to load user with ID: 6855

สินทรัพย์ดิจิทัล :เครื่องมือการชำระเงินแบบใหม่ในโลกธุรกรรมข้ามพรมแดน

July 23, 2022 1879

ปี 2021 เป็นปีที่สกุลเงินคริปโตและสินทรัพย์ดิจิทัลผ่านจุดเปลี่ยน ซึ่งเราไม่สามารถปฏิเสธกรณีของการใช้งานที่เพิ่มขึ้นและความสนใจในเทคโนโลยีได้อีกต่อไป (ซึ่งเป็นแนวโน้มที่ดูเหมือนว่าจะได้รับโมเมนตัมในปี 2022) นับตั้งแต่เชนร้าน อาหารและเครื่องดื่มรายใหญ่อย่างสตาร์บัค (Starbucks) บริษัทเทคโนโลยีอย่าง ทวิช (Twitch) และไมโครซอฟท์  (Microsoft) เราได้เห็นองค์กรต่างๆ เปิดใจยอมรับการชำระเงินคริปโตเพิ่มขึ้น ในไตรมาสแรกของปีงบประมาณ 2022 ข้อมูลบริษัทบัตรเครดิตวีซ่าสำหรับกระเป๋าเงินคริปโตมีปริมาณการชำระเงินมากกว่า 2.5 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ ซึ่งเทียบเท่ากับ 70% ของปริมาณการชำระเงินสำหรับปีงบประมาณทั้งหมดในปี 2021[1]

การที่สินทรัพย์ดิจิทัลเป็นช่องทางเลือกหนึ่งของการชำระเงินนับเป็นเรื่องที่น่าตื่นเต้นไปทั่วโลก (แต่ก็เป็นสิ่งหนึ่งที่หน่วยงานกำกับดูแลทางการเงินวางแนวทางการควบคุมอย่างระมัดระวังด้วยเช่นเดียวกัน) ตัวอย่างเช่น ในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก หน่วยงานกำกับดูแลในประเทศไทยได้สั่งห้ามการใช้สินทรัพย์ดิจิทัลเพื่อชำระค่าสินค้าและบริการ เนื่องจากความกังวลต่อความปลอดภัยและความมั่นคงของระบบการชำระเงินของประเทศด้วยการรับรู้ถึงบทบาทของสินทรัพย์ดิจิทัลในระบบการเงินโลกที่แข็งแกร่ง ส่งผลให้ธนาคารแห่งประเทศไทย ระดมข้อ คิดเห็นและข้อเสนอแนะเกี่ยวกับวิธีการใช้สินทรัพย์ดิจิทัลเพื่อปรับปรุงระบบการชำระเงินและสร้างสรรค์นวัตกรรมทางการเงิน (FinTech) ภายในประเทศ 

วิสัยทัศน์ของสินทรัพย์ดิจิทัลได้ก้าวไปไกลกว่าการเป็นเครื่องมือที่ใช้ในการชำระเงินทั่วไป (means of payment) ที่ใช้สำหรับการชำระเงินในร้านค้าหรือการชำระเงินค่าสินค้ารายย่อย อีกทั้งยังได้ปฏิวัติรูปแบบการชำระเงินข้ามพรมแดนในฐานะเครื่องมือการชำระบัญชี (means of settlement) ด้วยเช่นกัน 

การปรับโครงสร้างสินทรัพย์ดิจิทัลเป็นเครื่องมือการชำระบัญชี

เป็นที่ทราบกันดีว่า การชำระเงินข้ามพรมแดนนั้นมีค่าใช้จ่ายสูง เต็มไปด้วยความยุ่งยากหลายขั้นตอน และมีความล่าช้า ในแต่ละปีทั่วโลกมีต้นทุนการทำธุรกรรมสูงถึง 120,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐ เพื่ออำนวยความสะดวกในการทำธุรกรรมระหว่างประเทศเมื่อพิจารณาเฉพาะภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก  แต่ละประเทศก็มีโครงสร้างพื้นฐานการชำระเงินสกุลเงินท้องถิ่น และลำดับความสำคัญทางเศรษฐกิจของตนเองที่แตกต่างกัน ด้วยเหตุนี้ภูมิทัศน์การชำระเงินของภูมิภาคนี้จึงยังคงมีการแยกส่วนจากกันอย่างมาก ส่งผลให้เกิดธุรกรรมข้ามพรมแดนที่ไม่มีประสิทธิภาพ แม้ว่าจะมีความสัมพันธ์ทางเศรษฐกิจและสังคมที่ใกล้ชิดกันก็ตาม 

สาเหตุสำคัญของความยุ่งยากคือ ความสัมพันธ์ของตัวแทนผู้เกี่ยวข้อง (เครือข่ายของความสัมพันธ์ตามบัญชีทวิภาคี) ในการประมวลผลการชำระเงินข้ามพรมแดน แม้ว่าจะมีการขยายอย่างกว้างขวางแล้วก็ตาม แต่โครงสร้างตลาดของบัญชีตัวแทนผู้เกี่ยวข้องก็ทำให้เกิดความขัดแย้ง ความล่าช้า และค่าใช้จ่ายในการดำเนินการชำระเงินอย่างเห็นได้ชัด ซึ่งสาเหตุหลักมาจากความจำเป็นในการเติมเงินล่วงหน้าเข้าไปในบัญชีเหล่านี้ก่อน (pre-fund) 

ข้อมูลจากธนาคารโลกแสดงให้เห็นว่าต้นทุนการส่งเงินทั่วโลกโดยเฉลี่ยอยู่ที่ 6.30% ของจำนวนเงินที่ส่ง สำหรับบางประเทศ เช่น ประเทศไทย อาจสูงกว่านั้นอีก ซึ่งสูงถึง 13.30% สำหรับการส่งเงิน และ 7.70% สำหรับการรับเงิน 

สิ่งนี้หมายความว่า เงินทุกๆ ดอลลาร์ที่แรงงานข้ามชาติส่งกลับบ้านนั้น เงินจำนวนมากหมดไปกับค่าธรรมเนียมการทำธุรกรรมที่หนักหน่วงและ prefunding สำหรับธุรกิจแล้วความไร้ประสิทธิภาพของการชำระเงินระหว่างประเทศนั้นมีผล กระทบต่อผลกำไร โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อธุรกิจในเอเชียแปซิฟิกเป็นโลกาภิวัตน์และมีธุรกรรมที่ทำกับพันธมิตรจากหลากหลายประเทศ 

สินทรัพย์ดิจิทัลสามารถจัดการกับความท้าทายนี้โดยใช้เป็นเครื่องมือการชำระเงิน ซึ่งทำหน้าที่เป็นสะพานเชื่อมระหว่างสกุลเงิน 2 สกุลที่แตกต่างกัน ตัวอย่างเช่น โซลูชั่น On Demand Liquidity (ODL) ของริปเปิลใช้ประโยชน์จากสินทรัพย์ดิจิทัล XRP เพื่ออำนวยความสะดวกในการชำระเงินทั่วโลกที่รวดเร็ว ถูกกว่า และโปร่งใสมากขึ้น ซึ่งจะช่วยลดเวลาในการดำเนินการสำหรับธุรกรรมทั่วไปจากเดิม 3-5 วัน ให้รวดเร็วขึ้นเหลือเพียงไม่กี่นาที และช่วยให้มั่นใจได้ว่าหน่วยงานจะไม่ต้องนำเงินไปเก็บไว้ในในบัญชีธนาคารที่เกี่ยวข้องเพื่อทำการโอนเงินล่วงหน้า ทำให้มีประสิทธิภาพโดยรวมและความขัดแย้งที่ลดลง โดยการโอนที่เร็วขึ้นและต้นทุนที่ต่ำลง ซึ่งจะเป็นประโยชน์ต่อผู้บริโภคในท้ายที่สุด 

เราเห็นประโยชน์เหล่านี้จากการดำเนินการที่ใช้งานในทางปฏิบัติแล้ว โดยทาง แทรงโกล (Tranglo) ผู้เชี่ยวชาญด้านการชำระเงินข้ามพรมแดนในเอเชียแปซิฟิก ได้ทำธุรกรรมทางการเงินมูลค่า 48 ล้านดอลลาร์สหรัฐ เสร็จสิ้น ภายใน 100 วัน แรกของการติดตั้งโซลูชั่น ODL ซึ่งช่วยให้ลูกค้าพึงพอใจกับบริการที่รวดเร็วขึ้นและค่าธรรมเนียมที่ถูกลง เห็นได้ชัดว่าสินทรัพย์ดิจิทัลสามารถนำเสนอทางเลือกที่น่าสนใจสำหรับธุรกิจมากกว่าเมื่อเทียบกับรูปแบบดั้งเดิมที่ทำผ่านตัวแทนการชำระเงินผ่านธนาคาร 

การสร้างระบบนิเวศน์การกำกับดูแล (Regulatory ecosystem) เพื่อรองรับนวัตกรรม

ในการเปลี่ยนวิสัยทัศน์นี้ให้กลายเป็นความจริง ผู้กำหนดนโยบายและหน่วยงานกำกับดูแลจำเป็นต้องอำนวยความสะดวกในการใช้สินทรัพย์ดิจิทัลเป็นเครื่องมือการชำระเงิน ควบคู่ไปกับกรณีการใช้งานอื่นๆ เพื่อช่วยสนับสนุนนวัตกรรมในภาคส่วนดังกล่าว 

สำหรับผู้เริ่มต้น เราจำเป็นต้องมีกรอบการกำกับดูแลที่ชัดเจนซึ่งแยกความแตกต่างระหว่างสินทรัพย์ดิจิทัลประเภทต่างๆ กรอบดังกล่าวซึ่งสนับสนุนการใช้สินทรัพย์ดิจิทัลเป็นเครื่องมือการชำระเงิน สามารถช่วยให้การชำระเงินข้ามพรมแดนรวดเร็วและมีประสิทธิภาพมากขึ้น 

เพื่อให้เกิดความชัดเจนมากยิ่งขึ้น  สินทรัพย์ดิจิทัลควรถูกจัดประเภทตามการทำงานและวัตถุประสงค์ทางเศรษฐกิจ คล้ายกับแนวทางในประเทศต่างๆ เช่น สิงคโปร์และสหราชอาณาจักร เพื่อให้สอดคล้องกับแนวทางปฏิบัติดังกล่าว เราขอแนะนำว่าให้สร้างความแตกต่างที่ชัดเจนระหว่างโทเค็นการชำระเงิน (เป็นเครื่องมือการชำระเงิน) โทเค็นยูทิลิตี้และโทเค็นซีเคียวริตี้ 

ความท้าทายถัดไปของการควบคุมสินทรัพย์ดิจิทัลคือ การที่ตัวสินทรัพย์นั้นมีลักษณะเฉพาะตัวที่เปลี่ยนแปลงไม่หยุดอยู่กับที่ องค์กรต่างๆ ตั้งแต่สถาบันการเงินแบบดั้งเดิมไปจนถึงบริษัทสตาร์ทอัพด้าน FinTech ซึ่งกำลังมองหาโอกาสในการเข้าสู่ภาคธุรกิจต่างๆด้วยตัวเลขสูงสุดเป็นประวัติการณ์ หน่วยงานกำกับดูแลควรกำหนดวิธีการระบุความเสี่ยงที่เกิดจากผู้เข้าแข่งขันรายใหม่แต่ละราย โดยคำนึงถึงความสำคัญของความปลอดภัยของผู้บริโภคเป็นสำคัญ 

กรอบการกำกับดูแลที่แนะนำควรเป็นแบบการคาดการณ์ล่วงหน้าและยืดหยุ่นได้ พร้อมกับการให้ความแน่นอนด้านกฎระเบียบและการปกป้องผู้บริโภค และในขณะเดียวกันก็บรรลุเป้าหมายนโยบายในการส่งเสริมนวัตกรรมด้วยหลักการ "ความเสี่ยงเดียวกัน การดำเนินการเดียวกัน การปฏิบัติแบบเดียวกัน" หรือกล่าวอีกนัยหนึ่งก็คือ กิจกรรมที่มีความเสี่ยงเหมือนกันควรได้รับการควบคุมในลักษณะเดียวกัน แนวทางดังกล่าวจะกำหนดกรอบสำหรับผู้เล่นในระดับต่างๆ และให้ความแน่นอนด้านกฎระเบียบที่จำเป็นสำหรับนวัตกรรมคริปโตได้อย่างชัดเจนครบถ้วน 

การสร้างความเชื่อมโยงสะพานเชื่อมในระบบแบบแยกส่วน (Fragmented system)

สินทรัพย์ดิจิทัลมีศักยภาพในการเปลี่ยนผ่านระบบการเงินทั่วโลกให้เป็นระบบที่ครอบคลุม โปร่งใส และยุติธรรมยิ่งขึ้น เราไม่ต้องมองสินทรัพย์ดิจิทัลไกลเกินกว่าฐานะที่เป็นช่องทางการชำระเงินสำหรับการชำระเงินข้ามพรมแดน เพื่อให้เห็นได้ชัดถึงผลประโยชน์ที่เป็นรูปธรรมต่อผู้ใช้งานจริง 

โดยธรรมชาติแล้ว เมื่อสินทรัพย์ดิจิทัลได้รับความสนใจในระดับโลก รัฐบาลทั่วเอเชียแปซิฟิกจะต้องสำรวจแนวทางการกำกับดูแลใหม่ๆ เพื่อควบคุมและปลดล็อกศักยภาพของตนในขณะที่มีการจัดการความเสี่ยงที่เกี่ยวข้อง หน่วยงานกำกับดูแล ผู้กำหนดนโยบาย และภาคอุตสาหกรรมต้องร่วมมือกัน เพื่อสร้างระบบการกำกับดูแลที่ยืดหยุ่นและมองไปข้างหน้า ซึ่งเป็นระบบการชำระเงินที่เปลี่ยนแปลงไม่หยุดนิ่ง รับมือได้เร็วและครอบคลุมมากขึ้น  เพื่อจะสามารถรองรับการใช้งานของผู้คนจำนวนมากอย่างมีประสิทธิภาพ

 

[1] ตุลาคม 2020 จนถึงกันยายน 2021

 

โดย  บรู้ค เอ็นท์วิสเทิล, รองประธานบริษัทอาวุโส SVP of Global Customer Success และ กรรมการผู้จัดการของของ APAC และ MENA ที่ ริปเปิล

Rate this item
(1 Vote)
Last modified on Saturday, 23 July 2022 10:48
X

Right Click

No right click