ในประเทศไทยมีคนพิการมากกว่า 1.7 ล้านคน แต่ มีเพียง 30 เปอร์เซ็นต์เท่านั้นที่ มีงานทํา นั่นคือปัญหาที่เมธาวี ทัศนาเสถียรกิจ คิดว่าเธอจะช่วยแก้ปัญหาได้

เมธาวี ทัศนาเสถียรกิจ หรือ จูน ผู้ร่วมก่อตั้ง Vulcan Coalition ในปี 2563 ได้มีโอกาสได้พูดคุยกับ คุณสัตยา นาเดลลา ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร ไมโครซอฟท์ ที่งาน Microsoft APAC Innovators Forum ที่ประเทศสิงคโปร์เมื่อเร็วๆ นี้ เล่าว่า Vulcan Coalition มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาบริการ AI ใหม่ๆ ที่เป็นภาษาไทยพร้อมๆไปกับการพัฒนาคุณภาพชีวิตผู้พิการ จาก การศึกษาทางประสาทวิทยา พบว่า บุคคลที่มีความพิการทางการมองเห็นหรือการได้ยิน ในบางคนมีประสาทส่วนการรับรู้ที่พิเศษกว่าบุคคลทั่วไป ซึ่งเป็นการชดเชยความบกพร่องของระบบประสาทในส่วนที่เสียไป

"เราได้เรียนรู้ว่าคนพิการเสมือนจะมีพลังพิเศษ" จูนกล่าว "ดังนั้นเราจึงเห็นโอกาสที่จะจับคู่พวกเขากับงานประเภทนี้"

การจับคู่งานดังกล่าวจะช่วยแก้ปัญหาสําคัญในประเทศไทยซึ่งเป็นที่ตั้งของสตาร์ทอัพ และกำลังขาดแคลนพนักงานที่สามารถสอนจากการป้อนข้อมูลที่ถูกต้องจํานวนมากเพื่อสร้างออกมาเป็นรูปแบบภาษาไทย

การ label หรือการป้อนและกํากับข้อมูลเกี่ยวข้องกับการระบุข้อมูลดิบ เช่น ไฟล์เสียงหรือวิดีโอ และการเพิ่มป้ายกํากับข้อมูลสําหรับบริบท สิ่งนี้ทําให้โมเดลแมชชีนเลิร์นนิงเรียนรู้จากข้อมูล ซึ่งช่วยให้แอปต่างๆ เช่น บริการแชทบอท และการรับรู้จดจําเสียง (voice recognition)

จูน-เมธาวี ทัศนาเสถียรกิจ และ นิรันดร์ ประวิทย์ธนา ผู้ร่วมก่อตั้ง ได้พัฒนาหลักสูตรที่สามารถนําเสนอต่อรัฐบาลไทยเพื่อแสดงให้เห็นว่าคนพิการสามารถปฏิบัติงานได้ดีในฐานะผู้ป้อนข้อมูล หรือ data labeler หลังจากได้รับการพัฒนาทักษะ และสามารถป้อนข้อมูลที่ถูกต้อง วัลแคนร่วมมือกับกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์เพื่อให้ความรู้แก่ประชาชน 2,000 คน ฝึกสอนทักษะในการป้อนข้อมูล โดย Vulcan Academy ได้ทําหน้าในการฝึกอบรมและให้การทดสอบสําหรับผู้สมัครที่มีศักยภาพ

"ตอนที่เราบอกครั้งแรกว่าเราต้องการจ้างพวกเขาเป็นผู้ปรับคุณภาพข้อมูล พวกเขากลัวนิดหน่อยพวกเขาไม่เคยทำมาก่อน" จูนกล่าว "มีคนบอกพวกเขาว่าพวกเขาไม่สามารถทํางานหลายประเภทได้ เราต้องโน้มน้าวให้พวกเขาเรียนหลักสูตรนี้ แต่ตอนนี้มันเป็นสิ่งที่สร้างความภาคภูมิใจให้พวกเขาเพราะเขาสามารถบอกคนอื่นว่าพวกเขาทํางานที่มีมูลค่าสูงนี้ได้สำเร็จ"

ปุณพจน์ เอื้อพลิศาน์ หรือวิน เป็นวิศวกรซอฟต์แวร์อาวุโสที่พิการทางสายตา ทำงานเป็นพนักงานประจำที่ วัลแคน โคอะลิชั่น เขาช่วยสร้างแพลตฟอร์มที่บุคคลทั่วไปใช้ในการป้อนข้อมูลผ่านการแปลงคําพูดเป็นข้อความและกระบวนการอื่นๆ และนับเป็นส่วนสําคัญในการช่วยบริษัทที่กําลังพัฒนาโปรแกรม AI หลังจากนี้เป็นต้นไป

"ผมชอบพวกเรื่องคอมพิวเตอร์มาตั้งแต่เด็ก"วินกล่าว "ผมตั้งใจลงทะเบียนเรียนที่มหาวิทยาลัยในสาขาวิศวกรรมคอมพิวเตอร์ หลังจากสําเร็จการศึกษาผมก็ได้พบกับหัวหน้าเจ้าหน้าที่วิจัยที่วัลแคน และเขาบอกผมว่าเขาต้องการจัดตั้งแผนกวิศวกรรมของคนพิการ ดังนั้นผมจึงเข้าร่วมทีมและเราทําผลิตภัณฑ์และแพลตฟอร์มมากมายโดยเปิดให้ผู้พิการที่ฝึกสอน AI ใช้ระบบของเรา นอกจากนี้ยังมีอีกหลายโครงการที่เราทําร่วมกับองค์กรภายนอกอีกด้วยครับ"

ภารกิจระดับโลกของไมโครซอฟท์ในการช่วยให้ทุกคนและทุกองค์กรบนโลกใบนี้ให้ประสบความสําเร็จมากขึ้นได้หยั่งรากลึกผ่าน AI for Good ซึ่งเป็นแคมเปญระดับโลกของเรา โดยดึงเอาความสามารถทางเทคโนโลยีอย่างเต็มรูปแบบจากแพลตฟอร์ม Microsoft Cloud และ AI เพื่อทําให้โลกมีความยั่งยืนและเพื่อให้ทุกคนเข้าถึงเทคโนโลยี

วัลแคน โคอะลิชั่น ไม่เพียงแต่ ได้รับการสนับสนุนจากไมโครซอฟท์ ในการนำ AI เข้ามาสร้างโอกาสให้ผู้พิการ แต่วัลแคนยังได้รางวัลชนะเลิศ Thailand Virtual Hackathon จากการพัฒนาฮาร์ดแวร์และซอฟท์แวร์ขับเคลื่อนด้วย AI เพื่อช่วยอำนวยความสะดวกให้ผู้พิการสามารถตรวจวัดอุณหภูมิร่างกาย อาการป่วย และเช็คอินเมื่อเข้าสู่สถานที่หรืออาคารต่าง ๆ ได้โดยอัตโนมัติ ทั้งยังสามารถใช้กล้องตรวจสอบว่าแต่ละคนใส่หน้ากากอยู่หรือไม่ ด้วยระบบ AI ที่ทำงานอยู่บนแพลตฟอร์มคลาวด์ Microsoft Cloud

ทีมวัลแคน ได้ให้สมาชิกที่หูหนวกทำการสอน กํากับและฝึก AI โดยฝึกจากข้อมูลภาพ จากการเป็นผู้ชนะในครั้งนั้นไมโครซอฟท์ภายใต้โครงการสนับสนุนสตาร์ทอัพ ได้มอบ Cloud credit ให้เป็นมูลค่า 25,000 ดอลลาร์สหรัฐโดยมีวัตถุประสงค์เพื่อสนับสนุนทางวัลแคน ให้พัฒนาโครงการที่เหมาะสมต่อไป รวมถึงได้ให้คําปรึกษาและการสนับสนุนการสร้างแอปพลิเคชันบนโจทย์ AI for Good และตามด้วยการสนับสนุนให้ผู้พิการนำ IP มาขายอยู่บน Microsoft Azure Marketplace อีกด้วย

"ถ้าไม่มีความช่วยเหลือของไมโครซอฟท์ มันจะยากขึ้นมาก เพราะเราเป็นสตาร์ทอัพเล็กๆ ที่เพิ่งเริ่มต้นและก็ยากที่จะได้รับการยอมรับจากองค์กรใหญ่ๆ" จูนกล่าว

ตอนนี้ วัลแคน มีงานที่กำลังทำให้กับธนาคาร แผนกบุคคลของหลายองค์กร และบริษัทรีเทลของแต่งบ้าน โดยการสร้าง AI แชทบอทและ กระบวนการการทำงานที่ใช้ AI เป็นผู้ช่วย โดยมีการใช้งานทั่วประเทศ ทั้งนี้ประมาณ 30 เปอร์เซ็นต์ของรายได้จากบริการ AI ของ Vulcan จะถูกแบ่งให้กับพนักงานเพื่อสร้างความยั่งยืนในระยะยาว

ในประเทศไทยรัฐมีนโยบายให้บริษัทจ้างพนักงานผู้พิการ 1 คนต่อพนักงานทุกๆ 100 คน ในบางกรณี ที่เนื้องานไม่ตรงกับผู้พิการ หลายๆบริษัท เพียงแค่จ่ายเงินให้กับบุคคลและไม่ได้เสนอโอกาสในการทํางานที่แท้จริง

สําหรับ Vulcan การเป็นพันธมิตรกับ บริษัท ที่กระตือรือร้นที่จะใช้แรงงานที่มีทักษะอย่างแท้จริง ทำให้สามารถประเมินได้ว่าภายในสองปีหลังจากเริ่มโปรแกรม บริษัทจะจับคู่คนพิการ 600 คนเข้ากับงาน AI สําหรับคนทำงานผู้พิการแล้วมันเป็นแหล่งรายได้ที่สง่างาม สร้างโอกาสมากมายจากการได้รับการฝึกฝนทักษะด้านเทคโนโลยีที่มีความต้องการสูง

"พนักงานของเรารู้สึกทึ่งกับโครงการของเรามาก พวกเขาต้องการรู้ว่ามันเป็นอย่างไรและผลงานจะถูกใช้อย่างไรในอนาคต" วิน กล่าว "พวกเขาสนใจและภูมิใจในสิ่งที่พวกเขากําลังทํามากๆ ครับ"

มีหลายเหตุการณ์ที่เปลี่ยนโลกไปอย่างสิ้นเชิง และดูเหมือนว่าโลกอนาคตจะอยู่ใกล้ตัวเรามากกว่าที่คิด 

ซีไอโอต้องใช้เวลาเพื่อพิจารณาถึงสถานการณ์ “จะเกิดอะไรขึ้นถ้า… (หรือ What If)” เพื่อไม่ให้เป็นการปิดหูปิดตาตัวเองจากกระแสดิสรัปชั่นทางสังคม พฤติกรรม และเทคโนโลยี ที่มีผลต่อการเติบโตขององค์กร

การดิสรัปชั่นเป็นพื้นฐานของการเปลี่ยนแปลงที่ส่งผลต่อเนื่องอย่างถาวร และองค์กรที่ประสบความสำเร็จคือองค์กรที่พร้อมรับมือกับมัน โดยเราต้องตั้งคำถาม “จะเกิดอะไรขึ้นถ้า…” ต่อไปเรื่อย ๆ เพื่อเปิดรับโอกาสที่มาพร้อมกับการดิสรัปชั่น”

การเปลี่ยนแปลงครั้งใหญ่ 7 อย่างที่ผู้บริหารด้านเทคโนโลยีทั้งหลายควรใส่ใจพิจารณาในอีก 5 ปีข้างหน้านี้ ได้แก่

1. ประสบการณ์การทำงานกับ Metaverse

ในปัจจุบัน มีองค์กรมากมายใช้ประโยชน์จากเทคโนโลยี Metaverse ไม่ว่าจะเป็นการสร้างการมีส่วนร่วม การทำงานร่วมกัน และการเชื่อมต่อที่ดีขึ้นกับพนักงานในสถานที่ทำงานที่มอบประสบการณ์สมจริงยิ่งขึ้นในสำนักงานเสมือน และการใช้ประสบการณ์ Metaverse ภายในองค์กรหรือที่เรียกว่า Intraverses

การ์ทเนอร์ คาดการณ์ว่าการสร้างพื้นที่ทำงานเสมือนจริงเต็มรูปแบบ (Fully Virtual Workspaces) จะคิดเป็น 30% ของการเติบโตด้านการลงทุนในเทคโนโลยี Metaverse และจะพลิกโฉมประสบการณ์การทำงานในสำนักงานไปจนถึงปี 2570

2. รถบินได้ (Flying cars)

ยานยนต์ไร้คนขับหรืออากาศยานไร้คนขับ (UAV) ที่ใช้รับส่งผู้โดยสารเป็นระยะทางสั้น ๆ ตามเขตเมือง โดยอากาศยานที่บินได้ประเภทนี้หรือที่บางครั้งเรียกว่า "รถบินได้" หรือโดรนสำหรับผู้โดยสาร ถูกออกแบบให้ทำงานโดยไม่มีนักบินที่เป็นมนุษย์ บริษัทหลายแห่งกำลังทำงานเกี่ยวกับเครื่องบินรุ่นใหม่ที่ขับเคลื่อนด้วยปัญญาประดิษฐ์ (AI) และเพื่อสร้างวิถีการเดินทางทางอากาศที่เร็วกว่า ถูกกว่า ปลอดภัยกว่า และลดการปล่อยคาร์บอน โดยเฉพาะอย่างยิ่งในพื้นที่แออัด ซึ่งบริการแท็กซี่บินได้แห่งแรกมีกำหนดเปิดตัวในปี 2567  แม้จะมีความท้าทายด้านกฎระเบียบที่อาจเกิดขึ้น แต่ผู้บริหารไอทีควรพิจารณาและประเมินเกี่ยวกับปัญหาในด้านการขนส่ง การเคลื่อนย้ายคนและสินค้าขององค์กร ซึ่งอาจแก้ไขได้โดยใช้ยานพาหนะเหล่านี้แทน

3. ระบบเศรษฐกิจของมนุษย์ดิจิทัล

ตั้งแต่การดูแลทางการแพทย์ การให้บริการลูกค้า เวอร์ชวลอินฟลูเอนเซอร์ (Virtual Influencer) และการฝึกอบรมของฝ่ายบุคคล ไปจนถึงการกู้คืนชีวิตผู้ตาย ล้วนเป็นความเป็นไปได้ของการใช้งานมนุษย์ดิจิทัลที่ไม่สิ้นสุด โดยระบบเศรษฐกิจมนุษย์ดิจิทัลนั้นนำเสนอโอกาสให้แก่ระบบนิเวศดิจิทัลใหม่ ๆ ซึ่งอาศัยศักยภาพของเทคโนโลยีที่นำบุคคลและองค์กรมารวมตัวกันเพื่อสร้างสรรค์และโต้ตอบในรูปแบบใหม่

การ์ทเนอร์คาดการณ์ว่าภายในปี 2578 ระบบเศรษฐกิจมนุษย์ดิจิทัล (The Digital Human Economy) จะมีมูลค่าตลาดสูงถึง 125 พันล้านดอลลาร์สหรัฐฯ และจะเติบโตอย่างต่อเนื่อง

4. “องค์กรอิสระแบบกระจายอำนาจ” (The “Decentralized Autonomous Organization”)

องค์กรอิสระแบบกระจายอำนาจ (Decentralized Autonomous Organizations หรือ DAO) เป็นองค์กรรูปแบบใหม่ที่เกิดขึ้นในตลาดบริการด้านไอที การ์ทเนอร์ได้ให้คำจำกัดความ DAO ว่าเป็นหน่วยงานดิจิทัลที่ดำเนินงานบนบล็อกเชน และยังมีส่วนร่วมในการโต้ตอบทางธุรกิจกับองค์กร DAO อื่น ๆ หรือตัวแทนดิจิทัลและตัวแทนที่เป็นมนุษย์ โดยไม่ต้องมีการบริหารจัดการบุคลากรในแบบเดิม ๆ พนักงานที่มีความรู้ความสามารถด้านดิจิทัลระดับสูงจำนวนมากจะถูกดึงดูดให้ทำงานในองค์กร DAO แม้ตอนนี้จะยังอยู่ในช่วงเริ่มต้น แต่ DAOs มีศักยภาพที่จะก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างมากต่อบรรทัดฐานของอุตสาหกรรมเทคโนโลยีหลายประการที่เป็นอยู่ ณ ปัจจุบัน

5. การชาร์จรถยนต์ไฟฟ้า (EV) แบบไร้สาย

เมื่อการชาร์จแบบไร้สายพร้อมให้บริการแล้ว จะเป็นแนวทางที่เหมาะสมที่สุดสำหรับยานพาหนะในกลุ่มรถประจำทางและรถแท็กซี่ ซึ่งยานพาหนะเหล่านี้สามารถใช้การชาร์จแบบไดนามิก (Dynamic Charging) ได้อย่างมีประสิทธิภาพ ช่วยเพิ่มระยะทางขับขี่ได้ไกลขึ้นและลดต้นทุนต่าง ๆ นอกจากนั้นการติดตั้งสถานีชาร์จไฟในที่พักอาศัยจะกลายเป็นตลาดที่ใหญ่ที่สุดสำหรับการชาร์จรถยนต์แบบไร้สาย เนื่องจากเจ้าของรถยนต์ไฟฟ้า (EV) จะสะดวกขึ้นโดยไม่ต้องเสียบสายเคเบิลให้ลำบาก อย่างไรก็ตาม เมื่อมองไปไกลกว่านั้น

การ์ทเนอร์คาดว่าโครงการบ้านจัดสรรของภาคเอกชนและพื้นที่ว่างแบบแคมปัสของสถาบันการศึกษาจะมีปริมาณการติดตั้งสถานีชาร์จไร้สายแซงหน้าการติดตั้งที่บ้านพักอาศัย

6.กราฟีนจะมาแทนที่ซิลิกอน

ในอีก 7 ถึง 10 ปีข้างหน้านี้ เราจะเห็นศักยภาพมหาศาลของอุปกรณ์ทรานซิสเตอร์แบบฟิลด์เอฟเฟกต์ที่ใช้คาร์บอนเป็นโครงสร้างหลักทดแทนซิลิคอนในทรานซิสเตอร์แบบเดิมที่มาถึงขีดจำกัดเรื่องขนาดที่เล็กสุด ตัวอย่างหนึ่งคือ กราฟีน ซึ่งเป็นวัสดุคาร์บอนบริสุทธิ์ความหนาหนึ่งอะตอม เรียงต่อกันเป็นโครงสร้างแบบรังผึ้งหกเหลี่ยม ซึ่งกราฟีนสามารถแทนที่อุปกรณ์ซิลิกอนในปัจจุบันได้ โดยเฉพาะอย่างยิ่งใช้สำหรับการสื่อสารไร้สาย โดยที่อุปกรณ์ FET ที่ทำมาจากคาร์บอนเหล่านี้สามารถเก็บกระแสไฟฟ้าที่สูงกว่าได้มากในพื้นที่ขนาดเล็กลง ทำให้สามารถประมวลผลได้รวดเร็ว

ซีไอโอควรพิจารณาความเป็นไปได้ใหม่ ๆ ที่เกิดจากเทคโนโลยีที่ใช้ “กราฟีน” และเริ่มค้นหาซัพพลายเออร์ที่เกิดใหม่ สำหรับเตรียมพร้อมรับมือการเปลี่ยนแปลงที่จะเกิดขึ้น

7. เทคโนโลยีกลายเป็นของใช้แล้วทิ้ง

จะเกิดอะไรขึ้นหากวงการเทคโนโลยีจะกลายเป็นแบบเดียวกับวงการแฟชั่น ด้วยการออกแบบแอปพลิเคชันที่ “ใช้แล้วทิ้ง” อย่างรวดเร็ว? ขณะที่องค์ประกอบต่าง ๆ ในการดำเนินธุรกิจที่เน้นความคล่องตัวเป็นหลัก (Business Composability) ได้รับการยอมรับในวงกว้าง ถือเป็นโอกาสของผู้บริหารไอทีที่จะดำเนินการไปอีกขึ้นและเตรียมพร้อมสร้างความยืดหยุ่นให้แก่เทคโนโลยีแบบที่ใช้แล้วทิ้ง

 # Gartner IT Symposium /Xpo 2022

บทความ   :  เดวิด ยอดเคลสัน  รองประธานฝ่ายวิจัย / การ์ทเนอร์

 

 

บริษัท หัวเว่ย เทคโนโลยี่ (ประเทศไทย) จำกัด และสมาคมปัญญาประดิษฐ์แห่งประเทศไทย ร่วมจับมือกันในโครงการพัฒนาทักษะดิจิทัล “Super AI Engineer Season 2” รอบตัดสิน

พร้อมประกาศผู้ชนะจากโครงการ ส่งมอบรางวัลเป็นคลาวด์เครดิตมูลค่า 150,000 บาท และต่อยอดความร่วมมือสู่ปีที่ 3 เพื่อความต่อเนื่องของแนวคิดการส่งเสริมอีโคซิสเต็มของนักพัฒนาไทย เพื่อบ่มเพาะบุคลากรที่มีความเชี่ยวชาญด้านเทคโนโลยีปัญญาประดิษฐ์ และรองรับการก้าวขึ้นสู่การเป็นศูนย์กลางด้านดิจิทัลของประเทศไทย

ดร.ชวพล จริยาวิโรจน์ กรรมการผู้จัดการ บริษัท หัวเว่ย เทคโนโลยี่ (ประเทศไทย) จำกัด ได้กล่าวถึงพิธีประกาศผู้ชนะในโครงการความร่วมมือเพื่อพัฒนาทักษะดิจิทัล “Super AI Engineer Season 2” ครั้งนี้ว่า “ในนามของบริษัทหัวเว่ย ผมต้องขอขอบคุณพาร์ทเนอร์จากภาคการศึกษา รวมถึงสมาคมปัญญาประดิษฐ์แห่งประเทศไทย ที่ได้ให้เกียรติหัวเว่ยในการเข้ามามีส่วนร่วมเพื่อพัฒนาขีดความสามารถของบุคลากรด้านดิจิทัลของประเทศไทย โดยหัวเว่ยได้สนับสนุนใน 2 ด้านหลัก ได้แก่ ด้านการแบ่งปันความรู้ ความเชี่ยวชาญในระดับโลก เพื่อช่วยยกระดับความสามารถและให้คำปรึกษาเรื่องเทคโนโลยีปัญญาประดิษฐ์ให้แก่บุคลากรไทย อีกด้านคือเราได้สนับสนุนบริการหัวเว่ยคลาวด์ของเราให้ผู้เข้าร่วมโครงการสามารถนำไปประยุกต์ใช้ในโครงการฝึกอบรม เนื่องจากเทคโนโลยีคลาวด์มีความสำคัญอย่างมากต่อการใช้พัฒนา AI และคลาวด์ของหัวเว่ยก็มีประสิทธิภาพสูงและมีมาตรฐานระดับโลก สามารถใช้ทำงานได้อย่างรวดเร็วด้วยค่าความหน่วง

เขากล่าวเสริมว่าการพัฒนาเทคโนโลยี AI เปรียบเสมือนการทดลองสร้างไอเดีย โดยเทคโนโลยีคลาวด์ถือเป็นเทคโนโลยีที่มีค่า OPEX (ค่าใช้จ่ายที่จ่ายแล้วจ่ายเลยในครั้งเดียว) ที่ต่ำ ช่วยให้การทดลองสร้าง AI ในแต่ละครั้งมีต้นทุนต่ำ หากการทดลองประสบความสำเร็จก็จะสามารถพัฒนาต่อยอดไปได้อย่างรวดเร็ว แต่หากไอเดียดังกล่าวมีผลลัพธ์ที่ไม่สามารถไป ต่อได้ ต้นทุนที่เสียไปในการทดลองก็ค่อนข้างน้อย โดยทุกวันนี้ เทคโนโลยีถือเป็นพื้นฐานในทุกๆ ด้าน เทคโนโลยีคลาวด์ และ AI มีความพร้อมเป็นอย่างยิ่งที่จะรองรับการนำไปพัฒนาต่อยอด โดยในแต่ละปี หัวเว่ยจัดงบประมาณการวิจัยและพัฒนาเทคโนโลยีเอาไว้เป็นจำนวนมาก โดยมีมูลค่าสูงถึง 22,000 ล้านเหรียญสหรัฐในปี พ.ศ. 2564 ทั้งนี้ สิ่งสำคัญที่สุดคือการพัฒนาบุคลากร โดยหัวเว่ยพร้อมที่จะสนับสนุนการขับเคลื่อนของประเทศไทยผ่านการสนับสนุนบุคลากรไทยให้นำไอเดียเหล่านี้มาต่อยอด เพื่อสร้างให้เกิดตัวอย่างการใช้งานที่ประสบความสำเร็จในภาคอุตสาหกรรมต่างๆ โดยผู้เข้าร่วมโครงการฝึกอบรม Super AI Engineer ถือเป็นหนึ่งในพลังสำคัญและตรงกับพันธกิจของหัวเว่ยที่ต้องการผลักดันประเทศไทยให้ก้าวขึ้นเป็นดิจิทัลฮับแห่งภูมิภาค

นายเทพชัย ทรัพย์นิธิ อุปนายก สมาคมปัญญาประดิษฐ์แห่งประเทศไทย กล่าวเพิ่มเติมถึงโครงการ Super AI Engineer Season 2 ว่า “ในฐานะตัวแทนของสมาคม ผมต้องขอขอบคุณทางหัวเว่ยที่ช่วยสนับสนุนคลาวด์เซอร์วิสให้ผู้เข้าอบรมในการใช้ทำโจทย์ของโครงการทุกสัปดาห์ ทั้งนี้ เทคโนโลยีคลาวด์ถือเป็นหัวใจสำคัญสำหรับโครงการฝึกอบรมด้าน AI เพราะการประมวลผล AI ใช้ทรัพยากรมหาศาล จำเป็นต้องพึ่งการทำงานบนคลาวด์ เพื่อให้น้องๆ ในโครงการทำงานได้อย่างราบรื่น ที่สำคัญเทคโนโลยีคลาวด์ของหัวเว่ยยังใช้งานง่าย ประมวลผลข้อมูลขนาดใหญ่ได้เร็วมาก ทั้งยังมีค่าความหน่วง (Latency) ต่ำ ซึ่งถือว่าจำเป็นอย่างมากสำหรับการประยุกต์ใช้งานในภาคสาธารณสุขและภาคอุตสาหกรรมการผลิต นอกจากนี้ การสนับสนุนหัวเว่ยเครดิตของบริการหัวเว่ย คลาวด์ มูลค่า 2.2 ล้านบาทให้แก่โครงการ และรางวัลแก่ผู้ชนะเป็นคลาวด์เครดิตมูลค่า 150,000 บาทยังช่วยทำให้พวกเขาสามารถนำไปต่อยอดทางธุรกิจได้ทันที และช่วยประหยัดต้นทุนได้

ทั้งนี้  อุปนายก สมาคมปัญญาประดิษฐ์ ฯ ยังให้ข้อมูลเพิ่มเติมว่าทางสมาคมปัญญาประดิษฐ์แห่งประเทศไทยกำลังอยู่ในระหว่างการหารือกับหัวเว่ยเพื่อต่อยอดความร่วมมือสำหรับโครงการฝึกอบรม Super AI Engineer ปีที่ 3 โดยจะเริ่มเปิดรับสมัครผู้เข้าฝึกอบรมในช่วงปลายปีนี้ ซึ่งทางสมาคมจะต่อยอดการสนับสนุนทางด้านบุคลากรและองค์ความรู้จากหัวเว่ย เพื่อให้ช่วยฝึกอบรมด้านการประยุกต์ใช้งานปัญญาประดิษฐ์ในระดับโลกให้แก่บุคลากรด้านไอทีในประเทศไทย โดยปัจจุบัน บุคลากรที่มีความเชี่ยวชาญด้านเทคโนโลยี AI ในประเทศไทยยังไม่เพียงพอต่อความต้องการของตลาด แม้จะมีการเติบโตในกลุ่มสาขา Data Science ในอุตสาหกรรมการเงิน ด้าน Image Processing และด้าน NLP สำหรับการพัฒนาแชทบอท แต่บุคลากรด้านนี้ก็ยังถือว่ามีจำนวนน้อย

สำหรับผู้ชนะเลิศในโครงการ Super AI Engineer Season 2 ได้แก่นายพรระติชัย ไวโรจนะพุทธะ ซีอีโอของสตาร์ทอัพ Indezy โดยโครงการที่ชนะการประกวดคือการออกแบบระบบ AI ของหุ่นยนต์ส่งสินค้าสำหรับคอยเติมสินค้าที่ขาด บนชั้นวางจำหน่ายสินค้าในร้าน True Shop โดยเขายังให้ข้อมูลว่าเทคโนโลยีคลาวด์ของหัวเว่ยมีจุดแข็งในด้านความเร็วและ ความง่ายในการใช้งานที่เหนือกว่าบริการคลาวด์ของแบรนด์อื่นๆ เขายังกล่าวขอบคุณหัวเว่ยที่ช่วยสนับสนุนให้คอมมูนิตี้

เทคโนโลยี Machine learning และ AI ในประเทศไทยให้ก้าวไปได้ไกลขึ้น ทำให้อีโคซิสเต็มของคอมมูนิตี้แข็งแกร่งขึ้น และทำให้นักพัฒนาในไทยมีแรงบันดาลใจที่จะออกมาตามหาความฝันต่อไป

โครงการฝึกอบรม Super AI Engineer มีจำนวนผู้เข้าฝึกอบรมเป็นจำนวน 2,500 คนในปีแรก และในปีนี้ (ซีซั่น 2) มีจำนวนผู้เข้าฝึกอบรมและแข่งขันทั้งหมด 5,700 คน ซึ่งหลังจากการประกาศรับสมัคร ผู้เข้าร่วมโครงการจะถูกคัดเลือกเหลือเพียง 200 คน จากนั้นจะเหลือ 10 คนเพื่อแข่งขันแบบเรียลลิตี้ และค้นหาผู้ชนะการแข่งขัน 1 คนสุดท้าย โดยค่ายการอบรมแรกเป็นการเรียนการสอนผ่านออนไลน์ ค่ายที่สองเป็นการฝึกอบรมนอกสถานที่ซึ่งจะมีโจทย์มาให้ทำไม่ซ้ำกันทุกสัปดาห์ จากทางสมาคมและบริษัทเอกชน ส่วนค่ายการฝึกอบรมที่สามจะเป็นการส่งตัวแทนเข้าไปปฏิบัติงานในบริษัทเอกชนเพื่อ สั่งสมประสบการณ์การทำงานในสถานการณ์จริง

 

ครั้งแรกของการผนึกกำลังกันของสี่องค์กรชั้นนำ ไทยพาณิชย์, สำนักงานส่งเสริมเศรษฐกิจดิจิทัล (depa), ไมโครซอฟท์ (ประเทศไทย) และสถาบันเทคโนโลยีแห่งเอเชีย (AIT) เปิดตัวโครงการส่งเสริมทักษะด้านปัญญาประดิษฐ์ สำหรับบุคลากรและกำลังคนเพื่อเพิ่มโอกาสในการได้รับการจ้างงาน (Artificial Intelligence for Increasing Job Opportunity) เร่งสร้างคน AI เข้าภาคอุตสาหกรรม สนับสนุน New S-Curve ให้เศรษฐกิจไทย

เคยมีคำกล่าวว่า “แนวทางการตลาดที่ถูกเปลี่ยนแปลงไปนานกว่าหกเดือน จะไม่มีวันย้อนกลับมาทำเหมือนเดิมได้อีกแล้ว”

X

Right Click

No right click