สำหรับไฮไลต์สำคัญของงาน Intel Innovation 2023 วันที่สอง นายเกร็ก ลาเวนเดอร์ ประธานเจ้าหน้าที่ฝ่ายเทคโนโลยีของอินเทล ได้แบ่งปันข้อมูลรายละเอียดเกี่ยวกับปรัชญาการทำงานของระบบนิเวศแบบเปิดของอินเทลที่ออกแบบมาเพื่อชุมชนนักพัฒนาโดยเฉพาะ เพื่อให้ทุกคนสามารถเข้าถึงโอกาสมากมายที่เทคโนโลยีปัญญาประดิษฐ์ (AI) สามารถมอบให้ได้

เหล่านักพัฒนาต่างกระตือรือร้นที่จะใช้ประโยชน์จาก AI เพื่อรับมือกับความท้าทายต่าง ๆ ที่เป็นอุปสรรคต่อการใช้งานโซลูชั่นสำหรับลูกค้าและเอดจ์ไปยังดาต้าเซ็นเตอร์และระบบคลาวด์ในวงกว้าง โดยอินเทลมุ่งมั่นที่จะจัดการกับความท้าทายเหล่านี้ด้วยแนวทางการเร่งซิลิคอนที่กำหนดโดยซอฟต์แวร์ ซึ่งมีพื้นฐานมาจากหลักการที่เปิดกว้าง ทางเลือกใหม่ ๆ ความไว้วางใจ และความปลอดภัยเป็นสำคัญ ด้วยการส่งมอบเครื่องมือที่พัฒนาประสิทธิภาพของการใช้ AI อย่างปลอดภัย และช่วยลดต้นทุนในการบำรุงรักษาและปรับขนาดโซลูชั่นเหล่านั้น อินเทลได้ช่วยติดอาวุธให้เหล่านักพัฒนาขยายขุมพลัง AI ไปสู่ทุกที่ทั่วโลก

นายเกร็กกล่าวว่า “ชุมชนนักพัฒนาเป็นพลังขับเคลื่อนสำคัญที่ช่วยให้อุตสาหกรรมต่าง ๆ ได้ใช้ประโยชน์จาก AI เพื่อตอบสนองความต้องการที่หลากหลายทั้งในปัจจุบันและอนาคต ทุกคนควรสามารถเข้าถึง AI ได้อย่างง่ายดายและได้ใช้งาน AI ที่เชื่อถือได้ หากนักพัฒนาถูกจำกัดในการเลือกฮาร์ดแวร์และซอฟต์แวร์ ก็จะเป็นการจำกัดการเข้าถึงยูสเคสจำนวนมากในการนำ AI ไปใช้ทั่วโลกไปด้วย อีกทั้งยังจำกัดการเปลี่ยนแปลงสำคัญต่อสังคมที่นักพัฒนาเหล่านี้สามารถช่วยโลกได้”

 

การใช้งาน AI ที่ง่ายขึ้น มาพร้อมกับความไว้วางใจและความปลอดภัย

ประเด็นสำคัญของงาน Intel Innovation 2023 วันที่สอง นายเกร็กยังได้เน้นย้ำถึงความมุ่งมั่นของอินเทลในการรักษาความปลอดภัยแบบครบวงจร ได้แก่ Intel® Transparent Supply Chain สำหรับการตรวจสอบความสมบูรณ์ของฮาร์ดแวร์และเฟิร์มแวร์ และรับรองการประมวลผลที่เป็นความลับเพื่อช่วยปกป้องข้อมูลสำคัญในหน่วยความจำ โดยปัจจุบัน อินเทลกำลังขยายการรักษาความปลอดภัยของแพลตฟอร์ม และการปกป้องข้อมูลด้วยเครื่องมือและบริการใหม่ ๆ มากมาย รวมถึงความพร้อมใช้งานของการบริการการรับรองความปลอดภัย

นวัตกรรมบริการใหม่ล่าสุดนี้เป็นผลิตภัณฑ์แรกในไลน์อัพซอฟต์แวร์และบริการด้านความปลอดภัยของอินเทลที่เรียกว่า Intel® Trust Authority หรือหน่วยงานด้านความไว้วางใจของอินเทล ที่จะช่วยตรวจสอบและประเมินการทำงานของระบบ Trusted Execution Environment (TEE) การบังคับใช้นโยบาย และบันทึกการตรวจสอบของอินเทลอย่างเป็นอิสระและครอบคลุม โดยสามารถใช้ได้ทุกที่ที่มีการใช้งานการประมวลผลที่ป้องกันความลับของอินเทล รวมถึงมัลติคลาวด์ ไฮบริด ระบบภายในองค์กร และเอดจ์ โดย Intel® Trust Authority จะกลายเป็นนวัตกรรมที่มีบทบาทสำคัญในการใช้งาน AI ที่เป็นความลับ เพื่อให้มั่นใจในความปลอดภัยของการประมวลผลในสภาพแวดล้อมที่เป็นความลับ ที่ทรัพย์สินทางปัญญา รวมถึงข้อมูลที่มีความละเอียดอ่อนได้รับการประมวลผลในแอปพลิเคชันแบบแมชชีนเลิร์นนิ่ง โดยเฉพาะอย่างยิ่งการอนุมานบนโปรเซสเซอร์ Intel® Xeon® ทั้งรุ่นปัจจุบันและอนาคต

 

AI เป็นพลังสำคัญของนวัตกรรมที่มียูสเคสการใช้งานในทั่วทุกอุตสาหกรรม ตั้งแต่อุตสาหกรรมการดูแลสุขภาพ การเงิน ไปจนถึงอีคอมเมิร์ซและการเกษตร

นายเกร็ก กล่าวว่า “กลยุทธ์ซอฟต์แวร์ AI ของเราก่อตั้งขึ้นบนระบบนิเวศแบบเปิดและการเร่งความเร็วในการประมวลผลแบบเปิดเพื่อที่จะสามารถขยายขุมพลัง AI ไปยังทุกที่ เรารู้ดีว่ามีโอกาสมากมายที่จะขยายขนาดของนวัตกรรม และเรากำลังผลักดันขอบเขตความเป็นไปได้ให้นักพัฒนา AI ได้สร้างสรรค์ผลงานของพวกเขาได้อย่างเต็มที่”

ระบบนิเวศแบบเปิด เปิดโอกาสสู่ทางเลือกใหม่เพื่อประสิทธิภาพการทำงานที่ดีที่สุด

องค์กรต่าง ๆ ทั่วโลกต่างใช้ AI เพื่อเร่งการค้นพบทางวิทยาศาสตร์ พลิกโฉมธุรกิจ และพัฒนาบริการเพื่อผู้บริโภค อย่างไรก็ตาม การใช้โซลูชั่น AI ในทางปฏิบัติยังถูกจำกัดด้วยความท้าทายมากมายที่องค์กรธุรกิจยังไม่สามารถรับมือได้โดยง่าย เพราะยังขาดความเชี่ยวชาญภายในองค์กรและทรัพยากรไม่เพียงพอต่อการจัดการการใช้งาน AI ที่เหมาะสม (เช่น การเตรียมข้อมูลและโมเดลการจำลองข้อมูล) ตลอดจนแพลตฟอร์มกรรมสิทธิ์ที่มีราคาสูงและใช้เวลานานหากต้องซ่อมบำรุงรักษาอย่างต่อเนื่อง

อินเทลมุ่งมั่นที่จะขับเคลื่อนระบบนิเวศแบบเปิดที่สามารถใช้งานกับสถาปัตยกรรมได้หลากหลายและง่ายดายมากขึ้น ในที่นี้รวมถึงการร่วมเป็นหนึ่งในสมาชิกผู้ร่วมก่อตั้งโครงการ Unified Acceleration Foundation (UXL) ของมูลนิธิลินุกซ์ สมาคมที่ประกอบด้วยองค์กรธุรกิจต่าง ๆ ในหลากหลายอุตสาหกรรมนี้ พร้อมเดินหน้าส่งมอบระบบนิเวศซอฟต์แวร์เร่งความเร็วแบบเปิดเพื่อลดความซับซ้อนในการพัฒนาแอปพลิเคชันสำหรับการใช้งานข้ามแพลตฟอร์ม โครงการ UXL นั้นเป็นวิวัฒนาการของโครงการริเริ่มอย่าง oneAPI ที่เป็นโมเดลการเขียนโปรแกรมของอินเทลที่ช่วยให้เขียนโค้ดเพียงครั้งเดียวและสามารถใช้งานกับสถาปัตยกรรมการประมวลผลหลายประเภท อาทิเช่น CPU, GPU, FPGA และชิปเร่งความเร็ว อินเทลเตรียมที่จะส่งมอบข้อมูลของ oneAPI ให้แก่โครงการ UXL Foundation เพื่อช่วยขับเคลื่อนการพัฒนาข้ามแพลตฟอร์มในสถาปัตยกรรมที่หลากหลาย

ยิ่งไปกว่านั้น อินเทลยังร่วมมือกับผู้จำหน่ายซอฟต์แวร์ชั้นนำอย่าง Red Hat, Canonical และ SUSE เพื่อนำเสนอซอฟต์แวร์ระดับองค์กรที่ได้รับการปรับให้เหมาะสม เพื่อช่วยรับประกันประสิทธิภาพสูงสุดสำหรับสถาปัตยกรรมอินเทลรุ่นล่าสุด ภายในงาน Intel Innovation นายเกร็กยังได้ร่วมกับนายกุนนาร์ เฮลเล็กสัน รองประธานและผู้จัดการทั่วไปสำหรับธุรกิจ Red Hat Enterprise Linux ประกาศขยายความร่วมมือที่อินเทลเตรียมให้การสนับสนุนระบบนิเวศ Red Hat Enterprise Linux (RHEL) ตั้งแต่เริ่มต้นโดยใช้ CentOS Stream และอินเทลยังคงสนับสนุน AI ตลอดจนเครื่องมือและกรอบการทำงานของแมชชีนเลิร์นนิ่ง รวมถึง PyTorch และ TensorFlow อย่างต่อเนื่อง  เพื่อช่วยให้นักพัฒนาปรับขนาดประสิทธิภาพได้อย่างรวดเร็วและง่ายดาย Intel Granulate เตรียมเพิ่ม Auto Pilot สำหรับการกำหนดสิทธิ์ทรัพยากรพ็อด Kubernetes ซึ่งเป็นเครื่องมือเพิ่มประสิทธิภาพความจุที่จะให้คำแนะนำการจัดการความจุแบบอัตโนมัติและต่อเนื่องสำหรับผู้ใช้ Kubernetes ซึ่งจะช่วยให้พวกเขาสามารถลดต้นทุนสำคัญสอดคล้องกับมาตรชี้วัดประสิทธิภาพด้านต้นทุนสำหรับสภาพแวดล้อมการจัดการแพ็คเกจซอฟต์แวร์แบบ Containerization นอกจากนี้ Intel Granulate ยังเพิ่มความสามารถในการประสานการทำงานอัตโนมัติสำหรับเวิร์กโหลด Databricks ซึ่งจะช่วยลดต้นทุนโดยเฉลี่ย 30% และลดเวลาในการประมวลผล 23% โดยไม่ต้องเปลี่ยนแปลงโค้ด1  ในขณะที่ทั่วโลกพึ่งพา AI มากขึ้นในการแก้ปัญหาขนาดใหญ่และซับซ้อน และส่งมอบผลลัพธ์ทางธุรกิจที่แท้จริง เราต่างต้องการการปกป้องโมเดล AI ไปจนถึงข้อมูลและแพลตฟอร์มที่พวกเขาเรียกใช้เพิ่มมากขึ้นจากการดัดแปลง การหลอกเอาข้อมูล และการโจรกรรมข้อมูล การเข้ารหัสแบบ Fully homomorphic encryption (FHE) ช่วยคำนวณการประมวลผลได้โดยตรงกับข้อมูลที่เข้ารหัส แม้ว่าการใช้งานจริงจะถูกจำกัดด้วยความซับซ้อนและโอเวอร์เฮดในการคำนวณก็ตาม

นอกจากนี้ อินเทลยังเผยถึงแผนการที่จะพัฒนาตัวเร่งวงจรรวมเฉพาะแอปพลิเคชัน (ASIC) เพื่อลดค่าใช้จ่ายด้านประสิทธิภาพล้านเท่าที่เกี่ยวข้องกับแนวทาง FHE แบบซอฟต์แวร์เท่านั้น นอกจากนี้ ยังเตรียมเปิดตัวชุดเครื่องมือซอฟต์แวร์คอมพิวเตอร์เข้ารหัสเวอร์ชันเบต้า ซึ่งจะช่วยให้นักวิจัย นักพัฒนา และชุมชนผู้ใช้ได้เรียนรู้และทดลองใช้การเข้ารหัส FHE ซึ่งจะเปิดตัวในปลายปีนี้ โดยเป็นส่วนหนึ่งของ Intel® Developer Cloud ซึ่งเปิดให้ใช้งานทั่วไปตามที่ประกาศเมื่อวานนี้ และยังรวมถึงชุดอินเทอร์เฟซที่ทำงานร่วมกันได้เพื่อพัฒนาซอฟต์แวร์ FHE เครื่องมือการแปล และเครื่องจำลองตัวอย่างของตัวเร่งฮาร์ดแวร์ด้วย

Salesforce (เซลส์ฟอร์ซ) บริษัท AI CRM อันดับ 1 ประกาศความก้าวหน้ายิ่งใหญ่ของโซลูชั่น Einstein เทคโนโลยีเอไอภายใต้เอกสิทธิ์เฉพาะของบริษัท และ Data Cloud โซลูชั่นข้อมูลไฮเปอร์สเกลแบบเรียลไทม์ที่งาน Dreamforce 2023 ซึ่งนวัตกรรมดังกล่าวนี้จะมุ่งพัฒนาประสบการณ์ของลูกค้าพร้อมทั้งยกระดับมาตรฐานประสิทธิภาพและประสิทธิผลการทำงานมากยิ่งขึ้น

ผลการศึกษาล่าสุดจาก IDC เผยว่าคลื่นลูกใหม่จาก Generative AI จะช่วยเร่งโอกาสทางเศรษฐกิจสำหรับเซลส์ฟอร์ซและระบบนิเวศของบริษัท โดย IDC คาดการณ์ว่า Salesforce AI Economy จะสร้างรายได้สุทธิ 2.02 ล้านล้านดอลลาร์สหรัฐจากรายได้ของธุรกิจทั่วโลก และสร้างงานใหม่ 11.6 ล้านตำแหน่งทั่วโลก ระหว่างปี พ.ศ. 2565 - 2571

Einstein รุ่นใหม่ล่าสุด สู่การเป็นผู้ช่วยการสนทนาที่น่าเชื่อถือพร้อมทั้งขับเคลื่อนด้วย Generative AI

โซลูชั่น Einstein ของเซลส์ฟอร์ซเปิดตัวฟีเจอร์ใหม่ที่ใช้นวัตกรรมจาก Generative AI อย่าง Einstein Copilot ซึ่งจะเป็นผู้ช่วยเอไอสำหรับการสนทนา ฟีเจอร์ดังกล่าวติดตั้งอยู่บนแอป CRM ทั้งหมดเพื่อสนับสนุนทุกการใช้งานของลูกค้า โดยฟีเจอร์ Einstein Copilot จะช่วยสร้างเวิร์กโฟลว์การทำงานที่ไร้รอยต่อ พร้อมช่วยขับเคลื่อนประสิทธิภาพการทำงาน ผ่านการใช้ Natural Language ในการถามคำถาม และรับข้อมูลคำตอบที่มีความเกี่ยวข้องและเป็นข้อมูลที่เชื่อถือได้ โดยอ้างอิงจากข้อมูลเอกสิทธิ์ของเซลส์ฟอร์ซที่ปลอดภัยจาก Data Cloud

นอกจากนี้ เพื่อตอบโจทย์ความต้องการที่เจาะจงของแต่ละธุรกิจ เซลส์ฟอร์ซได้เปิดฟีเจอร์ Einstein Copilot Studio ที่จะช่วยให้ธุรกิจสามารถปรับแต่ง (Customise) ฟีเจอร์ Einstein Copilot ผ่านพร้อมท์ (Prompts)ที่เจาะจง หรือผ่านทักษะและโมเดลเอไอที่เจาะจง ซึ่งฟีเจอร์ดังกล่าวนี้ จะช่วยให้บริษัทต่าง ๆ สามารถปิดดีลได้ไวยิ่งขึ้น พร้อมทั้งยกระดับงานบริการลูกค้า ไปจนถึงการปรับแต่งพร้อมท์รูปแบบ Natural Language ให้กลายเป็นโค้ด เป็นต้น มากไปกว่านั้น ฟีเจอร์ Einstein Copilot Studio ยังสามารถตั้งค่าให้ Einstein Copilot สามารถใช้งานนอกแอปพลิเคชันของเซลส์ฟอร์ซได้อีกด้วย เพื่อใช้บนช่องทางติดต่อลูกค้าอื่น ๆ อาทิ ช่องทางเว็บไซต์, Slack, WhatsApp หรือ SMS เพื่อขับเคลื่อนแชทแบบเรียลไทม์

ฟีเจอร์ Einstein Copilot และ Einstein Copilot Studio จะใช้งานภายใต้ Einstein Trust Layer ซึ่งเป็นสถาปัตยกรรมเอไอที่ปลอดภัยและสร้างขึ้นบนแพลตฟอร์มของเซลส์ฟอร์ซ เพื่อสร้างผลลัพธ์อันมีคุณภาพจากเอไอโดยอ้างอิงจากข้อมูลลูกค้า ในขณะเดียวกันยังสามารถรักษามาตรฐานความเป็นส่วนตัวและความปลอดภัยของข้อมูลบริษัทไปพร้อมกันสำหรับธุรกิจที่ใช้งาน

ใหม่! Einstein 1 Platform ใช้คู่กับ Data Cloud รองรับ Big Data และขับเคลื่อน Low-Code Metadata บนแอปพลิเคชันเอไอ Einstein 1 Platform สร้างขึ้นบนเฟรมเวิร์คเมตาดาต้าของเซลส์ฟอร์ซ โดยเป็นอีกขั้นของความก้าวหน้าสำหรับ Data Cloud และ Einstein แพลตฟอร์มดังกล่าวจะช่วยบริษัทต่าง ๆ เชื่อมต่อ จัดระเบียบ และทำความเข้าใจข้อมูลระหว่างแอปพลิเคชันเซลส์ฟอร์ซต่าง ๆ ได้อย่างปลอดภัย ทั้งยังสร้างการมองเห็นข้อมูลที่ทั่วถึงของทั้งองค์กร ไม่ว่าข้อมูลจะมีโครงสร้างอย่างไรในระบบภายใน ทั้งยังสามารถช่วยองค์กรในการปรับแต่งประสบการณ์ผู้ใช้และข้อมูลการดำเนินการโดยใช้บริการแพลตฟอร์มแบบ low-code อื่น ๆ อาทิ: · การใช้ Einstein สำหรับคาดการณ์และสร้างเนื้อหาที่ขับเคลื่อนด้วยเอไอ · การใช้ Flow สำหรับการทำออโตเมชั่น · การใช้ Lightning สำหรับส่วนต่อประสานกับผู้ใช้งานหรือ user interfaces

 

Date Cloud รุ่นใหม่ล่าสุดถูกผสานเข้ากับ Einstein 1 Platform เพื่อช่วยให้บริษัทต่าง ๆ สามารถปลดล็อกการใช้ข้อมูลในการสร้างโปรไฟล์ลูกค้าพวกเขาให้สมบูรณ์และมีความเป็นหนึ่งเดียว พร้อมส่งมอบประสบการณ์ CRM แบบใหม่ให้แก่ผู้ใช้งาน

· Data at Scale: Einstein 1 Platform รองรับข้อมูลเมตาดาต้า (Metadata-enabled objects) เป็นพันรายการ โดยแต่ละอ็อบเจ็กต์สามารถมีแถวได้หลายล้านล้านแถว นอกจากนี้ Marketing Cloud และ Commerce Cloud ยังมีการอัปเกรดใหม่ให้สามารถใช้งานได้บนแพลตฟอร์มนี้อีกด้วย

· Automation at Scale: ข้อมูลจำนวนมหาศาลสามารถถูกนำไปใช้งานได้ทันทีในรูปแบบเซลส์ฟอร์ซออบเจ็กต์บน Einstein 1 Platform โฟล์วต่าง ๆ ของงานสามารถปรับเปลี่ยนได้ตลอดเวลา สูงสุด 20,000 เหตุการณ์ต่อวินาที และยังสามารถโต้ตอบกับระบบอื่น ๆ ภายในองค์กร รวมถึงระบบเดิมที่มีอยู่ผ่าน Mulesoft

· Analytics at Scale: โครงสร้างข้อมูลของข้อมูลเมตาดาต้า (Metadata Schema) แบบทั่วไปบน Einstein 1 Platform และแอคเซสโมเดลช่วยให้ข้อมูลเชิงลึกและโซลูชั่นวิเคราะห์มากมายของเซลส์ฟอร์ซ อาทิ Reports and Dashboards, Tableau, CRM Analytics, และ Marketing Cloud Report สามารถใช้งานข้อมูลเดียวกันได้อย่างทั่วถึง

“เราอยู่ในยุคที่มีการเปลี่ยนแปลงทางดิจิทัลตลอดเวลา ความสำคัญและการที่ AI เข้ามามีส่วนร่วมในธุรกิจจึงเป็นเรื่องที่ไม่สามารถมองข้ามได้ เพราะ AI จะเข้ามาปฏิวัติพฤติกรรมและความต้องการของลูกค้าที่มีต่อแบรนด์และนำไปสู่ยุคเศรษฐกิจใหม่" คุณอามิท ซักซีน่า รองประธานประจำภูมิภาคอาเซียน เซลส์ฟอร์ซ กล่าวต่ออีกว่า "ในเวลานี้ ธุรกิจในประเทศไทยจำเป็นต้องควบคุมและประเมินถึงความเหมาะสมของการใช้งาน AI, Data และ CRM เพื่อสร้างความไว้วางใจจากลูกค้า ในขณะเดียวกันยังต้องสามารถใช้เทคโนโลยีเหล่านี้เพื่อมอบประสบการณ์อันยอดเยี่ยมให้แก่ลูกค้าของพวกเขาได้เช่นกัน ความไว้วางใจของลูกค้ามีผลต่อแบรนด์ได้ ดังนั้นความสามารถในการมอบประสบการณ์ที่ยอดเยี่ยมต่อลูกค้าจึงมีผลต่อความสำเร็จของธุรกิจแห่งอนาคต”

ไฮไลท์สำคัญอื่น ๆ จากงาน Dreamforce 2023:

· Slack เปิดตัวนวัตกรรมใหม่ ขับเคลื่อนแพลตฟอร์มส่งเสริมประสิทธิภาพการทำงานอย่างชาญฉลาด

o นวัตกรรมใหม่ที่เพิ่มเข้ามาบน Slack จะนำเอาเอไอ, ระบบออโตเมชั่น และการแบ่งปันความรู้มารวมไว้ในที่เดียว เพื่อยกระดับประสิทธิภาพและประสิทธิผลการทำงาน

§ Slack AI มาพร้อมความสามารถในการสรุปเธรดต่าง ๆ, สรุปไฮไลท์บนชาแนล, และค้นหาคำตอบภายในข้อความทั้งหมดของผู้ใช้

§ Workflow Builder รุ่นพัฒนาจะช่วยให้ทีมสามารถสร้างระบบอัตโนมัติโดยไม่ต้องเขียนโค้ดใด ๆ โดยใช้งานตัวเชื่อมต่อจาก Google, Asana, Jira และแพลตฟอร์มอื่น ๆ

§ Slack lists จะช่วยติดตามงาน, ติดตามคำขอคัดแยก(Triage requests) และติดตามการจัดการโปรเจ็คข้ามสายงานได้

· Einstein สำหรับ Net Zero Cloud เพื่อช่วยให้การทำรายงานเกี่ยวกับ ESG ง่ายขึ้นสำหรับบริษัทต่างๆ

o ฟีเจอร์ Einstein สำหรับ Net Zero Cloud นั้นจะแนะนำข้อมูลที่เชื่อถือได้ตอบสนองต่อคำสั่งหรือข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับรายงาน ESG แบบเรียลไทม์ โดยการตอบสนองต่างๆ จะอ้างอิงมาจากข้อมูลที่อยู่ในกรอบการรายงานโดยเฉพาะ เพื่อช่วยให้บริษัทต่างๆ สามารถที่จะปรับปรุงกระบวนการเขียนรายงาน ESG ได้อย่างราบรื่น ตัวอย่างเช่น Einstein สามารถใช้ประโยชน์จากข้อมูล ESG ของบริษัทที่ถูกเผยแพร่เมื่อปีที่แล้ว หรืออาจดึงข้อมูลจากเอกสารที่อัปโหลดเอาไว้ก่อนหน้านี้ (เช่น รายงานผลกระทบกว่าหนึ่งหมื่นฉบับ เอกสารการปฏิบัติตามข้อกำหนด) หรืออาจใช้ประโยชน์จากข้อมูล Net Zero Cloud อื่นๆ เช่น ปริมาณการปล่อยก๊าซเรือนกระจกของบริษัท เป็นต้น Einstein จะใช้ข้อมูลนี้ระบุลงไปในแต่ละส่วนรายงาน ESG สำหรับปีล่าสุดโดยอัตโนมัติ

· Salesforce ขยายความร่วมมือทางอุตสาหกรรม เปิดตัวพาร์ทเนอร์ชิพกับ Google, AWS, McKinsey, Databricks, Genesys และ Snowflake: o Google partnership: เปิดตัวการใช้งานรูปแบบ Bidirectional Integration ที่จะช่วยให้ลูกค้าสามารถรวมบริบทจาก Salesforce และ Google Workspace เข้าด้วยกัน ผู้ใช้จะสามารถทำงานข้ามแพลตฟอร์มได้อย่างไร้รอยต่อทั่วทั้งแพลตฟอร์มผ่านผู้ช่วย Generative AI ของ Salesforce และ Google Workspace, Einstein Copilot และ Duet AI

o AWS partnership: เปิดตัว Bring Your Own Lake (BYOL) และ Bring your Own Large Language Model (BYO LLM) ซึ่งเป็นการผสานโซลูชั่นระหว่าง AWS และ Salesforce Data Cloud สร้างขึ้นบน AWS โดยนำ Generative AI ที่มีอยู่ของเซลส์ฟอร์ซเข้ามาพาร์ทเนอร์ด้วย ซึ่งการผสานโซลูชั่นดังกล่าวนี้จะช่วยให้ลูกค้าสามารถรวมข้อมูลของตนผ่าน Data Cloud และบริการของ AWS ได้อย่างไร้รอยต่อและมีความปลอดภัย เพื่อใช้ประโยชน์จากชุดโมเดลพื้นฐานต่าง ๆ ที่มีอยู่บน Amazon Bedrock และ Amazon SageMaker อย่างปลอดภัยภายในแพลตฟอร์มเซลส์ฟอร์ซ o McKinsey partnership: เปิดตัวการนำเทคโนโลยี Einstein และ Data Cloud ของเซลส์ฟอร์ซมาผสานเข้ากับโมเดลและเอไอของ McKinsey โดยการร่วมงานกันครั้งนี้จะช่วยเร่งการเปิดตัว Generative AI ที่น่าเชื่อถือสำหรับการขาย การตลาด การพาณิชย์ และการบริการ

o Databricks partnership: เปิดตัวการแชร์ข้อมูลแบบไร้รอยต่อระหว่าง Salesforce Data Cloud และ Databricks Lakehouse ที่จะช่วยลดต้นทุนและลดความซับซ้อนในการย้ายและคัดลอกข้อมูลสำหรับลูกค้า รวมทั้งสร้างความปลอดภัยและความน่าเชื่อถือ ช่วยปลดล็อกการใช้ข้อมูลเชิงลึกให้สมบูรณ์ยิ่งขึ้นเพื่อการส่งมอบประสบการณ์ของลูกค้าที่ดียิ่งขึ้น o Snowflake partnership: เปิดตัววางจำหน่าย Bring Your Own Lake (BYOL) ซึ่งเป็นเครื่องมือการแชร์ข้อมูลผ่าน Snowflake Data Cloud จาก Salesforce Data Cloud ที่จะช่วยเพิ่มพื้นที่จัดเก็บข้อมูลและส่งเสริมการนำข้อมูลเชิงลึกไปใช้งาน เสริมความแข็งแกร่งในการขับเคลื่อนการทำงานด้วยข้อมูลหรือ Data-driven ให้แก่ลูกค้า

o Genesys partnership: เปิดตัว CX Cloud โซลูชั่นการจัดการความสัมพันธ์และประสบการณ์ลูกค้าที่ขับเคลื่อนด้วยเอไอแบบครบวงจร ซึ่งเป็นการผสานระบบระหว่าง Genesys Cloud CXTM และ Salesforce Service Cloud เพื่อขับเคลื่อนประสบการณ์ลูกค้าและประสบการณ์พนักงานแบบครบวงจรให้ชาญฉลาดยิ่งขึ้น

ปัญญาประดิษฐ์ (AI) กลายเป็นหัวข้อที่ได้รับการพูดถึงบ่อยครั้งในปัจจุบัน เพราะ ChatGPT และเทคโนโลยีอื่น ๆ ที่คล้ายคลึงกันกำลังส่งผลต่อชีวิตประจำวันของผู้คน แต่ AI ก็ไม่ใช่เทคโนโลยีใหม่ ต้นกำเนิดของ AI สามารถย้อนกลับไปได้ถึงในช่วงทศวรรษ 1950 ทั้งนี้ผลจากการวิจัยและพัฒนาทางเทคโนโลยีที่สั่งสม มานานหลายทศวรรษจนถึงปัจจุบัน กำลังกลายเป็นกระแสหลักและสร้างความแตกต่างอย่างแท้จริง

สำหรับอุตสาหกรรมอาหารและเครื่องดื่มก็เช่นกัน ธุรกิจจำนวนมากขึ้นกำลังเก็บเกี่ยวประโยชน์ต่าง ๆ จากเทคโนโลยี AI พร้อมกันนี้มีการคาดการณ์ว่า ตลาด AI ในภาคอาหารและเครื่องดื่มจะมีมูลค่าสูงถึง 29.94 พันล้านเหรียญสหรัฐฯ ภายในปี 2571 ดังนั้นจึงคาดว่าธุรกิจอาหารและเครื่องดื่มที่ลงทุนใน AI จะมีจำนวนเพิ่มขึ้นอย่างเห็นได้ชัด แต่ก็ยังคงมีความสับสนอย่างมากว่าแท้จริงแล้ว AI คืออะไร ทำงานอย่างไร และเป็นประโยชน์ต่อภาคอาหารและเครื่องดื่มอย่างไร

AI คืออะไร แมชชีนเลิร์นนิงคืออะไร

 

AI คือความสามารถของคอมพิวเตอร์หรือเครื่องจักร ที่สามารถลอกเลียนหรือเลียนแบบพฤติกรรม อันชาญฉลาดและปฏิบัติงานได้เหมือนมนุษย์ โดยสามารถปฏิบัติหน้าที่ต่าง ๆ ที่ต้องใช้ความสามารถ ในการเรียนรู้ของมนุษย์ เช่น การคิด การใช้เหตุผล การเรียนรู้จากประสบการณ์ และที่สำคัญที่สุดคือ การตัดสินใจได้เอง

ส่วนแมชชีนเลิร์นนิง (Machine Learning - ML) นั้นเป็นส่วนหนึ่งของ AI ที่สามารถเรียนรู้และปรับเปลี่ยนได้โดยไม่ต้องตั้งโปรแกรมหรือช่วยทำ แมชชีนเลิร์นนิงใช้อัลกอริธึมและแบบจำลองทางสถิติในการวิเคราะห์ข้อมูลอย่างชาญฉลาด โดยวินิจฉัยจากรูปแบบข้อมูลเพื่อเป็นแนวทางในการดำเนินการขั้นต่อไป

AI เหมาะสำหรับอุตสาหกรรมอาหารและเครื่องดื่มในด้านใด ?

พูดง่าย ๆ ก็คือ AI (เฉพาะส่วนแมชชีนเลิร์นนิง) มีความสามารถในการเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตอาหาร ทุกด้าน ทำให้แอปพลิเคชันอัจฉริยะที่ออกแบบเฉพาะสำหรับแต่ละอุตสาหกรรม สามารถปรับปรุงระบบ ห่วงโซ่อุปทานได้ทุกจุดตั้งแต่แหล่งกำเนิดไปจนถึงมือผู้บริโภค ช่วยสร้างระบบห่วงโซ่อุปทานที่มี ความคล่องตัวและขับเคลื่อนให้มีรายได้เพิ่มขึ้น

ส่วนแมชชีนเลิร์นนิงสามารถให้คำแนะนำที่แม่นยำและทันเวลาสำหรับระบบห่วงโซ่อุปทานได้เกือบทุกด้าน ด้วยความสามารถในการคำนวณค่าข้อมูล พารามิเตอร์ สถานการณ์จำลอง และปัจจัยที่เกี่ยวข้องอื่น ๆ จำนวนมาก ซึ่งท้ายที่สุดแล้วจะทำให้เกิดความได้เปรียบในการแข่งขันที่ยากจะเลียนแบบหากปราศจาก การใช้เทคโนโลยี AI

มีการใช้แมชชีนเลิร์นนิงในด้านใดบ้าง ?

ดูเหมือนว่าอุตสาหกรรมอาหารและเครื่องดื่มจะมีการใช้แมชชีนเลิร์นนิงอย่างไร้ขีดจำกัด เช่น เรื่องเกษตรแม่นยำ (precision farming) ที่แมชชีนเลิร์นนิงสามารถให้ข้อมูลเชิงลึกใหม่ ๆ ซึ่งอาจเป็นการวิเคราะห์ การเก็บเกี่ยวที่ผ่านมาทั้งในด้านปริมาณและคุณภาพ ควบคู่ไปกับการพยากรณ์สภาพอากาศเพื่อกำหนดพื้นที่และเวลาที่ต้องรดน้ำ หรือเวลาที่ต้องใส่ปุ๋ย เป็นต้น

บริษัทอาหารและเครื่องดื่มจำนวนมากขึ้นหันมาใช้ AI เพื่อช่วยลดการสูญเสีย และค้นหาความไร้ประสิทธิภาพที่เกิดขึ้นในระบบห่วงโซ่อุปทานเตรียมพร้อมรับกับทุกสถานการณ์

เมื่อไม่นานมานี้ เราอาจพอเข้าใจได้ถึงการที่ธุรกิจอาหารคิดว่าสิ่งที่แน่นอนที่สุดคือความไม่นอน แต่ด้วยสภาพอากาศแปรปรวนเพิ่มขึ้นที่ไม่สามารถคาดเดาได้ แมชชีนเลิร์นนิงจะเข้ามีบทบาทด้านใดในเรื่องนี้ หากไม่มีรูปแบบข้อมูลให้ค้นหาสิ่งที่แมชชีนเลิร์นนิงทำได้คือ ช่วยให้เข้าใจความเสี่ยงของสภาพอากาศที่เปลี่ยนแปลงได้ดีขึ้น รวมถึงผลกระทบที่อาจเกิดต่อการเก็บเกี่ยวทั่วโลก ซึ่งความเข้าใจที่เพิ่มขึ้นนี้จะช่วยให้กำหนดแผนงานที่จำเป็น ในการลดความเสี่ยงเหล่านี้ได้ แต่ถึงแม้จะมีเทคโนโลยีแมชชีนเลิร์นนิงทันสมัยที่สุดพร้อมสรรพแล้วก็ตาม เพื่อให้แน่ใจว่ากลยุทธ์เหล่านี้มีประสิทธิภาพก็ต้องมีความเห็นพ้องต้องกันด้วย ทั้งนี้ องค์การอาหารและเกษตรแห่งสหประชาชาติ (FAO) ระบุว่า ทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้องในระบบห่วงโซ่อุปทานอาหารจะต้องยืดหยุ่นมากขึ้น ลดการใช้น้ำ พลังงาน และทรัพยากรอื่น ๆ ให้น้อยลง โดยแมชชีนเลิร์นนิงจะสามารถรองรับ การเปลี่ยนแปลงทั้งหมดที่กล่าวมาได้

ในขณะที่เทคโนโลยีพัฒนาและธุรกิจต่าง ๆ ค้นพบประโยชน์ของการประยุกต์ใช้ AI ความสามารถของ AI ก็จะยิ่งพัฒนามากขึ้นไปอีก โดยได้รับการปรับปรุงให้เหมาะกับการแก้ปัญหาเฉพาะของอุตสาหกรรมหรือธุรกิจ ดังที่เราได้เห็นแล้วว่าการประยุกต์ใช้ AI อย่างรอบคอบกำลังช่วยเหลือธุรกิจต่าง ๆ ในอุตสาหกรรมอาหารและเครื่องดื่ม และในระบบห่วงโซ่อุปทาน ทั้งนี้คาดว่าจะมีการใช้ AI เพิ่มขึ้นในอีกไม่กี่ปีข้างหน้า เพราะ AI ได้พิสูจน์ให้เห็นแล้วว่าเป็นตัวขับเคลื่อนประสิทธิภาพที่แท้จริง พร้อมทั้งช่วยให้ธุรกิจวางแผนรับมือกับเหตุการณ์ทั้งหลายที่อาจเกิดขึ้น โดยให้ข้อมูลเชิงลึกที่นำไปปฏิบัติได้จริง ซึ่งจำเป็นต่อการก้าวล้ำนำหน้าคู่แข่งอยู่ตลอดเวลา

สำหรับประเทศไทย รัฐบาลได้ขับเคลื่อนแผนพัฒนาเทคโนโลยีปัญญาประดิษฐ์ (Artificial Intelligence) เพื่อสร้างมูลค่าเศรษฐกิจในอาเซียนกว่า 1.9 พันล้านล้านบาทในปี 2573 โดยมีโครงการ AI Thailand เป็นหน่วยงานกลางเพื่อการพัฒนาที่มุ่งสนับสนุนทิศทางการพัฒนาในทุกด้าน รวมถึงการส่งเสริมการพัฒนา การศึกษา การนำไปใช้ และความปลอดภัยให้เกิดประโยชน์สูงสุดจากการใช้เทคโนโลยี AI อย่างยั่งยืน โดยได้ทำการสำรวจธุรกิจใน 10 ภาคส่วน ครอบคลุมผู้ตอบแบบสอบถามจาก 3,529 บริษัท โดยผลการศึกษาพบว่า 15.2% ของธุรกิจได้นำ AI ไปใช้แล้ว 56.7 % มีแผนจะใช้ในอนาคต และ 28.2% ไม่มีแผนใด ๆ ในการใช้ AI

ดังนั้นเพื่อให้บรรลุวัตถุประสงค์ดังกล่าว รัฐบาลจึงได้มอบหมายให้สำนักงานคณะกรรมการดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สดช.) จัดทำแผนปฏิบัติการด้านปัญญาประดิษฐ์แห่งชาติเพื่อการพัฒนาประเทศไทย (พ.ศ. 2565 – 2570) ขึ้นเพื่อให้มั่นใจว่าเทคโนโลยี AI จะถูกนำไปใช้อย่างมีจริยธรรมและความรับผิดชอบ ตลอดจนจัดทำแนวทางการใช้ AI ในภาคส่วนต่าง ๆ นอกจากนี้ รัฐบาลยังมีเป้าหมายที่จะส่งเสริมการใช้ AI ในการเกษตรและอาหารเพื่อเพิ่มผลผลิตและลดต้นทุน โดยเทคโนโลยี AI จะช่วยให้เกษตรกรตัดสินใจเกี่ยวกับการจัดการพืชผล สุขภาพของดิน และการควบคุมศัตรูพืชได้ดีขึ้น นอกจากนี้ ยังมีการพัฒนา AI สำหรับอาหาร เพื่อปรับปรุงความปลอดภัยและคุณภาพของอาหารอีกด้วย

การ์ทเนอร์คาดการณ์มูลค่าโอกาสในการสร้างรายได้ของเซมิคอนดักเตอร์ที่ออกแบบมาเพื่อรันเวิร์กโหลดปัญญาประดิษฐ์ (AI) ในอุตสาหกรรมเซมิคอนดักเตอร์ ปี 2566 จะเพิ่มขึ้น 20.9% จากปี 2565 หรือคิดเป็นมูลค่า 53.4 พันล้านดอลลาร์สหรัฐฯ

อลัน พรีสต์ลีย์ รองประธานฝ่ายวิจัยของการ์ทเนอร์ กล่าวว่า “การพัฒนา Generative AI และการใช้งานที่เพิ่มขึ้นของ AI-Based Applications ที่หลากหลายในดาต้าเซ็นเตอร์, โครงสร้างพื้นฐาน Edge และอุปกรณ์ปลายทาง จำเป็นต้องติดตั้งหน่วยประมวลผลกราฟิกประสิทธิภาพสูง (GPU) และอุปกรณ์เซมิคอนดักเตอร์ที่เหมาะสม ซึ่งสิ่งนี้กำลังขับเคลื่อนการผลิตและการใช้งานชิป AI”

การ์ทเนอร์พบว่าตลอดช่วงเวลาของการคาดการณ์ รายได้จากเซมิคอนดักเตอร์ AI จะยังเติบโตเป็นตัวเลขสองหลัก โดยในปี 2567 จะเพิ่มขึ้น 25.6% หรือคิดเป็นมูลค่า 67.1 พันล้านดอลลาร์สหรัฐฯ (ดูตารางที่ 1) และภายในปี 2570 รายได้ชิป AI คาดว่าจะเพิ่มขึ้นกว่าเท่าตัวของตลาดในปี 2566 โดยมีมูลค่าถึง 119.4 พันล้านดอลลาร์สหรัฐฯ

 อุตสาหกรรมและองค์กรด้านไอทีจำนวนมากจะปรับใช้ระบบที่มีชิป AI ตามปริมาณเวิร์กโหลดงานที่ใช้ AI ในองค์กรที่เติบโตสูงขึ้น หากพิจารณาตลาดอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์สำหรับผู้บริโภค นักวิเคราะห์การ์ทเนอร์ประเมินว่า ภายในสิ้นปี 2566 มูลค่าของชิปประมวลผลในแอปพลิเคชันที่ใช้งาน AI (AI-Enabled Application) ในอุปกรณ์ต่าง ๆ จะแตะ 1.2 พันล้านดอลลาร์สหรัฐฯ โดยเพิ่มขึ้นจาก 558 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ ในปี 2565

ความต้องการด้านการออกแบบที่มีประสิทธิภาพและเหมาะสมที่สุดสำหรับรองรับการดำเนินการปริมาณเวิร์กโหลดงานที่ใช้ AI อย่างคุ้มค่าส่งผลให้มีการใช้งานชิป AI ที่ออกแบบเองเพิ่มขึ้น พรีสต์ลีย์ กล่าวเพิ่มเติมว่า “สำหรับองค์กรหลาย ๆ แห่ง การปรับใช้ชิป AI ที่ออกแบบเองสำหรับใช้งานในสเกลใหญ่ ๆ จะเข้ามาแทนที่สถาปัตยกรรมชิปในปัจจุบัน รวมถึง discrete GPUs สำหรับใช้ในปริมาณเวิร์กโหลดงานที่ใช้ AI ที่หลากหลาย โดยเฉพาะอย่างยิ่งการใช้เทคนิค Generative AI”

Generative AI ยังกระตุ้นความต้องการระบบคอมพิวเตอร์ที่มีประสิทธิภาพสูงสำหรับการพัฒนาและการนำไปใช้ โดยมีผู้จำหน่ายหลายรายที่เสนอระบบ GPU ที่มีประสิทธิภาพสูง และอุปกรณ์เครือข่ายซึ่งมองว่าเป็นประโยชน์ระยะสั้น แต่ในระยะยาว การ์ทเนอร์คาดว่าจะมีการใช้ชิป AI ที่ออกแบบเองเพิ่มขึ้น

เมื่อผู้ให้บริการคลาวด์ขนาดใหญ่ (หรือ Hyperscaler) มองหาวิธีเพิ่มประสิทธิภาพและความคุ้มค่าในการปรับใช้แอปพลิเคชันเหล่านี้

จากสถิติฐานผู้เรียนและยอดผู้สมัครเรียนเพิ่มขึ้น 400% นับตั้งแต่ช่วงโควิด  Coursera มุ่งขยายตลาดสู่กลุ่มลูกค้าธุรกิจและสถาบันอุดมศึกษากว่า 40 ราย

คอร์สเซรา (Coursera) (NYSE: COUR) แพลตฟอร์มการเรียนรู้ออนไลน์ชั้นนำ ประกาศหลายโครงการความร่วมมือและการปรับเสริมหลักสูตรพร้อมฟีเจอร์ใหม่ๆ เพื่อให้ผู้เรียนในประเทศไทยสามารถเข้าถึงการศึกษาที่มีคุณภาพสูงได้อย่างมีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น พร้อมตอบโจทย์ความต้องการของผู้เรียนระดับบุคคลและระดับสถาบันการศึกษาต่างๆ ในไทยได้อย่างครอบคลุมทั่วถึง

คอร์สเซราได้เปิดตัวแคตตาล็อกเนื้อหาการเรียนรู้จำนวนมากในภาษาไทย รวมถึงหลากหลายฟีเจอร์ที่ขับเคลื่อนด้วย AI เพื่อนำเสนอประสบการณ์การเรียนรู้ออนไลน์ตามความต้องการเฉพาะบุคคลได้มากขึ้น และช่วยให้ผู้เรียนสามารถมีปฏิสัมพันธ์โต้ตอบ (Interactive) กับบทเรียนได้มากขึ้นด้วย สามารถรับชมวิดีโอเปิดตัวฟีเจอร์ใหม่ได้ที่นี่ โดยปัจจุบันผู้เรียนชาวไทยสามารถเข้าถึงหลักสูตรชั้นนำอย่าง The Science of Well-Being จาก Yale University, Excel Skills for Business: Essentials จาก Macquarie University, Programming for Everybody จาก University of Michigan และ What is Data Science? จากไอบีเอ็มซึ่งก่อนหน้านี้เคยมีเฉพาะภาษาอังกฤษเท่านั้น นอกจากนี้ คอร์สเซรายังได้ประกาศเปิดตัวกลุ่ม

ลูกค้าองค์กรและสถาบันอุดมศึกษารายใหม่ เนื่องจากสถาบันต่างๆ ทั่วประเทศเปิดรับการเรียนรู้แบบออนไลน์เพื่อเสริมทักษะด้านดิจิทัลให้กับพนักงานขององค์กรและนิสิตนักศึกษา ประเทศไทยถือเป็นหนึ่งในตลาดสำคัญของคอร์สเซราที่มีการเติบโตอย่างรวดเร็ว โดยผู้เรียนมากกว่า 800,000 คนจากประเทศไทยได้ลงทะเบียนเรียนหลักสูตรของคอร์สเซรากว่า 1.5 ล้านหลักสูตร ซึ่งเพิ่มสูงขึ้นถึงสี่เท่านับตั้งแต่เกิดการแพร่ระบาดของโรคโควิด

 

นายเจฟฟ์ มาจจิออนคัลดา (Jeff Maggioncalda) ประธานกรรมการบริหารของคอร์สเซรา กล่าวว่า "โอกาสการเติบโตทางเศรษฐกิจของไทยจำเป็นต้องอาศัยการบ่มเพาะแรงงานบุคลากรที่มีทักษะ ความคล่องตัว และมีความสามารถที่หลากหลาย ภารกิจของเราคือการช่วยให้ผู้คนเข้าถึงการเรียนรู้ที่มีคุณภาพระดับเวิลด์คลาสได้จากทั่วโลก และวันนี้ถือเป็นก้าวแห่งการพัฒนาครั้งสำคัญเมื่อเรานำเทคโนโลยี AI มาปรับใช้เพื่อลดช่องว่างด้านภาษาและการเรียนรู้เพื่อผู้เรียนนับล้านรายทั่วประเทศ ด้วยหลักสูตรที่แปลโดย AI มากกว่า 2,000 หลักสูตรที่เปิดสอนเป็นภาษาไทยในขณะนี้ ผู้เรียนชาวไทยสามารถเข้าถึงบทเรียนที่สอนโดยนักการศึกษาที่ดีที่สุดในโลกได้อย่างหลากหลายและสะดวกสบาย ซึ่งจะช่วยติดอาวุธเพิ่มศักยภาพให้พวกเขาด้วยทักษะที่จำเป็นต่อการเติบโตในโลกดิจิทัลที่มี AI เป็นแรงขับเคลื่อนสำคัญได้”

ไฮไลต์สำคัญ ได้แก่

● ปัจจุบันมีหลักสูตรภาษาไทยมากกว่า 2,000 หลักสูตร รวมถึงหลักสูตรที่ได้รับความนิยมสูงสุดในประเทศไทย เช่น การเรียนรู้ของเครื่องภายใต้การดูแลการถดถอยและการจำแนกประเภทจาก DeepLearning.AI และ Stanford รวมถึง ตลาดการเงินจาก Yale และวิธีการเรียนรู้ Deep Teaching Solutions ตอนนี้ผู้เรียนสามารถเข้าถึงการอ่านหลักสูตร คำบรรยายในวิดีโอบรรยายบทเรียน ไปจนถึงแบบทดสอบ การประเมิน คำแนะนำในการทบทวนบทเรียน และคำแนะนำสำหรับการอภิปราย ซึ่งเป็นภาษาไทยทั้งหมด ผู้เรียนจะสามารถเข้าถึงเนื้อหาที่แปลแล้วได้ในเบื้องต้นเมื่อลงทะเบียนในหลักสูตร Coursera for Business และ Coursera for Government โดยจะเผยแพร่แก่ผู้เรียนทุกคนก่อนสิ้นปี 2566 นี้ ● Coursera Coach (เบต้า) สำหรับสมาชิก Coursera Plus - ผู้ช่วยการเรียนรู้เสมือนจริงที่ขับเคลื่อนด้วย AI ซึ่งให้ข้อเสนอแนะรายบุคคล รวมถึงตอบคำถาม และสรุปวิดีโอการบรรยายและแหล่งข้อมูล ผู้สอนจะสนับสนุนผู้เรียนด้วยการโต้ตอบเป็นภาษาไทย

● ปลั๊กอิน Coursera ChatGPT – นำเสนอการค้นหาบทเรียนแบบส่วนตัวในแคตตาล็อกบทเรียนของคอร์สเซรา ทำให้ผู้เรียนที่ใช้ GPT-4 สามารถแนะนำเนื้อหาและข้อมูลประจำตัวได้อย่างรวดเร็วเพื่อช่วยพัฒนาทักษะในสาขาวิชาหรือสาขาอาชีพที่กำหนด

● การสร้างหลักสูตรโดยใช้ AI - เครื่องมือสร้างหลักสูตรที่ขับเคลื่อนด้วย AI ซึ่งผู้เรียนที่เป็นมนุษย์ต้องทำการป้อนคำแนะนำหรือคำถามที่ต้องการเข้าไป จะสร้างเนื้อหาโดยอัตโนมัติ ไม่ว่าจะเป็นโครงสร้างหลักสูตร คำอธิบาย การอ่าน การบ้าน และอภิธานศัพท์ ลูกค้าองค์กรและมหาวิทยาลัยยังสามารถใช้ฟีเจอร์นี้สำหรับการเขียนงานหรือหลักสูตรแบบเป็นความลับ โดยใช้ผู้เชี่ยวชาญภายในเพื่อสร้างหลักสูตรที่กำหนดเองและผสมผสานเข้ากับเนื้อหาที่แนะนำจากเหล่าพันธมิตรที่เข้าร่วมในคอร์สเซรา ซึ่งขณะนี้ฟีเจอร์ดังกล่าวอยู่ระหว่างการนำร่องปรับใช้เบื้องต้นกับลูกค้าที่ได้รับการคัดเลือก

● ความร่วมมือใหม่และการขยายความร่วมมือกับลูกค้า Coursera for Business 7 ราย ได้แก่ Egg Digital, บริษัท ไทยเบฟเวอเรจ จำกัด (มหาชน), บริษัท Card X จำกัด, กลุ่มธุรกิจเทคโนโลยีกสิกรไทย, ธนาคารกรุงศรีอยุธยา จำกัด (มหาชน), บริษัท บ้านปู จำกัด (มหาชน) รวมลูกค้าองค์กรในไทยในปัจจุบันทั้งหมด 27 ราย

● ความร่วมมือใหม่และการขยายความร่วมมือกับลูกค้าของ Coursera for Campus 4 แห่ง ได้แก่ ศูนย์การศึกษาทั่วไปและ คณะวิศวกรรมศาสตร์จากจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี มหาวิทยาลัยราชภัฏนครปฐม และมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ รวมลูกค้าสถาบันอุดมศึกษาในไทย 15 ราย

● นวัตกรรมแพลตฟอร์มเพื่อลดความเหลื่อมล้ำทางดิจิทัลและสร้างประสบการณ์การเรียนรู้ที่เข้าถึงได้ โดย 44% ของผู้เรียนชาวไทยใช้อุปกรณ์ดีไวซ์พกพาเพื่อเข้าถึงบทเรียนของคอร์สเซรา และช่วยให้ผู้เรียนสามารถดาวน์โหลดหลักสูตร ติดตามความคืบหน้าและแบบทดสอบ จดบันทึกพร้อมไฮไลต์ และเชื่อมต่อเข้าถึงปฏิทินการเรียน ซึ่งปรับให้เหมาะสมสำหรับการใช้ข้อมูลน้อยได้อย่างง่ายดาย

ด้วยความต้องการการเรียนรู้ออนไลน์ที่เพิ่มขึ้น คอร์สเซรามีเป้าหมายที่จะช่วยลดช่องว่างทักษะดิจิทัลของไทยเพื่อสนับสนุนขับเคลื่อนเศรษฐกิจของประเทศ ซึ่งแรงงานที่มีทักษะดิจิทัลขั้นสูงจะมีส่วนช่วยให้อัตราการเติบโตทางเศรษฐกิจหรือ GDP ของไทยเพิ่มมูลค่าประมาณ 75.8 พันล้านเหรียญสหรัฐ ยิ่งไปกว่านั้น ทักษะดิจิทัลยังส่งผลให้เกิดผลลัพธ์ทางเศรษฐกิจที่แข็งแกร่ง แรงงานในไทยที่ใช้ทักษะดิจิทัลขั้นสูง รวมถึงสถาปัตยกรรมคลาวด์และการพัฒนาซอฟต์แวร์ จะได้รับเงินเดือนสูงขึ้น 57% เมื่อเทียบกับผู้ที่ไม่ได้ใช้ทักษะเหล่านี้ในการทำงาน

 

“เทคโนโลยีเกิดใหม่ เช่น Generative AI กำลังเข้ามาพลิกโฉมวิธีการที่เราเรียนรู้ สอน และทำงานไปอย่างสิ้นเชิง” นายรากาฟ กุปตา (Raghav Gupta) กรรมการผู้จัดการประจำภูมิภาคเอเชียแปซิฟิกของคอร์สเซรา กล่าว “ด้วยจำนวนงานที่ใช้ทักษะดิจิทัลและการทำงานทางไกลที่เพิ่มมากขึ้น เรามุ่งมั่นที่จะเสริมศักยภาพให้กับผู้เรียนชาวไทยและสถาบันการศึกษาด้วยคุณภาพเนื้อหาบทเรียนและนวัตกรรม AI เพื่อลดช่องว่างระหว่างผู้เรียนในพื้นที่ห่างไกลกับพื้นที่เมือง และสร้างสังคมทักษะแรงงานที่มีความสามารถร่วมกัน" รายงานผลลัพธ์ของผู้เรียนประจำปี 2566 ของคอร์สเซรา เผยว่า ผู้เรียนทั่วภูมิภาคเอเชียแปซิฟิกได้พูดถึงประโยชน์ที่ได้รับจากการเรียนรู้เนื้อหาบทเรียนบนคอร์สเซรา โดย 86% กล่าวว่าได้ประโยชน์ด้านอาชีพ และ 97% กล่าวว่าได้ประโยชน์ส่วนบุคคลด้วยฐานผู้เรียนที่ขยายตัวอย่างรวดเร็วในไทยที่ปัจจุบันสามารถให้บริการเนื้อหาภาษาไทยได้แล้ว คอร์สเซราจึงถือเป็นแพลตฟอร์มการเรียนรู้ชั้นนำที่ช่วยส่งมอบทักษะจำเป็นแห่งอนาคตเพื่อบ่มเพาะความสามารถของเยาวชนไทย

ตั้งแต่วันนี้จนถึงวันที่ 30 กันยายน 2566 คอร์สเซรามอบหลักสูตรภาษาไทยฟรี จำนวน 5 หลักสูตรแก่ผู้เรียนชาวไทยทั่วประเทศ อย่าพลาดโอกาสในการลงทะเบียนรับสิทธิ์ผ่านลิงก์นี้ https://www.coursera.org/promo/thai-aug-2023

X

Right Click

No right click