3.มาตรฐานทางเทคนิคของ 5G อุตสาหกรรมการสื่อสารแบบไร้สายได้เข้ามาปฏิรูปสังคมอย่างชัดเจน ซึ่งเราเริ่มเห็นผลของการปฏิรูปดังกล่าวมาตั้งแต่เรายังใช้เทคโนโลยี 2G อยู่ในปี 1990, เทคโนโลยี 3G ในปี 2000 และ 4G ตั้งแต่ปี 2010 ซึ่งในแต่ละช่วงของการพัฒนา ทางด้านเทคโนโลยีพันธะสัญญาของผู้ที่มีส่วนได้ส่วนเสียในอุตสาหกรรมสื่อสารโทรคมนาคมก็คือการสร้างเครือข่ายหรือแพลตฟอร์มใหม่ๆออกมาใช้งานเพื่อให้เกิดการปฏิรูปสังคม โดยเทคโนโลยีและนวัตกรรมทางด้านสังคมก็ต่างค่อยๆได้รับการพัฒนาขึ้นและใช้ประโยชน์จากเครือข่ายใหม่ ซึ่งช่วยกระตุ้นให้อุตสาหกรรมการสื่อสารแบบไร้สายต้องหาวิธีที่ทำให้เกิดการลงทุนทางด้านเครือข่ายและแพลตฟอร์มต่างๆ โดยสิ่งต่างๆ เหล่านี้ก็จะเกิดขึ้นในยุคแห่งเทคโนโลยี 5G เช่นเดียวกัน กล่าวคือสังคมจะได้รับประโยชน์จากเทคโนโลยีดังกล่าวทั้งทางตรงและทางอ้อม
ผู้ประกอบการ (operators) จะยังคงมีบทบาทสำคัญในการให้บริการการเชื่อมต่อ ในยุค 5G เพื่อให้เกิดการเชื่อมต่อแบบไร้พรมแดนเพื่อทำงานประสานกับระบบ นิเวศของระบบการจัดการโครงสร้างพื้นฐานเครือข่ายแบบองค์รวมที่สามารถเข้า ถึงได้ในหลายรูปแบบเพื่อให้บริการการเชื่อมต่อตามแผนการใช้งาน 3 ประเภทดัง ต่อไปนี้
- ในตัวอาคาร การเชื่อมต่อจำเป็นต้องพึ่งพาเทคโนโลยี 5G macro cells (หาก ต้องใช้งานในช่วงคลื่นความถี่ต่ำ) เทคโนโลยี 5G small cells (สำหรับความจุ หรือช่วงคลื่นความถี่ที่สูงหรือจุดเชื่อมต่ออุปกรณ์ไร้สายหรือระบบในตำแหน่งที่อยู่กับที่) และการผสมผสานเครือข่ายแบบองค์รวมอื่นๆ รวมทั้ง WiFi การสื่อสารผ่านเส้นใยแก้วนำแสงหรือการสื่อสารระหว่างอุปกรณ์กับอุปกรณ์
- นอกตัวอาคารในชุมชนเมืองที่มีความหนาแน่นสูง การเชื่อมต่อจำเป็นต้องพึ่งพาโซลูชั่น 5G RAN รวมทางเทคโนโลยี 5G small cells ในพื้นที่ที่มีผู้ใช้บริการมาก (เช่นสถานีรถไฟ สนามกีฬา ห้างสรรพสินค้า)
- นอกตัวอาคารในพื้นที่ย่านธุรกิจที่มีผลกระทบต่อการเติบโตทางเศรษฐกิจ การเชื่อมต่อต้องพึ่งพาการผสมผสานกันของเทคโนโลยี 5G RAN (หากเปิดใช้ บริการในช่วงคลื่นความถี่ที่ต่ำ) 4G RAN ดาวเทียมวงโคจรต่ำที่มีการโคจรไม่สูงจากพื้นโลกมากนักและเทคโนโลยีเครือข่ายทางเลือกอื่นๆ
5G กับการเชื่อมต่อแบบบูรณาการ
อย่างไรก็ตามวิสัยทัศน์ของเทคโนโลยี 5G จะไม่กลายเป็นความจริง หากไม่มีการใช้ปัญญาประดิษฐ์ (AI) และข้อมูลของลูกค้า โดยเครือข่าย 5G จะต้องรับมือกับนโยบายความเป็นส่วนตัวและความเสี่ยงที่เกี่ยวข้องกับมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์ที่มีผลต่อผู้ใช้งานองค์กร และหน่วยงานรัฐบาลมากขึ้น ผู้ให้บริการอาจจะต้องผลักดันให้เกิดการหารือเกี่ยวกับนโยบายความเป็นส่วนตัวและสร้างแนวทางปฏิบัติร่วมกันว่า ข้อมูลใดบ้างของลูกค้าที่สามารถเก็บรวบรวมไว้ได้ มีวิธีการนำออกมาใช้งานอย่างไร และสามารถแบ่งปันข้อมูลนั้นให้กับใครได้บ้าง ในด้านการพัฒนาข้อกำหนดด้านความปลอดภัยที่เกี่ยวข้องกับระดับความเสี่ยงและความไม่มั่นคง ซึ่งเป็นปัจจัยที่จะทำให้ภาครัฐและหน่วยงานกำกับดูแลต้องกลับมาทบทวนกฎหมาย และนโยบายด้านความปลอดภัยแบบครอบคลุมรอบด้านมากกว่าที่เคยเกิดขึ้นใน เครือข่ายการสื่อสารแบบไร้สายในยุคก่อนๆ
ประเด็นสำคัญที่มีการพูดกันอย่างมากคือ 5G จะมาทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงใน อุตสาหกรรมหลายอุตสาหกรรมอย่างฉับพลัน (Disruption) เพราะการมุ่งไปสู่การพัฒนา 5G บวกกับการให้บริการทุกรูปแบบบนระบบคลาวด์ จะช่วยให้เกิดการบริการใหม่ๆ ที่ไม่เคยมีมาก่อนในอดีต รวมไปถึงการพัฒนาแอพพลิเคชั่น On- demand ขององค์กร และเนื่องจากระบบดังกล่าวมีความยืดหยุ่น มีความรวดเร็วในการตอบสนองต่อความต้องการของธุรกิจและองค์กร มีขีดความสามารถในการประมวลผล และจัดเก็บข้อมูลขนาดใหญ่ ทำให้ระบบเครือข่ายขององค์กรสามารถลดค่าใช้จ่ายได้อย่างมหาศาล สามารถสร้างธุรกิจที่ปรับขนาดและปรับตัวได้อย่างรวดเร็ว และยังเป็นเครื่องมือสำคัญต่อองค์กรในการปรับตัวรับมือกับสิ่งใหม่ๆ ที่จะเข้ามาในอนาคตโดยไม่ต้องแบกรับต้นทุน เพราะองค์กรสามารถใช้งานโครงข่าย 5G ที่ให้บริการอย่างมีประสิทธิภาพอยู่แล้ว จนไม่ต้องสร้างโครงสร้างของตนเอง จึงไม่ต้องแบกรับกับต้นทุนที่มหาศาลในระยะยาวอีกต่อไป
นอกจากเรื่องความเร็วของการรับส่งข้อมูล การตอบสนองที่รวดเร็วกว่าและการ ปรับปรุงประสิทธิภาพในการใช้คลื่นความถี่ที่ดีขึ้นแล้ว อุปกรณ์บนเครือข่าย 5G ยังใช้พลังงานน้อยกว่า 4G อีกด้วย ซึ่งถือเป็นความสามารถที่จำเป็นสำหรับการเติบโตของ Internet of Things (IoT) ในอนาคต อีกทั้ง 5G ยังสามารถเข้ามาแก้ ปัญหาบางอย่างของ 4G ได้แก่ การเชื่อมต่ออุปกรณ์ที่หลากหลายขึ้น การใช้พลังงานที่มีประสิทธิภาพสูง และมาตรฐานทางเทคนิคที่ยอมรับทั่วโลก ซึ่งจะทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงในอุตสาหกรรมและสังคมอย่างรวดเร็วอย่างที่ไม่เคยปรากฏมาก่อน เช่น ทำให้เกิดโอกาสสำหรับการเชื่อมต่อในเมืองอัจฉริยะ (Smart city) การผ่าตัดระยะไกลในวงการแพทย์ รถยนต์ไร้คนขับ และ Internet of Things (IoT) เป็นต้น
นอกจาก 5G จะทำให้จำนวนอุปกรณ์ IoT และเซ็นเซอร์ต่างๆ แพร่หลายเพิ่มขึ้นแล้ว ยังจะเปลี่ยนรูปแบบของการเชื่อมต่อระหว่างอุปกรณ์ IoT ด้วย เช่น ในโรงงานอุตสาหกรรมที่มีการใช้หุ่นยนต์จะสามารถเชื่อมต่อกันได้บนคลาวด์แบบ real time จึงทำให้สำนักงานใหญ่ที่อยู่คนละฟากโลกกับโรงงานสามารถตรวจสอบระบบงานและวัดประสิทธิภาพการผลิตในโรงงานได้อย่าง real time, รถยนต์จะมีอุปกรณ์เซ็นเซอร์ อุปกรณ์การควบคุม และอุปกรณ์สื่อสารเชื่อมต่อกันได้อย่างครบวงจร และไปจนถึงการเชื่อมโยงรถยนต์ ประชาชนและกล้อง CCTV เข้ากับระบบ Smart city เพื่อเพิ่มความปลอดภัยของเมืองได้อีกด้วย
5G จะทำให้ผู้ประกอบการและองค์กรที่สามารถสร้างเครือข่ายแบบเสมือนที่อุปกรณ์ปลายทางสามารถเชื่อมต่อกันได้ตามต้องการมีความปลอดภัยมากขึ้น จากการเชื่อมในลักษณะเครือข่ายบุคคลต่อบุคคลหรือ peer-to-peer โดย 5G จะ แตกต่างจากเทคโนโลยีเดิมอย่างมาก เนื่องจากถูกสร้างขึ้นเพื่อทำให้เกิดการบริการที่ทันสมัยและหลากหลาย เป็นไปตามความต้องการของผู้ใช้งาน คล้ายๆ การต่อ Lego โดยมีการคาดการณ์ว่า จะเกิดผู้ประกอบการหน้าใหม่ เช่น start-up มากมายเมื่อ 5G เริ่มเปิดให้บริการ โดยเราจะได้สัมผัสกับการเปลี่ยนแปลงจากรูปแบบการทำธุรกิจที่พลิกโฉม (Business disruption) ไปจากเดิมอย่างน่าตื่นตาตื่นใจ และรวดเร็วกว่าที่คาดการณ์ไว้
จากผลการวิจัยจากสถาบันวิจัยหลายแห่งทั่วโลกส่วนใหญ่ ต่างเห็นพ้องตรงกันว่า 5G จะสามารถผลักดันให้ผู้ประกอบการสามารถส่งมอบบริการต่างๆ ไม่ว่าจะเป็น การให้บริการแบบเสมือน (virtualized), software-defined และ cloud-centric distributed computing จนทำให้มีรูปแบบธุรกิจที่แปลกใหม่มากมายเข้ามาท้าทาย ธุรกิจรูปแบบดั้งเดิมด้วยทีมงานคนรุ่นใหม่ ที่เปี่ยมล้นด้วยความคิดสร้างสรรค์ สามารถใช้เทคโนโลยีอย่างคล่องแคล่ว และมีต้นทุนต่ำกว่าองค์กรดั้งเดิมที่ อุ้ยอ้าย มีขนาดใหญ่ และองค์กรในยุคใหม่ไม่จำเป็นต้องสร้าง office ที่ใหญ่โต
ยกตัวอย่างเช่น ธุรกิจ broadcast ที่ให้บริการส่งมอบวีดีโอแบบ real time ด้วยการ รับจ้างจัดบริการถ่ายทอดสด ที่มีทีมงานขนาดเล็กและคล่องตัว, ธุรกิจสื่อด้านการรายงานข่าวเฉพาะด้าน ไม่ว่าจะเป็นการ update ข่าวการเมือง ข่าวเศรษฐกิจ ข่าวกีฬา และอื่นๆ ที่มีเนื้อเนื้อข่าวที่รวดเร็ว สดใหม่ เที่ยงตรง แม่นยำกว่าสื่อดั้งเดิม โดยมีวิธีการเข้าถึงกลุ่มลูกค้าเป้าหมายด้วยเทคโนโลยีดิจิทัล real time, ธุรกิจด้านการวิเคราะห์ข้อมูลและหาข้อมูลเฉพาะด้านที่ให้บริการข้อมูลที่ถูกต้อง และแม่นยำสำหรับผู้บริหารเฉพาะด้าน และบุคคลทั่วไป, ธุรกิจด้านการให้บริการทำการตลาดทางดิจิทัล ที่สามารถวัดประสิทธิภาพในการให้บริการอย่าง real time, ธุรกิจที่ปรึกษาเฉพาะทางที่มีขีดความสามารถในการใช้เทคโนโลยีปัญญาประดิษฐ์ และ Big Data ในการวิเคราะห์ผล และธุรกิจที่หลากหลายรูปแบบในอุตสาหกรรม Healthcare โดยการใช้เทคโนโลยี 5G บวกเข้ากับระบบเซ็นเซอร์ IoT ที่สามารถติดตามและให้บริการด้านสุขภาพ เป็นต้น
อย่างไรก็ตาม เมื่อเกิดการเปลี่ยนแปลงจากเทคโนโลยีใหม่อย่าง 5G และผู้ประกอบการสามารถก้าวตามทันเทคโนโลยีที่เปลี่ยนแปลง หรือมีการเตรียมความพร้อมต่อการเปลี่ยนแปลงที่ดีแล้ว จะช่วยให้ผู้ประกอบการสามารถตระหนักถึงโลกใบใหม่ของผู้บริโภคได้ โดยการเชื่อมต่อโดยสมบูรณ์ของโลกทางกายภาพ และโลกไซเบอร์ จะช่วยให้เกิดโอกาสทางธุรกิจใหม่ๆอย่างไม่มีวันสิ้นสุด จึงทำให้นับจากนี้โอกาสจึงตกอยู่กับคนรุ่นใหม่ (Y Generation) ที่เกิดมาพร้อมกับการใช้อินเทอร์เน็ต (Digital native)
โอกาสใหม่ดังกล่าวจะเกิดขึ้นได้ก็ต้องเกิดจากการร่วมกันระหว่างภาครัฐและภาคเอกชน ที่จะมาร่วมกันพัฒนาทั้งในส่วนการสร้างสิ่งแวดล้อมในด้านนโยบายการพัฒนาด้านดิจิทัล การปรับปรุงกฎหมายให้ทันสมัยที่เอื้อต่อการพัฒนาเศรษฐกิจ ดิจิทัล รวมไปถึงการจัดสรรทรัพยากรโทรคมนาคมที่มีประสิทธิภาพ และที่สำคัญคือการสร้าง Human capability ของไทย เพื่อสร้างระบบนิเวศของเศรษฐกิจให้ เติบโตอย่างยั่งยืน ให้สอดคล้องกับวัฒนธรรมของไทยสืบไป
“ในขณะที่เกิดโอกาสใหม่ของคนรุ่นใหม่ แต่ก็คงจะมีองค์กรและคนที่จะตกขอบ โลกเป็นจำนวนมาก เช่นกัน”
ณ เวลานี้ได้ถึงจุดเปลี่ยนที่สำคัญ ที่มีการเปลี่ยนแปลงอย่างก้าวกระโดด โดยถือได้ว่าเป็นยุคใหม่ของการเชื่อมต่อที่เรียกว่าอุตสาหกรรม 4.0 ซึ่งจะทำให้โรงงาน ในปัจจุบันดูแปลกตาและน่าตื่นเต้นเหมือนในภาพยนตร์ Mission Impossible ก็ว่า ได้
กล่องบรรจุภัณฑ์บนสายพานลำเลียงจะติดต่อสื่อสารโดยสั่งเครื่องจักร (หรือ robot) ว่าจะบรรจุผลิตภัณฑ์ลงในกล่องอย่างไร, เครื่องพิมพ์ 3 มิติจะประกอบชิ้น ส่วนสินค้าอุปโภคบริโภคขนาดเล็กที่มีรูปแบบเฉพาะ และจากนั้นจะปรับเปลี่ยนตัวเองเพื่อทำอย่างอื่นต่อไป
คนงานที่สวมแว่นตา AR จะทำงานร่วมกับหุ่นยนต์ได้อย่างราบรื่น ข้อมูลแบบเรียลไทม์ของทุกกระบวนการจะถูกส่งไปยังผู้จัดการที่อยู่นอกโรงงาน ที่สามารถบริหารจัดการจากระยะไกลได้
การสื่อสารระหว่างเครื่องจักรกับเครื่องจักร (M2M) และเครื่องจักรกับมนุษย์ (M2H) จะเชื่อมโยงทั้งเครื่องจักร กระบวนการผลิต และจอควบคุมของโรงงานแห่งอนาคต และเทคโนโลยี 5G จะเชื่อมโยงทุกอย่างเข้าด้วยกัน ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงทางดิจิทัลที่จะปรับปรุงประสิทธิภาพ ประสิทธิผล และคุณภาพได้อย่างไม่น่าเชื่อ
ในยุค 5G หุ่นยนต์และมนุษย์จะทำงานร่วมกันในโรงงาน ซึ่งในโรงงานจะทำหน้าที่เหมือนวงออเครสตร้ามากกว่าจะเป็นเพียงกลุ่มของสายการผลิตที่มีเครื่องจักรมนุษย์ และหุ่นยนต์ที่ต่างก็มีบทบาทแตกต่างกัน แต่กลับมาทำงานร่วมกัน พื้นโรงงานจะเป็นแบบไดนามิก และปรับแต่งใหม่ได้ เพื่อให้เหมาะกับผลิตภัณฑ์ที่จะผลิตขึ้น
หุ่นยนต์ที่มีเซ็นเซอร์นำทางจะสามารถเคลื่อนที่จากตำแหน่งหนึ่งไปยังอีกตำแหน่งหนึ่งได้ โดยไม่มีการชนกันด้วยความเร็วในการส่งข้อมูลของ 5G ที่เร็วกว่า 4G ถึง 100 เท่า และมีความหน่วงเวลา (delay) ต่ำกว่า 1 มิลลิวินาที
หุ่นยนต์จะเชื่อมต่อเข้ากับระบบคลาวด์ได้แบบเรียลไทม์ เพื่อความปลอดภัยและสั่งการ ซึ่ง 5G ไม่ได้สำคัญแค่เรื่องความเร็วแต่จะมีการเพิ่มจำนวนเครือข่ายที่สามารถเชื่อมต่อกันได้มากขึ้นและสามารถรองรับการใช้งานผ่านอุปกรณ์ Internet of Things ได้ถึงล้านล้านชิ้น
ซึ่งเป็นไปตามมาตรฐาน 5G Infrastructure Public Private Partnership ซึ่งเป็นโครงการริเริ่มร่วมกันของอุตสาหกรรมเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารในยุโรปและ EU
5G จะทำงานได้ดีสำหรับทั้งการสื่อสารในระยะสั้นและระยะไกล สนับสนุนคุณสมบัติด้านความปลอดภัย และใช้พลังงานจากแบตเตอรี่เพียงเล็กน้อยเท่านั้น
โดยทางเทคนิคแล้ว 5G จะสามารถใช้งานได้โดยใช้พลังงานเพียงแค่หนึ่งในพันของพลังงานที่ใช้โดย 4G และแบตเตอรี่มีอายุการใช้งานยาวนานกว่าเดิม ซึ่งเป็นข้อได้เปรียบในเรื่องการบำรุงรักษาและเหมาะกับการใช้ในโรงงานที่มีเครื่องจักร อัตโนมัติที่ซับซ้อน
ถึงแม้ว่าโรงงานแห่งอนาคตในยุค 5G ยังไม่ได้เริ่มเป็นรูปเป็นร่าง ณ วันนี้ก็ตาม แต่หุ่นยนต์ที่มีการใช้งานอยู่แล้วจะสามารถเชื่อมต่ออุปกรณ์ประมวลผลที่มีราคาไม่แพง เซ็นเซอร์ที่สามารถจับภาพและเก็บข้อมูลจำนวนมากและอัลกอริทึมการ ประมวลผลข้อมูลที่ซับซ้อน และเทคโนโลยีเหล่านี้กำลังมารวมกันเพื่อสร้างเครื่องจักรที่เรียนรู้ได้ (Machine Learning) ภายใน 2 ปีนี้
ตามรายงานของ PricewaterhouseCoopers ในอนาคตหุ่นยนต์จะได้รับการฝึกและเรียนรู้ โดยใช้ทรัพยากรสำหรับการเรียนรู้อย่างลึกซึ้ง (Deep Learning) ซึ่งถือว่าเป็นเทคโนโลยีปัญญาประดิษฐ์ (AI) ขั้นสูงบนระบบคลาวด์
โดยในอนาคตโรงงานจะมีหุ่นยนต์ทำงานร่วมกับมนุษย์ด้วยการสังเกตและเลียน แบบพฤติกรรมของมนุษย์
เครื่องจักรบางชิ้นจะประมวลผลข้อมูลของตัวเองที่หนึ่งรอบเวลาที่ใช้ในการทำงาน สำเร็จหนึ่งงานจะใช้เวลาน้อยกว่าหนึ่งมิลลิวินาที เครื่องจักรจะทำการวิเคราะห์ข้อมูลสตรีมมิ่ง ในขั้นตอนนี้เรียกว่า Edge computing ที่จะสามารถทำการวินิจฉัยด้วยตนเองและตัดสินใจกำหนดค่าใหม่ได้เองภายใต้กรอบนโยบายและกฎในการผลิต
ในยุค 5G เทคโนโลยี Augmented Reality (AR) จะช่วยให้มนุษย์สามารถทำงานได้อย่างชาญฉลาด โดยการสวมเลนส์ AR จะทำให้คนในไลน์การผลิตสามารถเข้าถึงข้อกำหนดและคำแนะนำต่างๆ โดยละเอียด ช่วยลดเวลาในการฝึกอบรม และช่วยให้พวกเขาสามารถทำงานอย่างอื่นได้หลายอย่างในเวลาเดียวกัน
บริษัท Lockheed Martin มีการใช้ AR เพื่อสร้างเครื่องบินเจ็ต F-35 ด้วยการแสดง ผลบนกระจกแว่นตาที่คนงานสวมใส่ ทำให้เห็นได้ว่าแต่ละชิ้นส่วนควรวาง ตำแหน่งใด ทำให้เพิ่มผลผลิตได้ถึง 30% และเพิ่มความแม่นยำขึ้นถึง 96%
ในโรงงานแห่งอนาคต ทีมงานฝ่ายสนับสนุนจะมีการใช้ AR เพื่อตรวจสอบกระบวนการแบบเรียลไทม์ ที่จะสามารถมองเห็นได้เช่นเดียวกับที่คนงานมองเห็นผ่านแว่นตา AR และจะได้ให้คำแนะนำในการแก้ไขหรือสั่งงานได้ทันที
ในยุคระบบสื่อสารบรอดแบนด์เคลื่อนที่ 5G จะเป็นการเปลี่ยนผ่านครั้งใหญ่ของรูปแบบธุรกิจในอนาคต ซึ่งซัพพลายเออร์จำนวนมากกำลังสร้างอุปกรณ์ 5G ซึ่งจะช่วยผลักดันการแข่งขันและสร้างประสิทธิภาพด้านต้นทุน โดยจะมีมาตรฐานออก มาและสามารถใช้งานในเชิงพาณิชย์ภายใน 2020
บริษัทด้านโทรคมนาคมทุกวันนี้ให้บริการโดยตรงกับลูกค้าที่เป็นผู้ใช้โทรศัพท์เคลื่อนที่ แต่ในการทำงานกับโรงงาน พวกเขาอาจจะต้องทำข้อตกลงกับบริษัทผู้ติดตั้งระบบ อย่างเช่น Huawai, Cisco, Sigfox, NEC เป็นต้น จึงทำให้เห็นได้อย่าง ชัดเจนว่าผู้ประกอบการเครือข่ายโทรศัพท์เคลื่อนที่จะต้องเปลี่ยน business model ในยุค 5G ในอนาคตอันใกล้
ดังนั้นในยุค 5G ระบบสื่อสารเคลื่อนที่จะมีบทบาทที่เปลี่ยนไป ซึ่งจะเข้าไปมีบทบาทในโรงงานอุตสาหกรรมต่างๆ อย่างมาก โดยจะทำให้เกิดการปฏิวัติการผลิตสินค้าให้เป็นแบบ M2M และ M2H อย่างแน่นอน และมันจะเป็นตัวเร่งทำให้เกิดแพลตฟอร์ม IoT และ robotics ที่เติบโตขึ้นทั่วโลกอย่างรวดเร็ว
บทความ โดย : พันเอก ดร.เศรษฐพงค์ มะลิสุวรรณ
รองประธานกรรมการกิจการกระจายเสียงกิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช.)
สามารถรับชมคลิปวิดีโอ หัวข้อ “Next-Gen. Leaders & Next-Gen. Mobile Tech” โดย พันเอก ดร.เศรษฐพงค์ มะลิสุวรรณ กสทช. จากงาน Thailand MBA Forum 2018 ได้ที่นี่