×

Warning

JUser: :_load: Unable to load user with ID: 7636

JUser: :_load: Unable to load user with ID: 6847

JUser: :_load: Unable to load user with ID: 840

นายพิศิษฐ์ เสรีวิวัฒนา กรรมการผู้จัดการ ธนาคารเพื่อการส่งออกและนำเข้าแห่งประเทศไทย (EXIM BANK) ลงนามกับนายอัตสึโอะ คุโรดะ ประธานและประธานเจ้าหน้าที่บริหาร องค์กรรับประกันแห่งประเทศญี่ปุ่น (Nippon Export and Investment Insurance : NEXI) ในบันทึกข้อตกลงความร่วมมือด้านการรับประกัน (Insurance) โดยมีนายนะชิดะ คะสุยะ เอกอัครราชทูตประเทศญี่ปุ่นประจำประเทศไทย และนายพิริยะ เข็มพล กรรมการ EXIM BANK เป็นสักขีพยานกิตติมศักดิ์ในพิธีลงนาม เพื่อใช้บริการประกันการส่งออกและการลงทุนของ EXIM BANK เป็นเครื่องมือในการบริหารความเสี่ยงของผู้ส่งออกและนักลงทุนไทยและญี่ปุ่น โดยเฉพาะในตลาด CLMV และพื้นที่ระเบียงเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออก (Eastern Economic Corridor : EEC) ของไทย ณ โรงแรมแมนดาริน โอเรียนเต็ล กรุงเทพฯ เมื่อวันที่ 11 กุมภาพันธ์ 2563

 

กรรมการผู้จัดการ EXIM BANK เปิดเผยว่า ความร่วมมือระหว่าง EXIM BANK กับ NEXI ครอบคลุมการแลกเปลี่ยนข้อมูลและการให้บริการทางการเงินในรูปแบบการรับประกันและการรับประกันต่อ เพื่อคุ้มครองความเสี่ยงให้ผู้ประกอบการไทยและญี่ปุ่นมั่นใจที่จะขยายการส่งออกและโครงการลงทุนเพิ่มมากขึ้น ทั้งในไทย ญี่ปุ่น และประเทศอื่น ๆ ทั่วโลก อันจะนำไปสู่การยกระดับขีดความสามารถในการแข่งขันของผู้ประกอบการไทยผ่านการแลกเปลี่ยนเรียนรู้เทคโนโลยีการผลิตใหม่ ๆ ของญี่ปุ่น การเรียนรู้วัฒนธรรมองค์กรธุรกิจของญี่ปุ่น การพัฒนาทักษะแรงงาน โดยเฉพาะ SMEs และโอกาสใหม่ ๆ ทางการตลาด อาทิ การเข้าร่วมงานแสดงสินค้าในญี่ปุ่น ท่ามกลางความผันผวนของเศรษฐกิจโลกและผลกระทบต่อเศรษฐกิจไทยและญี่ปุ่นอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ โดยบริการประกันการส่งออกและประกันความเสี่ยงด้านการลงทุนภายใต้ความร่วมมือระหว่างทั้งสองหน่วยงานนี้จะช่วยให้การค้าและการลงทุนระหว่างไทยกับญี่ปุ่นขยายตัวได้อย่างต่อเนื่อง โดยไม่ต้องกังวลความเสี่ยงจากผู้ซื้อ ประเทศผู้ซื้อ หรือประเทศเป้าหมายที่เข้าไปลงทุน นอกจากนี้ ยังช่วยให้ผู้ประกอบการเข้าถึงแหล่งเงินทุนได้ง่ายยิ่งขึ้น เนื่องจากผู้ประกอบการที่ใช้บริการประกันการส่งออกและประกันความเสี่ยงการลงทุนของ EXIM BANK สามารถโอนสิทธิในกรมธรรม์ประกันการส่งออกและการลงทุนเป็นหลักประกันในการขอรับสินเชื่อจากธนาคารพาณิชย์ได้

 

ยิ่งไปกว่านั้น EXIM BANK และ NEXI ยังมีความร่วมมือด้านการรับประกันต่อระหว่างกัน ช่วยสนับสนุนการทำหน้าที่ธนาคารเพื่อการพัฒนาการส่งออกและการลงทุนของ EXIM BANK ได้เป็นอย่างดี ทำให้ EXIM BANK สามารถรับความเสี่ยงในการทำธุรกิจรับประกันได้มากขึ้น ขยายขอบเขตการให้บริการแก่ผู้ส่งออกและนักลงทุนไทยและญี่ปุ่นได้มากขึ้นกว่าเดิม โดยมี NEXI ร่วมรับความเสี่ยงในการสนับสนุนธุรกรรมการส่งออกและการลงทุน

 

“EXIM BANK ขยายความร่วมมือกับ NEXI ในครั้งนี้ เพื่อสร้างความเชื่อมั่นให้แก่ผู้ประกอบการไทยและผู้ประกอบการญี่ปุ่นซึ่งเป็นนักลงทุนรายใหญ่ของไทย ในการขยายการค้าและการลงทุนระหว่างกัน เพื่อยกระดับศักยภาพและเทคโนโลยีการผลิตในภาคอุตสาหกรรมของไทย กระตุ้นการพัฒนาสินค้าและบริการที่มีนวัตกรรม ตอบสนองความต้องการของผู้บริโภคและภาคธุรกิจในไทยและขยายไปยังตลาด CLMV ที่มีอัตราการขยายตัวทางเศรษฐกิจเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง นำไปสู่การพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมของภูมิภาคและโลกโดยรวม” นายพิศิษฐ์กล่าว

Education Change

November 06, 2019

ช่วงนี้เป็นยุคเปลี่ยนผ่าน ยุคที่ทุกคนในบ้านเรากำลังเฝ้ารอการเปลี่ยนแปลง ผ่านพ้นวิกฤตเข้าสู่ความหวังที่จะเห็นสิ่งต่างๆ ดีขึ้น ทางด้านการศึกษาเองก็เช่นกัน

ตอบโจทย์ความสะดวก อร่อย และอิ่มบุญ “โออิชิ” เจ้าตำรับอาหารญี่ปุ่น (King of Japanese Food) และ 3 แบรนด์ดัง (1) โออิชิ ราเมน (2) คาคาชิ และ (3) โออิชิ เดลิเวอรี่ ผนึกกำลังร่วมสืบสานประเพณีถือศีลกินเจ 2562 พร้อมสร้างสรรค์เมนูอาหารเจหลากหลายสไตล์ญี่ปุ่น ให้บริการตลอดช่วงเทศกาล ตั้งแต่ 23 กันยายน 2562 – 11 ตุลาคม 2562

โดยในปีนี้ โออิชิ ได้พัฒนาและสร้างสรรค์เมนูอาหารเจเพื่อสุขภาพจากวัตถุดิบที่มีประโยชน์ขึ้นมาอย่างหลากหลายเพื่อออกมาตอบสนองความต้องการหรือความพึงพอใจของผู้บริโภคที่ขยายตัวและมีจำนวนเพิ่มขึ้นต่อเนื่องทุกปี ๆ เริ่มที่แบรนด์แรกอย่าง โออิชิ ราเมน (OISHI Ramen) นำเสนอชุดเมนูอาหารเจ 2 รายการ ได้แก่ SET 1 : ยากิโซบะเห็นรวมเจ (เส้นผักโขม) เสิร์ฟพร้อมน้ำซุปเจ และน้ำชาเขียว โออิชิ กรีนที (รีฟิล) ราคาชุดละ 149 บาท SET 2 : เบนโตะเทมปุระผักรวมเจ เสิร์ฟพร้อมน้ำซุปเจ และน้ำชาเขียว โออิชิ กรีนที (รีฟิล) ราคาชุดละ 169 บาท นอกจากนี้ยังมีเมนูอาหารว่างและของทานเล่นเจอย่าง เต้าหู้เย็นทรงเครื่องเจ (69 บาท) อีกด้วย

ตามมาด้วย คาคาชิ (KAKASHI By OISHI) นำเสนอชุดเมนูอาหารเจในรูปแบบของดงบุริ (หรือข้าวหน้าต่าง ๆ) ที่มาพร้อมกับ 2 รสชาติที่แตกต่างกัน ทั้ง ข้าวหน้าล้นเต้าหู้เห็ดรวม รสชาติเบา ๆ กลมกล่อม...กำลังดี และ ข้าวหน้าล้นเต้าหู้เห็ดรวมสไปซี่ รสชาติเผ็ด...จัดจ้าน พิเศษ !!! จัดเสิร์ฟเป็นชุด พร้อมน้ำซุปเจร้อน ๆ 1 ถ้วย และน้ำชาเขียว โออิชิ กรีนที 1 แก้ว ในราคาสุดคุ้ม เพียงชุดละ 159 บาท เท่านั้น

ะดวกยิ่งขึ้น !!! ด้วยบริการจัดส่งอาหารของ โออิชิ เดลิเวอรี่ (OISHI Delivery) พร้อมส่งเมนูอาหารเจ อร่อยหลากหลาย ซึ่งขอแนะนำ เบนโตะเห็ดออรินจิย่างซอสเจ จัดเต็มเห็ดออรินจิย่าง ราดด้วยซอสเจสูตรพิเศษ รสชาติกลมกล่อม มาพร้อมฟูโตมากิเจ และสลัดผักเจ ราคากล่องละ 149 บาท นอกจากนี้ยังมี ยากิโซบะเห็ดรวมเจ (139 บาท) และ ฟูโตมากิเจ (115 บาท) สั่งง่าย ๆ ผ่าน 2 ช่องทางหลัก (1) โทร. 1773 (2) สั่งซื้อทางออนไลน์คลิก www.oishidelivery.com

 

หลักสูตรบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต คณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชี จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย จัดงานสัมมนา “เติมหัวใจให้ธุรกิจ Heartful Business” โดยเชิญ ศาสตราจารย์ โคจิ ซากาโมโต้ อดีตอาจารย์มหาวิทยาลัยโฮเซ โตเกียว ผู้แต่งหนังสือ “บริษัทนี้ที่ควรรัก” ที่มียอดขายกว่า 7 แสนเล่มในญี่ปุ่น ที่สนับสนุนแนวคิดสร้างความสุข มาเสวนาเผยเคล็ดลับ 20 ประการของบริษัทชั้นเลิศในญี่ปุ่น ที่มีผลประกอบการสูงขึ้นอย่างต่อเนื่องอย่างน้อยเป็นระยะเวลา 10 ปีติดต่อกันท่ามกลางเศรษฐกิจผันผวน ณ โรงละครเคแบงก์สยามพิฆเนศ สยามสแควร์วัน

ศ.โคจิ เริ่มด้วยการให้คำนิยามของบริษัทที่ควรจะเป็นคือธุรกิจที่สามารถปรับตัวตามความเปลี่ยนแปลงของสภาพแวดล้อม สามารถสร้างคุณค่าใหม่ด้วยตนเอง ตอบสนองความต้องการของลูกค้า มีการพัฒนาพนักงานอย่างต่อเนื่อง เพราะบริษัทคือโรงเรียนแห่งสุดท้ายในชีวิตซึ่งคนทำงานจะต้องเรียนไปจนสูงอายุ และเป็นธุรกิจที่สามารถสร้างความสุข เป็นธุรกิจที่พยายามดำเนินกิจกรรมต่างๆ ด้วยตนเอง ทำเพื่อสังคมไม่หวังแต่ผลประโยชน์ของตัวเอง  และบริษัทเป็นของคนในสังคมทุกคน เป็นองค์กรเพื่อสังคม เพราะบริษัทไม่สามารถอยู่ได้ด้วยตัวเอง ต้องใช้ทรัพยากรของสังคมรวมทั้งมีปฏิสัมพันธ์กับผู้มีส่วนเกี่ยวข้องต่างๆ

ดังนั้นหน้าที่และเป้าหมายที่สำคัญที่สุดของบริษัทคือการแสวงหาความสุขให้แก่ผู้คนที่เกี่ยวข้อง และมุ่งมั่นทำให้คนเหล่านั้นมีความสุขอย่างแท้จริง

ศ.โคจิ บอกว่า มีคนอยู่ 5 กลุ่มที่บริษัทควรให้ความสำคัญในการบริหารกิจการ ประกอบด้วย 1.พนักงานและครอบครัว เหตุที่รวมครอบครัวด้วยเพราะพนักงานต้องการแรงสนับสนุนจากครอบครัว  2.พนักงานบริษัทอื่นและครอบครัว(คู่ค้าซัพพลายเออร์) ซึ่งจะช่วยให้การทำงานเป็นไปอย่างราบรื่น 3.ลูกค้าปัจจุบันและในอนาคต ด้วยการบริหารที่มุ่งเน้นความสุขของลูกค้า ทำให้ลูกค้าคิดว่าโชคดีจังที่มีบริษัทนี้อยู่ 4.คนในชุมชน โดยเฉพาะอย่างยิ่งผู้เสียเปรียบในสังคมเช่นผู้พิการ ผู้สูงอายุ และ 5. นักลงทุนและองค์กรที่เกี่ยวข้อง โดยการให้ความสำคัญไม่จำเป็นต้องเท่ากันทั้ง 5 กลุ่ม หากสามารถทำให้คน 4 กลุ่มแรกมีความสุขก็จะสามารถสร้างผลตอบแทนที่ดีสร้างความพึงพอใจให้กับนักลงทุนได้ โดย ศ.โคจิ บอกต่อว่า พนักงานและครอบครัวคือกลุ่มคนที่สำคัญที่สุดเพราะหากไม่มีความพึงพอใจของพนักงานก็จะไม่เกิดความพึงพอใจของลูกค้าและหากพนักงานไม่ได้รับการสนับสนุนจากครอบครัวก็จะไม่สามารถแสดงศักยภาพได้อย่างเต็มที่ เมื่อพนักงานมีความสุขก็สามารถส่งมอบสินค้าและบริการที่สามารถสร้างความประทับใจให้กับลูกค้าได้

 

บริษัทชั้นเลิศคืออะไร

  ศ.โคจิให้นิยามของบริษัทชั้นเลิศ ประกอบด้วย

  1. ไม่เคยประกาศหาคน Early Retire มากกว่า 10 ปี ขึ้นไป
  2. จำนวนพนักงานเท่าเดิมหรือเพิ่มขึ้น มากกว่า 10 ปีขึ้นไป
  3. อัตราผลกำไรต่อยอดขายอยู่ที่ประมาณร้อยละ 5 ต่อปี ติดต่อกันมากกว่า 10 ปีขึ้นไป
  4. ไม่ทำผิดกฎหมายเป็นระยะเวลา 10 ปีขึ้นไป
  5. อัตราการลาออกของพนักงานเนื่องจากเปลี่ยนงาน ต่ำกว่าร้อยละ 3 มากกว่า 10 ปีขึ้นไป
  6. ไม่บังคับให้ซัพพลายเออร์ขายสินค้าโดยไม่สมเหตุมากกว่า 10 ปีขึ้นไป
  7. จำนวนชั่วโมงทำงานล่วงเวลาโดยเฉลี่ยของพนักงานแต่ละคนต่ำกว่า 10 ชั่วโมง มากกว่า 10 ปีขึ้นไป
  8. อื่นๆ

ท้ายสุด ศ.โคจิ สรุปจุดเด่นการบริหารจัดการของบริษัทชั้นเลิศ จะต้องเปลี่ยนแนวคิดการทำธุรกิจแบบเดิมสู่แนวคิดใหม่ประกอบด้วย

  1. การบริหารจัดการที่เน้นผลประกอบการและการเติบโต สู่ การบริหารจัดการที่เน้นความสุข
  2. การบริหารที่ดีฝ่ายเดียว สู่ การบริหารที่ดีกับทั้ง 5 ฝ่าย คือ 1) พนักงาน 2) คู่ค้า 3) ลูกค้า 4) สังคม / ชุมชน 5) ผู้ถือหุ้น
  3. การบริหารจัดการที่คิดถึงบแต่ผลประโยชน์ของตน สู่ การบริหารจัดการที่คิดถึงผลประโยชน์ของผู้อื่น
  4. การบริหารจัดการที่เน้นการเติบโตและขยายธุรกิจอย่างรวดเร็ว สู่ การบริหารแบบวงปีต้นไม้แบบค่อยเป็นค่อยไป ไม่เน้นการเติบโตและขยายธุรกิจอย่างรวดเร็ว
  5. การบริหารที่พึงสภาพวะเศรษฐกิจ สู่ การบริหารที่ช่วยให้เศรษฐกิจดี มิใช่พึ่งสภาวะเศรษฐกิจ
  6. การบริหารที่ไม่สมดุล สู่ การบริหารที่สมดุล
  7. การแข่งขันด้านราคา สู่ การไม่ใช้ราคาเป็นตัวแข่งขัน
  8. การบริหารจัดการแบบผูกขาดผู้เดียว สู่ การบริหารจัดการร่วมกัน ไม่ผูกขาดคนเดียว
  9. การบริหารแบบ Top-down สู่ การบริหารแบบ Bottom – Up
  10. การบริหารจัดการแบบปิด สู่ การบริหารจัดการแบบเปิดกว้าง
  11. การทำงานคนเดียว สู่ การทำงานเป็นทีม
  12. การบริหารจัดการที่ตัดสินที่ผลงานเป็นหลัก สู่ การจ้างงานตลอดชีพ ไม่ใช่ตัดสินที่ผลงานเป็นหลัก
  13. การบริหารที่ไม่แบ่งแยกระหว่างเรื่องงานกับเรื่องส่วนตัว สู่ การบริหารที่แบ่งเรื่องงานกับเรื่องส่วนตัวออกจากกัน
  14. การบริหารแบบพีระมิด สู่ การบริหารแบบพีระมิดทรงคว่ำ
  15. การบริหารที่เน้นกระบวนการทำงาน สู่ การบริหารที่เน้นความเป็นบริษัท
  16. การบริหารที่เน้นการเอาชนะในระยะเวลาสั้น สู่ การบริหารที่มองระยะยาว
  17. การบริหารที่ให้พนักงานทำงานนาน สู่ การบริหารที่ลดระยะเวลาทำงานของพนักงาน
  18. การบริหารที่มีผู้บริหารเป็นคนจัดการ สู่ การบริหารแบบครอบครัวใหญ่ และร่วมมือร่วมใจกัน ให้คนในองค์กรรู้สึกอบอุ่น
  19. การบริหารที่เน้นด้านรูปธรรม สู่ การบริหารที่เน้นคนและด้านนามธรรม
  20. การบริหารจัดการที่พึ่งพิงผู้อื่น สู่ การบริหารจัดการที่พึ่งพิงตนเอง อยู่ได้ด้วยตนเอง

 

ดร.กฤตินี พงษ์ธนเลิศ รองประธานหลักสูตรบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต คณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชี จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

สรุปว่า ในยุคก่อนการแข่งขันทางธุรกิจ บริษัทจะเน้นการเพิ่มประสิทธิภาพในกระบวนการผลิตด้วยเทคโนโลยีต่างๆ ที่ในที่สุดก็เท่าทันกัน ต่อมาแข่งขันในด้านการให้บริการที่ดีแก่ลูกค้า เพื่อดึงใจลูกค้าให้ภักดีต่อแบรนด์ และในช่วงระยะหลังนี้ เป็นการแข่งขันด้วยบุคลากรเพื่อสร้างความแตกต่าง ซึ่งวันนี้ทวีความเข้มข้นขึ้น จึงเป็นสิ่งที่ผู้บริหารองค์กรจะต้องเติมใจให้ธุรกิจ ใส่ใจลงในรายละเอียด เป็นการให้ใจสร้างความสุขให้กับผู้ที่เกี่ยวข้อง โดยเฉพาะอย่างยิ่ง “พนักงาน” เป็นการพลิกแนวคิดจากเป้าหมายที่เน้นผลกำไร แต่เน้นการให้ความสุข

 การเพิ่มบริษัทชั้นเลิศให้มีจำนวนมากขึ้น หลายหน่วยงานต้องช่วยกันสนับสนุน สำหรับมหาวิทยาลัย จะต้องเปลี่ยนการสอนจากการบริหารจัดการที่เน้นผลกำไร เป็นการบริหารจัดการที่เน้นความสุข โดยสร้างหลักสูตร หรือสาขาที่เกี่ยวกับวิธีการบริหารที่ให้ความสำคัญกับคน และเปิดหลักสูตรด้านการบริหารจัดการสำหรับ SME ในขณะที่ภาครัฐ ควรใส่ใจและเห็นความสำคัญของการบริหารจัดการบุคลากรให้มีความสุข พร้อมมอบสิทธิพิเศษสำหรับบริษัทที่ให้ความสำคัญกับคน และสถาบันการเงิน ควรเปลี่ยนมาตรฐานการให้กู้ และเปลี่ยนมาตรฐานการลงทุน เพื่อร่วมสร้างสรรค์บริษัทที่ดี มั่นคง และยั่งยืน

Food design สไตล์ยามานาชิ

ดีไซน์และการจัดวาง ตลอดจนการออกแบบอาหารของญี่ปุ่น มองผิวเผินแล้วแทบไม่ต่างกันในแต่ละสถานที่ แต่หากสังเกตลงไปในรายละเอียดจะพบความแตกต่างที่ไม่เหมือนกัน หนึ่งในเสน่ห์ของญี่ปุ่น คือการดีไซน์ที่จับจุดได้โดนใจ และไม่ลืมที่จะบรรจุอัตลักษณ์ของความเป็นตัวตนของตัวเองลงไปในชุดงาน ดั่งเช่น ชุดอาหารมื้อเย็นที่จัดเสิร์ฟที่โรงแรม Tokiwa เมืองโคฟุ ชุดนี้ ที่มีใบไม้ในฤดูเปลี่ยนสีเป็นส่วนหนึ่งในหลายๆ จาน

 

 

น้ำอร่อยต้องที่ยามานาชิ

ข้อสังเกตที่ต้องจับตาคือ คนยามานาชิ สุขภาพดี ยิ้มแย้มและ อายุยืน นอกจากการมีสภาพแวดล้อมสีเขียวอยู่รอบตัว แล้วเคล็ดลับคือ “เรื่องน้ำ” ที่แทบทุกคนที่พบที่ยามานาชิ ต่างพูดตรงกันราวกับเสียงประสานว่า “ที่ยามานาชิ น้ำอร่อย” เหตุเช่นนี้ก็เพราะว่า ยามานาชิเป็นเมืองที่มีภูเขานับร้อยๆ ลูก และเป็นแหล่งกำเนิดต้นน้ำมากมาย โดยเฉพาะน้ำจาก มินามิแอลป์ มีชื่อเสียงในด้านรสชาติและความบริสุทธิ์ ส่วนแบ่งการตลาดน้ำแร่กว่า 30% ของประเทศญี่ปุ่นมาจากแหล่งน้ำแห่งนี้

 

 

วิสกี้ และ ไวน์ ชั้นเลิศ

ด้วยองค์ประกอบของการมี “แหล่งน้ำ” และ “องุ่น“ คุณภาพดีในจังหวัด เป็นปัจจัยประกอบสำคัญในการเป็น “แหล่งผลิต วิสกี้ และไวน์ ชั้นเลิศ” วิสกี้ ฮะคุชู (Hakushu Whisky) และ ไวน์ของซันโตรี่ ระดับพรีเมี่ยมผลิตที่เมืองยามานาชิแห่งนี้ และที่สำคัญ ยามานาชิมีไวน์เนอรี่มากถึง 70 แห่งทั่วทั้งจังหวัด หมายความว่าการมาเที่ยวที่ยามานาชิคือการเพิ่มทางเลือกที่หลากหลายทั้งรสชาติและการท่องเที่ยว

 

 

Page 3 of 5
X

Right Click

No right click