January 15, 2025
×

Warning

JUser: :_load: Unable to load user with ID: 10974

ยิ่งการท่องเที่ยวสำคัญ ความรู้เชิงลึกด้านการท่องเที่ยวจึงยิ่งสำคัญ เอแบคจึงเปิดหลักสูตร MBA และ PhD Hospitality and Tourism Management

เห็นได้ชัดเจนว่าการแข่งขันในธุรกิจร้านอาหารนั้นอยู่ในอัตราสูง สิ่งที่ผู้ประกอบการมองหา คือ กลยุทธ์ที่จะขับเคลื่อนให้ร้านอาหารอยู่รอดและมีกำไรสูงสุด

นายธนวัฒน์ สุธรรมพันธุ์ (ที่ 3 จากซ้าย) กรรมการผู้จัดการ บริษัท ไมโครซอฟท์ (ประเทศไทย) จำกัด เผยผลสำรวจหัวข้อ  Future Ready Business: Assessing Asia Pacific’s Growth Potential Through AI ร่วมกับ มร.ไมเคิล อะราเน็ตตา (ที่ 4 จากซ้าย) รองประธานบริหาร ไอดีซี ไฟแนนเชียล อินไซต์ คุณชัชวลิต ธรรมสโรช (ที่ 2 จากซ้าย) ผู้จัดการฝ่าย หน่วยงานบริหารทั่วไป บริษัท พีทีที โกลบอล เคมิคอล จำกัด (มหาชน) และ นางกัญจนี วงศ์รุ่งโรจน์กิจ (ที่ 1 จากซ้าย) ผู้อำนวยการฝ่ายเทคโนโลยี บริษัท ฟรอนทิส จำกัด

 

มีรายงานวิจัยที่จัดทำขึ้นร่วมกันโดยไมโครซอฟท์ เอเชีย แปซิฟิก และไอดีซี ในหัวข้อ Future Ready Business: Assessing Asia Pacifics Growth Potential Through AI ได้แสดงให้เห็นถึงความจำเป็นที่ภาคธุรกิจของไทยควรเร่งนำ AI มาใช้งาน เพื่อยกระดับศักยภาพในด้านการสร้างสรรค์นวัตกรรมและเสริมประสิทธิภาพการทำงาน โดยจากผลสำรวจองค์กรธุรกิจ 101 แห่งทั่วประเทศ พบว่ามีองค์กรเพียง 26% เท่านั้นที่นำ AI เข้ามาเป็นองค์ประกอบหลักในกลยุทธ์ทางธุรกิจ แม้ว่ากว่า 85% ขององค์กรเหล่านั้นจะเข้าใจดีถึงผลกระทบเชิงบวกจากการใช้งาน AI ก็ตาม

ผลสำรวจดังกล่าวยังเผยอีกว่า องค์กรธุรกิจไทยคาดว่า AI จะเพิ่มอัตราการสร้างนวัตกรรมขึ้นอีก 66% และเพิ่มประสิทธิภาพการทำงานของพนักงานได้ราว 32% ภายในปี 2564 ขณะที่จะศักยภาพการแข่งขันจะเพิ่มสูงขึ้นถึง 81%

นายธนวัฒน์ สุธรรมพันธุ์ กรรมการผู้จัดการ บริษัท ไมโครซอฟท์ (ประเทศไทย) จำกัด กล่าวว่า “ทุกวันนี้ ทุกบริษัทก็เป็นเหมือนบริษัทซอฟต์แวร์ และการทำงานในทุกส่วนก็เป็นดิจิทัลมากขึ้น การจะประสบความสำเร็จในโลกยุคใหม่นี้ องค์กรต่างๆ จำเป็นต้องนำเอาเทคโนโลยีที่ดีที่สุดมาประยุกต์ใช้ให้ได้โดยเร็ว และสร้างความสามารถเชิงดิจิทัลที่เป็นเอกลักษณ์เฉพาะของตัวเองได้ ซึ่งในยุคของเรา AI จะเป็นเทคโนโลยีที่กำหนดทิศทางแห่งอนาคต ด้วยศักยภาพมหาศาลทั้งในการขับเคลื่อนการปฏิรูปธุรกิจ สร้างนวัตกรรม เสริมประสิทธิภาพการทำงานของพนักงาน และต่อยอดการเติบโตของธุรกิจ ด้วยเหตุนี้เอง ประเทศและธุรกิจที่ยังไม่ได้เริ่มต้นใช้งาน AI จึงกำลังเผชิญกับความเสี่ยงที่จะเสียความได้เปรียบในการแข่งขัน และตกเป็นรองธุรกิจที่เป็นผู้นำในด้านนี้”

สำหรับองค์กรที่เริ่มนำ AI มาใช้ มีปัจจัยขับเคลื่อนให้ธุรกิจนำเทคโนโลยีดังกล่าวมาปรับใช้ใน 5 อันดับแรกคือ ประสบการณ์ที่ดีขึ้นของลูกค้า (31% ของผู้ร่วมทำการสำรวจเลือกเป็นปัจจัยอันดับหนึ่ง) ความสามารถในการแข่งขันสูงขึ้น (22%) ส่วนต่างกำไรที่เพิ่มขึ้น (22%) เพิ่มประสิทธิภาพการทำงานของพนักงาน (9%) และสร้างสรรค์นวัตกรรมได้รวดเร็วขึ้น (8%) ตลอดปีที่ผ่านมา องค์กรที่เริ่มใช้งาน AI ได้เห็นถึงการพัฒนาที่ชัดเจนจากศักยภาพในด้านต่างๆ เหล่านี้ที่เพิ่มขึ้นราว 28-36% และยังคาดการณ์อีกว่าจะได้เห็นการเปลี่ยนแปลงในทางที่ดีขึ้นกว่าเดิมอีกไม่ต่ำกว่า 20% ในช่วงระยะเวลาอีก 3 ปีข้างหน้า

 

ประเทศไทยจำเป็นต้องพัฒนาศักยภาพด้านข้อมูล และเสริมการลงทุนเกี่ยวกับ AI

ผลการสำรวจของไมโครซอฟท์และไอดีซีนี้ ได้เก็บข้อมูลด้านความพร้อมของประเทศไทยสำหรับการพัฒนาและประยุกต์ใช้ AI ใน 6 ด้านหลักๆ โดยพบว่าประเทศไทยจะต้องเดินหน้าพัฒนาศักยภาพต่อไปในทุกด้าน โดยเฉพาะในด้านข้อมูลและการลงทุน เพื่อกระตุ้นให้เกิดการนำ AI มาใช้งานอย่างเต็มตัว

มร.ไมเคิล อะราเน็ตตา รองประธานบริหาร ไอดีซี ไฟแนนเชียล อินไซต์ กล่าวว่า “ประเทศไทยยังต้องเสริมความพร้อมในหลายมิติ เพื่อให้คว้าโอกาสจากพลังของ AI ได้ อย่างเต็มที่ ขณะที่หลายๆ ธุรกิจของไทยประกาศความมุ่งมั่นในการปรับเปลี่ยนวัฒนธรรมองค์กรเพื่อเปิดรับเทคโนโลยีไปแล้ว แต่ก็ยังมีสิ่งสำคัญอีกหลายอย่างที่ต้องดำเนินการเพื่อทำให้เกิดกลยุทธ์ AI ที่ชัดเจน โครงสร้างพื้นฐานที่แข็งแกร่ง และระบบข้อมูลที่เพียบพร้อม เปิดให้เข้าถึงได้โดยสมบูรณ์ ปัจจัยทั้งหมดนี้จะปูทางไปสู่ความสามารถที่ดีขึ้นของ AI และผลกระทบทางธุรกิจที่สัมผัสได้อย่างแท้จริง ภาคธุรกิจจะต้องลงทุนอย่างต่อเนื่องในเทคโนโลยีแห่งอนาคตนี้ และสร้างวัฒนธรรมการเรียนรู้ที่ยั่งยืน มุ่งเน้นความคล่องตัว เพื่อวางรากฐานของความสำเร็จในระยะยาว โดยที่ในบางกรณี อาจไม่ได้เห็นผลตอบแทนเป็นเม็ดเงินในทันที”

ส่วนผู้นำในภาคธุรกิจที่กำลังประยุกต์ใช้ AI กำลังประสบกับความท้าทาย 3 ประการ ได้แก่ ภาวะขาดความเป็นผู้นำทางความคิด และความมุ่งมั่นของผู้บริหารในการลงทุนกับ AI การขาดทักษะ ทรัพยากร และโอกาสการเรียนรู้อย่างต่อเนื่อง และการที่ผู้บริหารไม่ได้ให้ความสำคัญเชิงกลยุทธ์กับการพัฒนาระบบข้อมูลให้พร้อมสำหรับ AI

ผลสำรวจนี้ยังแสดงให้เห็นว่า ธุรกิจต้องสร้างวัฒนธรรมองค์กรที่เหมาะสมเพื่อให้เกิดความก้าวหน้าในการใช้งาน AI ผู้นำธุรกิจและพนักงานที่ร่วมแสดงความเห็นจำนวนมากเชื่อว่า คุณสมบัติทางวัฒนธรรมที่ช่วยส่งเสริมการประยุกต์ใช้ AI เช่น การพร้อมรับความเสี่ยง การสร้างสรรค์นวัตกรรมเชิงรุก และความร่วมมือข้ามสายงานของแต่ละทีม ยังไม่แพร่หลายนักในสภาพแวดล้อมการทำงานปัจจุบัน

“โดยรวมแล้ว พนักงานขององค์กรในประเทศไทยมีความเคลือบแคลงสงสัยเกี่ยวกับความพร้อมทางวัฒนธรรมขององค์กร มากกว่าในกลุ่มผู้นำธุรกิจ” นายอะราเน็ตตาเสริม “ผู้นำธุรกิจต้องเปิดใจรับวัฒนธรรมใหม่เสียแต่ตอนนี้ และพัฒนาให้นวัตกรรมและการเรียนรู้อย่างต่อเนื่องเป็นส่วนประกอบหลักของวัฒนธรรมองค์กร เพื่อเป็นการเตรียมความพร้อมให้เกิดความคล่องตัว ความสามารถในการปรับตัว และการเติบโตต่อไป”

 

ยังต้องแก้ไขปัญหาด้านทักษะของแรงงาน ก่อนปูทางสู่การใช้งาน AI

ผลสำรวจดังกล่าวพบว่า ผู้นำธุรกิจและพนักงานมีมุมมองเชิงบวกเกี่ยวกับผลกระทบของ AI ต่อการทำงานในอนาคต โดยมากกว่าครึ่งหนึ่ง (77% ของผู้นำธุรกิจ และ 58% ของพนักงาน) เชื่อว่า AI จะช่วยทำงานปัจจุบันของพวกเขาให้ดีขึ้น หรือลดภาระในกรณีของงานที่ต้องทำซ้ำๆ อยู่เป็นประจำ

“เมื่อพูดถึงกรณีการสร้างตำแหน่งงานใหม่ หรือโอกาสใหม่ๆ ที่จะเข้ามาแทนที่งานแบบเดิม ผู้นำธุรกิจ 13% เชื่อว่า AI จะช่วยสร้างโอกาสงานใหม่ๆ ได้ ขณะที่มีเพียง 5% ที่รู้สึกว่าเทคโนโลยีนี้จะเข้ามาแทนที่แรงงานคน ในภาพรวม ผู้นำธุรกิจ 90% และพนักงาน 77% มองว่าการนำ AI มาประยุกต์ใช้จะช่วยเปิดทางไปสู่โอกาสใหม่ๆ หรือเสริมให้พวกเขาทำงานที่ทำอยู่เดิมได้ดียิ่งขึ้น” นายอะราเน็ตตากล่าว

ผลสำรวจนี้ยังพบอีกว่า พนักงานมีความตั้งใจที่จะเรียนรู้ทักษะใหม่ๆ มากกว่าที่ผู้นำธุรกิจคาดการณ์ไว้ โดยผู้นำ 36% รู้สึกว่าพนักงานไม่มีความสนใจในการพัฒนาทักษะใหม่ๆ ขณะที่มีพนักงานเพียง 18% ที่รู้สึกเช่นนั้นจริงๆ

“วิสัยทัศน์ด้าน AI ของไมโครซอฟท์มุ่งเน้นไปที่มนุษย์ก่อนเป็นอันดับแรก เทคโนโลยี AI ไม่สามารถก้าวหน้าไปได้โดยปราศจากคน จึงเท่ากับว่าพนักงานหลายล้านคนจำเป็นต้องปฏิรูปตัวเองให้มีทักษะ ยกระดับความสามารถให้พร้อมสำหรับอนาคตในยุคแห่ง AI” นายธนวัฒน์กล่าวเสริม “เป็นเรื่องน่ายินดีที่ธุรกิจถึง 81% ให้ความสำคัญกับการเสริมสร้างทักษะของพนักงานในอนาคต พวกเขาวางแผนที่จะลงทุนไปกับทรัพยากรมนุษย์มากกว่าเทคโนโลยีใหม่ๆ แต่ขณะเดียวกัน ผู้นำธุรกิจราว 48% ก็ยังไม่เริ่มดำเนินการเพื่อช่วยพนักงานของพวกเขาให้มีทักษะที่เหมาะสม ซึ่งถือเป็นเรื่องที่น่ากังวลอยู่ในขณะนี้ โดยพวกเขาจำเป็นต้องส่งเสริมให้เกิดการเปลี่ยนแปลงรูปแบบการฝึกสอนพนักงานโดยด่วน”

สำหรับ 3 ทักษะสำคัญที่ผู้นำธุรกิจในประเทศไทยต้องการ ได้แก่ ความคิดสร้างสรรค์ ทักษะดิจิทัล และการคิดวิเคราะห์ โดยที่ 2 ทักษะแรกนั้น มีความต้องการในตลาดแรงงานสูงกว่าปริมาณบุคลากรที่มีคุณสมบัติตรงกับความต้องการนี้ ผลสำรวจนี้ยังเผยว่า ผู้นำธุรกิจให้ความสำคัญกับความสามารถทางด้านสังคมมากกว่าที่พนักงานคาดการณ์ไว้ ส่วนทักษะที่มีภาวะขาดแคลนมากที่สุด ได้แก่ การบริหารจัดการโครงการ ความเป็นผู้นำและการจัดการบุคลากร และความคิดสร้างสรรค์

 

จีซี ยกระดับความปลอดภัยของการเดินทางด้วย “AI for Road Safety”

โดยเฉลี่ยแล้ว ในแต่ละวันมีผู้เสียชีวิตจากอุบัติเหตุบนท้องถนนในประเทศไทยถึง 66 คน ซึ่งนับเป็นอัตราที่สูงเป็นอันดับต้นๆ ของโลก ซึ่งกว่า 60% ของอุบัติเหตุที่เกิดขึ้นกับรถขนส่งสาธารณะ มีสาเหตุหลักมาจากพฤติกรรมการขับรถเร็วเกินกำหนดและความเหนื่อยล้าหรือง่วงนอนของผู้ขับขี่ ทั้งนี้ บริษัท พีทีที โกลบอล เคมิคอล จำกัด (มหาชน) หรือ จีซี มีสำนักงานในกรุงเทพฯ และโรงงานในระยอง ซึ่งถือเป็นจังหวัดศูนย์กลางด้านอุตสาหกรรม ในแต่ละปีพนักงานของจีซีจะเดินทางไป-กลับบนเส้นทางนี้จำนวนมาก ด้วยรถตู้รับส่งของบริษัทฯ

จีซีให้ความปลอดภัยเป็นสิ่งสำคัญอันดับหนึ่ง บริษัทฯ จึงเริ่มเดินหน้าใช้โซลูชั่นอัจฉริยะที่ขับเคลื่อนด้วย AI เพื่อลดความเสี่ยงในการเกิดอุบัติเหตุบนท้องถนน ผ่านโครงการ “AI for Road Safety” โดยความร่วมมือระหว่างจีซีและฟรอนทิส บริษัทที่ปรึกษาชั้นนำด้านการวางแผนกลยุทธ์และการนำนวัตกรรมมาประยุกต์ใช้ในองค์กร โดยใช้เทคโนโลยี AI ของไมโครซอฟท์ ซึ่งผสมผสานระบบการจดจำใบหน้า เข้ากับระบบการวิเคราะห์ภาพวิดีโอและข้อมูล เพื่อสังเกตการณ์พฤติกรรมของผู้ขับขี่ได้แบบเรียลไทม์

ระบบดังกล่าวทำงานโดยใช้กล้องที่จับภาพคนขับ พร้อมระบบจีพีเอส เพื่อเก็บข้อมูลภาพใบหน้าและการเคลื่อนไหวของยานพาหนะก่อนจะส่งไปยังระบบคลาวด์ เพื่อประมวลผลด้วย Machine Learning หากตรวจพบสัญญาณความเสี่ยง ผู้ขับจะได้รับการแจ้งเตือน หรือได้รับการติดต่อจากผู้ดูแลระบบรถโดยสาร โดยอาจมีการส่งคนขับรายใหม่ไปแทนที่ในกรณีที่จำเป็น นอกจากนี้ ผู้ดูแลระบบยังสามารถประเมินผลการทำงานของรถโดยสารและผู้ขับขี่ในระยะยาวได้ ผ่านหน้าจอแสดงข้อมูลที่มีระบบการวิเคราะห์ข้อมูล Power BI ของไมโครซอฟท์ โดยครอบคลุมทั้งศักยภาพของผู้ขับขี่ ปัจจัยความเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้น รวมถึงแง่มุมต่างๆ ที่สามารถพัฒนาให้ดีขึ้นได้ในการฝึกอบรมผู้ขับขี่

คุณชัชวลิต ธรรมสโรช ผู้จัดการฝ่าย หน่วยงานบริหารทั่วไป บริษัท พีทีที โกลบอล เคมิคอล จำกัด (มหาชน) กล่าวว่า “ในฐานะผู้นำด้านนวัตกรรมเคมีภัณฑ์ของประเทศ บริษัทฯ ตระหนักถึงความปลอดภัยเป็นสิ่งสำคัญอันดับหนึ่ง โดยเป้าหมายสูงสุดคือ ต้องไม่มีอุบัติเหตุเกิดขึ้นในทุกพื้นที่โรงงาน สำนักงาน และเขตอุตสาหกรรมของเรา ตลอดจนความปลอดภัยของบุคลากรทุกคน การนำระบบ AI นี้มาใช้งาน ไม่เพียงทำให้เกิดประโยชน์กับบริษัทเท่านั้น แต่ยังช่วยเสริมความอุ่นใจให้กับครอบครัวของพนักงานทุกคน ที่ต่างก็ต้องการให้สมาชิกของครอบครัวได้กลับบ้านอย่างปลอดภัย พร้อมหน้าพร้อมตากันทุกวัน เราเชื่อว่าความมุ่งมั่นและแรงสนับสนุนจากทีมงานของเรา ผนึกกับศักยภาพของ AI จะช่วยให้เราบรรลุเป้าหมายนี้ไปได้ด้วยดี”

ผู้สนใจสามารถค้นหาข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับโซลูชั่น AI ของไมโครซอฟท์ได้ที่

https://news.microsoft.com/apac/features/artificial-intelligence/

บราเดอร์ ดัน ‘ธีรวุธ ศุภพันธุ์ภิญโญ’ รับตำแหน่งกรรมการผู้จัดการ เสริมแกร่งทีมบริหาร วางกลยุทธ์ นำองค์กรสร้างการเติบโตท้าทายกระแสเศรษฐกิจด้วยคอนเซปต์ ‘Towards the next level’  พร้อมรับมือ ‘การเปลี่ยนแปลง’ จากปัจจุบันสู่อนาคตด้วยกลยุทธ์ 3C’s โดยในปีงบประมาณ 2561 (เม.ย. 61 – มี.ค. 62) บราเดอร์ คอมเมอร์เชี่ยล (ประเทศไทย) คาดว่าจะมีอัตราการเติบโตเพิ่มเป็น 7% ซึ่งสูงกว่า                  ที่คาดการณ์ไว้แต่เดิมที่ 5%

         

บราเดอร์ กับ 5 ปีของการ ‘เปลี่ยน’ เพื่อสร้างการเติบโตแบบสวนกระแส

นายโทโมยูกิ ฟูจิโมโตะ กรรมการผู้จัดการ บริษัท บราเดอร์ คอมเมอร์เชี่ยล (ประเทศไทย) จำกัด ได้อธิบายถึงหลักคิดเกี่ยวกับ ‘การเปลี่ยน’ เพื่อสร้างการเติบโต เราต้องปรับตัวและเปลี่ยนแปลงให้เหมาะสมกับบริบทเศรษฐกิจ ก่อนที่คนอื่นจะมาเปลี่ยนเราและลดทอนบทบาททางธุรกิจลง โดยนายโทโมยูกิ ฟูจิโมโตะ อธิบายถึง ‘การเปลี่ยน’ ในครั้งนี้ว่า “บราเดอร์พยายามปรับเปลี่ยนและพัฒนาองค์กรให้เติบโตอย่างต่อเนื่องในทุกกลุ่มธุรกิจ บริษัทฯ มุ่งหวังให้ลูกค้าเกิดความพึงพอใจในระดับสูงทั้งในส่วนของนวัตกรรมและคุณภาพผลิตภัณฑ์ และที่สำคัญอีกประการคือคุณภาพงานบริการหลังการขาย ซึ่งถือเป็นอีกหนึ่งหัวใจหลักของการดำเนินธุรกิจของบราเดอร์ที่ผ่านมา” ผลของการวางกลยุทธ์ที่มองไปข้างหน้าอย่างตีโจทย์แตกของ บราเดอร์ ทำให้ที่ผ่านมา บราเดอร์ คอมเมอร์เชี่ยล (ประเทศไทย) มีการเติบโตเฉลี่ยขึ้นทุกปี โดยนายโทโมยูกิ ฟูจิโมโตะ มองว่าปัจจัยความสำเร็จดังกล่าวเกิดขึ้นจากการนำปรัชญาการดำเนินธุรกิจที่ว่า ‘At Your Side’ มาประยุกต์ใช้กับการดำเนินธุรกิจ โดยให้ลูกค้าเป็นศูนย์กลางหลักของแต่ละแนวคิด และขยายแนวคิดดังกล่าวไปยังพันธมิตรทางธุรกิจและผู้ที่เกี่ยวข้องอย่างมีประสิทธิภาพ

 

บราเดอร์ คอมเมอร์เชี่ยล (ประเทศไทย) ไม่เคยหยุด ‘ทรานส์ฟอร์ม’

ตลอดกว่า 10 ปีที่ได้ร่วมงานกับบราเดอร์ นายธีรวุธ ศุภพันธุ์ภิญโญ ผู้อำนวยการฝ่ายขายและการตลาด บริษัท บราเดอร์ คอมเมอร์เชี่ยล (ประเทศไทย) จำกัด ได้ผลักดันให้บราเดอร์ก้าวสู่การเป็นแบรนด์ผู้นำในตลาด โดยได้นำประสบการณ์ที่ถูกสั่งสม มาพัฒนาทีมงานและวิธีการทำงานให้เหมาะสม และมีประสิทธิภาพ อีกทั้งยังได้นำกลยุทธ์การตลาดต่างๆ มาขับเคลื่อนบราเดอร์จากแบรนด์เล็กสู่หนึ่งในผู้นำแบรนด์เครื่องพิมพ์ที่คุ้นเคยและยอมรับของคนไทย ผมเชื่อว่าความสำเร็จที่เกิดขึ้นแล้วและกำลังจะเกิดขึ้นในอนาคต ‘ศักยภาพของทีมเวิร์ค’ คือหัวใจหลัก การกำหนดบทบาทที่ชัดเจนให้แต่ละฝ่าย การเปิดโอกาสให้เกิดการคิดนอกกรอบ ล้วนทำให้เราได้แนวทางการทำงานใหม่ๆ กล้าลองเพื่อได้สิ่งที่ต่าง และความต่างนี้เองที่ทำให้แบรนด์บราเดอร์โดดเด่นออกมาในมุมมองของกลุ่มเป้าหมาย และปัจจัยสุดท้ายคือพลังความร่วมมือจากพาร์ทเนอร์ที่ยิ่งทำให้การเติบโตของเราขยายตัวอย่างรวดเร็วยิ่งขึ้น ผมมองว่าที่ผ่านมาเราไม่เคยหยุด‘ทรานส์ฟอร์ม’  เกมการตลาด และไลฟ์สไตล์ผู้บริโภคที่เปลี่ยนเร็ว ทำให้เราต้องเตรียมรับมือให้เร็วยิ่งกว่าในแต่ละก้าวเสมอ”

 

2019 จุดเริ่มสูตรและส่วนผสมการบริหารงานของ ‘ธีรวุธ ศุภพันธุ์ภิญโญ’

“Transform for the Future ยังคงเป็นแนวทางในการบริหาร”

เพิ่มการวางรากฐานธุรกิจที่แข็งแกร่งด้วยคอนเซปต์ ‘Towards the next level’

นายธีรวุธ กรรมการผู้จัดการคนล่าสุดของบราเดอร์ คอมเมอร์เชี่ยล (ประเทศไทย) กล่าวถึงแนวทางในการดำเนินธุรกิจในปี 2019 - 2021 ว่า การเจริญเติบโตของบราเดอร์ในช่วงที่ผ่านมาคือบทพิสูจน์ให้เห็นถึงประสิทธิผลของพลังแห่งการ ‘ทรานส์ฟอร์ม ที่เราสร้างมาอย่างต่อเนื่อง โดยในช่วง 3 ปีที่ผ่านมา บริษัทฯ ได้ตั้งเป้าหมายที่จะทรานส์ฟอร์มใน 3 ส่วนหลัก ได้แก่ Business Transform, Operational Transform และ Talent Transform สำหรับปีนี้ นโยบายหลักของเราก็ยังคงมุ่งเน้นที่จะ “ทรานส์ฟอร์ม” อย่างต่อเนื่อง แต่จะเพิ่มรายละเอียดในแต่ละส่วน เพื่อตอกย้ำให้เห็นภาพชัดเจนและเป็นรูปธรรมยิ่งขึ้น โดยใช้กลยุทธ์ 3C’s เข้ามาเสริม และตลอด 3 ปีนับจากนี้ บราเดอร์ จะวางรากฐานที่มั่นคงในทุกมิติภายใต้คอนเซปต์ Towards to next level”

 

เจาะลึกกลยุทธ์ 3C’s ทางลัดสู่การเติบโตอย่างยั่งยืน

Customer หรือลูกค้า คือ C ตัวแรกที่ถูกให้ความสำคัญเป็นอันดับแรกๆ สำหรับบราเดอร์ลูกค้าต้องมาเป็นอันดับหนึ่งเสมอตามปรัชญาการดำเนินธุรกิจ ‘At Your Side’ ความซื่อสัตย์และจริงใจคือหลักปฏิบัติตลอดระยะเวลา 21 ปีที่ผ่านมาของการดำเนินธุรกิจในไทย ด้วยการเลือกสรรผลิตภัณฑ์ที่ดี มีคุณภาพและความหลากหลาย ศักยภาพในการตอบโจทย์ทุก Life Style ในราคาที่สมเหตุสมผล  การบริการหลังการขายด้วยศูนย์บริการคุณภาพ ที่พร้อมให้บริการกว่าร้อยสาขาที่กระจายอยู่ทั่วประเทศเพื่อสนองตอบความพึงพอใจสูงสุดของลูกค้า (Customer Satisfaction) ต่างคือรูปธรรมแห่งนิยามของ Customer หรือลูกค้านั่นเอง

 

Channel Partner หรือพันธมิตรด้านช่องทางการขาย ปัจจุบันบราเดอร์ทำธุรกิจโดยการขายสินค้าผ่าน Business Partner 100% ดังนั้นในปีนี้ บราเดอร์ จะเน้นการทำงานใกล้ชิดกับตัวแทนจำหน่ายมากขึ้น และจากภาพรวมตลาดที่เปลี่ยนแปลงไปอย่างรวดเร็วในปัจจุบัน ทำให้ Partner บางรายประสบปัญหาในการปรับตัว บราเดอร์จึงมุ่งเน้นในเรื่องของการเป็นที่ปรึกษาและให้คำแนะนำในการดำเนินธุรกิจ ไม่ว่าจะเป็นการขายในกลุ่มธุรกิจองค์กร, การขายแบบ Contractual Business หรือการทำ Online Business ที่กำลังขยายตัวอยู่ในปัจจุบันและมีแนวโน้มที่จะเติบโตขึ้นอย่างมากนับจากนี้ ดังนั้น การผนึกพลังและเสริมศักยภาพช่องทางขาย จึงเป็นอีกหนึ่งแนวทางเพื่อการเติบโตร่วมกันอย่างมั่นคง

 

Company หรือองค์กร คือจุดยุทธศาสตร์หลักที่ใช้ขับเคลื่อนกลยุทธ์สานต่อการเป็นผู้นำธุรกิจ บริษัทฯ ต้องปรับปรุงเและพัฒนาอย่างต่อเนื่อง โดยแยกออกเป็น 2 ส่วนหลักๆ คือ Process Improvement น้อยแต่มากขั้นตอนในการทำงานทั้งภายในและภายนอก โดยจะปรับปรุงและพัฒนาให้มีกระบวนการทำงานที่สั้นลง, มีความรวดเร็วและมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น แต่ยังคงไว้ซึ่งความแม่นยำและถูกต้อง โดยนำเทคโนโลยีเข้ามาช่วย เพื่อความสะดวกสบายสำหรับลูกค้าและคู่ค้า People Development คนคือจุดยุทธศาสตร์แห่งการพัฒนา          บราเดอร์ให้ความสำคัญอย่างมากกับบุคลากรภายในองค์กร โดยมุ่งเน้นที่จะพัฒนาศักยภาพของบุคลากรในองค์กร ทั้งทางด้านความสามารถและจิตใจ พร้อมที่จะสนับสนุนให้คลื่นลูกใหม่ได้แสดงความสามารถอย่างเต็มที่ เพื่อต่อยอดความสำเร็จทางธุรกิจในฐานะผู้นำ

 

ทั้งนี้ นายธีรวุธ ศุภพันธุ์ภิญโญ ได้ร่วมงานกับ บราเดอร์ คอมเมอร์เชี่ยล (ประเทศไทย) มานานกว่า 10 ปี โดยปลายปี พ.ศ.2551 เข้ารับตำแหน่งผู้จัดการทั่วไปฝ่ายขายและการตลาด โดยได้สร้างผลงานเพื่อผลักดันการเติบโตให้แก่องค์กรด้วยการนำประสบการณ์การบริหารงานธุรกิจ IT ที่สั่งสมมา ประยุกต์ใช้ให้เกิดประสิทธิผล ด้วยการนำแบรนด์บราเดอร์ครองตำแหน่งผู้นำตลาดเครื่องพิมพ์เมืองไทยได้สำเร็จ และจากความสำเร็จดังกล่าวในปี พ.ศ. 2557 บราเดอร์จึงได้โปรโมทให้รับตำแหน่งผู้อำนวยการฝ่ายขายและการตลาด เพื่อวางกลยุทธ์ในภาพรวมอันถือเป็นการสร้างแรงกระเพื่อมครั้งใหญ่ให้แก่องค์กร ท่ามกลางกระแสที่หลายฝ่ายกังวลเรื่องเศรษฐกิจแต่บราเดอร์ กลับโชว์ผลงานครั้งสำคัญด้วยอัตราการเติบโตที่สูงกว่าตลาดรวมมาโดยตลอด ส่งผลให้บราเดอร์แต่งตั้งนายธีรวุธ ศุภพันธุ์ภิญโญเป็นกรรมการผู้จัดการคนล่าสุด โดยจะเข้ารับตำแหน่งอย่างเป็นทางการในวันที่ 1 เมษายน 2562

 

แชมป์ความพึงพอใจสูงสุดของลูกค้าในไทย บทพิสูจน์คุณภาพงานบริการของบราเดอร์

เตรียมต่อยอดบริการด้วยความล้ำหน้าด้าน IT รับไลฟ์สไตล์ผู้บริโภคยุค 4.0

การนำระบบและเทคโนโลยีอันทันสมัยเข้ามาใช้เพิ่มศักยภาพด้านงานบริการ เป็นอีกหนึ่งนโยบายหลักของบราเดอร์ ที่ใช้รองรับการเติบโตทางธุรกิจที่เพิ่มขึ้นในทุกๆ ปี เพื่อครองความเป็นผู้นำด้านงานบริการอย่างต่อเนื่อง “บราเดอร์ให้ความสำคัญกับการพัฒนาบุคลากรอย่างมาก เพราะเชื่อว่าการส่งมอบบริการที่ดีเยี่ยม ต้องมาจากพื้นฐานจิตใจและความคิดของผู้ให้บริการที่ได้รับการพัฒนาอย่างดียิ่ง  บราเดอร์จึงได้ลงทุนออกแบบและพัฒนาหลักสูตรอย่างต่อเนื่อง ภายใต้แนวคิด “The Power of Thinking” ซึ่งเป็นชุดของหลักสูตรอันประกอบด้วย Think Plus+ Program, Think BIG Program และ Think Smart Program” นายวรศักดิ์ ประดิษฐ์กุล ผู้จัดการทั่วไปฝ่ายบริการลูกค้า บริษัท บราเดอร์ คอมเมอร์เชี่ยล (ประเทศไทย) จำกัด กล่าวถึงภาพรวมแนวทางการพัฒนางานบริการ “ในปี 2562 บราเดอร์จะนำระบบ ‘Chatbot’ เข้ามาใช้ จะทำให้บราเดอร์ขยายขีดความสามารถในการพัฒนางานบริการได้ดีขึ้น โดยงานบริการพื้นฐานจะเป็นส่วนที่ Chatbot เข้ามาช่วย ในขณะที่ทีมบริการจะเข้ามาในขั้นที่ซับซ้อนยิ่งขึ้น บริษัทฯ สามารถนำกำลังคนไปพัฒนาด้าน Training Chatbot รวมทั้งคิดกลยุทธ์งานบริการอื่นๆ ได้อีกด้วย ซึ่งจะทำให้ทีมมีความเข้มแข็งในแบบ น้อยด้วยปริมาณแต่มากด้วยคุณภาพ ถือเป็นหัวใจหลักของการบริหารงานให้สอดรับกับโลกอนาคต”

  

สร้างแบรนด์ให้แข็งแกร่งยิ่งขึ้นด้วยการผสานงานบริการกับแนวคิดการคืนกลับสู่สังคม

การอุทิศองค์ความรู้ด้านงานบริการเพื่อคืนกลับสู่สังคมนั้น ในปีงบประมาณ 2562 บราเดอร์ ได้ร่วมลงนามความร่วมมือ (MoU) กับสมาพันธ์เอสเอ็มอีไทยจังหวัดสุโขทัยและสถาบันการอาชีวศึกษา 6 แห่งประกอบด้วย วิทยาลัยเทคนิคสุโขทัย วิทยาลัยอาชีวศึกษาสุโขทัย วิทยาลัยการอาชีพศรีสำโรง วิทยาลัยการอาชีพศรีสัชนาลัย วิทยาลัยเกษตรและเทคโนโลยีสุโขทัย และวิทยาลัยสารพัดช่างสุโขทัย จัดกิจกรรม The Academic Cooperation Program’ ซึ่งเป็นโครงการร่วมมือทางวิชาการในการฝึกอบรมทางเทคนิคในการซ่อมเครื่องพิมพ์เพื่อถ่ายทอดความรู้ เพิ่มพูนทักษะและประสบการณ์ในสายงานอาชีพ รวมทั้งการนำความรู้ไปใช้เพื่อบริการสังคมในพื้นที่ นอกจากนี้ บราเดอร์ยังได้ขยายโครงการไปในภาคใต้ที่ จ.สุราษฎร์ธานี อีก 2 แห่ง ประกอบด้วย วิทยาลัยเทคนิคสุราษฎร์ธานีและวิทยาลัยเทคนิคกาญจนดิษฐ์ พร้อมทั้งภาคตะวันออกเฉียงเหนือที่ จ.สุรินทร์ อีก 3 แห่ง ประกอบด้วย วิทยาลัยเทคนิคสุรินทร์, วิทยาลัยการอาชีพสังขะ และมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลอีสาน วิทยาเขตสุรินทร์ จากความสำเร็จของโครงการทำให้ บราเดอร์ ประเทศไทย สามารถคว้ารางวัล Brother Global Charter Award ในสาขา Social Contribution จากโครงการดังกล่าวได้สำเร็จ

 

เพราะบราเดอร์เชื่อว่า...การมีสังคมที่มีสุขภาพดีย่อมเป็นที่มาพื้นฐานของการเติบโตทางธุรกิจที่ยั่งยืน

Brother Run & Share วิ่งฝันปันน้ำใจ เพื่อผู้ป่วยโรคมะเร็ง ที่ในปี 2562 ถูกจัดขึ้นเป็นปีที่ 5 เป็นกิจกรรมเพื่อ คืนกำไรของบริษัทฯ กลับสู่สังคมที่บราเดอร์ตั้งใจจัดขึ้นเพื่อนำรายได้จากการจัดงานทั้งหมดโดยไม่หักค่าใช้จ่ายใดๆ มอบให้แก่มูลนิธิรามาธิบดี กองทุนมะเร็งโลหิตวิทยาผู้ใหญ่ โรงพยาบาลรามาธิบดี เพื่อนำไปช่วยเหลือผู้ป่วยโรคมะเร็งที่ยากไร้ที่ไม่สามารถเข้าถึงการบริการทางการแพทย์ได้ โดยในปีนี้สามารถระดมยอดเงินบริจาคได้สูงถึง 1,564,190 บาท “บราเดอร์จะยังคงมุ่งมั่นและสานต่อการจัดกิจกรรมวิ่งเพื่อการกุศลดังกล่าว นอกจากนี้  ยังส่งเสริมเรื่องการพัฒนาศักยภาพของคนรุ่นใหม่ด้วยการส่งเสริมด้านการศึกษาและสร้างประสบการณ์จริงเพื่อเติมเต็มความพร้อมก่อนก้าวสู่โลกของการทำงาน” นายพรภัค อุไพศิลป์สถาพร ผู้จัดการทั่วไปฝ่ายการเงินและการบริหาร บริษัท บราเดอร์ คอมเมอร์เชี่ยล (ประเทศไทย) จำกัด กล่าว การสนับสนุนพนักงานจากกิจกรรมสันทนาการในกลุ่มเล็กๆ สู่การผนึกพลังที่ยิ่งใหญ่ขึ้น เพื่อคืนกลับสู่สังคม คือการเปิดโอกาสให้พนักงานได้เป็นผู้ริเริ่มคิดและทำโครงการที่สอดคล้องกับนโยบายขององค์กร คือหนึ่งกลยุทธ์ที่บราเดอร์นำมาใช้เพื่อสร้างความแข็งแกร่งของความเป็น ‘ทีมเวิร์ค’  “ที่บราเดอร์ เราคิดเสมอว่าเราคือบ้านหลังใหญ่หลังหนึ่งที่มีสมาชิกในครอบครัวที่มีความหลากหลาย และเราไม่เคยปิดกั้นความหลากหลายนั้นๆ แต่นำความหลากหลายที่มีมาทำให้ชัดเจนยิ่งขึ้นและเปิดอิสรภาพเพื่อให้แต่ละคนทำในสิ่งที่ตนเองชื่นชอบและมีความถนัด และนำสิ่งที่ได้มาเป็นพลังบวกเพื่อนำไปสร้างประโยชน์แก่สังคมต่อไป เรามีการตั้ง Staff Welfare Committee ขึ้น เพื่อพัฒนาโปรเจคที่หลากหลายที่เกี่ยวเนื่องกับสุขภาพ (Health Project) ที่ขยายจากภายในองค์กรสู่การเป็นกิจกรรมระหว่างองค์กร ซึ่งถือเป็นความสำเร็จที่น่าภาคภูมิใจ”

 

เกี่ยวกับ บราเดอร์ คอมเมอร์เชี่ยล (ประเทศไทย)

เป็นเวลากว่าศตวรรษ ที่บราเดอร์เป็นที่รู้จักในฐานะของแบรนด์ที่นำเสนอผลิตภัณฑ์ที่มีการพัฒนานวัตกรรมต่างๆ รวมถึงความพึงพอใจของลูกค้าตลอดมา จากจุดเริ่มต้นที่ประเทศญี่ปุ่น ในปี ค.ศ. 1908 วันนี้เรามีโรงงานการผลิตถึง 19 แห่ง และบริษัทสาขาสำนักงานตัวแทนการขาย 43 แห่ง ใน 41 ประเทศทั่วทุกภูมิภาค บริษัท บราเดอร์ คอมเมอร์เชี่ยล (ประเทศไทย) จำกัด หนึ่งในผู้นำนวัตกรรมผลิตภัณฑ์เครื่องพิมพ์ เครื่องพิมพ์ฉลาก สแกนเนอร์, เครื่องพิมพ์ผ้าระบบดิจิทัลและจักรเย็บผ้า สามารถตอบสนองความต้องการที่หลากหลายของลูกค้าได้อย่างต่อเนื่อง ภายใต้ปรัชญาการดำเนินธุรกิจ "At your side" บราเดอร์อยู่เคียงข้างคุณและจะเป็นองค์กรที่เป็นที่ยอมรับจากพันธมิตรต่างๆ อย่างยั่งยืน

 

ทั้งนี้ สามารถติดตามข่าวสารต่างๆ ของบราเดอร์ คอมเมอร์เชี่ยล (ประเทศไทย) ได้ที่ www.brother.co.th และ www.facebook.com/BrotherCommercialThailand

ท่ามกลางกระแสและความเป็นจริงที่สังคมและธุรกิจกำลังก้าวย่างอยู่ในความเปลี่ยนแปลง สิ่งที่องค์กรและธุรกิจกำลังมองหาคือวิธีการที่จะทำอย่างไร? ให้องค์กรสามารถที่จะDisrupt ตนเองโดยไม่ต้องรอให้คนอื่นมา Disrupt  

Page 1 of 2
X

Right Click

No right click