กรุงศรี (ธนาคารกรุงศรีอยุธยา จำกัด (มหาชน) และบริษัทในเครือ) ในเครือของมิตซูบิชิ ยูเอฟเจ ไฟแนนเชียล กรุ๊ป (MUFG) หนึ่งในกลุ่มสถาบันการเงินที่ใหญ่ที่สุดระดับโลก ประกาศแผนธุรกิจระยะกลางฉบับใหม่ (Medium-Term Business Plan: MTBP) ครอบคลุมปี 2567-2569 พร้อมมุ่งเป้ายืนหนึ่งการเป็นธนาคารชั้นนำแห่งภูมิภาคเพื่อความยั่งยืน โดยตั้งอยู่บนหลักสำคัญสามประการ คือ ขับเคลื่อนสู่การเป็นธนาคารเพื่อความยั่งยืน เชื่อมโยงอาเซียนผ่านศักยภาพอันแข็งแกร่งของกรุงศรี และ MUFG เพื่อตอบสนองความต้องการของตลาดทั้งในระดับประเทศและระดับสากล และสร้างการเติบโตให้ธุรกิจหลักของธนาคาร

นายเคนอิจิ ยามาโตะ กรรมการผู้จัดการใหญ่และประธานเจ้าหน้าที่บริหาร ธนาคารกรุงศรีอยุธยา จำกัด (มหาชน) กล่าวว่า “ปีที่ผ่านมาถือเป็นวาระสำคัญครบรอบ 10 ปีของความร่วมมือระหว่างกรุงศรี และ MUFG และเป็นปีสุดท้ายของแผนธุรกิจระยะกลางฉบับที่สาม กรุงศรีให้ความสำคัญกับการยึดหลักลูกค้าเป็นศูนย์กลาง (Customer-centric Approach) มาอย่างต่อเนื่อง เพื่อส่งมอบผลิตภัณฑ์และบริการผ่านการพัฒนาขีดความสามารถด้านดิจิทัลและนวัตกรรม ซึ่งได้บรรลุความสำเร็จมากมายตลอดการเดินทางของเรา ไม่ว่าจะเป็นการสร้างธุรกิจและเครือข่ายที่แข็งแกร่งในอาเซียน การขยายศักยภาพการในด้าน ESG มากขึ้น ตลอดจนเป็นผู้บุกเบิกผลิตภัณฑ์ทางการเงินที่เชื่อมโยงกับความยั่งยืนของประเทศไทย รวมทั้งการก่อตั้งบริษัทร่วมทุนที่แข็งแกร่งอย่างกรุงศรี ฟินโนเวต ที่ให้การสนับสนุนการดำเนินธุรกิจของกลุ่มสตาร์ทอัพและบริษัทด้านเทคโนโลยีอีกด้วย ความสำเร็จต่าง ๆ ของกรุงศรีที่เกิดขึ้นตลอดระยะเวลาหนึ่งทศวรรษที่ผ่านมานั้นสะท้อนผ่านตัวเลขผลการดำเนินงานได้เป็นอย่างดี โดยกรุงศรีสามารถทำรายได้สุทธิกว่า 30,000 ล้านบาท จากเดิมอยู่ที่ 11,000 ล้านบาท เพิ่มขึ้นสามเท่าในเวลาหนึ่งทศวรรษ อัตราส่วนผลตอบแทนต่อส่วนของผู้ถือหุ้น (ROE) ครองตำแหน่งผู้นำในอุตสาหกรรม ทั้งยังคงความเป็นผู้นำด้านคุณภาพสินทรัพย์มาโดยตลอดอีกด้วย”

“กรุงศรีก้าวเข้าสู่แผนธุรกิจระยะกลางฉบับที่สี่ โดยมุ่งเป้ายืนหนึ่งการเป็นธนาคารชั้นนำแห่งภูมิภาคเพื่อความยั่งยืน แผนธุรกิจระยะกลางฉบับนี้สะท้อนถึงความตั้งใจอย่างแน่วแน่ของกรุงศรีเพื่อขับเคลื่อนความยั่งยืนเชิงเศรษฐกิจ สังคม สิ่งแวดล้อม และธรรมาภิบาลสู่อนาคตที่มั่นคง ทำให้กรุงศรีเป็นธนาคารแห่งภูมิภาคเพื่อความยั่งยืนระดับแถวหน้า แนวทางการดำเนินงานนี้ยังสอดคล้องกับเป้าหมายของ MUFG ที่ต้องการมุ่งสร้างอนาคตที่สดใสยิ่งขึ้น โดยมีเป้าหมายร่วมกันทั้งในด้านความยั่งยืน การเป็นธนาคารที่มีความรับผิดชอบ และการพัฒนาชุมชน” นายเคนอิจิ กล่าวเสริม

ปีแห่งความท้าทาย

ข้อมูลจากวิจัยกรุงศรีระบุว่า ประเทศไทยกำลังเดินอยู่บนเส้นทางของการฟื้นตัวทางด้านเศรษฐกิจอย่างค่อยเป็นค่อยไป โดยมีปัจจัยสนับสนุนจากการใช้จ่ายสาธารณะ นโยบายสนับสนุนต่าง ๆ ของภาครัฐ ตลอดจนกิจกรรมด้านการท่องเที่ยวที่กำลังฟื้นตัว และการจ้างงานที่เพิ่มขึ้นอย่างชัดเจน อย่างไรก็ดีขณะที่แรงส่งภายนอกสร้างความท้าทายต่อโอกาสในการเติบโตอย่างยั่งยืน ภาวะทางการเงินที่ตึงตัวขึ้น และภัยแล้งที่เพิ่มความซับซ้อนขึ้นทำให้กิจกรรมทางเศรษฐกิจโดยรวมชะลอตัวลง

เป้าหมายและทิศทางทางธุรกิจ

แผนธุรกิจระยะกลางฉบับใหม่ประจำปี 2567-2569 เป็นมากกว่าแผนงาน โดยแก่นหลักของแผนฉบับนี้คือความมุ่งมั่นที่จะก้าวสู่การเป็น “ธนาคารชั้นนำแห่งภูมิภาคเพื่อความยั่งยืน” ที่สะท้อนถึงคำมั่นสัญญาขององค์กรสู่อนาคตที่ความยั่งยืนและการสร้างแข็งแกร่งในระดับภูมิภาคเป็นสิ่งสำคัญ เพื่อบรรลุเป้าหมายดังกล่าวแผนธุรกิจฉบับนี้จะมุ่งเป้าไปยังสามประการหลัก ได้แก่ การเป็นธนาคารชั้นนำเพื่อความยั่งยืน  การขับเคลื่อนความเป็นผู้นำระดับภูมิภาค  และการรักษาตำแหน่งผู้นำในธุรกิจหลักของธนาคาร

จากเป้าหมายด้าน ESG สู่ความสำเร็จทางการเงิน

กรุงศรีในฐานะผู้นำด้านความยั่งยืน เราได้วางเป้าหมายในการเพิ่มการสนับสนุนทางการเงินให้แก่โครงการธุรกิจเพื่อสังคมและความยั่งยืนที่ 100,000 ล้านบาทภายในปี 2573 และให้การสนับสนุนลูกค้าในการออกผลิตภัณฑ์การเงินเพื่อความยั่งยืน โดยในปี 2566 ที่ผ่านมา กรุงศรีมียอดสินเชื่อเพื่อความยั่งยืนเพิ่มขึ้น  71,000 ล้านบาทจากฐานปี 2564 โดยแผนธุรกิจระยะกลางฉบับใหม่นี้ กรุงศรีจะมุ่งขยายบริการทางการเงินเพื่อความยั่งยืนเพื่อเข้าถึงฐานลูกค้า SME และลูกค้ารายย่อยที่หลากหลายยิ่งขึ้น นอกจากนี้ ธนาคารยังให้ความสำคัญกับการจัดหาเงินทุนเพื่อช่วยเหลือกลุ่มลูกค้าธุรกิจ และ SME ในช่วงการเปลี่ยนผ่านสู่การเป็นธุรกิจคาร์บอนต่ำ ควบคู่ไปกับการสนับสนุนในเรื่องกติกาด้านการเงินและภาษี (Taxonomy) ที่จำแนกประเภทกิจกรรมทางเศรษฐกิจที่สอดคล้องกับความเข้มของค่าคาร์บอนโดยใช้ระบบสัญญาณไฟจราจรเป็นเกณฑ์

การสร้างคุณค่าให้กลุ่มลูกค้า

เครือข่ายของกรุงศรี และ MUFG ในปัจจุบันครอบคลุม 9 ใน 10 ประเทศในอาเซียน โดยกรุงศรีมีบริษัทในเครือ กระจายอยู่ใน 5 ประเทศ ได้แก่ อินโดนีเซีย ฟิลิปปินส์ เวียดนาม กัมพูชา และ สปป.ลาว ที่ให้บริการลูกค้าแล้วกว่า 17 ล้านราย การดำเนินงานในอาเซียนของกรุงศรีส่งเสริมขีดความสามารถของธนาคารในหลายแง่มุม ตั้งแต่โมเดลธุรกิจและผลิตภัณฑ์ที่นำเสนอ ไปจนถึงการระดมทุน การบริหารความเสี่ยง โซลูชันดิจิทัล และนวัตกรรมที่หลากหลาย

ที่กล่าวมาข้างต้นเป็นการสร้างรากฐานอันแข็งแกร่งให้กับกรุงศรีในการเป็นธนาคารชั้นนำแห่งภูมิภาค และกรุงศรีมุ่งมั่นเดินหน้าใช้ประโยชน์จากเครือข่าย MUFG เพื่อขับเคลื่อนการเติบโตและเชื่อมโยงความต้องการของลูกค้าทั้งในประเทศไทยและภูมิภาค ผ่านการนำเสนอโซลูชันการจับคู่ธุรกิจแบบครบวงจรด้วยแพลตฟอร์ม Krungsri Business Link และบริการ Krungsri ASEAN Link ที่จะช่วยเชื่อมโยงลูกค้าธุรกิจชาวไทยกับพันธมิตรทางธุรกิจที่เชื่อถือได้เข้าด้วยกันผ่านเครือข่ายของธนาคารที่มีอยู่ในอาเซียนและญี่ปุ่น

ตอกย้ำจุดแข็งของกรุงศรี

กรุงศรีมุ่งมั่นที่จะสร้างความแข็งแกร่งและรักษาตำแหน่งผู้นำในธุรกิจหลักของธนาคาร เพื่อให้เติบโตได้อย่างยั่งยืน โดยจะเน้นเรื่องดิจิทัล ดาต้า ระบบนิเวศและการสร้างพันธมิตรเป็นแกนสำคัญในการดำเนินงาน สำหรับกลุ่มธุรกิจลูกค้ารายย่อยและลูกค้าบุคคล กรุงศรียังคงเดินหน้ากลยุทธ์ One Retail โดยการใช้ดาต้าเพื่อตอบโจทย์ลูกค้าเป็นหลัก สำหรับกลุ่มลูกค้าธุรกิจ กรุงศรีจะขยายขีดความสามารถด้านธุรกรรมการเงินทั้งในและต่างประเทศในรูปแบบ Banking as a Service โดยพัฒนาร่วมกับพันธมิตรจากทั้งในไทยและต่างประเทศ และสำหรับในด้าน IT และดิจิทัล กรุงศรีจะเดินหน้าลงทุนในดิจิทัลแพลตฟอร์มและเทคโนโลยีที่ยึดความต้องการลูกค้าเป็นหลัก รวมถึงการใช้ AI และ Machine Learning เพื่อยกระดับผลิตภัณฑ์และการให้บริการกับลูกค้าในทุกกลุ่ม ผ่านทุก Touchpoint ทั้งสาขา ออนไลน์ โมบายแอป และ Call Center

กรุงศรีคาดว่าในปี 2567 เงินให้สินเชื่อจะเติบโตที่ 3-5% และตั้งเป้าหมายของส่วนต่างอัตราดอกเบี้ยสุทธิ  (NIM) อยู่ที่ 3.8-4.1% ธนาคารคาดว่าอัตราส่วนสินเชื่อที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้ (NPL Ratio) อยู่ที่ราว 2.50-2.75% ขณะที่อัตราส่วนค่าใช้จ่ายต่อรายได้ (cost-to-income ratio) จะอยู่ในระดับ mid-40%

เพราะทุกคนมีภาพความงดงามของกรุงเทพฯ ในใจที่แตกต่างกัน ครั้งแรกกับเทศกาลงานออกแบบกรุงเทพฯ 2567 (Bangkok Design Week 2024) ที่กรุงศรี (ธนาคารกรุงศรีอยุธยา จำกัด (มหาชน)) ได้ร่วมเป็นส่วนหนึ่งในการจุดประกายไอเดียสร้างสรรค์ ภายใต้คอนเซปต์ “กรุงสี by กรุงศรี” (The City of Colours) ชวนทุกคนมาออกแบบและแชร์ไอเดียสีสันของกรุงเทพฯในแบบที่คุณอยากเห็น ให้กรุงเทพฯสดใสและน่าอยู่ยิ่งขึ้นและสามารถตอบโจทย์กับทุก ๆ รูปแบบของการใช้ชีวิตในแต่ละช่วงวัยได้อย่างครอบคลุมและเหมาะสม เพื่อให้ทุกคนได้มีชีวิตง่ายได้ทุกวัน พบกันได้ตั้งแต่ 27 มกราคม ถึง 4 กุมภาพันธ์ 2567 ณ อาคารไปรษณีย์กลางบางรัก กรุงเทพฯ

นางสาวมิ่งขวัญ พัฒนวงศ์ ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการใหญ่ ผู้บริหารสายงานบริหารแบรนด์และการตลาดองค์กร ธนาคารกรุงศรีอยุธยา จำกัด (มหาชน) กล่าวว่า “กรุงเทพฯไม่เพียงเป็นเมืองหลวง แต่ยังเป็นจุดเริ่มต้นของโมเดลการพัฒนาในหลายมิติ รวมถึงการเติบโตทางเศรษฐกิจของประเทศ โดยกรุงศรีพร้อมร่วมเป็นส่วนหนึ่งในการสนับสนุนกรุงเทพฯให้เป็นเมืองที่น่าอยู่ มีศักยภาพสำหรับการใช้ชีวิตในแต่ละช่วงวัยอย่างแท้จริง ซึ่งเทศกาล Bangkok Design Week 2024 ครั้งนี้ก็มีโจทย์สนุก ๆ กับแนวคิดที่อยากให้กรุงเทพฯ เป็น Livable scape คนยิ่งทำ เมืองยิ่งดีที่น่าอยู่สำหรับทุกคน ซึ่งสอดคล้องกับแนวคิดของแบรนด์กรุงศรีที่อยากเห็นทุกคนมี “ชีวิตง่าย ได้ทุกวัน” เราไม่เพียงดูแลในเรื่องทางการเงิน แต่ยังอยากเห็นทุกคนมีความสุขกับการใช้ชีวิตในทุกๆ วันมากยิ่งขึ้น”

“กรุงสี by กรุงศรี” (The City of Colours) ออกแบบผลงานดังกล่าวเพื่อสร้างแรงบันดาลใจให้กับผู้เข้าร่วม โดยการให้คนนึกถึงกรุงเทพฯ เชิญชวนให้ผู้เข้าชมงานได้ฉุกคิดกับคำถาม อยากเห็นกรุงเทพฯสีอะไร และนำทุกคนเข้าไปอยู่ในกรุงเทพฯในสีที่อยากเห็นผ่านกิจกรรมการถ่ายภาพ พร้อมสรุปผลของผู้เข้าร่วมชมงานกับสีของกรุงเทพฯที่ทุกคนอยากเห็น ซึ่งเชื่อว่าจุดเล็ก ๆ ที่จุดประกายให้เกิดการต่อยอด เพื่อสร้างสรรค์กรุงเทพฯ ให้เป็นเมืองที่สดใสและน่าอยู่ยิ่งขึ้น เป็นเมืองที่จะส่งเสริมให้เราได้ใช้ชีวิตง่าย ๆ ในแบบของทุกคนเอง

นอกจากนี้ เพื่อช่วยสนับสนุนกรุงเทพฯ น่าอยู่ขึ้น กรุงศรีจะนำเชือก ซึ่งเป็นวัสดุหลักในงานออกแบบครั้งนี้ นำกลับไปใช้ซ้ำ (Reuse)

พบกับ “กรุงสี by กรุงศรี” (The City of Colours) พร้อมโซนกิจกรรมถ่ายภาพ เลือกกรุงเทพฯที่คุณอยากเห็น รับภาพถ่าย ทั้งตัวพรินต์ (Print) และไฟล์ที่ทุกคนสามารถแชร์กรุงเทพฯที่คุณอยากเห็น ผ่านโลกโซเชียลได้แล้วตั้งแต่วันนี้ ถึง 4 กุมภาพันธ์ 2567 ณ อาคารไปรษณีย์กลางบางรัก กรุงเทพฯ

 

“กรุงศรี ฟินโนเวต” เผยผลการดำเนินงานตลอด 12 เดือนของปี 2023 ที่ผ่านมา ถือว่าประสบความสำเร็จสามารถ deploy capital ได้มากถึง 75% จากแผนงานเป้าการลงทุนตามที่ได้ตั้งเป้าไว้ และปี 2024 พร้อมทะยานอย่างต่อเนื่อง วางกลยุทธ์เสริมแกร่งครบ 360 องศา เพื่อที่จะนำพาสตาร์ทอัพไทยให้เติบโตมากที่สุดอย่างก้าวกระโดดและยั่งยืน

“คุณแซม ตันสกุล” MD, Krungsri Finnovate ที่มีประสบการณ์ ในแวดวงธนาคารมานานกว่า 20 ปี เผยว่า “ปี 2023 นั้น Krungsri Finnovate ได้ลงทุนในสตาร์ทอัพเรื่อยมา พร้อมกับเปิด Finnoventure Fund กองทุนสตาร์ทอัพของไทยที่เปิดให้นักลงทุนรายย่อยเข้ามาร่วมลงทุนได้ บนความตั้งใจที่ต้องการสร้างไทยสตาร์ทอัพให้เป็น “ยูนิคอร์น” เพราะหมายความว่าเป็นธุรกิจที่มีมูลค่าตลาดมากกว่า 1,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ ดันเศรษฐกิจให้เติบโตขึ้น ถึงแม้ว่าในปี 2023 กลุ่มสตาร์ทอัพ ในไทยอาจดูเงียบเหงา เนื่องจากเศรษฐกิจที่อยู่ในช่วงขาลง แต่ “Krungsri Finnovate” ก็ไม่ได้หยุดการลงทุน โดยปีที่ผ่านมา (รวมทั้งปี2022 และ 2023) เราได้ลงทุนไปแล้วประมาณ 1,200 ล้านบาท ใน 14 กิจการสตาร์ทอัพจากกองทุนที่ชื่อว่า “Finnoventure Private Equity Trust 1” นอกจากนี้ต้นปีที่ผ่านมาได้เปิด Accelerator ที่ชื่อว่า Krungsri Upcelerator ที่จังหวัดเชียงใหม่ โดยรับสตาร์ทอัพจากภาคเหนือเข้ามาร่วมบ่มเพาะด้วยกัน”

“เช่นเดียวกัน ปี 2023 “Krungsri Finnovate” ก็ถือว่าเป็นหน่วยงาน CVC ที่ได้รับความน่าเชื่อถือ จนหลายองค์กรต่างมอบรางวัลให้กับเรา ผมขอเป็นตัวแทน ขอขอบคุณมากๆ ที่เห็นความตั้งใจของทีมงาน ไม่ว่าจะเป็นรางวัลจาก Digital Banking, หรือว่า Innovation Awards ได้โอกาสพูดบนเวทีของสื่อระดับประเทศอย่าง The People เพื่อแสดงวิสัยทัศน์ภายใต้บริบทของ “Game Changer” ภูมิใจมากที่เราได้รับโอกาสเป็นองค์กร Game Changer ของประเทศไทย ที่จะสร้าง Startup ของประเทศไทย ให้เป็น Unicorn แล้วก็เข้าสู่ IPO และล่าสุดกับการได้รับการคัดเลือกส่งท้ายปีของ Chosen by The People 2023 หมวดเทคโนโลยี ถือเป็นกำลังใจให้พวกเราตั้งใจมากยิ่งขึ้นไปครับ”

นอกจากนี้ “คุณแซม ตันสกุล” MD, Krungsri Finnovate ยังได้เผยถึงแผนงานปี 2024 ว่า “ปี 2024 เรายังคงให้ความสำคัญกับ IMPACT และ Digital Transformation เพื่อลงทุนในสตาร์ทอัพตัวเล็กๆ ที่จะทำร่วมกับ "คุณป้อม ภาวุธ พงษ์วิทยภานุ" เพื่อช่วยให้สตาร์ทอัพเติบโตและประสบความสำเร็จด้วยการสร้างความยั่งยืน พัฒนาเศรษฐกิจที่ดีขึ้น โดยเตรียมเปิดกองทุนใหม่ที่ชื่อว่า “Finno Efra Fund” เพื่อระดมทุน ระดมเงินเข้ามา เพื่อที่จะลงทุนในกิจการสตาร์ทอัพที่อยู่ใน Early Stage ตั้งแต่ Seed จนถึง Pre-Series A โดยโฟกัสไปที่กิจการในไทยก่อนเป็นหลัก และอาจรวมถึงเวียดนาม อินโดนีเซีย ฟิลิปปินส์ เป็นต้นด้วย นอกจากนี้ “Krungsri Finnovate” ยังมี FINNOVERSE & FUTURISTIC FUND ที่จะลงทุนสูงสุด 6 รายการ ในที่นี้เป็น 3 การลงทุนใหม่ สร้าง ESG ที่เป็นแนวคิดเกี่ยวกับการพัฒนาขององค์กรอย่างยั่งยืน ซึ่งมาจาก Environment, Social, และ Governance และสตาร์ทอัพในกลุ่มเทคโนโลยีรักษ์โลกที่น่าจับตามองที่สุดในตอนนี้ ในเชิงกลยุทธ์ไปสู่ AI และความปลอดภัยทางไซเบอร์”

“นอกจากเปิดกองทุนแล้ว ก็จะเปิด Accelerator ที่ชื่อว่า “Finno Efra Accelerator” เพื่อให้สตาร์ทอัพเหล่านี้ มาบ่มเพาะในโปรแกรมของเรา และก็ได้รับเงินทุนเช่นเดียวกัน โดยมีเป้าหมายจะลงทุนทั้งหมดถึง 50 กิจการสตาร์ทอัพ เพื่อให้เติบโต จาก Early Stage เข้าสู่ Series A ถัดไป ซึ่ง Series A จะมีกองทุนแม่ในการรับเข้าไปลงทุนต่อ”

 

“สำหรับ Accelerator ปีหน้า เราจะมีอย่างน้อย 10 สตาร์ทอัพ ที่จะได้เข้าร่วมในกิจกรรม Accelerator ที่ชื่อว่า “Finno Efra Accelerator” และเมื่อผ่านโรงเรียนนี้ไปเรียบร้อยแล้ว ก็มีสิทธิ์มากที่จะได้รับการลงทุนต่อในกองทุนนี้ โดยจะสอนเป็นเวลา 4 เดือน มีเมนเทอร์ โดยเลือกสตาร์ทอัพเข้าทีม และจะเริ่มการสอนตั้งแต่เรื่อง mindset และการจะเป็นผู้ประกอบการต้องทำอย่างไรบ้าง ให้ลงตลาดจริง สอนเรื่องการพัฒนาโปรดักส์ สัปดาห์ละ 1 ครั้ง

“แน่นอนสำหรับสตาร์ทอัพ ตอนนี้เตรียมตัวได้เลย ถ้าท่านอยู่ในกลุ่มที่เรียกว่า Seed Stage ถึง Pre-Series A ก็คือเริ่มมี Traction แล้ว เริ่มขายของได้แล้ว แล้วก็อยู่ในกลุ่มที่เรียกว่า Digital Transformation หรือกลุ่ม Impact ไม่ว่าจะเป็น Tech อะไรก็แล้วแต่ สามารถเตรียมตัว เตรียมความพร้อมที่จะสมัคร ติดตามพวกเราได้ใน Facebook: Krungsri Finnovate และติดตามเรื่องการสมัครได้ภายในต้นปี โดย “Krungsri Finnovate” หวังว่าจะได้รับการตอบรับอย่างมากมาย และแน่นอนผู้ที่ได้รับการคัดเลือกเข้าสู่ 10 ทีมสุดท้าย และสามารถจบ Accelerator อย่างสวยงาม ก็จะได้รับเงินลงทุนจากกองทุน Finno Efra Fund เช่นเดียวกัน”

“สุดท้ายแล้ว “Krungsri Finnovate” ยังมีแผนกลยุทธ์ในปี 2024 เกี่ยวกับ ความร่วมมือเชิงกลยุทธ์ และนักลงทุนสัมพันธ์ (Strategic Partnership & Investor Relations) เพื่อก้าวสู่ความเป็นผู้นำในภูมิภาค โดยมี

สตาร์ทอัพกว่า 150 โครงการ และสร้าง 1 เมกะโปรเจ็กต์ กิจการร่วมค้า (Joint Venture) และ New Business Model โดยพร้อมเทหมดหน้าตักลงทุนอย่างน้อย 1,000 ล้านบาท” คุณแซม ตันสกุล ปิดท้าย

กรุงศรี (ธนาคารกรุงศรีอยุธยา จำกัด (มหาชน)) ร่วมมือกับมิตซูบิชิ ยูเอฟเจ ไฟแนนเชียล กรุ๊ป (MUFG) สถาบันการเงินที่ใหญ่ที่สุดในญี่ปุ่นและเป็นกลุ่มสถาบันการเงินชั้นนำของโลกเดินหน้าขับเคลื่อนการเติบโตทางเศรษฐกิจดิจิทัลของอาเซียน ผ่านการลงนามบันทึกข้อตกลงและความเข้าใจ (MOU) ว่าด้วยความร่วมมือทางธุรกิจครั้งสำคัญกับศูนย์นวัตกรรมแห่งชาติเวียดนาม (Vietnam National Innovation Center หรือ NIC) เพื่อส่งเสริมระบบนิเวศของธุรกิจสตาร์ทอัพที่เอื้อต่อการประกอบธุรกิจ พร้อมผลักดันธุรกิจสตาร์ทอัพในประเทศเวียดนามให้สามารถเติบโตก้าวไกลในระดับสากล

นายเคนอิจิ ยามาโตะ กรรมการผู้จัดการใหญ่และประธานเจ้าหน้าที่บริหาร ธนาคารกรุงศรีอยุธยา จำกัด (มหาชน) กล่าวว่า “ภายใต้แผนธุรกิจระยะกลางของกรุงศรี เรามุ่งมั่นดำเนินธุรกิจสู่การเป็น Innovative Bank พร้อมเดินหน้าสร้างความเชื่อมโยงในภูมิภาคอาเซียน ผ่านการแสวงหาความร่วมมือทางธุรกิจในกลุ่มประเทศสมาชิกอาเซียนอย่างต่อเนื่อง เพื่อส่งเสริมระบบนิเวศเศรษฐกิจดิจิทัล และการพัฒนาด้านดิจิทัลและข้อมูลสารสนเทศ ซึ่งจะช่วยขับเคลื่อนสถาบันการเงินให้เติบโตก้าวไกลในระดับภูมิภาค ขณะที่เวียดนามเป็นประเทศที่มีการเติบโตทางเศรษฐกิจและมุ่งให้การสนับสนุนธุรกิจสตาร์ทอัพอย่างต่อเนื่อง กรุงศรีมีความยินดีเป็นอย่างยิ่งที่ได้ร่วมส่งเสริมความแข็งแกร่งให้กับระบบนิเวศดิจิทัลผ่านการสนับสนุนสตาร์ทอัพรุ่นใหม่และอุตสาหกรรมสายเทคต่าง ๆ ในเวียดนามโดยเฉพาะอย่างยิ่งในช่วงเวลาที่พวกเขากำลังเติบโต”

นายมาซาโอะ โคจิมะ กรรมการผู้จัดการและหัวหน้าส่วนภูมิภาคประจำประเทศเวียดนาม ธนาคาร เอ็มยูเอฟจี จำกัด (MUFG Bank) กล่าวว่า “MUFG Bank ได้ให้การสนับสนุนและผลักดันเวียดนามสู่เวทีโลกผ่านความร่วมมือกับพันธมิตรต่าง ๆ มาโดยตลอด ซึ่งจากการสำรวจโดย JETRO พบว่าในปีที่ผ่านมามีนักลงทุนจากญี่ปุ่นให้ความสนใจในการลงทุนกับเวียดนามเพิ่มสูงขึ้น เราเชื่อมั่นว่าความร่วมมือในครั้งนี้ จะช่วยสร้างระบบนิเวศดิจิทัลที่เอื้อต่อการเติบโตของสตาร์ทอัพ และส่งผลต่อการเจริญเติบโตของเศรษฐกิจเวียดนามได้อย่างแน่นอน”

นายอู ค็อก ฮุย ผู้อำนวยการศูนย์นวัตกรรมแห่งชาติเวียดนาม  (Vietnam National Innovation Center หรือ NIC) กล่าวว่า “NIC มีความยินดีอย่างยิ่งที่ได้ลงนามบันทึกข้อตกลงร่วมกับกรุงศรีและ MUFG ในครั้งนี้ ทั้งนี้เพื่อสานความสัมพันธ์ระหว่างเวียดนามและนักลงทุนจากประเทศไทยและญี่ปุ่นที่ต้องการลงทุนในธุรกิจสายเทคโนโลยีและนวัตกรรมให้แน่นแฟ้นยิ่งขึ้น พร้อมทั้งส่งเสริมและพัฒนาศักยภาพอุตสาหกรรมด้านเทคโนโลยีและนวัตกรรมของเวียดนามให้รุดหน้าและตอบโจทย์ตลาดในระดับสากล ขณะเดียวกัน เราพร้อมให้การสนับสนุนสตาร์ทอัพจากประเทศไทย ญี่ปุ่น รวมถึงประเทศอื่น ๆ ที่กำลังมองหาโอกาสในการดำเนินธุรกิจในเวียดนามอีกด้วย”

การลงนามในข้อตกลงความร่วมมือดังกล่าวจัดขึ้นในรูปแบบออนไลน์ เมื่อเร็วๆ นี้ โดยมี นายเคนอิจิ ยามาโตะ กรรมการผู้จัดการใหญ่และประธานเจ้าหน้าที่บริหาร ธนาคารกรุงศรีอยุธยา จำกัด (มหาชน) นายบุนเซอิ โอคุโบะ ประธานกลุ่มธุรกิจธนกิจพาณิชย์เกี่ยวกับญี่ปุ่นและบรรษัทข้ามชาติ ธนาคารกรุงศรีอยุธยา จำกัด (มหาชน) นายอู ค็อก ฮุย ผู้อำนวยการศูนย์นวัตกรรมแห่งชาติเวียดนาม (NIC) นายมาซาโอะ โคจิมะ กรรมการผู้จัดการและหัวหน้าส่วนภูมิภาคประจำประเทศเวียดนาม ธนาคารเอ็มยูเอฟจี จำกัด (MUFG Bank) นายโนบูทาเกะ ซูซูกิ กรรมการผู้จัดการใหญ่และประธานเจ้าหน้าที่บริหาร เอ็มยูเอฟจี อินโนเวชัน พาร์ทเนอร์ (MUIP) และนายแซม ตันสกุล กรรมการผู้จัดการ บริษัท กรุงศรี ฟินโนเวต จำกัด ร่วมลงนาม โดยมีระยะเวลาของแผนการดำเนินงานใน 5 ปี ที่ให้ความสำคัญกับการสนับสนุนกิจกรรม 4 ด้าน ได้แก่

  • การส่งเสริมและสนับสนุนการเติบโตของสตาร์ทอัพเวียดนามในระดับสากลผ่านเครือข่ายที่แข็งแกร่งของกรุงศรีและ MUFG
  • การแบ่งปันความรู้ และแนวทางการบริหารจัดการธุรกิจที่เหมาะสม เพื่อเพิ่มศักยภาพการดำเนินธุรกิจของสตาร์ทอัพในเวียดนามผ่านกิจกรรมต่าง ๆ โดยกรุงศรีฟินโนเวต และ MUFG อาทิ โครงการบ่มเพาะสตาร์ทอัพ (Accelerator Program) เป็นต้น
  • การจัดกิจกรรมจับคู่เจรจาธุรกิจสำหรับสตาร์ทอัพในเวียดนาม ไทย ญี่ปุ่น รวมถึงประเทศอื่น ๆ เพื่อแสวงหาความร่วมมือทางธุรกิจ รวมทั้งโอกาสการลงทุนในระดับสากล
  • การสนับสนุนการพัฒนาแพลตฟอร์มดาต้าและข้อมูล ที่จะช่วยเติมเต็มความต้องการของธุรกิจสตาร์ทอัพในเวียดนาม และด้านอื่น ๆ ของ NIC

“ด้วยความเชี่ยวชาญของกรุงศรีและเครือข่ายที่แข็งแกร่งของ MUFG เราเชื่อมั่นว่าความร่วมมือในครั้งนี้จะช่วยสนับสนุนการเติบโตของเศรษฐกิจดิจิทัลในเวียดนามได้เป็นอย่างดี และเราพร้อมที่ช่วยพัฒนาอุตสาหกรรมเทคโนโลยีในเวียดนามให้เติบโตก้าวหน้าผ่านความร่วมมืออย่างต่อเนื่อง สู่การเติบโตในระดับภูมิภาคอย่างมั่นคงและยั่งยืนต่อไป” นายยามาโตะ กล่าวทิ้งท้าย

กรุงศรี (ธนาคารกรุงศรีอยุธยา จำกัด (มหาชน)) มอบความฟินคูณสอง เมื่อสมัครสินเชื่อ Krungsri iFIN ผ่าน KMA krungsri app ระหว่างวันที่ 1 มกราคม 2567 – 31 พฤษภาคม 2567 โดยได้รับอนุมัติวงเงินตั้งแต่ 300,000 บาทขึ้นไป และรับเงินกู้โดยวิธีโอนเงินเข้าบัญชีเงินฝากธนาคารกรุงศรีอยุธยา ภายในวันที่ 30 มิถุนายน 2567 และมีการชำระค่างวดสินเชื่อสถานะปกติ รับสิทธิ์ 2 ต่อ

  • ต่อที่ 1 รับเงินคืน (Cash Back) จำนวน 1,000 บาท
  • ต่อที่ 2 รับคะแนน Krungsri GIFT จำนวน 20 GIFTs สามารถแลกรับสิทธิพิเศษและ/หรือของกำนัลได้

ผู้ที่สนใจสามารถดูรายละเอียดและเงื่อนไขเพิ่มเติมได้ที่ https://www.krungsri.com/th/promotions/personal/krungsri-ifin 

*ศึกษารายละเอียดและเงื่อนไขเพิ่มเติมได้จากสื่อต่าง ๆ ของธนาคาร

X

Right Click

No right click