×

Warning

JUser: :_load: Unable to load user with ID: 7637

ย้อนเส้นทางสานต่อศาสตร์พระราชา ผ่านโครงการ “รักษ์น้ำ จากภูผาสู่มหานที” โดยเอสซีจี ผลสัมฤทธิ์แห่งการส่งเสริมนวัตกรรมเพื่อบริหารจัดการน้ำอย่างยั่งยืนและพลิกฟื้นความเข้มแข็งให้ชุมชน

“เพราะน้ำคือชีวิตของทุกสรรพสิ่ง ที่ใดมีน้ำที่นั่นย่อมมีชีวิต...” เอสซีจี จึงได้เดินอยู่บนเส้นทางแห่งการบริหารจัดการน้ำร่วมกับชุมชนและภาคีเครือข่ายมากว่า 10 ปี

จุดเริ่มต้นเส้นทางสู่ความยั่งยืนด้านสิ่งเเวดล้อม และวิถีชีวิตความเป็นอยู่

เอสซีจี ได้น้อมนำเเนวพระราชดำริ 'จากภูผาสู่มหานที' ผสานเเนวคิดเศรษฐกิจหมุนเวียน (Circular Economy) มาต่อยอดโครงการ “รักษ์น้ำเพื่ออนาคต” ที่ดำเนินมากว่า 10 ปี ด้วยโครงการ “รักษ์น้ำจากภูผาสู่มหานที” ในปี 2561 เพื่อขยายผลการดูแลจัดการน้ำให้เหมาะสมกับเเต่ละพื้นที่ สร้างต้นน้ำที่ดี กลางน้ำที่สมบูรณ์ สู่ปลายน้ำที่ยั่งยืน ผ่านกระบวนการสร้างการมีส่วนร่วมกับชุมชน ให้เข้าใจการบริหารจัดการน้ำในพื้นที่ตนเองอย่างแท้จริง ตลอดจนเดินหน้าสร้างความร่วมมือกับหน่วยงานภาครัฐในท้องถิ่น จิตอาสา เเละพนักงาน เพื่อสร้างพลังเเละเชื่อมความรู้การจัดการน้ำอย่างเป็นระบบ

“ฝายชะลอน้ำ” ต้นแบบการพลิกฟื้นพื้นที่ต้นน้ำ

เริ่มต้นจากพื้นที่ต้นน้ำ อ.เเม่ทะ จ.ลำปาง ต้นแบบการพลิกฟื้นพื้นที่ด้วยการสร้างฝายชะลอน้ำ เพื่อช่วยบรรเทาปัญหาน้ำแล้งในฤดูเเล้ง น้ำท่วมในฤดูน้ำหลาก เเละป้องกันไฟไหม้ป่า ก่อนขยายไปยังพื้นที่ อ.แจ้ห่ม จ.ลำปาง เมื่อฝายชะลอน้ำช่วยให้น้ำกลับคืนมาสู่พื้นที่ จึงนำไปสู่การสร้างสระพวงเชิงเขา วิธีการกักเก็บน้ำที่ใช้การเชื่อมต่อสระน้ำเป็นพวง ทำให้มีน้ำเพียงพอสำหรับทำการเกษตรในพื้นที่ไม่อุ้มน้ำ ชุมชนสามารถเพาะปลูกเมล็ดพันธุ์พืชแบบใช้น้ำน้อย เช่น ฟักทอง บวบ ถั่วฝักยาว มะระขี้นก ได้มากถึง 7 ครั้งต่อปี เกิดรายได้รวมในชุมชนถึง 18 ล้านบาทต่อปี และยังใช้วิธีการกระจายน้ำในพื้นราบด้วยระบบแก้มลิง ทำให้เกษตรกรนำน้ำไปใช้ในพื้นที่กว่า 500 ไร่ สร้างรายได้กว่า 100,000 บาท / ครัวเรือน / ปี ช่วยให้ชุมชนมีแหล่งน้ำสำรองในฤดูแล้งอีกประมาณ 134,000 ลบ.ม. สามารถบริหารจัดการน้ำได้อย่างเต็มระบบและพัฒนาต่อยอดเป็นแหล่งท่องเที่ยวเชิงนิเวศ เพื่อสร้างอาชีพ เสริมรายได้ให้ชุมชนอย่างยั่งยืน

ไม่เฉพาะภาคเหนือ แต่แนวคิดการสร้างฝายชะลอน้ำยังได้ขยายผลสู่ ต.ถ้ำใหญ่ อ.ทุ่งสง จ.นครศรีธรรมราช ที่ชุมชน ภาคีเครือข่าย และเอสซีจี ได้ร่วมสร้างฝายเพื่อรักษาและฟื้นฟูระบบนิเวศป่าต้นน้ำของลำน้ำสาขาจากเทือกเขานครศรีธรรมราช อันเป็นต้นน้ำของลุ่มน้ำตรัง ขณะเดียวกัน ก็ได้ส่งต่อแนวคิดไปสู่พื้นที่ อ.ไทรโยค จ.กาญจนบุรี ที่ประสบปัญหาพื้นที่แห้งแล้งจากการแผ้วถางป่าสำหรับขยายพื้นที่ทำกิน และหน้าดินที่ถูกชะล้างซึ่งสร้างความเดือดร้อนให้ชุมชน ฝายชะลอน้ำจึงถูกนำไปใช้เป็นเครื่องมือช่วยชะลอน้ำและฟื้นคืนสภาพพื้นที่ให้เป็นแหล่งอาหารและสร้างรายได้ให้กับชุมชน

“ฝายช่วยคืนความสมดุลให้ป่า และป่ายังเปรียบเสมือนซุปเปอร์มาเก็ตที่ชุมชนสามารถเข้าไปหาของป่าสำหรับนำมาใช้ทำอาหารให้ครอบครัวและแบ่งขายสร้างรายได้เพิ่มมากขึ้น ยิ่งไปกว่านั้น ไม่น่าเชื่อว่าเพราะการที่ชุมชนช่วยกันลงแรงร่วมใจกันสร้างฝายชะลอน้ำ จะทำให้ชุมชนของเรามีโอกาสพูดคุย เข้าใจกัน และรักสามัคคีกันมากขึ้นผู้ใหญ่ครุฑ นายเต้นยิ้ว วชิรพันธ์วิชาญ ประธานป่าชุมชนบ้านบ้านยางโทน กล่าว

“แก้มลิง” กักเก็บน้ำในพื้นที่กลางน้ำ พลิกฟื้นพื้นที่ทำการเกษตร

สำหรับพื้นที่กลางน้ำ เอสซีจีได้ร่วมกับชุมชนป่าภูถ้ำ ภูกระแต อ.แวงน้อย จ.ขอนแก่น ต้นแบบชุมชนบริหารจัดการน้ำตามแนวพระราชดำริ และมูลนิธิอุทกพัฒน์ ในพระบรมราชูปถัมภ์ ขยายการดำเนินงานการบริหารจัดการน้ำอย่างยั่งยืนสู่บ้านโนนเขวา อ.แวงน้อย จ.ขอนแก่น โดยจัดทำ “แก้มลิง” แหล่งสำรองน้ำจากการขุดลอกหนองน้ำเดิม เพื่อเชื่อมต่อจากแม่น้ำชีไปสู่หนองน้ำในพื้นที่ทำการเกษตรของชุมชน สำหรับเก็บกักน้ำ ช่วยบรรเทาปัญหาภัยแล้งและน้ำท่วมพื้นที่เกษตรได้กว่า 250 ไร่ อีกทั้งยังใช้เป็นแหล่งเลี้ยงปลาเพิ่มรายได้ให้ชุมชนอย่างน้อยปีละ 30,000 บาท และบรรเทาปัญหาขาดแคลนน้ำอุปโภคในครัวเรือน

“บ้านปลาเอสซีจี” ผลสำเร็จในพื้นที่ปลายน้ำ

ทอดยาวไปยังพื้นที่ปลายน้ำ เอสซีจีได้นำท่อ PE100 ที่เหลือจากการขึ้นรูปสำหรับทดสอบเม็ดพลาสติกภายในโรงงานมาใช้ประกอบเป็นบ้านปลา เพื่อฟื้นฟูและอนุรักษ์ระบบนิเวศชายฝั่งทะเลภาคตะวันออก เพิ่มที่อยู่อาศัยและเป็นแหล่งอนุบาลสัตว์ทะเลขนาดเล็ก คืนความสมบูรณ์สู่ท้องทะเลไทย โดยปัจจุบันได้วางบ้านปลาลงสู่ใต้ท้องทะเลไปแล้ว 1,600 หลัง ใน จ.ระยอง ชลบุรี และจันทบุรี คิดเป็นพื้นที่อนุรักษ์ทรัพยากรทางทะเลกว่า 40 ตร.กม. เกิดความหลากหลายทางชีวภาพทางทะเลของสัตว์น้ำเศรษฐกิจและปลาสวยงามกว่า 172 ชนิด

“หัวใจสำคัญของโครงการตลอดระยะเวลากว่า 6 ปีที่ผ่านมา คือ ความเข้มแข็งของชุมชนประมงพื้นบ้านที่ช่วยกันสร้างบ้านปลา และดูแลพื้นที่อนุรักษ์อย่างต่อเนื่อง รวมถึงพลังของจิตอาสาที่ร่วมกิจกรรมตั้งแต่เริ่มต้นจนถึงปัจจุบันกว่า 11,500 คน และขณะนี้ เอสซีจียังทดลองนำขยะพลาสติกจากทะเล และชุมชนมาเข้าสู่กระบวนการรีไซเคิลเพื่อนำมาผลิตเป็นท่อสำหรับสร้างบ้านปลาตามแนวคิดเศรษฐกิจหมุนเวียนอีกด้วย” นายชลณัฐ ญาณารณพ รองผู้จัดการใหญ่ และประธานคณะกรรมการการพัฒนาอย่างยั่งยืน เอสซีจี กล่าว

นอกจากนี้ ในพื้นที่ชายฝั่งทะเลภาคใต้ ชาวประมงพื้นบ้านบ้านมดตะนอย ต.เกาะลิบง อ.กันตัง จ.ตรัง ซึ่งประสบปัญหาจากการไม่สามารถออกหาปลาในทะเลช่วงมรสุมได้ เมื่อจะใช้คลองที่อยู่ใกล้ชุมชนเป็นที่ทำกินก็พบว่า ปลามีจำนวนน้อยเพราะขาดแหล่งที่อยู่อาศัยอันอุดมสมบูรณ์ เอสซีจีจึงเข้าไปร่วมกับชุมชนพัฒนาแหล่งที่อยู่อาศัยใต้ทะเลที่เหมาะสมกับพื้นที่ โดยนำนวัตกรรมปูนงานโครงสร้างทนทานพิเศษ เอสซีจี มาหล่อเป็นบ้านปลาในลักษณะวงกลมที่มีช่องขนาดหลากหลาย เพื่อให้ปลาสามารถว่ายผ่านไปมาได้และสามารถใช้หลบภัยได้เป็นอย่างดี รวมถึงการปลูกป่าโกงกาง และหญ้าทะเล สำหรับช่วยเหลือพะยูนและสัตว์ทะเลใกล้สูญพันธุ์ด้วย

เสริมความแข็งแกร่งให้ชุมชนด้วยนวัตกรรมเพื่อสังคม

ด้วยความเชี่ยวชาญของเอสซีจี เเละประสบการณ์ด้านการบริหารจัดการน้ำร่วมกับชุมชนมาอย่างต่อเนื่อง ทำให้เอสซีจีมองเห็นปัญหาที่เกิดขึ้นในพื้นที่ต่างๆ จึงได้นำ "นวัตกรรมผ้าใบคอนกรีต" ของธุรกิจซีเมนต์และผลิตภัณฑ์ก่อสร้าง ที่ผสมผสานเทคโนโลยีซีเมนต์เเละเทคโนโลยีสังเคราะห์ซึ่งมีความเเข็งเเรงและปรับรูปแบบได้ตามต้องการ มาใช้สร้างสระพวงสำหรับกักเก็บน้ำที่บ้านสาแพะ จ.ลำปาง เพื่อแก้ปัญหาดินทรายไม่อุ้มน้ำ

นอกจากนั้น ยังได้มีการใช้ นวัตกรรมปูนงานโครงสร้างทนทานพิเศษ เอสซีจี” ที่ทนซัลเฟตและคลอไรด์ในน้ำทะเลได้นานกว่าปูนธรรมดา มาหล่อเป็นบ้านปลาสำหรับเป็นแหล่งพักพิงของสัตว์ทะเลในพื้นที่ภาคใต้ ซึ่งได้รับการรับรองความปลอดภัยและเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม รวมทั้งยังแข็งแรงทนทาน ไม่มีส่วนประกอบที่สามารถแตกหักเสียหายกลายเป็นขยะใต้น้ำได้

ขณะเดียวกันก็ได้นำ "นวัตกรรมบ้านปลาจากท่อ PE100" ที่เป็นวัสดุเหลือใช้จากกระบวนการผลิตเม็ดพลาสติกของธุรกิจเคมิคอลส์ ซึ่งได้รับการรับรองความปลอดภัยในการขนส่งน้ำ มาออกแบบสร้างเป็นแหล่งอนุบาลสัตว์ทะเลในพื้นที่ จ.ระยอง ซึ่งพบปัญหาจำนวนปลาใกล้ชายฝั่งลดน้อยลง

เครือข่ายพลังคนรุ่นใหม่ จิตอาสาเพื่อความยั่งยืน

ทุกๆ กิจกรรมที่จัดขึ้นตลอดทั้งปี 2561 ไม่เพียงแต่จะมีชุมชน หน่วยงานภาครัฐ และพนักงานเอสซีจี ร่วมเป็นจิตอาสาสร้างฝายชะลอน้ำและประกอบบ้านปลาเท่านั้น แต่ยังมีกลุ่ม Young รักษ์น้ำ ซึ่งเป็นกลุ่มคนรุ่นใหม่จากหลากหลายสถาบันการศึกษากว่า 80 คน ร่วมเดินทางขึ้นเหนือล่องใต้ร่วมกับเอสซีจีในทุกทริป เพื่อมาแลกเปลี่ยนเรียนรู้แนวคิดด้านการบริหารจัดการน้ำ และได้ลงมือทำกิจกรรมด้วยตัวเอง รวมทั้งได้ไปชมผลสำเร็จของบริหารจัดการน้ำ ด้วยเชื่อว่าพลังจากคนรุ่นใหม่จะช่วยสืบสาน รักษา และต่อยอดการบริหารจัดการน้ำอย่างยั่งยืนตามแนวพระราชดำริให้คงอยู่สืบไป

 “ไม่น่าเชื่อว่า การเริ่มต้นทำฝายจากจุดเล็กๆ ด้วยหัวใจของพี่ๆ ในชุมชน และแรงของเพื่อนๆ นักศึกษาจิตอาสา กลับส่งผลให้ป่าทั้งป่ากลับมาอุดมสมบูรณ์ได้อีกครั้ง นึกภาพไม่ออกเลยว่าพื้นที่ที่เคยแห้งแล้งและมีปัญหาน้ำท่วมเป็นอย่างไร ถ้าครั้งหน้ามีกิจกรรมนี้อีก จะขอเป็นอีกหนึ่งแรงที่ลงมือช่วยเพื่อประเทศไทยของเรานางสาวช่อผกา พจนาสุคนธ์ นักศึกษาชั้นปีที่ 4 มหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง หนึ่งในเยาวชนจิตอาสาคนรุ่นใหม่ Young รักษ์น้ำ

ก้าวต่อไปของ “รักษ์น้ำ จากภูผาสู่มหานที”

เอสซีจีจะยังคงเดินหน้าสานต่อโครงการ “รักษ์น้ำ จากภูผาสู่มหานที” ในพื้นที่ต่างๆ ทั่วประเทศ ให้ครบตามเป้าหมายที่ตั้งไว้ภายในปี 2020 ซึ่งที่ผ่านมาได้ร่วมกับชุมชนและจิตอาสา สร้างฝายชะลอน้ำไปแล้วกว่า 83,200 ฝาย และจะขยายการสร้างฝายในพื้นที่ต้นน้ำให้ครอบคลุมทุกภูมิภาคทั่วประเทศให้ครบ 100,000 ฝาย ขุดสระพวงเชิงเขาส่งต่อน้ำเพื่อทำการเกษตรไปแล้ว 7 สระ โดยมีเป้าหมายจะขุดสระพวงให้ครบ 20 สระ และจัดทำระบบแก้มลิงในพื้นที่กลางน้ำไปแล้ว 8 พื้นที่ โดยตั้งเป้าหมายจะทำให้ครบ 20 พื้นที่ รวมถึงวางบ้านปลาในพื้นที่ปลายน้ำไปแล้ว 1,900 หลัง โดยตั้งเป้าหมายจะวางให้ครบ 2,600 หลัง รวมทั้งเอสซีจีมีความตั้งใจที่จะส่งเสริมชุมชนให้มีความสามารถในการพัฒนาและแปรรูปผลิตภัณฑ์จากผลผลิตในท้องถิ่นเพื่อสร้างอาชีพและส่งเสริมให้เกิดรายได้ตลอดทั้งปี โดยผู้สนใจสามารถติดตามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ www.scg.com/lovewater

ด้วยเชื่อว่าการมีส่วนร่วมของชุมชนเป็นหัวใจสำคัญของการพัฒนาเพื่อให้เกิดความยั่งยืน รวมถึงการสร้างเครือข่ายให้เกิดพลังที่เข้มแข็งเป็นกุญแจสำคัญในการสร้างต้นน้ำที่ดี สู่ปลายน้ำอันอุดมสมบูรณ์ ก่อเกิดเป็นความสมดุลที่หล่อเลี้ยงชีวิตของผู้คนในทุกพื้นที่ เอสซีจีจึงยังคงเดินหน้าสานต่อโครงการร่วมกับชุมชนในพื้นที่ต่างๆ ทั่วประเทศ พร้อมถ่ายทอดและต่อยอดแนวความคิดในการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติอันเป็นต้นทุนสำคัญของทุกชีวิตนี้ให้คงอยู่อย่างยั่งยืนต่อไป

เอสซีจี โดย นายฎายิน เกียรติกวานกุล Marketing Director – Roof Business บริษัท กระเบื้องหลังคาซีแพค จำกัด เป็นผู้แทนเข้ารับโล่รางวัลสร้างสรรค์สังคมไทย ด้านที่อยู่อาศัยและสิ่งแวดล้อมเพื่อการอยู่อาศัย จากคณะทำงานประชารัฐเพื่อสังคม (E6) จาก พลเอก อนันตพร กาญจนรัตน์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวง การพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ ในฐานะที่เอสซีจีได้ร่วมเป็นส่วนหนึ่งของโครงการสานพลังประชารัฐ ซึ่งเป็นความร่วมมือระหว่างภาครัฐ ภาคประชาสังคม และภาคเอกชน ด้วยการผลักดันให้เกิดแบบบ้านมาตรฐานสำหรับผู้สูงอายุและผู้พิการ จัดอบรมช่างชุมชนเพื่อสร้างเครือข่ายวิชาชีพสำหรับสร้างและปรับปรุงที่อยู่อาศัยเพื่อผู้สูงอายุ พร้อมทั้งร่วมเป็นส่วนหนึ่งในการจัดตั้งศูนย์ Universal Design Center (UDC) หรือศูนย์ออกแบบสภาพแวดล้อมเพื่อทุกคน จำนวน 5 ศูนย์ทั่วประเทศ สำหรับเป็นช่องทางให้ประชาชนสามารถรับคำปรึกษาด้านที่อยู่อาศัยได้โดยไม่เสียค่าใช้จ่าย อีกทั้งเป็นศูนย์เพื่อการวิจัยและค้นคว้าเรื่องที่อยู่อาศัยอีกด้วย ทั้งนี้ ผู้สนใจสามารถหาข้อมูลและติดต่อสอบถามเพิ่มเติมได้ที่ www.facebook.com/universaldesigncenter

 

 

ทั้งนี้ โครงการสานพลังประชารัฐเป็นนโยบายของรัฐบาลเพื่อขับเคลื่อนการพัฒนาประเทศ โดยมุ่งเน้นความร่วมมือระหว่างหน่วยงานภาครัฐ ภาคเอกชน และภาคประชาสังคม ในการแก้ไขปัญหาต่างๆ พร้อมยกระดับคุณภาพชีวิตของคนไทยให้ดีขึ้นอย่างยั่งยืน โดยคณะทำงานประชารัฐเพื่อสังคม (E6) มียุทธศาสตร์หลัก 5 โครงการเร่งด่วน ประกอบด้วย 1.การจ้างงานผู้พิการ 2.การจ้างงานผู้สูงอายุ 3.การส่งเสริมการออมเพื่อการเกษียณอายุ 4.ที่อยู่อาศัยและสิ่งแวดล้อมเพื่อการอยู่อาศัย และ 5.ความปลอดภัยบนท้องถนน

เอสซีจี ได้รับ 2 รางวัล Bronze Awards จากเวที MAT Award 2018” ครั้งที่ 10 โดยสมาคมการตลาดแห่งประเทศไทย ในประเภทธุรกิจอสังหาริมทรัพย์และวัสดุก่อสร้าง (Real Estate) จากผลงาน “เปิดตลาดหลังคาบ้านเก่า SCG Roof Renovation เรือลำแรกในมหาสมุทร Blue Ocean มูลค่า 10,000 ล้านบาท” และประเภทธุรกิจเพื่อสังคม (Sustainable Marketing) จากผลงาน “บ้านปลาเอสซีจี คืนวิถีชีวิตประมงไทย สร้างสมดุลสู่ท้องทะเลอย่างยั่งยืน” เผย “การเข้าใจความต้องการของผู้มีส่วนได้เสียอย่างแท้จริง” เป็นหัวใจความสำเร็จที่ช่วยผลักดันให้เอสซีจีสามารถคิดค้นและต่อยอดนวัตกรรมเพื่อสังคม และการอยู่อาศัยเพื่อคุณภาพชีวิตที่ดีสำหรับคนไทย และพร้อมนำแนวคิดเศรษฐกิจหมุนเวียน (Circular Economy) มาใช้ยกระดับกระบวนการดำเนินงานตลอดห่วงโซ่คุณค่า

 

 

นายฎายิน เกียรติกวานกุล  Marketing Director – Roof Business บริษัท กระเบื้องหลังคาซีแพค จำกัด ในเอสซีจี กล่าวว่า “จากผลสำรวจที่อยู่อาศัยทั่วประเทศพบว่า มีบ้านเก่าที่อายุ 10 ปีขึ้นไปจำนวนกว่า 18 ล้านหลังคาเรือน และกว่า 1.5 ล้านหลังคาเรือนประสบปัญหาหลังคารั่วซึม หรือหลังคาเก่าโทรม ซึ่งเจ้าของบ้านต้องการเปลี่ยนหลังคาเก่าให้กลับมาสวยเหมือนใหม่ ในขณะที่สถานการณ์ปัจจุบัน มีเพียงผู้รับเหมารายย่อยที่รับซ่อมแซม และแก้ไขปัญหาหลังคา แต่ไม่สามารถรับประกันคุณภาพงานได้ เอสซีจีเข้าใจถึงปัญหาดังกล่าว จึงพัฒนาบริการ “SCG Roof Renovation” อย่างครบวงจร เพื่อเป็นทางเลือกในการปรับปรุง และซ่อมแซมหลังคาสำหรับเจ้าของบ้านให้ได้รับบริการที่มีมาตรฐาน เชื่อถือได้

 

 

โดยเจ้าของบ้านสามารถ “มั่นใจ” ในบริการจากทีมช่างคุณภาพและมากด้วยประสบการณ์ที่ผ่านการฝึกอบรมหลักสูตรเฉพาะทางด้านรีโนเวทหลังคา พร้อมการรับประกัน 1 ปี สำหรับงานเปลี่ยนหลังคาทั้งผืน “วางใจได้” ด้วยเทคโนโลยีหลังคา และระบบหลังคาคุณภาพมาตรฐานเอสซีจี “ไร้กังวล” ด้วยทีมสำรวจหน้างานที่วางแผนแก้ปัญหาอย่างตรงจุด และ “สบายใจ” ด้วยการติดตั้งอย่างเป็นระบบ โดยเจ้าของบ้านสามารถอยู่อาศัยในบ้านได้ตามปกติระหว่างติดตั้ง ด้วยความเข้าใจปัญหา ตลอดจนความมุ่งมั่นในการพัฒนาสินค้า และบริการเพื่อตอบสนองความต้องการของลูกค้า จึงทำให้เอสซีจีได้รับรางวัลจากสมาคมการตลาดฯ ในครั้งนี้”

ทั้งนี้ สามารถขอรับคำปรึกษาเรื่องหลังคาได้ฟรีที่ เอสซีจี คอนแทค เซ็นเตอร์ โทร.02-586-2222 เอสซีจี เอ็กซ์พีเรียนซ์ และเอสซีจี โฮมโซลูชั่น ทุกสาขาในกรุงเทพฯ และปริมณฑล หรือหาข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ https://roofexpert.scgbuildingmaterials.com/service/renovate

 

 

ด้านนางสาวน้ำทิพย์ สำเภาประเสริฐ Brand Management & CSR Director ธุรกิจเคมิคอลส์ เอสซีจี กล่าวว่า “เอสซีจีดำเนินงานด้านการพัฒนาอย่างยั่งยืน เพื่อสร้างสมดุลในทุกมิติทั้งด้านเศรษฐกิจ สังคม และสิ่งแวดล้อม ซึ่งธุรกิจเคมิคอลส์ได้นำแนวทางการพัฒนาอย่างยั่งยืนมาปรับใช้ในพื้นที่ระยอง โดยวิเคราะห์ปัญหาที่เกิดขึ้นภายในชุมชน และนำความเชี่ยวชาญภายในองค์กรมาช่วยแก้ไข รวมทั้งหาโซลูชั่นที่เหมาะสม สำหรับรางวัลที่ได้รับจากสมาคมการตลาดฯ ในครั้งนี้ มาจาก “โครงการรักษ์น้ำจากภูผา สู่มหานที ...จิตอาสาสร้างบ้านปลาเอสซีจี”

 

 

ซึ่งช่วยแก้ปัญหาความเสื่อมโทรมของทรัพยากรธรรมชาติทางทะเลและชายฝั่ง โดยเอสซีจีได้น้อมนำพระราชปณิธาน “จากภูผา สู่มหานที” ซึ่งเป็นแนวทางการดูแลและจัดการน้ำให้เหมาะสมกับแต่ละพื้นที่ ผ่านกระบวนการสร้างการมีส่วนร่วมกับคนในชุมชนมาเป็นแนวทางการดำเนินงาน

 

 

โครงการฯ ดังกล่าว เป็นความร่วมมือระหว่างเอสซีจีกับภาครัฐ และภาคประชาสังคมในการบริหารจัดการน้ำในจังหวัดระยอง ตั้งแต่ต้นน้ำผ่านกิจกรรมสร้างฝายชะลอน้ำในพื้นที่เขายายดา จนถึงการอนุรักษ์ทรัพยากรชายฝั่งและระบบนิเวศทางทะเลที่ปลายน้ำผ่านโครงการบ้านปลาเอสซีจี ซึ่งนำท่อ PE 100 ที่เหลือจากกระบวนการผลิตมาสร้างเป็นบ้านปลา นับเป็นการใช้ทรัพยากรให้เกิดประโยชน์สูงสุดตามแนวคิดเศรษฐกิจหมุนเวียน (Circular Economy) ตลอดระยะเวลา 6 ปีที่ผ่านมา เอสซีจีได้วางบ้านปลาไปแล้วจำนวน 1,600 หลัง ใน 37 กลุ่มประมงพื้นบ้านทั่วภาคตะวันออก ก่อให้เกิดความหลากหลายทางชีวภาพทางทะเลกว่า 172 ชนิด ซึ่งเป็นเสมือนคลังทรัพยากรในทะเลที่ชาวประมงพื้นบ้านสามารถทำมาหากินได้อย่างยั่งยืน โดยมีจิตอาสาสร้างบ้านปลาแล้วกว่า 11,500 คน”

รางวัล Bronze Award จาก “เปิดตลาดหลังคาบ้านเก่า SCG Roof Renovation เรือลำแรกในมหาสมุทร Blue Ocean มูลค่า 10,000 ล้านบาท”  และ “บ้านปลาเอสซีจี คืนวิถีชีวิตประมงไทยสร้างสมดุลสู่ท้องทะเลอย่างยั่งยืน” นับเป็นความภาคภูมิใจของเอสซีจี และพนักงานทุกคนที่ได้มุ่งมั่นและทุ่มเทดำเนินงานอย่างสุดความสามารถ ตลอดจนเป็นการยืนยันความสำเร็จที่เอสซีจียึดถือความต้องการของผู้มีส่วนได้เสียเป็นหัวใจในการคิดค้น และพัฒนานวัตกรรมเพื่อสังคม และการอยู่อาศัย

 

 

เอสซีจีจะยังคงเดินหน้าสร้างสรรค์นวัตกรรมที่ตอบสนองต่อความต้องการของลูกค้าให้ดีขึ้นอย่างต่อเนื่อง ด้วยการวิจัยและพัฒนา การนำเทคโนโลยีดิจิทัล ตลอดจนการนำแนวคิดเศรษฐกิจหมุนเวียน (Circular Economy) มาใช้ยกระดับกระบวนการดำเนินงานตลอดห่วงโซ่คุณค่า เพื่อเป็นรากฐานสำคัญในการสร้างความเข้มแข็งให้ธุรกิจเติบโตควบคู่กับการสร้างความยั่งยืนให้แก่ผู้มีส่วนเกี่ยวข้องทุกฝ่ายต่อไป

ทั้งนี้ แคมเปญการตลาด MAT Award 2018 ครั้งที่ 10 นี้ จัดขึ้นเพื่อส่งเสริมและเชิดชูนักการตลาดไทยที่มีศักยภาพ เพื่อสร้างแรงบันดาลใจ และสนับสนุนให้นักการตลาดไทยก้าวสู่ระดับสากล โดยในปีนี้ มีผู้ส่งผลงานเข้าร่วมทั้งสิ้น 40 ผลงาน ใน 11 กลุ่มรางวัล

“คุณเชื่อในรักแรกพบ และรู้สึกเหมือนว่ามันอยู่กับเราตลอดไปไหม” เพราะการทำงานออกแบบก็เช่นเดียวกับความรัก เมื่อคุณพบสินค้าที่ผ่านการออกแบบมาอย่างดี คุณจะรู้สึกตกหลุมรักและอยากใช้สินค้านั้นขึ้นมาทันที

เมื่อเร็วๆ นี้ ธุรกิจแพคเกจจิ้ง เอสซีจี ได้จัดงาน “Design Talks 2018” กิจกรรมสัมมนาเสริมการเรียนรู้และเพิ่มประสบการณ์ด้านการออกแบบบรรจุภัณฑ์ ให้กับนักออกแบบและผู้ที่สนใจมาอย่างต่อเนื่องในทุกปี โดยครั้งที่ 4 นี้ ได้รับเกียรติจาก คุณปุ้ม (Ms.Pum Lefebure) นักออกแบบไทยที่มีชื่อเสียงระดับโลก หนึ่งในผู้ร่วมก่อตั้ง Design Army บริษัทออกแบบที่มีชื่อเสียงในวอชิงตัน ดี.ซี. ประเทศสหรัฐฯ อเมริกา และมีผลงานออกแบบให้กับแบรนด์ระดับโลกมาแล้วมากมาย อาทิ Academy Awards, Adobe, GE และ Disney เป็นต้น รวมทั้งได้รับการยกย่องจาก Washington Business Journal ให้เป็นนักธุรกิจหญิงที่น่าจับตามอง และเป็นหนึ่งใน Adweek’s Creative 100 ในปี 2016 มาร่วมถ่ายทอดวิธีคิดและกระบวนการออกแบบ ที่เป็นเบื้องหลังแห่งความสำเร็จของแบรนด์สินค้า ผ่านมุมมองและประสบการณ์ตรง ณ เอสซีจี สำนักงานใหญ่ บางซื่อ

 

 

“I am not a Designer. I am a Seducer” คือคำจำกัดความใหม่ของอาชีพนักออกแบบที่คุณปุ้มได้ให้ไว้อย่างน่าสนใจ ก่อนจะชวนให้ทุกคนคิดต่อว่า ถ้าอยากจะให้คนตกหลุมรักแบรนด์หรือสินค้าสักชิ้นต้องทำอย่างไรบ้าง ในยุคที่ความสวยงามอาจจะไม่ใช่คำตอบที่ถูกต้องเพียงอย่างเดียว เหล่านักออกแบบรุ่นใหม่ต้องมีความคิดและวางแผนเพื่อสร้างเสน่ห์ให้กับโจทย์ที่เราได้รับ เพราะเสน่ห์ไม่เพียงแต่จะทำให้งานออกมาโดดเด่นเท่านั้น แต่ยังเป็นการยกระดับคุณค่าของตัวนักออกแบบเองด้วย

โดยหลัก 3 ข้อที่หนึ่งในผู้ร่วมก่อตั้ง Design Army ใช้สร้างสรรค์งานมาโดยตลอดคือ เกี้ยวพาราสี (Flirt) ความดื่มด่ำ (Romance) และยั่วยวน (Seduce) ซึ่งคุณปุ้มเปรียบเทียบกับขั้นตอนการเดต โดยเริ่มจากการกวาดตามองหาบุคคลที่เราสนใจศึกษาความชอบของเป้าหมาย และวิธีการเข้าหา จากนั้นจึงเข้าไปแนะนำตัวทำความรู้จักตามวิธีที่เหมาะสม ก่อนจะโปรยเสน่ห์ในแบบที่คาดไม่ถึง ด้วยหลักการเหล่านี้ก็จะทำให้บุคคลนั้นหันมาสนใจและตกหลุมรักคุณได้

 

 

และเพื่อให้เห็นภาพได้ชัดเจนมากขึ้น คุณปุ้มได้หยิบเอาผลงานก่อนหน้านี้มายกตัวอย่างให้เห็นความสำคัญของเสน่ห์แห่งการสร้างสรรค์ ไม่ว่าจะเป็นการเปลี่ยนบัลเลต์ที่ดูเป็นศิลปะเฉพาะกลุ่มให้กลายเป็นศิลปะร่วมสมัย ด้วยการถ่ายภาพนางแบบและนายแบบใส่เสื้อผ้าที่ดูสปอร์ตและทันสมัย ภายใต้แรงบันดาลใจจากแลนด์มาร์คในแต่ละประเทศ หรือการทำให้บริษัทแว่นตาที่ไม่น่าสนใจกลายเป็นแบรนด์ที่ดูทันสมัยมากขึ้น จากโฆษณาที่เล่าเรื่องราวจากรุ่นสู่รุ่นที่ส่งต่อความรักในเรื่องแว่นตาอย่างมีสไตล์ รวมไปถึงตัวอย่างการแก้ปัญหาช็อกโกแลตที่ขายไม่ดีในช่วงหน้าร้อน โดยนำความรู้สึกที่ผู้คนมีต่อพรรคการเมืองในประเทศ มาเปรียบเป็นรสชาติต่างๆ ของทางแบรนด์ พร้อมออกแบบแพคเกจจิ้งจากสัญลักษณ์ที่เชื่อมโยงกัน
ส่งผลให้ช็อกโกแลตซีรี่ส์การเมืองที่เธอออกแบบมียอดขายสูงขึ้นกว่าเดิมหลายเท่า

อีกเคล็ดลับที่คุณปุ้มได้เล่าให้ฟัง คือ อยากให้นักออกแบบได้ลองร่างแบบ (Sketch) ด้วยมือ แทนการใช้เฉพาะเทคโนโลยีอย่างคอมพิวเตอร์ โดยให้เหตุผลว่า หากไม่ลองวาดหรือเขียนลงไปจริงๆ เราจะไม่สามารถเห็นภาพที่จะเกิดขึ้นได้เลย และนั่นจะทำให้การทำงานยากทั้งกับตัวเองและการอธิบายคนอื่นต่อด้วย นอกจากนี้การร่างแบบด้วยมือยังเป็นสไตล์ส่วนตัวที่ไม่สามารถลอกเลียนแบบกันได้ เพราะน้ำหนักมือของแต่ละคนไม่เท่ากัน จึงเป็นอีกเสน่ห์ที่จะสร้างความพิเศษให้กับงานได้

 

 

ตลอดการสัมมนาเต็มไปด้วยเสียงหัวเราะและสร้างความประทับใจให้แก่ผู้เข้าร่วมงานกว่า 300 คนได้เป็นอย่างดี ภายใต้ความมุ่งมั่นตั้งใจของเอสซีจี ที่ได้ร่วมเป็นส่วนหนึ่งในการสร้างแรงบันดาลใจสู่ความสำเร็จ พร้อมผลักดันพัฒนาวงการออกแบบของไทย และช่วยยกระดับอุตสาหกรรมของบรรจุภัณฑ์ให้เติบโตและยั่งยืนต่อไป ทั้งในประเทศไทยจนก้าวไปสู่ระดับโลก

ก่อนจะจบการสัมมนาในครั้งนี้ คุณปุ้ม (Ms.Pum Lefebure) ได้ฝากข้อคิดไว้ให้กับนักออกแบบรุ่นใหม่ว่า “การออกแบบให้ตอบโจทย์แบรนด์ได้ดีนั้น สิ่งสำคัญมากกว่าแค่การออกแบบให้สวยงาม คือ ทัศนคติ และความเข้าใจในธุรกิจนั้นๆ ถ่ายทอดอารมณ์ความรู้สึกด้วยใจ ให้ลูกค้าสัมผัสและตกหลุมรักด้วยการมองเห็น พร้อมที่จะเปลี่ยนแปลง และไม่ว่าจะทำอะไร หาตัวเองให้เจอว่าอยากเป็นอะไร จากนั้นก็พาตัวเองไปสู่พื้นที่ที่คุณจะได้แสดงฝีมือ”

“ต้นทางป่าไม้ ปลายทางประมง ระหว่างทางเกษตรกรรม” เป็นพระราชดำริของในหลวงรัชกาลที่ 9 ที่ได้ทรงวางแนวทางการฟื้นฟูทรัพยากรป่าไม้ ดินและน้ำของประเทศไทยให้อุดมสมบูรณ์ รวมถึงส่งเสริมชุมชนในพื้นที่ต้นน้ำ ตลอดจนพื้นที่ปลายน้ำที่ต้องพึ่งพิงธรรมชาติให้ดำเนินชีวิตที่สอดคล้องกับบริบทของแต่ละพื้นที่ นับเป็นแนวคิดที่ได้รับการพิสูจน์แล้วว่า สามารถสร้างความความยั่งยืนให้กับผืนป่าและชุมชนได้อย่างแท้จริง ... พื้นที่จังหวัดกาญจนบุรีเป็นอีกหนึ่งพื้นที่ต้นน้ำ และเป็นแหล่งเพาะปลูกพืชไร่ที่สำคัญของประเทศ แม้ในช่วงเวลาที่ผ่านมา หลายพื้นที่ของจังหวัดกาญจนบุรี จะประสบปัญหาน้ำแล้งน้ำท่วม ทั้งจากภัยธรรมชาติ และฝีมือมนุษย์ แต่ด้วยแนวคิดการสร้าง “ฝายชะลอน้ำ” ตามแนวพระราชดำริ เป็นเครื่องมือสำคัญที่ช่วยฟื้นฟูผืนป่าได้อีกครั้ง และยิ่งไปกว่านั้น เมื่อมีป่า ชุมชนก็มีรายได้ และมีชีวิตความเป็นอยู่ที่ดีขึ้น ส่งผลให้เกิดความเข้มแข็งภายในชุมชน

เมื่อป่าอยู่รอด ชุมชนจึงอยู่ได้

ชุมชนบ้านยางโทน อำเภอไทรโยค เป็นอีกหนึ่งชุมชนในพื้นที่จังหวัดกาญจนบุรี ที่ประสบปัญหาพื้นที่แห้งแล้งจากการแผ้วถางป่าสำหรับขยายพื้นที่ทำกิน ชุมชนจึงได้ร่วมกับกรมป่าไม้ และเอสซีจี สร้างฝายชะลอน้ำ เพื่อแก้ปัญหา และหวังคืนความชุ่มชื่นให้ผืนดิน จนปัจจุบัน เห็นผลแล้วว่า นอกจากความสมบูรณ์ของระบบนิเวศที่กลับคืนมา ฝายยังช่วยฟื้นสภาพพื้นที่ให้เป็นแหล่งอาหาร และสร้างรายได้ให้กับชุมชน ผลิตผลทั้งหน่อไม้ ไผ่รวก เห็ดโคน และผักหวาน สร้างรายได้เป็นกอบเป็นกำให้ชุมชน

“ชุมชนได้เข้าไปร่วมกิจกรรมสร้างฝายชะลอน้ำกับเจ้าหน้าที่ป่าไม้ และเอสซีจี ตั้งแต่ปี 2552 เพียงไม่กี่ปีก็เริ่มเห็นความเปลี่ยนแปลงเกิดขึ้นในพื้นที่ ฝายช่วยคืนความสมดุลให้กับป่า และป่ายังเปรียบเสมือนซุปเปอร์มาเก็ตที่ชุมชนสามารถเข้าไปหาของป่าสำหรับนำมาใช้ทำอาหารให้ครอบครัว และแบ่งขายสร้างรายได้เพิ่มมากขึ้น แค่คนในชุมชน 1 คน เดินเข้าป่าไปเก็บหน่อไม้เพียง 2 กระสอบปุ๋ย สามารถสร้างรายได้ให้ถึง 300 บาทต่อวัน หรือประมาณ 5,000 – 6,000 บาทต่อเดือน ส่วนรายได้ของชุมชนที่มาจากการขายหน่อไม้ เห็ดโคน พืชสมุนไพร ไม้ใช้สอยในครัวเรือน มากถึง 4,000,000 บาทต่อปี ยิ่งไปกว่านั้น ไม่น่าเชื่อว่าเพราะการที่ชุมชนช่วยกันลงแรง ร่วมใจกันสร้างฝายชะลอน้ำ จะทำให้ชุมชนบ้านยางโทนของเรามีโอกาสพูดคุยกัน เข้าใจกัน และรักสามัคคีกันมากขึ้นผู้ใหญ่ครุฑ นายเต้นยิ้ว วชิรพันธ์วิชาญ ประธานป่าชุมชนบ้านบ้านยางโทน กล่าว

ไม่หยุดแค่งานชุมชน มุ่งมั่นยกระดับความรู้สู่งานวิชาการ

นอกจากชุมชนแล้ว พื้นที่ของมหาวิทยาลัยมหิดล วิทยาเขตกาญจนบุรี อำเภอไทรโยค ยังเป็นอีกหนึ่งพื้นที่ที่ได้รับผลกระทบจากความแห้งแล้งในพื้นที่ป่าต้นน้ำที่อยู่ในเขตมหาวิทยาลัย เมื่อฝนตกหนักหน้าดินจะถูกชะล้างลงไปยังพื้นที่ด้านล่าง สร้างความเดือดร้อนให้ชุมชน มหาวิทยาลัยฯ จึงเริ่มสร้างฝายชะลอน้ำร่วมกับเอสซีจีตั้งแต่ปี 2553 เพื่อแก้ปัญหาดังกล่าว จากจุดเริ่มต้นเพียง 10 ฝาย ได้ขยายเพิ่มเป็น 100 ฝาย จนปัจจุบันนักศึกษาและจิตอาสาได้ร่วมกันสร้างไปแล้ว 354 ฝาย

“ระหว่างการสร้างฝาย มหาวิทยาลัยฯ และเอสซีจี ได้เห็นถึงความเปลี่ยนแปลงที่ดีเกิดขึ้นในพื้นที่ จึงได้ร่วมมือกันทำงานวิจัยเชิงวิชาการ ภายใต้โครงการ การติดตามตรวจสอบทรัพยากรธรรมชาติเพื่อการจัดการฝายอย่างยั่งยืน เพื่อศึกษาเรื่องการเปลี่ยนแปลงของระบบนิเวศ และความหลากหลายของสัตว์ รวมถึงประโยชน์จากฝายที่เกิดขึ้นกับชุมชน ผลจากงานวิจัยได้พบ ชาฤาษีไทรโยค ที่เป็นดัชนีชี้วัดสิ่งแวดล้อมที่สำคัญทางระบบนิเวศ ซึ่งพบแหล่งเดียวในโลก พืชชนิดนี้จะขึ้นในป่าที่มีระบบนิเวศสมบูรณ์เท่านั้น อีกทั้ง ยังพบการกลับมาของเสือลายเมฆซึ่งเป็นสัตว์ที่เสี่ยงจะสูญพันธุ์ สะท้อนให้เห็นว่า การสร้างฝายมีส่วนสำคัญที่ช่วยฟื้นให้ระบบนิเวศของป่ากลับมาอุดมสมบูรณ์อีกครั้ง รวมถึงฝายยังทำหน้าที่ช่วยดักตะกอนดินไม่ให้ไหลลงไปสร้างความเดือดร้อนแก่ชุมชนเช่นที่ผ่านมาได้อีกด้วย ต่อจากนี้ มหาวิทยาลัยฯ และเอสซีจี ได้ร่วมกันจัดตั้ง “สถานีเรียนรู้ฝายชะลอน้ำตามแนวพระราชดำริ” เพื่อรวบรวมและถ่ายทอดองค์ความรู้เรื่องการทำฝายและงานวิจัยที่เกี่ยวข้องให้แก่ชุมชน และผู้ที่สนใจได้นำไปใช้ให้เกิดประโยชน์สูงสุดต่อไป และมีเป้าหมายจะสร้างฝายให้ครบ 500 ฝายในปี 2561 นี้” ผศ.ดร.ธรรมรัตน์ พุทธไทย อาจารย์ประจำคณะสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล เผยให้เห็นผลประจักษ์เชิงวิชาการที่สะท้อนความอุดมสมบูรณ์ที่เกิดขึ้นจากฝายชะลอน้ำ

เครือข่ายพลังคนรุ่นใหม่ หัวใจรักษ์สื่งแวดล้อม

ด้วยความเชื่อที่ว่า การรักษาและดูแลน้ำเป็นหน้าที่ของคนทุกคน ไม่เฉพาะแค่ชุมชนต้นน้ำเท่านั้น น้องแนน นางสาวช่อผกา พจนาสุคนธ์ กำลังศึกษาอยู่ที่มหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง ปี 4 หนึ่งในเยาวชนจิตอาสาคนรุ่นใหม่ ตัดสินใจสมัครเข้าร่วมกิจกรรมผ่านช่องทางออนไลน์ Facebook SCG โดยหวังว่าจะได้แลกเปลี่ยนประสบการณ์ และเรียนรู้กับเพื่อนๆ และพี่ๆ ชุมชน รวมถึงหวังว่าการร่วมกิจกรรมจะช่วยปลุกพลังที่จะส่งต่อแรงบันดาลใจให้เพื่อนๆ ที่ไม่ได้ร่วมกิจกรรม กล่าวว่า

“ปกติชอบธรรมชาติอยู่แล้ว แต่ยังไม่เคยมีโอกาสได้สัมผัสและลองลงมือทำงานร่วมกับพี่ๆ ชุมชนแบบนี้มาก่อน ครั้งแรกสำหรับการสร้างฝายไม่เหนื่อยอย่างที่คิด เพราะได้แรงจากพี่ๆ ชุมชน และพี่ๆ พนักงานเอสซีจีช่วยกัน เมื่อก่อนเคยได้ยินแต่คนพูดถึงฝาย แต่การมาร่วมกิจกรรมในวันนี้ได้มีโอกาสมาเรียนรู้วิธีการสร้างฝายที่ถูกต้อง ทำให้เห็นว่า ฝายช่วยชะลอน้ำสามารถช่วย
แผ่กระจายความชุ่มชื้นไปสู่พื้นที่โดยรอบได้มากกว่าแค่เก็บน้ำตามที่เราเคยคิดไว้ และไม่น่าเชื่อว่า การเริ่มต้นทำฝายจากจุดเล็กๆ ด้วยหัวใจของพี่ๆ ชุมชน และแรงของเพื่อนๆ นักศึกษาจิตอาสาของมหาวิทยาลัยมหิดลฯ กลับส่งผลให้ป่าทั้งป่ากลับมาอุดมสมบูรณ์ได้อีกครั้ง นึกภาพไม่ออกเลยว่าสภาพพื้นที่ที่เคยแห้งแล้งและมีปัญหาน้ำท่วมเป็นอย่างไร ถ้าครั้งหน้ามีกิจกรรมประเภทนี้อีก จะขอเป็นอีกหนึ่งแรงที่จะลงมือช่วยเพื่อประเทศไทยของเรา”

สืบสานศาสตร์พระราชา เพื่อรักษาสิ่งแวดล้อม ต่อยอดและขยายผลให้เป็นประโยชน์ต่อชุมชน

เอสซีจีให้ความสำคัญเรื่องการดูแลรักษาสิ่งแวดล้อม และมุ่งมั่นยกระดับคุณภาพชีวิตของชุมชนให้เติบโตไปพร้อมกันในทุกพื้นที่ที่เอสซีจีเข้าไปดำเนินธุรกิจ โดยได้น้อมนำและสืบสานพระราชดำริ “จากภูผา สู่มหานที” มาเป็นแนวทางในการรักษาดูแลจัดการน้ำให้เหมาะสมกับแต่ละพื้นที่ที่เอสซีจีเข้าไปดำเนินการในพื้นที่ 20 จังหวัดทั่วประเทศไทย ตั้งแต่ต้นน้ำ กลางน้ำ และปลายน้ำ

“เอสซีจีมีเครือข่ายชุมชนในโครงการเอสซีจี รักษ์น้ำ มากกว่า 170 ชุมชน เครือข่ายเยาวชน Young รักษ์น้ำ กว่า 80 คน และมีจิตอาสาเข้าร่วมโครงการมากกว่า 89,400 คน ร่วมกันสร้างฝายชะลอน้ำสำเร็จไปแล้วกว่า 79,300 ฝาย ความสำเร็จจากการดูแลพื้นที่ต้นน้ำด้วยการสร้างฝายชะลอน้ำของทั้งชุมชนบ้านเขามุสิ และชุมชนบ้านยางโทน จังหวัดกาญจนบุรี รวมถึงผลงานวิจัยทางวิชาการของมหาวิทยาลัยมหิดลฯ วิทยาเขตกาญจนบุรี เป็นบทเรียนและต้นแบบความร่วมมือที่แสดงให้เห็นถึงพลังของชุมชน ซึ่งจะเป็นจุดเริ่มต้นให้ชุมชนอื่นๆ ที่ประสบปัญหาคล้ายกัน ได้นำแนวคิดไปปรับใช้แก้ปัญหาเรื่องน้ำในพื้นที่ด้วยตนเองให้ประสบผลสำเร็จ และขยายผลต่อไป จนเกิดการบริหารจัดการน้ำชุมชนอย่างยั่งยืนในอนาคต จากนี้ไป เอสซีจีมีความตั้งใจที่จะส่งเสริมให้ชุมชนสามารถต่อยอดพัฒนา และแปรรูปผลิตภัณฑ์จากผลผลิตจากฝาย เพื่อสร้างอาชีพและรายได้ได้ตลอดทั้งปี” นายแสงชัย วิริยะอำไพวงศ์ กรรมการผู้จัดการ บริษัทสยามคราฟท์อุตสาหกรรม จำกัด ธุรกิจแพคเกจจิ้ง เอสซีจี กล่าว

 เอสซีจี จะยังคงเดินหน้าสานต่อโครงการ “รักษ์น้ำ จากภูผา สู่มหานที” ในพื้นที่ต่างๆ ทั่วประเทศ โดยอาศัยการมีส่วนร่วมของชุมชนเป็นหัวใจสำคัญ รวมถึงการสร้างเครือข่ายให้เกิดพลังที่เข้มแข็ง เพื่อร่วมกันสร้างต้นน้ำที่ยั่งยืน สู่ปลายน้ำอันอุดมสมบูรณ์ ก่อเกิดเป็นความสมดุลที่หล่อเลี้ยงชีวิตของผู้คนในทุกพื้นที่ พร้อมถ่ายทอดและต่อยอดแนวความคิดในการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติอันเป็นต้นทุนสำคัญของทุกชีวิตนี้ให้คงอยู่ต่อไป

X

Right Click

No right click