October 22, 2024

4 กรกฎาคม 2566, - บริษัท แอสเสท เวิรด์ คอร์ป จำกัด (มหาชน) หรือ AWC ผู้พัฒนาอสังหาริมทรัพย์ของไทยที่มุ่งเน้นตอบสนองไลฟ์สไตล์แบบครบวงจร ร่วมกับ ธนาคารไทยพาณิชย์ (SCB) สานต่อเจตนารมณ์ด้านความยั่งยืนของทั้งสององค์กรในการดำเนินธุรกิจตามแนวทางการพัฒนาที่ยั่งยืน ลงนามความร่วมมือสินเชื่อที่เชื่อมโยงกับการดำเนินงานด้านความยั่งยืน (Sustainability Linked Loan) และสินเชื่อสีเขียว (Green Loan) จำนวน 20,000 ล้านบาท เพื่อพัฒนาโครงการคุณภาพระดับเมกะโปรเจกต์ให้เป็นจุดหมายปลายทางท่องเที่ยวระดับโลก (Mega global destination) ร่วมนำมาตรฐานใหม่เสริมความแข็งแกร่งให้กับอุตสาหกรรมอสังหาริมทรัพย์ และอุตสาหกรรมการท่องเที่ยว ที่มุ่งเน้นการลดการใช้ทรัพยากร และส่งเสริมการใช้พลังงานอย่างมีประสิทธิภาพในทุกมิติ สร้างคุณค่าองค์รวมแก่ผู้มีส่วนเกี่ยวข้องในทุกภาคส่วนตลอดห่วงโซ่คุณค่า (Value Chain) รวมถึงสนับสนุนโครงการริเริ่มต่างๆ เพื่อพัฒนาความยั่งยืนของทรัพยากรทางทะเล และการพัฒนาสังคมในอนาคต พร้อมร่วมสร้างให้ประเทศไทยเป็นศูนย์กลางการท่องเที่ยวยั่งยืนระดับโลก

นายกฤษณ์ จันทโนทก ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร ธนาคารไทยพาณิชย์ จำกัด (มหาชน) กล่าวว่า “การลงทุนอย่างต่อเนื่องของ AWC ซึ่งเป็นผู้พัฒนาอสังหาริมทรัพย์แถวหน้าของประเทศ เป็นตัวบ่งชี้ที่ชัดเจนถึงอนาคตทางเศรษฐกิจไทยที่กำลังดีขึ้น ธนาคารไทยพาณิชย์ ตระหนักถึงบทบาทในการร่วมขับเคลื่อนความยั่งยืนให้เกิดขึ้นแก่สังคมไทยในทุกมิติ จึงมีความยินดีที่ได้มีส่วนร่วมสนับสนุนสินเชื่อที่เชื่อมโยงกับการดำเนินงานด้านความยั่งยืน (Sustainability Linked Loan) และสินเชื่อสีเขียว (Green Loan) จำนวน 20,000 ล้านบาท แก่ AWC เพื่อสนับสนุนการพัฒนาโครงการใหม่ๆ และการดำเนินงานด้านความยั่งยืนของ AWC อีกทั้งยังเป็นการสนับสนุนพันธกิจด้านสิ่งแวดล้อมของธนาคาร และธุรกิจภายใต้กลุ่มเอสซีบี เอกซ์ โดยมีเป้าหมายการปล่อยก๊าซเรือนกระจกสุทธิเป็นศูนย์จากการดำเนินงานภายในปี 2030 และจากการให้สินเชื่อและการลงทุนภายในปี 2050 ธนาคารมีความเชื่อมั่นในศักยภาพทางธุรกิจของ AWC และเชื่อมั่นว่าการสนับสนุนทางการเงินจำนวน 20,000 ล้านบาทในครั้งนี้ จะช่วยเสริมศักยภาพทางธุรกิจให้แก่ AWC ผ่านการพัฒนาโครงการคุณภาพมากมาย ที่จะสร้างความน่าตื่นเต้นให้แก่วงการอสังหาริมทรัพย์ และเพื่อสนับสนุนประเทศไทยเป็นจุดหมายปลายทางท่องเที่ยวที่ยั่งยืนระดับโลก”

นางวัลลภา ไตรโสรัส ประธานเจ้าหน้าที่บริหารและกรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท แอสเสท เวิรด์ คอร์ป จำกัด (มหาชน) หรือ AWC กล่าวว่า “AWC มีความประทับใจ SCB ต่อความมุ่งมั่น วิสัยทัศน์ที่ร่วมกันด้านความยั่งยืน ที่ได้ออกสินเชื่อด้านความยั่งยืนเป็นรายแรกของประเทศ ควบคู่การเดินหน้าผนึกกำลังร่วมสร้างการเติบโตที่ยั่งยืนให้กับทุกภาคส่วน ทั้งนี้ AWC มีความยินดีเป็นอย่างยิ่งที่ได้ร่วมเป็นส่วนหนึ่งกับ SCB ในการสร้างความแข็งแกร่งให้กับเศรษฐกิจอุตสาหกรรมอสังหาริมทรัพย์ และอุตสาหกรรมท่องเที่ยวของประเทศ โดย AWC มีความมุ่งมั่นที่จะพัฒนาโครงการคุณภาพระดับเมกะโปรเจกต์ให้เป็นจุดหมายปลายทางท่องเที่ยวยั่งยืนระดับโลก (Mega sustainable destination) อาทิ โครงการเอเชียทีค ที่จะสร้างเป็นแลนด์มาร์คความยั่งยืนริมแม่น้ำเจ้าพระยาให้กับกรุงเทพฯ โครงการอควอทีค กลางเมืองพัทยา และโครงการเวิ้ง นาครเกษม ศูนย์กลางคุณค่าประวัติศาสตร์วัฒนธรรมกลางไชน่า ทาวน์ รวมถึงโครงการลานนาทีค ที่มีคุณค่าของเสน่ห์ศิลปวัฒนธรรมล้านนากลางเมืองเชียงใหม่ เป็นต้น ซึ่ง AWC เชื่อมั่นว่าการพัฒนาโครงการต่างๆ ให้เป็นจุดหมายปลายทางด้านความยั่งยืนระดับโลกนี้ จะเป็นส่วนหนึ่งเพื่อสานต่อนโยบายและกลยุทธ์หลักของประเทศสู่การเป็นผู้นำการท่องเที่ยวยั่งยืนระดับโลก

AWC ยังมุ่งพัฒนาอาคารตามมาตรฐานอาคารสีเขียวในระดับสากล อาทิ โรงแรมอินน์ไซด์ บาย มีเลีย กรุงเทพ สุขุมวิท ซึ่งได้รับการรับรองมาตรฐาน EDGE (Excellence in Design for Greater Efficiencies) และโรงแรมอินเตอร์คอนติเนนตัล เชียงใหม่ แม่ปิง ได้รับการรับรอง LEED & WELL PRECERTIFIED รวมถึงอีกหลากหลายโครงการ โดยใช้สินเชื่อยั่งยืนแรกที่ได้รับการสนับสนุนจาก SCB เมื่อปีที่แล้ว โดยปัจจุบัน AWC ได้ร่วมมือกับพันธมิตรสถาบันการเงินชั้นนำจัดวงเงินสินเชื่อระยะยาวที่เชื่อมโยงกับความยั่งยืนกว่าร้อยละ 75 และตั้งเป้าที่จะเพิ่มสัดส่วนวงเงินสินเชื่อระยะยาวเชื่อมโยงความยั่งยืนเป็นร้อยละ 100 เพื่อมุ่งสร้างอนาคตที่ยั่งยืนให้กับประเทศ”

AWC มุ่งขับเคลื่อนธุรกิจภายใต้กรอบการพัฒนาที่ยั่งยืน 3 เสาหลัก 9 มิติ หรือ 3 BETTERs ประกอบไปด้วย 1) การสร้างคุณค่าด้านสิ่งแวดล้อม (BETTER PLANET) เพื่อโลกที่มีสภาพแวดล้อมที่ดีขึ้น 2) การสร้าง

คุณค่าด้านสังคม (BETTER PEOPLE) เพื่อผู้คนมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น 3) การสร้างคุณค่าด้านเศรษฐกิจ (BETTER PROSPERITY) เพื่อเศรษฐกิจของประเทศที่ดีขึ้น โดยที่ผ่านมา AWC ได้ดำเนินโครงการเพื่อสนับสนุนการพัฒนาที่ยั่งยืนอย่างต่อเนื่อง อาทิ โรงแรม เชอราตัน สมุย ดำเนินโครงการธนาคารปู เพื่อมุ่งสู่เป้าหมายการเพิ่มความหลากหลายทางชีวภาพ และโรงแรมบันยันทรี กระบี่ ที่ได้ร่วมมือกับมูลนิธิอันดามัน เพื่อนำร่องโครงการท่องเที่ยวชุมชนอย่างยั่งยืน รวมถึงการดำเนินงานด้านเศรษฐกิจหมุนเวียน ผ่านแนวคิดธุรกิจ reConcept ที่ส่งเสริมการนำเฟอร์นิเจอร์และวัสดุเก่า รวมถึงอุปกรณ์ตกแต่งของโรงแรมที่ไม่ได้ใช้งาน กลับมารีไซเคิลและใช้ซ้ำ เพื่อลดปริมาณขยะฝังกลบ ตลอดจนการลงทุนพัฒนาบริหารโครงการอสังหาริมทรัพย์ของบริษัทฯ ที่ส่งเสริมการสร้างงานและสร้างรายได้สู่ชุมชนรอบโครงการ และสนับสนุนผู้ประกอบการไทยท้องถิ่นเพื่อสร้างโอกาสรายได้ที่ยั่งยืนผ่านโครงการ เดอะ GALLERY เป็นต้น

AWC ยังคงดำเนินงานตามแผนแม่บทอนุรักษ์พลังงาน (Energy Efficiency Plan: EEP) สอดคล้องกับกรอบสินเชื่อที่เชื่อมโยงกับการดำเนินงานด้านความยั่งยืนและสินเชื่อสีเขียว เพื่อมุ่งเน้นการใช้พลังงานอย่างมีประสิทธิภาพ ลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก ผ่านโครงการติดตั้งแผงโซลาร์บนหลังคาหรือชั้นดาดฟ้าของอาคาร การเปลี่ยนมาใช้หลอดไฟประหยัดพลังงาน การเพิ่มประสิทธิภาพระบบทำความเย็นและเครื่องปรับอากาศ ครอบคลุมโรงแรมในเครือที่มีการดำเนินงานมาตั้งแต่ปี 2019 นอกจากนี้ AWC จะพัฒนาโครงการในเครือตามกรอบเพื่อขอรับรองมาตรฐานอาคารสีเขียวสากล อาทิ มาตรฐาน EDGE LEED หรือ WELL เพื่อผลักดันให้เกิดการพัฒนาอย่างยั่งยืนและคํานึงถึงผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมด้วยการใช้ทรัพยากรให้เกิดความคุ้มค่าและมีประสิทธิภาพสูงสุด

“การลงนามสัญญาในครั้งนี้เป็นการตอกย้ำวิสัยทัศน์ร่วมกันของ AWC และ SCB ในการดำเนินธุรกิจ โดย AWC จะยังคงดำเนินการตามกลยุทธ์ความยั่งยืนอย่างต่อเนื่องผ่านโครงการริเริ่มต่างๆ ของ AWC เพื่อร่วมสร้างคุณค่าในระยะยาวให้แก่ผู้มีส่วนเกี่ยวข้องทุกฝ่าย ทั้งต่ออุตสาหกรรม ชุมชน สังคม และประเทศชาติ ภายใต้พันธกิจ “สร้างสรรค์อนาคตที่ดีกว่า” พร้อมเป็นพลังสำคัญในการขับเคลื่อนประเทศไทยสู่การเป็นจุดหมายปลายทางการท่องเที่ยวยั่งยืนระดับโลก” นางวัลลภา กล่าวเสริม

AWC ดำเนินงานภายใต้กรอบการพัฒนาอย่างยั่งยืนต่อเนื่อง และได้ร่วมเป็นส่วนหนึ่งในมาตรฐานสากลต่างๆ ทั้งในประเทศและต่างประเทศ อาทิ การได้รับการประเมินจาก MSCI ESG Rating ในระดับ "AA" ได้รับการคัดเลือกเข้าสู่รายชื่อหุ้นยั่งยืน Thailand Sustainability Investment (THSI) ของตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย ได้ติดอันดับรายงานความยั่งยืน S&P CSA Yearbook 2023 ต่อเนื่องเป็นปีที่ 2 ซึ่งได้รับคัดเลือกเป็น “Top 1% S&P

Global ESG Score 2022” ได้รับรางวัล “Industry Mover” ในฐานะบริษัทที่มีความยั่งยืนของกลุ่มอุตสาหกรรมโรงแรม รีสอร์ท และเรือสำราญ ได้รับการจัดอันดับรายงานการกำกับดูแลกิจการ ในระดับ “ดีเลิศ” (Excellence CG Scoring) ได้รับการรับรองให้เป็นแนวร่วมปฏิบัติของภาคเอกชนไทยในการต่อต้านการทุจริต (CAC) และได้รับการจัดอันดับในฐานะองค์กรที่มีการกำกับกิจการที่ดีของบริษัทจดทะเบียนในอาเซียนของปี 2564 (ASEAN CG Scorecard)

Airbnb เผยข้อมูลล่าสุดการเดินทางท่องเที่ยวในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ฟื้นตัวแรง พร้อมสร้างโอกาสใหม่ๆ

นางสาวปริม ปัญญาเสรีพร ผู้บริหารสูงสุดสูงสุดฝ่ายการตลาดบัตรเครดิต “เคทีซี” หรือ บริษัท บัตรกรุงไทย จำกัด (มหาชน) เปิดเผยว่า “เคทีซีเล็งเห็นถึงยอดรวมการใช้จ่ายผ่านบัตรเครดิตในหมวดห้องพักโรงแรมในประเทศในปีนี้ที่ปรับตัวสูงขึ้น 56% เมื่อเปรียบเทียบกับช่วงเดียวกันของปีที่ผ่านมา โดยเทรนด์การจองห้องพักที่มีความเป็นส่วนตัวในโรงแรมลักซ์ชัวรี่ทั่วประเทศเติบโตอย่างเห็นได้ชัด เคทีซีจึงได้เข้าร่วมงาน “Siam Paragon World Class Vacation Fair 2023” มหกรรมท่องเที่ยวที่ตอบโจทย์การท่องเที่ยวและพักผ่อนอย่างเหนือระดับ กับแพ็คเกจโรงแรม รีสอร์ท และเวลเนสเดสติเนชั่นระดับเวิลด์คลาส ระหว่างวันที่ 1 - วันที่ 12 มีนาคม 2566 ณ แฟชั่น แกลเลอรี่ ชั้น 1 ศูนย์การค้าสยามพารากอน

สมาชิกบัตรเครดิตเคทีซีเพียงใช้จ่ายผ่านบัตรฯ ภายในงานและลงทะเบียนเพื่อรับสิทธิ์ภายในวันที่ใช้จ่าย รับสิทธิพิเศษ 2 ต่อที่บูธเคทีซี ชั้น 1 บริเวณแฟชั่น แกลอรี่ 1 - 5 ดังนี้

ต่อที่ 1: รับของสมนาคุณมูลค่าสูงสุด 6,690 บาท*

· ใช้จ่ายครบทุก 4,000 บาท รับทันทีบัตร Starbucks มูลค่า 100 บาท 1 ใบ (รับสูงสุด 1,000 บาท / ท่าน / วัน)

· ใช้จ่ายครบทุก 13,500 บาท รับทันที Angel Bear มูลค่า 520 บาท 1 ตัว

(รับสูงสุด 6 ตัว / ท่าน / วัน) จำกัด 370 ตัวตลอดงาน

· ใช้จ่ายครบ 150,000 บาทขึ้นไป รับกระเป๋าเดินทาง Baggage Luggage ขนาด 29 นิ้ว มูลค่า 6,690 บาท 1 ใบ (จำกัด 1 ใบ / ท่าน / วัน) จำกัด 20 ใบตลอดงาน

*สามารถรวมใบเสร็จภายในงานฯ เพื่อแลกรับของสมนาคุณได้ / จำกัดการแลกรับของสมนาคุณ / การ แลกรับเครดิตเงินคืน 1 ครั้งต่อ 1 ใบเสร็จ / จัดส่งกระเป๋าทางไปรษณีย์ภายใน 30 วันหลังจบแคมเปญ ตามที่อยู่ที่ได้ลงทะเบียนภายในงาน

ต่อที่ 2: แลกคะแนนตามใจ รับเครดิตเงินคืน 13%*

· ใช้จ่ายภายในงานฯ รับสิทธิ์ใช้คะแนนเท่ายอดหรือน้อยกว่า แลกรับเครดิตเงินคืน 13% *ไม่จำกัดยอดใช้จ่ายขั้นต่ำ และไม่จำกัดการแลกเครดิตเงินคืนสูงสุด

 ผู้สนใจสามารถสอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ KTC PHONE 02 123 5000 หรือเว็บไซต์ https://www.ktc.co.th/promotion/hotel-resort/domestic-hotel/event-siamparagon สมัครบัตรเครดิตได้ที่ศูนย์บริการสมาชิก “เคทีซี ทัช” ทุกสาขาทั่วประเทศ หรือคลิกลิงค์ได้ที่นี่ : https://bit.ly/apply-ktc

ศูนย์วิเคราะห์เศรษฐกิจ ทีทีบี หรือ ttb analytics ประเมินภาคการท่องเที่ยวของไทยฟื้นตัวได้ดีกว่าที่คาดจากการเปิดประเทศที่ทำให้การเดินทางเข้าออกประเทศสะดวกมากขึ้น รวมถึงความต้องการท่องเที่ยวเพิ่มมากขึ้นเพื่อชดเชยจากการที่ถูกจำกัดไว้ก่อนหน้า (Pent Up Demand) ซึ่งส่งผลดีต่อฤดูกาลท่องเที่ยวสำคัญของไทยช่วงครึ่งหลัง 2565 โดยคาดว่าจำนวนนักท่องเที่ยวต่างชาติปี 2565 จะอยู่ที่ 9.5 ล้านคน จากอานิสงส์ตลาดนักท่องเที่ยวระยะใกล้ โดยเฉพาะกลุ่มอาเซียน อินเดีย และตะวันออกกลาง สำหรับปี 2566 ประเมินว่า จำนวนนักท่องเที่ยวต่างชาติจะอยู่ที่ 18.5 ล้านคน หรือคิดเป็น 46% ของยอดนักท่องเที่ยวต่างชาติในปี 2562 ซึ่งเป็นช่วงก่อนเกิดการระบาดโควิด-19 และจะเป็นอีกหนึ่งฟันเฟืองสำคัญที่ทำให้เศรษฐกิจไทยปี 2566 ขยายตัวได้ 3.7%

ตัวเลขนักท่องเที่ยวต่างชาติ 8 เดือนแรกของปีเฉียด 4.4 ล้านคน นำโดยตลาดท่องเที่ยวระยะใกล้

ภาพรวมการท่องเที่ยวทั่วโลกในปี 2565 มีสัญญาณฟื้นตัวอย่างต่อเนื่อง จากการผ่อนคลายความกังวลเกี่ยวกับการแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 รวมถึงอัตราการฉีดวัคซีนที่สูงและครอบคลุมขึ้น ทำให้หลายประเทศรวมทั้งไทยทยอยผ่อนคลายมาตรการการเดินทางระหว่างประเทศมาตั้งแต่ช่วงกลางปี ส่งผลให้ความต้องการท่องเที่ยวเพื่อชดเชยที่ถูกจำกัดไว้ก่อนหน้าจากนักท่องเที่ยวทั้งในและต่างประเทศมีแนวโน้มเร่งตัวขึ้นอย่างเห็นได้ชัด สะท้อนได้จากตัวเลขนักท่องเที่ยวต่างชาติที่ไปเยือนยังประเทศต่าง ๆ ปรับตัวดีขึ้นตามลำดับ เช่นเดียวกับประเทศไทยที่ตัวเลขนักท่องเที่ยวต่างชาติสะสมตั้งแต่เดือนมกราคม - สิงหาคม สูงถึง 4.4 ล้านคน หรือคิดเป็นเกือบ 20% ของจำนวนนักท่องเที่ยวช่วงก่อนสถานการณ์โควิด-19

เป็นที่สังเกตว่า นักท่องเที่ยวต่างชาติเยือนไทยในช่วงที่ผ่านมา ส่วนใหญ่มาจากประเทศที่ไม่ห่างไกลจากไทยมากนัก เห็นได้จากยอดนักท่องเที่ยวต่างชาติสะสม 8 เดือนแรก กว่า 1 ใน 3 เป็นกลุ่มนักท่องเที่ยวที่มีพรมแดนติดหรือใกล้กับไทย (เช่น มาเลเซีย สิงคโปร์ เวียดนาม และลาว) แน่นอนว่าส่วนหนึ่งมาจากการผ่อนคลายมาตรการเดินทางข้ามพรมแดนและการลดค่าธรรมเนียมเดินทางเข้าประเทศ ซึ่งส่งผลดีต่อการเดินทางเข้าออกผ่านด่านพรมแดนไทยทำได้สะดวกขึ้น นอกจากนี้ การรุกตลาดอินเดียผ่านเวที Roadshow เมื่อช่วงกลางปีที่ผ่านมาเพื่อชดเชยความไม่แน่นอนในการเปิดประเทศของตลาดจีน รวมถึงการเปิดเส้นทางบินตรงครอบคลุมเมืองรองของอินเดีย ยังหนุนให้นักท่องเที่ยวอินเดียเข้าไทยเพิ่มขึ้นอย่างก้าวกระโดดจากเฉลี่ยเดือนละ 1-2 หมื่นคนช่วงต้นปี เป็น 1.1 แสนคน ส่งผลให้นักท่องเที่ยวอินเดียกลายเป็นกลุ่มที่ครองส่วนแบ่งตลาดนักท่องเที่ยวต่างชาติสูงเป็นอันดับ 2 รองจากมาเลเซีย อีกทั้งตลาดตะวันออกกลางซึ่งเป็นกลุ่มมีกำลังซื้อสูงก็เติบโตได้อย่างโดดเด่น อาทิ ซาอุดิอาระเบีย สหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ และอิสราเอล หนุนการเติบโตในแง่ของรายรับจากการท่องเที่ยวอีกด้วย

ทั้งนี้ หากพิจารณาร่วมกับจำนวนเที่ยวบินพาณิชย์ขาเข้าระหว่างประเทศมายังท่าอากาศยานหลัก (สุวรรณภูมิและดอนเมือง) ก็พบว่า เพิ่มขึ้นเป็นเท่าตัวจาก 3,774 เที่ยวบินในเดือนมกราคม เป็น 7,659 เที่ยวบินในเดือนสิงหาคมที่ผ่านมา หรือราว 46.5% เมื่อเทียบกับช่วงก่อนสถานการณ์โควิด-19 และคาดว่ามีแนวโน้มเพิ่มขึ้นตามความต้องการเดินทางช่วงเทศกาลท่องเที่ยวปลายปี จึงเป็นไปได้ว่าจำนวนเที่ยวบินพาณิชย์ขาเข้าระหว่างประเทศจะแตะ 60% ได้ในช่วงสิ้นปีนี้

ttb analytics ประเมินนักท่องเที่ยวต่างชาติปีนี้ดีกว่าคาดที่ 9.5 ล้านคน มองปี 2566 อาจสูงถึง 18.5 ล้านคน

นับตั้งแต่ประกาศปลดล็อกเงื่อนไขให้นักท่องเที่ยวต่างชาติเที่ยวไทยผ่านการยกเลิกระบบ Thailand Pass กลายเป็นแรงหนุนสำคัญให้ชาวต่างชาติสามารถเดินทางท่องเที่ยวในไทยสะดวกขึ้น โดยเฉพาะในช่วงฤดูกาลท่องเที่ยวครึ่งหลังปี 2565 ซึ่งแม้ว่าประเทศในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิกจะส่งสัญญาณเปิดประเทศรับนักท่องเที่ยวต่างชาติเช่นกัน แต่คาดว่าจะไม่กระทบตัวเลขนักท่องเที่ยวของไทยช่วงปลายปี เนื่องจากพฤติกรรมเที่ยวนอกประเทศภายหลังการเปิดประเทศส่วนใหญ่จะเริ่มต้นจากจุดหมายปลายทางระยะใกล้ (Short Haul Destination) ก่อนในปีนี้ และไทยก็ได้อานิสงส์จากกลุ่มที่มีแนวพรมแดนติดกัน รวมถึงอินเดีย และตะวันออกกลาง เช่นเดียวกับการเปิดประเทศของกลุ่มเอเชียแปซิฟิกที่โดยมากจะเป็นนักท่องเที่ยวจากประเทศใกล้เคียงอย่างญี่ปุ่น เกาหลีใต้ จีน ไต้หวัน และฮ่องกง

ดังนั้น ttb analytics จึงประเมินว่า นักท่องเที่ยวต่างชาติเดินทางเข้าไทยช่วงครึ่งหลังปี 2565 จะอยู่ที่ 7.3 ล้านคน เพิ่มขึ้นจากครึ่งปีแรกถึง 2.5 เท่า ส่งผลให้จำนวนนักท่องเที่ยวต่างชาติตลอดทั้งปี 2565 อยู่ที่ 9.5 ล้านคน (จากประมาณการเดิมที่ 7 ล้านคน) สร้างรายได้ราว 4.6 แสนล้านบาท สำหรับปี 2566 คาดว่าจำนวนนักท่องเที่ยวต่างชาติจะอยู่ที่ 18.5 ล้านคน หรือคิดเป็น 46% ของตัวเลขนักท่องเที่ยวต่างชาติในปี 2562

อย่างไรก็ดี แม้กิจกรรมทางเศรษฐกิจที่สะท้อนผ่านข้อมูลการเคลื่อนที่ (Google Mobility Data) ในหมวดที่เกี่ยวข้องกับการท่องเที่ยวได้เริ่มกลับมาเป็นปกติแล้วตั้งแต่เดือนกุมภาพันธ์ แต่ระดับการฟื้นตัวในภาพรวมยังคงต่ำกว่าก่อนสถานการณ์โควิด-19 อยู่มาก สะท้อนผ่านดัชนีผลผลิตภาคบริการ (Service Production Index) ในหมวดที่พักแรมและบริการด้านอาหารที่ยังอยู่ในระดับต่ำกว่าก่อนวิกฤตราวครึ่งหนึ่ง เนื่องจากสถานการณ์การท่องเที่ยวในประเทศที่กลับมาคึกคักได้ในระยะหลังมีแรงหนุนสำคัญจากไทยเที่ยวไทยเป็นหลัก ทำให้ภาพรวมจังหวัดที่พึ่งพารายได้จากนักท่องเที่ยวต่างชาติสูงฟื้นตัวได้จำกัด สอดคล้องกับอัตราการเข้าพักแรม (Occupancy Rate) ของภาคใต้ที่เฉลี่ยอยู่ที่เพียง 40% เมื่อเทียบกับอัตราการเข้าพักแรมของภาคเหนือซึ่งพึ่งพารายได้จากนักท่องเที่ยวชาวไทยเป็นหลักที่ 50%

ชี้ธุรกิจโรงแรมปี 2566 ยังเจอความท้าทายอีกมาก แนะปรับตัวเพื่อลดต้นทุน

แม้ธุรกิจโรงแรมที่พึ่งพารายได้จากนักท่องเที่ยวไทยเป็นหลักมีแนวโน้มฟื้นตัวได้เร็วจากโมเมนตัมการท่องเที่ยวภายในประเทศ แต่ ttb analytics มองว่า ภาคการท่องเที่ยวของไทยจะสามารถกลับเข้าสู่ภาวะปกติได้ในช่วงปลายปี 2567 ทำให้ธุรกิจโรงแรมยังต้องเผชิญความท้าทายอีกมากในปี 2566 จากการที่นักท่องเที่ยวไทยที่มีกำลังซื้อสูงบางส่วนจะเริ่มออกเดินทางท่องเที่ยวต่างประเทศมากขึ้น ขณะที่รายได้จากนักท่องเที่ยวต่างชาติจะกลับมาใกล้เคียงกับก่อนสถานการณ์โควิด-19 ก็อาจต้องรอแรงส่งจากกลุ่มหลักอย่างนักท่องเที่ยวจีนที่คาดว่าจะกลับมาเยือนไทยได้เต็มที่ในช่วงครึ่งหลังของปี 2566

นอกจากนี้ อุปทาน (Supply) ห้องพักโดยรวมก็มีแนวโน้มเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว จากอุปทานเดิมที่โรงแรมบางส่วนซึ่งประสบภาวะขาดทุนก่อนหน้านี้จะกลับมาดำเนินกิจการเต็มรูปแบบหลังท่องเที่ยวเริ่มฟื้น ทำให้ห้องพักใหม่ที่จะเข้ามาเพิ่มเติมจากการเปิดตัวโรงแรมของผู้ประกอบการขนาดใหญ่มากกว่า 20 แห่งในปี 2566 หลังจากที่ชะลอการเปิดออกไปในช่วงปิดประเทศ ท่ามกลางการแข่งขันด้านราคาของธุรกิจโรงแรมที่รุนแรงขึ้น เห็นได้จากราคาห้องพักเฉลี่ยทั้งประเทศในปัจจุบันที่ยังต่ำกว่าระดับก่อนสถานการณ์โควิด-19 ถึงกว่า 30% สวนทางกับต้นทุนค่าแรงและการดำเนินงานที่ปรับสูงขึ้นเป็นเงาตามตัว

ฉะนั้น กลยุทธ์สำคัญของธุรกิจโรงแรมจึงหนีไม่พ้นเทรนด์การปรับตัวเพื่อตอบสนองพฤติกรรมนักท่องเที่ยวที่เปลี่ยนไป การนำเทคโนโลยีมาใช้และการหันมาเพิ่มช่องทางการขายออนไลน์มากขึ้น ตลอดจนการมุ่งเน้นเพิ่มประสิทธิภาพในการดำเนินการ เพื่อลดต้นทุนทั้งในส่วนของต้นทุนคงที่และต้นทุนแปรผันให้มีความคล่องตัวรับมือกับความเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้นในอนาคต

“เคทีซี” หรือ บริษัท บัตรกรุงไทย จำกัด (มหาชน) ร่วมกับการท่องเที่ยวฮ่องกง จัดเอ็กซ์คลูซีฟ Virtual Event เฉพาะสมาชิกบัตรเครดิตเคทีซีที่เป็นฮ่องกง “Real Fan” ที่มีความคิดถึงและชื่นชอบการเดินทางท่องเที่ยวฮ่องกงจำนวน 50 ท่าน ร่วมสนุกกับ “Taste Around Town Online Tour” หนึ่งในกิจกรรมจากเทศกาล Wine & Dine Festival 2021 ที่มีกำหนดจัดขึ้นในรูปแบบ Virtual Event พร้อมกันทั่วเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ในวันอังคารที่ 2 พฤศจิกายน 2564 เวลา 14.00 น.- 14.40 น. (เวลาในประเทศไทย) โดยเป็นการถ่ายทอดสดจากเคนเนดี้ทาวน์ ฮ่องกง แหล่งไดน์นิ่งสุดเทรนดี้ของฮ่องกง ผู้เข้าร่วมกิจกรรมสามารถร่วมสำรวจความสวยงามของเคนเนดี้ทาวน์แบบ Virtual สนุกกับการผสมเครื่องดื่มค็อกเทลในรูปแบบ Interactive โดยทางการท่องเที่ยวฮ่องกงจะส่งเซ็ทค็อกเทล ลิมิเต็ด อิดิชันและส่วนผสมต่างๆ มาให้ผู้ร่วมงานทั้ง 50 ท่านถึงบ้าน จะเป็น 40 นาทีที่ผู้เข้าร่วมงานจะได้สัมผัสฮ่องกงและได้รับประสบการณ์แบบเรียลไทม์ โดยสมาชิกบัตรฯ ที่สนใจสามารถสมัครเข้าร่วมงาน “Wine & Dine Festival 2021” โดยไม่เสียค่าใช้จ่ายใดๆ ได้ที่ FACEBOOK: KTC WORLD ตั้งแต่ 6 ตุลาคม 2564 – 17 ตุลาคม 2564 เท่านั้น หรือสอบถามเพิ่มเติมได้ที่ KTC WORLD โทร 02 123 5050

สำหรับงาน “Wine & Dine Festival” ได้จัดเป็นประจำทุกปีที่ฮ่องกง เซ็นทรัล ฮาร์เบอร์ ฟร้อนท์ โดยภายในงานมีการออกบูธร้านอาหารและเครื่องดื่มชั้นนำกว่า 400 ร้าน ที่ทำให้คนที่เข้าร่วมงานได้ดื่มด่ำกับบรรยากาศ พร้อมชิมอาหาร ไวน์ และเครื่องดื่มรสเลิศ โดยได้มีการปรับเปลี่ยนเป็นการจัดงานในรูปแบบ Virtual Event ครั้งแรกเมื่อปี 2563 เนื่องจากสถานการณ์โควิด-19 ซึ่งถือว่าประสบความสำเร็จเป็นอย่างดี และการจัดงานครั้งที่ 2 ในปีนี้ ได้เพิ่มสีสันที่ทำให้ผู้ร่วมงานได้สัมผัสบรรยากาศที่แปลกใหม่ได้ถึงที่บ้าน โดยไม่ต้องเดินทางไปไหน

สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ KTC PHONE หมายเลขโทรศัพท์ 02 123 5000 และเว็บไซต์ www.ktc.co.th

+++++++++++++++++++++++++++++++++++++++

Page 4 of 5
X

Right Click

No right click