September 19, 2024

การใช้ไม้ฝังรากลึกอยู่ในวัฒนธรรมของชาวสวีเดน ไม่เพียงมีส่วนสร้างความเป็นอยู่ที่ดีของผู้คน เป็นแรงบันดาลใจให้ศิลปิน นักเขียน และช่างฝีมือมากมายตลอดหลายศตวรรษที่ผ่านมา

ในอดีตสวีเดนมีปัญหาการเสื่อมโทรมของทรัพยากรป่าไม้เช่นกัน จากการใช้ประโยชน์อย่างหนักทั้งด้านการเกษตร สร้างที่อยู่อาศัย แปรรูปเป็นไม้แผ่น ทำเฟอร์นิเจอร์ และรวมทั้งใช้ในการอุตสาหกรรม กระทั่ง พ.ศ.2446 มีการออกพระราชบัญญัติป่าไม้ ควบคุมและบริหารจัดการป่าอย่างเป็นระบบ ภายใต้หลักการสร้างสมดุลระหว่างคน สิ่งแวดล้อมและเศรษฐกิจ ส่งผลให้พื้นที่ป่าไม้ของสวีเดนมีขนาดเพิ่มขึ้นจาก 25% เพิ่มเป็น 75% และมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง ขณะที่ครองตำแหน่งผู้ส่งออกไม้จากป่าอันดับ 3 ของโลก  

นี่คือจุดเริ่มต้นที่น่าสนใจในการผลักดันโมเดลจัดการป่ายั่งยืนระดับโลกจากสวีเดนสู่ประเทศไทย ในงาน Redesign Sustainable Forestry: The Innovative Forest Management  ที่สถานทูตไทย-สวีเดน ร่วมกับเอสซีจี จัดขึ้นเมื่อวันที่ 17 มีนาคมที่ผ่านมา และเป็นส่วนหนึ่งของ “เวทีความร่วมมือด้านความยั่งยืนไทย-สวีเดน ปี 2566”

ไม่เพียงความก้าวหน้าในเชิงวิศวกรรมที่สวีเดนเรียนรู้และพัฒนามาอย่างต่อเนื่องกับงานไม้ จากที่เคยติดข้อห้ามก่อสร้างอาคารไม้สูงเกิน 2 ชั้น เมื่อมีการปลดล็อคกฎหมายนี้เปิดกว้างให้กับการพัฒนาเพิ่มประสิทธิภาพของการใช้ไม้เพื่อประโยชน์ในเชิงก่อสร้างและการออกแบบสถาปัตยกรรมอย่างไร้ขีดจำกัด ส่งผลให้มีอาคารขนาดใหญ่ที่สร้างจากไม้เพิ่มมากขึ้น เช่น Ekogen โครงการพัฒนาที่ประกอบด้วยแฟลตให้เช่า 75 ห้อง และยังมีที่กำลังพัฒนาอีกรวมกว่า 500 ห้อง นอกจากนี้ยังมีศูนย์วัฒนธรรม Sara ที่สร้างขึ้นใจกลางกรุง Skelleftea ทางตอนเหนือของสวีเดน มีโรงละคร 2 แห่ง มีศูนย์ศิลปะ ห้องสมุด และพื้นที่สาธารณะเพื่อให้ผู้คนเข้ามาพบปะแลกเปลี่ยนความคิด

ที่เป็นปรากฏการณ์อันน่าทึ่งของงานไม้สวีเดนคือ กังหันลมไม้สูง 30 เมตรทางตอนเหนือนอกเมืองโกเทนเบอร์ก โดยใช้ไม้ลามิเนตติดกาว (CLT) มีความแข็งแรงกว่าเหล็กเมื่อเทียบในน้ำหนักเท่ากัน ในต้นทุนที่ต่ำกว่าเหล็กมาก เป็นต้นแบบของการสร้างกังหันลมในเชิงพาณิชย์ซึ่งจะสูงถึง 110-150 เมตร เนื่องจากไม้มีน้ำหนักเบาจึงสามารถสร้างแยกเป็นชิ้นส่วน ง่ายต่อการขนส่งและติดตั้ง

มร. Aaron Kaplan ผู้อำนวยการ Eco-Innovation Foundation (EIF) ร่วมแบ่งปันประสบการณ์การจัดระบบจัดการป่า ในฐานะที่เป็น Facilitator ในการพัฒนาเมืองสีเขียวให้กับเขตต่างๆ ในสวีเดน ว่า ในช่วง 100 ปีที่ผ่านมาสวีเดนผ่านการลองผิดลองถูกมามาก

สวีเดนเคยถูกวิจารณ์ว่าสนใจแค่ต้นไม้ไม่กี่สายพันธุ์อย่างต้นสน เป็นเรื่องท้าทายมากกับการจะเพิ่มความหลากหลายให้กับป่าในสวีเดนซึ่งธรรมชาติเป็นป่าสน เพื่อเปลี่ยนเมืองให้เป็นสีเขียว เป็นเมืองนิเวศที่มีการจัดการป่าอย่างยั่งยืนเพื่อให้คนสามารถอยู่ร่วมกับป่าได้อย่างสมดุล เพราะคนที่เป็นเจ้าของป่าคือชาวบ้าน ฉะนั้นการจะเปลี่ยนป่าต้องได้รับการยอมรับจากชาวบ้านด้วย

สำหรับการอนุรักษ์ป่าในแบบสวีเดนโมเดลไม่ได้หมายถึงการห้ามตัด แต่การตัดไม้แต่ละต้นต้องสามารถใช้ประโยชน์ได้อย่างสูงสุด ป่าเป็นเหมือนทุนที่สร้างคุณภาพชีวิตที่ดีให้กับผู้คน เป็นแนวทางการดูแลสิ่งแวดล้อมควบคู่ไปกับการเติบโตของเศรษฐกิจของประเทศ ซึ่งปัจจุบันรายได้จากป่าไม้ของสวีเดนเทียบเท่า 10% ของจีดีพีของประเทศ ไม่เพียงการแปรรูปไม้เป็นผลิตภัณฑ์ต่างๆ เฟอร์นิเจอร์ เยื่อกระดาษ เชื้อเพลิงชีวภาพ ฯลฯ แม้กระทั่งส่งเสริมด้านการท่องเที่ยว เช่น เป็นสถานที่ท่องเที่ยวฮันนีมูนกลางป่า การเดินป่า เป็นต้น

ทางด้าน คุณนิธิ ภัทรโชค กรรมการผู้จัดการใหญ่ ธุรกิจซีเมนต์และผลิตภัณฑ์ก่อสร้าง เอสซีจี บอกว่าสนใจแนวทางการจัดระบบป่าที่สวนทางกับความเชื่อเดิมที่มองว่าการอนุรักษ์ป่าคือห้ามตัดไม้ โดยบอกว่าถ้าจะรักษาป่าอย่าห้ามตัดต้นไม้ เพราะจะทำให้ไม้มีราคาแพงขึ้น ยิ่งเป็นแรงจูงใจให้เกิดการลักลอบตัดป่า

การบริหารจัดการระบบป่าแบบสวีเดน นอกจากปลูกทดแทนแล้ว การตัดต้นไม้แต่ละต้นต้องให้ใช้ประโยชน์สูงสุด เช่น เศษไม้ที่เหลือจะผสมกาวกลายเอาไปใช้ประโยชน์ได้อีก เรียกว่าใช้ประโยชน์ได้ทุกเม็ด

ด้วยวิถีความเป็นอยู่ที่ใกล้ชิดกับธรรมชาติทำให้คนสวีเดนผูกพันกับธรรมชาติและป่าเขา ป่าทั้งหมดเป็นของสาธารณะ ทุกคนเข้าถึงป่าได้ ท่องเที่ยว สร้างบ้านในป่า เก็บผลผลิตจากป่าได้ แต่ต้องกระทำอย่างเหมาะสม

คุณนิธิบอกถึงแง่คิดที่ได้จากการจัดการป่าแบบสวีเดนคือ หนึ่ง สวีเดนโมเดลสร้างความสำเร็จให้สวีเดน แต่ไทยต้องนำมาปรับใช้แบบไทยโมเดล ตามบริบทของประเทศไทย สอง ต้องร่วมมือกันในทุกภาคส่วน ภาครัฐต้องเป็นผู้นำ แต่จะสำเร็จได้ต้องอาศัยภาคเอกชนต้องมีความคิดริเริ่มเรื่องการปลูกป่าอย่างเหมาะสม รวมทั้งภาคประชาสังคม และชาวบ้าน ทุกฝ่ายต้องมีความตระหนักและช่วยกันดูแล สาม ต้องใช้เทคโนโลยี อย่างธุรกิจบรรจุภัณฑ์หรือเอสซีจีพี ที่มีการใช้ไม้ยูคาลิปตัสเป็นวัตถุดิบหลัก ได้นำระบบการบริหารจัดการสวนป่าอย่างยั่งยืน ตามมาตรฐาน Forest Stewardship Council (FSC) มาใช้กับพื้นที่ปลูกป่าเศรษฐกิจ ควบคู่ไปกับการพัฒนานวัตกรรมยูคาลิปตัสสายพันธุ์ใหม่ และใช้เทคโนโลยีต่างๆ เช่นโดรนและภาพถ่ายดาวเทียมมาช่วยเพิ่มคุณภาพการปลูก

และสี่ ต้องทำอย่างเป็นระบบ เอสซีจีดำเนินโครงการรักษ์ภูผาสู่มหานที ตามแนวทาง ESG 4 Plus ทำตั้งแต่เพิ่มการปลูกป่า ตลอดจนสร้างฝายชะลอน้ำแล้ว 115,000 ฝาย โดยมีเป้าหมายสร้างถึง 150,000 ฝาย  เพราะถ้ามีฝาย ก็จะมีแหล่งน้ำบำรุงป่าให้เติบโต โดยมีชาวบ้านช่วยดูแลด้วยทั้งป่าและฝายเพราะอยู่ในพื้นที่

ที่สำคัญคือ การปลูกฝังให้คนรักป่า โดยเฉพาะเด็กๆ คุณนิธิบอกว่า เอสซีจีปลูกป่ามานานกว่า 10 ปี ปลูกต้นไม้มามากกว่าหนึ่งล้านต้น ทุกวันนี้ผมเริ่มเห็นแสงสว่าง มีคนไม่น้อยที่ชอบแคมปิ้ง เริ่มมีการเดินเทรลเช่นที่เขาใหญ่ เป็นเรื่องของปลูกฝังให้คนรักป่า เพราะการจะทำให้คนรักป่าได้ ต้องใกล้ชิดป่า แต่ด้านความเข้าใจเราต้องช่วยกัน เพราะในความเป็นจริงป่าอยู่อย่างยั่งยืนได้ และเรามีโอกาสที่จะนำป่ากลับคืนมา มีโอกาสที่จะใช้ประโยชน์จากป่าได้ อย่างสวีเดนใช้ประโยชน์จากป่าปีละหลายพันล้านเหรียญ ขณะที่ป่าก็เติบโตไปด้วย เพียงแต่ทุกคนต้องร่วมมือกัน ไม่ดูดาย

ขณะที่ มร. Aaron กล่าวทิ้งท้ายให้คิดว่า สำหรับคนเมืองต้องไม่ลืมว่าการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นเกี่ยวกับป่าไม้มาจากคนเมืองอย่างเราๆ ยิ่งมีความต้องการมากเท่าไร ยิ่งนำไปสู่การเปลี่ยนแปลงมากเท่านั้น ถ้าต้องการการเปลี่ยนแปลงที่ดีเราต้องมี Mindset ที่ดีเช่นกัน

อาคารตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย ผ่านการรับรองมาตรฐานจาก U.S. Green Building Council (USGBC) สหรัฐอเมริกา ประกอบไปด้วย “LEED Zero Waste Certification” และ “TRUE Certification ในระดับ Platinum” โดยถือเป็นแห่งแรกในอาเซียนที่ได้รับการรับรองทั้งสองมาตรฐาน โดยอาคารตลาดหลักทรัพย์ฯ เป็นอาคารสำนักงานที่มุ่งเน้นการใช้ทรัพยากรอย่างมีประสิทธิภาพ ลดขยะให้เป็นศูนย์ (Zero Waste) สะท้อนถึงการให้ความสำคัญในการดำเนินงานด้วยความรับผิดชอบต่อสังคมและสิ่งแวดล้อมอย่างยั่งยืน

นายกีรติ โกสีย์เจริญ ผู้ช่วยผู้จัดการ หัวหน้ากลุ่มงานบริหาร ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย เปิดเผยว่า ตลาดหลักทรัพย์ฯ ดำเนินงานโดยคำนึงถึงสิ่งแวดล้อม สังคม และ บรรษัทภิบาล (Environmental, Social, Governance: ESG) ภายใต้วิสัยทัศน์ในการพัฒนาตลาดทุนเพื่อทุกภาคส่วน “To Make the Capital Market ‘Work’ for Everyone”  โดยล่าสุด อาคารตลาดหลักทรัพย์ฯ ผ่านการรับรองมาตรฐานอาคารสำนักงานที่ใช้ทรัพยากรอย่างมีประสิทธิภาพ ประจำปี 2565 จาก U.S. Green Building Council (USGBC) สหรัฐอเมริกา ถือเป็นการสะท้อนความมุ่งมั่นของตลาดหลักทรัพย์ฯ ตั้งแต่ระดับนโยบายจนถึงพนักงานที่ร่วมขับเคลื่อนการใช้ทรัพยากรอย่างคุ้มค่าและเกิดประสิทธิภาพสูงสุด โดยดำเนินการลดปริมาณขยะที่นำไปฝังกลบให้เป็นศูนย์

(Zero Waste to Landfill) ตั้งแต่ปี 2563 มีการจัดการขยะเพื่อนำไปใช้ประโยชน์ตามหลัก 3R (Reduce-Reuse-Recycle) พร้อมขยายความร่วมมือกับองค์กรพันธมิตร การนำนวัตกรรมและเทคโนโลยีมาบริหารจัดการการใช้ทรัพยากร รวมถึงการส่งเสริมกระบวนการจัดหาคู่ค้า สินค้า และบริการที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม

นายวชิระชัย คูนำวัฒนา กรรมการผู้จัดการ บริษัท เอสซีจี บิลดิ้ง แอนด์ ลีฟวิ่งแคร์คอนซัลติ้ง จำกัด เปิดเผยว่า บริษัทมีความยินดีอย่างยิ่งที่มีส่วนในการให้คำปรึกษาแก่ตลาดหลักทรัพย์ฯ เพื่อให้ได้รับมาตรฐานการรับรองในครั้งนื้ ด้วยคะแนนประเมินระดับ Platinum ตามมาตรฐานการรับรองจาก USGBC ทั้งนี้ SCG ให้ความสำคัญกับการแก้ปัญหาโลกร้อน จึงนำแนวทางการพัฒนาอย่างยั่งยืน ESG 4 Plus มาใช้ในการดำเนินธุรกิจด้วยความรับผิดชอบต่อสังคม ชุมชน และสิ่งแวดล้อม คือ 1) มุ่งเน้น NET ZERO  2) GO Green 3) Lean เหลื่อมล้ำ และ 4) ย้ำร่วมมือ  ทั้งนี้ บริษัท เอสซีจี บิลดิ้ง แอนด์ ลีฟวิ่งแคร์คอนซัลติ้ง จำกัด มีเป้าหมายที่จะเป็นส่วนหนึ่งในการส่งเสริมและสนับสนุนองค์กรต่างๆ ให้บรรลุเป้าหมาย NET ZERO ซึ่งการที่ตลาดหลักทรัพย์ฯ ได้รับการรับรองมาตรฐาน “LEED Zero Waste” และ “TRUE Certification ในระดับ Platinum”  เป็นอาคารแห่งแรกในอาเซียนในครั้งนื้ นับเป็นส่วนหนึ่งของความสำเร็จ และก้าวสำคัญของบริษัทที่ได้มีส่วนร่วมในการสนับสนุนเพื่อเป็นแนวทางให้กับองค์กรต่างๆ ต่อไป

การรับรองมาตรฐานดังกล่าวจะมอบให้กับอาคารที่มีการบริหารจัดการทรัพยากรในอาคารอย่างมีประสิทธิภาพสูงสุดตลอดทั้งห่วงโซ่อุปทาน (Supply Chain) โดยยึดหลักการเศรษฐกิจหมุนเวียน (Circular Economy) นอกจากนี้อาคารที่ได้การรับรองจะต้องใช้ประโยชน์จากขยะที่เกิดขึ้นมากกว่าร้อยละ 90 โดยหลีกเลี่ยงการจัดการที่ส่งผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม เช่น การนำไปใช้เป็นเชื้อเพลิง การฝังกลบ และการทำลายสิ่งแวดล้อมอื่นๆ และมีการปนเปื้อนของขยะน้อยกว่าร้อยละ 10 โดยพิจารณาขยะทุกประเภท ด้วยความร่วมมือกับคู่ธุรกิจในการปรับปรุงบรรจุภัณฑ์, การรับสินค้าคืนหลังการใช้งาน (Product Take back program) การนำบรรจุภัณฑ์ไปรีไซเคิล รวมถึงการเพิ่มมูลค่าด้วยการ upcycling

อีกส่วนหนึ่งที่ทำให้อาคารได้การรับรอง คือความชัดเจนทางด้านนโยบาย และการมีส่วนร่วมของผู้บริหาร และพนักงาน ซึ่งพนักงานและคู่ธุรกิจของอาคารตลาดหลักทรัพย์ได้รับการอบรมและมีส่วนร่วมในด้าน zero waste ยิ่งไปกว่านั้น อาคารตลาดหลักทรัพย์ยังมีการคำนวณการปลดปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์สำหรับการจัดการขยะตลอดทั้ง supply chain เป็นต้น

ที่ผ่านมาตลาดหลักทรัพย์ฯ ได้รับรางวัลสำนักงานสีเขียวที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม (Green Office) ระดับดีเยี่ยม (Gold Level) จากกรมส่งเสริมคุณภาพสิ่งแวดล้อม รางวัล Thailand energy award ประเภทอาคารที่ใช้พลังงานเป็นศูนย์ (Zero energy building) จากกรมพัฒนาพลังงานทดแทนและอนุรักษ์พลังงาน และรางวัล ASEAN Energy Award  จาก ASEAN Center of Energy (ACE) และยังได้รับการรับรองอาคารเพื่อสิ่งแวดล้อมมาตรฐานสากล LEED Platinum: Operation and Maintenance (O+M) ระดับสูงสุด จาก U.S. Green Building Council (USGBC) อีกด้วย 

บริษัท เจริญโภคภัณฑ์อาหาร จำกัด (มหาชน) หรือ CPF ร่วมกับ บริษัท เอสซีจี บิลดิ้ง แอนด์ ลีฟวิ่งแคร์คอนซัลติ้ง จำกัด (BLC) บริษัทที่ปรึกษาในด้านการพัฒนาอาคารที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม และบริษัท ผลิตภัณฑ์และวัตถุก่อสร้าง จำกัด (CPAC) ผู้เชี่ยวชาญด้านนวัตกรรมการก่อสร้าง ภายใต้ธุรกิจซีเมนต์และผลิตภัณฑ์ก่อสร้าง เอสซีจี ร่วมลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือ “โครงการพัฒนาอาคารเขียว นวัตกรรมการก่อสร้าง อาคารและฟาร์มประหยัดพลังงาน เพื่อลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกอย่างยั่งยืน” นำร่อง  3 โครงการสร้างสุขภาวะที่ดีของผู้ใช้อาคาร  เป็นมิตรกับชุมชนและสิ่งแวดล้อม ตอบโจทย์ก้าวสู่สังคมคาร์บอนต่ำ

พิธีลงนามความร่วมมือในวันนี้ (22 มีนาคม 2566) เป็นความร่วมมือของทุกฝ่ายที่มีความมุ่งมั่นดำเนินธุรกิจบนพื้นฐานของความยั่งยืน โดยร่วมกันกำหนดแนวทางพัฒนาโครงการอาคารเขียวและการนำนวัตกรรมมาประยุกต์ใช้ในการออกแบบและการก่อสร้างอาคารและโรงงานในธุรกิจเกษตรอุตสาหกรรมและอาหารครบวงจร เพื่อขอรับรองมาตรฐานอาคารเขียวให้ได้ตามแผนงานที่กำหนด และพัฒนาการก่อสร้างโครงสร้างต่าง ๆ  โดยคำนึงถึงสิ่งแวดล้อม  เพื่อมุ่งสู่สังคมคาร์บอนต่ำ  โดยมี  นายพีรพงศ์ กรินชัย  ผู้บริหารสูงสุด  สายงานวิศวกรรมกลาง  เป็นตัวแทนของซีพีเอฟ ร่วมลงนามกับ นายวชิระชัย คูนำวัฒนา Managing Director บริษัท เอสซีจี บิลดิ้ง แอนด์ ลีฟวิ่งแคร์คอนซัลติ้ง จำกัด และ นายสุรชัย นิ่มละออ President-Green Solution Business  บริษัท ผลิตภัณฑ์และวัตถุก่อสร้าง จำกัด เพื่อยกระดับมาตรฐานการก่อสร้างสู่อาคารประหยัดพลังงาน  มีสภาพแวดล้อมที่ปลอดภัย และสร้างสุขภาวะที่ดีของผู้ใช้อาคาร  ณ  ห้องบอร์ดรูม  อาคาร ซี.พี.ทาวเวอร์   สีลม

นายพีรพงศ์ กรินชัย ผู้บริหารสูงสุด  สายงานวิศวกรรมกลาง ซีพีเอฟ เปิดเผยว่า   ซีพีเอฟ ในฐานะผู้นำธุรกิจเกษตรอุตสาหกรรมและอาหารครบวงจร  ให้ความสำคัญกับการสร้างกระบวนการผลิตที่ทันสมัย ได้มาตรฐานระดับสากล โดยใช้ทรัพยากรอย่างเหมาะสมและเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม     ซึ่งความร่วมมือระหว่างซีพีเอฟและกลุ่ม SCG เป็นจุดเริ่มต้นที่ดี  ตอบโจทย์แนวทางการดำเนินธุรกิจของทั้งสองบริษัทที่มุ่งสู่เป้าหมายความยั่งยืน  ลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกตามแนวนโยบายของประเทศไทยและประชาคมโลก ด้วยการร่วมมือกันดำเนินโครงการเพื่อขอรับรองมาตรฐานอาคารเขียว โดยในปีนี้ มีแผนที่จะดำเนินโครงการ 3 โครงการ  ได้แก่  โครงการโรงงานชำแหละและตัดแต่งสุกรศรีสะเกษ ห้องปฏิบัติงานและสำนักงานธุรกิจสัตว์น้ำ สมุทรปราการ   โรงงานผลิตอาหารสัตว์เลี้ยง สระบุรี  มุ่งเน้นให้เป็นต้นแบบของอาคารประหยัดพลังงาน   ลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก สร้างสุขภาวะที่ดีของผู้ที่ทำงานในอาคาร เป็นมิตรกับชุมชนและดูแลสิ่งแวดล้อม สอดรับกับเป้าหมายของซีพีเอฟที่มุ่งสู่องค์กรลดปล่อยก๊าซเรือนกระจกเป็นศูนย์ (Net-Zero)ในปี 2050 (พ.ศ. 2593) และมีเป้าหมายใช้พลังงานหมุนเวียน  100 % 

นายวชิระชัย คูนำวัฒนา Managing Director บริษัท เอสซีจี บิลดิ้ง แอนด์ ลีฟวิ่งแคร์คอนซัลติ้ง กล่าวว่า SCG มีเป้าหมายในการส่งเสริมและสนับสนุนองค์กรต่างๆในการพัฒนาอาคารที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมและสุขภาวะที่ดีของผู้อยู่อาศัย เพื่อให้บรรลุเป้าหมายลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกสุทธิเป็นศูนย์ (Net-Zero) ซึ่งสอดรับกับเป้าหมายการดำเนินธุรกิจของซีพีเอฟ  จากความร่วมมือในครั้งนี้ ทางSCG พร้อมจะนำความเชี่ยวชาญและประสบการณ์ในการเป็นที่ปรึกษาในการขอรับมาตรฐานอาคารเขียว    เพื่อยกระดับมาตรฐานอาคารที่ลดการใช้พลังงาน สร้างสุขภาวะที่ดีขึ้นต่อผู้ใช้งาน ด้วยเทคโนโลยีที่ทันสมัยเพื่อการประหยัดพลังงาน และเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม

ด้าน นายสุรชัย นิ่มละออ  President-Green Solution Business  บริษัท ผลิตภัณฑ์และวัตถุก่อสร้าง จำกัด กล่าวว่า ความร่วมมือในครั้งนี้ CPAC จะนำความเชี่ยวชาญสร้างสรรค์และนำนวัตกรรมโซลูชั่นสำหรับนวัตกรรมการก่อสร้างมาประยุกต์ใช้ให้เข้ากับการก่อสร้างใหม่ และซ่อมแซมโครงสร้างอาคารของซีพีเอฟ  เพื่อตอบโจทย์ความต้องการ และแนวทางการดำเนินธุรกิจบนพื้นฐานของความยั่งยืน ซึ่งซีพีเอฟให้ความสำคัญกับกระบวนการผลิตที่ทันสมัยได้มาตรฐานระดับสากล โดยใช้ทรัพยากรอย่างเหมาะสมและเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม ร่วมขับเคลื่อนเป้าหมายสร้างการเติบโตที่ยั่งยืนให้กับชุมชน สังคม และสิ่งแวดล้อม ผ่านการนำนวัตกรรมก่อสร้างเข้ามาช่วยลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก

สถานเอกอัครราชทูตไทย-สวีเดน ร่วมกับเอสซีจีและพันธมิตร ร่วมผลักดันโมเดลจัดการป่ายั่งยืนระดับโลกจากสวีเดน

จับมือภาครัฐและโรงเรียนลงนามความร่วมมือขับเคลื่อนการจัดการขยะ เพิ่มปริมาณการรีไซเคิล เน้นให้เยาวชนเรียนรู้จากการปฏิบัติจริง

X

Right Click

No right click