SCB CIO คาดเศรษฐกิจสหรัฐจะชะลอตัวลงแบบSoft landing จากเงินเฟ้อที่ชะลอลงต่อเนื่อง แม้อีก 1-2 ปีถึงจะเข้าสู่เป้าหมายที่ 2%มองในปี 2567–2568 เฟดจะลดดอกเบี้ย 100 และ 120 bps. มาอยู่ที่ 3.4% พร้อมแนะนำหลีกเลี่ยงหุ้นกู้High Yield โดยเฉพาะอสังหาริมทรัพย์จีนจากภาวะหนี้สินสูงและการฟื้นตัวช้า ปรับมุมมองหุ้นญี่ปุ่นและเวียดนามเป็น Neutral และยังคงแนะนำทยอยสะสมหุ้นจีน A-share แนวโน้มมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจแบบเฉพาะเจาะจงในช่วงครึ่งหลังของปี และหุ้นไทยหลังความชัดเจนทางการเมืองมีมากขึ้น

ดร.กำพล อดิเรกสมบัติ ผู้อำนวยการอาวุโส และหัวหน้าทีม SCB Chief Investment Office (SCB CIO) ธนาคารไทยพาณิชย์ เปิดเผยว่า SCB CIO ได้ปรับมุมมองที่มีต่อแนวโน้มเศรษฐกิจสหรัฐฯ โดยคาดว่า จะชะลอตัวลงแบบจัดการได้ (Soft landing) จากเดิมที่มองว่าอาจเกิดภาวะเศรษฐกิจถดถอยแบบไม่รุนแรง เนื่องจากอัตราเงินเฟ้อที่มีแนวโน้มชะลอลงต่อเนื่อง แม้จะยังต้องใช้เวลาอีก 1-2 ปีกว่าที่จะเข้าสู่อัตราเป้าหมายเงินเฟ้อที่ 2% ของธนาคารกลางสหรัฐ (Fed) โดยคาดว่าเงินเฟ้อจะเข้าสู่เป้าหมายในช่วงปี 2568 แต่ด้วยตลาดแรงงานโดยเฉพาะในภาคบริการที่ยังแข็งแกร่ง ทำให้เศรษฐกิจสหรัฐฯ ในช่วงปี 2566-2567 มีการชะลอตัวแบบจัดการได้ โดยจากประมาณการล่าสุดของ Fed (มิ.ย. 2566) คาดว่าเศรษฐกิจสหรัฐฯ ในปี 2566-2568 จะเติบโต 1.0% , 1.1% และ 1.8% ตามลำดับ เทียบกับอัตราการเติบโตในระยะยาวเฉลี่ยที่ 1.8%

ทั้งนี้ SCB CIO มองว่า จากแนวโน้มเศรษฐกิจแบบ Soft landing บวกกับอัตราเงินเฟ้อที่มีแนวโน้มปรับลดลงช้า ทำให้การลดดอกเบี้ยของ Fed ในรอบนี้จะมีลักษณะค่อยๆ ลดลง (small and slow rate cuts) และน้อยกว่าการลดดอกเบี้ยในครั้งก่อนๆ โดย Fed คาดว่าจะมีการลดดอกเบี้ย 100 และ 120 bps. ในปี 2567-2568 ตามลำดับ ซึ่งจะทำให้ปลายปี 2568 อัตราดอกเบี้ยนโยบาย Fed ยังอยู่ในระดับสูงถึง 3.4% ซึ่งอัตราดอกเบี้ยนโยบายระดับนี้ในช่วงการลดดอกเบี้ยของFedครั้งสุดท้ายเกิดขี้นในปี2551 ในขณะที่อัตราดอกเบี้ยในกลุ่มประเทศตลาดเกิดใหม่ (Emerging markets) โดยเฉพาะประเทศที่เศรษฐกิจและอัตราเงินเฟ้อชะลอมากกว่าคาด น่าจะเริ่มเห็นการลดดอกเบี้ย เช่น จีนและเวียดนามหรือการหยุดขึ้นดอกเบี้ย เช่น ไทย ทำให้ส่วนต่างอัตราดอกเบี้ยที่กว้างระหว่างสหรัฐฯ และประเทศ Emerging ยังคงอยู่ในระยะ 6 เดือนข้างหน้า

จากแนวโน้มอัตราดอกเบี้ยที่ยังค้างอยู่ในระดับสูง ในขณะที่เศรษฐกิจชะลอตัว ทำให้ประเทศที่มีบริษัทและครัวเรือนที่มีการก่อหนี้สูงจำนวนมาก มีความเสี่ยงภาวะ Balance sheet recession คือภาวะภาคธุรกิจและครัวเรือนกังวลกับหนี้สินที่อยู่ในระดับสูง ราคาสินทรัพย์ที่ฟื้นตัวช้าหรือปรับลดลงบวกกับแนวโน้มเศรษฐกิจที่ชะลอตัวทำให้รายได้ส่วนใหญ่ไม่ถูกนำมาใช้จ่ายบริโภคและลงทุนรวมถึงไม่กู้ยืมเพิ่มเติม แต่เน้นการจ่ายคืนหนี้เพื่อลดภาระทางการเงิน ซึ่งเคยเกิดขึ้นกับเศรษฐกิจญี่ปุ่นในช่วงปี 2533 และล่าสุดจีนเป็นหนึ่งในประเทศที่ตลาดเริ่มมีความกังวลในประเด็นนี้ อย่างไรก็ตาม

เมื่อเทียบกับญี่ปุ่นในช่วงปี 2533 ภาคการธนาคารของจีนในปัจจุบันยังมีฐานะทางการเงินที่แข็งแรงกว่า รวมถึง ราคาสินทรัพย์ของจีนโดยเฉพาะราคาบ้านแม้ฟื้นตัวช้าแต่ไม่ได้ประสบปัญหาราคาร่วงลงรุนแรงเท่ากับที่เคยเกิดขึ้นในญี่ปุ่น

ดร.กำพล กล่าวว่า จากมุมมองเศรษฐกิจสหรัฐฯ ที่มีแนวโน้มเป็นภาวะ Soft landing ทำให้เราปรับมุมมองหุ้นกู้ Investment Grade กลับขึ้นมาเป็น Slightly Positive หรือทยอยสะสมได้ แต่ยังคงแนะนำหลีกเลี่ยงการลงทุนในหุ้นกู้ที่มีความเสี่ยงสูง (High Yield หรือ HY) โดยเฉพาะในตลาดหุ้นกู้จีน เนื่องจาก เราเชื่อว่าอัตราเงินเฟ้อที่มีแนวโน้มชะลอลงบวกกับท่าทีของ Fed ในการหยุดขึ้นดอกเบี้ยและแนวโน้มลดดอกเบี้ยในช่วงกลางปี 2567 จะส่งผลให้อัตราผลตอบแทนพันธบัตรทั้งระยะสั้นและยาว ทยอยลดลงในช่วง 6-12 เดือนข้างหน้า อย่างไรก็ตาม เราเชื่อว่าอัตราดอกเบี้ยที่ค้างในระดับสูงในช่วงที่เหลือของปี มีแนวโน้มทำให้ความเสี่ยงด้านเครดิตของหุ้นกู้กลุ่ม HY ยังมีโอกาสขยับสูงขึ้นอีก โดยเฉพาะหุ้นกู้ในกลุ่มธุรกิจที่มีการก่อหนี้สูง เช่น กลุ่มอสังหาริมทรัพย์ในจีน

สำหรับมุมมองการลงทุนในตลาดหุ้นทั่วโลก จากการประกาศผลประกอบการไตรมาส 2/2566 ส่วนใหญ่ดีกว่าที่คาด โดยยอดขายสินค้าและบริการของบริษัทในตลาดหุ้นสหรัฐฯ ชะลอตัวลง แต่มีผลประกอบการและกำไรที่ดีกว่าคาดหรือลดลงน้อยกว่าที่คาดการณ์ไว้ เป็นหุ้นของกลุ่มบริษัทขนาดใหญ่ ในNasdaq 100 ตามมาด้วย S&P500 โดยรวมจะดีกว่าหุ้นกลุ่มบริษัทขนาดกลางและเล็ก ใน Russell 2000 ตลาดหุ้นญี่ปุ่นยอดขายสินค้าและบริการชะลอลงเล็กน้อย แต่ผลกำไรยังเติบโตตามอานิสงส์จากการฟื้นตัวของอุปสงค์ในประเทศ การท่องเที่ยวและค่าเงินเยนอ่อนค่า นอกจากจะเติบโตได้มากแล้ว ยังทำได้ดีกว่าคาดอีกด้วย ในขณะที่ตลาดหุ้นยุโรป EuroStoxx600 มียอดขายและกำไรหดตัว ตลาดหุ้นเวียดนาม กำไรจากยอดขายสินค้าและบริการของบริษัทยังคงฟื้นตัวช้า แต่แย่น้อยกว่าที่ตลาดคาดการณ์ และตลาดหุ้นไทย ยอดขายและผลประกอบการหดตัวและต่ำกว่าคาด แรงฉุดหลักมาจากกลุ่มพลังงาน สินค้าบริโภค และอสังหาริมทรัพย์

SCB CIO มองว่า ความตึงตัวของ Valuation ของตลาดหุ้นประเทศพัฒนาแล้ว เริ่มปรับลดลงโดยเฉพาะหุ้นสหรัฐฯกลุ่มTech ซึ่งเราแนะนำสับเปลี่ยนเข้าลงทุนในกลุ่มหุ้นทนทานความผันผวน (Defensive) ไปก่อนหน้านี้ ขณะเดียวกันเราได้ปรับมุมมองหุ้นญี่ปุ่นเป็น Neutral (หยุดขายหรือถือไว้) หลังตลาดรับรู้การเปลี่ยนกรอบนโยบายการควบคุมการเคลื่อนไหวของเส้นอัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลญี่ปุ่นอายุ 10 ปี (Yield Curve Control) ไปพอสมควรแล้ว ขณะที่ในระยะถัดไปยังได้แรงหนุนจากความคืบหน้าการปฏิรูปตลาดหุ้นญี่ปุ่นเน้นเรื่องธรรมาภิบาลมากขึ้นและแนวโน้มการฟื้นตัวของผลประกอบการบริษัท

นอกจากนี้ เรายังคงแนะนำทยอยสะสมหุ้นจีน A-share แนวโน้มมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจแบบเฉพาะเจาะจงในช่วงครึ่งหลังของปี และหุ้นไทย ความไม่แน่นอนทางการเมืองและนโยบายเริ่มลดลง ปรับมุมมองหุ้นเวียดนามเป็น Neutral (หลัง Valuation ปรับความตึงตัวลงและงบออกมาแย่น้อยกว่าคาด) สำหรับหุ้นจีน H-share เรายังคงมุมมองเป็น Neutral แม้ Valuation จะถูกลงค่อนข้างมาก แต่ความกังวลประเด็นหุ้นกลุ่มธนาคาร ( 18% ของมูลค่าตลาดทั้งหมด) ที่ผลประกอบการอาจถูกกระทบจากการลดอัตราดอกเบี้ยและการเข้าช่วยซื้อพันธบัตรรัฐบาลท้องถิ่น รวมถึงหุ้นกลุ่ม Tech (37% ของมูลค่าตลาดทั้งหมด) จากความเสี่ยงด้าน Tech war ที่ยังคงมีอยู่ค่อนข้างสูง

ซีพี แอ็กซ์ตร้า” ผู้นำในธุรกิจค้าส่งและค้าปลีก เตรียมเสนอขายหุ้นกู้จำนวน 4 รุ่น อายุ 1 ปี 6 เดือน ถึงอายุ 7 ปี อัตราดอกเบี้ยเบื้องต้นระหว่าง 3.00-3.95% ต่อปี โดยเสนอขายเป็นครั้งแรกให้กับประชาชนทั่วไป ผ่านสถาบันการเงินชั้นนำ 8 แห่ง และช่องทางทรู มันนี่ วอลเล็ต คาดว่าจะเสนอขายในระหว่างวันที่ 8 และ 11-12 กันยายน 2566 เผยจุดเด่นหุ้นกู้ นอกจากจะออกและเสนอขายโดยบริษัทที่เป็นผู้นำในธุรกิจค้าส่งและค้าปลีก ที่มีเป้าหมายมุ่งสู่การเป็นผู้นำในระดับภูมิภาคเอเชียแล้ว หุ้นกู้ยังได้รับการจัดอันดับความน่าเชื่อถือที่ระดับ “A+” แนวโน้ม “บวก” (Positive) จากทริสเรทติ้ง สะท้อนความแข็งแกร่งของธุรกิจและผลการดำเนินงานที่เติบโตอย่างมีศักยภาพ โดยผลประกอบการครึ่งแรกของปี 2566 บริษัทฯ มีรายได้รวมกว่า 2.41 แสนล้านบาท เพิ่มขึ้น 1.17 หมื่นล้านบาทเมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน ตอบโจทย์ความต้องการของผู้ลงทุนที่แสวงหาหุ้นกู้ที่ให้ผลตอบแทนที่น่าพอใจ มีโอกาสเติบโต ภายใต้ความเสี่ยงของหุ้นกู้เพียงระดับ 3

นางเสาวลักษณ์ ถิฐาพันธ์ ประธานคณะผู้บริหารกลุ่มธุรกิจค้าส่งแม็คโครและประธานคณะผู้บริหารกลุ่มธุรกิจสายงานบัญชีและการเงิน บริษัท ซีพี แอ็กซ์ตร้า จำกัด (มหาชน) ผู้ดำเนินธุรกิจค้าส่งภายใต้ชื่อ “แม็คโคร” (Makro) และธุรกิจค้าปลีกและธุรกิจบริหารพื้นที่เช่าในศูนย์การค้าภายใต้ชื่อ “โลตัส” (Lotus’s) เปิดเผยว่า บริษัทฯ เตรียมออกและเสนอขายหุ้นกู้ชนิดระบุชื่อผู้ถือ ประเภทไม่ด้อยสิทธิ ไม่มีประกัน และมีผู้แทนผู้ถือหุ้นกู้ จำนวน 4 ชุด ประกอบด้วย หุ้นกู้รุ่นอายุ 1 ปี 6 เดือน รุ่นอายุ 3 ปี รุ่นอายุ 5 ปี และรุ่นอายุ 7 ปี กำหนดอัตราดอกเบี้ยระหว่าง 3.00-3.95% ต่อปี ซึ่งจะแจ้งอัตราดอกเบี้ยที่แน่นอนอีกครั้ง โดยจะเสนอขายให้แก่ประชาชนเป็นการทั่วไป ผ่านสถาบันการเงินชั้นนำ 8 แห่ง ได้แก่ ธนาคารกรุงเทพ ธนาคารกรุงไทย ธนาคารกรุงศรีอยุธยา ธนาคารกสิกรไทย ธนาคารซีไอเอ็มบี ไทย ธนาคารไทยพาณิชย์ ธนาคารยูโอบี และ บล.เกียรตินาคินภัทร รวมถึงเสนอขายผ่านช่องทาง ทรูมันนี่ วอลเล็ต คาดว่าจะเสนอขายได้ในระหว่างวันที่ 8 และ 11-12 กันยายน 2566

ทั้งนี้ หุ้นกู้ดังกล่าวได้รับการจัดอันดับความน่าเชื่อถือระดับ “A+” เช่นเดียวกับอันดับความน่าเชื่อถือองค์กรที่ระดับ “A+” แนวโน้ม “บวก” (Positive) จากบริษัท ทริสเรทติ้ง จำกัด เมื่อวันที่ 5 กรกฎาคม 2566 สะท้อนสถานะของบริษัทฯ ในการเป็นบริษัทย่อยหลัก (Core Subsidiary) ของบริษัท ซีพี ออลล์ จำกัด (มหาชน) (CPALL) และการเป็นผู้นำในธุรกิจค้าส่งและค้าปลีก ด้วยความแข็งแกร่งของผลการดำเนินงานที่ฐานรายได้และกำไรเพิ่มขึ้นอย่างมาก โดยในช่วงครึ่งปีแรกของปี 2566 (มกราคม-มิถุนายน 2566) บริษัทฯ มีรายได้รวม 241,834 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 11,746 ล้านบาท เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน ซึ่งมาจากธุรกิจค้าส่งแม็คโคร 130,875 ล้านบาท และธุรกิจค้าปลีกโลตัส 110,959 ล้านบาท โดยมีกำไรสุทธิรวมทั้งสิ้น 3,682 ล้านบาท และมีกำไรสุทธิจากการดำเนินงานปกติ (Core Net Profit) ที่ไม่รวมรายการพิเศษในครึ่งแรกของปี 2566 อยู่ที่ 3,781 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 4.2% จากช่วงเดียวกันของปีก่อน

“การเติบโตในครึ่งปีแรกของปี 2566 ได้รับปัจจัยสนับสนุนจากการเดินหน้าขยายสาขาและเพิ่มประสิทธิภาพแพลตฟอร์มการขายออนไลน์ รวมถึงการผสานช่องทางการขายออนไลน์และสาขาอย่างไร้รอยต่อ พร้อมกันนี้ บริษัทฯ

ยังมีเป้าหมายในการเป็นผู้นำธุรกิจค้าปลีกและค้าส่งในระดับภูมิภาคเอเชีย รวมถึงเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันด้วยช่องทางการจำหน่ายที่หลากหลายทั้งออฟไลน์และออนไลน์ (Omni channel) ภายใต้การดำเนินธุรกิจที่ยึดหลักบรรษัทภิบาล เพื่อสร้างการเติบโตอย่างยั่งยืน ซึ่งเชื่อว่าด้วยปัจจัยทั้งหมดนี้จะทำให้หุ้นกู้ของ ซีพี แอ็กซ์ตร้า ได้รับการตอบรับที่ดีจากผู้ลงทุน และตอบโจทย์ความต้องการของผู้ลงทุนที่แสวงหาหุ้นกู้ที่ให้ผลตอบแทนที่น่าพอใจ ภายใต้ความเสี่ยงของหุ้นกู้เพียงระดับ 3 (ต่ำสุดอยู่ที่ระดับ 1 สูงสุดระดับ 8) และธุรกิจมีศักยภาพในการเติบโตสูง” นางเสาวลักษณ์กล่าว

ทั้งนี้ ธุรกิจของ บมจ.ซีพี แอ็กซ์ตร้า ในปัจจุบัน แบ่งเป็น 3 กลุ่มธุรกิจหลัก ได้แก่ ธุรกิจค้าส่ง ภายใต้ชื่อ “แม็คโคร” (Makro) ในประเทศไทยและอีกหลายประเทศในภูมิภาคเอเชีย โดยจัดจำหน่ายสินค้าอุปโภคบริโภคให้แก่ลูกค้าผู้ประกอบการมืออาชีพ ซึ่งส่วนใหญ่เป็นผู้ประกอบการขนาดเล็กและขนาดกลางในภาคอุตสาหกรรมต่าง ๆ ได้แก่ ร้านค้าปลีกรายย่อย กลุ่มผู้ประกอบการธุรกิจโรงแรม ร้านอาหาร และจัดเลี้ยง (HoReCa) ตลอดจนกลุ่มผู้ประกอบอาชีพอิสระและสถาบันต่างๆ ธุรกิจค้าปลีกและธุรกิจให้เช่าพื้นที่ศูนย์การค้าภายใต้ชื่อ “โลตัส” (Lotus’s) ในประเทศไทยและมาเลเซีย โดยบริษัทฯ มุ่งที่จะเป็นหนึ่งในผู้นำธุรกิจค้าปลีกและค้าส่งอาหารสดและสินค้าอุปโภคบริโภคในระดับภูมิภาคในเอเชีย และขยายขอบเขตการดำเนินธุรกิจให้สามารถแข่งขันได้ ด้วยช่องทางการจำหน่ายสินค้าที่หลากหลายทั้งในช่องทางออฟไลน์และออนไลน์ (Omni channel) นอกจากนี้ ยังมีเป้าหมายเพิ่มประสิทธิภาพของร้านค้า ต่อยอดธุรกิจด้วยเทคโนโลยีดิจิทัล และการปรับโฉมร้านค้าแบบไฮบริดซึ่งดึงจุดเด่นของ 2 กลุ่มธุรกิจค้าส่งค้าปลีกแบบไร้รอยต่อ เพื่อตอบสนองกับความต้องการของผู้บริโภคที่เปลี่ยนแปลงไป

นอกจากนี้ บมจ. ซีพี แอ็กซ์ตร้า ยังได้รับคัดเลือกให้ติดอันดับบริษัทด้านความยั่งยืน โดยเข้าเป็นสมาชิกของดัชนี S&P Global The Sustainability Yearbook 2023 ในกลุ่ม Food & Staples Retailing ซึ่งเป็นดัชนีชั้นนำของโลกที่ใช้วัดผลการดำเนินธุรกิจตามแนวทางการพัฒนาอย่างยั่งยืน ตอกย้ำการเป็นบริษัทที่มุ่งสร้างการเติบโตไปพร้อมกับคำนึงถึงสิ่งแวดล้อม สังคม และธรรมาภิบาล (ESG) เพื่อยกระดับคุณภาพชีวิตของผู้คนในสังคมให้ดียิ่งขึ้น นอกจากนี้ บริษัทฯ ยังได้รับการประเมินการกำกับดูแลกิจการจากสมาคมส่งเสริมสถาบันกรรมการบริษัท (IOD) ในระดับ 5 ดาวหรือ “ดีเลิศ” (Excellent CG Score) ติดต่อกันเป็นปีที่ 5 อีกด้วย

ปัจจุบัน บริษัทฯ อยู่ระหว่างการยื่นแบบแสดงรายการข้อมูลและร่างหนังสือชี้ชวนซึ่งยังไม่มีผลใช้บังคับ สำหรับผู้ลงทุนที่สนใจจองซื้อหุ้นกู้ซีพี แอ็กซ์ตร้า สามารถศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ www.sec.or.th หรือติดต่อผ่านผู้จัดการการจัดจำหน่ายหุ้นกู้ ดังต่อไปนี้

ธนาคารกรุงเทพ จำกัด (มหาชน) (ยกเว้นสาขาไมโคร) โทร. 1333 หรือจองซื้อผ่านแอปพลิเคชั่น Bualuang mBanking สำหรับผู้ลงทุนทั่วไปที่เป็นบุคคลธรรมดา

ธนาคารกสิกรไทย จำกัด (มหาชน)* โทร. 02-888-8888 กด 819 หรือจองซื้อผ่านเว็บไซต์ K-My Invest (www.kasikornbank.com/kmyinvest) สำหรับผู้ลงทุนทั่วไปที่เป็นบุคคลธรรมดา

ธนาคารกรุงศรีอยุธยา จำกัด (มหาชน) โทร. 1572 หรือจองซื้อผ่านแอปพลิเคชั่น Krungsri Mobile App (“KMA”) สำหรับผู้ลงทุนทั่วไปที่เป็นบุคคลธรรมดา

ธนาคารไทยพาณิชย์ จำกัด (มหาชน)** โทร. 02-777-6784 หรือจองซื้อผ่านแอปพลิเคชั่น SCB EASY สำหรับผู้ลงทุนทั่วไปที่เป็นบุคคลธรรมดา

ธนาคารกรุงไทย จำกัด (มหาชน) โทร. 02-111-1111 หรือจองซื้อผ่านแอปพลิเคชั่น Krungthai NEXT สำหรับผู้ลงทุนทั่วไปที่เป็นบุคคลธรรมดา

ธนาคารยูโอบี จำกัด (มหาชน) โทร. 02-285-1555

ธนาคาร ซีไอเอ็มบี ไทย จำกัด (มหาชน) โทร.02-626-7777 หรือจองซื้อผ่านแอปพลิเคชั่น CIMB Thai Digital Banking สำหรับผู้ลงทุนทั่วไปที่เป็นบุคคลธรรมดา

บริษัทหลักทรัพย์เกียรตินาคินภัทร จำกัด (มหาชน)*** โทร. 02-165-5555 หรือจองซื้อผ่านแอปพลิเคชั่น Dime! สำหรับผู้ลงทุนทั่วไปที่เป็นบุคคลธรรมดา

* ซึ่งรวมถึง บริษัทหลักทรัพย์ กสิกรไทย จำกัด (มหาชน) ในฐานะหน่วยงานขายของธนาคารกสิกรไทย จำกัด (มหาชน)

** ซึ่งรวมถึง บริษัทหลักทรัพย์ อินโนเวสท์ เอกซ์ จำกัด ในฐานะหน่วยงานขายของธนาคารไทยพาณิชย์ จำกัด (มหาชน)

***ซึ่งรวมถึงธนาคารเกียรตินาคินภัทร จำกัด (มหาชน) ในฐานะหน่วยงานขายของบริษัทหลักทรัพย์เกียรตินาคินภัทร จำกัด (มหาชน)

นอกจากนี้ ผู้ลงทุนยังสามารถจองซื้อหุ้นกู้ “ซีพี แอ็กซ์ตร้า” ผ่านแอปพลิเคชันทรูมันนี่ วอลเล็ท ได้อีกด้วย โดยสามารถดาวน์โหลดแอปฯ ทรูมันนี่ วอลเล็ท ได้ที่ App Store และ Play Store ดูรายละเอียดวิธีการสมัครแอปฯ และวิธีการจองซื้อได้ที่ www.truemoney.com หรือสอบถามเพิ่มเติม โทร. 1240 กด 6

 

สิงหา 2566

ธนาคารกรุงไทย เตรียมเสนอขายหุ้นกู้อนุพันธ์ชุดใหม่ “Krungthai UBS XRP 2.0” จ่ายผลตอบแทนอ้างอิงดัชนี UBS XRP 2.0 ที่กระจายการลงทุนใน 3 สินทรัพย์หลากหลายทั่วโลก “หุ้น-อัตราดอกเบี้ย-สินค้าโภคภัณฑ์” เปิดโอกาสสร้างผลตอบแทนในทุกสภาวะตลาด คงจุดเด่นคุ้มครองเงินต้น 100% เสนอขาย 26-28 มิถุนายนนี้

นายรวินทร์ บุญญานุสาสน์ รองกรรมการผู้จัดการใหญ่ สายงานธุรกิจตลาดเงินตลาดทุน ธนาคารกรุงไทย เปิดเผยว่า ธนาคารกรุงไทย มุ่งมั่นพัฒนาผลิตภัณฑ์และบริการที่ตอบโจทย์ผู้ลงทุนอย่างต่อเนื่อง ล่าสุด เตรียมออกและเสนอขาย หุ้นกู้อนุพันธ์ Krungthai UBS XRP 2.0 อายุ 3 ปี โดยปีที่ 1 และปีที่ 2 จ่ายผลตอบแทนคงที่ในอัตรา 0.50% ต่อปี และปีที่ 3 จ่ายผลตอบแทนอ้างอิงดัชนี UBS XRP 2.0 ที่ออกแบบโดยธนาคารยูบีเอส (UBS) ธนาคารระดับโลก เฉพาะกรณีดัชนีมีกำไร ด้วยอัตราการมีส่วนร่วม 80% เหมาะสำหรับผู้ลงทุนที่ต้องการกระจายความเสี่ยง และสร้างผลตอบแทนการลงทุนจากสินทรัพย์ต่างประเทศ ด้วยจุดเด่นของดัชนีที่มีการกระจายการลงทุนใน 3 กลุ่มสินทรัพย์ทั่วโลก คือ หุ้น อัตราดอกเบี้ย และสินค้าโภคภัณฑ์ ด้วยเงื่อนไขการคุ้มครองเงินต้น 100% จากธนาคารกรุงไทย ที่ได้รับการจัดอันดับความน่าเชื่อถือที่ AAA โดย Fitch Rating

“ปีที่ผ่านมา ผู้ลงทุนเผชิญกับความไม่แน่นอนจากปัจจัยเสี่ยงรอบด้าน ทั้งการปรับขึ้นดอกเบี้ยจากธนาคารกลางทั่วโลก ความตึงเครียดระหว่างรัสเซียและยูเครน รวมถึงความไม่แน่นอนทางการเมืองในประเทศ ธนาคารจึงพัฒนาผลิตภัณฑ์ เพื่อเป็นทางเลือกในการกระจายความเสี่ยงให้กับผู้ลงทุน เพิ่มโอกาสสร้างผลตอบแทนจากสินทรัพย์ที่หลากหลายทั่วโลก อ้างอิงดัชนีที่บริหารโดยมืออาชีพระดับโลก โดยยังคงจุดเด่นคุ้มครองเงินต้น”

ทั้งนี้ ดัชนี UBS XRP 2.0 ออกแบบกลยุทธ์การลงทุน 4 รูปแบบ คือ Carry Trend Value และ Specific ควบคุมความผันผวน ปรับพอร์ตอย่างสม่ำเสมอ มุ่งสร้างผลตอบแทนทุกสถานการณ์ โดยดัชนี UBS XRP 2.0 สามารถสร้างผลตอบแทนเป็นบวกอย่างต่อเนื่องตั้งแต่ปี 2004 แม้ในช่วงเกิดวิกฤตทางการเงิน

ธนาคารเตรียมเสนอขายหุ้นกู้อนุพันธ์ “Krungthai UBS XRP 2.0” ให้กับผู้ลงทุนสถาบันและผู้ลงทุนรายใหญ่ ลงทุนขั้นต่ำ 3 ล้านบาท เปิดจองซื้อผ่านสาขาธนาคารกรุงไทย ระหว่างวันที่ 26-28 มิถุนายน 2566 สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ ธนาคารกรุงไทยทุกสาขา หรือ อีเมล This email address is being protected from spambots. You need JavaScript enabled to view it. หรือโทร. 02-208-4673, 02-208-4691, 02-208-4817, 02-208-4831, 02-208-4840

สกิลแมน, นิว เจอร์ซี่ -- บริษัท เคนวิว อิงค์ (NYSE: KVUE) (Kenvue) ซึ่งเป็นบริษัทด้านสุขภาพส่วนบุคคลที่ใหญ่ที่สุดในโลก (เมื่อพิจารณาจากรายได้) เริ่มทำการซื้อขายในตลาดหลักทรัพย์นิวยอร์กภายใต้ชื่อย่อหลักทรัพย์ “KVUE” หลังจากการเสนอขายหุ้นต่อประชาชนทั่วไปเป็นครั้งแรก (IPO) โดยมี ธิโบต์ มองกอน ประธานเจ้าหน้าที่บริหารและกรรมการ และคณะผู้บริหารร่วมทำพิธีเปิดการซื้อขายหุ้นในวันแรก

ธิโบต์ มองกอน ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร เคนวิว กล่าวว่า “การช่วยให้ผู้บริโภคตระหนักถึงพลังวิเศษของการดูแลตัวเองในชีวิตประจำวัน คือหัวใจสำคัญที่บ่งบอกถึงตัวตนของเราและสิ่งที่เราทำอยู่ ในฐานะผู้นำระดับโลกทั้งในด้านการดูแลสุขภาพและสินค้าอุปโภคบริโภค พอร์ตโฟลิโอของผลิตภัณฑ์ซึ่งคัดสรรมาอย่างพิถีพิถันของเราอันประกอบด้วยแบรนด์ที่ผ่านการรับรองทางวิทยาศาสตร์และมีชื่อเสียงยาวนาน ต่างเป็นที่ไว้วางใจของผู้บริโภคและได้รับการแนะนำให้ใช้โดยบุคลากรด้านสุขภาพมาหลายชั่วอายุคน และวันนี้ เราพร้อมที่จะนำมุมมองใหม่ของการดูแลตัวเองมาสู่ผู้คนทั่วโลก”

ข่าวประชาสัมพันธ์นี้ไม่ใช่การเสนอขายหรือการชักชวนให้ซื้อหลักทรัพย์เหล่านี้ และจะไม่มีการขายหลักทรัพย์เหล่านี้ในรัฐหรือเขตอำนาจใด ๆ ที่การเสนอ การชักชวน หรือการขายดังกล่าว เป็นสิ่งที่ไม่รับอนุญาตตามกฎหมาย

เกี่ยวกับเคนวิว

เคนวิวคือบริษัทด้านสุขภาพสำหรับบุคคลที่ใหญ่ที่สุดในโลกเมื่อพิจารณาจากรายได้ มีประวัติความเป็นมายาวนานกว่าศตวรรษและขับเคลื่อนไปข้างหน้าด้วยวิทยาศาสตร์ โดยมีแบรนด์ที่มีชื่อเสียงเป็นที่รู้จัก ได้แก่ AVEENO®, BAND-AID®, JOHNSON’S®, LISTERINE®, NEUTROGENA®, TYLENOL® และ ZYRTEC® ซึ่งบุคลากรด้านสุขภาพต่างแนะนำให้ใช้และได้รับความไว้วางใจจากผู้บริโภคที่ใช้ผลิตภัณฑ์ของเราเพื่อช่วยให้ชีวิตประจำวันดีขึ้น ทีมบุคลากรของเราล้วนมีทัศนคติที่เปิดรับเทคโนโลยีดิจิทัล ยึดมั่นนวัตกรรมที่มีพื้นฐานมาจากข้อมูลเชิงลึกของมนุษย์ และมุ่งมั่นในทุกวันที่จะทำให้ผลิตภัณฑ์ของเราอยู่ในใจและมีอยู่ติดบ้านผู้บริโภคทุกคน ที่ Kenvue เราเชื่อว่าการดูแลตัวเองไม่เพียงส่งผลให้ผู้คนมีสุขภาพดี แต่ยังทำให้ทุกชีวิตสมบูรณ์ลงตัว

ข้อควรระวังเกี่ยวกับข้อความคาดการณ์ล่วงหน้า

ข่าวประชาสัมพันธ์ฉบับนี้ประกอบด้วย “ข้อความคาดการณ์ล่วงหน้า” ตามที่กำหนดไว้ในกฎหมายปฏิรูปการฟ้องร้องคดีหลักทรัพย์ส่วนบุคคลปี ค.ศ. 1995 ผู้อ่านควรระวังอย่าพึ่งพาข้อความคาดการณ์ล่วงหน้าเหล่านี้ ข้อความเหล่านี้ขึ้นอยู่กับการคาดการณ์ในปัจจุบันเกี่ยวกับเหตุการณ์ในอนาคต หากข้อสมมติฐานพิสูจน์ได้ว่าไม่ถูกต้อง หรือมีความเสี่ยงหรือความไม่แน่นอนที่ทราบหรือไม่ทราบเกิดขึ้นจริง ผลลัพธ์ที่แท้จริงอาจแตกต่างอย่างมากจากความคาดหวังและการคาดการณ์ของเคนวิว ความเสี่ยงและความไม่แน่นอนรวมถึงแต่ไม่จำกัดเฉพาะเพียง ความสำเร็จในเงื่อนไขตามปกติของการเสนอขายหุ้นไอพีโอ ความเสี่ยงด้านตลาดทุน และผลกระทบจากภาวะเศรษฐกิจหรืออุตสาหกรรมโดยทั่วไป สำหรับรายการและคำอธิบายเพิ่มเติมเกี่ยวกับความเสี่ยง ความไม่แน่นอน และปัจจัยอื่นๆ ที่ส่งผลกระทบต่อธุรกิจของเคนวิว โปรดดูเอกสารที่ยื่นต่อสำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ แถลงการณ์เชิงคาดการณ์ล่วงหน้าใด ๆ ที่ระบุในข่าวประชาสัมพันธ์นี้กล่าวถึง ณ วันที่ของข่าวประชาสัมพันธ์นี้เท่านั้น เคนวิวไม่ดำเนินการปรับปรุงข้อความคาดการณ์ล่วงหน้าอันเป็นผลมาจากข้อมูลใหม่หรือเหตุการณ์ หรือการเปลี่ยนแปลงในอนาคต

Q2/66 หุ้นเทคโนโลยีขนาดใหญ่ NASDAQ เป็นโอกาสของการลงทุน หลังผลประกอบการออกมาดีกว่าคาด บวกกระแสลงทุนเอไอหนุน อีกทั้งนโยบายของ FED ที่เริ่มเข้าสู่ภาวะผ่อนคลายและยังได้รับผลกระทบจากเศรษฐกิจถดถอยน้อย ขณะที่หุ้นเทคโนโลยีขนาดกลางในตลาดหุ้นจีน มีความน่าสนใจระยะยาวจากนโยบายกีดกันเทคโนโลยีจีนของสหรัฐฯ ส่วนตลาดหุ้นไทยแนะรอจังหวะความชัดเจนทางการเมือง จับตาเสถียรภาพของรัฐบาลใหม่ ชี้ชะตาหุ้นไทยเกิดกระแส Election Rally

นายณพวีร์ พุกกะมาน นักลงทุนและผู้ก่อตั้ง Creative Investment Space (CIS) สถาบันให้ความรู้ด้านนวัตกรรมการลงทุนรูปแบบใหม่ เปิดเผยว่า ผลการประชุมธนาคารกลางสหรัฐอเมริกา (FED) ในสัปดาห์ที่ผ่านมา มีมติขึ้นดอกเบี้ย 0.25% ตามที่ตลาดคาดไว้ และประธาน FED ออกมาแถลงการณ์ว่าอาจจะเป็นการขึ้นดอกเบี้ยครั้งสุดท้ายของปีนี้ แต่ยังคงเป้าหมายการปรับลดอัตราเงินเฟ้อที่ระดับ 2% โดยผลที่ออกมาถือว่าไม่มีอะไรที่ส่งผลต่อตลาดอย่างมีนัยสำคัญ

อย่างไรก็ดี ตลาดได้รับปัจจัยบวกจากการประกาศตัวเลขการจ้างงานนอกภาคการเกษตรของสหรัฐฯ (Non-Farm Payrolls) ในคืนวันศุกร์ที่ผ่านมา และอัตราการว่างงานประจำเดือน ต่างออกมาในมุมที่ดีต่อเศรษฐกิจ โดย Non-Farm Payroll ออกมาสูงกว่าที่คาดไว้ค่อนข้างมาก ที่ระดับ 253,000 ตำแหน่ง จากที่คาดไว้ 180,000 ตำแหน่ง และอัตราว่างงานอยู่ที่ 3.4% น้อยกว่าที่ตลาดคาด

ขณะที่ Dollar Index กลับไม่ได้แข็งค่าขึ้นมากนัก บ่งบอกว่าตลาดได้มองข้ามตัวเลขดังกล่าวไปพอสมควร และให้ความสำคัญกับการประกาศตัวเลขเงินเฟ้อ (CPI Index) ในวันพุธนี้ (10 พ.ค.66) โดยตลาดคาดว่าจะทรงตัวในระดับ 5% จากเดือนก่อน

“หากตัวเลข CPI Index ออกมาต่ำกว่าที่คาดจะส่งผลดีต่อตลาด เพราะจะเป็นการเพิ่มโอกาสที่ FED จะคงดอกเบี้ย หรือ ลดดอกเบี้ย ในปีนี้ แต่ถ้าออกมาเพิ่มขึ้นจะสร้างแรงกดดันต่อตลาดที่ FED อาจต้องกลับลำมาเพิ่มดอกเบี้ยอีกครั้ง”

ทั้งนี้ สินทรัพย์ที่มีความน่าสนใจเพิ่มขึ้นในช่วงที่ผ่านมา คือ หุ้นกลุ่มเทคโนโลยีในตลาด NASDAQ โดยหลังการประกาศงบการเงินไตรมาสแรกของหุ้นเทคโนโลยีขนาดใหญ่ ทั้ง APPLE, MICROSOFT, ALPHABET และ META ต่างมีผลประกอบการออกมาดีกว่าที่ตลาดคาดไว้ทั้งหมด โดยเฉพาะ APPLE ที่เป็นผู้นำตลาด

สาเหตุหลักนอกเหนือจากยอดขายที่เพิ่มขึ้นแล้ว ต้นทุนดำเนินการยังลดลงหลังจากบริษัทเทคโนโลยีกลุ่มนี้ต่างปรับลดพนักงานไปรวมกว่าหมื่นตำแหน่งในช่วงปลายปีที่แล้วและต่อเนื่องจนถึงต้นปีนี้ ประกอบกับผลกำไรในปี 2565 เริ่มกลับมาเข้าสู่ภาวะปกติจากการแพร่ระบาดของไวรัสโควิดยุติลง

ที่สำคัญหุ้นเทคโนโลยีขนาดใหญ่กำลังเร่งลงทุนในโปรดักต์เกี่ยวกับปัญญาประดิษฐ์ หรือ เอไอ (AI) โดยเฉพาะ MICROSOFT, ALPHABET และล่าสุด META จึงน่าจะเป็นปัจจัยที่ผลักดันความน่าสนใจของนักลงทุนได้พอสมควร และกระแสน่าจะอยู่ไปตลอดทั้งปีนี้

นายณพวีร์ กล่าวว่า ด้วยเหตุผลทั้งด้านงบการเงิน บวกกับปัจจัยบวกใหม่ และทิศทางนโยบายของ FED ที่เริ่มผ่อนคลายทางการเงิน ทำให้หุ้นในดัชนี NASDAQ มีความน่าสนใจอย่างยิ่ง โดยเฉพาะกลุ่มหุ้นขนาดใหญ่ (Big Cap) ที่ได้รับผลกระทบจากสถาวะเศรษฐกิจถดถอย (Recession) ในวงจำกัด เนื่องจากมีธุรกิจกระจายทั่วโลก ต่างจากหุ้นแบบดั้งเดิมที่อยู่ใน S&P500 ซึ่งอาจได้รับผลกระทบจากเศรษฐกิจสหรัฐฯ ที่อาจจะถดถอย

“ตั้งแต่ต้นปี 2566 ที่ผ่านมา ดัชนี NASDAQ ปรับตัวขึ้นมาแล้ว 21.2% เป็นดัชนีที่โดดเด่นที่สุดของโลก ขณะที่ดัชนี S&P500 สร้างผลตอบแทน 7.73% และดัชนี Dow Jones สร้างผลตอบแทน 1.59% แสดงให้เห็นว่าตลาดให้ความสำคัญกับหุ้นเทคโนโลยีมากกว่าหุ้นแบบดั้งเดิม ขณะที่กราฟเทคนิคดัชนี NASDAQ แนวโน้มกำลังเป็นขาขึ้น มีแนวต้านที่ 13,700 จุด และแนวรับ 12,800 จุด ถือเป็นสินทรัพย์ทางเลือกที่น่าสนใจในไตรมาสสองและต่อเนื่องถึงไตรมาสสาม”

นอกจากนั้น อีกสินทรัพย์ที่น่าสนใจ คือ หุ้นเทคโนโลยีจีน ในดัชนี STAR 50 Index ซึ่งจะเป็นหุ้นขนาดกลางและขนาดเล็ก โดยส่วนใหญ่จะดำเนินธุรกิจผลิตเซมิคอนดัคเตอร์ ซึ่งจะได้ประโยชน์จากนโยบาย CHIPS for America Act ที่จำกัดการสั่งซื้อเซมิคอนดักเตอร์จากจีน ทำให้มีโอกาสสูงที่บริษัทเทคโนโลยีขนาดใหญ่ของจีนจะสั่งซื้ออุปกรณ์จากบริษัทขนาดกลางในประเทศแทน อีกทั้งรัฐบาลจีนยังให้การสนับสนุนอีกด้วย

ทางด้านกลยุทธ์การลงทุน สามารถมองเป็นการลงทุนระยะกลางถึงยาวได้ โดยนักลงทุนสามารถลงทุนผ่านกองทุน ETF KraneShares SSE STAR Market 50 Index (ETF KSTR) เป็นเกณฑ์มาตรฐาน (Benchmark) หรือ ลงทุนผ่านกองทุนรวมของไทยที่มีนโยบายลงทุนในดัชนี STAR50 ของจีน ได้เช่นกัน

สำหรับ ทิศทางตลาดหุ้นไทย (SET Index) มีประเด็นที่ต้องจับตา คือ เสถียรภาพของว่าที่รัฐบาลใหม่ หลังการเลือกตั้ง ถ้าหากไม่มีฝั่งที่ชนะอย่างชัดเจนจนทำให้เกิดรัฐบาลเสียงข้างน้อย ตลาดหุ้นอาจจะตอบสนองในเชิงลบ เพราะธรรมชาติของตลาดหุ้นไทยชอบความชัดเจน และต้องการรัฐบาลที่มีเสถียรภาพ

“ถึงแม้ว่าสัปดาห์นี้ SET Index เริ่มต้นได้ดี แต่ยังมีความเสี่ยงมาก การลงทุนแนะนำว่ารอดูความชัดเจนของการจัดตั้งรัฐบาลใหม่ หลังวันที่ 14 พ.ค.66 โดยมองแนวรับสำคัญอยู่ที่ระดับ 1,500 จุด ถ้าหากหลุดจากระดับนี้ ดัชนีมีโอกาสจะเป็นขาลงในระยะยาว แต่ถ้ามีแนวโน้มสูงที่จะได้รัฐบาลใหม่ที่มีเสถียรภาพ น่าจะได้เห็น Election Rally เหมือนที่เคยเกิดขึ้นในอดีต”

Page 7 of 9
X

Right Click

No right click