September 19, 2024

กระทรวงดีอี และ ดีป้า จัดกิจกรรม ‘Ignite Digital Thailand’ ภายใต้โครงการ DIGINEXT by SEED THAILAND พร้อมรับข้อเสนอแนะจากผู้ประกอบการดิจิทัลและผู้บริหารแต่ละภาคส่วนที่ร่วมหารือ ทั้งแนวทางการขับเคลื่อนระบบนิเวศดิจิทัลสตาร์ทอัพ อีคอมเมิร์ซ การพัฒนากำลังคน และการนำเทคโนโลยี AI มาประยุกต์ใช้ ก่อนนำข้อมูลมาตกผลึกและทำงานร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เพื่อยกระดับภาคส่วนต่าง ๆ ให้มีประสิทธิภาพ และเป็นกำลังสำคัญในการช่วยขับเคลื่อนเศรษฐกิจและสังคมดิจิทัลของประเทศ

 

นายประเสริฐ จันทรรวงทอง รัฐมนตรีว่าการกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม (กระทรวงดีอี) เป็นประธานในกิจกรรม ‘Ignite Digital Thailand’ ภายใต้โครงการ DIGINEXT by SEED THAILAND ที่ดำเนินการโดย สำนักงานส่งเสริมเศรษฐกิจดิจิทัล หรือ ดีป้า โดยมี ผศ.ดร.ณัฐพล นิมมานพัชรินทร์ ผู้อำนวยการใหญ่ นายฉัตรชัย คุณปิติลักษณ์ รองผู้อำนวยการใหญ่ และ ดร.ชินาวุธ ชินาวุธ ผู้ช่วยอำนวยการใหญ่ พร้อมด้วย นายธนวิชญ์ ต้นกันยา นายกสมาคมการค้าสตาร์ทอัพไทย นายธนพงษ์ ณ ระนอง นายกสมาคมไทยผู้ประกอบธุรกิจเงินร่วมลงทุน นางสาวกุลธิรัตน์ ภควัชร์ไกรเลิศ นายกสมาคมผู้ประกอบการพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ไทย นางสาวกุลนันท์ พันธุ์นุกูล MD & COO บริษัท เอ็ดไวซอรี่ จำกัด (EdVISORY) และ ดร.ณรงค์ บริจินดากุล ผู้แทนสมาคมผู้ประกอบการปัญญาประดิษฐ์ประเทศไทย รวมถึงกลุ่มดิจิทัลสตาร์ทอัพ และผู้ประกอบการรุ่นใหม่ร่วมพบปะหารือในประเด็นต่าง ๆ ณ Gaysorn Urban Resort เกษรทาวเวอร์

ในเรื่องของการยกระดับระบบนิเวศดิจิทัลสตาร์ทอัพ นายธนวิชญ์ เสนอให้ภาครัฐส่งเสริมการจัดตั้ง Hub for International Accelerators ในประเทศไทย เพื่อเป็นชุมชน (Startup Community) ที่จะช่วยสร้างความเข้มแข็งให้กับดิจิทัลสสตาร์ทอัพ และผลักดันดิจิทัลสตาร์ทอัพไทยที่มีความพร้อมให้สามารถขยายตลาดสู่ต่างประเทศ นอกจากนี้ยังเรียกร้องให้มีการพิจารณาปรับเงื่อนไขการขอรับทุนสนับสนุนจากหน่วยงานรัฐเพื่อเพิ่มโอกาสการเข้าถึงแหล่งทุนแก่ดิจิทัลสตาร์ทอัพ รวมถึงพัฒนากลไกช่วยลดความเสี่ยงในการลงทุนของ Angel Investor ขณะที่ นายธนพงษ์ เสนอให้ภาครัฐเร่งพัฒนาระบบนิเวศดิจิทัลสตาร์ทอัพทั้งระบบ พร้อมแนะว่า การให้เงินทุนสนับสนุนแก่ดิจิทัลสตาร์ทอัพจากหน่วยงานภาครัฐควรเป็นไปอย่างต่อเนื่อง และมีความเหมาะสมกับช่วงระยะการเติบโตของสตาร์ทอัพรายนั้น ๆ

 

ด้านการส่งเสริมอุตสาหกรรมอีคอมเมิร์ซไทย นางสาวกุลธิรัตน์ กล่าวว่า ภาครัฐควรให้ความสำคัญกับการยกระดับระบบนิเวศเศรษฐกิจดิจิทัล เพื่อส่งเสริมให้ผู้ประกอบการอีคอมเมิร์ซไทยเติบโต และสามารถขยายตลาดสู่ต่างประเทศได้ ขณะเดียวกันต้องให้การส่งเสริมการพัฒนาทักษะดิจิทัลแห่งอนาคตที่เกี่ยวข้องแก่กลุ่ม Mid-career ขณะที่ นางสาวกุลนันท์ เสนอว่า กระทรวงดีอี ต้องให้ความสำคัญกับการพัฒนากำลังคนดิจิทัลเพื่อเตรียมความพร้อมแรงงานให้มีความสามารถในการแข่งขันท่ามกลางสภาพแวดล้อมดิจิทัลที่เปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว นอกจากนี้ควรปรับปรุงหลักสูตรให้สอดคล้องกับความต้องการของภาคอุตสาหกรรม และเสนอให้มีการจัดตั้งศูนย์ให้คำปรึกษาเพื่อการเติบโตในมิติต่าง ๆ ในรูปแบบ One Stop Service รองรับดิจิทัลสตาร์ทอัพ ขณะที่ ดร.ณรงค์

เสนอว่า ภาครัฐและภาคเอกชนควรบูรณาการการทำงานเพื่อส่งเสริมให้เกิดการพัฒนาเทคโนโลยีปัญญาประดิษฐ์ (AI) พร้อมกันนี้ยังเสนอให้เกิด Open Source แบ่งปันความรู้และข้อมูลระหว่างนักพัฒนาภายในประเทศ เพื่อนำไปสู่การพัฒนาอย่างก้าวกระโดดและยั่งยืนต่อไป

นายประเสริฐ กล่าวว่า จากการหารือในครั้งนี้ กระทรวงดีอี ได้รับทราบมุมมอง ปัญหา และอุปสรรคต่าง ๆ พร้อมแลกเปลี่ยนแนวคิด ข้อเสนอแนะ และความคิดเห็นจากผู้บริหารทุกท่านที่เป็นตัวแทนของแต่ละภาคส่วน ซึ่ง กระทรวงดีอี และ ดีป้า จะนำข้อมูลที่ได้รับจากการหารือมาตกผลึกและทำงานร่วมกับหน่วยงานต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้อง เพื่อยกระดับภาคส่วนต่าง ๆ ให้มีประสิทธิภาพ และเป็นกำลังสำคัญในการช่วยขับเคลื่อนเศรษฐกิจและสังคมดิจิทัลของประเทศต่อไป

สำหรับ DIGINEXT by SEED THAILAND เป็นส่วนหนึ่งของการขยายผลการดำเนินโครงการพัฒนาเมล็ดพันธุ์นักรบดิจิทัลรุ่นใหม่ (SEED THAILAND) โดยนำคนรุ่นใหม่ที่ได้รับการยกระดับทักษะดิจิทัลแล้วมาพูดคุยกับบุคคลสำคัญที่มีบทบาทในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจดิจิทัลของประเทศ และผู้ประกอบการดิจิทัลตัวจริงอย่างใกล้ชิด โดยมีการดำเนินกิจกรรมใน 5 ภูมิภาคทั่วประเทศ ระหว่างเดือนกรกฎาคม - สิงหาคม รวมผู้เชี่ยวชาญชั้นนำของประเทศและผู้ประกอบการดิจิทัลไทยร่วมแลกเปลี่ยนแนวคิดกว่า 400 ราย นักเรียนนักศึกษา กลุ่มคนรุ่นใหม่ร่วมกิจกรรมกว่า 150 คน ซึ่งผู้สนใจสามารถติดตามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ Facebook Page: depa Thailand

กระทรวงดีอี และ ดีป้า จัดงาน The Success Story: Smart School Bus ยกระดับผลิตภัณฑ์ - บริการดิจิทัลสัญชาติไทย ด้วยมาตรฐาน dSURE ชูโครงการ Smart School Bus รถโรงเรียนรุ่นใหม่เด็กปลอดภัย เป็นต้นแบบของการขับเคลื่อนกลไกการยกระดับผลิตภัณฑ์-บริการดิจิทัลที่พัฒนาโดยผู้ประกอบการไทย ก่อนกระตุ้นให้เกิดการประยุกต์ใช้ดิจิทัลตอบโจทย์ความต้องการของผู้ใช้งานอย่างตรงจุด พร้อมเปิด depa Tech Showcase พื้นที่จัดแสดงผลิตภัณฑ์และบริการดิจิทัลจากผู้ประกอบการไทยบนพื้นที่ SCB NEXT TECH ชั้น 4 ศูนย์การค้าสยามพารากอน

นายสุทธิเกียรติ วีระกิจพานิช ที่ปรึกษารัฐมนตรีว่าการกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม (ดีอี) เป็นประธานเปิดงาน The Success Story: Smart School Bus ยกระดับผลิตภัณฑ์ - บริการดิจิทัลสัญชาติไทย ด้วยมาตรฐาน dSURE โดยมี ผศ.ดร.ณัฐพล นิมมานพัชรินทร์ ผู้อำนวยการใหญ่ สำนักงานส่งเสริมเศรษฐกิจดิจิทัล หรือ ดีป้า ผู้แทนจากหน่วยงานภาครัฐ ภาคเอกชน และสถาบันการศึกษาร่วมภายในงานโดยพร้อมเพรียง ณ พารากอนซินีเพล็กซ์ โรงภาพยนตร์ที่ 13 ชั้น 5 ศูนย์การค้าสยามพารากอน

นายสุทธิเกียรติ กล่าวในปาฐกถาพิเศษหัวข้อ ‘กลไกกระตุ้นเศรษฐกิจดิจิทัล’ ว่า รัฐบาลเล็งเห็นความสำคัญของการขับเคลื่อนเศรษฐกิจและสังคมดิจิทัลของประเทศด้วยเทคโนโลยีและนวัตกรรมดิจิทัล โดยที่ผ่านมา กระทรวงดีอี โดย ดีป้า มุ่งยกระดับคุณภาพชีวิตประชาชนไทยทุกกลุ่มและทุกช่วงวัย โดยเฉพาะกลุ่มเด็กและเยาวชน ซึ่งถือเป็นกำลังสำคัญในการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมของประเทศในอนาคต

โครงการ Smart School Bus รถโรงเรียนรุ่นใหม่เด็กปลอดภัย ที่ดำเนินการโดย ดีป้า จึงถือเป็นโครงการต้นแบบของการนำเทคโนโลยีดิจิทัลที่ได้มาตรฐาน dSURE มาประยุกต์ใช้ยกระดับด้านความปลอดภัยให้กับรถรับ-ส่งนักเรียน ลดความสูญเสียจากเหตุการณ์เด็กถูกลืม ถูกทิ้งให้อยู่ในรถตามลำพัง ซึ่งเทคโนโลยีดิจิทัลที่ถูกนำมาใช้ในโครงการได้รับการขึ้นทะเบียนบัญชีบริการดิจิทัลของ ดีป้า จึงช่วยช่วยคลายความกังวล และสร้างความเชื่อมั่นให้กับพ่อแม่ ผู้ปกครอง และโรงเรียนที่เข้าร่วมโครงการที่ปรึกษารัฐมนตรีว่าการกระทรวงดีอี กล่าว

ด้าน ผศ.ดร.ณัฐพล กล่าวว่า เทคโนโลยีที่นำมาประยุกต์ใช้ในโครงการ Smart School Bus รถโรงเรียนรุ่นใหม่เด็กปลอดภัยนั้น ประกอบด้วย เซ็นเซอร์ที่มีหน้าที่แตกต่างกัน เช่น เซ็นเซอร์การตรวจตำแหน่งของรถ (GPS), เซ็นเซอร์การตรวจสอบความเคลื่อนไหว เซ็นเซอร์การตรวจจับอุณหภูมิ และ อุปกรณ์ส่งสัญญาณสื่อสาร 4G เป็นต้น รวมถึงการพัฒนาโซลูชันเพื่อแสดงข้อมูลที่เกี่ยวข้องอย่างเรียลไทม์ผ่านอุปกรณ์อัจฉริยะ ซึ่งทั้ง Hardware และ Software ที่ใช้ในโครงการนี้ ล้วนพัฒนาโดยผู้ประกอบการดิจิทัลไทย ที่ผ่านการคัดกรองมาตรฐานได้รับตราสัญลักษณ์ dSURE และ
ขึ้นทะเบียนบัญชีบริการดิจิทัล

บัญชีบริการดิจิทัล คือหนึ่งในกลไกยกระดับเศรษฐกิจดิจิทัลไทยที่มีการรวบรวมสินค้าและบริการดิจิทัลจากดิจิทัลสตาร์ทอัพและผู้ให้บริการดิจิทัลสัญชาติไทย เป็นตัวช่วยในการคัดกรองผลิตภัณฑ์และบริการดิจิทัลที่มีคุณสมบัติครบถ้วนและเป็นไปตามข้อกำหนดตามมาตรฐาน dSURE (ดีชัวร์) หรือ Digital Sure ที่ ดีป้า กำหนดขึ้นสำหรับซอฟต์แวร์และฮาร์ดแวร์ที่ผ่านการรับรองมาตรฐาน อาทิ มาตรฐานด้านความปลอดภัยในการใช้งาน และมาตรฐานด้านความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์ มั่นใจข้อมูลถูกจัดเก็บในประเทศ ไม่รั่วไหล อีกทั้งมีการระบุราคาที่ชัดเจน เชื่อถือได้ และเป็นไปตามข้อกำหนดของกรมบัญชีกลาง นอกจากนี้ยังอำนวยความสะดวกแก่ผู้ประกอบการ รวมถึงประชาชนทั่วไปที่กำลังมองหาผลิตภัณฑ์หรือบริการดิจิทัล อีกทั้งสามารถนำค่าใช้จ่ายมาลดหย่อนภาษีได้สูงสุด 200%” ผู้อำนวยการใหญ่ ดีป้า กล่าว

ผศ.ดร.ณัฐพล ระบุว่า ปัจจุบันมีอุปกรณ์ที่ได้รับการรับรองมาตรฐาน dSURE แล้ว 10 อุปกรณ์ และมีอุปกรณ์ที่รอขึ้นทะเบียนอยู่เป็นจำนวนมาก ขณะเดียวกันมีผู้ประกอบการนำผลิตภัณฑ์และบริการของตนเองมาขึ้นทะเบียนบัญชีบริการดิจิทัลแล้วกว่า 400 รายการ

นอกจากนี้ ภายในงานยังมีการบรรยายในหัวข้อ มาตรฐานยกระดับผลิตภัณฑ์และบริการดิจิทัล “dSURE” โดย ดร.ศุภกร สิทธิไชย ผู้ช่วยผู้อำนวยการใหญ่อาวุโส ด้านโครงการพิเศษและศูนย์พัฒนาดิจิทัลและนวัตกรรมดีป้า และเสวนาในหัวข้อ ยกระดับคุณภาพชีวิตคนไทยด้วยเทคโนโลยี โดย นายจุลนภ ศานติพงศ์ ผู้อำนวยการฝ่ายส่งเสริมและสนับสนุนการพัฒนาอุตสาหกรรมและธุรกิจ ดีป้า นางสาวทักษพร รักอยู่ ผู้เชี่ยวชาญเฉพาะด้านพัฒนาระบบงานพัสดุ กรมบัญชีกลาง นายคงพันธ์ ฉมารัตน์ ประธานกรรมการบริหาร บริษัท อาร์ติคูลัส จำกัด นายอมฤต ฟรานเซน CBDO และ Co-Founder บริษัท แอพแมน จำกัด และ นายนิธิกร บุญยกุลเจริญ Product Manager บริษัท เมตามีเดีย เทคโนโลยี จำกัด

นอกจากนี้ ดีป้า ยังได้รับความอนุเคราะห์จาก กลุ่มบริษัท สยามพิวรรธน์ เปิดพื้นที่จัดแสดงผลิตภัณฑ์และบริการดิจิทัลจากผู้ประกอบการไทยในชื่อ depa Tech Showcase ณ SCB NEXT TECH ชั้น 4 ศูนย์การค้าสยามพารากอน เพื่อให้ประชาชนสามารถเลือกซื้อผลิตภัณฑ์หรือบริการดิจิทัลที่ได้มาตรฐาน เชื่อถือได้ ขณะเดียวกันยังเป็นพื้นที่ให้คำปรึกษาด้านการประยุกต์ใช้เทคโนโลยีดิจิทัลแก่ทุกภาคส่วน

สำหรับผู้ประกอบไทยที่สนใจนำผลิตภัณฑ์หรือบริการด้านซอฟต์แวร์หรือแพลตฟอร์มมาขึ้นทะเบียนบัญชีบริการดิจิทัล หรือหน่วยงานที่สนใจจัดซื้อบริการที่ได้รับการขึ้นทะเบียนบัญชีบริการดิจิทัล สามารถติดตามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ http://www.depa.or.th/th/thailanddigitalcatalog หรือติดตามข่าวสารกิจกรรมหรือโครงการต่าง ๆ ได้ทาง www.depa.or.th, Facebook Page: depa Thailand และ LINE OA: @depaThailand

ดีป้า ประกาศเปิดตัว d-station สาขาแรกของประเทศไทย ใจกลางทำเลแห่งศักยภาพ สานฝันผู้ประกอบการรุ่นใหม่ในพื้นที่ตั้งต้นธุรกิจ ผลักดันระบบนิเวศดิจิทัลในท้องถิ่น ชูบริการหลัก BKT Digital Solution เครื่องมือยกระดับธุรกิจสำหรับ SMEs และวิสาหกิจชุมชนที่ผ่านการขึ้นบนทะเบียนบัญชีบริการดิจิทัล เสริมด้วยบริการที่พัก และพื้นที่รองรับการสร้างชุมชนดิจิทัล บริหารธุรกิจโดย บนกองเงินกองทอง

ผศ.ดร.ณัฐพล นิมมานพัชรินทร์ ผู้อำนวยการใหญ่ สำนักงานส่งเสริมเศรษฐกิจดิจิทัล หรือ ดีป้า เปิดเผยว่า ดีป้า ได้พัฒนากลไก d-station ขึ้น เพื่อส่งเสริมและสนับสนุนให้กลุ่มผู้ประกอบการรุ่นใหม่ (Digi-Preneur) สามารถเติมเต็มศักยภาพในการพัฒนาผลิตภัณฑ์หรือบริการดิจิทัลสัญชาติไทย และสร้างโอกาสการเข้าถึงตลาดได้มากขึ้น พร้อมกันนี้ยังเป็นการกระตุ้นให้เกิดการประยุกต์ใช้เทคโนโลยีดิจิทัลในระดับท้องถิ่น ซึ่ง d-station เป็นส่วนหนึ่งของเครื่องมือส่งเสริมและสนับสนุนภายใต้มาตรการช่วยเหลือหรือการอุดหนุนเพื่อการเริ่มต้นธุรกิจอุตสาหกรรมดิจิทัลในบริษัทหมวดผู้ประกอบการให้บริการเทคโนโลยีและนวัตกรรมดิจิทัลชุมชน (Digi-preneur)

d-station จะเป็นผู้ช่วยให้คำแนะนำ เป็นที่ปรึกษา ถ่ายทอดองค์ความรู้ด้านดิจิทัล และจัดจำหน่ายผลิตภัณฑ์/บริการของเครือข่ายดิจิทัลสตาร์ทอัพที่เหมาะสมกับบริบทของผู้ใช้งานแต่ละกลุ่ม ไม่ว่าจะเป็น ผู้ประกอบการ SMEs ผู้ประกอบการรายย่อย พ่อค้าแม่ค้า หาบเร่ แผงลอย รวมถึงเกษตรกร ชุมชนในชนบท และวิสาหกิจชุมชน ซึ่งนอกจากจะช่วยส่งเสริมศักยภาพ Digi-preneur ที่จะเป็นกำลังสำคัญในการยกระดับคุณภาพชีวิตประชาชนและธุรกิจท้องถิ่นแล้ว d-station ยังเป็นส่วนช่วยให้เกิดการขับเคลื่อนการพัฒนาเมืองอัจฉริยะระดับพื้นที่ด้วยเทคโนโลยี/บริการดิจิทัล นอกจากนี้ยังเป็นการขยายช่องทางการจัดจำหน่ายให้กับดิจิทัลสตาร์ทอัพและผู้ให้บริการดิจิทัลสัญชาติไทย อีกทั้งเป็นการเพิ่มโอกาสการเข้าถึงเทคโนโลยีดิจิทัลแก่ผู้ใช้งานระดับท้องถิ่น เพื่อนำไปประยุกต์ใช้ยกระดับประสิทธิภาพการผลิต นำไปสู่การเพิ่มมูลค่าให้กับสินค้า เปลี่ยนผ่านธุรกิจสู่ยุคดิจิทัล ซึ่งถือเป็นอีกหนึ่งกลไกสำคัญในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจและสังคมดิจิทัลของประเทศอีกทางหนึ่งผู้อำนวยการใหญ่ ดีป้า กล่าว

สำหรับ d-station สาขาแรกของประเทศตั้งอยู่ใจกลางอำเภอเมืองของจังหวัดระยอง มีดิจิทัลสตาร์ทอัพในพื้นที่อย่าง บริษัท บนกองเงินกองทอง จำกัด เป็นผู้บริหารธุรกิจ โดย นายอภิวัฒน์ หวังมีชัย ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท บนกองเงินกองทอง จำกัด กล่าวว่า แนวทางการบริหารกิจการ d-station สาขาจังหวัดระยองมี BKT Digital Solution เป็นแนวคิดหลักในการบริหารจัดการ โดยธุรกิจหลักของ d-station แห่งนี้คือ การให้บริการด้าน Software Digital Solution และเป็นผู้แทนจำหน่ายเครื่องมือโปรแกรมดิจิทัลสำหรับธุรกิจ SMEs ที่เชื่อถือได้ เนื่องจากทุกผลิตภัณฑ์และบริการดิจิทัลที่จำหน่ายใน d-station แห่งนี้ผ่านการขึ้นทะเบียนบัญชีบริการดิจิทัล ซึ่งเชื่อมั่นว่าตรงปก ไม่ถูกหลอก และอยู่ในระดับราคาที่เหมาะสม นอกจากนี้ยังมีการเติมเติมด้วยธุรกิจเสริมเพื่อสร้างชุมชนดิจิทัลด้วยการให้บริการพื้นที่สำหรับจัดประชุม สัมมนา เป็นพื้นที่ให้คำปรึกษาทางธุรกิจ เชื่อมโยงกิจการและนักบัญชีที่เข้าใจนักธุรกิจ (Matching Accountant Service) รวมถึงพื้นที่ให้บริการที่พักสำหรับนักธุรกิจ

ทั้งนี้ ดีป้า ตั้งเป้าที่จะขยายจำนวน d-station ให้ครอบคลุมในทุกภูมิภาคทั่วประเทศ ซึ่งในระยะเริ่มต้นตั้งเป้าดำเนินการใน 5 จังหวัด ประกอบด้วยจังหวัดนครราชสีมา บุรีรัมย์ นครสวรรค์ ประจวบคีรีขันธ์ และระยอง ที่เปิดให้บริการอย่างเป็นทางการแล้วเมื่อวันจันทร์ที่ 19 สิงหาคมที่ผ่านมา ซึ่งมีพิธีเปิดสาขาอย่างเป็นทางการ โดยมีดร.ปรีสาร รักวาทิน ผู้ช่วยผู้อำนวยการใหญ่ ดีป้า เป็นประธาน พร้อมด้วย นายอภิวัฒน์ ในฐานะผู้บริหารโครงการ d-station ในพื้นที่จังหวัดระยองพร้อมทีมงานร่วมในพิธีดังกล่าว

ทั้งนี้ ดีป้า ยังมีโครงการดี ๆ อย่าง CONNEXION ที่มุ่งยกระดับองค์ความรู้ พัฒนาชุดทักษะใหม่ด้านดิจิทัลแก่คนไทย โดยเฉพาะผู้ว่างงานและนักศึกษาจบใหม่ที่กำลังหางานให้มีความพร้อมต่อการประกอบอาชีพใหม่ในยุคดิจิทัล และมีความสำคัญต่ออุตสาหกรรมอีคอมเมิร์ซไทยอย่าง คอนเทนต์ครีเอเตอร์และอินฟลูเอนเซอร์ หรือจะ ประกอบอาชีพอื่น ๆ ในสายอย่าง ออแกไนเซอร์ นักออกแบบ นักพากย์ นักเล่าเรื่อง เป็นต้น

และอีกหนึ่งโครงการกับ เปิดเมือง เปิดท่องเที่ยวไทยด้วยดิจิทัล กับการพัฒนา ThailandCONNEX เพื่อเป็น แพลตฟอร์มกลางที่ทำหน้าที่เป็นตัวกลางรูปแบบ Business to Business (B2B) ในลักษณะ Wholesales สำหรับ ผู้ประกอบการในอุตสาหกรรมท่องเที่ยวไทยให้สามารถเข้าถึง นำเสนอสินค้าและบริการสู่ผู้ให้บริการท่องเที่ยว (Online Travel Agents : OTAs) ทั้งในประเทศและต่างประเทศทั่วโลก อีกทั้งช่วยเพิ่มขีดความสามารถทางการแข่งขันและ เพิ่มโอกาสการเข้าถึงนักท่องเที่ยวทั่วโลกให้กับผู้ประกอบการในภาคอุตสาหกรรม ลดการพึ่งพาแพลตฟอร์มต่างชาติ และสร้างมูลค่าเพิ่มให้กับอุตสาหกรรมท่องเที่ยวไทย ซึ่งที่ผ่านมาโครงการดังกล่าวประสบความสำเร็จตามเป้าหมาย โดยมีผู้ประกอบการในภาคอุตสาหกรรมท่องเที่ยว อาทิ กลุ่มธุรกิจที่พัก ร้านอาหาร และธุรกิจบริการเช่ายานพาหนะเข้าร่วมแพลตฟอร์ม ThailandCONNEX กว่า 1 แสนราย มีสินค้าและบริการด้านการท่องเที่ยวกว่า 2 แสนรายการ สร้างมูลค่าทางเศรษฐกิจไม่ต่ำกว่า 12,000 ล้านบาท

กระทรวงดีอี และ ดีป้า ร่วมพูดคุยกับบรรดาผู้ประกอบการและดิจิทัลสตาร์ทอัพในพื้นที่ วางแผนหารือจังหวัด หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง และภาคเอกชนเดินหน้าพัฒนา ‘Digital Khon Kaen Sandbox’ พื้นที่ส่งเสริมให้เกิดการยกระดับเทคโนโลยีและนวัตกรรมดิจิทัลภาคอีสาน อีกทั้งเน้นย้ำให้เกิดการประยุกต์ใช้เทคโนโลยีดิจิทัลในภาคเกษตรกรรม โดยเฉพาะ Big Data จากผู้ประกอบการไทย เพื่อช่วยยกระดับภาคอุตสาหกรรม ก่อนเยี่ยมชมกิจกรรมอัปสกิลดิจิทัลผู้ประกอบการที่จำหน่ายสินค้าและให้บริการในพื้นที่ พร้อมแนะผู้ประกอบการชูจุดเด่นภาคอีสานดึงดูดความสนใจผู้บริโภค

นายประเสริฐ จันทรรวงทอง รัฐมนตรีว่าการกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม (ดีอี) เป็นประธานในพิธีเปิดกิจกรรม ‘Ignite Isan Digital Hub’ ภายใต้โครงการ DIGINEXT by SEED THAILAND พร้อมร่วมพูดคุยกับบรรดาผู้ประกอบการและดิจิทัลสตาร์ทอัพในพื้นที่เพื่อหารือแนวทาง แลกเปลี่ยนแนวคิดและประสบการณ์ สะท้อนข้อมูลที่เป็นประโยชน์เพื่อนำไปใช้ต่อยอดการดำเนินธุรกิจ และร่วมเป็นส่วนหนึ่งในการขับเคลื่อนประเทศสู่เศรษฐกิจและสังคมดิจิทัล โดยมี นายพันธ์เทพ เสาโกศล รองผู้ว่าราชการจังหวัดขอนแก่น พร้อมด้วย ดร.ชินาวุธ ชินะประยูร ผู้ช่วยผู้อำนวยการใหญ่ สำนักงานส่งเสริมเศรษฐกิจดิจิทัล หรือ ดีป้า และ ดร.วาริน รัชนานุสรณ์ ผู้อำนวยการสถาบันส่งเสริมวิสาหกิจดิจิทัลเริ่มต้น ร่วมในกิจกรรม

“ภาคเอกชนของจังหวัดขอนแก่นถือว่ามีความเข้มแข็งและเป็นเอกภาพ อีกทั้งมีความพร้อมที่จะพัฒนาจังหวัดอย่างเป็นรูปธรรม ส่งผลให้ขอนแก่นเป็นจังหวัดที่มีศักยภาพและโดดเด่นเป็นอย่างมากในพื้นที่ภาคอีสาน ด้วยเหตุนี้ กระทรวงดีอี และ ดีป้า จึงต้องการเชิญชวนจังหวัด หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง และภาคเอกชน ร่วมหารือแนวทางการพัฒนา ‘Digital Khon Kaen Sandbox’ พื้นที่ส่งเสริมให้เกิดการยกระดับเทคโนโลยีและนวัตกรรมดิจิทัลภาคอีสาน โดยเบื้องต้นคาดว่าจะมีการนำมาตรการทางภาษีเข้ามาเป็นส่วนหนึ่งของกลไกดึงดูดการลงทุน นอกจากนี้ ยังเน้นย้ำให้เกิดการนำเทคโนโลยีดิจิทัลมาประยุกต์ใช้ในภาคเกษตรกรรม โดยเฉพาะ Big Data จากผู้ประกอบการไทย เพื่อช่วยยกระดับภาคอุตสาหกรรม อีกทั้งเป็นการป้องกันการรั่วไหลของข้อมูล อย่างไรก็ตาม กระทรวงดีอี โดย ดีป้า ยังได้ดำเนินการส่งเสริมให้เกิดการนำเทคโนโลยีอื่น ๆ มาใช้ผ่านโครงการต่าง ๆ อาทิ โครงการ 1 ตำบล 1 ดิจิทัล (ชุมชนโดรนใจ) และ 1 ตำบล 1 ดิจิทัล (สมาร์ทลีฟวิ่ง)” รัฐมนตรีว่าการกระทรวงดีอี กล่าว

พร้อมกันนี้ คณะได้เยี่ยมชมกิจกรรม ‘Digital Content-Driven E-Commerce Workshop: การอบรมเชิงปฏิบัติการเพื่อเพิ่มยอดขายด้วยดิจิทัลคอนเทนต์’ พื้นที่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ กิจกรรมต่อยอดความสำเร็จของโครงการ CONNEXION ที่มุ่งพัฒนาศักยภาพและสร้างความเข้าใจในการใช้ดิจิทัลคอนเทนต์เพื่อสร้างยอดขายบนแพลตฟอร์มอีคอมเมิร์ซอย่างมีประสิทธิภาพให้กับผู้ประกอบการที่จำหน่ายสินค้าและให้บริการในจังหวัดขอนแก่นและพื้นที่ใกล้เคียงผ่านการอบรมเชิงปฏิบัติการหัวข้อต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็นเทคนิคการถ่ายภาพสินค้า การสร้าง Storytelling การ Live ขายสินค้า การเปิดร้านค้าใน Social Commerce อย่าง TikTok และ Facebook การใช้ข้อมูลวิเคราะห์ช่องทางขายสินค้าออนไลน์ด้วยแพลตฟอร์ม eTailligence และการสร้าง Micro Influencer หน้าใหม่ให้กับท้องถิ่น

นายประเสริฐ กล่าวว่า ภายหลังจากการพูดคุยกับผู้ประกอบการในพื้นที่ รวมถึงอินฟลูเอนเซอร์ที่เข้าร่วมกิจกรรมพบว่า สินค้าและบริการของพี่น้องผู้ประกอบการในพื้นที่ภาคอีสานมีเอกลักษณ์และมีศักยภาพในการเป็นซอฟต์พาวเวอร์ของประเทศ แต่ผู้ประกอบการกลับสะท้อนให้เห็นถึงปัญหาในหลากหลายด้าน เช่น ผู้ประกอบการหลายรายยังขาดความรู้ ความเข้าใจ และทักษะในการใช้งานเทคโนโลยีและเครื่องมือดิจิทัลเพื่อเพิ่มยอดขายและวางแผนการตลาด ทำให้ไม่สามารถขยายตลาดและตอบสนองความต้องการของผู้บริโภคในยุคปัจจุบันได้อย่างตรงจุดและมีประสิทธิภาพ ดังนั้นกิจกรรมในวันนี้จะช่วยบรรเทาปัญหาที่เกิดขึ้น ขณะเดียวกัน ผู้ประกอบการเองจะต้องนำจุดเด่นที่เป็นเอกลักษณ์ของภาคอีสานมาใช้เป็นจุดขายเพื่อดึงดูดใจผู้บริโภคอีกทางหนึ่ง

ดีป้า ประกาศผลผู้ชนะกิจกรรม UNSEEN I SEE The Show Reel ประกวดแข่งขันทำ Digital Content แนะนำสถานที่ท่องเที่ยวในประเทศไทยและรีวิวของดีประจำจังหวัดเพื่อดึงดูดนักท่องเที่ยวต่างชาติ ระบุมีผู้เข้าแข่งขันส่งผลงานเข้าร่วมประกวดกว่า 300 ผลงาน พบ TikTok เป็นแพลตฟอร์มยอดฮิตของคนไทย ขณะที่จังหวัดขอนแก่นและจังหวัดชลบุรี ถือเป็นพื้นที่ที่มีคนไปรีวิวมากที่สุด

ผศ.ดร.ณัฐพล นิมมานพัชรินทร์ ผู้อำนวยการใหญ่ สำนักงานส่งเสริมเศรษฐกิจดิจิทัล หรือ ดีป้า เปิดเผยว่า กิจกรรมออนไลน์ UNSEEN I SEE The Show Reel ถือเป็นกิจกรรมต่อยอดมาจากโครงการ CONNEXION และ ThailandCONNEX มีวัตถุประสงค์เพื่อปั้นอินฟลูเอเซอร์สายรีวิวและสายท่องเที่ยว ควบคู่ไปกับการยกระดับแหล่งท่องเที่ยวและสินค้าไทยสู่สายตาชาวโลก อีกทั้งเป็นการดึงดูดนักท่องเที่ยวชาวต่างชาติผ่านผลงาน Digital Content โดยเปิดให้ประชาชนที่สนใจส่งผลงานเข้าร่วมกิจกรรมระหว่างวันที่ 10 กรกฎาคม ถึง 10 สิงหาคม 2567

กิจกรรม UNSEEN I SEE The Show Reel สะท้อนให้เห็นว่า ประชาชนไทยมีศักยภาพในการผลิต Digital Content ที่มีคุณภาพ สามารถสื่อสารกับชาวต่างชาติได้ดี และทำให้คนทั้งโลกเห็นว่า ประเทศไทยมีแหล่งท่องเที่ยว UNSEEN หลายแห่ง และมีของดีมากมายที่ทุกคนไม่เคยรู้เบื้องลึกเบื้องหลังมาก่อน สำหรับกิจกรรม UNSEEN I SEE The Show Reel ได้รับกระแสตอบรับที่ดีเกินคาด มีผลงานส่งเข้าร่วมประกวดมากกว่า 300 ผลงาน ซึ่งส่วนใหญ่โพสต์ผลงานลงใน TikTok เพราะเป็นแพลตฟอร์มที่มีเครื่องมือช่วยในการตัดต่อ ทำให้ง่ายต่อการผลิต Digital Content ขณะเดียวกัน จังหวัดขอนแก่นและจังหวัดชลบุรี ถือเป็นพื้นที่ที่มีผู้คนไปรีวิวมากที่สุดผอ.ใหญ่ ดีป้า กล่าว

รายชื่อผู้ชนะการประกวดในกิจกรรม UNSEEN I SEE The Show Reel ประกอบด้วย

รางวัลชนะเลิศ

เกาะที่มากกว่าเกาะ “เกาะเกร็ด”

โดย คุณชลภัทร อภิบาลนรชน คุณโชคชัย คำษาวงศ์ และ คุณก่อลาภ เนตรนางรอง

https://www.instagram.com/reel/C-feoEzPKIm/?igsh=MWdwcTR1NTY4Zmk3ZQ==

 

รางวัลรองชนะเลิศอันดับหนึ่ง

Unseen Hua Takhe

โดย คุณเก็บตะวัน ก่อพาณิชย์เจริญ และ คุณเสรีภาพ สอนโพธิ์

https://www.tiktok.com/@keptawandiary/video/7401466436348120327?_r=1&_t=8oknOLUYVzM

 

รางวัลรองชนะเลิศอันดับที่สอง

Nostalgia with Photographer in บ้านบางเขน

โดย คุณธนกฤต ซิ้มอำพร และ คุณปัณณวิชญ์ วาณิชย์เสถียร

https://www.instagram.com/reel/C-fTwCYSsKD/?igsh=MThhdHA5YTNiZjl2eg==

 

รางวัลชมเชยลำดับที่หนึ่ง

5 จุดเช็คอิน อันซีนตาก ตามเส้นทางไม้กลายเป็นหินจีโอพาร์ค

โดย คุณธนกฤต เตจ๊ะ

https://www.tiktok.com/@mininer.review/video/7400709474350091527?is_from_webapp=1&web_id=7350571205324654087

 

รางวัลชมเชยลำดับที่สอง

Northern Trip

โดย คุณนิลพัฒน์ ชยาวิวัฒน์กุล

https://youtu.be/gY03sbe6xKA

รางวัล Popular Vote

รางวัลพิเศษสำหรับผู้ที่มียอด Shared มากที่สุดในแต่ละแพลตฟอร์ม (นับตั้งแต่วันที่ 11 สิงหาคม 2567)

TikTok Shared: 12.1K ครั้ง

Days and 1 Night on Rainy Phi Phi

โดย คุณเกียรติศักดิ์ สิงห์งาม

https://www.tiktok.com/@kiattisakdk/video/7399131685239000338

 

Facebook Shared: 194 ครั้ง

ที่นี่ เมืองชล

โดย คุณสุระ อุดม

https://www.facebook.com/joey.1903/posts/pfbid02MhqqE5RDQkMU4n9BRwAC3Yj3BvapzZh5ntDKiGXNgqDZU4TRMcS25fApdtnRzvZEl

Instagram Shared: 408 ครั้ง

Unseen We should see

โดย คุณภคพร เปพาด คุณพิชญาภา อินทาหอม และ คุณอิสริยา คงวิมล

https://www.instagram.com/reel/C-fLPXiSSsD/?igsh=MWs2Y2FlY3FrM2oyYQ==

 

YouTube View: 35 ครั้ง

Unseen NUM ORK RU

โดย คุณภิญญาพัชญ์ วัฒนะ คุณภาพิชมนทน์ วัฒนะ และ คุณสุนิสา พิมพล

https://www.youtube.com/watch?v=33JHBo-8fYA

 

X

Right Click

No right click