×

Warning

JUser: :_load: Unable to load user with ID: 806

พระราชประวัติ และพระราชกรณียกิจ สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวมหาวชิราลงกรณ บดินทรเทพยวรางกูร Featured

July 28, 2017 6002

วันจันทร์ที่ 28 กรกฎาคม .. 2495 เวลา 17:45  พระที่นั่งอัมพรสถาน พระราชวังดุสิต พระราชโอรสพระองค์เดียวในพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช มหิตลาธิเบศรรามาธิบดี จักรีนฤบดินทร สยามินทราธิราช บรมนาถบพิตร และสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ ได้เสด็จพระราชสมภพ และทรงมีพระนามเมื่อแรกประสูติว่า "สมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอ เจ้าฟ้าวชิราลงกรณ บรมจักรยาดิศรสันตติวงศ เทเวศรธำรงสุบริบาล อภิคุณูประการมหิตลาดุลเดช ภูมิพลนเรศวรางกูร กิตติสิริสมบูรณ์สวางควัฒน์ บรมขัตติยราชกุมาร"

ทั้งนี้ พระนาม "วชิราลงกรณสมเด็จพระสังฆราชเจ้า กรมหลวงวชิรญาณวงศ์ทรงตั้งถวาย อันมีที่มาจาก "วชิรญาณซึ่งเป็นพระนามฉายาขณะผนวชในพระบาทสมเด็จพระปรเมนทรมหามงกุฎ พระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ผนวกเข้ากับกับ "อลงกรณ์พระนามในพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาจุฬาลงกรณ์ พระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว 

ต่อมา ในระหว่างวันที่ 14-15 กันยายน .. 2495 พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ จัดพระราชพิธีสมโภชเดือนและขึ้นพระอู่ขึ้น  พระที่นั่งอัมพรสถาน พระราชวังดุสิต ตามพิธีโบราณราชประเพณีให้กับพระราชโอรส โดยสมเด็จพระสังฆราชเจ้า กรมหลวงวชิรญาณวงศ์ทรงเป็นประธานเจริญพระพุทธมนต์ในช่วงเย็นวันที่ 14 กันยายน .. 2495 

สถาปนา สมเด็จพระยุพราช ของปวงไทย

ครั้นเมื่อมีพระชนมายุครบ 20 พรรษา พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช โปรดให้สถาปนาสมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอ เจ้าฟ้าวชิราลงกรณ ขึ้นเป็น สมเด็จพระบรมโอรสาธิราช สยามมกุฎราชกุมาร นับเป็นการสถาปนา สมเด็จพระยุพราช นั่นคือ พระรัชทายาทที่สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงสถาปนาขึ้นเป็นตำแหน่งสมเด็จพระยุพราช โดยพระราชทานยุพราชภิเษก หรือโดยพิธีอย่างอื่น สุดแท้แต่จะทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ด้วย โดยพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวได้มีพระบรมราชโองการเป็น ราชกิจจานุเบกษาประกาศฉบับพิเศษ เล่ม 89 ตอนที่ 200 วันที่ 28 ธันวาคม 2515 ประกาศสถาปนาสมเด็จพระบรมโอรสาธิราช สยามมกุฎราชกุมาร เป็นรัชทายาทสืบราชสันตติวงศ์ โดยมีความตอนหนึ่งในราชกิจจานุเบกษาว่า

“...ก็โดยราชนีติอันมีมาในแผ่นดินนั้น เมื่อสมเด็จพระบรมราชโอรสซึ่งจะทรงรับรัชทายาทสืบราชสันตติวงศ์ทรงพระเจริญวัยสมควรแล้ว ย่อมโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมให้เฉลิมพระอิสริยยศตั้งแต่งไว้ในตำแหน่ง สมเด็จพระยุพราชมกุฎราชกุมาร ในกาลปัจจุบันประชาชนทั้งหลายตลอดถึงชาวต่างประเทศทั่วไปในโลก ย่อมพากันนิยมยกย่องว่า สมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอ เจ้าฟ้าวชิราลงกรณ ทรงอยู่ในฐานะที่จะรับราชสมบัติปกครองราชอาณาจักรสืบสนองพระองค์ สมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอพระองค์นั้นเล่าก็ทรงพระเจริญพระชนมายุบรรลุนิติภาวะ ทรงพระวีรยภาพและพระสติปัญญาสามารถที่จะรับภาระของแผ่นดินตามพระอิสริยศักดิ์ได้ ถึงสมัยที่จะสถาปนาเป็นองค์รัชทายาทควรจะทรงอนุวัตรให้เป็นไปตามธรรมนิยมและขัตติยราชประเพณี ตามความเห็นชอบเห็นดีของมหาชนและผู้บริหารประเทศทุกฝ่าย เฉลิมพระเกียรติยศให้สมบูรณ์ตามตำแหน่งทุกประการ

จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมให้สถาปนาสมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอ เจ้าฟ้าวชิราลงกรณ ขึ้นเป็นสมเด็จพระบรมโอรสาธิราช สยามมกุฎราชกุมาร เฉลิมพระนามตามที่จารึกในพระสุพรรณบัฏว่า สมเด็จพระบรมโอรสาธิราช เจ้าฟ้ามหาวชิราลงกรณ บดินทรเทพยวรางกูร สิริกิติยสมบูรณสวางควัฒน์ วรขัตติยราชสันตติวงศ์ มหิตลพงศอดุลยเดช จักรีนเรศยุพราชวิสุทธ สยามมกุฎราชกุมาร มุสิกนาม พระราชทานพรให้ทรงพระเจริญสิริสวัสดิ์ ทรงมั่นอยู่ในขัตติยราชธรรมทศพิธอันเป็นหลักของผู้ปกครองบ้านเมืองในสยามประเทศนี้ ขออำนาจแห่งคุณพระศรีรัตนตรัย ทั้งบุญญานุภาพแห่งพระสยามเทวาธิราช และเทพดาเจ้าผู้ศักดิ์สิทธิ์ทั้งหลาย จงอภิบาลรักษาให้ทรงวัยวัฒนายุกาล ทรงพรรณ สุข พล ปฏิภาณ คุณสารสมบัติพิพัฒมงคล วิบุลศุภผล สกลเกียรติยศ ปรากฏกฤดาบารมีมโหฬาร ตลอดจิรัฏฐิติกาลเทอญ

ประกาศ  วันที่ 28 ธันวาคม พุทธศักราช 2515 เป็นปีที่ 27 ในรัชกาลปัจจุบัน

ผู้รับสนองพระบรมราชโองการ

จอมพลถนอม กิตติขจร

นายกรัฐมนตรี

พระราชประวัติด้านการศึกษา

สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวมหาวชิราลงกรณ บดินทรเทพยวรางกูร ทรงสำเร็จการศึกษาขั้นต้นในระดับอนุบาล รุ่นที่ 2 จากโรงเรียนจิตรลดา ในปี .. 2499 จากนั้นได้เสด็จไปทรงศึกษาต่อในระดับประถมศึกษาที่โรงเรียนคิงส์มีด แคว้นซัสเซกส์ และศึกษาระดับมัธยมศึกษาที่โรงเรียนมิลฟิลด์ แคว้นซอมเมอร์เซท ประเทศอังกฤษ เมื่อศึกษาชั้นมัธยมศึกษาจบแล้ว จึงทรงศึกษาต่อวิชาทหารที่โรงเรียนคิงส์สกูล ซิดนีย์ ประเทศออสเตรเลีย ต่อมาทรงศึกษาต่อในระดับปริญญาตรีสาขาอักษรศาสตร์ (ด้านการทหารจากมหาวิทยาลัยนิวเซาท์เวลส์ ประเทศออสเตรเลีย เมื่อปี .. 2519 ครั้นทรงศึกษาจบ จึงเสด็จนิวัตกลับประเทศไทย

เมื่อนิวัติประเทศไทย สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวมหาวชิราลงกรณ บดินทรเทพยวรางกูร ทรงรับราชการทหาร จนกระทั่ง ในปี .. 2520 ทรงศึกษาต่อที่โรงเรียนเสนาธิการทหารบก รุ่นที่ 46 พร้อมกับศึกษาในสาขาวิชานิติศาสตร์ รุ่นที่ 2 มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช และด้วยพระปรีชาสามารถ พระองค์ทรงสำเร็จการศึกษานิติศาสตรบัณฑิต (เกียรตินิยมอันดับ 2) ในปี ..2525 และต่อมาในปี .. 2533 ทรงได้รับการศึกษา  วิทยาลัยป้องกันราชอาณาจักรแห่งสหราชอาณาจักรด้วย

ทรงผนวช ด้วยพระราชศรัทธา

สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวมหาวชิราลงกรณ บดินทรเทพยวรางกูร ยังทรงปฏิบัติพระองค์เป็นองค์พุทธศาสนิกชนแบบอย่าง โดยทรงมีพระทัยศรัทธาอย่างแรงกล้าที่จะอุปสมบทในพระบวรพุทธศาสนา พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 9 จึงโปรดเกล้าฯให้ทรงผนวชในวันจันทร์ที่ 6 พฤศจิกายน .. 2521 เวลา 15.00  พระอุโบสถ วัดพระศรีรัตนศาสดาราม โดยมีสมเด็จพระอริยวงศาคตญาณ สมเด็จพระสังฆราช (วาสน์ วาสโนเป็นพระอุปัชฌาย์ และเมื่อผนวชแล้วเสด็จฯ ไปประทับ  พระตำหนักปั้นหยา วัดบวรนิเวศราชวรวิหาร อันเป็นพระตำหนักแห่งเดียวกันกับพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 9 เมื่อครั้งเสด็จทรงผนวช และทรงผนวชอยู่เป็นเวลา 15 วัน จึงลาผนวช

ทรงตั้งสัตยปฏิญาณตามรอยเบื้องพระยุคลบาท

ทั้งนี้ สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวมหาวชิราลงกรณ บดินทรเทพยวรางกูร ทรงตั้งมั่นพระหฤทัยที่จะเจริญรอยตามเบื้องพระยุคลบาท พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 9 และสมเด็จพระนางเจ้าพระบรมราชินีนาถ ในการบำบัดทุกข์บำรุงสุขอาณาประชาราษฎร์ ซึ่งจะเห็นได้ผ่านพระราชกรณียกิจหลากหลายด้านที่โดดเด่น ดังที่พระองค์ได้ทรงประกาศในระหว่างพิธีถวายสัตยปฏิญาณในการพิธีถือน้ำพิพัฒนสัตยา  พระอุโบสถ วัดพระศรีรัตนศาสดาราม เมื่อวันที่ 28 กรกฎาคม ..2515 ว่า

ข้าพเจ้าผู้เป็นสยามมกุฎราชกุมาร จะรักษาเกียรติยศและอริยศักดิ์ ซึ่งทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ พระราชทานไว้ด้วยชีวิต จะภักดีต่อชาติบ้านเมือง จะซื่อสัตย์ต่อประชาชน จะปฏิบัติภาระหน้าที่ทุกอย่างโดยเต็มกำลังสติปัญญาความสามารถและโดยความเสียสละ เพื่อความเจริญสงบสุขและความมั่นคงไพบูลย์ของประเทศไทย จนตราบเท่าชีวิตร่างกายจะหาไม่

พระปรีชาสามารถด้านการทหาร

ด้วยทรงศึกษาเล่าเรียนวิชาทหาร และทรงผ่านประสบการณ์รับราชการทหาร สมเด็จพระบรมโอรสาธิราชฯ สยามมกุฎราชกุมาร จึงทรงทุ่มเทพระวรกายในการปฏิบัติพระราชกรณียกิจด้านการทหารอย่างเต็มพระราชกำลังความสามารถ โดยพระองค์ทรงดำรงพระยศทางทหารของ  เหล่าทัพ คือ พลเอก พลเรือเอก และพลอากาศเอก หลายต่อหลายครั้งพระองค์ทรงปฏิบัติพระราชภารกิจที่ต้องทรงเสี่ยงกับภยันตราย ก็มิทรงหวาดหวั่นต่อภยันตรายในพื้นที่เกิดเหตุนั้นเลย ดังเช่นพระราชภารกิจสำคัญที่ต้องทรงเข้าร่วมปฏิบัติการรบในการต่อต้านการก่อการร้าย บริเวณภาคเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ รวมทั้งการคุ้มกันพื้นที่บริเวณรอบค่ายผู้อพยพชาวกัมพูชา  เขาล้าน จังหวัดตราด

ไม่เพียงเท่านั้น สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวมหาวชิราลงกรณ บดินทรเทพยวรางกูร ยังทรงดำรงตำแหน่งที่สำคัญด้านการทหาร เพื่อร่วมเสริมสร้างความแข็งแกร่งให้กองทัพมากมาย ไม่ว่าจะเป็น 

เมื่อวันที่ 9 ธันวาคม .. 2518 ทรงเข้ารับราชการเป็นนายทหารประจำกรมข่าวทหารบกกระทรวงกลาโหม

เมื่อวันที่ 6 ตุลาคม .. 2521 ทรงดำรงตำแหน่งรองผู้บังคับกองพันทหารมหาดเล็กรักษาพระองค์ กรมทหารราบที่ 1 มหาดเล็กรักษาพระองค์

เมื่อวันที่ 28 พฤศจิกายน .. 2523 ทรงดำรงตำแหน่งผู้บังคับกองพัน ทหารมหาดเล็กรักษาพระองค์ กรมทหารราบที่ 1 มหาดเล็กรักษาพระองค์

เมื่อวันที่ 13 กุมภาพันธ์ .. 2527 ทรงดำรงตำแหน่ง ผู้บังคับการ กรมทหารมหาดเล็กรักษาพระองค์

เมื่อวันที่ 30 กรกฎาคม .. 2531 ทรงดำรงตำแหน่งผู้บัญชาการหน่วยบัญชาการ ทหารมหาดเล็กรักษาพระองค์

เมื่อวันที่ 9 มกราคม .. 2535 ทรงดำรงตำแหน่งผู้บัญชาการ หน่วยบัญชาการถวายความปลอดภัยรักษาพระองค์ สำนักผู้บัญชาการทหารสูงสุด

เจ้าฟ้านักบิน” ของพสกนิกรชาวไทย

เจ้าฟ้านักบิน เป็นอีกหนึ่งพระสมัญญานาม ที่ผู้คนต่างใช้สดุดีพระปรีชาสามารถของ สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวมหาวชิราลงกรณ บดินทรเทพยวรางกูร ในด้านการบิน ด้วยทรงสนพระราชหฤทัยในวิทยาการด้านการทหารมาตั้งแต่ยังทรงพระเยาว์ จึงทรงพระวิริยะอุตสาหะในการเพิ่มพูนความรู้และพระประสบการณ์อยู่ตลอดเวลา โดยเฉพาะในด้านวิทยาการการบิน 

ตั้งแต่การทรงเข้ารับการฝึกเพิ่มเติมและทรงศึกษางานทางการทหาร  กองปฏิบัติการทางอากาศพิเศษ เมืองเพิร์ท รัฐออสเตรเลียตะวันตก ประเทศออสเตรเลีย โดยทรงประจำการ  กองปฎิบัติการทางอากาศพิเศษ การทำลายและยุทธวิธีรบนอกแบบ และยังทรงสนพระหฤทัยศึกษาในหลักสูตรทางทหาต่างๆ เช่น หลักสูตรต้นหนชั้นสูง หลักสูตรการลาดตระเวนและต้นหนชั้นสูง หลักสูตรส่งทางอากาศ หลักสูตรการบินเฮลิคอปเตอร์ใช้งานทั่วไป แบบ ยู เอช –  เอช และหลักสูตรการฝึกบินเฮลิคอปเตอร์โจมตี แบบ เอ เอช –  เอส คอบรา ของบริษัทเบบล์

ด้วยพระปรีชาสามารถและความรอบรู้ของพระองค์ในวิทยาการด้านการบินที่สั่งสมมา จึงทรงมีชั่วโมงฝึกบินอย่างต่อเนื่องสูงมากซึ่งนับว่าเป็นสิ่งที่ยากสำหรับนักบินทั่วโลกจะทำได้ ทรงเชี่ยวชาญเทคนิคสมัยใหม่ทั้งภาคทฤษฎีและภาคปฏิบัติ โดยทรงเริ่มทำการบินตามหลักสูตรการฝึกบินเฮลิคอปเตอร์ของโรงเรียนการบิน กองทัพอากาศ เมื่อ ๒๐ ธันวาคม ๒๕๒๒ ทรงเริ่มทำการบินเฮลิคอปเตอร์แบบยูเอช- เอช และเฮลิคอปเตอร์แบบยูเอช- เอ็น เมื่อสำเร็จตามหลักสูตรทรงขึ้นรับพระราชทานประดับเครื่องหมายแสดงความสามารถ ในการบินของกองทัพอากาศจากพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 9  และในปีนั้นเองยังทรงสำเร็จหลักสูตรเฮลิคอปเตอร์โจมตีติดอาวุธ (Gunship) ของกองทัพบกรวม  เดือน

ต่อมา ในช่วงปี ๒๕๒๓ ขณะติดตามสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ เสด็จพระราชดำเนินเยือนประเทศสหรัฐอเมริกา ทรงเข้ารับการฝึกบินเฮลิคอปเตอร์แบบยูเอช- เอช ของกองทัพบกสหรัฐฯ ที่นอร์ธแคโรไลนา และปี ๒๕๒๕ เสด็จยังฐานทัพอากาศวิลเลียม รัฐแอริโซนา สหรัฐอเมริกา ทรงฝึกศึกษาเครื่องบินขับไล่สมรรถนะสูงแบบเอฟ  อี/เอฟ และทรงเข้ารับการฝึกบินในหลักสูตรการบินรบชั้นสูง (Advance Fighter Course) กับเครื่องเอฟ  ดี/เอฟ ที่กองบิน  ฝูง ๑๐๒ จนสำเร็จตามหลักสูตร มีชั่วโมงบินทุกประเภทรวมกันกว่า ,๐๐๐ ชั่วโมง

ถึงกระนั้น สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวมหาวชิราลงกรณ บดินทรเทพยวรางกูร ได้ทรงฝึกฝนการฝึกบินแบบใหม่ๆ อย่างต่อเนื่อง โดยทรงเข้ารับการฝึกบินกับเครื่องบินใบพัดแบบมาร์คเคตตี้ของฝูงขั้นปลาย โรงเรียนการบิน กองทัพอากาศ และฝึกบินกับเครื่องบินไอพ่นแบบที ๓๗ กับแบบที ๓๓ และจบหลักสูตรนักบินขับไล่ไอพ่นสมรรถนะสูงกับเครื่องบินขับไล่แบบเอฟ  อี/เอฟ ของกองบิน  ฝูงบิน ๑๐๒ รวมชั่วโมงบิน ๒๐๐ ชั่วโมง ด้วยความสนพระทัยอย่างมาก จนกระทั่งทรงพร้อมรบและครบ ,๐๐๐ ชั่วโมง เมื่อ ๑๗ เมษายน ๒๕๓๒ อีกทั้งยังทรงเข้าร่วมการแข่งขันใช้อาวุธทางอากาศประจำปี โดยทรงทำคะแนนได้สูงตามกติกา กองทัพอากาศจึงทูลเกล้าฯ ถวายเครื่องหมายความสามารถในการใช้อาวุธทางอากาศชั้นที่  ประเภทอาวุธระเบิดสี่ดาว อาวุธจรวดสี่ดาว และอาวุธปืนสี่ดาว พร้อมกันนี้ พระองค์ยังทรงมีพระมหากรุณาธิคุณ ปฏิบัติหน้าที่ครูการบิน ฝึกสอนทั้งภาควิชาการกับการฝึกบินแก่นักบินขับไล่ของกองทัพอากาศ ด้วยพระราชหฤทัยที่เปี่ยมล้นพระเมตตาด้วย

และในวันที่ประเทศชาติบ้านเมืองประสบภัยธรรมชาติ ราษฎรได้รับความเดือดร้อน พระองค์ก็มิได้ทรงนิ่งนอนพระหฤทัย โดยทรงใช้พระปรีชาสามารถด้านการบิน ปฏิบัติหน้าที่นักบินที่ 1 ด้วยพระองค์เอง ในเที่ยวบินพิเศษมหากุศล สายใยรักแห่งครอบครัว ช่วยเหลือผู้ประสบอุทกภัย และจัดหาอุปกรณ์ด้านการแพทย์สำหรับโรงพยาบาลใน 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ เส้นทางกรุงเทพฯ-เชียงใหม่-กรุงเทพฯ โดยเครื่องบินโบอิ้ง 737-400 หรือ นามพระราชทานเครื่องบินว่า "ศรีสุราษฎร์เป็นเที่ยวบินพิเศษทีจี 8870 จำนวน 149 ที่นั่ง ระยะทาง 353 NM. ใช้เวลาบินประมาณ 1 ชั่วโมง 10 นาที ซึ่งครั้งนี้พระองค์ทรงมอบรายได้จากการจำหน่ายตั๋วทั่งหมดโดยเสด็จพระราชกุศลตามที่ทรงตั้งพระทัยไว้ข้างต้น

ทรงทำนุบำรุง ส่งเสริม การศึกษา การสาธารณสุขของไทย

ด้วยเล็งเห็นถึงความสำคัญของการศึกษากับเยาวชน สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวมหาวชิราลงกรณ บดินทรเทพยวรางกูร จึงทรงมีพระราชปณิธานมุ่งมั่นที่จะมอบโอกาสในการเข้าถึงการศึกษาที่ดีให้กับเยาวชนที่จะเติบโตเป็นกำลังสำคัญของชาติในอนาคต โดยทรงมีพระราชดำริให้นำพระราชทรัพย์ส่วนพระองค์และทรัพย์จากผู้บริจาคโดยเสด็จพระราชกุศลตามพระราชอัธยาศัยมาใช้ให้เกิดประโยชน์ในการเสริมสร้างโอกาสทางการศึกษาให้แก่เยาวชนที่ยากจนได้ศึกษาอย่างต่อเนื่อง 

เป็นที่มาของโครงการในพระราชดำริสมเด็จพระบรมโอรสาธิราชฯ สยามมกุฎราชกุมาร (พระนามเดิม) เพื่อมอบทุนการศึกษา ให้กับเยาวชนที่ยากจน ซึ่งในปี พ.ศ. 2553 ทรงจัดตั้งเป็น มูลนิธิทุนการศึกษาพระราชทาน สมเด็จพระบรมโอรสาธิราชฯ สยามมกุฎราชกุมาร” หรือ ม.ท.ศ. พระราชทานทุนการศึกษาต่อเนื่องให้กับเยาวชนตั้งแต่มัธยมศึกษาตอนปลายจนกระทั่งจบอุดมศึกษาให้แก่นักเรียนทุกจังหวัด จังหวัดละ ๒ คน โดยทรงเน้นย้ำกับคณะทำงานในโครงการนี้ว่า เมื่อทำโครงการมาแล้วจำเป็นต้องศึกษา ติดตาม และพัฒนาแผนในการช่วยเหลืออย่างต่อเนื่อง การทำงานที่ได้ผล ต้องศึกษาข้อมูล มีการปรับแผนให้ทันสมัยและมีความใส่ใจที่จะทำงานต่อเนื่อง..”

ขณะเดียวกัน ได้ทรงเล็งเห็นปัญหาของเยาวชนในถิ่นทุรกันดารซึ่งยังขาดโอกาสทางการศึกษา ทรงพระกรุณาพระราชทานพระราชทรัพย์ร่วมสนับสนุนให้กรมสามัญศึกษา กระทรวงศึกษาธิการ ก่อตั้งโรงเรียนมัธยมศึกษาในถิ่นทุรกันดาร 6 แห่ง ได้แก่ โรงเรียนมัธยมพัชรกิติยาภา จังหวัดนครพนม กำแพงเพชร สุราษฎร์ธานี โรงเรียนมัธยมสิริวัณณวรี จังหวัดอุดรธานี สงขลา และฉะเชิงเทรา โดยทรงรับโรงเรียนเหล่านี้ไว้ในพระราชูปถัมภ์ พร้อมพระราชทานวัสดุอุปกรณ์การศึกษาทันสมัย และพระราชทานคำแนะนำด้านการพัฒนาการศึกษาและทรงส่งเสริมให้โรงเรียนในพระราชูปถัมภ์เหล่านี้ตลอดมา

สำหรับพระราชกรณียกิจด้านสาธารณสุข อันเนื่องมาจากตั้งแต่ปีพ.. 2521 ที่รัฐบาลได้น้อมเกล้าฯ ถวายโรงพยาบาลสมเด็จพระยุพราช จำนวน 21 แห่ง ทั่วทุกภูมิภาคของประเทศ สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวมหาวชิราลงกรณ บดินทรเทพยวรางกูร ทรงพระอุตสาหะเสด็จพระราชดำเนินเยี่ยมโรงพยาบาลสม่ำเสมอ พร้อมทั้งยังพระราชทานพระราชทรัพย์สนับสนุนให้มีอุปกรณ์การแพทย์ เครื่องมือ เครื่องใช้ที่ทันสมัยเพื่อสามารถให้บริการที่ดีแก่ประชาชน และเมื่อปี 2527 ได้ทรงรับเป็นประธานกรรมการอำนวยการจัดสร้างอาคารศูนย์โรคหัวใจ สมเด็จพระบรมราชินีนาถ ด้วย

ทรงส่งเสริมแนวทางเกษตรพอเพียง ตามรอยพ่อหลวง

ด้วยทรงตระหนักว่าประเทศไทยเป็นประเทศเกษตรกรรม และพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 9 ก็ได้พระราชทานแนวคิดปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงให้กับประชาชนนำไปปรับใช้จนเกิดแนวทางในการทำเกษตรพอเพียงและเกษตรทฤษฎีใหม่ สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวมหาวชิราลงกรณ บดินทรเทพยวรางกูร จึงทรงให้ความสำคัญกับการบำเพ็ญพระราชกรณียกิจเพื่อส่งเสริมด้านการเกษตรกรรมอันเป็นอาชีพหลักของปวงชนชาวไทยตลอดมา ดังเช่นภาพที่คุ้นตาปวงชนชาวไทย ในการที่พระองค์ทรงเสด็จพระราชดำเนินแทนพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 9 ในการพระราชพิธีพืชมงคลจรดพระนังคัลแรกนาขวัญ  ท้องสนามหลวง เป็นประจำทุกปี นอกจากนั้น พระองค์ยังทรงเสด็จพระราชดำเนินไปเป็นประธานในการทำนาสาธิตโดยใช้ปุ๋ยหมัก  ตำบลดอนโพธิ์ทอง อำเภอเมือง จังหวัดสุพรรณบุรี ในการนี้ได้ทรงปฏิบัติการสาธิตการทำนาด้วยพระองค์เอง ได้ทรงถอดฉลองพระบาท ถลกพระสนับเพลา ทรงพระดำเนินลุยโคลน หว่านพันธ์ข้าวปลูกและปุ๋ยหมักในแปลงนาสาธิต ยังความชื่นชมโสมนัสปลาบปลื้มปิติและซาบซึ้งในพระราชจริยาวัตรแก่บรรดาข้าราชการและประชาชนที่มาเฝ้าทูลละอองพระบาทในพิธีการวันนั้นเป็นอย่างยิ่ง

ต่อมาในปี 2549 ได้พระราชทานที่ดินส่วนพระองค์ในพื้นที่สวนบ้านกองแห หมู่ที่  ตำบลโป่งแยง อำเภอแม่ริม จังหวัดเชียงใหม่ จำนวน ,๓๕๐ ไร่ ให้กับกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เพื่อพัฒนาเป็นศูนย์เรียนรู้ด้านเศรษฐกิจพอเพียงบนพื้นที่สูงให้แก่เกษตรกรอย่างครบวงจรประจำภาคเหนือภายใต้ชื่อโครงการเกษตรวิชญา อันเป็นการสานต่อพระราชดำริในพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวด้านเศรษฐกิจพอเพียงอย่างเห็นผล 

ทั้งหมดที่ได้กล่าวมานี้ เป็นเพียงส่วนหนึ่งของพระมหากรุณาธิคุณที่ สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวมหาวชิราลงกรณ บดินทรเทพยวรางกูร ได้ทรงมุ่งมั่นปฏิบัติพระราชกรณียกิจมากมายหลากหลายด้าน เพื่อดำเนินตามรอยเบื้องพระยุคลบาทและสานต่อพระราชปณิธานของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 9 ในการบำบัดทุกข์บำรุงสุขปวงอาณาประชาราษฎร์ชาวไทย ให้ได้มีคุณภาพชีวิตทีดีในแผ่นดินไทยแห่งนี้

 

เรื่อง :  กองบรรณาธิการ นิตยสารMBA

Rate this item
(2 votes)
Last modified on Saturday, 28 July 2018 03:15
X

Right Click

No right click