September 19, 2024

นายวิลาศ เฉลยสัตย์ ผู้ว่าการ MEA หรือการไฟฟ้านครหลวง เปิดเผยในโอกาสวันคล้ายวันสถาปนา MEA ครบรอบ 66 ปี วันที่ 1 สิงหาคม 2567 ณ อาคารวัฒนวิภาส การไฟฟ้านครหลวง สำนักงานใหญ่ ว่า MEA ได้จัดกิจกรรม ครบรอบ 66 ปี สู่เส้นทางการเป็นองค์กรพลังงานที่ยั่งยืน “66th Year : To be Sustainable Energy Utility” โดยมีรูปแบบการจัดงานที่ออกแบบโดยคำนึงถึงแนวคิดการเป็นองค์กรลดคาร์บอน (Decarbonization) ไม่ทำลายสิ่งแวดล้อม พร้อมทั้งตกแต่งสถานที่ด้วยวัสดุที่ไม่สร้างขยะ จัดโซนนิทรรศการวันดินโลก แสดงความสำคัญของดิน “ดินดี น้ำดี ชีวีมีสุข อย่างยั่งยืน” พร้อมร่วมบริจาคเงินให้กับ มูลนิธิสืบนาคะเสถียร จำนวน 328,700 บาท และมูลนิธิอนุเคราะห์คนพิการ ในพระราชูปถัมภ์ของสมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี จำนวน 378,800 บาท รวมถึงผู้เข้าร่วมงานสามารถร่วมสนับสนุนสินค้าจากมูลนิธิแม่ฟ้าหลวง ในพระบรมราชูปถัมภ์

ตลอดระยะเวลาที่ผ่านมาจนถึงปัจจุบัน MEA ได้ดำเนินกิจการด้วยความตระหนักต่อประเด็นทางสังคมและสิ่งแวดล้อมตามแนวคิดการพัฒนาที่ยั่งยืน โดยคำนึงถึง 3 ปัจจัยหลัก คือ ด้านสิ่งแวดล้อม สังคม และธรรมาภิบาล (Environment, Social, Governance: ESG) ผ่านการดำเนินโครงการต่าง ๆ อาทิ  โครงการ MEA GO (Green Organization) สร้างความตระหนักให้แก่พนักงานในการใส่ใจด้านสังคมและสิ่งแวดล้อม (CSR) ผ่านกิจกรรม Zero waste  การนำขยะที่สามารถนำไปแปลงเป็นพลังงาน (Waste to energy) การจัดซื้อจัดจ้างสินค้าและบริการที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม (Green Procurement) การจัดประชุมที่มีการคำนึงถึงการใช้พลังงานและทรัพยากรอย่างมีประสิทธิภาพ (Green Meeting) การเปลี่ยนอุปกรณ์ประหยัดพลังงานที่ใช้ในอาคารของ MEA เพื่อให้ใช้พลังงานอย่างมีประสิทธิภาพสูงสุด  โครงการ Pickup Retrofit นำรถยนต์เก่ามาทดสอบดัดแปลงแทนที่ด้วยมอเตอร์ไฟฟ้าพร้อมอุปกรณ์ประกอบ เพื่อใช้งานภายใน MEA ช่วยลดมลพิษ PM 2.5 ประหยัดค่าใช้จ่ายด้านเชื้อเพลิง  เพื่อก้าวไปสู่การเป็นองค์กรชั้นนำด้านธุรกิจพลังงานไฟฟ้าในระดับสากล และเป็นองค์กรที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมอย่างยั่งยืน (MEA Organization) ภายในปี 2570  ควบคู่ไปกับการพัฒนาด้านงานบริการให้เข้าถึงและตอบโจทย์ประชาชาชนมากยิ่งขึ้นตามมาตรฐานศูนย์ราชการสะดวก (GECC) ด้วยระบบการให้บริการออนไลน์ ลดการเดินทางมาติดต่อ ณ ที่ทำการ รวมถึงโครงการ MEA e-Bill ที่รณรงค์ลดการใช้เอกสารกระดาษ ไปแล้วกว่า 12 ล้านแผ่นต่อปี

ในด้านระบบจำหน่ายพลังไฟฟ้าของ MEA ยังคำนึงถึงผลกระทบที่จะตามมาด้านสิ่งแวดล้อม จากการรื้อถอนอุปกรณ์ที่เสื่อมสภาพจำนวนมาก โดย MEA ได้ริเริ่มกระบวนการ upcycle ลูกถ้วยฉนวนไฟฟ้า (Insulators) ที่หมดอายุการใช้งาน ให้นำไปใช้งานในหลายรูปแบบ อาทิ การนำไปบดหยาบเพื่อทำวัสดุกันลื่นบนถนน (Anti skid road ceramic particles) สำหรับลูกถ้วยที่บดละเอียด สามารถนำไปผลิตเป็นแผ่นรองดูดซึมน้ำประสิทธิภาพสูง ซึ่งได้นำมาทดสอบนำร่องการใช้งานภายในองค์กร ก่อนขยายพื้นที่การใช้งานไปยังเครือข่ายพันธมิตรและชุมชนอื่น ๆ ส่วนเสาไฟฟ้าที่ถูกรื้อถอนจากโครงการสายไฟฟ้าใต้ดิน ได้มาปักเป็นแนวป้องกันการกัดเซาะชายฝั่งในพื้นที่ป้อมพระจุลจอมเกล้า และชายฝั่งย่านบางขุนเทียน รวมระยะทางกว่า 2,500 เมตร พร้อมสนับสนุนการดำเนินการปลูกป่าชายเลนและดูแลบำรุงรักษามาอย่างต่อเนื่อง ตั้งแต่ ปี 2547 – ปัจจุบัน จนสัมฤทธิ์ผลเกิดเป็นพื้นที่ป่าชายเลนหลังแนวป้องกันการกัดเซาะชายฝั่งกว่า 380 ไร่

สำหรับด้านระบบนิเวศน์ยานยนต์ไฟฟ้า MEA เป็นรัฐวิสาหกิจหน่วยงานแรกที่นำรถยนต์ไฟฟ้า (EV)  มาใช้ในกิจการ และได้นำเทคโนโลยีชาร์จรถยนต์ไฟฟ้ามาใช้ในองค์กรกว่า 10 ปี มีการต่อยอดสร้างนวัตกรรม PLUG ME EV ระบบอัดประจุยานยนต์ไฟฟ้าที่เหมาะกับพื้นที่อาคารสำนักงาน หรืออาคารชุดที่ต้องการรองรับผู้ใช้งานรถ EV จำนวนมาก ช่วยลดต้นทุนกว่าร้อยละ 40 เมื่อเทียบกับเครื่องอัดประจุไฟฟ้า AC ทั่วไปในท้องตลาด รวมถึงการจัดทำตราสัญลักษณ์รับรองมาตรฐานเครื่องอัดประจุไฟฟ้าที่มีความปลอดภัย และเที่ยงตรง เพื่อสร้างความมั่นใจให้กับผู้บริโภค หรือ Charge Sure by MEA รวมถึงดำเนินโครงการที่สนับสนุนให้เกิดการเปลี่ยนแปลงสู่การใช้พลังงานจากพลังงานหมุนเวียนเพิ่มขึ้น โดยปัจจุบัน MEA รับซื้อไฟฟ้าจากกลุ่มผู้ผลิตไฟฟ้าขนาดเล็กมาก (VSPP) จำนวน 13,735 ราย คิดเป็นกำลังผลิตกว่า 238 เมกะวัตต์ และมีการติดตั้งระบบ Solar Cell ให้กับหน่วยงานต่าง ๆ รวมเป็นจำนวนกว่า 84 เมกะวัตต์ ทั้งหมดนี้ ช่วยส่งผลลดคาร์บอนไดออกไซด์ประมาณ 190,000 tonCo2/ปี

เพื่อมุ่งสู่การใช้พลังงานอย่างรู้คุณค่าสูงสุด MEA ยังมีโครงการที่มุ่งเน้นการสร้างองค์ความรู้ให้กับประชาชน ภายใต้โครงการ MEA Energy Mind Award ซึ่งดำเนินการมาตั้งแต่ปี 2550 เพื่อปลูกฝังให้นำไปสู่การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมอย่างเป็นรูปธรรม โดยเฉพาะกลุ่มบุคลากร และเยาวชนในสถานศึกษาต่าง ๆ  สร้างเยาวชนรุ่นใหม่หัวใจสีเขียว (Green Youth) ส่งมอบสู่สังคมไทย ในส่วนของผู้ประกอบการ โครงการ MEA Energy Award  เป็นโครงการที่มอบรางวัลให้กับอาคารในประเภทต่าง ๆ ภายใต้แนวคิด “ใช้พลังงานอย่างมีประสิทธิภาพ และคุณภาพอากาศได้มาตรฐาน” ซึ่งได้ดำเนินโครงการปีที่ 7 มีอาคารผ่านเกณฑ์ประเมินมาตรฐานอาคารประหยัดพลังงานของ MEA ไปแล้วทั้งสิ้น 313 แห่ง ช่วยให้เกิดผลประหยัด 46.33 ล้านหน่วยต่อปี คิดเป็นมูลค่า 180.93 ล้านบาทต่อปี ลดคาร์บอนไดออกไซด์ 26,589 tonCo2 ต่อปี ทั้งหมดนี้ เป็นเพียงส่วนหนึ่งของโครงการที่ MEA กำหนดเป้าหมาย Carbon Neutrality ความเป็นกลางทางคาร์บอน ในปี พ.ศ. 2593 และ กำหนดเป้าหมาย Net Zero Emission การปล่อยก๊าซเรือนกระจกสุทธิเป็นศูนย์  ในปี พ.ศ. 2608 ดำเนินการขับเคลื่อนจากภายในองค์กรขยายไปสู่ภายนอก และเดินหน้าผลักดันให้เกิดความเป็นกลางทางคาร์บอน (Carbon Neutrality) ตามนโยบายของรัฐบาลในอนาคตต่อไป

ปัจจุบันธุรกิจในไทยมีหลากหลายขนาด ซึ่งหลาย ๆ บริษัทเติบโตมาจากธุรกิจครอบครัว แต่กว่าจะเติบโตมาเป็นบริษัทที่มั่นคงได้นั้นจะต้องผ่านเรื่องราวต่าง ๆ มากมาย  finbiz by ttb ได้รวบรวมประสบการณ์และกลยุทธ์ของบริษัทที่เติบโตจากธุรกิจครอบครัวสู่การเป็นบริษัทที่แข็งแกร่ง จนสามารถแข่งขันในตลาดอาเซียนได้ มาแบ่งปันสูตรความสำเร็จไว้ดังนี้

โจทย์มีไว้แก้ไข เป้าหมายมีไว้พุ่งชน ธุรกิจครอบครัวที่ดำเนินการมาอย่างยาวนาน มีเป้าหมายที่จะขยายธุรกิจให้ก้าวไปสู่ตลาดอาเซียนและตลาดโลกในอนาคต ซึ่งความท้าทายหลัก ๆ ได้แก่

  • การทำงานร่วมกันในครอบครัว ต้องปราศจากความขัดแย้งและไปกันได้ด้วยดี
  • การสร้างนวัตกรรมและปรับปรุงกระบวนการผลิตให้มีประสิทธิภาพ
  • การจัดการกับพอร์ตโฟลิโอและซัพพลายเชน ที่มีความหลากหลายและซับซ้อน

รู้ปัญหาที่แท้จริงก่อนการทรานส์ฟอร์ม ปัญหาที่พบในธุรกิจซึ่งมีความซับซ้อนมากขึ้น มักเกิดจากการขาดการสื่อสารที่ดีในองค์กร ขาดการทำงานที่มีประสิทธิภาพระหว่างหน่วยงาน การใช้ข้อมูลที่ไม่เกิดประสิทธิภาพ และความไม่เชื่อใจระหว่างหน่วยงานหรือคนทำงาน ไม่กล้าปรับเปลี่ยนสิ่งที่ทำมาตลอด ดังนั้นการทรานส์ฟอร์ม ต้องเริ่มจาก

  1. การสื่อสารที่มีประสิทธิภาพระหว่างฝ่ายต่าง ๆ ในองค์กรด้วยเป้าหมายที่ชัดเจน
  2. การรักษาสมดุลระหว่างหน่วยงาน ด้วยการตั้ง KPI ที่ชัดเจนและสอดคล้องไปกับเป้าหมายองค์กร
  3. การมีข้อมูลที่ถูกต้องและสอดคล้องกันในทุกภาคส่วน
  4. การให้ความไว้วางใจกัน โดยลด “ค่าเผื่อ” ออกทุก ๆ กิจกรรม
  5. การลงไปดูหน้างานจริงเพื่อตรวจสอบข้อมูล โดยจะเป็นการสะท้อนปัญหาและตรวจเช็คความถูกต้องของข้อมูล
  6. ยอมรับความคิดเห็นใหม่ ๆ และพร้อมที่จะปรับเปลี่ยนตัวเองและองค์กรอยู่เสมอ

สร้าง LEAN เป็นวัฒนธรรมองค์กร “หาเงินข้างนอก 1 บาท ยากกว่าการลดต้นทุน 1 บาทในโรงงาน” คำกล่าวนี้ถือเป็นหนึ่งในแนวคิด LEAN คือ การมุ่งเน้นเพิ่มประสิทธิภาพสูงสุดในการผลิต ซึ่งการบริหารจัดการธุรกิจให้ประสบความสำเร็จ ผู้บริหารจะต้องสามารถสร้าง LEAN ให้เป็นวัฒนธรรมองค์กรได้ ดังนี้

  1. สร้างความตระหนักรู้และความเข้าใจในทีมงาน
  2. เริ่มต้นจากการปรับปรุงกระบวนการที่ทำได้ทันทีและมีผลกระทบเชิงบวกสูง
  3. วัดผลและติดตามการปรับปรุงอย่างต่อเนื่อง
  4. ชมเชยและให้รางวัลแก่คนที่ทำงานดีทันทีและเหมาะสม
  5. ลงทุนในข้อมูลที่ถูกต้อง และลงทุนกับการใช้ข้อมูลให้เป็นประโยชน์
  6. เปิดโอกาสและเปิดใจให้ทีมงานได้ปรับปรุงและทดลองทำสิ่งใหม่ ๆ
  7. เปลี่ยนความสัมพันธ์เป็นความร่วมมือเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในซัพพลายเชน ทั้งการทำงานภายในองค์กร และภายนอกองค์กร

การนำแนวคิด LEAN มาใช้ในการบริหารจัดการธุรกิจครอบครัว จะทำให้สามารถปรับปรุงกระบวนการผลิต เพิ่มประสิทธิภาพ และลดต้นทุนได้อย่างมีประสิทธิผล ทำให้ธุรกิจครอบครัวสามารถเติบโตและขยายไปสู่ตลาดที่กว้างขึ้นได้อย่างมั่นคง 


ที่มา : จากหลักสูตร “LEAN for Sustainable Growth by ttb” รุ่นที่ 19 สำหรับอุตสาหกรรมเฮลท์แคร์ (Healthcare) แหล่งรวมเรื่องราวความรู้ดี ๆ ที่ SME ไม่ควรพลาด ที่ finbiz by ttb (Link >https://www.ttbbank.com/link/pr/finbiz)

พร้อมเผยรายชื่อ 10 หุ้น ESG Turnaround ดันผลประกอบการพลิกฟื้น

เอไอเอ ประเทศไทย นำโดย นางศรัณยา  เทียนถาวร (ที่ 3 จากขวา) ประธานเจ้าหน้าที่ฝ่ายทรัพยากรบุคคล ร่วมด้วย นายโจฮัน  ดีทอย (ที่ 2 จากซ้าย) ประธานเจ้าหน้าที่ฝ่ายลงทุน   ดร. คริส-เตียน โรแลนด์ (ที่ 3 จากซ้าย) ประธานเจ้าหน้าที่ฝ่ายกลยุทธ์และดิจิทัล และ นางสาวรพีพร วงศ์ทองคำ (ที่ 2 จากขวา) ผู้อำนวยการฝ่ายสื่อสารองค์กรและภาพลักษณ์ เดินหน้าจัดกิจกรรม AIA Food Fighter เพื่อมุ่งลดปัญหาขยะอาหารล้นโลก (Food Waste) ซึ่งปัญหาขยะอาหารถือเป็นหนึ่งในสาเหตุหลักที่ส่งผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมและระบบนิเวศน์ อีกทั้งยังเป็นตัวการสำคัญที่ทำให้เกิดปัญหาก๊าซเรือนกระจก โดยเอไอเอ ได้ชวนพนักงานเอไอเอ ประเทศไทย ร่วมแคมเปญกู้โลกรณรงค์การบริโภคอาหารแต่พอดี พร้อมเปิดตัวรถต้นแบบ “AIA Goodie Foodie Truck” สำหรับแบ่งปันอาหาร ขนม และผลไม้ให้กับเพื่อนพนักงานที่ปฎิบัติงานอยู่ ณ อาคาร เอไอเอ ทาวเวอร์ สำนักงานใหญ่ เพื่อเปลี่ยนอาหารที่รับประทานไม่หมดแต่ยังสะอาดและมีคุณภาพดีให้เป็นอีกหนึ่งมื้ออร่อยของผู้อื่น ซึ่งนับเป็นเป้าหมายสำคัญของเอไอเอ ที่ต้องการมีส่วนในการสร้างโลกให้น่าอยู่และยั่งยืนสำหรับพวกเราคนไทยทุกคนด้วยอีกหนึ่งวิธีง่าย ๆ อย่างการช่วยลดขยะอาหาร ตลอดจนยังเป็นการตอกย้ำความเป็นผู้นำด้าน ESG และสอดคล้องตามพันธกิจของเอไอเอ ในการสนับสนุนให้ผู้คนกว่าพันล้านคนมีสุขภาพและชีวิตที่ดีขึ้น ‘Healthier, Longer, Better Lives’

ปัจจุบันกระแส ESG กำลังกลายเป็นปัจจัยสำคัญที่ขับเคลื่อนเศรษฐกิจโลก ธุรกิจยุคใหม่จึงต้องปรับตัวให้สอดคล้องกับแนวทางนี้ โดยหลังจากประเทศไทยได้ประกาศเป้าหมายจะเป็นกลางทางคาร์บอน (Carbon Neutrality) ในปี 2050 และปล่อยก๊าซเรือนกระจกสุทธิเป็นศูนย์ (Net Zero) ภายในปี 2065 ซึ่งจะส่งผลต่อนโยบายและกลยุทธ์ต่าง ๆ ของภาครัฐ รวมไปถึงการจัดซื้อจัดจ้างของภาครัฐด้วย

สำหรับ SME ที่ต้องการคว้าโอกาสทางธุรกิจกับภาครัฐที่มีมูลค่าการจัดซื้อจัดจ้างสูงถึง 12% ของ GDP ในกลุ่มประเทศที่พัฒนาแล้ว และ 30% ของ GDP ในประเทศกำลังพัฒนาหลายแห่งจึงเป็นสิ่งที่ไม่ควรมองข้าม และด้วยภาครัฐกำลังให้ความสำคัญกับเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน (Sustainable Development Goals: SDGs) นำมาสู่แนวทางการจัดซื้อจัดจ้างของภาครัฐอย่างยั่งยืน  finbiz by ttb จึงขอแนะโอกาสสำหรับ SME ที่มีความรับผิดชอบ โปร่งใส และยั่งยืนตามแนวคิด ESG เพื่อให้สามารถกุมความได้เปรียบในการแข่งขันทางธุรกิจบนเวทีภาครัฐเอาไว้ได้

 ทำไม ESG ถึงสำคัญสำหรับ SME

  1. นโยบายภาครัฐ ภาครัฐกำลังให้ความสำคัญกับเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน (SGDs) การสร้างหลักประกันให้มีแบบแผนการผลิตและการบริโภคที่ยั่งยืนที่กำหนดโดยสหประชาชาติ จึงส่งเสริมแนวปฏิบัติด้านการจัดซื้อจัดจ้างของภาครัฐที่ยั่งยืน โดยกำหนดให้หน่วยงานภาครัฐให้ความสำคัญกับการจัดซื้อจัดจ้างสินค้าและบริการจากผู้ประกอบการที่คำนึงถึง ESG
  2. เทรนด์โลก นักลงทุนและผู้บริโภคทั่วโลกให้ความสำคัญกับ ESG มากขึ้น ธุรกิจที่ไม่คำนึงถึง ESG อาจสูญเสียโอกาสทางธุรกิจ
  3. การเติบโตอย่างยั่งยืน ESG ช่วยสร้างภาพลักษณ์ที่ดีให้กับธุรกิจ เพิ่มประสิทธิภาพการดำเนินงาน ลดความเสี่ยงและสร้างความยั่งยืนในระยะยาว

จากปัจจัยดังกล่าว SME ที่มีความรับผิดชอบ โปร่งใส และยั่งยืนตามแนวคิด ESG จึงมีความได้เปรียบบนเวทีการค้ากับภาครัฐ ซึ่งส่งผลดีต่อธุรกิจอย่างยั่งยืน

  1. โอกาสทางธุรกิจ ภาครัฐมีงบประมาณการจัดซื้อจัดจ้างที่แน่นอนต่อปี ทำให้ SME สามารถนำเสนอสินค้าและบริการที่มี คุณภาพ ราคา และ มาตรฐานการผลิตต่าง ๆ รวมไปถึงมาตรฐานองค์กร และแนวคิดด้าน ESG จะช่วยเสริมสร้างโอกาสให้สามารถคว้างานจากภาครัฐได้มากขึ้น
  2. ข้อได้เปรียบทางการแข่งขัน SME ที่ดำเนินการด้าน ESG จะเป็นส่วนหนึ่งในการสร้างความมั่นใจให้กับภาครัฐว่าธุรกิจนั้นมีความรับผิดชอบ โปร่งใส และยั่งยืน
  3. การเข้าถึงแหล่งเงินทุน ธนาคารและสถาบันการเงินต่าง ๆ สนับสนุน SME ที่มีการดำเนินการด้าน ESG ผ่านสินเชื่อและผลิตภัณฑ์ทางการเงินต่าง ๆ ซึ่งจะช่วยสร้างความแข็งแกร่งให้ธุรกิจ

สำหรับการดำเนินการด้าน ESG สำหรับ SME แบ่งเป็น 3 ด้าน ได้แก่ ด้านสิ่งแวดล้อม (E : Environment)

ลดการใช้พลังงาน จัดการขยะอย่างมีประสิทธิภาพ และสนับสนุนการใช้สินค้ารีไซเคิล ด้านสังคม (S : Social) ดูแลพนักงานอย่างเป็นธรรม สนับสนุนชุมชนท้องถิ่น ส่งเสริมความหลากหลายและการรวมเข้าด้วยกัน และด้านธรรมาภิบาล (G : Governance) ดำเนินธุรกิจด้วยความโปร่งใส ป้องกันการคอร์รัปชัน การไม่สนับสนุนการทุจริตใด ๆ มีระบบตรวจสอบภายในที่มีประสิทธิภาพ

เพิ่มโอกาสให้ SME เข้าถึงการเป็นคู่ค้ากับภาครัฐด้วยสินเชื่อธุรกิจที่เข้าใจ

เพื่อเพิ่มโอกาสทางธุรกิจเข้าถึงการจัดซื้อจัดจ้าง สนับสนุนการส่งมอบงานให้ได้เป็นคู่ค้ากับภาครัฐมากขึ้น SME ควรมีสถาบันทางการเงินที่เข้าใจลักษณะของธุรกิจและการทำงานกับภาครัฐ เพื่อให้ธุรกิจสามารถเสนอและรับงานจากหน่วยงานภาครัฐและนำไปต่อยอดได้ ด้วยการสนับสนุนแหล่งเงินทุนที่เหมาะสม

ทีทีบี มุ่งมั่นเป็นพันธมิตรที่ SME ไว้วางใจ พร้อมสนับสนุนให้ SME ไทยให้เติบโตอย่างยั่งยืน จึงมีสินเชื่อธุรกิจ ทีทีบี เอสเอ็มอี สนับสนุน SME เข้าถึงการจัดซื้อจัดจ้างเป็นคู่ค้าภาครัฐ ที่เข้าใจลักษณะการทำงานกับภาครัฐโดยเฉพาะ ซึ่งจะเป็นโอกาสให้ SME สามารถกุมความได้เปรียบในการแข่งขันบนเวทีภาครัฐได้


ที่มา : ttb และ สถาบันเทคโนโลยีและสารสนเทศเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน (สทสย.)

X

Right Click

No right click