DPU X สถาบันเพื่อพัฒนาความเป็นผู้ประกอบการและบุคลากรแห่งอนาคต โดย มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์ (มธบ.) ร่วมกับ TIKTOK แพลตฟอร์มวิดีโอด้านบันเทิงยอดฮิต จัดกิจกรรม

ในช่วง 3-5 ปีนับจากนี้ เทคโนโลยีบล็อกเชน (Blockchain) อาจจะยังไม่ได้รับการตอบรับอย่างแพร่หลายในแง่ของการใช้งานในอุตสาหกรรมต่างๆ ในไทย เทียบเท่ากับต่างประเทศที่วันนี้เดินหน้าไปแล้วหลายช่วงตัว

การเรียนรู้ที่ไม่สิ้นสุด มีความสำคัญอย่างมากทั้งต่อการอยู่รอด และความสำเร็จ ในโลกที่เต็มไปด้วยการเปลี่ยนแปลงอย่างในวันนี้

Capstone Project for Entrepreneur Workshop กิจกรรมที่จัดขึ้นต่อเนื่องเป็นปีที่สอง เป้าหมายอยู่ที่การ “สร้างและส่งต่อ” พร้อมกับ “ต่อยอด” ความรู้ให้นั้นไปยังสองกลุ่มเป้าหมายหลักได้แก่ อาจารย์ผู้สอน และนักศึกษา โดยในปีนี้จัดขึ้น ณ Makerspace มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์ (DPU)

กิจกรรมพิเศษครั้งนี้จัดขึ้นสำหรับอาจารย์ DPU  เพื่อเป็นการเตรียมความพร้อมสู่การเป็น Startup University ที่พร้อมก้าวเข้าสู่การสอนในยุคดิจิทัลอย่างเต็มรูปแบบ นอกจากนี้ยังได้ร่วมแบ่งปัน แลกเปลี่ยนประสบการณ์จากผู้ที่ประสบความสำเร็จในธุรกิจด้านต่างๆ จากองค์กรชั้นนำ

ดร.พัทธนันท์ เพชรเชิดชู รองอธิการบดีสายงานภาคีสัมพันธ์ มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์ เปิดเผยว่า ​โครงการ capstone จัดขึ้นเพื่อเป็นการเพิ่มพูนทักษะความรู้ให้อาจารย์มีความเชี่ยวชาญที่จะเป็น accelerator ในวิชา capstone project โดยที่อาจารย์ที่เข้าร่วมติวเข้มความรู้ในครั้งนี้จะนำไปใช้ Coach กับนักศึกษาปี 3

ในชั้นเรียนปี 1 และ 2 นักศึกษาจะได้รับการพัฒนาทักษะความเป็นผู้ประกอบการ เทคโนโลยี และ Soft skills เมื่อขึ้นปี 3 เด็กๆ จะต้องมารวมกลุ่มจากเพื่อนต่างคณะ ต่างหลักสูตร เพื่อทำโปรเจ็คร่วมกัน ซึ่งในกระบวนการนี้จำเป็นที่จะต้องมีอาจารย์ที่มีทักษะ ความรู้ ความเชี่ยวชาญที่จะสามารถดูแลเด็กได้  กิจกรรมในเวิร์คชอปนี้จะเลือกอาจารย์ที่เป็นดรีมทีมขึ้นมาก่อนในชุดแรก จากนั้นมองถึงการขยายไปสู่การพัฒนาอาจารย์ทุกคนในมหาวิทยาลัยต่อไป

นอกจากการเวิร์คชอปเพื่อให้อาจารย์ไปสร้างเด็ก ในอีกมุมหนึ่งอาจารย์ก็ได้รับการ Re-skills โดยคนที่ผ่านกระบวนการนี้จะเป็น New work force ที่สำคัญต่อไปของ DPU  

ดร.พณชิต กิตติปัญญางาม ผู้อำนวยการสถาบัน DPU X แห่งมหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์ เปิดเผยว่า อาจารย์แต่ละท่านที่เข้าร่วมกิจกรรมเวิร์คชอปจะมาจากทุกคณะ เช่น ศิลปกรรม วิศวกรรม บริหาร ท่องเที่ยว นิเทศน์ โดยเป็นบุคคลที่เปิดรับและ อยากทดลองทำอะไรใหม่ ๆ

สิ่งที่สนใจเป็นเรื่อง  mind set กระบวนการความคิดมากกว่า เทคโนโลยีเป็นแค่เครื่องมือในการใช้งาน แต่หลักคิดในความเป็นมนุษย์ ในความเป็นผู้เชี่ยวชาญในงานกับเครื่องมือใหม่ ๆ ควรจะเป็นอย่างไร เราจะพัฒนามันอย่างไรเพื่อให้เราใช้ศักยภาพ จุดประสงค์หลักของ Capstone วัดได้ที่นักศึกษา แม้ไม่คาดหวังว่าเด็กทุกคนต้องได้ แค่ให้ส่วนใหญ่รับรู้และเข้าใจในแนวคิดนี้ในเชิงลึก ทำซ้ำไปเรื่อย ๆ แล้วจะเห็นผล ค่อยๆ สะสมไปเรื่อย ๆ จนเกิดเป็นวัฒนธรรมระหว่างอาจารย์กับเด็ก

ดร. รชฏ ขำบุญ รองคณบดีสายงานวิชาการ วิทยาลัยบริหารธุรกิจนวัตกรรมและการบัญชี เปิดเผยว่า ทักษะความรู้ที่ได้เข้าร่วมในโครงการนี้เกิดข้อดีในสองส่วนด้วยกัน ส่วนแรกนักศึกษาสามารถสร้างธุรกิจใหม่ได้ กับ สอง การปรับมุมมองคิดที่จะปรับธุรกิจเดิมๆ แล้ว สร้างสิ่งใหม่ๆ ให้เกิดขึ้น

ไม่ใช่เด็กทั้งร้อยเปอร์เซ็นต์ที่จบไปแล้วจะไปเป็นสตาร์ทอัพ ส่วนหนึ่งอาจต้องการทำงานในบริษัทใหญ่ซึ่งก็ต้องมีความรู้ด้านการสร้างนวัตกรรมหรือคิดปรับปรุงช่วยประโยชน์ให้องค์กร เพราะไม่ว่าจะเป็นสตาร์ทอัพ หรือทำงานในองค์กร หลักการเดียวกัน คือ การเข้าใจลูกค้า หาความต้องการของลูกค้าแล้วสนองตอบให้ได้มากที่สุด

ในกิจกรรมเวิร์คชอปสองวันเป็นการอบรมที่พยายามนำเสนอเครื่องมือที่หลากหลายที่จะเอาไปใช้ในการค้นหาความต้องการที่แท้จริงของลูกค้า

“ผมสอนในระดับปริญญาโท ก็ได้เอาประสบการณ์จากการอบรมไปสอน โดยให้นักศึกษา ให้จับกลุ่มสามคน เช่น วิศวะ การตลาด บัญชี แล้วไปทำธุรกิจอาหารเสริม ผลปรากฏว่าได้กำไรเป็นสิบๆ ล้านเมื่อปีที่แล้ว”

ผศ.ณธกร อุไรรัตน์ คณบดีคณะศิลปกรรมศาสตร์​ หนึ่งในผู้ร่วมกิจกรรมเวิร์คชอป Capstone Project เปิดเผยว่า  After school hub เป็นผลงานที่นำเสนอภายใต้การเข้าร่วมกิจกรรมในครั้งนี้   เริ่มจากมองปัญหาที่เกิดขึ้นกับตัวเองและคนใกล้ตัว รวมถึงการได้ไปสอบถามกับกลุ่มเป้าหมายซึ่งเป็นคนพ่อแม่วัยทำงานทำให้พบว่า การเดินทางไปรับลูกวัยประถมศึกษาหลังเลิกเรียนไม่ใช่ปัญหาเล็กๆ อีกต่อไป

“โรงเรียนเลิกเวลาบ่ายสามโมง การจะเดินทางไปรับที่ต้องฝ่าจราจรติดขัดทำให้หลายๆ ครั้งไปไม่ทันกับเวลาที่ได้นัดหมายเอาไว้ คลาดกัน และทำให้ต้องวนรถหลายต่อหลายครั้ง ทำให้เริ่มมาคิดถึงแนวทางแก้ปัญหา

ไอเดียที่ทางทีมเรานำเสนอว่าควรจะทำศูนย์​รับดูแลเด็กหลังเลิกเรียนเพื่อรอจนกว่าผู้ปกครองจะมารับในตอนเย็นหรือค่ำไปแล้ว นอกจากเป็นจุดศูนย์รวมของเด็กหลังเลิกเรียนแล้ว ยังมีกิจกรรมต่างๆ เสริมด้วย เช่น สอนการบ้าน อาหารเย็น พ่อแม่เลิกสองทุ่มก็มารับได้”

โดยข้อดีของกิจกรรมนี้ อาจารย์ผู้สอนเอาโปรเซสการสอนนี้ไปปรับใช้กับการสอนจริงในคลาสกับนักศึกษาแม้ในตอนที่เรียนก็ได้เรียนรู้จากของจริงซึ่งได้ผลมากกว่าการเลคเชอร์เพียงอย่างเดียว ที่สำคัญในบางไอเดียที่นำเสนออาจพัฒนาเป็นธุรกิจจริงได้ในอนาคตของจริง

เราเริ่มรู้แล้วถึงวิธีคิด และการพัฒนาเป็นธุรกิจ ต่อไปจะเอาตรงนี้ไปพัฒนาเป็นสคริปในการสอน เปลี่ยนบทบาทจากอาจารย์ เป็นโค้ช ซึ่งจะเกิดประโยชน์ได้มากกว่าสำหรับนักศึกษา  

ผศ.ดร.เนื่องวงศ์ ทวยเจริญ รองคณบดีฝ่ายวิชาการวิทยาลัยนวัตกรรมด้านเทคโนโลยีและวิศวกรรมศาสตร์​(CITE) เปิดเผยว่า ทางกลุ่มได้นำเสนอโปรเจ็คเว็บสอนภาษาไทยสำหรับนักศึกษากัมพูชา เนื่องจากมองว่ามีความต้องการของแรงงานกัมพูชาที่เข้ามาในไทยต้องการเรียนภาษาไทยเพื่อการสื่อสาร

“ก่อนจะทำโมเดล เห็นแล้วว่ามีเว็บไซต์สอนภาษาต่างประเทศเยอะมาก แต่ไม่มีภาษากัมพูชา ซึ่งจากการสอบถามชาวกัมพูชาที่มาทำงานในไทยก็พบว่ามีปัญหาเรื่องการสื่อสาร อยากมาทำงานในไทย ก็ลำบากเพราะไม่รู้ภาษาไทย   เมื่อมาทำงาน และเรียนในไทย ก็หาที่เรียนลำบาก ทำให้ทางกลุ่มเราคิดที่จะทำโมเดลการเรียนออนไลน์ขึ้นมา ทั้งการเรียนเป็นกลุ่ม ไลฟ์สอนสดโดยนัดเวลาเรียน”

จากปีแรกที่ได้เข้าร่วมเวิร์คชอป Capstone จนถึงปีนี้ ผศ.ดร.เนื่องวงศ์ บอกว่า ได้นับโมเดลวิธีคิดและการโค้ชไปใช้กับนักศึกษามาแล้วในปีที่ผ่านมา ทั้งการสอดแทรกมุมมองความเป็นผู้ประกอบการ การให้นักศึกษาได้ฝึกเขียนแผนธุรกิจ (Business Canvas) รวมถึงการเชิญผู้รู้จากในประเทศและต่างประเทศมาถ่ายทอดประสบการณ์และความรู้ ทำให้ได้เห็นการเปลี่ยนแปลงอย่างมาก

“ในช่วงแรกที่เด็กๆ คิดหัวข้อโปรเจ็คจะเลือกจากสิ่งที่อยากทำ หรือไม่ก็เว็บขายของ  แต่มาวันนี้วิธีคิดเปลี่ยนไป เริ่มคิดจากลูกค้าว่ามีปัญหาอะไร แล้วไปช่วยแก้ปัญหาได้อย่างไรบ้าง ตัวอย่างในปีที่แล้วนักศึกษาเสนอ โปรเจ็ค คนขายหอย มาจากที่บ้านทำธุรกิจฟาร์มหอย แต่ก็เจอปัญหาไม่สามารถจัดการการเงิน ปัญหาพ่อค้าคนกลาง จึงได้พัฒนาแอพพลิเคชันมาเป็นตัวกลางในการแก้ปัญหา” ผศ.ดร.เนื่องวงศ์ กล่าว

ด้าน ชิน วังแก้วหิรัญ ผู้บริหารจาก Vonder chatbot หนึ่งในเมนเทอร์ที่เข้าร่วมถ่ายทอดประสบการณ์การทำธุรกิจสตาร์ทอัพใน Capstone Project กล่าวว่า Vonder เป็นสตาร์ทอัพที่ทำทางด้านการศึกษา โดยพัฒนาการเรียนรู้ในนรูปแบบของเกม เมื่อกดเข้าไป เลือกวิชาที่อยากเรียน ซึ่งมีวิชาที่เรียน ได้แก่ อังกฤษ ประวัติศาสตร์ ​วิทยาศาสตร์ (เคมี ฟิสิกส์) ที่เน้นการประสบการเรียนรู้ในแบบ Interactive

จนถึงวันนี้ Vonder ทำธุรกิจมาแล้วปีเศษ ประสบการณ์จากการทำธุรกิจทำให้เรียนรู้ว่า บิสิเนสโมเดล และการหารายได้เป็นเรื่องสำคัญ​ ในปีแรกๆ ทำเฉพาะเกมการเรียนรู้ในกลุ่มนักเรียนแม้จะเป็นโปรดักท์ที่น่าสนใจและสร้างการเรียนรู้ได้ดี แต่ในด้านรายได้กลับไม่เป็นเช่นนั้น ทำให้เริ่มมองหาโอกาสใหม่ๆ ซึ่งก็พบว่า HR ในแต่ละองค์กรที่วันนี้นำโปรดักส์ของ Vonder เข้าไปเป็นส่วนหนึ่งของการให้ความรู้กับพนักงานซึ่งตลาดตรงนี้ก็เริ่มเติบโตขึ้นเรื่อยๆ

“สิ่งที่นำมาแลกเปลี่ยนประสบการณ์ในครั้งนี้อยากชี้ให้เห็นว่า ความล้มเหลวไม่ใช่เรื่องน่ากลัวเสมอไป ความล้มเหลวที่เกิดขึ้นได้ง่ายที่สุด และใหญ่ที่สุดคืออารมณ์ของตัวเอง ต้องรู้จักบริหารจัดการอารมณ์ในสถานการณ์ที่เจอให้ได้ รวมทั้งเรื่องของเงินทุน อย่าประมาท

การทำธุรกิจสมัยนี้ เริ่มต้นมีแค่คอมพิวเตอร์​ และทีมอีกสองคนก็เพียงพอ เมื่อเทียบกับการลงทุนเริ่มต้นธุรกิจที่ต้องมีสเกลที่ใหญ่กว่านี้มาก อย่างไรก็ดี ขอแค่มีความพร้อม และไม่ประมาทในการประเมินต้นทุน เชื่อว่าอย่างไรก็ได้อะไรที่ล้ำค่ากลับไป แม้ไม่เป็นตัวเงิน แต่ก็ได้ประสบการณ์ในการทำธุรกิจ”

จากภาพรวมของปีนี้ "Capstone Business Project" นับเป็นอีกโมเดลการเรียนรู้ที่สำคัญในโลกยุคปัจจุบันที่ให้มุ่งเน้นพัฒนาทักษะแห่งอนาคตให้กับบุคลากรและนักศึกษา DPU ในการมีมุมมองความคิดการเป็นผู้ประกอบการ รวมถึงการทำ Startup ให้ประสบความสำเร็จอย่างมืออาชีพ ชี้วัดจากปีที่ผ่านมา DPU  ส่งนักศึกษาเข้าแข่ง startup Thailand เป็นปีแรกจำนวน 10 ทีม สามารถทะลุ เข้ารอบ 4 ทีม ที่สุดคว้ารางวัลที่ 2 ของภูมิภาคได้เป็นผลสำเร็จ

“แรงบันดาลใจที่ทำให้เกิดไอเดียธุรกิจนี้คือคุณปู่กับคุณย่าค่ะ ซึ่งหนูไม่มีโอกาสได้ทดแทนบุญคุณพวกท่านแล้วจึงอยากส่งมอบความปราถนาดีนี้ผ่านการเพิ่มคุณค่าให้แก่สังคมผู้สูงวัยค่ะ” น.ส.กัลยรัตน์ พิกุลน้อย (พลอย) นักศึกษาชั้นปีที่ 3 วิทยาลัยบริหารธุรกิจนวัตกรรมและการบัญชี (College of Innovative Business and Accountancy: CIBA) หลักสูตรบัญชี  มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์  หนึ่งในสมาชิกทีม JElder  เผยถึง แรงบันดาลใจที่ทำให้เกิดไอเดียธุรกิจเพื่อสังคม ( SE: social enterprise ) ซึ่งเป็น Market Place ที่ใช้งานง่ายสำหรับผู้สูงอายุโดยมีวิธีการขายเป็น Group buy ซึ่งผู้สูงอายุสามารถเพลิดเพลินกับการขายสินค้าอุปโภค บริโภค รวมถึงการจัด Event ต่างๆได้ใน Platform นี้ โดยไอเดียธุรกิจนี้ได้รับรางวัลรองชนะเลิศอันดับ 1 ในการแข่งขัน Startup Thailand League 2019 ที่สนามแข่งขันมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารีโคราช จังหวัดนครราชสีมา และเตรียมความพร้อมลงสนามรอบ Final Pitching Demo Day

น้องพลอยเล่าว่า ไอเดียธุรกิจนี้ ได้ร่วมระดมความคิดสร้างสรรค์กับเพื่อนๆอีก 3 คนในทีม JElder  มีด้วยประกอบด้วย  น.ส.กัญญารัตน์ ชาญประโคน คณะการท่องเที่ยวและการโรงแรม หลักสูตรการท่องเที่ยว  น.ส.อนุตตรีย์ เชิดครบุรี คณะการท่องเที่ยวและการโรงแรม หลักสูตร การโรงแรม และ น.ส. อานิต้า แสงโรจน์

คณะการท่องเที่ยวและการโรงแรม สาขาการโรงแรม โดยเริ่มเริ่มแรกได้นำเสนอไอเดียธุรกิจนี้ผ่านโครงการนพรัตน์ทองคำซึ่งเป็นโครงการสำหรับนักศึกษามหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์ผู้ที่มีคุณสมบัติแก้ว 9 ประการ ขณะนั้นได้รับรางวัลนวัตกรรมชมเชยจากผลงาน จุดนี้จึงเป็นอีกหนึ่งแรงบันดาลใจที่ทำให้พัฒนาตนเองและสร้าง Platform ธุรกิจให้มีความสมบูรณ์แบบมากยิ่งขึ้น

การเรียนที่ CIBA มีหลักสูตรการเรียนการสอนที่มีคุณภาพและสิ่งอำนวยความสะดวกในการเรียนให้กับนักศึกษา ทำให้สร้าง J E I d e r ให้ประสบความสำเร็จได้ โดย DPU X จะสอนการ Pitching เสนอไอเดียอย่างไรให้เข้าเป้าหรือประสบความสำเร็จได้ มีทีมงานให้คำปรึกษาแนะแนวทางในการสร้างสรรค์ไอเดียธุรกิจเสมอ น้องพลอยกล่าว

  

ดร.ศิริเดช คำสุพรหม คณบดีวิทยาลัยบริหารธุรกิจนวัตกรรมและการบัญชี (College of Innovative Business and Accountancy: CIBA) มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์ กล่าวย้ำว่า มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์ เราปลูกฝังทักษะการเป็นผู้ประกอบการให้นักศึกษาตั้งแต่เริ่มเรียนชั้นปี 1 ในทุกสาขาวิชา ผ่านวิชาในกลุ่ม DPU CORE  (ดียู คอร์) เมื่อขึ้นชั้นปีที่ 3 ในรายวิชาที่เรียกว่า Capstone Projects นักศึกษาจะทำงานเป็นทีม สมาชิกในทีมมาจากต่างสาขาและต่างคณะ เพื่อให้นักศึกษาแลกเปลี่ยนความรู้และประสบการณ์  ออกไอเดียและสร้างสรรค์ชิ้นงาน หัวข้อโครงการอาจเกิดจากนักศึกษาเอง หรือจากสถานประกอบการและพันธมิตรในเครือข่ายของมหาวิทยาลัย และยังได้จัดตั้งสถาบัน DPU X (ดีพียู เอ็กซ์) เพื่อทำหน้าที่บ่มเพาะทีมนักศึกษาเหล่านี้ต่อในโครงการ DPU Startup Bootcamp เพื่อปั้นไอเดียให้เป็นจริงได้

นักศึกษาเราต้องผ่านเวทีประกวดแนวคิดธุกิจ CIBA MINI CAPSTONE ซึ่งเป็นการจัดแสดงแนวคิดธุรกิจยุค Thailand 4.0 ให้จับกลุ่มทำงานเป็นทีมหลากหลายคณะนำเสนอแผนธุรกิจผ่านโครงการ MINI CAPSTONE โดยมีการประกวด Final Pitching  และ Showcase ซึ่งจะจัดทุกปีเพื่อให้นักศึกษาได้มีเวทีนำเสนอผลงาน ดร.ศิริเดช กล่าวในตอนท้าย

“พัทธนันท์ เพชรเชิดชู”  รองอธิการฯมธบ.” เปิดตัว  Capstone Project ต้นแบบ Startup University สู่ความสำเร็จแบบมืออาชีพ

ดร.พัทธนันท์ เพชรเชิดชู  รองอธิการบดีสายภาคีสัมพันธ์ มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์ (มธบ.) เปิดเผยว่า วิทยาลัยบริหารธุรกิจนวัตกรรมและการบัญชี (College of Innovative Business and Accountancy: CIBA) ได้จัดอบรมเชิงปฏิบัติการให้นักศึกษาภายใต้โครงการ Capstone Project เพื่อเสริมสร้างทักษะด้านผู้ประกอบการที่มุ่งเน้นให้สามารถแก้ไขโจทย์จริงจากความต้องการของภาคธุรกิจ รวมถึงฝึกทักษะการทำงานเป็นทีมบนพื้นฐานความรู้ที่แตกต่างกันเพื่อให้เตรียมพร้อมก่อนออกสู่ตลาดแรงงานจริง เนื่องจากทักษะด้านผู้ประกอบการถือเป็นอีกทักษะหนึ่งที่สำคัญต่อการทำธุรกิจและการประกอบอาชีพในโลกแห่งอนาคต เพราะไม่เพียงแต่นักศึกษาสามารถทำงานภายในองค์กรได้เท่านั้น แต่ยังสามารถเริ่มต้นทำธุรกิจได้อีกด้วย 

ล่าสุด ทาง CIBA ได้จัดการแข่งขัน Final Pitching Capstone Business Project โดยมีนักศึกษาเข้าร่วมโครงการและสามารถคว้ารางวัลจากการแข่งขันครั้งนี้ได้ทั้งหมด 3 ทีม  ประกอบด้วย ทีม Charm Gems คว้ารางวัลชนะเลิศประเภท CREATIVE AWARD  ทีม A3 คว้ารางวัลประเภท ADAPTIVE AWARD และทีมจัสมิน   คว้ารางวัลประเภท INNOVATION AWARD    โดยแต่ละทีมได้เรียนรู้และพัฒนาโครงงานร่วมกัน เป็นการฝึกเสมือนทำงานในองค์กรจริง สามารถสร้างนวัตกรรม ประยุกต์เทคโนโลยีสารสนเทศมาใช้แก้ปัญหาได้ ทำให้นักศึกษา ได้ฝึกทักษะด้านความคิดสร้างสรรค์ การสื่อสารให้คนอื่นเข้าใจ มีการทำงานร่วมกันกับเพื่อนต่างคณะ ทำให้ได้ฝึกการบริหารความขัดแย้ง ที่เกิดขึ้น (Conflict Management)  ซึ่งสิ่งเหล่านี้ทางมหาวิทยาลัยก็ได้พยายามปลูกฝังเข้าไปในตัวนักศึกษาเพื่อให้สอดคล้องกับแนวทางการเป็นสตาร์ทอัพยูนิเวิอร์ซิตี้

นางสาวกาญจนา ช้างป่าดี นักศึกษาชั้นปีที่ 4 คณะบริหารธุรกิจนวัตกรรมและบัญชี สาขาการตลาดยุคดิจิทัล ตัวแทนทีม Charm Gems ซึ่งได้รับรางวัลชนะเลิศ CREATIVE AWARD กล่าวว่า ได้รับโจทย์เป็นเรื่องเกี่ยวกับลูกปัด ซึ่งจากการพูดคุยกับผู้ประกอบการพบว่าตลาดอิ่มตัว ลูกค้าแก่ขึ้นไปตามแบรนด์และไม่มีกำลังซื้อ ขณะที่กลุ่มที่มีกำลังซื้อก็ไม่สนใจ จึงดีไซน์รูปแบบใหม่ เพิ่มฟังก์ชั่นการใช้งานแทนที่จะเป็นลูกปัดก็เปลี่ยนมาเป็นหินสีผสมผสานความเชื่อเรื่องหินมงคลบวกกับนำหินมาร้อยเป็นสายนาฬิกา เพิ่มฟังก์ชั่นการใช้งาน เป็นเครื่องประดับที่ใช้ดูเวลาได้ด้วย ดีไซด์สวยงาม เป็นงานแฮนด์เมด ทำให้สินค้ามีมูลค่าเพิ่มสูงขึ้น มีช่องทางการจำหน่ายผ่านสื่อออนไลน์เข้าถึงง่ายสะดวกกับลูกค้า

“การทำงานครั้งนี้ได้ประสบการณ์มากมาย เพราะว่าเราทำงานกับเพื่อนที่ไม่ได้สนิทไม่ได้รู้จักกันมาก่อนเลยก็ต้องปรับตัวเข้าหากัน เรื่องของการทำธุรกิจ เราเรียนมาก็จริงแต่ไม่เคยทำ สำคัญจริงๆ เลย คือ ต้องความต้องการของลูกค้า และเราทำอะไรตอบโจทย์เขาได้บ้าง มันจะทำให้เราประสบความสำเร็จ”

นางสาวกาญจนา กล่าวในตอนท้ายว่า ได้นำวิชาความรู้ที่ได้ร่ำเรียนมาปรับใช้กับการทำธุรกิจขายของออนไลน์ของตนเอง จนปัจจุบันมียอดขายมากขึ้น เพียงพอต่อค่าเทอมและค่าใช้จ่ายส่วนตัว คิดว่าหลังจากจบการศึกษาไปแล้ว คงนำความรู้ที่ได้จากการเรียนไปต่อยอดให้กับธุรกิจของตนเองอย่างจริงจังมากขึ้น 

นางสาวนิภาพร  กันยา นักศึกษาชั้นปีที่ 4 คณะการท่องเที่ยวและการโรงแรม สาขาการโรงแรม ตัวแทนทีม จัสมิน กล่าวว่า ทางทีมได้รับรางวัล INNOVATION AWARD  จากการคิดค้นผลิตภัณฑ์ลูกประคบไฟฟ้าสมุนไพรสำหรับผู้ประกอบการขนาดเล็ก ที่จากเดิมใช้ครั้งเดียวแล้วก็ทิ้งไม่ใช้ซ้ำ ตามข้อจำกัดของสมุนไพร เลยคิดค้นกันว่า ถ้าเราใช้ลูกประคบไฟฟ้าแบบชาร์ตไฟได้ เพียงแค่เปลี่ยนจากลูกประคบเป็นแผ่นสมุนไพร จะช่วยให้ค่าใช้จ่ายน้อยลง จากปกติลูกประคบใช้งานราคาอยู่ที่ 180-200 บาทต่อลูกต่อการใช้งาน  1 ครั้ง แต่พอเปลี่ยนมาเป็นแผ่นสมุนไพรตามประเภทและชนิดสมุนไพร ช่วยทำให้ต้นทุนมาอยู่ที่ราคา 40-50 บาท แต่อาจจะเสียค่าเครื่องประคบครั้งเดียวแต่ใช้งานได้นาน   

ทั้งนี้ การคิดค้นผลิตภัณฑ์ตัวนี้ออกมา ทางทีมได้ระดมความคิดแชร์ไอเดียกันหนักหน่วงพอสมควรกว่าจะได้รับการพิจารณาโครงการให้ผ่านเพราะต้องหาความแตกต่างของสินค้าและตรงกับความต้องการตลาดมากที่สุด พอผ่านแล้วต้องมาเจอกับด่านการศึกษาค้นคว้าข้อมูล แต่ก็ไม่ใช่อุปสรรคเพราะมีที่ปรึกษาใกล้ตัวที่มีความเชี่ยวชาญในแต่ละด้าน ทั้งเรื่องนวดเพื่อสุขภาพ เครื่องใช้ไฟฟ้า และสมุนไพร 

“จากเดิมที่ยังค้นหาตัวเอง ยังไม่รู้ว่า มีความสามารถด้านไหนเพราะเวลาทำอะไรตามคำสั่งคนอื่นก็สามารถทำได้หมด แต่ต่อมา พอเป็นผู้นำทีมก็รู้สึกว่า ตัวเองก็สามารถคิดเองได้แบบไม่ต้องมีใครสั่ง นอกจากนี้การเรียนรู้ในโครงการยังทำให้รู้ว่า เมื่อเรียนจบไปแล้วจะทำให้ได้เจอคนในหลายแบบ หลายความคิด ทั้งคนที่ได้ดั่งใจเรา ไม่ได้ดั่งใจเรา ถึงแม้จะมีความขัดแย้งภายในกลุ่ม แต่สุดท้ายก็ลงเอยได้ด้วยดีเพราะเราปรับตัวเข้าหากัน ปรับวิธีการทำงานร่วมกันเพื่อให้งานออกมาได้สำเร็จ จึงอยากชวนน้องๆเข้ามาลองเปิดใจกับ Capstone   เปิดใจกับคำว่า Startup  เริ่มคิด เริ่มลงมือทำแล้วจะรู้ว่าไม่มีอะไรน่ากลัวและไม่มีอะไรที่ทำไม่ได้”

นางสาวเจนจิรา แสงคำ นักศึกษาชั้นปีที่ 4 วิทยาลัยบริหารธุรกิจนวัตกรรมและบัญชี สาขาการตลาดยุคดิจิทัล (CIBA) ทีม A3 ได้รับรางวัลประเภท ADAPTIVE AWARD จากการพัฒนาผลิตภัณฑ์ลูกประคบสมุนไพรแบบเดิมๆให้เป็นลูกประคบตัวการ์ตูนที่มาพร้อมกับกลิ่นหอมจากดอกไม้นำเข้าจากต่างประเทศ จุดเริ่มต้นของทุกคนคือ มีที่มาจากต่างคณะต่างสาขาแล้วมาร่วมทำโปรเจคกัน ช่วงแรกๆ มีการกลัวการเข้าหากันบ้าง แต่ก็แก้ปัญหาร่วมกัน พยายามฟังกันให้มากกว่าพูด ใครมีไอเดียดีๆ ก็จะช่วยกันนำเสนอ ทุกคนในทีมได้ข้อคิดร่วมกันว่า งานนี้ไม่ใช่งานที่คนอื่นทำ แต่เป็นงานของเราที่เราต้องทำกันเป็นทีมให้สำเร็จ คิดแบบนี้แล้วทำให้ทุกคนมีกำลังใจกันมาก และมีความมั่นใจเวลาขึ้น Pitching บนเวที  สำหรับน้องๆ ที่สนใจเข้าร่วมโครงการ อย่ากลัวสิ่งที่จะลอง เพราะถ้าได้ลองแล้วนอกจากมีความท้าทาย มีความสนุกและยังได้เสริมศักยภาพให้กับตัวเองได้ด้วย

X

Right Click

No right click