5 Skills To The Future : SEAC (Southeast Asia Center) ศูนย์พัฒนาและส่งเสริมการเรียนรู้ตลอดชีวิตแห่งภูมิภาคอาเซียน :

April 01, 2019 2436

โลกทุกวันนี้เรียกได้ว่าเป็น “New Normal” โลกที่มีสิ่งใหม่ๆ เกิดขึ้นตลอดเวลา ก่อเกิดความเปลี่ยนแปลงและผลกระทบต่อภาคส่วน ต่างๆ เป็นระลอกๆ เราปฏิเสธไม่ได้ว่าการเปลี่ยนแปลงนี้เกิดจากการ คืบคลานของ เทคโนโลยี” ที่เข้ามามีบทบาทและสร้างจุดเปลี่ยนสำคัญ ที่เรียกว่า Technology Disruption และยังส่งผลทำให้หลายองค์กร พยายามเร่งพัฒนาศักยภาพเพื่อให้สามารถก้าวข้ามความท้าทายที่เกิดขึ้น โดยเฉพาะในภาคส่วนของพนักงาน เป็นอีกหน่วยที่ต้องเตรียมเผชิญ การถูกท้าทายด้วยการแทนที่งานโดยเทคโนโลยี ทั้งหุ่นยนต์ (Robot) และ ปัญญาประดิษฐ์ (Artificial Intelligence หรือ AI)

ผู้เชี่ยวชาญจากทั่วโลกคาดการณ์ว่าหลายอาชีพในปัจจุบันกว่า 73 ล้านอาชีพกำลังจะหายไปภายในปี ค.ศ. 2030 ตัวเลขที่สูงจนน่าตกใจนี้ กระตุ้นให้พนักงานในหลายองค์กรมีทั้งความตระหนกและความตระหนัก

แนวโน้มความกังวลว่าหุ่นยนต์และปัญญาประดิษฐ์จะ แย่ง งานมนุษย์เป็นเรื่องที่ใครๆ ต่างพากันพูดถึง ในขณะเดียวกันก็มีการตอบโต้จากนักวิชาการบางกลุ่มซึ่งได้อ้างอิงถึงสถิติในยุคที่มีการปฏิวัติอุตสาหกรรม โดยในยุคนั้นมีการนำเครื่องจักรมาทดแทนแรงงานคน ในปี ค.ศ. 1900 พบว่า 40% ของแรงงานในประเทศสหรัฐอเมริกาอยู่ในภาคเกษตรกรรม แม่ทุกวันนี้เหลือคนในภาคเกษตรกรรมเพียง 2% แต่ประเด็นสำคัญ คือแรงงานหรือบุคลากรในประเทศสหรัฐอเมริกาไม่ได้ตกงาน แต่กลับเปลี่ยนไปทำงานที่มีมูลค่าสูงขึ้น โดยหันมาทำงานในบริบทที่เกี่ยวกับเครื่องยนต์กลไก รวมถึงมีงานใหม่ๆ ที่เกิดขึ้นตามความก้าวหน้าของโลกอุตสาหกรรมที่เกิดขึ้นนับแต่นั้น

ผลการศึกษาล่าสุดคาดการณ์ว่าการเปลี่ยนแปลงด้านเทคโนโลยีที่กำลังดำเนินจะก่อเกิดอาชีพใหม่ๆ และจะมากกว่าอาชีพที่ถูกทำลายหายไป เมื่อเทียบจากจำนวนอาชีพงานในช่วง 144 ปี ที่ผ่านมา ดังนั้นความเปลี่ยนแปลงจาก เทคโนโลยี หรือ Technology Disruption จึงมิได้จะมีเพียงด้านลบ แต่ยังมีโอกาส ใหม่ๆ ที่จะเกิดขึ้น และประเด็นอยู่ที่ว่าเราจะปรับตัวอย่างไร? ให้มีความรู้และทักษะที่สามารถตอบโจทย์เป็นที่ ต้องการและไปต่อได้ในอนาคตที่กำลัง เปลี่ยนแปลง

SEAC (Southeast Asia Center) สถาบันพัฒนาและ ส่งเสริมการเรียนรู้ตลอดชีวิต แห่งภูมิภาคอาเซียน ได้นำเสนอ 5 ทักษะอันเป็นที่ต้องการของอาชีพในอนาคต ซึ่งประกอบไปด้วย

  1. ปัญญาประดิษฐ์ หรือ Artificial Intelligence (AI)

AI หรือเทคโนโลยีปัญญาประดิษฐ์ สาขาหนึ่งทางวิทยาการคอมพิวเตอร์และวิศวกรรม ผนวกรวมกับศาสตร์ด้านอื่นๆ อาทิเช่น จิตวิทยา ปรัชญา ชีววิทยา ฯลฯ ภายใต้ การสร้างโปรแกรมการเรียนรู้ให้กับเครื่องจักร ที่เรียกว่า Machine Learning ผ่านการป้อนข้อมูล (Data) จำนวนมหาศาลเข้าไปเพื่อให้เครื่องจักรเรียนรู้ โดยมีการติด Algorithm เพื่อให้เครื่องจักรสามารถเรียนรู้ ประมวลผล วิเคราะห์ สร้างองค์ความรู้ และคาดการณ์อนาคตได้ด้วยตัวเอง ซึ่งถูกนำมาใช้งานอย่างหลากหลาย อาทิ ระบบ ประมวลผลตรวจจับใบหน้าบนโทรศัพท์มือถือ ระบบการประมวลภาษาธรรมชาติ (Natural Language Processing - NLP) การจดจำคำพูด (Speech Recognition) ที่ถูกใช้ ในเทคโนโลยีของ Siri Apple ระบบการแนะนำวิดีโอหรือหนังใน Net ix และ YouTube ฯลฯ ในปัจจุบันสาขานี้ถูกพัฒนาจนมีขั้นตอนประเมินชุดข้อมูล (Hidden Layer) ที่ ซับซ้อนมากขึ้นเรื่อยๆ จนใกล้เคียงกับเครือข่ายประสาทของสมองมนุษย์เลยทีเดียว

นอกจากเทคโนโลยีอย่าง AI แล้วยังมีเทคโนโลยีการพัฒนาซอฟต์แวร์ ต่างๆ (Software Development) อาทิเช่น ระบบการทำงานอัตโนมัติ ด้วยหุ่นยนต์ (Robotic Process Automatic หรือ RPA) ซึ่งเป็นการพัฒนาซอฟต์แวร์ขึ้นมาเพื่อควบคุม กิจกรรมทางธุรกิจหลากหลายรูปแบบ ด้วยคอมพิวเตอร์อย่างอัตโนมัติ โดย ผ่านการวิเคราะห์จากชุดข้อมูลต่างๆ ซึ่งเทคโนโลยีนี้จะเข้ามาทำหน้าที่ แทนมนุษย์ในงานที่ต้องใช้เวลามาก และทำซ้ำไปซ้ำมา อย่างการตอบอีเมลลูกค้า การจัดการกับเอกสาร ตัวเลข และข้อมูลปริมาณมาก ราวกับเป็นพนักงานบริษัทที่ทำงานได้ 24 ชม. โดยไม่รู้จักเหน็ดเหนื่อย กล่าวคือ เมื่อ AI สามารถทำงานได้เหนือมนุษย์อย่างนี้แล้ว จึงจำเป็นมากที่คนทำงานทุกคนต้องเร่งปรับตัวและเรียนรู้อย่างรวดเร็วกับ เทคโนโลยี AI

  1. การวิเคราะห์ชุดข้อมูลขนาดใหญ่ (Big Data Analytics) และการแสดงผลข้อมูลให้เห็น ภาพ (Data Visualization)

หลายคนเริ่มคุ้นเคยกับคำว่า “Big Data Analytics” หรือการ วิเคราะห์ข้อมูลขนาดใหญ่ (ที่ใหญ่มากๆ จนมนุษย์ไม่สามารถวิเคราะห์ทั้งหมดได้) เพื่อค้นหารูปแบบความสัมพันธ์และหา สิ่งที่เชื่อมโยงข้อมูลเหล่านั้นเข้าด้วยกัน เพื่อนำข้อมูลที่ได้มาใช้ประโยชน์ต่างๆ โดยเฉพาะเพื่อผลประโยชน์ทางธุรกิจ ไม่ว่าจะเป็นการหาเทรนด์ทางการตลาด การหาความต้องการของลูกค้า ซึ่งถูกนำมาประกอบการพัฒนาแผนงาน การดำเนินการต่างๆ ตลอดจนการตัดสินใจ ทางธุรกิจให้มีความถูกต้อง ตรงจุด และมีประสิทธิภาพมากขึ้นอย่างไม่เคยเป็นมาก่อน จนเรียกได้ว่าการตัดสินใจยากๆ ในอดีต สามารถทำได้ง่ายขึ้น (และเร็ว มากขึ้นมากๆ) ในปัจจุบัน

ซึ่งแม้ว่าเทรนด์นี้จะเข้ามาในสังคมโลกรวมถึงประเทศไทยมาได้สักระยะใหญ่ๆ และหลายองค์กรก็เริ่มนำเทคโนโลยีนี้เข้ามาเป็นส่วนหนึ่งในการดำเนินงานทางธุรกิจแล้ว แต่มันจะมีประโยชน์อะไร ถ้าคนส่วนใหญ่ในองค์กรไม่สามารถอ่านมันออก หรือแม้ว่าจะมีคนอ่านข้อมูลออกก็ไม่รู้ว่าจะอธิบายให้คนอื่นๆ เขาใจได้อย่างไรเพื่อแก้ปัญหา จุดนี้เองที่ทักษะด้าน “Data Visualization” หรือทักษะในการนำข้อมูลต่างๆ มาทำให้เห็นภาพ จึงมีบทบาทและความสำคัญอย่างขาดไม่ได้เลย โดยทักษะนี้จะช่วยแปลงข้อมูลเชิงเทคนิคมาอยู่ในรูปแบบของภาพ (Visual) เพื่อให้เข้าใจง่ายขึ้น ดูน่าสนใจมากขึ้นและเห็นภาพรวมของข้อมูลได้ชัดเจนยิ่งขึ้น ซึ่งนอกจากจะทำให้ข้อมูลยากๆ สามารถเข้าถึงคนในหมู่มากได้แล้ว ก็ยังเพิ่มโอกาสในการมองเห็นข้อมูลที่น่าสนใจชุดใหม่ๆ ที่อาจมองข้ามไป นับเป็นการเพิ่มโอกาสทางธุรกิจอีกต่อหนึ่ง จนอาจกล่าวได้ว่า Data Visualization ถือเป็นอีกหนึ่งทักษะของพนักงานในฝันที่ทุกองค์กรใฝ่หาในอนาคต

  1. การคิดเชิงวิเคราะห์ (Critical Thinking) และการแก้ปัญหาที่ ซับซ้อน (Complex Problem-Solving)

แม้ว่าเทคโนโลยีจะถูกพัฒนาให้มาทำงานหลายๆ อย่างแทนมนุษย์ แต่มีอยู่สิ่งหนึ่งที่เครื่องจักรไม่สามารถทำแทนเราได้ และแม้ทำได้เราก็ไม่ไว้ใจให้ทำหน้าที่แทนมนุษย์ แบบร้อยเปอร์เซ็นต์ สิ่งนั้นก็คือหน้าที่ในการตัดสินใจ เพราะถึงแม้ว่า AI จะสามารถ คำนวณเรื่องต่างๆ ได้แม่นยำมากขึ้น เก็บข้อมูลได้มากมาย แต่ในหลายๆ เรื่องก็ยังต้องใช้ทักษะการคิดเชิงวิเคราะห์ในการตัดสินบางเรื่องอยู่ เช่น ทนายอาจใช้ AI เก็บข้อมูล หลักฐานต่างๆ เพื่อประกอบการพิจารณาคดี แต่สุดท้ายอัยการหรือผู้ที่อำนาจในการ ตัดสินก็ยังเชื่อว่ามนุษย์จะสามารถพิจารณาและตัดสินความได้ดีกว่า จึงไม่น่าแปลกใจเลยว่า ทักษะที่เกี่ยวกับการคิดเชิงวิเคราะห์” (Critical Thinking) และ ทักษะในการแก้ปัญหาที่ซับซ้อน” (Complex Problem Solving) ซึ่งครอบคลุมไปถึง การเลือกคำตอบในการแก้ปัญหาที่เหมาะสม จะเป็นทักษะประเภท ซอฟท์สกิล (Soft Skill) ที่หลายองค์กรเฟ้นหาในผู้สมัครงานยุคใหม่ และเร่งพัฒนาพนักงาน ของตนเองให้มีทักษะนี้มากขึ้น

โดยทักษะดังกล่าวช่วยให้มนุษย์ สามารถวิเคราะห์สถานการณ์ต่างๆ และ ตัดสินใจกระทำการสิ่งใดสิ่งหนึ่งตามหลัก ตรรกะและเหตุผลได้อย่างสมเหตุสมผล แม้ว่าปัญหาจะมีความซับซ้อนที่ยากจะเข้าใจโดยเฉพาะในยุคสมัยที่เทคโนโลยี และมนุษย์ทำงานคาบเกี่ยวกันในหลายระดับ จนไม่สามารถใช้วิธีการแก้ปัญหาแบบเดิมๆ ได้ในทุกปัญหาก็ตาม

  1. ทักษะเรื่อง คน’ (People Skills)

กล่าวได้ว่างานเกือบทุกประเภทบนโลกใบนี้ล้วนต้องมีการปฏิสัมพันธ์ และ สื่อสารกับคนอื่นๆ ไม่ว่าทางใดก็ทางหนึ่ง ดังนั้น ทักษะเรื่องคน” (People Skills) จึงเป็นทักษะที่ขาดไม่ได้ที่จะช่วยให้เรา สามารถทำงานร่วมกับผู้คนได้อย่างราบรื่น ซึ่งเมื่อจำแนกลงไปแล้วทักษะนี้ ประกอบไปด้วยคุณลักษณะที่หลากหลาย ไม่ว่าจะเป็นทักษะเกี่ยวกับประสิทธิภาพส่วนบุคคล (Personal Effectiveness) ที่ เน้นการพัฒนาตนเอง ทักษะที่เกี่ยวข้อง กับบุคคลอื่น (Interpersonal Skills) การมี มนุษย์สัมพันธ์ที่ดี (Relation Skills) และทักษะการสื่อสาร (Communication Skills) ซึ่งเมื่อนำมามัดรวมกันจะแบ่ง ออกเป็นความสามารถและทักษะต่างๆ มากมาย อาทิ

ทักษะด้านการจัดการคน (People Management Skills) ที่ใช้ในการจัดการ เจรจา (Deal With) และควบคุมทั้ง ประสิทธิภาพและความรู้สึกของผู้คน รอบข้าง ทักษะเกี่ยวกับความยืดหยุ่นใน การเข้าใจผู้อื่น (Cognitive Flexibility) ที่ช่วยให้เราเข้าใจผู้อื่นได้มากขึ้น รู้จักถึงวิธีการเข้าหา (Approach) และพูดคุยกับ ผู้คนในแต่ละลักษณะ ตลอดจนรู้วิธีปรับเปลี่ยน วิธีการสื่อสารให้เหมาะสมกับแต่ละบุคคลได้อย่างสมบูรณ์แบบ ทักษะด้านการโน้มน้าวใจ (Negotiation Skills) ซึ่งเรียกได้ว่าเป็นหัวใจสำคัญในการปิดข้อตกลงทางธุรกิจในทุกๆ ครั้ง ฯลฯ

ทักษะหรือซอฟท์สกิลเหล่านี้ล้วนเป็นตัวช่วยเพิ่มประสิทธิภาพการทำงานให้กับมนุษย์อย่างมาก เพราะตราบใดที่เรายังต้องทำงานร่วมกับผู้อื่น แม้เพียงแค่ 1 คน เราก็ยังจำเป็นต้องใช้ทักษะเหล่านี้ไม่มากก็น้อย และยังเป็นสิ่งที่ Machine ยังไม่สามารถเข้ามาแทนที่ได้

  1. ทักษะความคิดสร้างสรรค์(Creativity)

กล่าวได้ว่าเป็นทักษะชั้นเลิศที่อยู่คู่กับสังคมมนุษย์มาเนิ่นนาน ซึ่งสิ่งการันตีได้ถึงความยอดเยี่ยมที่แม้หุ่นยนต์ที่ดีที่สุดก็ไม่สามารถเทียบเท่ามนุษย์ได้ ทักษะนั้นก็คือ ความคิดสร้างสรรค์” (Creativity) เพราะสมองของมนุษย์มีความซับซ้อนและมีความสามารถในการคิดได้หลากหลายรูปแบบจนนำไปสู่การคิดค้นและสร้างสรรค์สิ่งประดิษฐ์ใหม่ๆ ซึ่งเทคโนโลยีและ AI บนโลกใบนี้ต่างล้วนเกิดจากความคิดสร้างสรรค์ของมนุษย์นั่นเอง สิ่งที่ดีไปกว่านั้นก็คือ แม้ว่าคนเราอาจไม่ได้เกิดมาแล้วมีทักษะความคิดสร้างสรรค์ หรือ การคิดหาทางออก / หาคำตอบได้อย่างสร้างสรรค์ หรือเราทุกคนไม่ได้เกิดมาแล้วคิดแบบ Steve Jobs ได้ แต่เราก็ยังมีรูปแบบขั้นตอนการคิดที่ฝึกให้เราทำเช่นนั้นได้ เช่นการ ฝึกคิดแบบ Design Thinking หรือเทคนิคการคิดหาคำตอบแบบนักออกแบบ เป็นต้น โดยทักษะความคิดสร้างสรรค์กลับมาทวีความสำคัญมากขึ้นเรื่อยๆ ในยุคที่เครื่องจักร เข้ามาแย่งงานที่กินเวลาอันแสนน่าเบื่อไปเสียหมด จนคนมีเวลาเหลือเฟือที่จะไปใช้ กับการสร้างสรรค์ไอเดียใหม่ๆ ที่สามารถตอบโจทย์ทุกสถานการณ์ในอนาคต (ที่เพิ่ม ความท้าทายให้กับนักคิดด้วยความเร็วของการเปลี่ยนแปลงที่เร็วมากขึ้นเรื่อยๆ) เฉกเช่นปัจจุบัน โดยเฉพาะการริเริ่มความคิดนอกกรอบ ที่เรียกได้ว่าออกนอกกรอบ เดิมๆ แบบที่ไม่เคยคิดเคยฝันมาก่อน อันเป็นผลมาจากการค้นพบความต้องการของลูกค้าที่ไม่เคยเห็นมาก่อน (Unmet Needs) เช่นกัน จากลูกค้ายุคใหม่ที่เปลี่ยนเร็วไปไว ในทุกขณะ ฉะนั้นความคิดสร้างสรรค์คือ ทักษะที่สามารถช่วยให้ไปต่อได้และยากจะโดน Disrupt ด้วยเทคโนโลยีใดๆ

อย่างไรก็ดี นอกเหนือไปจากการพัฒนาให้มีทักษะแห่งอนาคตทั้ง 5 ดังกล่าวมาข้างต้นทัศนคติที่ ‘ใฝ่เรียนรู้’ ตลอดจน ‘วิธีการเรียนรู้ที่เหมาะสม’ ยังเป็นสิ่งสำคัญที่จะช่วยนำพาให้มนุษย์สามารถก้าวเดินไปข้างหน้าได้อย่างยาวไกลภายใต้การเรียนรู้ที่ไม่มีวันจบ

Last modified on Monday, 01 April 2019 09:53
X

Right Click

No right click