December 23, 2024

ในสัปดาห์ที่ผ่านมา (23 - 27 ก.ย.) ตลาดหุ้นทั่วโลกส่วนใหญ่ ปรับลดลง โดยตลาดหุ้นสหรัฐฯ ปิดลบ จากความกังวลสถานการณ์การเมืองสหรัฐฯ

นางวรรธนา มงคลศรี (แถวหน้า กลาง) รองกรรมการผู้จัดการ ธนาคารเพื่อการส่งออกและนำเข้าแห่งประเทศไทย (EXIM BANK) เปิดงานสัมมนา “โครงการเสริมความเป็นเลิศด้านการค้าเพื่อผู้ประกอบการส่งออก” หลักสูตร NEO Exporter จัดโดยศูนย์ความเป็นเลิศด้านการค้าของ EXIM BANK (EXIM Excellence Academy : EXAC) เพื่อเสริมสร้างความรู้ด้านกระบวนการส่งออก การจัดทำแผนธุรกิจ การจัดการโลจิสติกส์ การสร้างมาตรฐานสินค้า และการสร้างเครือข่ายธุรกิจ เพื่อเพิ่มศักยภาพของผู้ประกอบการไทยในอุตสาหกรรมอาหาร เครื่องดื่ม และเครื่องอุปโภคบริโภคให้สามารถเริ่มต้นส่งออกได้ ณ EXIM BANK สำนักงานใหญ่ เมื่อเร็วๆ นี้

คณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย จับมือ กลุ่มทรู เดินหน้าความร่วมมือพัฒนางานวิจัยและนวัตกรรม เปิด TrueLab@Chula Engineering: 5G & Innovative Solution Center

ติสต์แตกเป็นคำเปรียบเปรยคนที่เชื่อมั่นในตัวเองสูงจนเกินพอดี ว่าเป็นเสมือนศิลปินที่มีโลกส่วนตัวสูง หรือคนที่มีจิตวิญญาณศิลปินสูงจนไม่สนใจสิ่งอื่นรอบข้าง โดยเฉพาะเรื่องธุรกิจและเงินๆ ทองๆ

สถาบันไทยพัฒน์ มูลนิธิบูรณะชนบทแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์ เปิดตัว ประชาคมการเปิดเผยข้อมูลความยั่งยืน หรือ Sustainability Disclosure Community (SDC)

หนุนทุกภาคส่วนให้มีส่วนร่วมลดก๊าซเรือนกระจกอย่างต่อเนื่อง ปลื้มปี 62 มีผู้ที่มีส่วนร่วมในการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกของประเทศ 406 ราย คาดสามารถลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกลงได้ 3,419,849.29 ตันคาร์บอนไดออกไซด์เทียบเท่า

นางประเสริฐสุข เพฑูรย์สิทธิชัย ผู้อํานวยการองค์การบริหารจัดการก๊าซเรือนกระจก (องค์การมหาชน) หรือ อบก. กล่าวภายในงาน ร้อยดวงใจ ร่วมใจลดโลกร้อน ว่า ผลการดำเนินงานส่งเสริมการลดก๊าซเรือนกระจกด้วยนวัตกรรมลดโลกร้อนของ อบก. ในปีงบประมาณ 2562  มีผู้ที่มีส่วนร่วมในการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกของประเทศและขึ้นรับเกียรติบัตร 406 ราย โดยคาดว่าจะสามารถลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกลงได้ 3,419,849.29 ตันคาร์บอนไดออกไซด์เทียบเท่า ซึ่งมาจากกลไกและเครื่องมือที่ อบก. พัฒนาขึ้น ตัวอย่างอาทิ

  • กิจกรรมชดเชยคาร์บอนมีปริมาณการซื้อคาร์บอนเครดิตจากการทำกิจกรรมชดเชยคาร์บอนทั้งสิ้น 144,455 ตันคาร์บอนไดออกไซด์เทียบเท่า ซึ่งกระตุ้นให้เกิดตลาดคาร์บอนภาคสมัครใจภายในประเทศโดยมีมูลค่าการซื้อขายกว่า 3 ล้านบาท
  • ฉลากคาร์บอน ซึ่งประกอบด้วย ฉลากคาร์บอนฟุตพริ้นท์ของผลิตภัณฑ์ (Carbon Footprint of Product) ฉลากลดโลกร้อนหรือฉลากลดคาร์บอนฟุตพริ้นท์ (Carbon Footprint Reduction) และคูลโหมด (CoolMode) ซึ่งไทยเป็นประเทศแรกและประเทศเดียวในอาเซียนที่มีระบบการรับรองสอดคล้องตามหลักสากล มีผลิตภัณฑ์ที่ได้ขึ้นทะเบียนทั้ง 3 ฉลากคาร์บอนรวมจำนวน 1,347 ผลิตภัณฑ์ สามารถลดปริมาณการปล่อยก๊าซเรือนกระจกได้ 347,129 ตันคาร์บอนไดออกไซต์เทียบเท่า
  • คาร์บอนฟุตพริ้นท์ขององค์กร (Carbon Footprint for Organization: CFO) เป็นเครื่องมือสำคัญที่สนับสนุนให้ภาคอุตสาหกรรมและองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นจัดทำข้อมูลและรายงานปริมาณก๊าซเรือนกระจกในระดับองค์กร โดยในปีนี้มีองค์กรภาคอุตสาหกรรมและองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น เข้าร่วมโครงการฯ จำนวน 184 แห่ง และมีปริมาณที่คาดว่าจะลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกของภาครัฐ องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น และภาคเอกชน (อุตสาหกรรมและบริการ) โดยพิจารณาจากแนวทาง/แผนการลดก๊าซเรือนกระจกลงได้ 274,549.29 ตันคาร์บอนไดออกไซต์เทียบเท่า
  • โครงการ “สนับสนุนกิจกรรมลดก๊าซเรือนกระจก” (Low Emission Support Scheme: LESS) มีกิจกรรมที่ได้รับการรับรองจำนวน 361 กิจกรรม สามารถลดหรือกักเก็บก๊าซเรือนกระจกได้ 974,275 ตันคาร์บอนไดออกไซด์เทียบเท่า
  • โครงการ “ลดก๊าซเรือนกระจกภาคสมัครใจตามมาตรฐานของประเทศไทย”(Thailand Voluntary Emission Reduction Program: T-VER) หรือ โครงการ T-VER มีโครงการที่ขึ้นทะเบียนทั้งสิ้น 50 โครงการ โดยมีปริมาณก๊าซเรือนกระจกที่คาดว่าจะลดได้รวมกัน 1,664,150 ตันคาร์บอนไดออกไซด์เทียบเท่าต่อปี และในจำนวนนี้มีโครงการที่ได้ผ่านการรับรองปริมาณการลดก๊าซเรือนกระจก (TVERs) หรือที่เรียกว่า “คาร์บอนเครดิต” จำนวน 34 โครงการ คิดเป็นปริมาณก๊าซเรือนกระจกที่ลดได้ 1,262,757 ตัน

จากความสำเร็จดังกล่าว อบก. จึงจัดพิธีขอบคุณและมอบประกาศนียบัตรในงาน “ร้อยดวงใจ ร่วมใจลดโลกร้อน” ประจำปี 2562 ในช่วงบ่ายของวันนี้ ณ ห้องเมย์แฟร์แกรนด์บอลรูม ชั้น 11 โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อเชิดชูเกียรติผู้ประกอบการและภาคส่วนต่างๆ ที่เป็นตัวอย่างที่ดีในการบริหารจัดการและลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกภายในประเทศ ซึ่งภายในงานจะมีกิจกรรมประกอบด้วยการมอบโล่และประกาศนียบัตรแด่บุคคล ชุมชน องค์กร และผลิตภัณฑ์ลดโลกร้อนที่อบก. ให้การรับรองใช้เครื่องหมาย รวมถึงการแสดงนิทรรศการจากผู้ประกอบการที่มีส่วนร่วมในการลดโลกร้อน

ทั้งนี้ วันนี้มีผู้เข้าร่วมงานจากภาครัฐ เอกชน อุตสาหกรรม องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น และสื่อมวลชน จำนวน 1,476 คน ซึ่งการจัดงานวันนี้ได้จัดขึ้นอย่างต่อเนื่องเป็นปีที่ 7 แล้ว โดยในปีนี้มีแนวคิดการจัดงาน “ลดโลกร้อนวันนี้ เริ่มที่ตัวเรา” (It’s perfect time to start action) และได้รับความกรุณาจากท่านเลขานุการรัฐมนตรีกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม (นายธเนศพล  ธนบุณยวัฒน์) เป็นประธานในพิธีและมอบประกาศนียบัตร ซึ่งสร้างขวัญและกำลังใจให้กับผู้ที่มีส่วนร่วมในการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก ส่งผลดีต่อประเทศไทยและกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม เนื่องจากมีผู้เข้าร่วมกิจกรรมลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกมากขึ้นเรื่อยๆ ทุกปี

ก้าวต่อไป อบก. จะนำไปขยายผลและส่งเสริมทุกภาคส่วนให้มีส่วนร่วมในการลดก๊าซเรือนกระจกต่อไป เนื่องจากการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกเป็นเครื่องมือสำคัญที่สามารถเชื่อมโยงสู่การปรับเปลี่ยนรูปแบบการผลิตและการบริโภคให้เกิดความยั่งยืน ลดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมโดยรวมของประเทศ และขับเคลื่อนประเทศไทยไปสู่ระบบเศรษฐกิจและสังคมคาร์บอนต่ำอย่างยั่งยืน

การดำรงชีวิตอยู่ภายใต้สถานการณ์ที่อัตราดอกเบี้ยต่ำติดดินในขณะที่ตลาดหุ้นก็ร้อนแรง เป็นอะไรที่น่าอึดอัด และเป็นโจทย์ยากสำหรับการบริหารสินทรัพย์ของคนทั่วไป ภาคธุรกิจ และเจ้าของกิจการ

หลักการบริหารจัดการน้ำเพื่อความยั่งยืน ตามแนวคิดเรื่อง Sustainable Development ของน้ำนั้นมีมานานแล้ว แต่สิ่งที่เข้ามาเพิ่มในปัจจุบัน คือการประดิษฐ์สร้าง Toolจำนวนมากผนวกเข้ามา ภายใต้แนวคิด IWRM (Integrated Water Resources Management) เป็น Tool ซึ่งในระยะแรกที่นำมาใช้กับทุกเรื่อง จากนั้นมีพัฒนาการ Integrated ซึ่งในความหมาย คือ การรวมทุกคน ทุกมิติ ตั้งแต่ต้นน้ำ กลางน้ำ ปลายน้ำ มาอย่างต่อเนื่อง

ความพร้อมในการรับมือกับบริบทของสิ่งแวดล้อม ที่ส่งผลต่อป่าต้นน้ำของประเทศไทย ในวันนี้เกี่ยวข้องและเชื่อมโยง ทั้งศาสตร์ด้านวิศวกรรมน้ำ และTool (เครื่องมือ) ตลอดจนการบูรณาการเพื่อนำเทคโนโลยี IoT และBig Data มาใช้ในงานบริหารจัดการน้ำให้เกิดความยั่งยืน

ผศ.ดร.อนุรักษ์ ศรีอริยวัฒน์ หัวหน้าภาควิชาวิศวกรรมแหล่งน้ำ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ได้กล่าวถึง หลักการบริหารจัดการน้ำอย่างยั่งยืน โดยเน้นในเรื่อง Sustainable Development ของน้ำนั้นมีมานานแล้ว แต่สิ่งที่เข้ามาเพิ่มในปัจจุบัน คือ มีการประดิษฐ์Toolจำนวนมากขึ้นมาก โดยมี IWRM (Integrated Water Resources Management) เป็น Tool ซึ่งในระยะแรกที่นำมาใช้กับทุกเรื่อง จากนั้นมีพัฒนาการ Integrated ซึ่งในความหมาย คือ การรวมทุกคน ทุกมิติ ตั้งแต่ต้นน้ำ กลางน้ำ ปลายน้ำ มาอย่างต่อเนื่อง

สำหรับ “ต้นน้ำ” ก็คือ คนที่อาศัยอยู่ติดกับป่า ต้องไม่ทำลายป่า รักษาป่า “คนที่อยู่กลางน้ำ” คือ คนที่เพาะปลูก ถ้าน้ำไม่ถูกปล่อยมาก็จะมีปัญหากับกลางน้ำ และ “คนที่อยู่ปลายน้ำ” คือ คนที่อยู่ในเมือง ที่ต้องการน้ำเพื่ออุปโภค บริโภค รวมในส่วนที่เป็นโรงงานอุตสาหกรรมที่มักอยู่บริเวณพื้นที่ราบ ซึ่งต้องการน้ำที่เพียงพอ การมองจึงต้องรอบด้าน ให้มีการใช้น้ำให้เหมาะสม และเพียงพอทั้งต้น กลางและปลาย นั่นคือแนวทางในการมองก่อนจะไปสู่การบริหารจัดการ

ต่อมาเมื่อมีความเปลี่ยนแปลงของยุคสมัย มิติจึงเริ่มเปลี่ยนไปเป็นแนวคิดที่เรียกว่า (WEF - WATER, ENERGY & FOOD) NEXUS หมายถึง “การเชื่อมต่อ” เพราะทั้ง 3 ส่วนคือ Water, Energy และ Food ไม่สามารถทำได้โดยอิสระ ต้องมีการเชื่อมต่อกัน เช่น การทำ Food ต้องใช้ Water และ Energy การสร้าง Energy ก็ต้องใช้ Water เป็นสิ่งพื้นฐานในการสร้างพลังงาน ตั้งแต่โรงงานไฟฟ้า เช่นการหล่อเย็น หรือ Water เองก็ต้องใช้ Energy มาประกอบ จึงสรุปได้ว่า การจัดการเรื่องใดเรื่องหนึ่งอย่างเดียวนั้นไม่ได้ตอบโจทย์ยุคสมัยอีกต่อไป ต้องมีการเชื่อมโยงทั้ง 3 เรื่อง และต้องรักษาสมดุลทุกเรื่องไปพร้อมๆ กันเพื่อให้เกิดความยั่งยืน

ในส่วนของความท้าทายของการนำ Tool ไปใช้ให้ได้ประโยชน์นั้น อยู่ที่การสื่อสารและศาสตร์ความรู้ในมิติอื่นด้วย ถึงแม้ในทางวิศวกรรมเรามีความเชี่ยวชาญชำนาญเรื่องในคอนเซปท์ IWRM แต่เราก็ต้องสามารถคุยกับคนอื่นให้ได้ในทุกมิติว่าใครจะเอาเราไปใช้ และเราจะเอาของใครมาใช้ เกิดการแลกเปลี่ยน (Exchange) ขยายตนเองออกไปนอกวง

ยกตัวอย่าง เรื่องจำเป็นที่เราต้องรู้เกี่ยวกับ Energy และ Food และวันนี้ ได้รู้เรื่อง Smart Farm ที่เป็น Combination ระหว่าง Food กับ Water เราอาจไม่มีความรู้เรื่องการปลูกพืช แต่ต้องรู้ว่าการจะปลูกพืชให้ดีนั้นต้องการน้ำเท่าไร เพื่อการจัดการที่มีประสิทธิภาพ ขยายภาพออกก็จะสามารถนำหลักการนี้ไปเกี่ยวข้องกับอีกหลายเรื่อง เช่น ที่อยู่อาศัย ระบบการจัดการน้ำในบ้าน ก็สามารถไปร่วมกับการจัดการ Energy เป็น Smart City และหากมีการจัดการข้อมูลที่ดี ยังสามารถเจาะไปถึงพฤติกรรมของคนได้ถึงการใช้น้ำที่แตกต่างกันอีกด้วย

จะเห็นได้ว่ากรอบเรื่องนี้สามารถคิดต่อขยายวงออกไปได้อีกมากมาย ซึ่งการ combine หลายๆ ศาสตร์ที่เกี่ยวข้อง เป็นการโฟกัสไปที่การใช้งาน ว่าจะนำเรื่องน้ำไปใช้เพื่ออะไร เช่น เพื่อการเกษตร เรื่องของเมือง คล้ายๆ กับ IoT ที่ไม่จำกัดแค่เรื่อง Internet แต่เป็นอุปกรณ์ แอปพลิเคชันต่างๆ นานา ที่จะคิดขึ้นมาได้ เพียงแต่ใช้ internet เป็นเครื่องมือเท่านั้น ปัจจุบันจึงมีเทคโนโลยีต่อเนื่องที่เกิดขึ้นมาอีกมากมายในศาสตร์เรื่องนี้

ศาสตร์ของวิศวกรรมแหล่งน้ำในวันนี้

ผศ.ดร.อนุรักษ์ บอกว่าถ้าจะพูดเรื่อง “ศาสตร์ของวิศวกรรมน้ำ” ในวันนี้กับในอดีตไม่มีความแตกต่างกัน เพราะการจะทำอะไรต้องมีพื้นฐานของศาสตร์ที่ถูกต้องเป็นรากฐานก่อน ยิ่งในสังคมปัจจุบันยิ่งต้องการคนที่รู้จริง ที่เป็นมืออาชีพ จากความรู้พื้นฐานที่จากเดิม เราอาจจะต้องศึกษาในเชิงลึกลงไปให้มากที่สุด แต่ในวันนี้มองว่าเราต้องปรับตัว เพื่อให้ความรู้ตนเองถูกกระจายไปใช้กับเรื่องอื่นๆ ให้ได้กว้างที่สุด

ขณะเดียวกัน “น้ำ” ไม่ได้มีความแตกต่างระหว่างอดีตกับปัจจุบัน แต่สิ่งที่ต่างไป คือ สภาพสังคมและบริบท ซึ่งทำให้เกิดการปรับตัวไปใช้เทคโนโลยีอื่นๆ วิศวกรน้ำในอดีตอาจจะเน้นการทำเขื่อน แต่วันนี้คงต้องหันไปทำอย่างอื่นแทน เช่น ฝายขนาดเล็ก ซึ่งในความเป็นจริงนั้นก็คือเขื่อน เพราะเป็นสิ่งที่ใช้กันน้ำ สิ่งสำคัญที่ต้องเปลี่ยนและปรับตัวคือคำว่า Management คือต้องเปลี่ยนระบบตนเองให้เข้ากับสภาพการที่เปลี่ยนไป

คนที่เรียนเรื่องน้ำในอดีตจะถูกสอนให้มอง 4 อย่างคือ Space, Time, Quantity และ Quality (ที่ไหน, เมื่อไร, ปริมาณ และคุณภาพ) ซึ่งปัจจุบันเราก็ยังต้องมอง 4 มิตินี้ แต่บริบทเปลี่ยนไป เมื่อเรานำคำว่า Management เข้ามาเกี่ยวจะมีหลายๆ ด้านเข้ามาเกี่ยวข้อง ทั้งเทคโนโลยี และนวัตกรรมต่างๆ เช่น Smart Farm ที่เกี่ยวข้องกับน้ำ ในฐานะของวิศวกร ต้องนำศาสตร์ไปตามให้ทันในมิติที่เรามีหลักการอยู่

การเตรียมตัวจัดการน้ำในอนาคต

ในประเด็นของความกังวลในเรื่อง Water Security ที่หมายถึงความมั่นคงทางน้ำ ซึ่งจะเชื่อมโยงไปถึงเรื่องความยั่งยืนของน้ำนั่นเอง

ทั้งนี้เราต้องมาหาว่าปัจจัยอะไร ที่ทำให้เกิดความไม่มั่นคง ซึ่งจะพบว่ามี 2 ปัจจัยหลักๆ คือ 1. Water Productivity และ 2. Water Disaster

สำหรับ Water Productivity นั้นเป็นตัวตอบที่ชัดเจนอย่างหนึ่งว่า ใช้น้ำแล้วต้องแบ่ง ซึ่งการแบ่งจะใช้สัดส่วนใดเพื่อให้บาลานซ์กับทุกคน ให้เกิดความเท่าเทียมกัน การตัดสินจะต้องนำ Productivity มาขบคิดพิจารณา สถานการณ์ในวันนี้ประเทศเราใช้ Priority แรก คือ เพื่อการอุปโภคบริโภค และข้อที่ 2 คือ เรื่องการรักษาสิ่งแวดล้อม ซึ่งก็สะท้อนไปที่ความมั่นคง และความยั่งยืน จากนั้นถัดมาจึงไปที่การเกษตร อุตสาหกรรม หรือการบริการก่อนหลัง

ที่ผ่านมามีผลการสำรวจด้านการจัดสรรน้ำ โดยใช้วิธีนำสภาพเศรษฐกิจมาวัดว่า 1 ลูกบาศก์เมตรของน้ำเพื่อการเกษตร ผลิตออกมาเป็นผลบวกทางจีดีพีได้ 4 บาท ในขณะที่อุตสาหกรรมได้ 300 กว่าบาท และการบริการได้ที่ 2,400 บาท อย่างไรก็ตามเราไม่สามารถนำแกนนี้มายึดเป็นตัวตัดสินโดยหลักเสียทีเดียว แต่เป็นเพียงการคาดการณ์ในอนาคต เพื่อสุดท้ายอาจนำมาซึ่งการสร้างข้อตกลง สำหรับการบริหารจัดการน้ำในอนาคต ถ้ามีการขาดน้ำ เช่นเดียวกับเรื่องไฟฟ้าที่กำลังมีประเด็นอยู่ในปัจจุบัน

ผศ.ดร.อนุรักษ์ ยังเปิดเผยว่า ความยากของการบริหารจัดการน้ำ คือ การถูกควบคุมโดยธรรมชาติที่มีการเปลี่ยนแปลงทั้งพื้นที่และเวลาและมีความไม่แน่นอนสูงมาก ยกตัวอย่างพื้นที่ภาคใต้ของประเทศไทยมีน้ำมหาศาล แต่เราเอาน้ำจากภาคใต้มาใส่ให้ภาคตะวันออกเฉียงเหนือที่ประสบปัญหาด้านความแห้งแล้งไม่ได้ เพราะมีข้อจำกัดของพื้นที่

นอกจากนี้ยังมีข้อจำกัดเรื่องเวลา สร้างปัญหาระหว่างดีมานต์กับซัพพลายที่ไม่ตรงกัน เพราะปริมาณน้ำยังมีปัจจัยที่ขึ้นอยู่กับปริมาณน้ำฝน โดยเฉพาะฝนตกในภาคใต้ของประเทศไทยคิดเป็น 85-90% ของทั้งปี แต่หน้าแล้งไม่มีฝนตกเลย

การขาดน้ำในหน้าแล้งจะหาซัพพลายได้ ต้องมีการสำรองน้ำตั้งแต่หน้าฝน สิ่งที่จะสำรองน้ำได้ในระดับบ้านเรือนก็คือโอ่ง ตุ่ม ระดับภูมิภาคก็คือเขื่อน ซึ่งทุกวันนี้มีกระแสต่อต้านทำให้การสร้างเขื่อนใหม่เป็นไปได้ยาก ดังนั้นเมื่อประเทศไทยหยุดสร้างเขื่อนหมายถึงตัวเลขซัพพลายหรือสำรองของน้ำหยุดเติบโต ในขณะที่ดีมานด์หรือความต้องการใช้น้ำกลับเติบโตขึ้นไปเรื่อยๆ วันนี้ที่ยังไม่มีใครสนใจเพราะวันนี้เป็นหน้าฝน พอมาพูดกันเมื่อหน้าแล้งก็จะสายเกินไป เรื่องของน้ำจึงเป็นเรื่องที่พูดและศึกษาควบคู่กันระหว่าง Space กับ Time เสมอ

สำหรับปัจจัยกระทบด้านความมั่นคงของน้ำในเรื่อง Water Disaster นั้นมีอยู่ 2 แบบ คือ น้ำแล้ง กับ น้ำท่วม ซึ่งการจัดการนั่นแน่นอนว่าย่อมต่างกันโดยสิ้นเชิง

สำหรับการจัดการน้ำแล้ง ใช้ Tool คือ Productivity แต่การจัดการน้ำท่วมจะทำอย่างไร จะอยู่สู้หรือจะหนี จะเอาอะไรมาใช้ตัดสิน น้ำท่วมมาก หรือท่วมน้อย นั่นคือ ระดับของน้ำและท่วมนานเท่าไร

หากเรามองจากธรรมชาติของแม่น้ำเจ้าพระยาที่เกิดจาก แม่น้ำ 4 สาย คือ ปิง วัง ยม น่าน ซึ่งส่งผลกระทบทำให้เกิดน้ำท่วมในภาคกลาง และแม้บางส่วนจะเกิดจากฝนที่ตกในพื้นที่ แต่บางส่วนก็เกิดจากสิ่งที่เราเรียกกันว่าน้ำหลากจากภาคเหนือลงมา นั่นคือด้านการจัดการน้ำจะทำอย่างไร

ในกรณีภาคใต้ ที่เป็นลักษณะน้ำท่วมฉับพลัน (Flash Flood) เกิดจากฝนตกในปริมาณมากต่อเนื่อง วิธีการจัดการปัญหาสองแบบนี้ ต่างกันอย่างสิ้นเชิง น้ำท่วมฉับพลันจะสามารถเตือนล่วงหน้าได้เพียงแค่ 3 ชั่วโมง หรืออย่างมากที่สุดคือ 1 วัน มีลักษณะมาเร็ว ไปเร็ว แต่ลักษณะนี้จะทำให้เกิดความเสียหายต่อชีวิต และทรัพย์สิน

ในขณะที่น้ำท่วมในปี พใศ. 2554 จะเป็นน้ำหลากที่ค่อยๆ มา เห็นชัดแน่ๆ ว่าจะท่วม ความยากอยู่ที่ปริมาณน้ำที่มาก ระบายไม่ได้ น้ำขังนาน วิธีการจัดการจึงมีหลากหลายวิธีทั้งการใช้โครงสร้าง หรือไม่ใช้โครงสร้าง

การนำเทคโนโลยีมาใช้กับเรื่องน้ำ

ผศ.ดร.อนุรักษ์ บอกว่า ความคาดหวังที่เราจะนำเทคโนโลยีมาใช้ในงานบริหารจัดการน้ำ ไม่ว่าจะเป็น IoT หรือ Big Data ปัจจุบันนี้เรายังไม่สามารถนำมาใช้ได้ในประเทศไทยได้อย่างสมบูรณ์ นั่นเพราะเรายังไม่มีการเก็บข้อมูลในระยะเวลาที่นานและต่อเนื่อง ตลอดจนครอบคลุมพื้นที่ที่ต้องการ ซึ่งปัญหาส่วนหนึ่งมาจากหน่วยงานที่เก็บข้อมูลยังไม่มีการบูรณาการอย่างชัดเจน ทั้งที่มีหน่วยงานที่ทำเกี่ยวกับเรื่องน้ำในประเทศไทยที่มีมากถึงกว่า 30 หน่วยงาน แต่ข้อมูลก็ไม่ครบถ้วน อาจเพราะมีความยากลำบากและต้องมีการลงทุนในการเก็บข้อมูลจำนวนมากเป็นระยะเวลานาน

“น้ำเป็นหนึ่งใน Utility หลัก” ที่เป็นปัจจัยพื้นฐาน ซึ่งเป็นหน้าที่หลักของรัฐ จึงต้องฝากความหวังไว้กับสทนช. หรือสำนักงานทรัพยากรน้ำแห่งชาติ หน่วยงานที่เพิ่งตั้งขึ้นมาใหม่ที่เป็นของรัฐ และสังกัดภายใต้สำนักนายกรัฐมนตรี ที่คาดว่าจะทำให้เกิดความคล่องตัวในการประสานงานกันระหว่างกระทรวงต่างๆ และสิ่งที่เป็นประเด็นสำคัญคือเรื่องกฎหมายที่ต้องมารองรับ เช่น พระราชบัญญัติน้ำ เพื่อให้มีอำนาจบังคับใช้ในการทำงาน จากนั้น คือ การลงทุนในงบประมาณทั้ง Operation และ Maintenance เพื่อการรวบรวมข้อมูลจำนวนมหาศาล จากทุกหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ไปสู่การเผยแพร่ให้กับประชาชน เพื่อความหวังในการรับมือกับการบริหารจัดการน้ำในอนาคตอย่างยั่งยืน 


เรื่อง : กองบรรณาธิการ

Benja Chicken จากแบรนด์ ยูฟาร์ม ครบรอบ 1 ปี จับมือเชฟระดับโลก รังสรรค์สเต๊กอกไก่โมชิโอะ เสิร์ฟความอร่อยระดับพรีเมียมเพื่อสุขภาพจากธรรมชาติ 100% ที่ 7-Eleven ทุกสาขาทั่วประเทศ พร้อมเตรียมขยายสู่ตลาดต่างประเทศ ชู 3 หัวใจ เรื่องความปลอดภัย อาหารที่ดี ทานแล้วได้คุณภาพ และสุขภาพที่ดี

นายประสิทธิ์ บุญดวงประเสริฐ ประธานคณะผู้บริหาร บริษัท เจริญโภคภัณฑ์อาหาร จำกัด (มหาชน) หรือ ซีพีเอฟ กล่าวว่า ไก่เบญจา หรือ Benja Chicken เป็นผลิตภัณฑ์จากแบรนด์ ยู-ฟาร์ม เปิดตัวสู่ตลาดเมื่อปลายปี 2561 ที่ผ่านมา เป็นผลิตภัณฑ์ 100% จากธรรมชาติ ปลอดสาร ปลอดภัย ไม่ใช้ฮอร์โมน และไม่ใช้ยาปฏิชีวนะตลอดการเลี้ยงดู จากการวิจัยพัฒนาเพื่อให้ผลิตภัณฑ์นั้นมีคุณสมบัติพิเศษมากกว่ามาตรฐานปกติ และเป็นครั้งแรกของโลกที่เลี้ยงไก่ด้วยข้าวกล้องคัดพิเศษ ที่อุดมไปด้วยสารกาบา (GABA) และสารต้านอนุมูลอิสระ มีวิตามิน B3 B6 B9 ทำให้มีความ หอม นุ่ม ฉ่ำ ปลอดสาร ปลอดภัย ได้รับการรับรองมาตรฐานระดับโลกจาก NSF International (National Sanitation Foundation) ด้วยเอกลักษณ์เฉพาะตัว ทั้ง 5 ประการ และรสชาติที่ดีกว่า แตกต่างกว่า ตอบรับ Global Food Trend ที่ผู้บริโภคหันมาสนใจสุขภาพกันมากขึ้น ทำให้ได้รับการตอบรับที่ดีจากร้านอาหารและโรงแรมชั้นนำ หันมาเลือกใช้ไก่สด Benja Chicken เป็นเมนูเสิร์ฟลูกค้าในระดับพรีเมียม

 

ในปีนี้ บริษัทฯ เตรียมขยายการผลิต เพื่อให้ตอบสนองการบริโภคในประเทศและพร้อมขยายสู่ตลาดต่างประเทศจากฐานการตลาดทั่วโลกอยู่แล้ว โดยเน้นเจาะกลุ่มตลาด Premium Segment ที่ผ่านมา ร้าน Alma by Juan Amador ซึ่งเป็นร้านที่ได้รับรางวัลระดับโลก และล่าสุดได้รับการโหวตให้เป็นร้านอาหาร อันดับ 1 ในสิงคโปร์ จาก Trip Advisor นอกจากนี้ ยังเจาะตลาดในกลุ่มร้านอาหาร และในอนาคตจะวางจำหน่ายในห้างสรรพสินค้าทั่วสิงคโปร์ พร้อมทั้งขยายสู่ตลาดในจีนและฮ่องกงในช่วงไตรมาสสุดท้ายของปีนี้ และจะเร่งเพิ่มกำลังการผลิตต่อเนื่อง โดยตั้งเป้าการส่งออกไปยังประเทศญี่ปุ่น ภายในปี 2563 เป็นแบรนด์ผลิตภัณฑ์พรีเมียมระดับโลก

นางสาวอนรรฆวี ชูรัตน์ รองกรรมการอาวุโสด้านการตลาดกลาง ซีพีเอฟ กล่าวว่า จากกระแสการตอบรับที่ดีของผู้บริโภค เบญจา ชิคเก้น ร่วมมือกับเชฟระดับโลก อย่าง เชฟหนุ่ม-ธนินทร จันทรวรรณ จาก ร้าน CHIM BY SIAM WISDOM พัฒนาให้เป็นเมนูอาหารพร้อมทาน ที่สะดวก รวดเร็ว หาซื้อง่ายใกล้บ้าน สำหรับเมนู “สเต๊กอกไก่ โมชิโอะ” เราคัดสรรในส่วนของอกไก่ ซึ่งมีแคลอรี่ต่ำ ดีต่อสุขภาพ และอุดมไปด้วยสารอาหารที่เป็นประโยชน์ ทั้งสารกาบา (GABA) และสารต้านอนุมูลอิสระ วิตามิน B3 B6 B9 จึงตอบโจทย์เรื่องความปลอดภัยของอาหาร (FOOD SAFETY) อาหารที่ดี (FOOD QUALITY) ทานแล้วได้คุณภาพ และสุขภาพที่ดี (FOOD HEALTHY) ที่มีความอร่อยด้วย โดยวางจำหน่ายที่ร้านสะดวกซื้อ 7 – Eleven ทุกสาขาทั่วประเทศ

“นอกจากนี้ เชฟหนุ่มยังได้รังสรรค์ผลิตภัณฑ์รสชาติใหม่ออกวางจำหน่ายอีก 2 เมนู คือ ไก่อบซอสสามรสและอกไก่นุ่มคลีนรสพริกแม็กซิกัน ซึ่งเบญจาชิกเก้นไก่อบซอสสามรสจะวางจำหน่ายในเดือนตุลาคมนี้” นางสาวอนรรฆวี กล่าว

ด้าน เชฟหนุ่ม – นายธนินทร จันทรวรรณ จากร้าน CHIM BY SIAM WISDOM กล่าวว่า ก่อนหน้านี้ ที่ร้านไม่มีเมนูไก่เลย เพราะอาหาร Fine dining ส่วนใหญ่ไม่มีเนื้อไก่ ด้วยคุณลักษณะทั้งเรื่องคุณภาพ ความอร่อย และความปลอดภัยของ Benja Chicken ช่วยสร้างแรงบันดาลใจให้เชฟ พัฒนาเมนู Fine dining รวมถึงเมนูอาหารจานเดียว ข้าวมันไก่ เมนูพื้นบ้านที่หาทานยากพร้อมทานที่อร่อยและดีกับสุขภาพ สำหรับ “เมนูสเต็กอกไก่โมชิโอะ” นำเนื้ออกไก่ของ เบญจา ชิกเก้น เป็นวัตถุดิบหลัก และใช้เกลือ โมชิโอะ เกลือบริสุทธิ์ ที่มีรสชาติที่ดี และส่วนผสมอื่นที่เป็นเครื่องเทศเพื่อเพิ่มมิติของรสชาติ เช่น พริกชิจิมิ ให้ความหอม แต่ไม่เผ็ด รวมไปถึงเครื่องเทศอื่นๆ อีก 7 ชนิด หมักเข้าเนื้อ แล้วปรุงสุก ไม่ใส่วัตถุกันเสีย ไม่ใส่สีและกลิ่นสังเคราะห์ ซึ่งอำนวยความสะดวกให้ผู้บริโภคได้รับความอร่อยที่พิเศษแตกต่างด้วยความหอม นุ่ม และฉ่ำของเนื้อไก่ เบญจา ชิคเก้น เหมือนกับไปทานที่ร้าน

ดร.สุทธิพล ทวีชัยการ เลขาธิการคณะกรรมการกำกับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย (เลขาธิการ คปภ.) ได้มอบหมายให้ นายชูฉัตร ประมูลผล รองเลขาธิการ ด้านกำกับ สำนักงาน คปภ. พร้อมนางสาวอายุศรี คำบรรลือ ผู้อำนวยการฝ่ายอาวุโส ฝ่ายคุ้มครองสิทธิประโยชน์ เป็นผู้แทนเข้ารับรางวัลเลิศรัฐ สาขาบริการภาครัฐ ประจำปี พ.ศ. 2562 ประเภทพัฒนาการบริการ จากนายวิษณุ เครืองาม รองนายกรัฐมนตรี ในงานสัมมนาวิชาการและมอบรางวัลเลิศรัฐ ประจำปี 2562 “Shift to the future : ภาครัฐปรับ อนาคตเปลี่ยน” ณ ห้องรอยัล จูบิลี่ บอลรูม อิมแพค เมืองทองธานี จังหวัดนนทบุรี

 

รองเลขาธิการ คปภ. เปิดเผยว่า การยกระดับมาตรฐานการคุ้มครองสิทธิประโยชน์ประชาชนด้านการประกันภัย เป็นนโยบายที่ท่านเลขาธิการ คปภ. ได้ให้ความสำคัญและพัฒนาอย่างต่อเนื่องมาโดยตลอด ประกอบกับสำนักงานคณะกรรมการพัฒนาระบบราชการ (ก.พ.ร.) ได้จัดให้มีการตรวจประเมินหน่วยงานของรัฐที่มีผลงานการพัฒนาประสิทธิภาพการปฏิบัติราชการ และการให้บริการประชาชนได้อย่างโดดเด่น เพื่อเข้ารับการพิจารณามอบรางวัลเลิศรัฐ สาขาบริการภาครัฐ ประจำปี พ.ศ. 2562

โดยได้ส่งผลงานในความรับผิดชอบของสายคุ้มครองสิทธิประโยชน์ และสำนักนายทะเบียนคุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถ จำนวน 4 ผลงาน ประกอบด้วย

  • ผลงานการคุ้มครองสิทธิประโยชน์ของประชาชนด้านการประกันภัย สมัครประเภทบริการที่เป็นเลิศ
  • ผลงานการรายงานอุบัติภัยกลุ่มหรือรายใหญ่ผ่านระบบอิเล็กทรอนิกส์เกี่ยวกับการประกันภัย สมัครประเภทนวัตกรรมการบริการ 
  • ผลงานงานไกล่เกลี่ยข้อพิพาทด้านการประกันภัย สมัครประเภทพัฒนาการบริการ 
  • ผลงานการจ่ายค่าเสียหายเบื้องต้นตามพระราชบัญญัติคุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถ พ.ศ. 2535 สมัครประเภทพัฒนาการบริการ

สำหรับปีนี้เป็นปีแรกที่สำนักงาน คปภ. ร่วมส่งผลงาน และเป็นปีที่มีหน่วยงานภาครัฐส่งผลงานเข้ารับการพิจารณาเป็นจำนวนมากกว่าทุกปี โดยมีคณะกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิร่วมพิจารณาคัดเลือกตามหลักเกณฑ์การพิจารณารางวัลเลิศรัฐอย่างเข้มข้น โดยสำนักงาน คปภ. สามารถคว้ารางวัลบริการภาครัฐ ระดับดี ประเภทพัฒนาการบริการ ผลงานงานไกล่เกลี่ยข้อพิพาทด้านการประกันภัยมาได้

ด้าน ดร.สุทธิพล ทวีชัยการ เลขาธิการ คปภ. ในฐานะเป็นผู้บุกเบิกและจัดตั้งศูนย์ไกล่เกลี่ยข้อพิพาทด้านการประกันภัย เป็นครั้งแรกในประเทศไทย กล่าวว่า  ปัจจุบันศูนย์ไกล่เกลี่ยข้อพิพาทด้านการประกันภัย (Insurance Mediation Center : IMC) ดำเนินงานมาเป็นระยะเวลา 3 ปีกว่าแล้ว นับตั้งแต่วันที่ 28 เมษายน 2559 มีเรื่องร้องเรียนเข้าสู่กระบวนการไกล่เกลี่ยข้อพิพาท ทั้งสิ้น 839 เรื่อง สามารถดำเนินการไกล่เกลี่ยยุติได้จำนวน 675 เรื่อง คิดเป็นร้อยละ 80.45 และคาดว่าอนาคตจะมีจำนวนเรื่องร้องเรียนที่เข้าสู่กระบวนการไกล่เกลี่ยข้อพิพาทด้านการประกันภัยเพิ่มขึ้น

ดังนั้น เพื่อให้บริการคุ้มครองสิทธิประโยชน์ประชาชนด้านการประกันภัยมีประสิทธิภาพและเข้าถึงประชาชนผู้เอาประกันภัยได้มากขึ้น จึงได้ขยายศูนย์ไกล่เกลี่ยข้อพิพาทด้านการประกันภัยไปยังสำนักงาน คปภ. ภาค ทั้ง 9 ภาค และ สำนักงาน คปภ. จังหวัด 69 จังหวัด ทั่วประเทศ นอกจากนี้ ได้จัดทำ “คู่มือการพัฒนาเพื่อป้องกันและแก้ไขข้อพิพาทด้านการประกันภัย” และ “คู่มือนักเจรจาไกล่เกลี่ย” เพื่อเป็นคู่มือแนวทางปฏิบัติสำหรับผู้มีส่วนเกี่ยวข้องให้เป็นมาตรฐานเดียวกัน

 

“สำหรับรางวัลเลิศรัฐ เป็นรางวัลอันทรงเกียรติที่มอบให้กับหน่วยงานของรัฐที่มีผลการพัฒนาคุณภาพการให้บริการประชาชนได้อย่างมีประสิทธิภาพด้วยการนำนวัตกรรมมาปรับใช้ในการดำเนินงาน  ดังนั้น การที่สำนักงาน คปภ. ได้รับรางวัลเลิศรัฐ จึงถือเป็นความสำเร็จในระดับหน่วยงานในด้านการพัฒนาการบริการ ซึ่งจะสร้างขวัญกำลังใจในการปฏิบัติงาน และจุดประกายให้เกิดการพัฒนานวัตกรรมด้านอื่นๆ ให้ดียิ่งขึ้น ทั้งในเชิงปริมาณและคุณภาพ รวมถึงการปรับระบบการทำงานไปสู่ความเป็นดิจิทัลอย่างเต็มรูปแบบ ให้ประชาชนได้รับบริการที่สะดวก รวดเร็ว โปร่งใส เป็นธรรม และเป็นที่พึงพอใจ เพื่อก้าวไปเป็นต้นแบบที่ดีมีความเป็นเลิศ โดยยึดประชาชนเป็นศูนย์กลางในการให้บริการ สามารถเป็นกำลังสำคัญในการขับเคลื่อน ส่งเสริม ผลักดัน ให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องทั้งภาครัฐและเอกชนมุ่งพัฒนาระบบการให้บริการ ให้มีประสิทธิภาพ  ซึ่งจะก่อให้เกิดการพัฒนาสังคมและประเทศชาติให้เจริญรุ่งเรืองยิ่งขึ้นต่อไป” เลขาธิการ คปภ. กล่าว ในตอนท้าย

X

Right Click

No right click