ดร.สุดาพร สาวม่วง คณบดีคณะการบริหารและจัดการ สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหาร ลาดกระบัง (สจล.) เปิดเผยว่า คณะการบริหารและจัดการมีแผนการดำเนินงานเพื่อนำคณะก้าวไปสู่อันดับต้นๆของอาเซียนและโลก โดยยึดหลัก 5 P กับ 1 N คือ Product-หลักสูตรสายพันธ์ใหม่ Place –สถานที่ใหม่ทันสมัย และเรียนแบบ Online/City Campus Promotion - Agent ในต่างประเทศ ,People –เพิ่มสัดส่วนอาจารย์ชาวต่างชาติ 100 % Process -Profit Center และ Net Working-15 คณะ + MIT Sloan & Oxford โดยมีเป้าหมายเพื่อนำไปสู่การเพิ่มขึ้น ทั้งจำนวนหลักสูตร จำนวนอาจารย์ Rank จำนวนงานวิจัย จำนวนนักศึกษา และรายได้ที่เพิ่มขึ้นในที่สุด
ดร.สุดาพร สาวม่วง คณบดีคณะการบริหารและการจัดการ สจล.
ทั้งนี้ 5 พันธกิจหลักในการดำเนินงาน ประกอบด้วย 1.พัฒนากระบวนการผลิตบัณฑิตให้มีคุณภาพ มีคุณธรรมกำกับความรู้ และมีความโดดเด่นเป็นที่ยอมรับและตรงความต้องการของสังคมและตลาดแรงงาน 2.พัฒนาและส่งเสริมความเข้มแข็งทางวิชาการและวิจัยในแนวทางที่ยั่งยืน 3.พัฒนาและส่งเสริมบุคลากรในทุกด้าน เน้นการเพิ่มศักยภาพสวัสดิการ ความมั่นคง และความก้าวหน้าในวิชาชีพ ด้วยระบบคุณธรรมและยุติธรรม 4.พัฒนาระบบการบริหารจัดการให้มีประสิทธิภาพ และมีความพร้อมที่จะเผชิญกับสภาวะเปลี่ยนแปลงทั้งทางเศรษฐกิจและสังคม 5.ประสานความร่วมมือทั้งภายในและภายนอกสถาบันให้มีความเป็น นานาชาติ (International Outlook) อันจะนำไปสู่เป้าหมายของการเป็น “คณะการบริหารและจัดการ เพื่อคนรุ่นใหม่ก้าวไกลสู่อาเซียนและโลก”
ผศ.ดร.สุทธิ สูอำพัน รองคณบดีคณะการบริหารและการจัดการ สจล.
ดร.สุดาพร กล่าวด้วยว่า ภายในระยะเวลา 4 ปี ของการบริหารงาน ตั้งเป้าให้เกิดผลลัพธ์ที่ดีใน 4 มิติ ทั้ง เรื่องของงานวิชาการและงานวิจัยของอาจารย์ บุคลากร ตอบโจทย์แก้ปัญหาสังคม ผลงานวิจัยได้รับการตีพิมพ์ มีสิทธิบัตร เพื่อที่จะใช้ในเชิงที่จะก่อประโยชน์จริง (Academic Impact) หรือการจัดการเรียนการสอนหลักสูตรที่มีคุณภาพ สรรหาอาจารย์คุณภาพเข้ามาสู่ขบวนการจัดการเรียนการสอนในห้องเรียน เครื่องมือมีเทคโนโลยีที่ทันสมัย
ผศ.ดร.สิงหะ ฉวีสุข รองคณบดีคณะการบริหารและการจัดการ สจล.
สจล.จะเป็นเจ้าแรกที่ทำหลักสูตรการเรียนการสอนออนไลน์ (Education Impact) รวมทั้ง ผลต่อภาคอุตสาหกรรม ซึ่งจะได้ผลผลิตบัณฑิตที่มีคุณภาพเข้าสู่ระบบ โดยนายจ้างจะต้องได้บัณฑิตที่มีคุณภาพเรียนจบแล้วสามารถทำงานได้เลย เป็นคนเก่งและดีของบริษัทและสังคม (Industrial Impact) และสุดท้ายผลลัพธ์ทีดีต่อสังคม โดยงานวิจัยที่ออกมาจะต้องนำพาสังคมให้ดีขึ้น มีรายได้มีชีวิตที่ดีขึ้นมีความสุขมากขึ้น (Social Impact)
ดร.ทัศไนย ปราณี รองคณบดีคณะการบริหารและการจัดการ สจล.
“การดำเนินงานทั้งหมดอยู่ภายใต้นโยบาย FAM to FAMOUS อันหมายถึง คณะการบริหารและจัดการ เป็นส่วนหนึ่งที่จะร่วมมือกันนำพา สจล.สู่ Top 10 ในอาเซียนและระดับโลก(Family) คณะการบริหารและจัดการ ผลิตบัณฑิตที่มีความสามารถ มีฝีมือ มีทักษะ มีสมรรถภาพ มีนวัตกรรม ( Ability) และการจัดการเรียนการสอนแบบมืออาชีพจะเน้นการ ใช้ระบบเทคโนโลยีสารสนเทศที่ทันสมัยและตรงกับความต้องการของกลุ่มเป้าหมาย (Management) การพัฒนาไปถึงการติดอันดับต้นๆ ของประเทศ ของอาเซียนรวมทั้งระดับโลก ( Outstanding) เข้าสู่ความเป็นนานาชาติในทุกด้าน( Universal) และ รูปแบบการบริหารและการจัดการเรียน การสอนที่มีคุณภาพ ตามหลักการประกันคุณภาพการศึกษาในระดับสากล (Standardize)” ดร.สุดาพรกล่าวในตอนท้าย
ผศ.ดร.ปรเมศร์ อัศวเรืองพิภพ รองคณบดีคณะการบริหารและการจัดการ สจล.
ประมาณกันว่าผู้ประกอบการขนาดกลางและย่อมหรือเอสเอ็มอีของไทยมีสัดส่วนอยู่เกิน 90 เปอร์เซ็นต์ มีการจ้างงานกว่า 50 เปอร์เซ็นต์ของธุรกิจทั้งหมดในประเทศ เอสเอ็มอีจึงมีความสำคัญต่อระบบเศรษฐกิจของประเทศทั้งในด้านการสร้างงาน สร้างรายได้ และที่สำคัญธุรกิจขนาดกลางและย่อมคือจุดเริ่มต้นของธุรกิจขนาดใหญ่ที่จะช่วยสร้างความเข้มแข็งอย่างยั่งยืนให้กับเศรษฐกิจของประเทศในอนาคต
บมจ.ไทยสมุทรประกันชีวิต รักคือพลังของชีวิต โดย คุณนุสรา (อัสสกุล) บัญญัติปิยพจน์ กรรมการผู้จัดการ พร้อมด้วยคณะผู้บริหาร จัดงานเลี้ยงสังสรรค์ปีใหม่ 2562 “OCEAN Family Party 2019” ในธีม DIGILOVE ปาร์ตี้สุดล้ำด้วยพลังความรัก พร้อมก้าวสู่โลกยุคดิจิทัลร่วมส่งพลังความรักให้กับทุกคน เพื่อฉลองครบรอบ 70 ปี และขอบคุณพนักงานที่ทุ่มเทแรงกายแรงใจทำงานด้วยความมุ่งมั่นตั้งใจมาตลอดทั้งปี ทำให้บริษัทเติบโตเป็นที่น่าพอใจ นอกจากนั้นภายในงานยังมีการประกวดแต่งกายดีเด่นในธีม DIGILOVE และมอบรางวัลสุดพิเศษกว่า 80 รางวัลให้กับผู้โชคดี ปิดท้ายด้วยดนตรีสุดมันส์ และการร่วมร้องเพลงสุดเซอร์ไพรส์จากผู้บริหารสร้างรอยยิ้มและความสนุกสนานในบรรยากาศที่อบอวลไปด้วยความรักให้กับพนักงานทุกคน ณ โรงแรมวินด์เซอร์ สวีทส์ กรุงเทพ เมื่อเร็ว ๆ นี้
สถาบันเพิ่มผลผลิตแห่งชาติ สถาบันเครือข่ายของกระทรวงอุตสาหกรรม ในฐานะสำนักงานรางวัลคุณภาพแห่งชาติประกาศรายชื่อ 13 องค์กรไทยคุณภาพ ทั้งองค์กรรัฐ เอกชนและรัฐวิสาหกิจ ดำเนินกิจการในภาคการศึกษา การสาธารณสุข การบริการ และภาคอุตสาหกรรม ที่ผ่านเกณฑ์คว้ารางวัลการบริหารสู่ความเป็นเลิศที่มีความโดดเด่นด้านลูกค้า บุคลากร การปฏิบัติการ หรือนวัตกรรม (Thailand Quality Class Plus: TQC Plus) และรางวัลการบริหารสู่ความเป็นเลิศ หรือ (Thailand Quality Class: TQC) ประจำปี 2561 ได้สำเร็จ ในงานแถลงข่าวผลรางวัลคุณภาพแห่งชาติ ซึ่งจัดขึ้นในวันพุธที่ 30 มกราคม 2562 เวลา 09.30 – 12.00 น. ณ ห้องประชุมทองคำ ชั้น 1 กรมอุตสาหกรรมพื้นฐานและการเหมืองแร่ กระทรวงอุตสาหกรรม สำหรับในปีนี้ ไม่มีองค์กรใดผ่านเกณฑ์การพิจารณาให้ได้รับรางวัลคุณภาพแห่งชาติ (Thailand Quality Award : TQA)
งานแถลงข่าวผลรางวัลคุณภาพแห่งชาติในครั้งนี้ยังได้รับเกียรติจากปลัดกระทรวงอุตสาหกรรม ดร.พสุ โลหารชุน กล่าวถึงการผลักดันและขับเคลื่อนยุทธศาสตร์ชาติ เพื่อเพิ่มผลิตภาพและขีดความสามารถขององค์กรไทยอย่างยั่งยืนไว้ว่า “หนึ่งประเด็นสำคัญในการพัฒนาองค์กรให้สามารถรับมือกับความโลกาภิวัฒน์คือการสร้างขีดความสามารถในการแข่งขัน โดยต้องทำให้ผลิตภาพเกิดขึ้นกับทุกภาคส่วนในระบบเศรษฐกิจ ซึ่งรางวัลคุณภาพแห่งชาติได้ดำเนินงานตามยุทธศาสตร์ดังกล่าว เพื่อให้องค์กรไทยสามารถแข่งขันในเวทีโลกได้อย่างมีประสิทธิภาพ เกณฑ์รางวัลคุณภาพแห่งชาติทำหน้าที่เป็นกลไกสำคัญที่ช่วยให้องค์กรสามารถปรับปรุงกระบวนการ ขีดความสามารถและผลลัพธ์ ผ่านระบบการพัฒนาและประเมินผลต่างๆ สามารถยกระดับผลิตภาพของประเทศไทยได้อย่างสัมฤทธิ์ผล”
ด้านประธานคณะกรรมการรางวัลคุณภาพแห่งชาติ คุณปิยะบุตร ชลวิจารณ์ ประกาศรายชื่อองค์กรที่ได้รับรางวัล ในปี 2561 จำนวนทั้งสิ้น 13 องค์กร ดังต่อไปนี้
กลุ่มธุรกิจผลิตภัณฑ์เอทิลีนออกไซด์ บริษัท พีทีที โกลบอล เคมิคอล จำกัด (มหาชน)
ธนาคารออมสิน
และยังมีการกล่าวถึงผลลัพธ์และกลยุทธ์ในการสนับสนุนให้รางวัลคุณภาพแห่งชาติเป็นเครื่องมือสำคัญ ในการยกระดับองค์กรไทยให้พร้อมรับมือการเปลี่ยนแปลงในอนาคต “คณะกรรมการรางวัลคุณภาพแห่งชาติ ได้กำหนดแนวทางการดำเนินโครงการรางวัลคุณภาพแห่งชาติ ประจำปี 2562 และต่อเนื่องในปีถัดไป โดยมีเป้าหมายในการตอบโจทย์ยุทธศาสตร์อุตสาหกรรมเป้าหมายที่มีศักยภาพสูง เช่น ในกลุ่มอุตสาหกรรม S-Curve ให้ขับเคลื่อนด้วยผลิตภาพ ผ่านการดำเนินงานและกิจกรรมต่าง ๆ ทั้งการผลักดันให้เกิดการสร้างนวัตกรรมใหม่ ทั้งในด้านการดำเนินงานและด้านผลิตภัณฑ์ การขยายโครงการรางวัลคุณภาพแห่งชาติเข้าสู่กลุ่มเป้าหมายใหม่ๆ อาทิ องค์กรขนาดใหญ่ องค์กรในตลาดหลักทรัพย์ และองค์กรในภาคการศึกษาในระดับอุดมศึกษา รวมทั้งการเพิ่มความร่วมมือระดับนโยบายกับเครือข่ายรางวัลคุณภาพแห่งชาติของภาคส่วนอื่นๆ ตลอดจนการเพิ่มจำนวนและพัฒนาผู้ตรวจประเมินรางวัลคุณภาพแห่งชาติ เพื่อให้มีจำนวนผู้เชี่ยวชาญที่เพียงพอ เพื่อให้สามารถรองรับกับจำนวนองค์กรที่ต้องการสมัครขอรับรางวัลที่จะเพิ่มขึ้นในอนาคตได้”
ดร.พานิช เหล่าศิริรัตน์ ผู้อำนวยการสถาบันเพิ่มผลผลิตแห่งชาติ ในฐานะกรรมการและเลขานุการคณะกรรมการรางวัลคุณภาพแห่งชาติ กล่าวถึงบทบาทและการดำเนินงานที่สำคัญของสำนักงานรางวัลคุณภาพแห่งชาติ ในปี 2561-2562 “เกณฑ์รางวัลคุณภาพแห่งชาติ เป็นบรรทัดฐานสำหรับการประเมินตนเองขององค์กรให้เกิดประสิทธิภาพสูง ซึ่งสามารถนำไปใช้ได้กับองค์กรทุกประเภท ทุกขนาด และทุกภาคส่วน ให้มีระบบการบริหารจัดการที่เป็นเลิศ เพื่อยกระดับองค์กรภาคอุตสาหกรรมไทย ให้สามารถแข่งขันในเวทีโลกได้อย่างมีประสิทธิภาพ”
อีกทั้งยังกล่าวถึงเกณฑ์รางวัลคุณภาพแห่งชาติที่ได้รับการนำไปปรับใช้เป็นเกณฑ์สำหรับหน่วยงานที่กำกับดูแลหน่วยงานรัฐ รัฐวิสาหกิจ ทั้งในด้านการสาธารณสุขและการศึกษา “ภาคสาธารณสุขได้นำเกณฑ์รางวัลคุณภาพแห่งชาติไปปรับใช้ในระบบการรับรองคุณภาพโรงพยาบาลหรือ Hospital Accreditation: HA ส่วนภาคการศึกษาในระดับประถมศึกษาถึงมัธยมศึกษาได้นำเกณฑ์ดังกล่าวมาประยุกต์ใช้กับเกณฑ์รางวัลคุณภาพแห่งสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน หรือ Office of the Basic Education Commission Quality Award: OBECQA ตลอดจนภาคการศึกษาในระดับอุดมศึกษาที่ต่อยอดไปสู่การพัฒนาเกณฑ์คุณภาพการศึกษาเพื่อผลการดำเนินงานที่เป็นเลิศ หรือ Education Criteria for Performance Excellence: EdPEx”
“นอกจากนี้ ภาครัฐยังได้นำเกณฑ์รางวัลคุณภาพแห่งชาติไปประยุกต์ใช้ในการวางแนวทางการปรับปรุงประสิทธิภาพขององค์กรการพัฒนาคุณภาพการบริหารจัดการภาครัฐ หรือ Public Sector Management Quality Award: PMQA เพื่อการประเมินองค์กรที่ครอบคลุมภาพรวมในทุกมิติ สามารถยกระดับคุณภาพการบริหารจัดการให้เทียบเท่ามาตรฐานสากล ส่วนภาครัฐวิสาหกิจที่ได้ใช้ระบบประเมินคุณภาพรัฐวิสาหกิจ หรือ State Enterprise Performance Appraisal: SEPA เป็นกลไกส่งเสริมขีดความสามารถในการดำเนินงานให้เทียบเท่าระดับสากล ก็ได้นำเกณฑ์รางวัลคุณภาพแห่งชาติไปช่วยในการปรับปรุงระบบการประเมินของตนเองด้วยเช่นกัน”
ตลอดจนกล่าวถึงกิจกรรมใหม่ที่สำนักงานรางวัลคุณภาพแห่งชาติยังได้ริเริ่มขึ้น เพื่อขยายผลในการนำเกณฑ์รางวัลคุณภาพแห่งชาติไปใช้ในองค์กรภาคส่วนต่างๆ และกระตุ้นให้องค์กรมีความพร้อมในการสมัครขอรับรางวัลเพิ่มขึ้น“สำนักงานรางวัลคุณภาพแห่งชาติริเริ่มกิจกรรมการสร้างผู้เชี่ยวชาญด้านการตรวจประเมินองค์กรที่ผ่านการรับรอง (Organization Assessment Certified Expert) โดยพัฒนาผู้เชี่ยวชาญด้านการตรวจประเมินองค์กร พร้อมแบบประเมินองค์กร เพื่อช่วยให้องค์กรที่ริเริ่มนำเกณฑ์รางวัลมาใช้ในองค์กร ได้มีเครื่องมือตรวจประเมินตนเองพร้อมผู้เชี่ยวชาญคอยให้คำแนะนำ”
“กิจกรรมใหม่ประการต่อมาคือ การจัดทำสรุปองค์ความรู้ด้านการบริหารจัดการขององค์กรที่ได้รับรางวัลเพื่อเผยแพร่ และหนังสือ Best Practices ซึ่งเผยแพร่วิธีปฏิบัติสู่ความเป็นเลิศขององค์กรจากการศึกษาในเชิงลึก รวมทั้งยังได้ริเริ่มโครงการ Collaborative Assessment for TQC กิจกรรมความร่วมมือเพื่อให้คำปรึกษาแนะนำเพื่อยกระดับองค์กรที่มีมาตรฐานการบริหารจัดการที่ดีสู่ความเป็นเลิศตามแนวทางเกณฑ์รางวัลคุณภาพแห่งชาติ และกิจกรรม Collaborative Assessment for SMEs ซึ่งมุ่งสร้างองค์กร SMEs ต้นแบบที่ใช้เกณฑ์รางวัลคุณภาพแห่งชาติ”
“แผนงานในอนาคตอีกประการหนึ่งคือการเข้าร่วมเป็นสมาชิกของ The Global Excellence Model Council หรือ GEM Council ซึ่งเป็นองค์กรระหว่างประเทศที่มีความร่วมมือกันในด้านการแลกเปลี่ยนความรู้ การศึกษาวิจัย และเปรียบเทียบการดำเนินงานด้านการพัฒนาองค์กรสู่ความเป็นเลิศ”
นางชวินดา หาญรัตกูล กรรมการผู้จัดการ บริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุน กรุงไทย จำกัด (มหาชน) หรือ KTAM เข้ารับรางวัล Best Asset Management CEO Thailand จาก Mr. Phil Blizzard ในงาน International Finance Awards 2018 จัดโดย International Finance Publications ซึ่งเป็นนิตยสารการเงินระดับแนวหน้าของประเทศอังกฤษ ณ โรงแรมแกรนด์ ไฮแอท เอราวัณ เมื่อเร็วๆ นี้
นายชนะ บุณยะชัย (กลาง) ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการ ธนาคารเพื่อการส่งออกและนำเข้าแห่งประเทศไทย (EXIM BANK) ให้การต้อนรับนายธีระพร ศรีรัตน์ (ซ้าย) ผู้อำนวยการ สำนักงานภาคใต้ ธนาคารแห่งประเทศไทย และนายรณน แก้วสุทธิ (ขวา) ผู้อำนวยการอาวุโส ฝ่ายพัฒนากลยุทธ์และสนับสนุนโครงการพิเศษ สมาคมธนาคารไทย ในพิธีเปิดงานสัมมนา “โครงการบริหารความเสี่ยง FX ของ SMEs ระยะที่ 2” จัดโดย EXIM BANK ร่วมกับกระทรวงอุตสาหกรรม สำนักงานส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม ธนาคารแห่งประเทศไทย และสมาคมธนาคารไทย เพื่อเสริมสร้างให้ผู้ส่งออก/นำเข้า SMEs มีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับเครื่องมือป้องกันความเสี่ยงด้านอัตราแลกเปลี่ยนในการทำการค้าระหว่างประเทศ และได้รับวงเงินค่าธรรมเนียมสำหรับทดลองซื้อประกันค่าเงิน (FX Options) ณ โรงแรมบุรีศรีภู บูติค จังหวัดสงขลา เมื่อเร็วๆนี้
ดีแทคชูต้นแบบการใช้งาน 5G ร่วมทดสอบที่ศูนย์ 5G IoT & AI Innovation Center ภายใต้ความร่วมมือสำนักงานคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช.) และจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย พร้อมชวน CAT และทีโอที ร่วมเป็นพันธมิตรเพื่อสร้างกรณีการใช้งานในภาคธุรกิจจริง ทั้งศึกษาแนวทางและคุณสมบัติ 5G เพื่อสร้างต้นแบบการใช้งาน ทดลองใช้จริง
นางอเล็กซานดรา ไรช์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท โทเทิ่ล แอ็คเซ็ส คอมมูนิเคชั่น จำกัด (มหาชน) หรือดีแทค กล่าวว่า “เรามุ่งมั่นอย่างไม่หยุดเพื่อวางรากฐานสำหรับโครงข่ายสู่อนาคตในประเทศไทย อาทิ ดีแทคเป็นรายแรกที่การนำเทคโนโลยีโครงข่ายระบบชุมสายเสมือน (Visualized Core Network: VCN) มาดำเนินงาน และนำอุปกรณ์รับส่งสัญญาณแบบ Massive MIMO 64x64 ที่ทันสมัยที่สุดในโลกมาให้บริการเชิงพาณิชย์เป็นรายแรกในไทย การนำประเทศไทยเข้าสู่ยุค 5G จะต้องอาศัยความร่วมมือหลายภาคส่วน ทั้งจากภาครัฐ ภาคการศึกษา และอุตสาหกรรมที่เกี่ยวข้อง ซึ่งแตกต่างจากการเปลี่ยนผ่านสู่ 3G หรือ การมาของ 4G ดังนั้น ผู้ประกอบการโทรคมนาคมที่จะต้องวางแผนขยายโครงข่ายตอบโจทย์ในการรองรับอุตสาหกรรมและรูปแบบการใช้งาน นี่คือความสำคัญสำหรับเราในการมุ่งสู่การทดสอบเทคโนโลยีเพื่อค้นหาการใช้งานด้วยวิธีการใหม่ๆ เพื่อให้เกิดประสิทธิภาพและความยั่งยืนสู่กลยุทธ์ 5G ของไทย”
ดีแทคร่วมกับ CAT และ ทีโอที ในการเป็นพันธมิตรเชิงกลยุทธ์ร่วมกัน พร้อมทั้งร่วมกับทาง จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และสำนักงาน กสทช. ในการเปิดศูนย์ 5G IoT & AI Innovation Center เพื่อทำการทดสอบ 5G ด้วยรูปแบบการใช้งานจริงต่างๆ โดยมีเป้าหมายเพื่อนำบริการ 5G ขับเคลื่อนประเทศไทย โดยศูนย์แห่งนี้ยังเปิดโอกาสให้นิสิต นักศึกษา คณาจารย์ และผู้สนใจร่วมทดสอบและพัฒนาสู่ความพร้อมของการทำงานดิจิทัล
สำหรับในช่วงทดสอบ 5G ดีแทคได้วางแผนเบื้องต้น ที่จะมีแนวทางทดสอบกรณีการใช้งาน (Use Cases) กับทางจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย โดยคาดว่ามีรูปแบบการใช้งาน (Use cases) ในกลุ่มฟาร์มอัจฉริยะ (Smart Farming) อาคารอัจฉริยะ (Smart Building Solutions) บรอดแบนด์ไร้สายประจำที่ (Fixed Wireless Access) การวัดคุณภาพอากาศ (Air Quality Measurement) บริการสื่อขั้นสูง (Advanced media services) โดรนเกษตรอัจฉริยะ (Smart Agriculture Drones) สมาร์ทเฮลธ์แคร์(Smart Healthcare) อุตสาหกรรมอัจฉริยะ(Smart Industry) สมาร์ทซิตี้แอปพลิเคชัน (Smart City Application)
ที่ผ่านมา ดีแทคได้จัดทำโซลูชัน “ฟาร์มแม่นยำ” ซึ่งถูกพัฒนาด้วยเทคโนโลยี Internet of Things เพื่อการทำเกษตรที่มีความแม่นยำที่ดีแทคได้พัฒนาขึ้น เพื่อเตรียมพร้อมสุ่ 5G สามารถปลดล็อกมูลค่ามหาศาลให้แก่เกษตรกรของประเทศไทยได้ ซึ่งทำให้เห็นได้ว่าการทำเกษตรกรรมยุคใหม่จะต้องใช้ประโยชน์ของดิจิทัลและความสามารถของ 5G มาต่อยอดเพื่อทำรายได้เพิ่มมากขึ้น
ดีแทคมีเทคโนโลยีการสื่อสาร ประสบการณ์ และความเชี่ยวชาญ ที่พร้อมจะนำคนไทยสู่ความยั่งยืนของยุค 5G ดีแทคมีจุดยืนและให้ความสำคัญที่จะทำให้ 5G เกิดขึ้นในไทย คือ
นอกจากความร่วมมือที่ดีแทคพร้อมสำหรับทุกภาคส่วนแล้ว ดีแทคยังได้ร่วมมือกับพันธมิตรในเชิงกลยุทธ์สำหรับผู้ให้บริการอุตสาหกรรมโทรคมนาคม คือ บริษัท กสท โทรคมนาคม จำกัด (มหาชน) และบมจ.ทีโอที เพื่อประสานความรู้ ประสบการณ์ และพัฒนารูปแบบบริการสู่ 5G ในอนาคตอีกด้วย
นายสาระ ล่ำซำ กรรมการผู้จัดการและประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท เมืองไทยประกันชีวิต จำกัด (มหาชน) หรือ MTL นำทีมผู้บริหารบริษัท ฯ แถลงเป้าหมายการดำเนินงานปี 2562 ของบริษัทฯ ในการเป็นบริษัทประกันชีวิตที่มีความโดดเด่นด้านนวัตกรรม (Innovation) พร้อมก้าวเคียงคู่ไปกับลูกค้าในทุกช่วงของชีวิต (Life Stage) ผ่านนโยบาย “MTL Everyday Life Partner” เดินหน้าออกแบบผลิตภัณฑ์และบริการรูปแบบใหม่ผ่านนวัตกรรม และแนวคิดแบบ Outside In ซึ่งสามารถตอบโจทย์ความต้องการในรูปแบบที่มีความเฉพาะตัวและเหมาะกับไลฟ์สไตล์ของลูกค้ามากยิ่งขึ้น งานจัดขึ้น ณ บมจ. เมืองไทยประกันชีวิต สำนักงานภูมิภาคหาดใหญ่
4 ภาคีความร่วมมือภาคประชาสังคม ภาคเอกชน ท้องถิ่น และมหาวิทยาลัยในพื้นที่ หนึ่งในหัวใจสำคัญของการดำเนินโครงการ “โรงเรียนร่วมพัฒนา” หรือ “Partnership School” ประสานพลังความร่วมมือช่วยยกระดับคุณภาพการศึกษาในด้านต่างๆ ให้มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น และช่วยให้สถานศึกษาเหล่านั้นกลายเป็นแหล่งเรียนรู้ตลอดชีวิตของคนในชุมชน
โดยล่าสุดบริษัท ซีพี ออลล์ จำกัด (มหาชน) ผู้ก่อตั้งร้านเซเว่น อีเลฟเว่น ในประเทศไทย ในฐานะภาคเอกชนที่มุ่งมั่นส่งเสริมการศึกษาและพัฒนาเยาวชนอย่างต่อเนื่อง ได้ลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือพัฒนาการศึกษากับ มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงราย, สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา เชียงราย เขต 1 และโรงเรียนอนุบาลดงมหาวัน จ.เชียงราย สถานศึกษาในท้องถิ่น เพื่อร่วมกันต่อยอดโครงการโรงเรียนร่วมพัฒนา สร้างนวัตกรรมการบริหารจัดการสถานศึกษา ตามเป้าหมาย 4 ด้าน คือ การพัฒนาคุณภาพผู้เรียน การพัฒนาครู การพัฒนาคุณภาพสถานศึกษา และการพัฒนาคุณภาพการบริหารจัดการภายในโรงเรียน เพื่อยกระดับสถานศึกษาให้เป็นแหล่งเรียนรู้ตลอดชีวิตในชุมชน แก่โรงเรียนอนุบาลดงมหาวัน 1 ใน 50 โรงเรียนรุ่นแรกที่เข้าร่วมโครงการฯ
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ศรชัย มุ่งไธสง อธิการบดีมหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงราย กล่าวว่าบทบาทของมหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงราย จะเข้ามาทำหน้าที่เป็นสถาบันการศึกษาพี่เลี้ยงแก่โรงเรียนอนุบาลดงมหาวัน ซึ่งเป็นสถานศึกษาในท้องถิ่น จ.เชียงราย โดยได้จัดตั้งคณะกรรมการทำงานขึ้นมาทั้งหมด 2 ส่วน ได้แก่ 1.คณะผู้บริหารคณะครุศาสตร์ ทำหน้าที่เป็น “พี่เลี้ยง” พัฒนาระบบการเรียนการสอน การบริหารจัดการ การเรียนรู้ให้มีประสิทธิภาพ พร้อมส่งนักศึกษาคณะครุศาสตร์เข้าไปทำหน้าที่ครูฝึกสอน สร้างความพร้อมในเชิงบุคลากร และ 2.คณะผู้บริหารคณะนวัตกรรมและการศึกษาต่อเนื่อง ร่วมผลักดันและสนับสนุนการทำกิจกรรม และทรัพยากรต่างๆ ที่จะก่อให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุดต่อการจัดการเรียนการสอน
“ซีพี ออลล์ ในฐานะภาคเอกชนมีความพร้อมด้านการบริหารจัดการ ขณะที่มหาวิทยาลัยของเราเป็นผู้นำในการพัฒนาบุคลากรด้านครุศาสตร์ในพื้นที่ภาคเหนือตอนบน มีเครือข่ายความร่วมมือในระดับสากล จึงมีความเชี่ยวชาญและสามารถช่วยเป็นพี่เลี้ยงให้กับโรงเรียนได้ และเชื่อว่าการทำงานร่วมกันระหว่างหลายๆ ภาคส่วนจะเกิดเป็นโมเดลในการขยายเครือข่ายลักษณะนี้ต่อไปในอนาคต” ดร.ศรชัย กล่าว
อีกหนึ่งบทบาทความร่วมมือนายประหยัด ทัพธานี ผู้อำนวยการโรงเรียนอนุบาลดงมหาวัน กล่าวว่า โรงเรียนอนุบาลดงมหาวันเป็นโรงเรียนขนาดเล็กระดับประถมศึกษา มีนักเรียนตั้งแต่ระดับชั้นอนุบาลถึงประถมศึกษาปีที่ 6 รวม 200 คน ที่ผ่านมาโรงเรียนได้รับการสนับสนุนด้านการศึกษาผ่านโครงการโรงเรียนประชารัฐ ภายใต้การดูแลของซีพี ออลล์ อย่างต่อเนื่อง ทำให้นักเรียนมีโอกาสทางการศึกษามากขึ้น โดยเฉพาะโครงการอุทยานการเรียนรู้ยุวเกษตรกรรม ซึ่งดึงจุดแข็งด้านเกษตรกรรมที่มีในชุมชนให้เยาวชนได้ “เรียนรู้ รักษา และพัฒนาต่อยอด” เกิดเป็นการสร้างงาน สร้างอาชีพ สร้างรายได้ ให้กับเยาวชน และชุมชน
“ในวันนี้โรงเรียนอนุบาลดงมหาวันได้รับคัดเลือกให้เป็น 1 ใน 50 โรงเรียนร่วมพัฒนารุ่นแรกของกระทรวงศึกษาธิการ ถือเป็นอีกหนึ่งมิติที่จะสร้างโอกาสให้โรงเรียนของเราได้เตรียมทักษะ ความพร้อมของนักเรียนในอนาคต เมื่อโตขึ้นพวกเขาจะสามารถใช้ศักยภาพ ความสามารถในการเรียนรู้ วิเคราะห์ มีจิตสาธารณะ มีคุณธรรม เป็นพลเมืองที่มีคุณภาพต่อไปในอนาคต” นายประหยัด ย้ำ
ด้านนายสุวิทย์ กิ่งแก้ว รองกรรมการผู้จัดการอาวุโส บมจ.ซีพี ออลล์ ผู้ก่อตั้งร้านเซเว่น อีเลฟเว่น ในประเทศไทย กล่าวว่า ถือเป็นโอกาสดีที่ภาคประชาสังคม ท้องถิ่น และมหาวิทยาลัยในพื้นที่ เปิดโอกาสให้ภาคเอกชนเข้ามามีบทบาทในการพัฒนาการศึกษาไทย โดยโรงเรียนอนุบาลดงมหาวัน
จ.เชียงราย ถือเป็นหนึ่งใน 2 โรงเรียนที่ซีพี ออลล์ เข้าไปนำร่องในโครงการโรงเรียนร่วมพัฒนา และต้องการสร้างเป็นโมเดลในการพัฒนาโรงเรียนในพื้นที่ต่างจังหวัด ให้มีความพร้อมอย่างรอบด้าน โดยบริษัทจะนำองค์ความรู้ด้านการบริหารจัดการไปต่อยอดสร้างสรรค์ให้สอดคล้องกับบริบทของโรงเรียนที่เข้าไปร่วมพัฒนา เพื่อเตรียมความพร้อมผู้เรียนสำหรับอนาคตให้มีทักษะการใช้ชีวิตอย่างรอบด้านและเป็นคนดี-คนเก่งของสังคม ตามปณิธานขององค์กร “ร่วมสร้างสรรค์และแบ่งปันโอกาสให้ทุกคน”
โครงการโรงเรียนร่วมพัฒนา เป็นหนึ่งในนโยบายปฏิรูปการศึกษาสอดคล้องกับยุทธศาสตร์ชาติในระยะ 20 ปีของรัฐบาล โดยมีหลักการสำคัญคือ การเปิดโอกาสให้ทุกภาคส่วนเข้ามาร่วมพัฒนาการศึกษา โดยเชื่อว่าพลังจากภายนอกจะมีส่วนสำคัญที่ช่วยผลักดันการบริหารงานในแนวทางใหม่ ๆ ที่จะส่งผลต่อการยกระดับคุณภาพการศึกษาและผลสัมฤทธิ์ที่ดี สร้างเด็กไทยตอบโจทย์ยุค 4.0 พร้อมพัฒนาสถานศึกษาให้เป็นแหล่งเรียนรู้ตลอดชีวิตในชุมชน
นายพิศิษฐ์ เสรีวิวัฒนา กรรมการผู้จัดการ ธนาคารเพื่อการส่งออกและนำเข้าแห่งประเทศไทย (EXIM BANK) เปิดเผยภายหลังนำคณะกรรมการธนาคารและผู้บริหาร EXIM BANK เข้าร่วมการประชุมสุดยอดด้านการลงทุนในรัฐคุชราต (Vibrant Gujarat Global Summit 2019) โดยมีนายนเรนทรา โมดี นายกรัฐมนตรีอินเดีย เป็นประธาน และมีผู้เข้าร่วมประชุมกว่า 33,000 คน จากกว่า 100 ประเทศทั่วโลก ณ คานธีนคร แคว้นคุชราต อินเดีย เมื่อเร็วๆ นี้ ว่า EXIM BANK ได้รับฟังนโยบายของรัฐบาลอินเดียที่สร้างความเชื่อมั่นให้แก่นักลงทุนต่างชาติ โดยเฉพาะรัฐคุชราต ซึ่งเป็นรัฐสำคัญที่มีอัตราการเติบโตทางเศรษฐกิจอย่างก้าวกระโดด ประชากร 63 ล้านคนมีรายได้เฉลี่ยสูงกว่าค่าเฉลี่ยของประเทศ เปิดรับการค้าและการลงทุนจากต่างชาติมากที่สุดในอินเดีย และมีมูลค่าส่งออกกว่า 22% ของทั้งประเทศ โดยอินเดียมองไทยเป็นมิตรประเทศที่มีความสัมพันธ์อันดีและความเชื่อมโยงกับอินเดีย ทั้งในมิติด้านเศรษฐกิจ การเมือง สังคม และวัฒนธรรม ทั้งนี้ โอกาสของผู้ประกอบการไทยอยู่ในหลายภาคธุรกิจ อาทิ ชิ้นส่วนยานยนต์ ปิโตรเคมีและเคมีภัณฑ์ขั้นต้น ค้าปลีกและค้าส่ง
นายพิศิษฐ์ เปิดเผยต่อไปว่า EXIM BANK ได้ร่วมเดินทางพร้อมกับนายชุตินทร คงศักดิ์ เอกอัครราชทูต ณ กรุงนิวเดลี และนางสาวชุติมา บุณยประภัศร รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงพาณิชย์และคณะ เพื่อเข้าร่วมการประชุมดังกล่าว และเยี่ยมชมนิทรรศการของกระทรวงพาณิชย์และผู้ประกอบการไทย รวมทั้งได้เข้าพบผู้บริหารหน่วยงานภาครัฐและเอกชนของไทยและอินเดียในกรุงนิวเดลีและเมืองมุมไบ อาทิ ทีมไทยแลนด์ประกอบด้วย สถานเอกอัครราชทูต ณ กรุงนิวเดลี สถานกงสุลใหญ่ ณ เมืองมุมไบ และสำนักงานส่งเสริมการค้าระหว่างประเทศ ณ เมืองมุมไบ สำนักงานส่งเสริมการลงทุนอินเดีย (Invest India) ธนาคารเพื่อการส่งออกและนำเข้าแห่งอินเดีย (EXIM India) ล็อตส์ โฮลเซล โซลูชันส์ (Lots Wholesale Solutions) ห้างค้าส่งของผู้ประกอบการไทยในเครือเจริญโภคภัณฑ์ บริษัท ไอทีดี ซีเมนท์เทชั่น อินเดีย จำกัด (ITD Cementation India Limited) บริษัทก่อสร้างของผู้ประกอบการไทยในอินเดีย กลุ่มบริษัทวีรับเบอร์ ผู้ผลิตและจำหน่ายยางล้อ เป็นต้น
กรรมการผู้จัดการ EXIM BANK กล่าวว่า อินเดียเป็นหนึ่งในกลุ่มประเทศ New Frontiers ที่เศรษฐกิจมีแนวโน้มขยายตัวสูงเป็นอันดับต้นๆ ของโลก เฉลี่ยปีละ 6-7% ประกอบกับขนาดตลาดที่ใหญ่เป็นอันดับ 2 ของโลกด้วยจำนวนประชากรกว่า 1,300 ล้านคน และกำลังซื้อเติบโตอย่างก้าวกระโดด ตลอดจนนโยบายภาครัฐของอินเดียที่มุ่งสนับสนุนการลงทุนจากต่างประเทศ (Foreign Direct Investment: FDI) โดยเฉพาะนโยบาย Make in India รวมถึงการปฏิรูปกฎระเบียบและอัตราภาษีที่ซ้ำซ้อน (GST Reform) และการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานเพื่อรองรับภาคอุตสาหกรรมและการเข้ามาลงทุนของบริษัทต่างชาติ ล้วนสร้างโอกาสทางธุรกิจใหม่ๆ แก่ผู้ประกอบการไทย โดยเฉพาะการเชื่อมโยงห่วงโซ่การผลิตระหว่างไทยกับอินเดียในหลายอุตสาหกรรม เช่น ยานยนต์ อิเล็กทรอนิกส์ ปิโตรเคมี เป็นต้น ซึ่งผู้ประกอบการไทยมีความเชี่ยวชาญเป็นอย่างดี นอกจากนี้ ด้วยขนาดตลาดที่ใหญ่และมีความต้องการที่หลากหลาย ยังช่วยเพิ่มโอกาสการทำตลาดสินค้าและบริการไทยในหลายมิติด้วย ท่ามกลางโอกาสธุรกิจมหาศาลที่จะเกิดขึ้น EXIM BANK จึงดำเนินยุทธศาสตร์เชิงรุกสนับสนุนธุรกิจไทยให้สยายปีกในอินเดียได้อย่างเต็มศักยภาพ ตลอดจนพร้อมที่จะเป็นหนึ่งในจิ๊กซอว์สำคัญเพื่อเชื่อมโยงห่วงโซ่การผลิตระหว่างไทยกับอินเดียผ่านบริการทางการเงินอย่างครบวงจร
“EXIM BANK ดำเนินตามยุทธศาสตร์ในการสนับสนุนการลงทุนให้แก่ผู้ประกอบการไทยในตลาดใหม่ โดยคาดหวังให้ผู้ประกอบการที่มีศักยภาพสามารถขยายการลงทุนไปยังตลาดใหม่ทั่วโลกได้อย่างมั่นใจ เพื่อเข้าถึงผู้บริโภคที่มีกำลังซื้อและต้องการสินค้าไทยอีกจำนวนมาก โดยการให้ข้อมูลตามแผนยุทธศาสตร์ประเทศ พร้อมทั้งบริการทางการเงินที่เหมาะสมในรูปแบบต่างๆ ทั้งนี้ เพื่อขับเคลื่อนการเติบโตของภาคการส่งออกและเศรษฐกิจไทย” นายพิศิษฐ์กล่าว