December 22, 2024

ย้อนเส้นทางสานต่อศาสตร์พระราชา ผ่านโครงการ “รักษ์น้ำ จากภูผาสู่มหานที” โดยเอสซีจี ผลสัมฤทธิ์แห่งการส่งเสริมนวัตกรรมเพื่อบริหารจัดการน้ำอย่างยั่งยืนและพลิกฟื้นความเข้มแข็งให้ชุมชน

“เพราะน้ำคือชีวิตของทุกสรรพสิ่ง ที่ใดมีน้ำที่นั่นย่อมมีชีวิต...” เอสซีจี จึงได้เดินอยู่บนเส้นทางแห่งการบริหารจัดการน้ำร่วมกับชุมชนและภาคีเครือข่ายมากว่า 10 ปี

จุดเริ่มต้นเส้นทางสู่ความยั่งยืนด้านสิ่งเเวดล้อม และวิถีชีวิตความเป็นอยู่

เอสซีจี ได้น้อมนำเเนวพระราชดำริ 'จากภูผาสู่มหานที' ผสานเเนวคิดเศรษฐกิจหมุนเวียน (Circular Economy) มาต่อยอดโครงการ “รักษ์น้ำเพื่ออนาคต” ที่ดำเนินมากว่า 10 ปี ด้วยโครงการ “รักษ์น้ำจากภูผาสู่มหานที” ในปี 2561 เพื่อขยายผลการดูแลจัดการน้ำให้เหมาะสมกับเเต่ละพื้นที่ สร้างต้นน้ำที่ดี กลางน้ำที่สมบูรณ์ สู่ปลายน้ำที่ยั่งยืน ผ่านกระบวนการสร้างการมีส่วนร่วมกับชุมชน ให้เข้าใจการบริหารจัดการน้ำในพื้นที่ตนเองอย่างแท้จริง ตลอดจนเดินหน้าสร้างความร่วมมือกับหน่วยงานภาครัฐในท้องถิ่น จิตอาสา เเละพนักงาน เพื่อสร้างพลังเเละเชื่อมความรู้การจัดการน้ำอย่างเป็นระบบ

“ฝายชะลอน้ำ” ต้นแบบการพลิกฟื้นพื้นที่ต้นน้ำ

เริ่มต้นจากพื้นที่ต้นน้ำ อ.เเม่ทะ จ.ลำปาง ต้นแบบการพลิกฟื้นพื้นที่ด้วยการสร้างฝายชะลอน้ำ เพื่อช่วยบรรเทาปัญหาน้ำแล้งในฤดูเเล้ง น้ำท่วมในฤดูน้ำหลาก เเละป้องกันไฟไหม้ป่า ก่อนขยายไปยังพื้นที่ อ.แจ้ห่ม จ.ลำปาง เมื่อฝายชะลอน้ำช่วยให้น้ำกลับคืนมาสู่พื้นที่ จึงนำไปสู่การสร้างสระพวงเชิงเขา วิธีการกักเก็บน้ำที่ใช้การเชื่อมต่อสระน้ำเป็นพวง ทำให้มีน้ำเพียงพอสำหรับทำการเกษตรในพื้นที่ไม่อุ้มน้ำ ชุมชนสามารถเพาะปลูกเมล็ดพันธุ์พืชแบบใช้น้ำน้อย เช่น ฟักทอง บวบ ถั่วฝักยาว มะระขี้นก ได้มากถึง 7 ครั้งต่อปี เกิดรายได้รวมในชุมชนถึง 18 ล้านบาทต่อปี และยังใช้วิธีการกระจายน้ำในพื้นราบด้วยระบบแก้มลิง ทำให้เกษตรกรนำน้ำไปใช้ในพื้นที่กว่า 500 ไร่ สร้างรายได้กว่า 100,000 บาท / ครัวเรือน / ปี ช่วยให้ชุมชนมีแหล่งน้ำสำรองในฤดูแล้งอีกประมาณ 134,000 ลบ.ม. สามารถบริหารจัดการน้ำได้อย่างเต็มระบบและพัฒนาต่อยอดเป็นแหล่งท่องเที่ยวเชิงนิเวศ เพื่อสร้างอาชีพ เสริมรายได้ให้ชุมชนอย่างยั่งยืน

ไม่เฉพาะภาคเหนือ แต่แนวคิดการสร้างฝายชะลอน้ำยังได้ขยายผลสู่ ต.ถ้ำใหญ่ อ.ทุ่งสง จ.นครศรีธรรมราช ที่ชุมชน ภาคีเครือข่าย และเอสซีจี ได้ร่วมสร้างฝายเพื่อรักษาและฟื้นฟูระบบนิเวศป่าต้นน้ำของลำน้ำสาขาจากเทือกเขานครศรีธรรมราช อันเป็นต้นน้ำของลุ่มน้ำตรัง ขณะเดียวกัน ก็ได้ส่งต่อแนวคิดไปสู่พื้นที่ อ.ไทรโยค จ.กาญจนบุรี ที่ประสบปัญหาพื้นที่แห้งแล้งจากการแผ้วถางป่าสำหรับขยายพื้นที่ทำกิน และหน้าดินที่ถูกชะล้างซึ่งสร้างความเดือดร้อนให้ชุมชน ฝายชะลอน้ำจึงถูกนำไปใช้เป็นเครื่องมือช่วยชะลอน้ำและฟื้นคืนสภาพพื้นที่ให้เป็นแหล่งอาหารและสร้างรายได้ให้กับชุมชน

“ฝายช่วยคืนความสมดุลให้ป่า และป่ายังเปรียบเสมือนซุปเปอร์มาเก็ตที่ชุมชนสามารถเข้าไปหาของป่าสำหรับนำมาใช้ทำอาหารให้ครอบครัวและแบ่งขายสร้างรายได้เพิ่มมากขึ้น ยิ่งไปกว่านั้น ไม่น่าเชื่อว่าเพราะการที่ชุมชนช่วยกันลงแรงร่วมใจกันสร้างฝายชะลอน้ำ จะทำให้ชุมชนของเรามีโอกาสพูดคุย เข้าใจกัน และรักสามัคคีกันมากขึ้นผู้ใหญ่ครุฑ นายเต้นยิ้ว วชิรพันธ์วิชาญ ประธานป่าชุมชนบ้านบ้านยางโทน กล่าว

“แก้มลิง” กักเก็บน้ำในพื้นที่กลางน้ำ พลิกฟื้นพื้นที่ทำการเกษตร

สำหรับพื้นที่กลางน้ำ เอสซีจีได้ร่วมกับชุมชนป่าภูถ้ำ ภูกระแต อ.แวงน้อย จ.ขอนแก่น ต้นแบบชุมชนบริหารจัดการน้ำตามแนวพระราชดำริ และมูลนิธิอุทกพัฒน์ ในพระบรมราชูปถัมภ์ ขยายการดำเนินงานการบริหารจัดการน้ำอย่างยั่งยืนสู่บ้านโนนเขวา อ.แวงน้อย จ.ขอนแก่น โดยจัดทำ “แก้มลิง” แหล่งสำรองน้ำจากการขุดลอกหนองน้ำเดิม เพื่อเชื่อมต่อจากแม่น้ำชีไปสู่หนองน้ำในพื้นที่ทำการเกษตรของชุมชน สำหรับเก็บกักน้ำ ช่วยบรรเทาปัญหาภัยแล้งและน้ำท่วมพื้นที่เกษตรได้กว่า 250 ไร่ อีกทั้งยังใช้เป็นแหล่งเลี้ยงปลาเพิ่มรายได้ให้ชุมชนอย่างน้อยปีละ 30,000 บาท และบรรเทาปัญหาขาดแคลนน้ำอุปโภคในครัวเรือน

“บ้านปลาเอสซีจี” ผลสำเร็จในพื้นที่ปลายน้ำ

ทอดยาวไปยังพื้นที่ปลายน้ำ เอสซีจีได้นำท่อ PE100 ที่เหลือจากการขึ้นรูปสำหรับทดสอบเม็ดพลาสติกภายในโรงงานมาใช้ประกอบเป็นบ้านปลา เพื่อฟื้นฟูและอนุรักษ์ระบบนิเวศชายฝั่งทะเลภาคตะวันออก เพิ่มที่อยู่อาศัยและเป็นแหล่งอนุบาลสัตว์ทะเลขนาดเล็ก คืนความสมบูรณ์สู่ท้องทะเลไทย โดยปัจจุบันได้วางบ้านปลาลงสู่ใต้ท้องทะเลไปแล้ว 1,600 หลัง ใน จ.ระยอง ชลบุรี และจันทบุรี คิดเป็นพื้นที่อนุรักษ์ทรัพยากรทางทะเลกว่า 40 ตร.กม. เกิดความหลากหลายทางชีวภาพทางทะเลของสัตว์น้ำเศรษฐกิจและปลาสวยงามกว่า 172 ชนิด

“หัวใจสำคัญของโครงการตลอดระยะเวลากว่า 6 ปีที่ผ่านมา คือ ความเข้มแข็งของชุมชนประมงพื้นบ้านที่ช่วยกันสร้างบ้านปลา และดูแลพื้นที่อนุรักษ์อย่างต่อเนื่อง รวมถึงพลังของจิตอาสาที่ร่วมกิจกรรมตั้งแต่เริ่มต้นจนถึงปัจจุบันกว่า 11,500 คน และขณะนี้ เอสซีจียังทดลองนำขยะพลาสติกจากทะเล และชุมชนมาเข้าสู่กระบวนการรีไซเคิลเพื่อนำมาผลิตเป็นท่อสำหรับสร้างบ้านปลาตามแนวคิดเศรษฐกิจหมุนเวียนอีกด้วย” นายชลณัฐ ญาณารณพ รองผู้จัดการใหญ่ และประธานคณะกรรมการการพัฒนาอย่างยั่งยืน เอสซีจี กล่าว

นอกจากนี้ ในพื้นที่ชายฝั่งทะเลภาคใต้ ชาวประมงพื้นบ้านบ้านมดตะนอย ต.เกาะลิบง อ.กันตัง จ.ตรัง ซึ่งประสบปัญหาจากการไม่สามารถออกหาปลาในทะเลช่วงมรสุมได้ เมื่อจะใช้คลองที่อยู่ใกล้ชุมชนเป็นที่ทำกินก็พบว่า ปลามีจำนวนน้อยเพราะขาดแหล่งที่อยู่อาศัยอันอุดมสมบูรณ์ เอสซีจีจึงเข้าไปร่วมกับชุมชนพัฒนาแหล่งที่อยู่อาศัยใต้ทะเลที่เหมาะสมกับพื้นที่ โดยนำนวัตกรรมปูนงานโครงสร้างทนทานพิเศษ เอสซีจี มาหล่อเป็นบ้านปลาในลักษณะวงกลมที่มีช่องขนาดหลากหลาย เพื่อให้ปลาสามารถว่ายผ่านไปมาได้และสามารถใช้หลบภัยได้เป็นอย่างดี รวมถึงการปลูกป่าโกงกาง และหญ้าทะเล สำหรับช่วยเหลือพะยูนและสัตว์ทะเลใกล้สูญพันธุ์ด้วย

เสริมความแข็งแกร่งให้ชุมชนด้วยนวัตกรรมเพื่อสังคม

ด้วยความเชี่ยวชาญของเอสซีจี เเละประสบการณ์ด้านการบริหารจัดการน้ำร่วมกับชุมชนมาอย่างต่อเนื่อง ทำให้เอสซีจีมองเห็นปัญหาที่เกิดขึ้นในพื้นที่ต่างๆ จึงได้นำ "นวัตกรรมผ้าใบคอนกรีต" ของธุรกิจซีเมนต์และผลิตภัณฑ์ก่อสร้าง ที่ผสมผสานเทคโนโลยีซีเมนต์เเละเทคโนโลยีสังเคราะห์ซึ่งมีความเเข็งเเรงและปรับรูปแบบได้ตามต้องการ มาใช้สร้างสระพวงสำหรับกักเก็บน้ำที่บ้านสาแพะ จ.ลำปาง เพื่อแก้ปัญหาดินทรายไม่อุ้มน้ำ

นอกจากนั้น ยังได้มีการใช้ นวัตกรรมปูนงานโครงสร้างทนทานพิเศษ เอสซีจี” ที่ทนซัลเฟตและคลอไรด์ในน้ำทะเลได้นานกว่าปูนธรรมดา มาหล่อเป็นบ้านปลาสำหรับเป็นแหล่งพักพิงของสัตว์ทะเลในพื้นที่ภาคใต้ ซึ่งได้รับการรับรองความปลอดภัยและเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม รวมทั้งยังแข็งแรงทนทาน ไม่มีส่วนประกอบที่สามารถแตกหักเสียหายกลายเป็นขยะใต้น้ำได้

ขณะเดียวกันก็ได้นำ "นวัตกรรมบ้านปลาจากท่อ PE100" ที่เป็นวัสดุเหลือใช้จากกระบวนการผลิตเม็ดพลาสติกของธุรกิจเคมิคอลส์ ซึ่งได้รับการรับรองความปลอดภัยในการขนส่งน้ำ มาออกแบบสร้างเป็นแหล่งอนุบาลสัตว์ทะเลในพื้นที่ จ.ระยอง ซึ่งพบปัญหาจำนวนปลาใกล้ชายฝั่งลดน้อยลง

เครือข่ายพลังคนรุ่นใหม่ จิตอาสาเพื่อความยั่งยืน

ทุกๆ กิจกรรมที่จัดขึ้นตลอดทั้งปี 2561 ไม่เพียงแต่จะมีชุมชน หน่วยงานภาครัฐ และพนักงานเอสซีจี ร่วมเป็นจิตอาสาสร้างฝายชะลอน้ำและประกอบบ้านปลาเท่านั้น แต่ยังมีกลุ่ม Young รักษ์น้ำ ซึ่งเป็นกลุ่มคนรุ่นใหม่จากหลากหลายสถาบันการศึกษากว่า 80 คน ร่วมเดินทางขึ้นเหนือล่องใต้ร่วมกับเอสซีจีในทุกทริป เพื่อมาแลกเปลี่ยนเรียนรู้แนวคิดด้านการบริหารจัดการน้ำ และได้ลงมือทำกิจกรรมด้วยตัวเอง รวมทั้งได้ไปชมผลสำเร็จของบริหารจัดการน้ำ ด้วยเชื่อว่าพลังจากคนรุ่นใหม่จะช่วยสืบสาน รักษา และต่อยอดการบริหารจัดการน้ำอย่างยั่งยืนตามแนวพระราชดำริให้คงอยู่สืบไป

 “ไม่น่าเชื่อว่า การเริ่มต้นทำฝายจากจุดเล็กๆ ด้วยหัวใจของพี่ๆ ในชุมชน และแรงของเพื่อนๆ นักศึกษาจิตอาสา กลับส่งผลให้ป่าทั้งป่ากลับมาอุดมสมบูรณ์ได้อีกครั้ง นึกภาพไม่ออกเลยว่าพื้นที่ที่เคยแห้งแล้งและมีปัญหาน้ำท่วมเป็นอย่างไร ถ้าครั้งหน้ามีกิจกรรมนี้อีก จะขอเป็นอีกหนึ่งแรงที่ลงมือช่วยเพื่อประเทศไทยของเรานางสาวช่อผกา พจนาสุคนธ์ นักศึกษาชั้นปีที่ 4 มหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง หนึ่งในเยาวชนจิตอาสาคนรุ่นใหม่ Young รักษ์น้ำ

ก้าวต่อไปของ “รักษ์น้ำ จากภูผาสู่มหานที”

เอสซีจีจะยังคงเดินหน้าสานต่อโครงการ “รักษ์น้ำ จากภูผาสู่มหานที” ในพื้นที่ต่างๆ ทั่วประเทศ ให้ครบตามเป้าหมายที่ตั้งไว้ภายในปี 2020 ซึ่งที่ผ่านมาได้ร่วมกับชุมชนและจิตอาสา สร้างฝายชะลอน้ำไปแล้วกว่า 83,200 ฝาย และจะขยายการสร้างฝายในพื้นที่ต้นน้ำให้ครอบคลุมทุกภูมิภาคทั่วประเทศให้ครบ 100,000 ฝาย ขุดสระพวงเชิงเขาส่งต่อน้ำเพื่อทำการเกษตรไปแล้ว 7 สระ โดยมีเป้าหมายจะขุดสระพวงให้ครบ 20 สระ และจัดทำระบบแก้มลิงในพื้นที่กลางน้ำไปแล้ว 8 พื้นที่ โดยตั้งเป้าหมายจะทำให้ครบ 20 พื้นที่ รวมถึงวางบ้านปลาในพื้นที่ปลายน้ำไปแล้ว 1,900 หลัง โดยตั้งเป้าหมายจะวางให้ครบ 2,600 หลัง รวมทั้งเอสซีจีมีความตั้งใจที่จะส่งเสริมชุมชนให้มีความสามารถในการพัฒนาและแปรรูปผลิตภัณฑ์จากผลผลิตในท้องถิ่นเพื่อสร้างอาชีพและส่งเสริมให้เกิดรายได้ตลอดทั้งปี โดยผู้สนใจสามารถติดตามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ www.scg.com/lovewater

ด้วยเชื่อว่าการมีส่วนร่วมของชุมชนเป็นหัวใจสำคัญของการพัฒนาเพื่อให้เกิดความยั่งยืน รวมถึงการสร้างเครือข่ายให้เกิดพลังที่เข้มแข็งเป็นกุญแจสำคัญในการสร้างต้นน้ำที่ดี สู่ปลายน้ำอันอุดมสมบูรณ์ ก่อเกิดเป็นความสมดุลที่หล่อเลี้ยงชีวิตของผู้คนในทุกพื้นที่ เอสซีจีจึงยังคงเดินหน้าสานต่อโครงการร่วมกับชุมชนในพื้นที่ต่างๆ ทั่วประเทศ พร้อมถ่ายทอดและต่อยอดแนวความคิดในการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติอันเป็นต้นทุนสำคัญของทุกชีวิตนี้ให้คงอยู่อย่างยั่งยืนต่อไป

ก้าวอีกก้าวของ KTC  ปี 2561 ภายใต้การนำของ ระเทียร ศรีมงคล ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร  บริษัท บัตรกรุงไทย จำกัด(มหาชน) หรือ KTC ร่วมกับทีมบริหารทั้งชุดสร้างความสำเร็จของเป้าหมายปี 2561 ด้วยผลกำไร 9 เดือน 3,911 ล้านบาท หรือ65%   ตอกย้ำฐานสมาชิกรวมทั้งบัตรทั้งเครดิต และสินเชื่อบุคคล มากถึง 3.2 ล้านบัญชี

ระเทียร  ศรีมงคล  ซีอีโอ ของ KTC  บอกเล่าถึงย่างก้าวของความสำเร็จของปีนี้  และเป้าหมายในปี 2562 ร่วมกับคณะผู้บริหารและทีมงาน KTC   ภายใต้บรรยายการล่องเรือตามแม่น้ำไนล์  เมืองไคโร ประเทศอิยิปต์เมื่อวันที่ 8 ธันวาคม ที่ผ่านมาว่า 

ในปี 2561 เคทีซีได้ผ่านบททดสอบจากความท้าทายหลายปัจจัย ทั้งจากมาตรการต่างๆ วิวัฒนาการของเทคโนโลยีที่เข้ามาอย่างรวดเร็ว  และการแข่งขันในการทำธุรกิจที่ทวีความรุนแรง ทำให้เราต้องช่วยกันคิดพลิกหากระบวนกลยุทธ์หลายอย่าง เพื่อให้ธุรกิจผ่านไปได้ โดยไม่ส่งผลกระทบใดๆ กับสมาชิกของเราที่มีอยู่ และต้องขอบคุณอุปสรรคเหล่านั้น ที่ทำให้เราแข็งแกร่งและกลับมีผลงานเป็นที่น่าพอใจอย่างมาก ด้วยผลกำไร 9 เดือน ที่สูงขึ้นถึง 65% เท่ากับ 3,911 ล้านบาท มีจำนวนสมาชิกรวมบัตรเครดิตและสินเชื่อบุคคล 3.2 ล้านบัญชี อีกทั้งรักษาระดับหนี้ที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้ (NPL) ไว้ในอัตราที่ต่ำมากๆ และยังคงต่ำกว่าอุตสาหกรรม”

                                                                                         

ซีอีโอ’ ของ KTC  ยังเผยต่อว่า “ ในปี 2562 เราคาดหวังว่าจะมีกำไรเพิ่มจากสิ้นปี 2561 ประมาณ 10% ด้วยความเชื่อว่าปีหน้าเศรษฐกิจของประเทศไทยน่าจะเติบโตได้จากหลายปัจจัยทางการเมืองและภาคเศรษฐกิจที่ได้วางรากฐานไว้แล้ว ทำให้การใช้จ่ายของผู้บริโภคมีแนวโน้มดีขึ้น  ซึ่งจะส่งผลให้ธุรกิจสินเชื่อเพื่อผู้บริโภคดีไปด้วย สำหรับ KTC จะเห็นอะไรใหม่ๆ ออกมาแน่นอน เรื่องหนึ่งคือการสร้างโอกาสทางธุรกิจใหม่ๆ เพื่อผลักดันฐานรายได้ให้สูงขึ้นแบบก้าวกระโดด  โดยจะเพิ่มธุรกิจนาโน-พิโกไฟแนนซ์  ซึ่งตอนนี้ได้มีการเตรียมโมเดลธุรกิจและจัดกระบวนทัพทุกอย่างไว้รอแล้ว เมื่อได้รับการอนุมัติจากธนาคารกรุงไทยและธนาคารแห่งประเทศไทย เราพร้อมจะมุ่งทำการตลาดอย่างเข้มข้นเต็มที่ทุกธุรกิจ บนพื้นฐานของความยืดหยุ่นและระมัดระวัง ทุกฝ่ายต้องทำงานประสานร่วมกันยิ่งขึ้น และที่สำคัญต้องมีพันธมิตรหลากหลายธุรกิจที่จะช่วยเรา  เติมเต็มผลิตภัณฑ์และบริการให้สมบูรณ์แบบ รวมไปถึงการพัฒนาด้านไอทีต่างๆ ซึ่งสมาชิก KTC จะได้พบกับนวัตกรรมบริการด้านการเงินใหม่ๆ ที่จะมาเป็นผู้ช่วยให้สมาชิกได้รับความสะดวกในการใช้จ่ายอย่างมีเสถียรภาพยิ่งขึ้น ซึ่งจะทำให้ลูกค้าได้รับประสบการณ์ที่ดีและผูกติดกับแบรนด์ KTC อย่างยั่งยืน”

 

พิทยา วรปัญญาสกุล รองประธานเจ้าหน้าที่บริหาร – ธุรกิจบัตรเครดิต “เคทีซี”  ได้ร่วมเผยถึงกลยุทธ์การตลาดธุรกิจบัตรเครดิตในปี 2562 ว่า

 

พิทยา วรปัญญาสกุล รองประธานเจ้าหน้าที่บริหาร-ธุรกิจบัตรเครดิต เคทีซี  ได้ร่วมเผยถึงกลยุทธ์การตลาดธุรกิจบัตรเครดิตของปี 2562 ว่า 

 “กลยุทธ์หลักด้านการตลาดของเคทีซีจะคงรักษาจุดแข็งของความร่วมมือด้านการตลาดกับพันธมิตรร้านค้าที่หลากหลาย ในการสร้างสรรค์โปรโมชั่นที่น่าสนใจและแตกต่างเพื่อกระตุกความสนใจของสมาชิก ทั้งหน้าร้านค้าและออนไลน์ เน้นการสื่อสารที่เข้าใจง่าย ตรงไปตรงมาและมีความคุ้มค่า ตรงใจ ครอบคลุมทุกกลุ่มสมาชิกเป้าหมายทั้งในกรุงเทพฯ และต่างจังหวัด ด้วย 3 อาวุธหลัก คือ

 1) รายการสะสมคะแนน KTC FOREVER ที่ยืดหยุ่น แลกง่าย และแลกได้จริง 

2) บริการผ่อนชำระ KTC FLEXI เพื่อตอบโจทย์ร้านค้าและสมาชิกบัตร 

3) บริการ KTC World Travel Service สำหรับคนรักการท่องเที่ยว

นอกจากนี้เคทีซียังเล็งเห็นถึงไลฟ์สไตล์การใช้ชีวิตที่ผู้บริโภคนิยมทำอะไรด้วยตนเอง ทั้งการค้นหาข้อมูลที่สนใจและการทำรายการ เราจึงได้พัฒนาบริการและช่องทางการสื่อสาร โดยปรับปรุงการใช้งานโมบายแอปพลิเคชัน “KTC Mobile” (เปลี่ยนชื่อจาก TapKTC) เพื่อให้สมาชิกเข้าถึงการใช้งานได้สะดวกและมั่นใจในความปลอดภัย โดยปัจจุบันมี

จำนวนสมาชิกที่ลงทะเบียนใช้แอปฯ KTC Mobile เกือบ 1 ล้านราย หรือประมาณ 60% ของจำนวนสมาชิกทั้งหมด รวมทั้งจะมีการปรับปรุงเว็บไซต์ www.ktc.co.th  และ www.ktcworld.co.th เพื่อให้ใช้งานง่ายและตอบโจทย์ความต้องการของสมาชิกบัตรมากขึ้นอีกด้วย

พิทยา  วรปัญญาสกุล  ได้ทิ้งท้ายในถ้อยแถลงว่า  “ ในปีหน้า  2562  KTC ก็คาดหวังที่จะสร้างยอดการใช้จ่ายผ่านบัตรเครดิตเติบโต 15%  ซึ่งถือนับเป็นความท้าทายอย่างไม่หยุดยั้ง

พิชามน  จิตรเป็นธรรม  ผู้อำนวยการ- ธุรกิจสินเชื่อบุคคล KTC   ได้ร่วมแถลงถึงสภาพการณ์ธุรกิจและการตลาด ในปี 2562  พร้อมแนวทางของ KTC  ที่ประกอบด้วยทั้งการตั้งรับ และเชิงรุกว่า “ สภาวะการแข่งขันธุรกิจสินเชื่อบุคคลจะยิ่งมีความร้อนแรงมากขึ้น ทั้งจากผู้ประกอบการที่อยู่ในตลาดรวมถึงผู้ประกอบการรายใหม่ๆ

โดยกลยุทธ์การตลาดของเคทีซีในปี 2562 จะมุ่งขยายจำนวนสมาชิกให้ได้ถึง 1 ล้านราย และตั้งเป้าเพิ่มอัตราการเติบโตของยอดลูกหนี้ 10% โดยจะเดินหน้าแบ่งเบาภาระคนไทยให้ได้รับสินเชื่อที่เป็นธรรม เพื่อบรรเทาความเดือดร้อนและร่วมลดการพึ่งพาหนี้นอกระบบในปัจจุบัน

เคทีซียังได้พัฒนาบริการเบิกเงินสดออนไลน์ผ่านแอปฯ “KTC Mobile”  ที่ให้ความรวดเร็วและสะดวกมากยิ่งขึ้น และสามารถเบิกได้ตามวงเงินสูงสุดที่มีในบัตรตลอด 24 ชั่วโมงแบบเรียลไทม์ สะดวกสบายไม่ต้องใช้ PIN เพื่อรองรับพฤติกรรมผู้บริโภคที่หันมาใช้บริการออนไลน์มากขึ้น นอกจากนี้ KTC ยังมีแผนจะเพิ่มจำนวนธนาคารรองรับความต้องการในอนาคตเพื่อให้สมาชิกเลือกโอนเงินได้สะดวกยิ่งขึ้น   ซึ่งล่าสุดสมาชิกสามารถเลือกผ่อนชำระตามแบบที่ต้องการได้ ไม่ว่าจะเป็นการผ่อนชำระเป็นงวดที่เท่ากัน หรือเลือกผ่อนชำระขั้นต่ำ 3% หรือ 300 บาทได้”

พิชามน ยังกล่าวแผนการเพิ่มจำนวนสมาชิกของ KTC ว่า “  แคมเปญการตลาดหลายรูปแบบ มีเป้าหมายเพื่อทั้งการรักษาฐานสมาชิกเดิม และเพิ่มเติมการสร้างสมาชิกใหม่  ภายใต้แนวคิดการจัดกิจกรรมที่เน้นความ แตกต่าง ตรงใจ และช่วยแบ่งเบาภาระสมาชิก ในหลายมิติ  อย่างเช่น การลดดอกเบี้ยในรูปแบบใหม่ๆ ที่ยังไม่เคยมีใครทำมาก่อน, ส่งเสริมการมีวินัยในการใช้จ่ายอย่างมีความรับผิดชอบ และสร้างประสบการณ์ที่ดีจากแคมเปญการตลาดที่โดนใจแบบเจาะจงเฉพาะกลุ่ม รวมถึงแคมเปญการตลาดเพื่อให้สมาชิกในวงกว้างมีการใช้บัตรกดเงินสดอย่างต่อเนื่อง และได้รับประโยชน์จากการลด และเบาเบาภาระหนี้  เป็นต้น”

ผู้อำนวยการธุรกิจสินเชื่อบุคคล KTC ยังกล่าวถึง กิจกรรมสัมพันธ์สมาชิกที่ทำต่อเนื่องกันมาว่า  สามารถสร้างความผูกพัน์ในฐานสมาชิกได้อย่างต่อเนื่องและเหนียวแน่น โดยในปี 2562 ก็จะมีรูปแบบเวิร์คช้อปแบ่งปันความรู้ที่เป็นประโยชน์ อาทิในด้านการบริหารเงิน เสริมสร้างอาชีพและรายได้ เป็นต้น

ปิยศักดิ์ เตชะเสน  รองประธานเจ้าหน้าที่บริหารอาวุโส - ช่องทางจัดจำหน่ายและธุรกิจร้านค้า “เคทีซี”   ผู้บริหารฐานพันธมิตรอันกล่าวได้ว่าเป็นหนึ่งในฐานของความเข้มแข็งของ KTC  ได้กล่าวถึงกลยุทธ์การบริหารช่องทางจัดจำหน่ายและธุรกิจร้านค้าในปี  2562 ว่า

“การขยายฐานผลิตภัณฑ์ของเคทีซีในปีหน้า จะมุ่งเน้นไปที่คุณภาพในการนำเสนอขายให้มากขึ้น โดยคำนึงถึงความต้องการของลูกค้าและความถูกต้องตามหลักเกณฑ์ของธนาคารแห่งประเทศไทย  โดยจะใช้ตัวแทนขายอิสระ (Outsource Sales) และสาขาของธนาคารกรุงไทยเป็นช่องทางหลัก และใช้ช่องทางออนไลน์เป็นยุทธศาสตร์ในระยะยาว โดย KTC ได้เตรียมความพร้อมทุกด้านเพื่อรองรับการเติบโตทั้งแพลทฟอร์มแบบเปิด (Open Platform) ของเว็บไซต์ใหม่ เพื่อให้พันธมิตรทุกรายสามารถทำงานกับเคทีซีได้อย่างไม่มีข้อจำกัด ในขณะที่สมาชิกเองก็จะได้รับประสบการณ์ที่ประทับใจจากการใช้งานบนเว็บไซต์มากขึ้น ไม่ว่าจะเป็นการสมัครโดยการฝากชื่อและเบอร์ติดต่อเพื่อให้เจ้าหน้าที่ Telesales บริการ หรือจะดำเนินการสมัครเองด้วยขั้นตอนที่ง่าย สะดวกและทราบผลได้อย่างรวดเร็ว 

ปิยศักดิ์   ได้เน้นย้ำถึงความพิเศษ ว่า ลูกค้าสมัครสินเชื่อบุคคลที่ “เคทีซี ทัช” ทั้ง  20 สาขาในกรุงเทพฯ และเชียงใหม่ สามารถรอฟังผลอนุมัติและและรับเงินสดหรือโอนเข้าบัญชีได้ภายในเวลาเพียง 30 นาที และในเดือนมกราคม 2562 จะเริ่มทดลองให้บริการรับสมัครและทราบผลภายใน 60 นาที ที่สาขาของธนาคารกรุงไทยในห้างสรรพสินค้าอีกด้วย

สำหรับกลุ่มเป้าหมายหลักของ KTC ยังคงเป็นพนักงานที่มีรายได้ประจำในทุกอาชีพ และมุ่งเน้นกลุ่มนักศึกษาจบใหม่ที่เพิ่งเริ่มต้นทำงานและยังไม่มีสินเชื่อ และจะขยายฐานไปยังกลุ่มลูกค้าระดับบนให้มากขึ้น โดยจะร่วมกับธนาคารกรุงไทยสรรหาสิทธิประโยชน์ระดับพรีเมี่ยมให้กับสมาชิกบัตรเคทีซี-เคทีบี พรีเชียส วีซ่าซิกเนเจอร์ / เคทีซี-เคทีบี พรีเชียส พลัส วีซ่า ซิกเนเจอร์ และเคทีซี-เคทีบี พรีเชียส พลัส วีซ่า อินฟินิท

ปิยะศักดิ์  กล่าวถึงเป้าหมายในการขยายฐานสมาชิกบัตรเครดิตและสินเชื่อพร้อมใช้ “เคทีซี พราว" ที่กำหนดการเติบโตไว้ที่  10% จากสิ้นปี 2561”  และถือเป็นอีกหนึ่งความท้าทายที่ประกาศในนโยบายของปี 2562 

ในส่วนของ  “กลยุทธ์การบริหารธุรกิจร้านค้ารับบัตร  ของปี  2562 นั้น KTC มีกำหนดแผนเชิงรุกที่จะขยายเข้าธุรกิจร้านค้าประเภทใหม่ๆ และตลาดต่างจังหวัด รวมทั้งมุ่งเจาะธุรกิจร้านค้าออนไลน์เพื่อตอบสนองการเติบโตอย่างก้าวกระโดดของเทรนด์ดิจิทัล และสนับสนุนธุรกิจร้านค้าให้เปลี่ยนจากการรับเงินสดมาเป็นผ่านบัตรเครดิตด้วยเครื่องมือทางการเงินที่มีประสิทธิภาพ  ขานรับกับกระแสความเป็นไปของพฤติกรรมผู้บริโภคในสังคมไร้เงินสดตามนโยบายของรัฐ

โดยส่วนหนึ่งของแผนงานประกอบด้วย

 1) พัฒนาผลิตภัณฑ์และบริการเพื่อตอบสนองทุกความต้องการของธุรกิจร้านค้าสมาชิกที่ปัจจุบันยังรับเงินสดเป็นหลัก พร้อมทั้งนำเสนอ Payment Solutions ที่หลากหลายและเหมาะสมกับแต่ละร้านค้า ไม่ว่าจะเป็น QR Pay สำหรับบัตรเครดิต หรือ NFC Pay โดยจะคำนึงถึงความปลอดภัยของการทำธุรกรรม ซึ่งจะต้องผ่านมาตรฐานความปลอดภัยระดับสากล

2) มุ่งจับกลุ่มธุรกิจลูกค้าชาวจีนที่เดินทางมาใช้จ่ายในประเทศไทย โดยยังจะขยายตลาดร้านค้าที่รองรับ Alipay Wallet อย่างต่อเนื่อง และจะรุกขยายตลาด Alipay Online ในปีหน้า

3) มุ่งเน้นธุรกิจ DCC (Dynamic Currency Conversion) เพื่ออำนวยความสะดวกให้ร้านค้าที่รับลูกค้าต่างชาติ สามารถเลือกชำระค่าสินค้าและบริการผ่านสกุลเงินต่างๆ ได้กว่า 30 สกุล”

ชุติเดช ชยุติ  ซีเอฟโอ (CFO- Chief Financial Officer ) “เคทีซี” 

ได้แถลงถึงนโยบายการบริหารการเงินของ KTC ว่า “ในปีนี้ KTC  ยังคงมีสถานะทางการเงินที่เข้มแข็งมาก โดยคาดว่าสิ้นปี 2561 นี้จะสามารถทำกำไรได้ที่ประมาณ 5,000 ล้านบาท ด้วยการขยายฐานบัตรที่มากขึ้น อีกทั้งคุณภาพพอร์ตที่ดีทำให้การตั้งสำรองลดลง และการควบคุมต้นทุนการเงินที่ดี “

อย่างไรก็ตาม ในปี 2562 อาจเป็นปีที่หลายธุรกิจต้องเผชิญกับความท้าทายของอัตราดอกเบี้ยนโยบายที่มีแนวโน้มปรับตัวสูงขึ้น ซึ่ง KTC ตระหนักดีและได้เตรียมการไว้รองรับเรื่องดังกล่าว โดยในปีหน้า KTC  จะยังคงมุ่งดำเนินธุรกิจให้เติบโตอย่างยั่งยืนและมีเสถียรภาพ ด้วยการบริหารต้นทุนเงินให้เกิดประโยชน์สูงสุด ทั้งการหาต้นทุนที่ต่ำและเพิ่มสัดส่วนของเงินกู้ระยะยาวมากขึ้น ที่ผ่านมาบริษัทฯ ได้ออกหุ้นกู้ในระยะยาว 5-10 ปีมากขึ้น เพื่อให้สามารถควบคุมเงินทุนให้อยู่ในระดับต่ำ โดยได้ออกหุ้นกู้ไปแล้วรวมทั้งสิ้น 45,885 ล้านบาท หรือประมาณ 90% ของเงินกู้ยืมทั้งหมด ซึ่งจะส่งผลให้ต้นทุนเงินของบริษัทฯ ปรับขึ้นในอัตราที่ช้ากว่าดอกเบี้ยตลาด และในปี 2562 บริษัทฯ มีแผนจะระดมทุนผ่านการออกหุ้นกู้ประมาณ 10,000 ล้านบาท เพื่อรองรับการขยายตัวของบริษัทฯ และทดแทนหุ้นกู้ที่ครบกำหนดประมาณ 5,300 ล้านบาท

นอกจากนี้ บริษัทฯ ได้เริ่มโครงการทดลองนำร่องใช้ RPA (Robotic Process Automation) มาช่วยการทำงานของฝ่ายบัญชี ในส่วนของงานที่มีวิธีการทำงานซ้ำๆ เดิมใน 5 ด้าน โดยเทคโนโลยีที่นำมาใช้นั้นได้รับการพิสูจน์แล้วว่าประสบความสำเร็จในหลายประเทศ ทั้งนี้ บริษัทฯ คาดหมายว่าการนำโรบอท (Robot) เข้ามาช่วยจะสามารถเพิ่มประสิทธิภาพในการทำงานได้มากกว่า 30% ในระยะยาว โดยบุคลากรที่เคยทำหน้าที่เดิมนี้ จะได้ขยับขึ้นไปรับงานที่สร้างมูลค่ามากขึ้น”

 

ศูนย์วิเคราะห์ Customer Insights by TMB Analytics เผยผลการศึกษาพฤติกรรมการซื้อลอตเตอรี่และหวย(ใต้ดิน)คนไทยพบว่า หวยไม่ใช่แค่เรื่องของมวลชน กลุ่มพนักงานประจำและเจ้าของธุรกิจ ที่เป็นแรงขับเคลื่อนของประเทศ กว่า    9 ล้านคน  เสพติดหวย ส่วนใหญ่มีครอบครัวมีภาระ ที่ซื้อลอตเตอรี่เพราะหวังรวยทางลัดและอยากเสี่ยงโชค หวยเป็นปัจจัยพื้นฐานแม้เศรษฐกิจไม่ดีก็ยังซื้อ

 “1 ใน 4 ของคนไทยซื้อลอตเตอรี่และหวย รวมเป็นเงินกว่า 2.5 แสนล้านบาทต่อปี” พูดง่ายๆคือคนไทยราว 20 ล้านคนซื้อลอตเตอรี่และเล่นหวยเทียบเป็นมูลค่าในแต่ละปีเท่ากับ 3 เท่าของมูลค่าซื้อกองทุน LTF และ RMF หรือมองในมุมของเศรษฐกิจเทียบเท่ากับเม็ดเงินลงทุนโครงการรถไฟความเร็วสูงเชื่อม 3 สนามบินเลยทีเดียว 

แล้วทุกวันนี้คนไทยมองการซื้อลอตเตอรี่หรือการเล่นหวยอย่างไร เสียงสะท้อนจากสื่อโซเชียลส่วนใหญ่และผลสำรวจ พบว่าร้อยละ 55 มองหวยเป็นความฝันและความหวังที่ทำให้รวยและมีความเป็นอยู่ที่ดี แต่จาก สถิติชี้ว่าโอกาสที่จะรวยจากการถูกรางวัลนั้นน้อยมากไม่ว่าเป็นลอตเตอรี่หรือหวย โดยคนคาดหวังว่าจะถูกลอตเตอรี่รางวัลที่ 1 มีอยู่ 44% แต่โอกาสถูกจริงเน้นว่าเป็นเพียง 1 ในล้าน ส่วนด้านคนเล่นหวยคาดว่าจะถูก 2-3 ตัวบนล่างมีอยู่ถึง 78% แต่โอกาสถูกจริงคิดเป็น 0.4-2% เท่านั้น

นอกจากนี้ข้อมูลจาก Google Trend ยังชี้ว่าในช่วง 15  ปีที่ผ่านมาคนไทย search คำว่า “เลขเด็ด” ซึ่งเป็นคำที่ฮิตทั่วไทยเพิ่มขึ้นถึงปีละ 18% ขณะที่การ search คำว่า “ฝากเงิน”เพิ่มขึ้นเฉลี่ยเพียงปีละ 9% และกระจุกอยู่แค่หัวเมืองเท่านั้น ซึ่งสอดคล้องกับข่าวที่ได้ยินเสมอว่าถ้ามีเลขเด็ดแพร่สะพัดไปเมื่อไรละก็ ทั่วทั้งประเทศแผงไหนๆ จังหวัดไหนก็ขายหมด และไม่ว่าเศรษฐกิจจะเป็นอย่างไรคนไทยก็ยังคงเสพติดหวยอย่างสม่ำเสมอ บ่งชี้จากในช่วงเศรษฐกิจตกต่ำทั่วโลกในปี 2552 รายจ่ายในการซื้อลอตเตอรี่และหวยของคนไทยอยู่ที่  340 บาทต่อเดือนหรือคิดเป็น 2.1% ต่อรายได้ทั้งหมด เทียบกับในช่วงที่เศรษฐกิจไทยฟื้นตัวในปี 2560 รายจ่ายในด้านนี้อยู่ที่  452 บาทต่อเดือน หรือคิดเป็น 2.1% ต่อรายได้ทั้งหมด ซึ่งตอกย้ำความเชื่อที่ว่าหวยเป็นความหวังที่ทำให้รวยและมีชีวิตที่ดีขึ้น แม้ในสถานการณ์ที่รายได้ตกต่ำควรเก็บเงินเพื่อใช้จ่ายในสิ่งที่จำเป็น แต่ก็ยังต้องการเสี่ยงโชคแทงหวย หรือหวยจะมีบทบาทกลายเป็นสินค้าจำเป็นตามหลักเศรษฐศาตร์เข้าไปทุกที

เมื่อเจาะลึกถึงหน้าตาผู้ซื้อลอตเตอรี่หรือหวยเป็นอย่างไร เราพบว่าความเชื่อที่ว่าคนรายได้น้อยเท่านั้นที่เล่นหวย ส่วนคนรวยเล่นหุ้นนั้นไม่จริง จากสถิติและผลสำรวจพบว่า คนไทยไม่ว่าจะรายได้มากหรือน้อยก็เล่นหวยทั้งนั้น โดยกลุ่มคนที่มีรายได้สูงกว่า 15,000 บาทต่อเดือน มีการซื้อลอตเตอรี่และหวยเฉลี่ยต่อเดือนอยู่ที่ 680 บาท คิดเป็น 1.2% ของรายได้ ซึ่งมากกว่ากลุ่มคนที่มีรายได้น้อยกว่า 15,000 บาทต่อเดือนที่เฉลี่ยอยู่ที่ 350 บาท คิดเป็น 2.2% ของรายได้

และไม่ว่าจะอายุมากหรือน้อย ก็เล่นหวยทั้งนั้น แต่หนักไปที่คนวัยสร้างครอบครัว ส่วนใหญ่เป็นมนุษย์เงินเดือนและเจ้าของกิจการ แถมเริ่มเล่นหวยตั้งแต่อายุยังน้อย จากสถิติและผลสำรวจชี้ว่า กลุ่มคนวัยสร้างครอบครัว (อายุ 35-55 ปี) หรือมีภาระรับผิดชอบเยอะ เป็นกลุ่มที่ซื้อลอตเตอรี่และเล่นหวยหนักที่สุดเฉลี่ยเดือนละ 500 บาท มากกว่าวัยทำงานและวัยเกษียณที่เฉลี่ยต่อเดือนราว 400 บาท โดยส่วนใหญ่เป็นมนุษย์เงินเดือนและเจ้าของกิจการ อย่างไรก็ตาม สถิติและผลสำรวจยังชี้ถึงประเด็นที่น่าตกใจว่า  10% ของจำนวนนักเรียนและนักศึกษาเล่นหวย โดยซื้อหวยต่อเดือนเฉลี่ยประมาณ 187 บาท เรียกว่าเริ่มเล่นหวยกันตั้งแต่ยังไม่มีรายได้ สาเหตุที่ซื้อเพราะมีแรงจูงใจมาจากผู้ปกครองและคนรอบข้าง และสื่อโซเชียล 

ทุกวันนี้มนุษย์เงินเดือนและเจ้าของธุรกิจเสพติดการเล่นหวยอยู่ในระดับใด?  ที่เราเซอร์ไพรส์คือ 50% ของมนุษย์เงินเดือนและเจ้าของธุรกิจ หรือประมาณ 12 ล้านคนเล่นหวย  โดยหากแบ่งออกเป็น 3 กลุ่มตามลักษณะการเล่นหวย เราพบว่า  26%       “เล่นขำๆ” คือ เล่นสนุกไม่จริงจัง มีความสุขจากการได้หวังเงินรางวัล 63% “ชอบหวย” เพราะชอบลุ้นหรือเสี่ยงโชค มีความสุขจากการได้หวังเงินรางวัล และที่น่าสนใจคือ 11% “ติดหวย” ชอบลุ้นหรือเสี่ยงโชค มองว่ามูลค่าของเงินรางวัลสูงยังไงก็คุ้มกับเงินที่ซื้อหวย จึงซื้อแบบไม่ได้คิด  ทั้งนี้เราอาจสรุปได้ว่า มนุษย์เงินเดือนและเจ้าของธุรกิจส่วนใหญ่ หรือราว 9 ล้านคน ชอบลุ้นรางวัลไปจนถึงเสี่ยงโชคเพื่อรวยขึ้น

เมื่อเจาะลึกถึงพฤติกรรมการซื้อหวยของกลุ่มคน “ชอบหวย” พบว่ากว่า 80% ซื้ออย่างน้อยเดือนละครั้ง เฉลี่ยเดือนละ 420 บาท และซื้อเพิ่มขึ้นจากครั้งแรกของการเล่นหวยราว 18%  ยิ่งไปกว่านั้น เราพบว่า กลุ่มคน “ติดหวย” จะซื้อทุกงวด หรือ 24 ครั้งต่อปี  จ่ายค่าหวยมากกว่ากลุ่ม “ชอบหวย”ถึงสองเท่า แถมยังซื้อเพิ่มขึ้นจากครั้งแรกถึง 26% ทั้งนี้หากกลุ่มคนเหล่านี้ซื้อหวยต่อเนื่อง 50 ปี  สิ่งที่พวกเขาเสียไปเทียบเท่าได้กับ รถยนต์ City Car หรือบ้านถึง 1 หลัง เลยทีเดียว สะท้อนให้เห็นว่า หวย คือความฝันที่แลกด้วยเงินล้านของคนไทยจริงๆ

นอกจากนี้เราได้เจาะลึกไปถึงสาเหตุของพฤติกรรม โดยพบว่า ทั้งคน “ชอบหวย” และคน “ติดหวย” มองเงินที่ซื้อหวยเป็นค่าใช้จ่ายที่ต้องมี เพราะชอบเสี่ยงโชค แต่ต่างกันตรงที่ คน “ชอบหวย” มีการวางแผนทางการเงิน  โดยกันเงินเพื่อซื้อหวย ในขณะที่คน “ติดหวย” ซื้อหวยแบบไม่ได้คิด คือ หากได้เงินมาก็ใช้ซื้อหวยทันที และอาจยอมลดเงินซื้อหวยส่วนหนึ่งเท่านั้น และเพื่อทำความเข้าใจมากขึ้น เราพบว่า คน “ติดหวย” จะนำเงิน(ถ้าถูกรางวัล) จ่ายหนี้  ต่างจากคน “ชอบหวย” ที่เก็บไว้ใช้ในยามจำเป็น และให้ครอบครัว จึงเป็นข้อยืนยันว่า หวยคือความหวังที่ช่วยปลดล็อดให้มีความเป็นอยู่ที่ดี

อย่างไรก็ตาม จากผลสำรวจสัดส่วนในการออมเงิน คน “ชอบหวย” ส่วนใหญ่ราว 66% มีเงินออมเฉลี่ยมากกว่า 5,000 บาท ขณะที่เงินออมเฉลี่ยต่อเดือนของคน “ติดหวย” นั้นส่วนใหญ่น้อยกว่า 5,000 บาท

โดยสรุปแล้ว มนุษย์เงินเดือนและเจ้าของธุรกิจ ที่    “ชอบหวย” และ “ติดหวย” หากนำเงินเหล่านี้ไปออมเพิ่มขึ้น หรือลงทุนในทางเลือกอื่น ที่มีผลตอบแทนและความเสี่ยงอยู่ในระดับที่ยอมรับได้ มีการเผยแพร่ข้อมูลข่าวสารอย่างทั่วถึง โปร่งใส รวมถึงการมีผู้เชี่ยวชาญให้คำแนะนำ จะทำให้มีรายรับเพิ่มขึ้น และอาจนำไปใช้จ่ายสิ่งจำเป็น เช่น ประกันสุขภาพ รถยนต์ หรือ บ้าน ได้โดยไม่ต้องหวังลุ้นเสี่ยงโชคทุกวันที่ 1 และ 16 ของแต่ละเดือนอีกต่อไป ¾

“ศูนย์ Customer Insights by TMB Analytics เป็นศูนย์วิเคราะห์มุมมองใหม่ๆ ด้านการพฤติกรรมทางการเงิน เพื่อสร้างการตระหนักรับรู้ ความเข้าใจ เพื่อนำไปสู่การวางแผนการเงินส่วนบุคคลให้เหมาะสมยิ่งขึ้น” นำเสนอผลการศึกษาวิเคราะห์สถานการณ์ทางการเงินของคนไทยตลอดเส้นทางทั้งการออม การใช้จ่าย การลงทุน ตลอดจนการป้องกันความเสี่ยง ซึ่งสามารถสะท้อนอะไรหลายๆ อย่างเกี่ยวกับพฤติกรรมการใช้ชีวิต รวมถึงปัจจัยต่างๆ ที่มีผลต่อพฤติกรรมในด้านต่างๆ

หากคุณกำลังมองหาข้อมูลเรียนต่อ ณ ประเทศญี่ปุ่น ไมนิจิอะคาเดมิค กรุ๊ป ศูนย์แนะแนวศึกษาต่อประเทศญี่ปุ่นครบวงจร จะทำให้ทุกท่านพบกับทุกคำตอบและข้อสงสัยการศึกษาต่อในประเทศญี่ปุ่น และพบกับโรงเรียนและมหาวิทยาลัยชั้นนำจากญี่ปุ่นที่จะมาให้ข้อมูลเกี่ยวกับการศึกษาต่อที่ญี่ปุ่น ใครอยากไปเรียนต่อที่ประเทศญี่ปุ่นไม่ควรพลาด!!! มาพบกับได้ที่โซน Education Zone ณ Zen Gallery Hall ชั้น8 @Centralworld ในวันที่ 26 -27 มกราคม 2562 เวลา 10.00 - 17.00 น.

 

Spaces (สเปซเซส) ผู้บุกเบิกออฟฟิศพร้อมใช้งานแบบครบวงจรสุดสร้างสรรค์ระดับโลกประกาศจับมือกับ TEDxBangkok พร้อมเปิดประสบการณ์ใหม่ด้วยกิจกรรม TEDxBangkok Adventures 2018 ในรูปแบบใหม่ที่ไม่จำกัดอยู่เพียงแค่ในห้องประชุม ภายใต้รูปแบบ “การผจญภัย” ณ Spaces สาขาเอ็มไพร์ ทาวเวอร์ โดยพาทุกคนไปผจญภัยในพื้นที่ต่างๆ ทั่วกรุงเทพฯ เพื่อเปิดโอกาสให้เรียนรู้และค้นพบไอเดียต่างๆ ผ่านกิจกรรมหลากหลายที่มีหัวใจหลักคือการ ‘ลงมือทำ’ ผ่าน 5 แนวคิด ซึ่งประกอบไปด้วย ศิลปะและการออกแบบ สิ่งแวดล้อม วิทยาศาสตร์ ประเด็นทางสังคมและชุมชน และเทคโนโลยี

คุณโนเอล โค้ก ผู้อำนวยการใหญ่ สเปซเซส ประจำประเทศไทย ไต้หวัน และเกาหลี กล่าวว่า “เรารู้สึกยินดีเป็นอย่างยิ่งที่ Spaces ได้เป็นสถานที่จัดกิจกรรม TEDxBangkok Adventures 2018 เพื่อสร้างแรงบันดาลใจและนำประสบการณ์ของ TED มาสู่ชุมชนชาวไทย ซึ่ง Spaces ได้เห็นความสำคัญของ TEDx และความตั้งใจที่จะจุดประกายไอเดียให้แก่สังคมไทย กลุ่มคน และปัจเจกบุคคล ผ่านรูปแบบกิจกรรมของ TEDx ที่ได้รับการประยุกต์ให้เข้ากับบริบทของสังคมไทย”

“ทั้งนี้ Spaces นับเป็นแบรนด์ชั้นนำที่มีสิ่งอำนวยความสะดวกแบบครบวงจร เหมาะสำหรับผู้ที่แสวงหาพื้นที่ทำงานที่สร้างสรรค์และยืดหยุ่น เราจึงหวังเป็นอย่างยิ่งว่าจะได้ร่วมงานกับ TEDxBangkok ในการจัดงานครั้งต่อไปเพื่อเสริมสร้างและพัฒนาชุมชน TEDx ในประเทศไทย” คุณโนเอล กล่าวเพิ่มเติม

Spaces ณ เอ็มไพร์ ทาวเวอร์ ตั้งอยู่บนชั้น M และชั้น 27 ซึ่งไม่เพียงนำเสนอวิวทิวทัศน์ที่สวยงามของความเป็นเมืองเท่านั้น แต่ยังมอบโอกาสให้คนทั่วไปและบริษัทต่างๆ ได้ขยายการเติบโตทางธุรกิจ ทั้งยังไม่ได้มอบเพียงสำนักงานที่มีทัศนียภาพที่ดีที่สุดในเมืองได้เท่านั้น แต่ยังรวมถึงการทำงานในแบบคลับธุรกิจที่จะช่วยเพิ่มประสิทธิภาพการทำงานของคุณได้อีกด้วย ซึ่งเมื่อมีผู้ทำงานระดับมืออาชีพที่มีความสนใจคล้ายๆ กันอยู่แวดล้อมธุรกิจของคุณ คุณสามารถพบปะพูดคุยกับลูกค้า ร่วมดื่มกาแฟชั้นดี หรือเข้าร่วมกิจกรรมที่สร้างแรงบันดาลใจต่างๆ เราแน่ใจว่าคุณจะได้รับประสบการณ์ใหม่ๆ เพิ่มขึ้นทุกวันที่ Spaces ของเรา

สำหรับข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับ Spaces สาขาเอ็มไพร์ ทาวเวอร์ และการจองพื้นที่ สามารถเข้าไปเยี่ยมชมได้ที่ www.spacesworks.com

นายวิชา ลดาลลิตสกุล (กลาง) กรรมการผู้อำนวยการ บริษัท ฟาร์อีสท์ เฟมไลน์ ดีดีบี จำกัด (มหาชน) เอเจนซี่โฆษณาชั้นนำของไทย พร้อมด้วยคณะผู้บริหาร จัดกิจกรรมพัฒนาทักษะภาษาอังกฤษให้แก่นักเรียนโรงเรียนบ้านโคกสะอาด จ.สระบุรี ภายใต้แนวคิด “เก่ง Eng ไม่มีอึ้ง!!” โดยได้จัดสร้างสวนการเรียนรู้ภาษาอังกฤษ สนับสนุนกิจกรรมค่ายภาษาอังกฤษ และกิจกรรมอบรมมัคคุเทศก์น้อย เพื่อให้เยาวชนมีพื้นที่กิจกรรม มีความคิดสร้างสรรค์ และกล้าใช้ภาษาอังกฤษ เตรียมความพร้อมเข้าสู่ยุค Thailand 4.0 โดยกิจกรรมดังกล่าวอยู่ภายใต้โครงการ CSR School Project จัดขึ้นในนามลูกค้าและบริษัทฯ เพื่อมอบสิ่งดีๆ ให้เยาวชนในโรงเรียนที่ห่างไกล ซึ่งจัดต่อเนื่องเป็นประจำทุกปี ปีนี้นับเป็นที่ 12

นายยรรยง มุนีมงคลทร (ขวา) ผู้อำนวยการ บริษัท เอปสัน (ประเทศไทย)​ จำกัด มอบมัลติฟังก์ชั่นพรินเตอร์ระบบแท็งค์ EcoTank L6190 จำนวน 5 เครื่อง ให้แก่มูลนิธิกระจกเงา โดยนายเอกลักษณ์ หลุ่มชมแข หัวหน้าศูนย์ข้อมูลคนหาย มูลนิธิกระจกเงา เป็นตัวแทนรับมอบ เพื่อใช้ในภารกิจการติดตามคนหายและโครงการด้านสังคมต่างๆ ของมูลนิธิฯ  ประกอบด้วยโครงการศูนย์ข้อมูลคนหาย โครงการผู้ป่วยข้างถนน โครงการโรงพยาบาลมีสุข โครงการอ่านสร้างชาติ และโครงการศูนย์รับบริจาค ณ มูลนิธิกระจกเงา เมื่อเร็วๆ นี้

แสนสิริ จับมือพลัส พร็อพเพอร์ตี้ บริษัทในเครือ ผู้เชี่ยวชาญด้านบริหารและจัดการอสังหาริมทรัพย์ครบวงจร เปิดตัว Smart Command Centre” ศูนย์ควบคุมสังเกตการณ์จากส่วนกลางเต็มรูปแบบแห่งแรกของวงการอสังหาริมทรัพย์ไทย ณ อาคารสิริภิญโญ ภายใต้การลงทุนรวมกว่า  20 ล้านบาท เพื่อบริหารจัดการความปลอดภัยในพื้นที่ส่วนกลาง (Security Monitoring) และระบบวิศวกรรมอาคารส่วนกลาง (IoT Facility Management) ของโครงการที่พักอาศัย มายังศูนย์ควบคุมส่วนกลาง พร้อมผู้เชี่ยวชาญคอยเฝ้าระวัง สั่งการ และประสานงานตลอด 24 ชั่วโมงเพิ่มประสิทธิภาพสูงสุดในการบริการ ทั้งด้านการดูแลความปลอดภัย และระบบภายในอาคารให้ทุกระบบทำงานรวดเร็ว แม่นยำ จัดการปัญหาได้ตรงจุด พร้อมเสริมขีดความสามารถในการบริหารโครงการแบบป้องกันก่อนเกิดเหตุ (Preventive Maintenance) นำร่อง 4 โครงการส่งท้ายปี 61 เป็นของขวัญปีใหม่ให้ลูกบ้านแสนสิริ เผยแผนเตรียมเชื่อมต่อ Smart Command Centre เข้ากับ 11 โครงการแนวราบและกลุ่มโครงการคอนโดมิเนียม ภายใต้การบริหารโดยพลัส พร็อพเพอร์ตี้ที่จะแล้วเสร็จใหม่ ในปี 2562

ดร. ทวิชา ตระกูลยิ่งยง ประธานผู้บริหารสายงานเทคโนโลยี บริษัท แสนสิริ จำกัด (มหาชน) กล่าวว่า บริษัทเข้าใจลึกซึ้งถึงความต้องการของลูกค้าและไม่หยุดนิ่งในการพัฒนาการบริการในโครงการที่อยู่อาศัย ล่าสุดจึงประกาศความพร้อมในการเดินหน้าต่อเนื่องในการนำนวัตกรรม และเทคโนโลยีมาพัฒนายกระดับการบริการหลังการขายให้แก่ลูกบ้าน เพื่อสร้างประสบการณ์การอยู่อาศัยที่สมบูรณ์แบบ ภายใต้แนวคิดที่เป็นหัวใจหลักของแสนสิริและตอบโจทย์เทรนด์การใช้ชีวิตในยุคที่เทคโนโลยีและแพลตฟอร์มดิจิทัล    มีบทบาท สำคัญในชีวิตประจำวัน หลังจากที่ก่อนหน้านี้ บริษัทประสบความสำเร็จในกระแสตอบรับการเปิดตัว Sansiri Security System หรือระบบรักษาความปลอดภัยภายในโครงการ (พื้นที่ส่วนกลาง) ที่แข็งแกร่งด้วยเทคโนโลยีอุปกรณ์รักษาความปลอดภัยที่ทันสมัยผสานกับการทำงานของทีมงานที่ได้รับการฝึกอบรมจากครูฝึกมากด้วยประสบการณ์ เพื่อสร้างความอุ่นใจให้กับการอยู่อาศัยของลูกบ้านในด้านความปลอดภัยอย่างรอบด้าน รวมถึงการเป็นผู้นำในการพัฒนา สมาร์ท คอนโด โดยการเดินหน้าใช้เทคโนโลยี Internet of Things (IoT) ในทุกโครงการคอนโดมิเนียมที่จะแล้วเสร็จตั้งแต่ปี 2562เป็นต้นไป

“ในวันนี้ แสนสิริได้ต่อยอดการให้บริการด้านการอยู่อาศัยให้ล้ำหน้าไปอีกขั้นด้วยการร่วมมือกับพลัส พร็อพเพอร์ตี้ จัดตั้ง “Smart Command Centre” ศูนย์ควบคุมสังเกตุการณ์จากส่วนกลาง เต็มรูปแบบแห่งแรกของวงการอสังหาริมทรัพย์ไทย ด้วยมูลค่าการลงทุนรวมกว่า  20 ล้านบาท เพื่อสร้างความมั่นใจในการให้บริการที่ดีที่สุดให้กับลูกบ้านแสนสิริในโครงการที่บริหารจัดการโดยพลัส พร็อพเพอร์ตี้ทั้งด้านบริหารจัดการความปลอดภัย (Security Monitoring) ที่เพิ่มความอุ่นใจแก่ผู้อยู่อาศัยเป็น 2 เท่า และด้านการบริหารจัดการระบบวิศวกรรมอาคาร (IoT Facility Management) ด้วยเทคโนโลยี IoT อันล้ำสมัยที่สามารถช่วยในเรื่องของการบริหารจัดการ Facility และลดค่าใช้จ่ายส่วนกลางของโครงการได้อย่างมีประสิทธิภาพ” ดร.ทวิชา กล่าว

สำหรับศูนย์ควบคุมสังเกตุการณ์จากส่วนกลางเต็มรูปแบบแห่งแรกของวงการอสังหาฯไทย (Smart Command Centre) ตั้งอยู่ที่อาคารสิริภิญโญ ได้รับการพัฒนาและวางระบบจากผู้นำในธุรกิจและเทคโนโลยีด้านการรักษาความปลอดภัยมาตรฐานสากลที่มีประสบการณ์มากว่า 40 ปี ได้แก่ บริษัท กัทส์ อินเวสติเกชั่น จำกัด ร่วมพัฒนาและวางระบบในการปฏิบัติการทั้งหมด โดย Smart Command Centre มีหน้าที่เป็นศูนย์กลางในการ เฝ้าระวัง สังเกตุการณ์เหตุผิดปกติต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นในพื้นที่ส่วนกลาง รวมถึงแจ้งเตือนเมื่ออุปกรณ์ใกล้ถึงเวลาบำรุงรักษาแบบเรียลไทม์ พร้อมสั่งการเพื่อดำเนินการตรวจสอบความผิดปกติต่าง ๆ จากศูนย์ควบคุมฯ ได้ทันที นอกจากนี้ยังช่วยประสานงาน กับหน่วยงานต่างๆ เช่น ตำรวจ โรงพยาบาล หรือช่างผู้เชี่ยวชาญได้ทันทีเมื่อเกิดเหตุฉุกเฉินได้อย่างทันท่วงที เพื่อช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในการจัดการต่อเหตุการณ์ได้อย่างแม่นยำ รวดเร็ว และแก้ไขปัญหาได้ตรงจุด โดยภายในศูนย์ควบคุมฯ จะมีเจ้าหน้าที่ผู้ชำนาญการ 2 ทีมประจำ 24 ชั่วโมง ตลอดทั้ง 7 วัน ผ่านหน้าจอมอนิเตอร์คมชัดระดับ HD จำนวน 12  จอที่จะรับสัญญาณตรงมาจากโครงการแบบเรียลไทม์

นายชาญ ศิริรัตน์ รองกรรมการผู้จัดการ ฝ่ายบริหารทรัพยากรอาคารและวิศวกรรม บริษัท พลัส พร็อพเพอร์ตี้ จำกัด กล่าวเพิ่มเติมว่า ความร่วมมือกับแสนสิริในการจัดตั้ง Smart Command Centre จะช่วยสร้างความอุ่นใจและสบายใจให้กับลูกบ้านแสนสิริในโครงการที่พลัส พร็อพเพอร์ตี้บริหารจัดการ ทั้งในด้านการเฝ้าระวัง (Preventive Monitoring) และการดูแลรักษาเชิงป้องกัน (Preventive Maintenance ) สร้างมูลค่าเพิ่มให้กับโครงการที่อยู่อาศัยให้โดดเด่นด้านมูลค่าเหนือคู่แข่งในทำเลเดียวกัน จากระดับความปลอดภัยในการอยู่อาศัยและความสามารถในการดูแลรักษาโครงการให้มีประสิทธิภาพสวยงามอยู่เสมอ ซึ่งเป็นหนึ่งในปัจจัยสำคัญที่มีผลต่อการตัดสินใจเช่าและการซื้อขายเปลี่ยนมือ รวมถึงช่วยบริหารค่าส่วนกลางได้อย่างมีประสิทธิภาพด้วย

“ในปลายปี 2561 นี้ Smart Command Centre จะเริ่มเชื่อมต่อข้อมูลจาก 4 โครงการ ประกอบด้วย โครงการคอนโดมิเนียม เดอะ เทอร์ทีไนน์ สุขุมวิท 39, โครงการ เดอะ ไลน์ อโศก-รัชดา, โครงการ เดอะ ไลน์ ราชเทวี และโครงการบ้านเดี่ยวคณาสิริ พระราม 2 – วงแหวน นอกจากนี้ในปี 2562 เรามีแผนที่จะเชื่อมต่อ Smart Command Centre เข้ากับโครงการแนวราบ 11 โครงการ และโครงการแนวสูงที่จะแล้วเสร็จทั้งหมด

ในอนาคต แสนสิริ และพลัสฯ ยังมีแผนการต่อยอดขอบข่ายการทำงานของ Smart Command Centre ทั้งในด้านของการบริหารความปลอดภัย ที่จะเพิ่มการเชื่อมต่อข้อมูลจากระบบ Visitor Management System ที่ใช้ในการจัดเก็บข้อมูลของผู้มาติดต่อทั้งหมด และระบบ Face Recognition ที่สามารถจัดเก็บภาพใบหน้า ลายนิ้วมือ และข้อมูลของผู้รับเหมา และในส่วนของ IoT Facility Management จะนำมาใช้ในการบริหารจัดการซื้อขายพลังงานไฟฟ้าแสงอาทิตย์ (Smart Grid) และการบำรุงรักษาเชิงป้องกัน (Preventive Maintenance) เพิ่มเติม

“นอกเหนือจากความสามารถด้านการบริหารจัดการด้านความปลอดภัย และการดูแลระบบวิศวกรรมอาคารส่วนกลาง แสนสิริและพลัสฯ ยังมีแผนขยายขีดความสามารถของ Smart Command Centre ไปยังการใช้งานระบบ Touch Points & Intelligent ซึ่งเป็นเครื่องมือในการรับฟังและตอบรับ ความต้องการของลูกค้าทั่วประเทศผ่านทั้งช่องทางโซเชียลมีเดียและ คอลล์เซ็นเตอร์ รวมถึง Sansiri Infrastructure ที่จะสร้างความมั่นใจในความพร้อมเรื่อง CRM, Salesforce, Data Warehouse ต่าง ๆ เพื่อยกระดับประสิทธิภาพการดูแลลูกบ้านตลอด 24 ชั่วโมง ซึ่งทั้งหมดนี้ คือบริการจากแสนสิริและพลัสฯ ที่พัฒนาด้วยความใส่ใจ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพสูงสุดในการให้บริการและสร้างประสบการณ์การอยู่อาศัยที่สมบูรณ์แบบให้แก่ลูกบ้านแสนสิริครอบคลุมไปถึงในปี 2562” ดร. ทวิชากล่าว

“CMKL Tech Summit 2018” สัมมนาใหญ่ด้าน AI ครั้งแรกของประเทศไทย จัดโดย “มหาวิทยาลัยซีเอ็มเคแอล” อัดแน่นด้วยหัวข้อบรรยายจากภาคเอกชนและภาคการศึกษาระดับโลก เพื่อเตรียมความพร้อมประชาชนและองค์กรรับมือกับการเปลี่ยนแปลง มุ่งนำนวัตกรรมมาขับเคลื่อนประเทศสู่เศรษฐกิจในอนาคต

เมื่อเร็วๆ นี้ มหาวิทยาลัยซีเอ็มเคแอล เปิดตัวงานสัมมนาใหญ่ “CMKL Tech Summit 2018” C asean auditorium อาคารไซเบอร์เวิลด์ มีผู้เข้าร่วมงานมากถึง 300 คน โดย ศาสตราจารย์พิเศษ ดร.สุรเกียรติ์ เสถียรไทย นายกสภามหาวิทยาลัยซีเอ็มเคแอล (CMKL University) กล่าวในพิธีเปิดงานว่า เศรษฐกิจทั่วโลกในอนาคตจะต้องหันมาพึ่งพาเทคโนโลยีมากขึ้น รายงานของสภาเศรษฐกิจโลก หรือ World Economic Forum เกี่ยวกับเรื่อง Digital Transformation คาดการณ์ไว้ว่า การปรับตัวสู่ดิจิทัลขององค์กรต่างๆ จะช่วยปลดล็อกมูลค่าทางเศรษฐกิจใหม่ๆ ทั่วโลกได้มากถึง 100 ล้านล้านเหรียญสหรัฐ หรือประมาณ 3,280 ล้านล้านบาทในช่วง 10 ปี ดังนั้น ทุกคน ทุกองค์กร ไม่ว่าจะองค์กรขนาดเล็ก ขนาดกลาง หรือขนาดใหญ่ ต่างจะต้องเผชิญกับความท้าทายในยุค Digital Transformation”

วัตถุประสงค์หลักของการจัดงาน คือ ต้องการยกระดับขีดความสามารถของบุคคลและองค์กร ขจัดปมปัญหา (Pain Point) ต่างๆ ในยุค Digital Transformation โดยการนำเอาปัญญาประดิษฐ์ (AI) มาปรับใช้ ผ่านจุดแข็งของมหาวิทยาลัยซีเอ็มเคแอล ซึ่งเป็นมหาวิทยาลัยที่เกิดขึ้นจากความร่วมมือระหว่างสถาบันการศึกษาชั้นนำด้านเทคโนโลยี ได้แก่ สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง (สจล.) และมหาวิทยาลัยคาร์เนกี เมลลอน สหรัฐอเมริกา ก่อตั้งขึ้นเมื่อปี 2560 ปัจจุบัน เปิดการเรียนการสอนทั้งในระดับปริญญาโท ปริญญาเอก และหลักสูตรระยะสั้น (Short Course) ด้านเทคโนโลยี AI, Blockchain, Data Analytics และ Cyber Security มีบุคลากรจากมหาวิทยาลัยคาร์เนกี เมลลอน มหาวิทยาลัยที่เชี่ยวชาญและพัฒนาซอฟต์แวร์ AI และเครือข่ายองค์ความรู้ด้านเทคโนโลยีที่เข้มแข็ง เพื่อเป้าหมายในการสร้างคอมมูนิตี้และเพิ่มความสามารถทางเทคโนโลยีให้แก่ภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ผ่านงานวิจัยและนวัตกรรม นอกจากนี้ มหาวิทยาลัยยังมีการจัดทำโครงการวิจัยและพัฒนาร่วม (Co-R&D) กับทั้งภาครัฐและภาคเอกชนในด้าน AI จึงมีวิสัยทัศน์ที่เห็นถึงการใช้นวัตกรรมด้าน AI ขับเคลื่อนภาคธุรกิจในเซ็กเตอร์ต่างๆ และจัดงานครั้งนี้ขึ้น เพื่อทั้งช่วยสร้างความตระหนักและมอบองค์ความรู้แก่ทุกองค์กร

ภายในงานมีการบรรยายหัวข้อด้าน AI ที่น่าสนใจมากมาย เช่น การเปลี่ยนแปลงเมืองสู่ดิจิทัลด้วย AI การใช้ AI รองรับการก้าวสู่ยุคสังคมผู้สูงอายุ การใช้ AI มาช่วยให้เกิดการตัดสินใจอย่างชาญฉลาดในภาคธุรกิจ AI สำหรับสมาร์ต ฟาร์มมิ่ง ทั้งนี้ ได้รับความร่วมมือและการสนับสนุนจากทั้งภาคเอกชนชั้นนำของไทยในหลากหลายธุรกิจและอุตสาหกรรมที่กำลังให้ความสนใจกับการปรับตัวในยุค Digital Transformation อาทิ บริษัท ไทยเบฟเวอเรจ จำกัด (มหาชน) บริษัท เบทาโกร จำกัด (มหาชน) บริษัท บางจาก คอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน) ธนาคารกรุงไทย จำกัด (มหาชน) บริษัท เอสซีบี อบาคัส จำกัด (SCB Abacus) รวมถึงภาคการศึกษาระดับโลกอย่างมหาวิทยาลัยคาร์เนกี เมลลอน สหรัฐอเมริกา และสถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง

ด้าน ผศ.ดร.สุพันธุ์ ตั้งจิตกุศลมั่น อธิการบดีมหาวิทยาลัยซีเอ็มเคแอล (CMKL University) กล่าวว่า “วันนี้ AI ได้เข้ามาเปลี่ยนแปลงและสร้างอิทธิพลในบางกลุ่มธุรกิจแล้ว เช่น กลุ่มธนาคาร กลุ่มอีคอมเมิร์ซ กลุ่มโทรคมนาคม แต่พลังของ AI ยังสามารถขยายไปประยุกต์ใช้ได้กับเกือบทุกประเภทธุรกิจ เพราะAI สามารถช่วยเรียนรู้และช่วยทำเรื่องยากๆ บางเรื่องได้ในเวลาอันรวดเร็ว ลดต้นทุนทั้งเวลาและค่าใช้จ่ายบางส่วนลงได้ ความรู้เกี่ยวกับ AI จะกลายเป็นสิ่งที่จำเป็นสำหรับขับเคลื่อนโลกในอนาคต”

ดังนั้น องค์กรทุกระดับจะต้องเผชิญความท้าทายอย่างมากในอนาคต ไม่ว่าจะเป็นเรื่องการขาดแคลนบุคลากรผู้เชี่ยวชาญด้านเทคโนโลยี ปัญหาโครงสร้างองค์กร รวมถึงการขาดองค์ความรู้และกลยุทธ์ในการปรับเปลี่ยนพัฒนาองค์กรให้ก้าวทันการเปลี่ยนแปลง การสัมมนาครั้งนี้จึงเป็นเบันไดขั้นสำคัญที่จะช่วยให้ทั้งภาคประชาชนและองค์กรได้ติดอาวุธพร้อมรับมือทุกความท้าทาย มุ่งเน้นการนำนวัตกรรมมาพัฒนาสู่เศรษฐกิจยุคใหม่ได้อย่างมั่งคงและยั่งยืน

ประเทศไทยไม่สามารถปฏิเสธและหลีกพ้นจากการเปลี่ยนแปลงทางเทคโนโลยีสื่อสารโทรคมนาคมที่รวดเร็วได้ เนื่องจากประเทศไทยจะต้องก้าวไปสู่อุตสาหกรรมใหม่ในยุคดิจิทัลพร้อมกับประเทศต่างๆ ทั่วโลก ทั้งนี้เพราะทุกประเทศทั่วโลกได้เชื่อมโยงกันด้วยระบบอินเทอร์เน็ต และการค้าระหว่างประเทศได้ขึ้นอยู่กับเศรษฐกิจดิจิทัลมากขึ้นเรื่อยๆ ทุกวินาที แต่อย่างไรก็ตาม ประเทศไทยกำลังประสบกับอุปสรรคที่ยิ่งใหญ่ที่ไม่สามารถที่จะเปลี่ยนผ่านสู่เทคโนโลยี 5G ได้เหมือนกับที่เคยทำสำเร็จในยุค 4G มาแล้ว

ประเด็นสำคัญที่สุดคือ ความเข้าใจผิดในสังคมที่เกิดขึ้นมาโดยตลอดคือ การประมูลคลื่นความถี่ที่มีราคาสูงมากจะเกิดประโยชน์กับประเทศโดยรวม เพราะสามารถนำเงินเข้ากระทรวงการคลังและสามารถนำมาใช้พัฒนาประเทศได้นั้น กำลังเป็นเรื่องที่ไม่ถูกต้อง ทั้งนี้เพราะหากราคาการประมูลสูงมากผิดปกติดังที่กำลังเกิดขึ้นอยู่ในขณะนี้ ซึ่งประเทศไทยมีมูลค่าการประมูลคลื่นความถี่ 4G ที่แพงที่สุดติดอันดับหนึ่งในสามของโลก จึงจะเป็นสาเหตุให้ต้นทุนการลงทุนระบบโครงสร้างพื้นฐานในกิจการโทรคมนาคมสูงมากจนไม่สามารถที่จะ มีผู้ประกอบการรายใดสามารถเข้ามาประมูลได้ในอนาคตต่อไป

การแก้ไขกฎหมายและกฎการประมูลคลื่นความถี่ 5G กำลังจะเกิดขึ้นในหลายประเทศ ซึ่งมีปัญหาเดียวกันคือมูลค่าคลื่นความถี่สูงเกินไป อีกทั้งเทคโนโลยีได้เปลี่ยนไปอย่างรวดเร็ว จนทำให้ความล่าช้าในการขยายโครงข่าย 5G อาจจะมีผลกระทบต่อพัฒนาประเทศในยุคเศรษฐกิจดิจิทัล จนเป็นสาเหตุให้ขีดความสามารถของประเทศก้าวไม่ทันประเทศอื่นๆ

ผู้นำรัฐบาลในหลายประเทศได้หันมาสนใจประเด็นการประมูลคลื่นความถี่ 5G โดยมีแนวคิดที่จะใช้หลักการในการบริหารคลื่นความถี่ด้วยการใช้เทคนิคใหม่เข้ามาแก้ปัญหาที่เกิดจากการประมูลคลื่นความถี่แบบเดิมที่มีราคาที่สูงมาก ซึ่งอาจจะใช้ไม่ได้อย่างมีประสิทธิภาพในยุค 5G อีกต่อไป เนื่องจากคลื่นความถี่ที่ใช้กับระบบ 5G นั้นมีความต้องการอย่างต่ำถึง 100 เมกะเฮิรตซ์ต่อหนึ่งโอเปอเรเตอร์ ซึ่งถ้าหากใช้วิธีการประมูลคลื่นความถี่แบบเดิมที่เคยใช้มาเป็นเวลานาน นับ 10 ปี ก็อาจจะทำให้ราคาคลื่นความถี่สูงเกินไปจนไม่สามารถที่จะทำให้เกิดระบบ 5G ได้เลย ซึ่งในขณะนี้รัฐบาลสหรัฐฯ ซึ่งเป็นหนึ่งในหลายประเทศได้ตระหนักแล้วว่า อุปสรรคที่จะทำให้ไม่สามารถขยายโครงข่าย 5G ได้นั้น จะกลายเป็นเรื่องใหญ่ที่ทำให้ประเทศไม่สามารถมีขีดความสามารถในการแข่งขันทางเศรษฐกิจชั้นนำของโลกได้อีกต่อไป

ประเทศไทยมีความจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องแก้ไขกฎหมายการจัดสรรคลื่นความถี่ 5G อย่างเร่งด่วนให้สำเร็จก่อนปี พ.ศ. 2562 ซึ่งประเทศต่างๆ ทั่วโลกได้มีการเริ่มขยายโครงข่ายระบบ 5G แล้ว ซึ่งอาจจะทำให้ประเทศไทยตกขบวนและไม่สามารถนำพาประเทศไปสู่ไทยแลนด์ 4.0 ได้ตามที่ตั้งเป้าไว้


บทความโดย | พันเอก ดร.เศรษฐพงศ์ มะลิสุวรรณ 

www.เศรษฐพงศ์.com

X

Right Click

No right click