December 22, 2024

บรรยากาศเช้าวันเวิร์คช้อป The Ozonor Hackathon จัดขึ้นที่ NAP LAB จุฬาลงกรณ์ ซอย 6 หนึ่งในกิจกรรมน่าสนใจภายใต้โครงการ “เรื่องโอโซน เรื่องของเรา” ซึ่งเป็นการร่วมมือกันของหลายภาคส่วน รวมถึงหน่วยงานอย่างธนาคารโลกเต็มไปด้วยความกระตือรือร้นและซุ้มเสียงของผู้เข้าร่วมงานรุ่นใหม่ ที่ต่างก็พกเอาไอเดียและความคิดสร้างสรรค์ใส่กระเป๋ามาจากบ้าน พร้อมสำหรับการระดมความคิดนำเสนอให้ได้ผลิตผลตลอดสองวันหนึ่งคืนเพื่อจะเอาไปต่อยอดพัฒนานโยบายในการจัดการสิ่งแวดล้อมให้ดีขึ้น

ดร. วิรัช วิฑูรย์เธียร ผู้แทนธนาคารโลก หนึ่งในพันธมิตรผู้ร่วมจัดกิจกรรมในครั้งนี้ ได้อธิบายถึงจุดยืนและบทบาทของธนาคารโลกต่อเป้าหมายการพัฒนาเศรษฐกิจในประเทศไทยไว้ว่า “เราถือเป็นธนาคารเพื่อการพัฒนา (Development Bank) ไม่ใช่ธนาคารพาณิชย์ เพราะฉะนั้นเราจะให้ความสำคัญกับเทคโนโลยีที่อาจจะยังไม่สามารถทำในเชิงพาณิชย์ได้ เนื่องจากยังมีความเสี่ยงค่อนข้างสูงในการผลิตออกสู่ตลาด โดยคำนึงถึงและให้ความสำคัญในการกระจายความช่วยเหลืออย่างเท่าเทียมกัน ใครที่สนใจมีสิทธิเข้าร่วมทุกคนหากผ่านเงื่อนไขต่างๆ เพราะฉะนั้น ทีมของเราจึงมีทั้งนักการเงิน นักเศรษฐศาสตร์ นักสังคมวิทยา นักสิ่งแวดล้อมและวิศวกรร่วมมือกันเพื่อการพัฒนา ซึ่งคนทั่วไปอาจจะยังไม่เข้าใจถึงความแตกต่างในจุดนี้ และสำหรับองค์กรเอกชนที่ต้องการเพิ่มปริมาณหรือพัฒนาธุรกิจที่สามารถทำการค้าได้แล้วในระดับหนึ่ง ทางธนาคารโลกก็มีหน่วยงานที่เรียกว่า บรรษัทเงินทุนระหว่างประเทศ (International Finance Corporation: IFC) ซึ่งจะมีบทบาทเข้าไปร่วมลงทุนในภาคเอกชนได้โดยตรง”

อดีตที่ผ่านมาจากการที่ประเทศไทยได้ลงนามในพิธีสารมอนทรีออล (Montreal Protocol) ทำให้เรามีนโยบายในการลดละ เลิก การใช้สารทำความเย็นกลุ่ม CFCs (Chlorofluorocarbon) ในการผลิตตู้เย็น เครื่องปรับอากาศ รถยนต์และกระป๋องสเปรย์ และพยายามผลักดันทุกภาคส่วนให้หันไปใช้สารอื่นทดแทน นั่นก็คือ HFC (Hydro chlorofluorocarbon) ซึ่งไม่ค่อยมีอันตราย ไม่ติดไฟ เมื่อผู้ผลิตเริ่มเปลี่ยนไปหมด ตลาดก็ไม่มีตัวเลือกมาก เหตุการณ์นี้คือการเปลี่ยนแปลงตลาดในฝ่ายผู้ผลิต จึงจะเห็นว่าในอดีตเราใช้กลยุทธ์นี้ในการเข้าถึงผู้บริโภคและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในการออกกฎหมาย เพียงเท่านี้ก็สามารถเปลี่ยนแปลงตลาดได้ทั้งหมด แต่ปัจจุบันเราก็พบว่า HFC เป็นก๊าซเรือนกระจกที่มีผลต่อชั้นบรรยากาศทำให้โลกร้อนค่อนข้างสูง ก็เริ่มมีการคิดค้นสารตัวต่อไปคือ HC (hydrocarbon) ที่จะเข้ามาทดแทน แต่ติดปัญหาตรงที่มีคุณสมบัติค่อนข้างอันตรายคือติดไฟได้หรือมีความเป็นพิษสูง อาจมีอัตรายต่อทั้งผู้ผลิตและผู้ใช้งาน เพราะฉะนั้นผู้ใช้จึงจำเป็นต้องคอยดูแลและระมัดระวัง ต้องรู้จักการบำรุงรักษาเพื่อให้ประสิทธิภาพของการใช้งานของเครื่องใช้ไฟฟ้าเหล่านี้คงที่ ยกตัวอย่าง สมัยนี้ที่เรามักได้ยินว่าเครื่องปรับอากาศระบบอินเวอร์เตอร์ช่วยประหยัดพลังงานได้ดี แต่พอซื้อมาเรากลับไม่ค่อยได้ดูแลรักษาเท่าไหร่ จนกระทั่งเครื่องปรับอากาศเสียเราก็จะเรียกช่างมาซ่อม ซึ่งถ้าลองไปเปิดดูจะพบว่ามีฝุ่นเกาะจำนวนมากทำให้การถ่ายเทความร้อนไม่ดี แทนที่จะประหยัดพลังงานกลับทำให้เกิดการใช้พลังงานมากขึ้นกว่าปกติ ดังนั้น ถ้ามีการส่งเสริมเรื่องเทคโนโลยีที่จะช่วยในการประหยัดพลังงาน ก็มีความจำเป็นที่ภาคประชาชนต้องเข้ามามีส่วนร่วม ทางธนาคารโลกจึงหันมาส่งเสริมเรื่องความปลอดภัยและการประหยัดพลังงานโดยการสร้างการตระหนักรู้ต่อพฤติกรรมผู้บริโภคมากขึ้น เพื่อให้ทุกคนสามารถใช้ผลิตภัณฑ์เหล่านี้ได้อย่างมีประสิทธิภาพและปลอดภัยสูงสุด

เป้าหมายและความคาดหวังต่อ โครงการ “เรื่องโอโซน เรื่องของเรา”

สำหรับโครงการนี้เป็นความร่วมมือหนึ่งที่ทางธนาคารโลกดำเนินการร่วมกับภาคส่วนต่างๆ ในประเทศไทย ในเรื่องของโอโซนนี้ ทางธนาคารโลกได้มีการทำงานร่วมกันกับทางรัฐบาลไทยโดยเฉพาะกับกระทรวงอุตสาหกรรม ในช่วงแรกเรื่องของโอโซนอาจเป็นเรื่องที่เรายังไม่ค่อยได้ยินกันมากนัก เพราะว่าผลกระทบที่เกิดขึ้นส่วนใหญ่จะอยู่ที่ภาคอุตสาหกรรมซึ่งเป็นผู้ผลิต ทางภาคประชาชนจะไม่ค่อยได้เกี่ยวข้อง แต่ช่วงที่ผ่านมาเรื่องโอโซนได้ส่งผลกระทบต่อภาวะโลกร้อนและมีเรื่องความปลอดภัยต่างๆ จากสารทดแทนเข้ามาเกี่ยวข้อง ภาคประชาชนจึงจำเป็นที่จะต้องเข้ามารับรู้และมีส่วนร่วมมากขึ้น จึงทำให้กระทรวงอุตสาหกรรมเล็งเห็นว่าน่าจะขยายงานและประยุกต์กิจกรรมต่างๆ ให้เข้ากับภาคประชาชนมากขึ้น โดยมีเป้าหมายคือ อยากให้เกิดความรู้ความเข้าใจในเรื่องการป้องกันชั้นบรรยากาศว่าคืออะไร เกี่ยวข้องกับการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศอย่างไร และจะมีโอกาสเข้ามามีส่วนร่วมได้อย่างไร นอกเหนือไปกว่านี้ยังคาดหวังถึงความคิดเห็น ข้อมูลต่างๆ และความคิดใหม่ๆ ของผู้ที่มาเข้าร่วม ในแง่ของประชาชนคนรุ่นใหม่ ซึ่งมีบริบทการใช้ชีวิตต่างจากอดีตว่า ควรใช้สื่อประเภทไหนที่จะสามารถเข้าถึงและดึงดูดความสนใจของประชาชนได้มากกว่า เพื่อเป็นข้อมูลที่จะนำมาทำแผนในการลด หรือ เลิก ใช้สารที่กำลังถูกควบคุมในอนาคตเพื่อนำมาเป็นแนวทางในการดำเนินงานในอนาคต

ทิศทางและแนวโน้มต่อมุมมองเรื่องปัญหาสิ่งแวดล้อมในประเทศไทย ทั้งในเรื่องดิน น้ำ และอากาศ ซึ่งหมายรวมถึงเรื่องโอโซนด้วย

ดร.วิรัช เปิดเผยเรื่องนี้กับทาง MBA ว่า เรื่องของการรณรงค์เพื่อเป้าหมายในการลดภาวะโลกร้อนเป็นเรื่องที่เราทุกคนต่างมีส่วนร่วมและการกระทำของเราก็ส่งผลต่อคนอื่นๆ จึงอาจเกิดปัญหาการว่าใครควรเริ่มก่อน แม้แต่เรื่องของการป้องกันชั้นบรรยากาศหรือโอโซนที่เริ่มกันมาตั้งแต่ปี พ.ศ.2530 ก็ไม่มีใครคิดว่าจะประสบความสำเร็จ แต่การที่ประสบความสำเร็จได้ก็เพราะเราสามารถทำปัญหานี้ให้กลายเป็นเรื่องที่ชัดเจนสามารถแก้ไขได้ อย่างเรื่องน้ำยาที่มีผลต่อชั้นบรรยากาศก็มีการหาทางปิดโรงงานที่ผลิตสารเหล่านี้ แล้วเอาสารทดแทนตัวอื่นไปให้ผู้ใช้หรือโรงงานที่นำสารนี้ไปใช้ต่อ ปัญหาเลยถูกแก้ไขได้ง่าย เราสามารถใส่ทรัพยากรต่างๆ ลงไปทดแทนเพื่อแก้ปัญหาได้สำเร็จ แต่ในแง่ของสภาพภูมิอากาศมีปัจจัยมากมาย เพราะฉะนั้น ในตอนนี้เราทุกฝ่ายต้องมีการจับมือร่วมกัน สิ่งไหนที่ทำได้เร็วทำได้ก่อนก็ต้องเริ่มทันที อย่างเรื่องสาร HFCs ที่ประเทศไทยนำเข้ามา หากเราไม่ลงมือทำอะไรเลย ภายในปี พ.ศ.2565 หรือ พ.ศ.2566 อาจจะมีปริมาณสูงถึง 120 ล้านตัน ถ้าเราสามารถลดการนำเข้าลงเพียง 20 เปอร์เซ็นต์ ทำให้เกิดการรั่วไหลน้อยลง เราก็สามารถลดปริมาณสารไปได้มากกว่า 30 ล้านตัน ที่รัฐบาลได้ตั้งเป้าหมายว่าจากปี 2563 ถึง 2566 เราจะลดอัตราการปล่อยก๊าซที่ทำลายชั้นบรรยากาศ 20 – 25 เปอร์เซ็นต์ หรือประมาณ 110 – 130 ล้านตัน ถ้าประชาชนเราสามารถบำรุงรักษาใช้เครื่องไฟฟ้าเหล่านี้ได้มีประสิทธิภาพและเกิดการรั่วไหลน้อยที่สุด แค่เรื่องของการใช้เครื่องปรับอากาศถ้านับจากการใช้ทั่วประเทศเราอาจลดการนำเข้าสารนี้ไปได้ 10 – 20 เปอร์เซ็นต์ ส่วนอีก 5 เปอร์เซ็นต์ก็คือเป้าหมายที่จะไปจัดการในส่วนของการลดอัตราการปลดปล่อยสารเหล่านี้ออกสู่บรรยากาศ เพราะฉะนั้นเรื่องไหนที่เราทำได้ก่อนเราก็ทำเลย เรื่องไหนที่ยังทำไม่ได้เราก็พยายามพัฒนาต่อ ถ้าเราไม่ทำตอนนี้ภายในปี พ.ศ.2573 อุณหภูมิโลกอาจเพิ่มขึ้น 1.5 องศาเซลเซียสแน่นอน”

สำหรับการทำการเกษตรและปศุสัตว์ที่มีการปล่อยก๊าซเรือนกระจก (ก๊าซมีเทนและไนตรัสออกไซด์) ส่งผลต่อชั้นบรรยากาศ ก็ต้องมีการเข้าไปสำรวจและพูดคุยกันจากหลายๆ ฝ่าย ในการนำเทคโนโลยีมาใช้ รวมถึงส่งเสริมให้มีการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมผู้บริโภคให้ลดปริมาณการบริโภคเนื้อสัตว์ เพราะกระบวนการผลิตนั้นใช้คาร์บอนไดร์ออกไซด์ในอัตราที่สูง ทั้งนี้ ก็เป็นเรื่องที่ต้องใช้เวลาในการส่งเสริมให้มีการประยุกต์และปรับเปลี่ยน และอีกด้านก็คือการเพิ่มประสิทธิภาพให้กับระบบขนส่ง อย่างอาหารทะเล บ้านเราถือเป็นประเทศที่ส่งออกอาหารทะเลอันดับต้นๆ ของโลก ประเด็นคือเราจะทำอย่างไรให้อุตสาหกรรมนี้มีประสิทธิภาพมากขึ้น ไม่ใช่ว่าจับได้มากขึ้นแต่เป็นการเพิ่มอัตราการส่งอาหารหรือทรัพยากรเหล่านี้ไปให้ถึงมือผู้บริโภคให้มากขึ้น จากเดิมเราจับมาได้ 100 เปอร์เซ็นต์แต่ไปถึงผู้บริโภคเพียง 60 - 70 เปอร์เซ็นต์ ซึ่งถ้าเราสามารถเพิ่มเป็น 100 เปอร์เซ็นต์ได้ก็อาจช่วยลดอัตราการจับสัตว์น้ำให้น้อยลงได้ ธนาคารโลกเองมีบทบาทในการส่งเสริมเทคโนโลยีระบบทำความเย็นทำให้สามารถควบคุมอุณหภูมิได้ดี โดยมีการกำหนดกลยุทธ์และแผนการในการขนส่งที่มีการเลือกใช้เทคโนโลยีที่เหมาะสมและประหยัดพลังงาน อาจไม่ต้องเป็นเทคโนโลยีใหม่ก็ได้ แต่ต้องมีการมองอย่างเป็นระบบ วิธีการนี้จะทำให้เกิดการแข่งขันที่มากขึ้น ราคาสินค้าก็ถูกลง เพราะเราไม่ต้องจ่ายให้กับส่วนต่างของมูลค่าสินค้าที่สูญเสียไประหว่างทาง ซึ่งสินค้าเหล่านี้เองที่ทำให้เกิดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกในอัตราที่สูงที่สุด

และสำหรับประเด็นทางสิ่งแวดล้อมอื่นๆ ทางธนาคารโลกก็มีกระบวนการทำงานที่ต่างจากอดีต คือการมองปัญหาที่เกิดขึ้นในประเทศไทย (Strategic Country Diagnostic : SCD) แล้วจึงมากำหนดว่าอะไรที่ควรให้ความสำคัญก่อน โดยทางรัฐบาลจะมีการกำหนดขึ้นมาว่าต้องการให้ทางธนาคารโลกให้ความช่วยเหลือในด้านใดบ้าง มีการสร้างขอบเขตความร่วมมือระหว่างธนาคารโลกกับประเทศไทยขึ้นมาภายในระยะเวลาประมาณ 5 ปี อย่างเร็วๆ นี้ก็จะเป็นประเด็นการลดขยะพลาสติก ซึ่งถือเป็นปัญหาระดับโลกที่เกิดขึ้นในหลายประเทศทั้งในอินโดนีเซีย เวียดนาม ฟิลิปปินส์ จีนและไทย ต่างก็ต้องเผชิญกับวิกฤตในครั้งนี้

การดำเนินงานตามนโยบายส่งเสริมการใช้เทคโนโลยีและการสร้างนวัตกรรมสามารถทำควบคู่การแก้ไขหรือป้องกันปัญหาด้านสิ่งแวดล้อมได้อย่างไร

ในเรื่องการเสริมสร้างเศรษฐกิจให้เติบโตควบคู่กับความพยายามป้องกันและแก้ไขปัญหาสิ่งแวดล้อมนั้น ท่าน ดร.วิรัช ได้อธิบายแง่มุมใหม่ๆ ที่น่าสนใจให้เราฟังว่า “ในอดีตเราอาจมองว่า การพัฒนาอุตสาหกรรมกับการพัฒนาเศรษฐกิจมีผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม แต่เดี๋ยวนี้โลกเปลี่ยนไป เทคโนโลยีก็เปลี่ยนไป ดังนั้น การพัฒนาอุตสาหกรรมให้เติบโตอาจไม่ทำให้เกิดความเสื่อมโทรมทางสิ่งแวดล้อมเสมอไป อยู่ที่ว่าเราจะเลือกใช้เทคโนโลยีใดมาช่วยรักษาสมดุลเพื่อจะส่งผลดีต่อสิ่งแวดล้อมมากที่สุด อย่างในตอนนี้ที่เราเปลี่ยนการใช้น้ำยาในเครื่องปรับอากาศจาก CFCs มาเป็น HFC ที่แยกออกมาอีกหลายประเภททั้ง R22 และ R410A ซึ่งก็ยังมีผลที่ทำให้โลกร้อนขึ้นได้ประมาณ 1,810 – 2,090 เท่าของคาร์บอนไดร์ออกไซด์ ล่าสุดภาคอุตสาหกรรมจึงหันมาเลือกใช้สารที่มีประสิทธิภาพกลางๆ คือ HFC R32 มีค่าที่ทำให้โลกร้อนเพียง 675 เท่าของคาร์บอนไดร์ออกไซด์ ไซต์ แม้จะยังเป็นค่าที่สูงแต่ก็มีการออกแบบให้มีการรั่วไหลของสารในปริมาณที่น้อยที่สุดด้วยการลงทุนทำระบบข้อต่อต่างๆ ให้ดีขึ้น ผลปรากฏว่าระบบนี้กลับมีปริมาณการรั่วน้อยและเพิ่มประสิทธิภาพในการประหยัดพลังงาน ทำให้สามารถผลิตเครื่องปรับอากาศให้มีขนาดเล็กลงได้ด้วย เพราะการทำความเย็นที่ดีกว่า ขนาดของเครื่องปรับอากาศจึงสามารถลดลงส่งผลต่อการลดต้นทุนในการผลิตและท้ายที่สุดทำให้เกิดขยะน้อยลง ฉะนั้น การปฏิบัติตามแนวทางนี้นอกจากจะทำให้เศรษฐกิจดีขึ้น ความสามารถในการแข่งขันมากขึ้น ยังส่งผลดีต่อสิ่งแวดล้อมด้วย เดี๋ยวนี้เทคโนโลยีที่เรามีค่อนข้างพร้อมอยู่ที่ว่าเราจะหยิบเอามาใช้ให้ได้ประโยชน์ต่อหลายๆ ฝ่าย”

ทั้งนี้ เทคโนโลยีในปัจจุบันอาจจะยังไม่เดินไปถึงขั้นที่เราสามารถลดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมได้ทั้งหมด นอกจากนี้เทคโนโลยีที่จะถูกนำมาใช้นั้นยังต้องขึ้นอยู่กับความพร้อมของแต่ละประเทศ ถ้าประเทศไทยมีช่างที่มีคุณภาพและประชาชนรู้ว่าการซ่อมบำรุงที่ถูกต้องคืออะไร เราสามารถควบคุมความเสี่ยงได้ เราก็สามารถเดินไปหน้าต่อไปในแนวทางนั้นได้ ปัจจุบันมีความพยายามที่จะพัฒนาและส่งเสริมขีดความสามารถของช่างซ่อมบำรุงให้มากขึ้น ดึงเอาส่วนผู้บริโภคเข้ามามีส่วนร่วมในเรื่องการดูแลรักษาของใช้ เมื่อเราพร้อมและมีความรู้ความเข้าใจในการรับมือเป็นอย่างดีเมื่อไหร่ เราจึงสามารถเดินหน้าใช้สารที่มีประสิทธิภาพมากกว่านี้ (แต่อาจมีอันตรายมากกว่าด้วย) เราไม่ควรให้ความสมบูรณ์กลายมาเป็นสิ่งที่ทำลายเราในภายหลังจะดีกว่า กรณีที่การส่งเสริมภาคอุตสาหกรรมที่ประสบความสำเร็จในอดีตที่ผ่านมาคือ การทำความร่วมมือระหว่างทางธนาคารโลกกับรัฐบาลญี่ปุ่น ในการเจรจาขอนำเทคโนโลยี R32ซึ่งขณะนั้นมีบริษัทญี่ปุ่นเจ้าเดียวที่ถือครองสิทธิบัตรอยู่เข้ามาให้กับผู้ผลิตในประเทศไทย โดยสุดท้ายแล้วเราก็สามารถผลิต จัดจำหน่ายได้โดยไม่ต้องเสียค่าสิทธิบัตร และถือเป็นการเปิดโอกาสการเข้าถึงเทคโนโลยีนี้ให้โรงงานผลิตเครื่องปรับอากาศจำนวนมาก ทำให้เกิดการแข่งขันได้ในวงกว้าง ทั้งนี้ เพราะเราสามารถสร้างเงื่อนไขที่ทั้งประเทศไทยและเจ้าของสิทธิบัตรสามารถมีประโยชน์ร่วมกันได้ นอกจากนี้ ในส่วนของเทคโนโลยีภาคการผลิตในอนาคต ธนาคารโลกเองก็กำลังร่วมมือกับทางสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทยและกรมโรงงานอุตสาหกรรมในการทำ Business Matching โดยส่งเสริมให้บริษัทที่มีความรู้เรื่องเทคโนโลยีอินเวอร์เตอร์แต่ยังไม่สามารถเปิดตลาดและบริษัทที่มีความต้องการเทคโนโลยีตัวนี้มาทำการค้าร่วมกันทั้งในตลาดประเทศไทยเอง รวมถึงในประเทศเพื่อนบ้านอย่างเวียดนามหรือฟิลิปปินส์เพื่อขยายตลาด เมื่อผู้ผลิตหันมาสั่งซื้อสินค้าที่เดียวกัน ปริมาณการซื้อขายก็มากขึ้น ราคาก็จะลดลง คนที่ให้เทคโนโลยีก็สามารถทำยอดขายได้เพิ่ม เป็นการสร้างพันธมิตรทางธุรกิจของภาคอุตสาหกรรม

ดร.วิรัช แสดงความเห็นทิ้งท้ายต่อปัญหาที่เป็นกังวลมากที่สุดในระดับสากลตอนนี้คือ เรื่องการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ โดยได้มีการประชุมและทำข้อตกลงร่วมกันเรื่องการเปลี่ยนแปลงของสภาพอากาศโลกครั้งที่ 21 หรือ COP21 ที่กรุงปารีส คือ จะพยายามควบคุมไม่ให้อุณหภูมิเฉลี่ยโลกเพิ่มขึ้นเกิน 2 องศาเซลเซียส หากเราไม่สามารถลดปริมาณก๊าซเรือนกระจกได้อาจทำให้อุณหภูมิโลกสูงขึ้นถึง 1.5 องศาเซลเซียสในอีกไม่กี่ปีข้างหน้า และเมื่ออุณหภูมิสูงขึ้นไปจนถึงจุดหนึ่งจะทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงของระบบนิเวศทั้งหมดทำให้เปลี่ยนกลับมาไม่ได้อีก เราในส่วนของประชาชนผู้มีส่วนร่วมควรตระหนักและคำนึงถึงผลกระทบที่จะเกิดขึ้น แน่นอนว่าเรื่องความอยู่รอดและปากท้องเป็นสิ่งสำคัญ แต่หากเรามุทะลุตั้งหน้าตั้งตากอบโกยเอาแต่ผลประโยชน์เข้าตัวเพียงอย่างเดียว สักวันหนึ่งการกระทำเหล่านี้อาจย้อนกลับมาเป็นปัญหาลูกโซ่ทำร้ายลูกหลานของเราในอนาคตได้


เรื่อง : ณัฐพัชฐ์ สุมา

ในเดือนมีนาคม 2018 ที่ผ่านมา เมืองเซี่ยงไฮ้ ประเทศจีน ได้เริ่มต้นทดสอบการให้บริการรถไฟใต้ดิน โดยผู้โดยสารจะต้องเดินไปที่ชานชาลาและใช้ใบหน้าหรือเสียงเพื่อที่จะทำการจ่ายค่าบริการ เมื่อระบบพิสูจน์ตัวบุคคลได้แล้วจึงทำการตัดเงินจากบัญชี Alipay โดยบริษัท Alibaba นั่นหมายความว่าถ้าหากระบบดังกล่าวประสบความสำเร็จและถูกใช้อย่างแพร่หลายเป็นการทั่วไป ผู้คนทั้งหลายก็ไม่จำเป็นที่จะต้องมีเงินสด พกกระเป๋าสตางค์หรือแม้แต่โทรศัพท์มือถือเพื่อการจ่ายเงินในระบบขนส่งของจีนอีกต่อไป

บริษัท Alibaba Group Holding Ltd. ได้ลงทุนในโครงการวิจัยและพัฒนาด้าน AI รวมทั้งการออกแบบไมโครชิพ AI ด้วยเงินลงทุนถึง 15 พันล้านเหรียญสหรัฐ ซึ่งหากโครงการนี้ประสบความสำเร็จก็จะทำให้ประเทศจีนกลายเป็นประเทศชั้นนำในการเป็นผู้ผลิตฮาร์ดแวร์ด้าน AI และการคำนวณชั้นสูงอีกก้าวหนึ่ง

สำหรับประเทศสหรัฐอเมริกา บริษัท Microsoft และ Google ได้จัดตั้งทีมวิจัยและพัฒนาไมโครชิพเพื่อบริหารจัดการระบบเซิร์ฟเวอร์และคลาวด์ (cloud) ซึ่งมีขีดความสามารถทางด้าน AI เป็นหลัก

ในขณะนี้มีสัญญาณบ่งบอกที่ชัดเจนแล้วว่าประเทศจีนกำลังจะกระโดดเข้ามาแข่งขันในอุตสาหกรรมเซมิคอนดักเตอร์เพื่อออกแบบและผลิตไมโครชิพ AI ที่เป็นส่วนประกอบสำคัญในการตรวจสอบเสียงของมนุษย์เพื่อบ่งบอกตัวบุคคล (voice recognition) และเพื่อตรวจจับและระบุวัตถุว่าวัตถุนั้นคืออะไร (object detection) ทั้งๆ ที่ในอดีตที่ผ่านมา ประเทศจีนไม่เคยประกาศที่จะให้ประเทศสหรัฐอเมริกา ไต้หวัน และเกาหลีใต้ ได้เห็นความชัดเจนในการพัฒนาไมโครชิพในลักษณะนี้มาก่อน

"Made in China 2025" ถือว่าเป็นยุทธศาสตร์ที่สำคัญของประเทศจีนบนเป้าหมายเพื่อการยกระดับอุตสาหกรรมของประเทศจีนให้เข้าสู่อุตสาหกรรม 4.0 ซึ่งหลายประเทศทั่วโลกได้รับแรงบันดาลใจจากประเทศเยอรมัน โดยถือว่าเยอรมันเป็นประเทศแรกที่ได้มีการใช้คำว่า อุตสาหกรรม 4.0” ในปี 2011 เป็นครั้งแรกของโลก และหลังจากนั้นหลายประเทศก็ได้รับอิทธิพลจากแนวคิดดังกล่าว ซึ่งแก่นแท้ของแนวคิดอุตสาหกรรม 4.0 ก็คือการผลิตที่มีความชาญฉลาดโดยการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศในการผลิตอย่างมีประสิทธิภาพสูงสุด ด้วยการใช้ระบบเซนเซอร์ที่เรียกว่า “Internet of Things” หรือ IoT ทำการเชื่อมโยงระบบการทำงานขององค์กรจนไปถึงระบบการผลิตในโรงงาน ตั้งแต่การผลิตขนาดเล็กจนไปถึงการผลิตระดับกลางและใหญ่ จนนำไปสู่การผลิตแบบอัตโนมัติด้วยหุ่นยนต์นั่นเอง

การจะเป็นผู้นำด้านการผลิตหุ่นยนต์ชั้นนำของโลกนั้น ไม่สามารถหลีกเลี่ยงการพัฒนาและวิจัยทางด้าน AI ได้ โดยเฉพาะอย่างยิ่งการผลิตไมโครชิพ AI ซึ่งเป็นส่วนประกอบสำคัญของการทำให้หุ่นยนต์มีประสิทธิภาพในการทำงาน จึงทำให้ประเทศจีน ได้มีความชัดเจนว่า AI เป็นยุทธศาสตร์ของประเทศ จึงทำให้ประเทศสหรัฐอเมริกาและหลายประเทศในยุโรปต่างหวาดระแวงที่ประเทศจีนจะครอบครองตลาดอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ โทรคมนาคมและสามารถที่จะควบคุมอุตสาหกรรมกรรมใหม่ของโลกจนประเทศจีนจะกลายเป็นมหาอำนาจของโลกในศตวรรษที่ 21 นั่นเอง

สงครามกีดกันทางการค้า (trade war) เริ่มปรากฏชัด โดยประเทศสหรัฐอเมริกาได้ทำการกดดันประเทศจีนในเรื่องทรัพย์สินทางปัญญาและเทคโนโลยีที่เกี่ยวข้องกับความมั่นคงปลอดภัยของประเทศ เช่น เทคโนโลยีไมโครชิพ AI ซึ่งประเทศจีนมีนโยบายให้การสนับสนุนส่งเสริมการวิจัยและพัฒนาด้านไมโครชิพ AI มากกว่าปกติตั้งแต่ปี 2017 และมีแนวโน้มจะเพิ่มขึ้นทุกปี โดยประเทศจีนได้ตั้งเป้าหมายไว้ว่าจะเป็นผู้นำด้าน AI อันดับหนึ่งของโลกภายในปี 2030 โดยบริษัท Huawei พยายามทุ่มเทการวิจัยและพัฒนาไมโครชิพ AI เพื่อเอาชนะบริษัท Intel และ Qualcomm เพื่อเป็นอันดับหนึ่งของโลกให้ได้

เทคโนโลยีเซมิคอนดัคเตอร์ที่ใช้ผลิตไมโครชิพกำลังจะกลายเป็นตัวชี้ชะตาศูนย์อำนาจของโลก โดยในขณะนี้ประเทศจีนจะต้องนำเข้าไมโครชิพด้วยการจ่ายเงินออกนอกประเทศถึงสามเท่าของเงินที่ใช้ในการลงทุนผลิตไมโครชิพเองในประเทศ ทั้งนี้เพราะประเทศจีนยังไม่มีขีดความสามารถเพียงพอที่จะผลิตไมโครชิพใช้เองภายในประเทศ โดยจากผลการวิจัยของบริษัทวิจัย Gavekal Dragonomics พบว่าเงินที่ประเทศจีนต้องจ่ายไปเพื่อซื้อไมโครชิพนั้น จะมีมูลค่ามากถึง 60 พันล้านเหรียญสหรัฐ ในช่วงปี 2017 ถึง 2020 และจากการกีดกันทางการค้าจากประเทศตะวันตกและประเทศสหรัฐอเมริกา จึงยิ่งจะทำให้ประเทศจีนไม่สามารถที่จะหลีกเลี่ยงการพัฒนาไมโครชิพให้เป็นเทคโนโลยีของตัวเองได้เลย

ดังนั้นไม่น่าแปลกใจเลยว่าประเทศที่จะเป็นมหาอำนาจในทศวรรษต่อจากนี้ไป คือประเทศที่เป็นผู้นำทางด้านเทคโนโลยีเซมิคอนดักเตอร์และไมโครชิพ AI เท่านั้น

 

Reference

https://www.bloomberg.com/news/articles/2018-10-25/the-u-s-china-trade-war-means-alibaba-is-producing-its-own-chips


บทความโดย | พันเอก ดร.เศรษฐพงศ์ มะลิสุวรรณ 

www.เศรษฐพงศ์.com

GMI Open House

December 17, 2018

ขอเชิญผู้สนใจศึกษาต่อปริญญาโท ด้านบริหาร / จัดการ เข้าร่วมงาน Open House ในวันเสาร์ที่ 19 มกราคม 2562 เวลา 13.00 – 16.00 น. ณ ห้อง Meeting Room 3 - 4 ศูนย์การประชุมแห่งชาติสิริกิติ์

ผู้ที่เข้าร่วมจะได้รับฟังข้อมูลเชิงลึกเกี่ยวกับการเรียนบริหารเฉพาะทางด้วยหลักสูตรคุณภาพสู่การเป็นมืออาชีพอย่างละเอียด จาก คณาจารย์ นักศึกษา และศิษย์เก่าบัณฑิตวิทยาลัยการจัดการและนวัตกรรม (GMI) มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี สามารถลงทะเบียนร่วมงานได้ที่ https://goo.gl/KMd4kw (ไม่มีค่าใช้จ่าย)

สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ 02-470-9795, 02-470-9781, 084-676-5885

GMI Open House 2019

December 17, 2018

ขอเชิญผู้สนใจศึกษาต่อปริญญาโท ด้านบริหาร / จัดการ เข้าร่วมงาน Open House ในวันเสาร์ที่ 19 มกราคม 2562 เวลา 13.00 – 16.00 น. ณ ห้อง Meeting Room 3 - 4 ศูนย์การประชุมแห่งชาติสิริกิติ์

ผู้ที่เข้าร่วมจะได้รับฟังข้อมูลเชิงลึกเกี่ยวกับการเรียนบริหารเฉพาะทางด้วยหลักสูตรคุณภาพสู่การเป็นมืออาชีพอย่างละเอียด จาก คณาจารย์ นักศึกษา และศิษย์เก่าบัณฑิตวิทยาลัยการจัดการและนวัตกรรม (GMI) มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี

สามารถลงทะเบียนร่วมงานได้ที่ https://goo.gl/KMd4kw (ไม่มีค่าใช้จ่าย)

สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ 02-470-9795, 02-470-9781, 084-676-5885

MBA Special Blockchain

December 17, 2018

หลายปีมานี้ ผมเชื่อว่าเราคงได้ยินคำว่า “Disrupt” กันอยู่เรื่อยๆ เพราะมีเคสของธุรกิจใหญ่น้อยทั่วโลกที่ถูกเจ้าคำว่า “Disrupt” นี่เล่นงานจนแทบจะล้มหายตายจาก แต่ในขณะเดียวกันนั้น เจ้า “Disrupt” นี่เองก็ช่วยให้เกิดธุรกิจใหม่ที่มีรูปแบบและโมเดลในการทำธุรกิจที่สร้างสรรค์แหวกแนวขึ้นจนธุรกิจมีมูลค่าได้มหาศาล โดยสาเหตุของการตายจากหรือเติบโตเหล่านี้สามารถได้ง่ายๆ ว่าเป็นเพราะเทคโนโลยีและพฤติกรรมของผู้บริโภคนั้นเปลี่ยนแปลงอย่างมาก จนส่งกระทบกับธุรกิจในรูปของโอกาสและภัยคุกคามแล้วแต่ว่าตัวธุรกิจนั้นปรับตัวเองได้ดีแค่ไหน  

เราจะเห็นได้ว่าในช่วงสองทศวรรษมานี้ เทคโนโลยีด้านดิจิทัลนั้นพัฒนาอย่างก้าวกระโดด อินเทอร์เน็ตกลายเป็นสิ่งที่เราใช้งานตลอดเวลาเหมือนอากาศที่หายใจ  มีซีพียูคอมพิวเตอร์ที่มีประสิทธิภาพสูงเกิดขึ้นใหม่ทุกวัน หน่วยเก็บข้อมูลก็มีราคาถูกลงเรื่อยๆ จนพลังทางดิจิทัลเหล่านี้สามารถเปลี่ยนแปลงวิถีชีวิตและสังคมของพวกเราทุกวัน  และเชื่อว่าปีสองปีมานี้เราคงได้ยินชื่อเทคโนโลยีนึงที่จะเข้ามาเปลี่ยนแปลงโลกอีกครั้ง นั่นก็คือ Blockchain

กำเนิดและจุดเด่นของ Blockchain

Blockchain นั้นเป็นแนวคิดใหม่ในการเก็บข้อมูล มันเกิดจากแนวคิดของกลุ่มนักเทคโนโลยีหัวปฏิรูปที่ประสงค์จะสร้างระบบทางการเงินแบบใหม่ที่ไม่ต้องการข้องเกี่ยวกับรัฐบาล ตัวกลาง หรือธนาคารใดๆ เพื่อให้พวกเขาสามารถมีอิสรภาพในการโอนย้าย “เงิน” ของพวกเขาโดยไม่ต้องเปิดเผยตัวตน หรือตกอยู่ภายใต้ระเบียบข้อจำกัดใดๆ  และนั่นทำให้ต้องมีวิธีการเก็บข้อมูลแบบใหม่ ที่ข้อมูลไม่ได้รวมกันอยู่ในศูนย์กลาง สามารถเข้าถึงจากไหนก็ได้ และที่สำคัญที่สุดคือจะต้องสามารถยืนยันความถูกต้องของข้อมูลได้ แนวคิดการบันทึกข้อมูลแบบใหม่จึงถูกประดิษฐ์ขึ้นภายใต้ชื่อว่า Blockchain และเนื่องจากแนวคิด Blockchain นี้สามารถขจัดปัญหาของการเก็บข้อมูลในรูปแบบเดิมที่รู้จักกันได้หลายเรื่อง จึงทำให้มันถูกนำมาประยุกต์ใช้ในหลากหลายธุรกิจ และเชื่อกันว่ามันจะเป็นตัวผลักดันให้เกิด  Disruption กับธุรกิจต่างๆ เป็นจำนวนมาก โดยเฉพาะธุรกิจที่ทำหน้าที่คอยเป็นตัวกลางในเรื่องต่างๆ เช่น ธนาคาร ทะเบียนประวัติ กรรมสิทธิ์โฉนดที่ดิน เป็นต้น  โดยคุณสมบัติเด่นๆ ของ Blockchain ก็คือ

  • ข้อมูลแบบกระจายศูนย์ - Blockchain ใช้แนวคิดของการบันทึกข้อมูลแบบกระจายศูนย์ ทำให้ฐานข้อมูลทั้งหมดถูกเก็บไว้ในเครื่องคอมพิวเตอร์ในระบบทุกๆ เครื่อง
  • โปร่งใสและเชื่อมั่นได้ – การทำธุรกรรมต่างๆ ใน Blockchain จะเป็นที่รับรู้ในเครือข่ายทั้งหมด และมีกระบวนการในสอบทานและยืนยันความถูกต้องอย่างรัดกุม
  • เปลี่ยนแปลงไม่ได้ – Blockchain ใช้เทคนิคทางคณิตศาสตร์เพื่อยืนยันข้อมูล ดังนั้นเมื่อข้อมูลถูกเขียนลงไปใน Blockchain โดยทฤษฎีแล้ว มันจะไม่สามารถถูกแก้ไขได้ หากมีเครื่องไหนที่ข้อมูลไม่ตรงกับคนอื่น ข้อมูลในเครื่องนั้นจะไม่เป็นที่ยอมรับและถูกตัดออกจากระบบ ทำให้ข้อมูลใน Blockchain แทบเป็นไปไม่ได้ที่จะเข้าไปเปลี่ยนแปลงแก้ในภายหลัง
  • ใช้งานได้ตลอดเวลา เนื่องจากแนวคิดการกระจายศูนย์ของ Blockchain ส่งผลให้เครือข่าย Blockchain สามารถทำงานได้ตลอดเวลาโดยไม่ต้องกังวลว่าจะมีเครื่องคอมพิวเตอร์ไหนชำรุด หรือระบบเครือข่ายมีการขัดข้อง

เทคนิคของ Blockchain

Distributed Database

ดังที่ได้กล่าวมาแล้วข้างต้นว่าแนวคิดหลักของ Blockchain คือการไม่มีศูนย์กลางข้อมูล แต่ให้ข้อมูลทั้งหมดอยู่กับทุกคนและทุกคนสามารถเชื่อมต่อถึงกันได้ทั้งหมด โดยใช้หลักฐานข้อมูลแบบกระจาย จะเห็นว่าด้วยการเชื่อมต่อแบบนี้ จะลดปัญหาการที่ระบบทั้งหมดจะต้องไปพึ่งพิงฐานข้อมูลเพียงชุดเดียวในส่วนกลาง ลองนึกภาพว่าถ้าคุณไปที่สถานีรถไฟฟ้าเกิดเหตุระบบสื่อสารขัดข้อง ทำให้เครื่องอ่านบัตรไม่สามารถตรวจสอบวงเงินในบัตรของคุณจากฐานข้อมูลกลางได้ ก็เท่ากับว่าคุณไม่สามารถใช้บัตรได้ ยังไม่นับว่าถ้ามี hacker ไหนเจาะเข้าไปในฐานข้อมูลซึ่งมีอยู่ที่เดียว และลบข้อมูลยอดเงินของทุกคนออกเพียงเท่านี้ก็จบแล้ว แม้จะมีทางแก้ไขด้วยการสำรองข้อมูล แต่ก็ต้องใช้เวลากว่าจะดึงข้อมูลสำรองออกมาใช้ได้  แต่อย่างไรก็ดีมันมีคำถามว่า ในสภาพที่มีฐานข้อมูลในระบบจำนวนมาก หากข้อมูลแต่ละคนเกิดไม่ตรงกันขึ้นมา จะมีใครฟันธงได้ว่าข้อมูลที่ถูกต้องคืออะไร คำตอบของเรื่องนี้ตรงไปตรงมามาก นั่นก็คือประชามติ

Consensus

ธุรกรรมต่างๆ ใน Blockchain จะต้องมีการตรวจสอบยืนยันในเครือข่าย Blockchain ก่อนเสมอ และมีโอกาสที่ข้อมูลในเครื่องเราหรือบางเครื่องในเครือข่ายจะไม่ตรงกัน ซึ่งในกรณีนั้น เครือข่าย Blockchain จะถือว่าค่าที่ถูกต้องคือค่าที่ถูกบันทึกไว้ในเครื่องส่วนใหญ่ของเครือข่าย และเลือกที่จะไม่ยอมรับข้อมูลในเครื่องที่ต่างออกไปเหล่านั้น และหลังจากนั้นขึ้นอยู่กับ blockchain แต่ละระบบว่าจะทำอย่างไรกับพวกชนกลุ่มน้อยเหล่านี้ บางระบบก็เลือกที่จะตัดเครื่องเหล่านั้นออกไปเลย แต่บางระบบก็ออกแบบให้พวกที่ข้อมูลไม่เหมือนจะต้องทำการ Sync ฐานข้อมูลใหม่ ให้ตรงกับคนอื่น การเลือกที่จะไม่ยอมรับข้อมูลของเครื่องบางเครื่องที่ต่างออกไป ทำให้ Blockchain มีคุณสมบัติด้านความเชื่อถือได้ของข้อมูล เนื่องจากข้อมูลที่ชำรุดหรือถูกแก้ไขโดยมิชอบ จะเกิดขึ้นได้แค่กับบางเครื่อง ซึ่งจะไม่เป็นที่ยอมรับในเครือข่าย แต่สิ่งที่น่าสนใจคือ ถ้าต้องมีการตรวจสอบข้อมูลกับเครื่องอื่นๆ อยู่ตลอดเวลา แบบนี้มันไม่ทำให้ทุกอย่างเชื่องช้าไปหมดเหรอ คำตอบเรื่องนี้อยู่ในชื่อของมันเอง “Block” & “Chain”

Block and Chain

ชื่อของ Blockchain นั้นมีที่มาจากสองคำ คือคำว่า Block และ Chain  เพราะการบันทึกข้อมูลของ Blockchain จะเป็นการบันทึกข้อมูลลงใน “Block” เป็นอันๆ คล้ายๆ กับที่เรามีสมุดบัญชีเป็นเล่มๆ และที่สำคัญคือ การบันทึกข้อมูลจะไม่ใช้วิธีการเขียนทับเช่น เดิม A= 5 แก้เป็น A= 17  แต่เป็นการจดต่อไปเรื่อยๆ (Append Only) เหมือนเราเขียนธุรกรรมในสมุดบัญชีเลย (จากกรณีเก่า ก็จะเป็น A = 5, แล้วก็ A + 12)  จนกระทั่งเป็นไปตามเงื่อนไข เช่น Block เต็ม หรือครบกำหนดเวลา เราก็จะเลิกบันทึกข้อมูลใน Block นี้และไปขึ้น Block ใหม่ แต่สิ่งสำคัญที่ต่างออกไปคือ ตอนปิด Block  เราจะทำสิ่งที่เรียกว่า hash ซึ่งอธิบายสั้นๆ คือการนำข้อมูลทั้งหมดใน Blockไปเข้ากระบวนการทางคณิตศาสตร์อันนึง ผลลัพธ์ของมันจะเป็นชุดอักขระชุดหนึ่งที่ยากยิ่งจะจดทำ เช่น 00000000000008a3a41b85b8b29ad444def299fee21793cd8b9e567eab02cd81 และด้วยเหตุที่อักขระชุดนี้เกิดขึ้นจากข้อมูลทั้งหมดใน block ดังนั้นถ้าหากข้อมูลใน block นี้เกิดเปลี่ยนแปลงไปแม้แต่เพียงน้อยนิด แล้วเอามาทำ hash ใหม่ hash อันที่สองจะไม่เหมือน hash อันแรก ดังนั้นการตรวจสอบ Block จึงไม่จำเป็นต้องดูข้อมูลทั้งหมดของ block แต่เพียงแค่เอาค่า hash มาเทียบกันก็รู้แล้วว่าเนื้อใน block ตรงกันหรือไม่ นี่คือคำว่า Block ทีนี้ แล้วอะไรคือ Chain  

เมื่อปิด Block และได้ค่า hash ก็จะเริ่มมีการบันทึกรายการต่างๆ เข้าสู่ block ถัดไปโดยจะได้มีการนำค่า hash ของ Block ก่อนหน้ามาใส่ไว้เป็นส่วนหนึ่งของข้อมูลใน Block ปัจจุบันนี้ด้วย  ดังนั้นหากเราปิด Block นี้และได้ค่า hash ล่าสุดออกมา ก็เท่ากับว่าเราได้ฝังค่า Block ที่แล้วไม่ให้เปลี่ยนแปลงได้อีก เพราะถ้าเปลี่ยน เราจะรู้ทันทีเนื่องจากมันไม่ตรงกับ hash ใน block นี้ เจ้าตัว hash ที่ฝังต่อๆ กันไปตาม block ต่างๆ ที่จะต้องตรงกันเป็นคู่ๆ เสมือนเป็นโซ่ที่ล่าม block เหล่านี้เข้าไว้ด้วยกัน และจากแนวคิดที่ทุกบิทของข้อมูลมีผลต่อค่า hash  + เรื่องที่ว่าค่า hash ส่งผลต่อค่า hash กันไปเป็นทอดๆ + ฐานข้อมูลที่ไม่เหมือนกับคนอื่นจะถูกตัดทิ้ง  ทำให้ Blockchain กลายเป็นวิธีการบันทึกข้อมูล ที่เมื่อบันทึกลงไปแล้ว จะไม่สามารถเปลี่ยนแปลงแก้ไขได้อีก เชื่อถือได้โดยไม่ต้องมีตัวกลาง และสามารถใช้งานข้อมูลได้ตลอดเวลา

Blockchain กับธุรกิจ

ในแง่ประโยชน์

หากธุรกิจของคุณต้องเกี่ยวพันกับคนทั้งในและนอกองค์กร ซึ่งปกติทั้งสองฝ่ายต้องมีคนคอยตรวจสอบยืนยันความถูกต้องในกระบวนการเช็คกันไปกันมา การใช้ Blockchain จะสร้างความมั่นใจกับทุกฝ่าย ลดขั้นตอนในการดำเนินงาน และปลอดภัยต่อการถูกแก้ไขหรือแอบนำข้อมูลไปใช้โดยไม่ได้รับอนุญาต อีกทั้งเครือข่ายจะมีเสถียรภาพสูง ขัดข้องได้ยาก นอกเหนือจากนี้การใช้ Blockchain  ยังเป็นโอกาสให้เกิดธุรกิจใหม่ๆ ในแง่ของผู้สร้างระบบนิเวศน์ให้ภาคส่วนต่างๆ มาสร้างมูลค่าร่วมกันได้ อาทิ  Platform ในการสร้างสินค้า Digital เช่น เพลง การ์ตูน หรือนิยาย  แล้วบันทึกลงไปใน Blockchain ทำให้มันกลายเป็น Digital Asset ที่สามารถซื้อขาย หรือเช่าใช้ สิทธิ์ในตัว Asset นี้

ในแง่ภัยคุกคาม

หากธุรกิจของคุณเป็นตัวกลาง อาทิ ธนาคาร ศูนย์แลกเปลี่ยนเงินตรา ซื้อมาขายไป เว็บขาย contents อย่าง iTune  ฯลฯ Blockchain จะเป็นภัยคุกคามต่อธุรกิจของคุณเต็มๆ เพราะตัวมันเองเกิดขึ้นมาเพื่อขจัดตัวกลาง และมุ่งให้แต่ละภาคส่วนเชื่อมโยงกันเองโดยตรง ตัวอย่างเช่น เราคงรู้จักบริการแบบ Netflix ซึ่งซื้อ contents จากผู้ผลิตมาจำนวนนึง แล้วให้ผู้บริโภครับชมโดยจ่ายค่าธรรมเนียมรายเดือน แต่ด้วย Blockchain  ผู้สร้างเนื้อหา ผู้ลงโฆษณา และผู้ชม สามารถเชื่อมโยงเข้าด้วยกัน Blockchain จะช่วยให้เจ้าของ contents มั่นใจได้ว่าจำวนการรับชมที่เกิดขึ้นตรงต่อความเป็นจริง ผู้ลงโฆษณามั่นใจได้ว่าโฆษณาของตนปรากฏขึ้นตามเงื่อนไข ตรงกลุ่มเป้าหมาย ในขณะที่ผู้รับชมก็สามารถจ่ายค่าใช้จ่ายได้ตามที่ต้องการ

ในตอนท้ายนี้ เชื่อว่าทุกท่านคงพอจะเข้าใจว่า Blockchain นั้นคืออะไร และทำไมมันถึงถูกกล่าวขวัญถึงในช่วงนี้ สิ่งที่จะต้องทำต่อไปคือ ต้องลองคิดดูว่าเราจะใช้ประโยชน์มันได้อย่างไร หรือจะ Transform ธุรกิจของเราอย่างไร จากเทคโนโลยีนี้


บทความ โดย : คณิต  ศาตะมาน   Co-Founder Siam ICO Co, Ltd.


สามารถรับชมคลิปวิดีโอ หัวข้อ Blockchain Application, The new Management Instrument and Transformation
โดย คณิต ศาตะมาน Co-Founder Siam ICO Co, Ltd. จากงาน Blockchain Talk ได้ที่นี่

มธบ.จัด Workshop  การถอดรหัสความคิดด้วยภาษาภาพ (Visual Thinking) ครั้งแรกในไทยและอาเซียน ของการสื่อสารรูปแบบใหม่ ที่ท้าทายต่อการเติบโตของธุรกิจในยุคดิจิตัล  โดยวิทยากรเจ้าของหนังสือ Visual Thinking ที่ขายดีไปทั่วโลกและได้รับการแปลถึง 11 ภาษา ชี้การสื่อสารที่ดีและมีประสิทธิภาพย่อมส่งผลดีต่อธุรกิจทั้งภายในและภายนอกองค์กร

ดร.พัทธนันท์  เพชรเชิดชู รองอธิการบดีสายงานภาคีสัมพันธ์ และประธานเจ้าหน้าที่บริหารวิทยาลัยบริหารธุรกิจนวัตกรรมและการบัญชี มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์ เปิดเผยว่า มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์ ในฐานะสถาบันการศึกษาชั้นนำด้านธุรกิจ ได้เห็นความสำคัญของการสื่อสารในรูปแบบ “Visual Thinking” และเชื่อว่าการสื่อสารที่ดีและมีประสิทธิภาพจะส่งผลดีต่อประสิทธิผลขององค์กรทั้งการสื่อสารภายใน และภายนอกองค์กร จึงได้จัดเวิร์คชอป ในหัวข้อ “Visual Thinking: Empowering Your Vision through Visual Thinking” โดยเชิญ Willemien Brand ที่เป็นทั้งผู้เขียนหนังสือที่ขายดีไปทั่วโลกชื่อ Visual Thinking ซึ่งถูกนำไปแปลถึง 11 ภาษา และเป็นผู้ที่มีชื่อเสียงระดับโลกในเรื่องการถอดรหัสความคิดด้วยภาษาภาพ มาเป็นผู้สร้างปรากฏการณ์ครั้งแรกในประเทศไทยและอาเซียน ของการถ่ายทอดการสร้างทักษะการสื่อสารด้วยภาษาภาพที่เป็นหนึ่งใน Future Skill ที่สำคัญมาก โดยจะจัดขึ้นในวันจันทร์ที่ 14 มกราคม 2562  เวลา 8.30-17.00 น. ณ ห้องแกรนด์บอลรูม โรงแรมเดอะสุโกศล กรุงเทพฯ

ทั้งนี้ การสื่อสารเชิงธุรกิจเป็นทักษะที่สำคัญสำหรับทุกองค์กรไม่ว่าจะเป็นองค์กรที่ต้องสื่อสารกับลูกค้าที่มีความหลากหลายมากขึ้นไม่ว่าจะเป็นความแตกต่างทั้งด้านภาษาหรือวัฒนธรรม หากองค์กรมีทีมงานที่มีทักษะในการสื่อสารเชิงธุรกิจที่สามารถอธิบายเรื่องราวหรือกลยุทธ์ทางธุรกิจที่มีความซับซ้อนให้เข้าใจได้ง่ายขึ้น โดยผ่านกระบวนการการสื่อสารรูปแบบที่ใช้ทักษะใหม่ ด้วยการจัดระเบียบความคิดและอธิบายผ่านรูปภาพ (Visual Thinking) เพื่อให้ผู้ได้รับสารนั้นมองเห็นภาพอย่างชัดเจนและเข้าใจอย่างถ่องแท้ในสิ่งที่ผู้ส่งสารต้องการสื่อ ก็จะทำให้เกิดการพัฒนาทั้งในตัวบุคลากรขององค์กรที่จะเป็นปัจจัยหลักของการเจริญเติบโตที่ยั่งยืนของธุรกิจ และยังทำให้เกิดการสื่อสารที่ตรงเป้าหมายและได้ใจความสำคัญให้กับลูกค้าขององค์กร นอกจากนี้การสื่อสารในระหว่างหน่วยงานภายในองค์กรก็เป็นเรื่องที่ท้าทายต่อการเติบโตของธุรกิจในยุคดิจิทัลอีกด้วย

ดร.พัทธนันท์  กล่าวด้วยว่า “Visual Thinking” ไม่ได้มีประโยชน์เพียงแค่การเล่าเรื่องราวคุณค่าที่องค์กรจะนำเสนอให้แก่ลูกค้าเป้าหมายเท่านั้น แต่การสื่อสารในองค์กรก็เป็นเรื่องที่สำคัญ การสื่อสารแนวคิดยุทธวิธีการทำธุรกิจ กลยุทธ์ และสภาพแวดล้อมทางธุรกิจที่ซับซ้อน ต้องอาศัยผู้ที่มีทักษะในการถ่ายทอดเรื่องราว การอธิบาย ผ่านตัวหนังสือนั้นไม่อาจทำให้คนเห็นภาพได้ แต่การอธิบายด้วยภาพนั้นสามารถอธิบายได้มากกว่าล้านคำพูด ดังนั้น จะดีกว่าหรือไม่ถ้าองค์กรของเราสามารถทำได้เพื่อให้ทุกคนเข้าใจแนวทางในการสร้างคุณค่าสู่ลูกค้าเป้าหมายได้อย่างมีประสิทธิภาพ ผู้ที่สนใจสามารถรับข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ โทร : 065-594-9955  Facebook : @DPUPraxis  Line@ :  https://line.me/R/ti/p/@dpupraxis  E-mail :This email address is being protected from spambots. You need JavaScript enabled to view it.

ท่านผู้อ่านคงทราบดีแล้วว่า ตั้งแต่ 1 ธันวาคมเป็นต้นมา กรุงปารีสได้ลุกเป็นไฟ

นับเป็นเวลาเกือบ 4 สัปดาห์ ที่ผู้ประท้วงซึ่งเรียกตัวเองว่า “Gilets Jaunes” หรือ "เสื้อกั๊กเหลือง" ได้ทำการเผารถรา ขว้างปาก้อนหินและเศษเหล็กใส่ตำรวจ ตลอดจนทุบทำลายกระจกและปล้นสะดมธนาคารและร้านรวง และได้ยึดถนนหนทางในหลายย่านไว้เป็นป้อมค่าย โดยเฉพาะอย่างยิ่ง "ประตูชัย" (Arc de Triomphe) สัญลักษณ์สำคัญแห่งหนึ่งของกรุงปารีส ซึ่งตั้งอยู่ ณ Place Charles de Gaulle ตรงด้านปลายสุดของถนน Avenue Champs-Elysees อันมีชื่อเสียง โดยได้ทำการต่อต้านกับตำรวจที่ยิงแก๊สน้ำตาและรำกระบี่กระบองเข้าใส่ฝูงชน อย่างแข็งขันที่สุด และบ้างก็ขีดเขียนพ่นสีไปบนผนังของประตูชัย และทุบทำลายสิ่งของในชั้นใต้ดินจนเสียหายอีกด้วย และการประท้วงก็ได้ลุกลามไปทั่วประเทศ โดยมีคนตายไปแล้ว 4 คนและบาดเจ็บเกือบ 200

ประเมินกันว่าการประท้วงครั้งนี้รุนแรงกว่าทุกครั้งในรอบ 50 ปี ดีกรีของความรุนแรง ไม่ด้อยไปกว่าเหตุการณ์ประท้วงใหญ่ของนักศึกษาและกรรมกรเมื่อคราวพฤษภาคม ปี 2511 ที่เรียกว่าเหตุการณ์ "Mei 1968”

ในครั้งกระโน้น นักศึกษาและประชาชนได้เข้ายึดมหาวิทยาลัยปารีสในเขต Left Bank และกะเทาะเอาแท่งหินที่ปูบนพื้นถนนมาทำป้องค่าย ตลอดจนเผาทำลายรถราและปล้นสะดมร้านรวงอย่างกว้างขวาง ผมเคยอ่านข้อมูลที่ไหนจำไม่ได้นานมาแล้วว่า Daniel Cohn Bendit ผู้นำนักศึกษา ทำนอง เสกสรรค์ ประเสริฐกุล ได้นำม็อบในครั้งนั้นเข้ายึด Arc De Triomphe เป็นที่ปราศรัยและได้ปัสสาวะลงไปในกองไฟแห่งนิรันดร์กาล (Flames of Eternity) ด้วย ซึ่งถ้าใครเคยไปเที่ยวประตูชัยก็จะต้องเห็นคบเพลิงนี้ลุกโชนอยู่ตลอดเวลา ใต้ประตูชัยแห่งนั้น ถือเป็นอนุสาวรีย์แห่งทหารนิรนาม ที่เคยพลีชีพเพื่อสาธารณรัฐฝรั่งเศสอีกด้วย

ขณะที่ผมกำลังเขียนต้นฉบับอยู่นี้ก็ปรากฏว่าประธานาธิบดีฝรั่งเศส Emmanuel Macron ได้ออกมากล่าวขอโทษออกทีวีพร้อมกับมอบแพ็กเกจใหญ่ให้ประชาชนอีก คือการลดภาษีและเพิ่มสวัสดิการบางอย่าง

“Au début, c’ était de la colère contre les impôts et le Premier ministre a réagi en annulant et en supprimant toutes les augmentations prévues pour le début de la nouvelle année. Mais cette colère est plus profonde. J’ estime que cela est juste à bien des égards ... Je vous ai peut-être donné l’ impression que cela m’ était égal, que j’ avais d’ autres priorités. Je sais que j'ai peut-être fâché certains d'entre vous avec mes mots" เขากล่าวตอนหนึ่งเป็นทำนองเสียใจแกมขอโทษ

ก็ต้องรอดูต่อไปว่า ม็อบจะพอใจและหยุดประท้วงหรือไม่ เพราะก่อนหน้านี้ รัฐบาลก็ได้เลื่อนการขึ้นภาษีน้ำมัน ซึ่งเป็นสาเหตุเบื้องต้นแห่งการประท้วง ออกไปอีก 6 เดือน (Six-Month Moratorium) แล้ว การประท้วงก็ไม่ได้แผ่วลงแต่อย่างใด แต่กลับรุนแรงขึ้นทุกวันๆ

ที่หยิบเรื่องนี้ขึ้นมาเขียน เพราะผมอยากชี้ให้ท่านผู้อ่านเห็นความข้อหนึ่งซึ่งผมคิดว่าสำคัญมากและควรนำมาพิจารณาถกเถียงกันอย่างละเอียด แต่ได้ถูกละเลยไป เพราะผู้คนไปให้ความสนใจกับความเป็นไปของม็อบและความรุนแรงต่างๆ เสีย จนกลบความสำคัญของประเด็นนี้ไป

อันที่จริง ปฐมเหตุแห่งความไม่พอใจมันมาจากเรื่องที่รัฐบาลต้องการขึ้นภาษีน้ำมัน และจะทำให้น้ำมันแพงขึ้น แต่เหตุผลเบื้องหลังของการขึ้นในครั้งนี้ มันเป็นเหตุผลที่หวังดีต่อโลกและคนรุ่นหลัง คือขึ้นภาษีน้ำมันเพื่อใช้กลไกตลาดบังคับให้คนลดการใช้น้ำมันลง แล้วหันไปใช้พลังงานสะอาดอย่างอื่นที่รัฐบาลมีมาตรการส่งเสริมสนับสนุนเป็นพิเศษ

เพราะรัฐบาลฝรั่งเศสนั้นถือเอาปัญหาโลกร้อน (Global Warming) เป็นวาระทางการเมืองที่สำคัญมาตั้งนานแล้ว และทำตัวเป็นผู้นำของโลกในเรื่องนี้อยู่ตลอดมา

เรียกว่าเป็นเหตุผล "รักษ์โลก" "เจตนาดี" และ "อยากทำความดี" ว่างั้น

แต่ราษฎรชั้นกลางของฝรั่งเศสเองกลับรับไม่ได้กับการที่ต้องใช้น้ำมันที่กำลังจะแพงขึ้น (เริ่มวันที่ 1 มกราคม 2562) และเริ่มใส่เสื้อกั๊กเหลืองออกมาประท้วงกัน

ตอนแรกรัฐบาลก็ไม่ได้สนใจ (อย่างที่ประธานาธิบดีออกมายอมรับตอนออกทีวีซึ่งผมนำมาแปะไว้ให้อ่านข้างต้นแล้ว) และประธานาธิบดีก็มั่นใจในเจตนาดีของนโยบายนี้ เลยมีข่าวว่าเขากล่าวขึงขังเป็นทำนองว่าจะไม่ยอมถอยเด็ดขาด เพราะมั่นใจในเจตนาดีของนโยบายนี้

"Nous ne changerons rien. Les taxes sur le carburant resteront en place et seront levées en 2019. Les taxes sur les véhicules polluants augmenteront également."

คือนอกจากจะไม่ยอมเปลี่ยนแปลงอะไรแล้ว ยังย้ำว่าจะขึ้นภาษียานพาหนะที่ก่อให้เกิดมลภาวะอีกด้วยในอนาคต

เห็นไหมครับ ว่ามันเป็นการท้าทายม็อบอย่างหนึ่ง

เขายังกล่าวเจตนาดีอีก (ซึ่งต่อไปผมจะแปลเป็นภาษาไทย) ว่า

"ความรับผิดชอบของผมง่ายนิดเดียว คือการันตีว่าราษฎรของเราทุกคน สามารถเข้าถึงพลังงานราคาถูกและสะอาดได้....เราต้องเลิกใช้เชื้อเพลิงฟอสซิล...ภายใน 30 ปี เราต้องเปลี่ยนจากฝรั่งเศสที่ 75% ของการใช้พลังงานมาจากฟอสซิล ไปเป็นฝรั่งเศสที่การผลิตและบริโภคพลังงานจะกลายเป็นพลังงานที่ปราศจากก๊าซคาร์บอนโดยสิ้นเชิงในปี 2050...และเราต้องการที่จะสร้างการขนส่งรูปแบบใหม่...ภายในปี 2030 จำนวนกังหันลมจะเพิ่มขึ้นเป็นสามเท่า แผงพลังแสงอาทิตย์จะเพิ่มขึ้นเป็นสี่เท่า...และเราจะนำกังหันลมไปตั้งอยู่กลางทะเลด้วย...."

ผมว่าถ้าคนชั้นกลางไทยได้ฟังนายกรัฐมนตรีของเรากล่าวทำนองนี้ ผมว่าส่วนใหญ่น่าจะเห็นด้วยและบางส่วนอาจจะชื่นชมด้วยซ้ำว่ามีวิสัยทัศน์ที่ถูกต้อง นอกเสียจากภาคธุรกิจเท่านั้นที่ไม่อยากต้องเสียเงินลงทุนเพิ่มกับการเปลี่ยนแปลงใหญ่อันนี้

แต่นี่ราษฎรฝรั่งเศส ซึ่งถือเป็นประเทศที่ก้าวหน้า มีวัฒนธรรมสูง และชนชั้นผู้นำของพวกเขาก็เคยเป็นตัวตั้งตัวตีในเรื่องนี้แท้ๆ กาลกลับตาลปัตรไปได้

ผมว่ามันน่าคิด เพราะราษฎรกลับไม่ไว้ใจผู้นำของเขาในประเด็นเหล่านี้ และถ้าใครติดตามเรื่องโลกร้อนมาอย่างใกล้ชิด ก็จะพบว่าระยะหลังมานี้ มีคนจำนวนมากขึ้นเรื่อยๆ ที่เริ่มจะไม่เชื่อ หรือไม่ก็มีความคิดทำนองว่า "ถึงโลกจะร้อนขึ้น แล้วไงหล่ะ?" หรือหลายคนที่เชื่อ แต่ก็ไม่เชื่อว่าการหันไปใช้พลังงานลม แสงอาทิตย์ หรือนิวเคลียร์ จะถูกและดีจริงอย่างที่โฆษณากัน

ยิ่งผู้นำอย่างประธานาธิบดีสหรัฐฯ ออกมาตั้งแง่กับเรื่องโลกร้อน ก็ยิ่งทำให้ประเด็นโลกร้อนถูกดิสเครดิตลงไปอีก

คนฉลาดที่คิดได้เอง สืบสวนสอบสวนข้อมูลด้วยเหตุด้วยผล ก็มักจะตั้งข้อสงสัยว่า คาร์บอนไดออกไซด์นั้นเป็นสาเหตุของโรคร้อนจริงหรือ หรือมันเป็นเพียงสมมติฐานเท่านั้น และเราคงตอบให้แน่ใจชัดเจนลงไปไม่ได้ทีเดียว เพราะเราพิสูจน์ไม่ได้ โลกไม่ใช่ห้องทดลอง ที่ควบคุมอะไรได้หมด

และถึงแม้มีคาร์บอนเพิ่มขึ้น แล้วมันไม่ดีจริงหรือ เพราะอย่าลืมว่า พืชทั้งมวลต้องการคาร์บอน ยิ่งคาร์บอนมาก พืชก็จะเจริญเติบโตได้ดี และพื้นที่เขียวชอุ่มย่อมเพิ่มขึ้น

พวกเขายังรู้อีกว่า ในอดีตอันไกลโพ้น โลกก็เคยเผชิญกับภาวะโลกร้อนมาแล้ว และรุนแรงกว่าปัจจุบันหลายเท่าพันทวี บรรพบุรุษของเราก่อนที่จะพัฒนามาเป็น Homo Sapiens ก็เคยผ่านยุคน้ำแข็ง แล้วก็เข้ายุคโลกร้อน น้ำแข็งละลาย แล้วก็กลับเป็นยุคน้ำแข็ง แล้วก็กลับเป็นโลกร้อน กลับไปกลับมาแบบนี้หลายเที่ยว ในทุกๆ 100,000 ปี

พวกเขาจึงคิดว่าโลกร้อนรอบนี้ มันเป็นการเปลี่ยนแปลงของธรรมชาติ ที่ไม่มีวันหยุดนิ่ง สุดที่มนุษย์จะไปก้าวล่วงและมีอิทธิพลต่อ แต่สุดท้ายมนุษย์ก็จะต้องปรับตัวได้อยู่ดี

เพียงแต่มันจะมีคนได้และคนเสีย

เช่นผู้คนในกรุงเทพฯ อาจต้องไร้ที่อยู่อาศัย เพราะถูกน้ำทะเลไหลบ่าขึ้นมาท่วมบ้านเรือนหมด แต่ก็อาจทำให้พวกที่มีบ้านแถวเขาใหญ่ กลายเป็นบ้านชายทะเลไป และทะเลทรายในเมืองจีน ในเอเชียกลาง ในแอฟริกา และในอเมริกาเหนือ ที่เคยแห้งผาก ปลูกอะไรก็ไม่ขึ้น ก็อาจจะกลับกลายเป็นพื้นดินอันอุดมสมบูรณ์ เพิ่มพื้นที่ผลิตอาหารให้โลก เป็นการแก้ปัญหาความอดอยากไปโดยปริยาย เป็นต้น

ไหนจะไซบีเรีย แคนนาดาเหนือ กรีนแลนด์ อลาสก้า ตลอดจนขั้วโลกเหนือขั้วโลกใต้ อาจจะกลายมาเป็นพื้นที่เพาะปลูกเพิ่มเติมเลี้ยงโลกได้ไหม ถ้าน้ำแข็งละลายเพราะอุณหภูมิโลกเพิ่มขึ้น... ฯลฯ แล้วราคาอาหารจะลดลงหรือไม่?

เหล่านี้ ล้วนยังไม่มีคำตอบซึ่งเป็นที่พอใจหรือเป็นข้อยุติ

เพียงแต่เป็นสมมติฐานแทบทั้งสิ้น

และตราบใดที่มันยังไม่มีคำตอบที่น่าพอใจสำหรับราษฎรหมู่มาก ย่อมหวังยากว่าพวกเขาจะต้องมาทนแบบรับภาระต่างๆ เพื่อการนี้

เหมือนกับที่ราษฎรฝรั่งเศสกำลังปฏิเสธภาระที่พวกเขาคิดว่าชนชั้นนำของพวกเขายัดเยียดให้


บทความโดย | ทักษ์ศิล ฉัตรแก้ว

ลักษณะของ SME 4.0 คือ การรวม Transformation กับ Innovation เข้าไว้ด้วยกันและใช้เทคโนโลยีดิจิทัล (Digital Trend) ติดปีกให้กับธุรกิจ คุณสุมาวสี ศาลาสุข ผู้อำนวยการอาวุโสฝ่ายธุรกิจดิจิทัล  ธนาคารพัฒนาวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมแห่งประเทศไทย กล่าวอธิบายถึงการก้าวไปสู่โลกใหม่ของธุรกิจในยุค Digital 4.0 นี้ว่า “สิ่งแรกคือการเริ่มต้นด้วยการทำ Digital Transformation โดยการนำเอาเทคโนโลยีมาใช้ประยุกต์หรือปรับเปลี่ยนกระบวนการทำงาน (Digitization) ช่วยลดต้นทุน ทำให้สะดวกรวดเร็วและตรวจสอบได้ ต่อมาคือการใช้เทคโนโลยีมาช่วยในเรื่องของขั้นตอนการผลิตและการออกแบบ Packaging ไม่ว่าจะเป็น 3D Printing, Visual Marketing หรือ VR และส่วนสุดท้ายคือ การนำเอาการซื้อขายขึ้นไปอยู่ใบแพลตฟอร์มออนไลน์ (Digital Trend) เพิ่มช่องทางการขายที่ควบคู่ไปกับการมีหน้าร้าน สถิติจากกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคมพบว่ามี SME ในประเทศไทยใช้เทคโนโลยีในการบริหารกิจการ 27 เปอร์เซ็นต์ ทั้งนี้ไม่รวมช่องทางโซเชียลมีเดียต่างๆ อย่างกรณีของ Line ที่มีคนไทยใช้งานมากถึง 42 ล้านคนจากจำนวน 46 ล้านคนทั่วประเทศที่มีโทรศัพท์มือถือ รวมไปถึงการใช้ Facebook เป็นช่องทางการตลาดสูงถึง 2 ล้านแอคเคาน์สูงที่สุดในอาเชียน เพราะฉะนั้น หากเราสามารถใช้ Line หรือ Facebook เป็นช่องทางในการสื่อสารระหว่างธุรกิจกับกลุ่มลูกค้าก็จะสามารถเข้าถึงผู้บริโภคจำนวนมหาศาลได้ในเวลาเพียงไม่กี่วินาที”

อีกสิ่งสำคัญในการปรับตัวในภาคธุรกิจให้เข้ากับโลกดิจิทัลในตอนนี้ คือ Digital Innovation ซึ่งเป็นการคิดค้นนวัตกรรมใหม่ๆ ขึ้นมา เริ่มจากกระบวนการวางแผน Business Model Innovation เพื่อสร้างคุณค่าธุรกิจใหม่ร่วมกับลูกค้า Service Innovation การสร้างนวัตกรรมบริการที่เปลี่ยนสินค้าให้เป็นบริการ และ Technology Innovation สร้างนวัตกรรมทางเทคโนโลยีให้กับธุรกิจ สิ่งเหล่านี้ถือเป็นความคิดสร้างสรรค์ในการสร้างรูปแบบทางการทำธุรกิจแนวใหม่ขึ้นมาได้หมด ธุรกิจในลักษณะไหนก็สามารถคิดและเริ่มต้นทำได้โดยไม่จำเป็นต้องเป็น Start up เสมอไป

ปัจจุบัน Digital Trend ที่มีผลต่อภาคธุรกิจแบ่งออกเป็น 3 กลุ่ม กลุ่มแรกคือกลุ่มที่ทำให้เกิดการเชื่อมต่อทั้งจากธุรกิจสู่ลูกค้าหรือระหว่างคู่ค้า (Connectivity) เช่น แอพลิเคชั่น โซเชียลมีเดีย และ IoT ต่อมาคือกลุ่มที่ช่วยในการตัดสินใจ (Insight & Intelligent) อย่างพวก Big Data, AI และ Cloud Computing ทำให้ผู้บริหารสามารถวิเคราะห์แนวโน้มและทิศทางในการวางกลยุทธ์เพื่อนำพาธุรกิจเดินหน้าต่อไปได้อย่างมีประสิทธิภาพ และสุดท้ายคือกลุ่มที่จะทำให้เกิดความปลอดภัยในการใช้ระบบ (Trust Protocol) ตัวอย่างเช่น Distributed Ledger, High Performance Computer และ Blockchain สำหรับ Blockchain ในภาคธุรกิจจะถูกนำมาใช้บริหารจัดการข้อมูลการทำธุรกรรมต่างๆ ระหว่างเครือข่าย ทำให้การติดต่อกับคู่ค้าจำนวนมากทำได้อย่างรวดเร็ว เพราะข้อมูลทุกอย่างจะถูกอัพโหลดเข้าไปอยู่ในระบบ มีการจัดการตามเงื่อนไขเฉพาะที่สร้างขึ้นมาสำหรับ Supplier แต่ละเจ้า ย่นระยะเวลาในการดำเนินงานและเมื่อมีการเปลี่ยนแปลงสัญญาทุกคนในเครือข่ายจะมีโอกาสได้เห็นพร้อมกัน สามารถตรวจสอบได้และปลอดภัยจากการเจาะระบบโดยไม่ได้รับอนุญาต

นอกจากนี้ คุณสุมาวลียังได้สรุปประโยชน์ของ Blockchain ต่อธุรกิจขนาดกลางและย่อยไว้อย่างน่าสนใจว่า

“อย่างแรกเลย Blockchain เปิดโอกาสให้ธุรกิจรายย่อยมีโอกาสเข้าถึงแหล่งเงินทุนมากขึ้นจากเดิม ด้วยระบบการระดมทุนออนไลน์ (Crowdfunding) และในอนาคตสถาบันการเงินก็อาจมีการพัฒนาระบบสินเชื่อให้เข้าถึงคนได้มากที่สุดผ่าน Nano Finance Application ยิ่งไปกว่านั้น Blockchain ยังช่วยประหยัดเวลาในการดำเนินงานตัดขั้นตอนที่ไม่จำเป็นออกไป ลดต้นทุนแรงงาน ลดอัตราการแลกเปลี่ยนในธุรกิจที่มีการติดต่อกับ Supplier หลายเจ้า ที่สำคัญคือความปลอดภัยในการควบคุมข้อมูลต่างๆ ภายในองค์กรโดยมีการกำหนดบทบาทของผู้เข้าถึงเอาไว้ชัดเจน”

จริงๆ แล้ว Blockchain ก็คือ Protocol หนึ่งที่สามารถประยุกต์ใช้ได้หลากหลายและในตอนนี้ภาครัฐก็มีความพยายามในการออกกฏหมายทั้งในส่วน Digital Asset และเร็วๆ นี้อาจจะมีกฏหมายเกี่ยวกับข้อมูลส่วนบุคคลออกมาซึ่งจะไปสอดคล้องกับการใช้งาน Blockchain มากขึ้น เทคโนโลยีดิจิทัลไม่ใช่สิ่งที่เราต้องกลัวหรือเป็นกังวล แต่สิ่งที่เราควรทำคือเรียนรู้และใช้งานสิ่งเหล่านี้ให้เกิดประโยชน์มากที่สุดเพื่อยกระดับธุรกิจของท่านไปสู่โลกยุค Digital 4.0 ด้วยกัน


สามารถรับชมคลิปวิดีโอ หัวข้อ Blockchain and SME 4.0
โดย สุมาวสี ศาลาสุข ผู้อำนวยการอาวุโสฝ่ายธุรกิจดิจิทัล | ธนาคารพัฒนาวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมแห่งประเทศไทย
จากงาน Blockchain Talk ได้ที่นี่


เรื่องโดย : กองบรรณาธิการ

คุณเป็น "นักคิด" หรือ "นักทำ"
ถ้าคุณรู้ คุณะรับมือกับทุกเรื่องที่พุ่งเข้าหาคุณได้อย่างนุมนวล


โปรแกรมการอบรม W.O.R.K. COMMUNICATION 1 วันเต็ม พร้อมการทำแบบประเมินทางจิตวิทยา
เรียนรู้เทคนิคกาวิเคาระห์และวางแผนการสื่อสารตามบุคลิกภาพของคน สร้างเสน่ห์ ของผู้ทำงานด้วยหลักทางจิตวิทยา
สร้างความเข้าใจในหลักการสื่อสารและเพิ่มทักษะในการทำงานร่วมกับผู้อื่น

อบรมในวันที่ 22 มกราคม 2562 ณ The Landmark Hotal Bangkok
เวลา 9.00 - 17.00 น.

สำรองที่นั่งได้ที่ https://goo.gl/KXLyn7


ติดต่อสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ 02 258 4966 / 4977
Email : This email address is being protected from spambots. You need JavaScript enabled to view it.
www.missconsult.com

กล่าวขานกันมากเรื่อง Startup ของประเทศไทยในหลายปีที่ผ่านมา กับความคาดหวังกันในระยะแรกๆ ว่าเราน่าจะมียูนิคอร์นเกิดขึ้นได้ เป็นอีกความคาดหวังของทั้งภาครัฐและเอกชน นำมาซึ่งการลงทรัพยากรครั้งใหญ่ทั้งทุ่มเทและทุ่มทุนกันอย่างอุ่นหนาฝาคั่ง งบประมาณหลั่งไหลตลอดระยะเวลา4-5ปี ที่ผ่านมา และวันนี้ที่เริ่มมีปมคำถามถึงความสำเร็จและแนวทางที่จะทำให้เราไปสู่เป้าหมาย และความท้าทาย ในเรื่องจุดอ่อน จุดแข็ง ความเป็นไปได้ เป็นไปไม่ได้ ที่Startup ไทยเราจะก้าวถึงฝั่งฝัน ประเด็นเหล่านี้ล้วนอยู่ในObservationของ ดร.สันติ กีระนันท์ ผู้ช่วยรัฐมนตรีกระทรวงอุตสาหกรรม ผู้รับโจทย์และภารกิจในการศึกษาและสร้างกระบวนทัศน์เพื่อปิดจุดอ่อนและเปิดโอกาส Startupไทยให้สำเร็จ จึงเป็นที่มาของโครงการ Thailand Inno Space ซึ่งนิตยสาร MBA มีโอกาสได้รับฟังถึงแนวคิดและกระบวนทัศน์เมื่อเร็วๆ นี้

MBA :  แนวคิดริเริ่มของ Thailand Inno Space มีที่มาอย่างไร?

ดร.สันติ ถ้าไม่กล่าวถึง initiative ของท่านรองนายกสมคิด ที่กำหนดโจทย์และแนวทางเรื่องนี้มาให้ แล้วว่ากันแต่เรื่อง rational ของเรื่องนี้เลย คือเรามีข้อสังเกตว่า เวลาพูดเรื่องStartup ใน ประเทศ ไทย เกือบๆ 10 ปีหรือสัก 5ปีมาแล้ว ผมก็อยากรู้ว่าเรื่องนี้ขยับไปถึงไหน ใน observationของผมเอง ผมว่าเรื่องนี้เรายังไม่ได้ขยับไปไหนเลย เรายังอยู่กับที่

MBA : แต่ดูจะขยับในเชิงพีอาร์

ดร.สันติ :  พีอาร์ขยับ มีการกล่าวกันว่าเราถูกรับรู้ว่าเป็น Startup Hub ของอาเซียน ซึ่งผมว่าเรายัง ไม่ใช่ และผมก็ยังไม่ยอมรับ ผมไม่รู้ด้วยซ้ำว่าสำนักไหนจัด แต่ในข้อเท็จจริงเราต้องยอมรับ ว่า เรื่องนี้สิงคโปร์ไปไกลกว่าเรา และผมไม่ได้คิดว่าสิงคโปร์เก่งกว่าเรา แต่ผมคิดว่า สภาพแวดล้อมของเค้า เค้าทำอะไรก็ได้ ไม่ใช่เพราะว่าเค้ามีทรัพยากรเยอะ แต่เค้ามีความ เบ็ดเสร็จซึ่งต่างจากเราที่จะทำอะไรก็จะต้องฟังเสียง stakeholder ส่วนเรื่องที่สองคือ เรื่อง วัตถุประสงค์หรือเป้าหมายว่าจริงๆ แล้วเราต้องการมี Startup หรือเราต้องการมี Innovation กันแน่? ซึ่งเรื่องนี้เป็นสาระสำคัญมาก ผมคิดว่า Startup เป็นแค่เครื่องมือหนึ่งเท่านั้น เป็นมนุษย์คนเดียวก็ยังได้เลย ประเด็นคืออยู่ที่ การcarry innovation เพื่อความก้าวหน้าในระบบเศรษฐกิจ ดังนั้น ผมคิดว่าถ้าจะเกากันให้ถูกที่คันเลย เราควรสร้าง ระบบนิเวศน์ที่ใช่ และเอื้อต่อการได้มาซึ่งนวัตกรรม ส่วนที่สร้างกันขึ้นมาทั้งหลายทั้งปวง ผมว่าไม่ได้สร้างให้เกิดStartup แต่เราต้องการระบบนิเวศน์ที่เอื้ออำนวยแก่การสร้าง นวัตกรรมให้เกิดขึ้นในประเทศในท้ายที่สุด ดังนั้นโจทย์ของผมจึงไม่ใช่เรื่อง Startup โดยตรง แต่โจทย์ของผมคือ ทำอย่างไรให้ประเทศนี้ ในที่สุดแล้วเป็นประเทศที่สามารถ สร้างนวัตกรรมให้เกิดขึ้นได้

MBA : แล้วอาจารย์กำหนดแนวทางโมเดลไว้อย่างไร?

ดร.สันติ : ผมจำลองแกนสองแกน โดยแกนนอนเป็นประเภทของเทคโนโลยี ซึ่งผมใช้คำว่า “ระดับ ของเทคโนโลยี” ตั้งแต่กลุ่มที่ไม่จำเป็นต้องอาศัยเทคโนโลยีมากมาย และก็กลุ่มที่เป็น เทคโนโลยีกลางๆ จนถึงพวกที่เป็น deep technology ส่วนแกนตั้ง เป็นเรื่องการลงทุนเพื่อ สร้าง technology ซึ่งผมแบ่ง stage ของการลงทุนตั้งแต่เริ่มมีไอเดียเลยคือเราเรียกว่า pre- seed และต่อมาก็ระดับเอาไอเดียมาทำให้เกิดรูปธรรมมากขึ้น concrete ขึ้น ซึ่งก็อาจจะ เรียกว่า seed จาก seed ถ้าเกิดมันทำอะไรจนกระทั่งเริ่มเห็นความสำเร็จ ผมว่ามันก็ควรจะ ไปร่วม อยู่กับแถวซีรี่ส์เอ ซีรี่ส์บี จนกระทั้งจะไปซีรี่ส์อะไรก็ตาม ดังนั้นแกนตั้งของผมก็คือ stage ของ investment หรือว่า stage ของ development พอเขียนสองแกนนี้ cross กัน สิ่งที่ปรากฏให้เห็นก็คือว่า ปัจจุบันประเทศไทยเราวุ่นวายอยู่กับการกับการคาดหวังกับ Round A และ Go IPO ในระดับ non-tech และ tech สีเขียวอ่อนกับสีเขียวแก่ แต่ investor ไม่ว่าจะเป็นภาครัฐหรือเอกชน ทุกวันนี้แทบไม่กล้าลง seed เลย ส่วนในระดับ pre-seed ถามว่ากล้าลงไหม? คำตอบคือ ไม่กล้า

แต่ด้วยเหตุผลที่ต่างกัน รัฐไม่กล้าลง seed หรือ pre-seed เพราะเหตุผลของแนวคิดดั้งเดิม เลยคือทรัพย์สินของรัฐ ต้องตกน้ำไม่ไหล ตกไฟไม่ไหม้ หายไม่ได้ เพราะฉะนั้นลงอะไรที่ เสี่ยงมี down side มากๆ ก็ลงไม่ได้ เพราะถ้าลงก็จะเป็นความผิดของผู้กระทำได้

สำหรับภาคเอกชน พูดกันอย่างยุติธรรม หรือ to be fair การจะinvest ในอะไรก็ตาม ก็ย่อม มุ่งหวังผลสำเร็จมากกว่าจะเป็นผู้เติมเต็มให้กับระบบนิเวศน์ การจะลงในระดับseed และ pre-seed ไม่มีทางเลยที่เอกชนทั่วไปจะลง ประสบการณ์นี้ไม่ใช่แค่ตอนทำเรื่อง Startup เรื่อง Innovation เมื่อเกือบ 20ปีที่แล้วตอนทำตราสารหนี้ ก็เหมือนกันเลย

ที่ว่าตลาดตราสารหนี้ไม่ take off ตอนนั้น เพราะ mentality ของรัฐคือ สำนักงานบริหารหนี้ สาธารณะไม่มีหน้าที่ในการพัฒนาตลาดตราสารหนี้ สำนักบริหารหนี้ฯ ตอนเริ่มแรกขึ้นมา แยกจากบัญชีกลาง มีภาระอย่างเดียวคือ financing ให้กับภาครัฐ และ financing โดยที่ mission ของเค้าคือเมื่อไหร่ก็ตามที่งบประมาณขาดทุน เค้ามีหน้าที่หาเงินเติมให้เต็ม เพราะฉะนั้นถ้างบประมาณสมดุลหรืองบประมาณเกินดุลเค้าจะไม่ทำอะไรเลย ทีนี้ mentality แบบนั้นในการที่เค้าหาเงินจากตลาดตราสารหนี้ ตลาดตราสารหนี้ก็เป็นวงแคบๆ ตื้นๆ แล้ว ถ้าจะหาเงินด้วยการออกธนบัตรทีก็ไม่ใช่เรื่องง่าย ภาคเอกชนยิ่งไม่ต้องคิดเลยออกตราสาร หนี้ไม่ได้เลย เพราะภาคเอกชนตอนนั้นไม่มี benchmark จากภาครัฐว่า risk free อยู่ ตรงไหน เมื่อมันไม่เห็น risk free ภาคเอกชน pricing ไม่ถูก มัน price ไม่ได้เลยว่า ดอกเบี้ยจะให้เท่าไหร่ พอไปบอกภาครัฐว่าภาครัฐช่วยออกตราสารหนี้แม้ยามที่ภาครัฐไม่มี ความต้องการเงินก็ตาม ช่วยออกธนบัตรเพื่อหล่อเลี้ยงตลาด ภาครัฐบอกว่านี่ไม่ใช่หน้าที่ จะทำไงได้ ก็เข้าใจได้อยู่เพราะว่าการดำเนินงานก็จะกลายเป็น Negative Carry จนมาถึง เวลาหนึ่งที่ run inefficive budget ตลอด แล้วภาครัฐก็เริ่มเข้าใจแล้วว่าปล่อยไปอย่างนี้ ไม่ได้ แต่ว่ามันเป็น inefficive budget ยังไงก็ต้องออกเพื่อหล่อเลี้ยงตลาด ออกเพื่อสร้าง benchmark มาตลอด mentality จึงเปลี่ยน อันนี้คือเมื่อประมาณ 10 กว่าปีให้หลังนี้เอง ตรา สารหนี้ไทย take off เลย ก็จะเห็นว่าภาครัฐทำในสิ่งที่ภาคเอกชนทำไม่ได้ เมื่อทำแล้วจน มันเกิดแล้วจนมัน take off ไม่เป็นไรแล้ว ภาคเอกชนสามารถ carry concept ลักษณะนี้ก็สามารถประยุกต์ให้เกิดไปได้ทุกเรื่อง

 

MBA : หมายความว่ารอบนี้ Thailand Inno Space จะเน้นไปที่ ระดับ pre-seed เลย?

ดร.สันติ : ถูกต้อง ไม่อย่างนั้นภาครัฐจะทำยังไงเมื่อภาคเอกชนไม่ลงทุนในระดับ pre-seed เลย ซึ่งหมายความว่าinnovation มันเกิดไม่ได้เลยถ้าไม่ผ่านขั้นนี้ไป ผมคิดว่าภาครัฐจะต้อง step-in แต่ต้อง step-in อย่างระมัดระวัง พอมันเทคออฟ มันก็ไปของมันละ โมเดลแบบนี้ ประเทศอิสราเอลประสบความสำเร็จเรื่องนี้มากๆ ภาครัฐเข้ามาเพื่อกระตุ้นเพื่อให้เกิด ความสำเร็จในArea แถวๆ นี้แต่เค้ามีความง่ายกว่าเราตรงที่เค้ามี 8 ล้านกว่าคนและเป็น mathematician กันหมดเลย มันถูกปลูกฝังมาตั้งแต่เด็ก ปลูกความคิดแบบthink out of the box มาตั้งแต่เด็ก

MBA :  อย่าง America ไม่ได้เป็นเรื่องการให้เงิน แต่เป็นเรื่อง licensing technology ให้ซึ่งสำคัญ

ดร.สันติ ก็ใช่ อย่างกรณี อินเทอร์เน็ตเกิดขึ้นมาเพราะว่าเป็น technologyของ ทหาร หลังจากนั้น ค่อย publicize ออกมาใช้ในสาธารณะ ก็จะเห็นว่าทุกอย่างต้องเกิดมาจากภาครัฐ ที่ทำหน้าที่ ทำสิ่งที่ภาคเอกชนทำไม่ได้ เพราะเอกชนคิดว่าทำแล้วไม่คุ้มค่ากับการลงทุน ซึ่งที่จริง แนวคิดนี้ รัฐทุกรัฐต้องมีความเข้าใจ ก็จะเห็นว่ารัฐไทยเองก็ไม่ใช่ว่าจะไม่เข้าใจ รัฐไทยใน เวลากระตุ้นเศรษฐกิจ ก็มี inject เข้าไปเพื่อที่จะสร้าง consumptionให้เกิดขึ้นในภาคเอกชน รัฐ inject ตัว G เข้าไปเป็น Government expenditure เพื่อไปกระตุ้นให้มี กระแสเงิน หมุนเวียน เพื่อให้ multiplier ทำงาน หลังจากนั้นตัว I ที่เป็นเอกชน และ X ก็จะ generate ตาม เพราะฉะนั้นภาครัฐเข้าใจบทบาทหน้าที่ตัวเอง เพียงแต่จะทำยังไงเท่านั้นเองเพื่อให้กลไกมันไปได้ นั่นคือเรื่องแรก

ส่วนที่คุยกันว่า degree ของ technology อยู่ตรงไหน ผมว่า 80-90% ของStartup เราเป็น การสร้าง App เป็นส่วนใหญ่ แทบทั้งนั้น และค่อนไปทางสายฟินเทคแทบทั้งนั้น ซึ่งฟินเทค เหล่านั้นซึ่งผมดูทั้งหมดแล้ว ไม่ว่าจะเป็น insurance หรืออะไรก็ตามที่อยู่ในด้าน financial sector ผมนับเป็นฟินเทคทั้งสิ้น คำถามในใจคือมันใหม่จริงหรือ? ผมเริ่มไม่มั่นใจว่ามันใหม่ หลายอย่างในต่างประเทศเค้ามีมาก่อนแล้วและ นานแล้วด้วย บางกรณีมีมานานกว่า 10ปี แล้ว ดังนั้น ประเด็นมันจึงน่าจะอยู่ที่เรื่องระดับของเทคโนโลยีที่มันกระจุกอยู่ในฝั่งซ้ายมาก และมันไม่ไปทางขวาเลย ถึงได้มาถึงจุดนี้ว่า ที่จริงแล้วการจะผลักดันให้เกิด Startup ก็ดี หรือส่งเสริมเศรษฐกิจนิเวศน์ใหม่ก็ดี ประเด็นมันจึงน่าจะเป็นเรื่อง Innovation ซึ่งเราไม่ได้ ลงในdeep tech กันจริงๆ เลย และไม่ให้น้ำหนักกับการลงในระดับ pre-seed และ seed อีก ด้วย

MBA : แล้ว ทิศทางหรือ focus จะลงไปในภาคส่วนไหนเป็นหลักหรือไม่?

ดร.สันติ : มองข้อเท็จจริงประเทศไทยเรา จะพบว่ามีอยู่สองเบสเป็นฐานใหญ่คือ ฐานเกษตร (Agricultural Base) กับ ฐานอุตสาหกรรม (Industrial base) เมื่อต้นปีเคยมีพรรคการเมือง หนึ่งในชวนผมไปเข้าพรรคอยากให้ไปช่วย refine นโยบายพรรค โดยประเด็นของเค้ามอง ว่า industrial base ของไทยเราไปไหนไม่รอดแล้ว พอวันนี้ที่ผมได้เข้ามาอยู่ในกระทรวง อุตสาหกรรม ทำให้ผมเห็นตรงข้ามเพราะว่ามันไม่จริง โดยผมเห็นว่า industrial base ของ ไทยยังสามารถไปได้อีกไกล แต่จะต้อง break paradigm คือไม่สามารถทำอะไรแบบเดิมต่อไป เพราะว่าวันนี้ productivity เราต่ำ efficiency เราก็ไม่สูง แล้วสาเหตุเพราะอะไร? คำตอบคือ plug innovation ของเราไม่ทันคนอื่น เราใช้ทรัพยากรอย่างสิ้นเปลือง เรา สร้างผลผลิตออกมาโดย take away future resource มาใช้ในปัจจุบันอย่างเยอะ ถ้าเราจะ พัฒนาภาคอุตสาหกรรมของเราให้ไปแบบแรงๆ เร็วๆ กว่านี้ ในกระบวนทัศน์เดิม เราก็จะ สร้างปัญหาให้กับคนรุ่นหลังต่อไปในอนาคตอย่างมาก เพราะเราไม่ได้ใช้นวัตกรรมใดๆ เลย เพื่อทำให้เกิดการประหยัดในทรัพยากร หรือเพื่อทำให้ประสิทธิภาพเราสูง ผมจึงมั่นใจ อย่างยิ่งว่า นวัตกรรมเท่านั้นคือคำตอบ ซึ่งเราขาดด้านขวาของ technology คือด้านที่เป็น deep technology ตอนนี้กระแสส่วนใหญ่จะพูดไปในเรื่อง AI (Artificial Intelligence) พูด เรื่อง Data Analytics กันแล้วซึ่งผมมองว่า เทคโนโลยีเหล่านั้นเป็นแค่ enablerที่เข้าไปเป็น supporter ในทุกๆ technology แต่เราต้องใส่เทคโนโลยีที่เข้ามาเป็น fundamental ที่ทำให้เราไปต่อให้ได้ ถ้าไม่มีสิ่งนี้ เราจะไม่สามารถสร้างประสิทธิภาพได้ แน่นอนว่า เรื่อง AI เรื่อง IOT ก็ต้องพัฒนา แต่Deep Tech สำหรับกลุ่ม Real sector ที่จะมายกระดับภาค เกษตรกรรมและอุตสาหกรรม จำเป็นที่สุด ทุกวันนี้ ประชากรไทยมากกว่าครึ่งประเทศยัง เป็นเกษตรกร รายได้ยังไม่สม่ำเสมอ เรามีเป้าหมายที่ต้องการลดความเหลื่อมล้ำ ซึ่งเรา อาศัย deep tech เข้ามาเป็นเครื่องมือได้

MBA : ขออาจารย์ช่วยขยายแนวคิดกรณีตัวอย่างหรือแนวทางที่เป็นเทคโนโลยี deep tech

ดร.สันติ : อย่างแรกคือ Agri-tech แต่ไม่ใช่ว่าจะต้องไปในแนวเฉพาะ breeding ไม่ว่าจะสัตว์หรือพืช เท่านั้น แต่อันนี้ ต้อง Bio-engineering/ Bio-economy / Bio-base ทั้งสายจนกระทั่งถึง Logistic ที่มาสนับสนุนเรื่อง Bio เพราะฉะนั้นมันก็จะเกี่ยวกับ engineering ด้วยคือ deep tech บน value chain หรือ sky chain คือยาวมากกับคำถามที่ผมว่าคาใจคนหลายคน ทีเดียว

สมัยสอนหนังสือใหม่ๆ ที่จุฬาฯ เมื่อ 30ปีก่อน ต้องยอมรับว่า จุฬาฯ ได้รับการจัดอันดับว่าเป็น มหาวิทยาลัยอันดับ1ของประเทศไทย ผมสอนอยู่ผมก็ภูมิใจ แต่ก็เคยแอบสงสัยและถาม ตัวเองว่า ทำไมมหาวิทยาลัยอันดับหนึ่งของไทยไม่ใช่มหาวิทยาลัยด้านเกษตร หรือ เกษตรศาสตร์ เหตุผลที่สงสัยเพราะไทยเป็นประเทศเกษตรกรรม แต่ตลอดเวลาที่ผ่านมา เราขายข้าวเป็นตัน ขายมันสำปะหลังเป็นตัน เราขายผลผลิตทางการเกษตร เราขายที่ Primary stage ของมันทั้งสิ้น เราไม่ได้เพิ่มมูลค่าใดๆ ลงไปในผลผลิตทางการเกษตรของเรา และนี่ก็เป็นคำถามที่คาใจในพวกเรามาหลายสิบปี ดังนั้นเวลาพูดที่ระบบการปรับเปลี่ยน เศรษฐกิจของประเทศ การ Transform การปฏิรูป ผมคิดว่าเราต้องตอบโจทย์ในเรื่อง นวัตกรรมทางด้านการเกษตร หรืออีกนัยคือนวัตกรรมด้านอุตสาหกรรมภาคเกษตร

ทุกวันนี้ เทคโนโลยีสมาร์ตฟาร์ม หรือ iOT มีการนำเข้ามาใช้แล้ว

แล้วถามว่า แล้ว iOT ตอบโจทย์มั้ย? Information science ตอบหรือไม่? แน่นอนตอบ เพราะให้สายพันธุ์ดี และเรายังต้องสามารถต่อท่อสายส่งถึงตลาดและความต้องการ เรา ต้องรู้ดีมาน ดังนั้น information science หรือ data analysis เรื่อง big data ซึ่งเป็น international big data ที่จะเปิดทางให้เราเล่นกับตลาดโลก ซึ่งในระดับนั้น เราถึงจะสามารถรู้ได้ถึงความต้องการในโลกและสามารถทำการประเมินหรือคาดการณ์ ซึ่งจะมีผล ต่อการเกษตรในเรื่องการผลิตอย่างไรให้ตอบโจทย์ สิ่งเหล่านี้ จะช่วยให้เรา control supply ไม่ให้ผลผลิตมากเกินไป ซึ่งหมายถึงราคาที่ตกต่ำ และการขาดทุนของเกษตรกร อันนำมาซึ่งจุดจบและความยากจนอยู่ดี

เรื่องเหล่านี้เป็นเรื่องของ Value chain เรื่อง Supply chain ที่อยู่บนเรื่อง Innovation ตลอด สาย Thailand Inno Space เราจะทำเรื่องนี้ในภาพใหญ่ และมุ่งเน้นไปที่นวัตกรรมที่ เกี่ยวข้องกับประเทศไทย

ส่วนArea ที่ 2 จะเป็นเรื่อง Wellness เป็นเรื่องHealth เพราะในอาเซียนถ้าพูดเรื่อง ความก้าวหน้าทางการแพทย์ ไทยเรากับสิงคโปร์ แข่งกันอยู่สองประเทศ ที่หนึ่งกับที่สอง ตลอดมาการลงทุนในภาคส่วนนี้ของเราเริ่มใหญ่ขึ้น beatกับสิงคโปร์มาตลอด หมอไทย เก่งๆ เต็มไปหมด แต่ไหนแต่ไหนนักเรียนแพทย์ของเราคือเด็กหัวกะทิจากทุกโรงเรียนทั้งแถวหน้าในกรุงเทพและที่ 1 จากทั่วประเทศ ไม่ว่าจะโรงเรียนสวนกุหลาบ เตรียมอุดมฯ คะเนว่าประมาณ 20% ของเด็กเก่งที่สุดเข้าคณะแพทย์หมดทุกมหาลัย 30-40% ของเตรียม อุดมเข้าคณะแพทย์หมด เพราะฉะนั้น Health Education เป็นเรื่องสอง

แต่ว่าไม่ว่าจะ Health หรือว่าจะเป็น Agriculture ล้วนแล้วแต่เป็นเรื่องของ bio base ทั้งสิ้น เพราะฉะนั้นเรื่อง deep tech ผมคิดว่าต้องมุ่งไปด้านนี้โดยที่มี engineering science เป็น tool ที่จะช่วยให้เราไปให้ได้ อันนี้เป็นแนวคิดเริ่มต้นของ Thailand Inno Space ในมิติเพื่อ การเติมเต็มระบบนิเวศน์ที่เราไม่มี ที่เราขาดหายไป ดังนั้น Risky Project ต้องเกิดขึ้นแล้ว

MBA : จากที่กล่าวว่าแสดงว่า เราต้องปรับกระบวนทัศน์ หรือparadigm หลายมิติมาก

ดร.สันติ : แน่นอน และเราไม่ได้ทำงานกระทรวงเดี๋ยว เราจะทำงานร่วมกับกระทรวงวิทย์ฯ ร่วมกับ สวทช. เรามี Agree กันเพราะเมื่อไปนั่งคุยทำความเข้าใจกันแล้ว เรารู้ว่าเราทำเรื่อง เดียวกัน เราจึงจับมือกัน เพราะฉะนั้นในระดับกระทรวงวิทย์ฯ กับกระทรวงอุตสาหกรรมเป็น อย่างน้อยที่เริ่มต้นทำงานภาคเกษตร เราจะค่อยๆ กระจายไปเรื่อยๆ เพราะมันคือประเทศไทย ทั้งประเทศ เราต้องร่วมมือกัน

MBA : แล้วรูปธรรมจะออกมาในแนวไหน ต้องจัดตั้งหน่วยงานใหม่ หรือต้องแก้กฎหมายอะไร ใหม่หรือไม่?

ดร.สันติ : แก้กฎหมายผมคงไม่ เพื่อลดขั้นตอนและขจัดความซับซ้อน เนื่องจาก สวทช. ได้ขอมติ ครม. เพื่อให้ ครม. รับรองไปแล้วเพื่อจะตั้ง บริษัท โฮลดิ้ง (Holding company) ขึ้นมาเพื่อที่จะ จัดตั้งศูนย์วิจัย (Research Center) ในต่างประเทศ เพื่อจะไป ride-on knowledge เพื่อให้ ได้ความรู้มาเลย ส่วน Thailand Inno Space เองก็มีวัตถุประสงค์การจัดตั้งเพื่อที่จะเอาไป scout startup จากต่างประเทศเข้ามา อย่างเช่นอิสราเอล หรืออื่นๆ เลยเป็นว่าเรากำลัง ทำงาน complies กัน ผมกับอาจารย์ณรงค์ เลยคิดเห็นเหมือนกันว่า เราต้องทำงานด้วยกัน โดยขั้นต่อไป จึงเป็นเรื่องรูปแบบและโครงสร้างขององค์กรที่จะเกิดขึ้น ซึ่งเราอยากให้เป็นรูปบริษัทจำกัด เพราะต้องการให้ทำงานแบบเอกชน และไม่ใช้ทรัพยากรของภาครัฐในการลงทุน เพราะไม่อยากจะไปติดระเบียบของ สตง. (สำนักงานตรวจเงินแผ่นดิน) และต้องกลับไปสู่แนวคิดเดิมคือ ตกน้ำไม่ไหลตกไฟไม่ไหม้ ก็จะทำให้เราไม่สามารถลงไปสู่ ระดับ seed และ pre-seed ได้ ส่วนภาคเอกชนก็จะติดในเรื่อง Maximize profit ดังนั้นเมื่อ เป้าหมายสำคัญที่เราต้องการทำเพื่อ serve public interest หรือผลประโยชน์ของส่วนรวม โดยที่รัฐจะสามารถใส่นโยบายเข้าไปได้ด้วย โดยรัฐเป็นบอร์ด แต่บริหารภายในรูปแบบ เอกชน เลยจะยกเคส Tris rating ที่เคยประสบความสำเร็จในการจัดโครงสร้างบริษัทฯ ลักษณะนี้เมื่อ 25 ปีก่อน และสำเร็จจนทุกวันนี้ โดยครั้งนี้รัฐถือหุ้น 5% และไประดมเอกชน มาอีก 95% โดยตั้งแต่วันนั้นจนถึงวันนี้ spirit ของTris ก็คือหากำไร แต่ทำเพื่อประโยชน์ ของส่วนรวม ประธานบอร์ดของ Tris โดยส่วนใหญ่ก็มาจากไม่คลัง ก็แบงก์ชาติ Tris มีเก้าอี้ ของข้าราชการผู้ทรงคุณวุฒิ เพื่อconvey message จากภาครัฐ และพอดู structure ของผู้ ถือหุ้นจากภาคเอกชน ซึ่งตอนนี้ เอกชนที่ยินดีจะช่วยเหลือภาครัฐก็มี ภายใต้การออกแบบ โครงสร้างผู้ถือหุ้นที่เป็น การรวมตัวเพื่อสร้างประโยชน์ภายใต้การดำเนินงานแบบเอกชน แต่ไม่ maximize profit แล้วก็รับนโยบายรัฐเพื่อทำสิ่งที่ภาคเอกชนไม่ทำ คิดว่าแนวทางนี้ ไปได้

MBA : แล้วบริษัทนี้อาจารย์จะ Financing ยังไง?

ดร.สันติ : ตอนนี้มีภาคเอกชนที่แสดงความสนใจอยู่หลายองค์กรที่ได้เริ่มมีการพูดคุย คือ องค์กรนี้จะเป็นองค์กรที่ neutral และรวมคนเก่งจากหลายๆ ที่เข้ามารวมกันบน เป้าหมายไม่เพียงเป็น incubator,investor หรือ accelelator แต่จะเป็น fullfiller ที่จะเติมเต็มในสิ่งที่ไม่มีใครทำ เป็น facilitator เป็น enabler และเป้าหมายที่ strong มากคือต้องการ scout innovation carrier จากต่างประเทศ และตอนนี้เราเล็งไปที่ อิสราเอล, ฮ่องกง,ไต้หวัน, ญี่ปุ่น และสิงคโปร์

MBA : แล้วเรื่อง ขนาด size?

ดร.สันติ : ไม่ต่ำกว่า 400 - 500 ล้าน ผมไม่ขอเงินรัฐเลย ยิ่งตอนนี้ผม Subject through พิธีการทางรัฐแล้วซึ่งก็จะทำอะไรที่ออกนอกกรอบไม่ได้ แบบนี้Project หนึ่งจะ up through กี่ล้านก็ได้ เพราะมันขึ้นอยู่กับ Degree ของ technology ยิ่ง Deep tech เท่าไหร่ ยิ่งต้องการเงินมาก ที่ไม่ค่อย deep เท่าไหร่ เงินไม่กี่ล้านก็เป็น development แล้ว

MBA : กำหนด exit planไว้หรือสำหรับ Thailand Inno Space และต้อง มีกำไรหรือไม่?

ดร.สันติ : แน่นอน ในที่สุดแล้วเราก็ต้อง exit ไม่ว่าโจทย์ของเราคือเป็น public policy เป็นdebt maker เป็น executor หรือยังไงก็ตาม ก็เพื่อให้ได้มาซึ่ง innovation และเป็น open innovation เพื่อไปตอบโจทย์กับผู้ประกอบการอีกระดับหนึ่งคือ SME ใน ระดับ N พวกนี้ต้องโตและ need research and development แต่ไม่มีแรงทำเอง เพราะฉะนั้นการทำ innovation ไม่จำเป็นต้องทำ free domain แต่ว่าเป็น licensing ที่ราคา afforable ซึ่งmodel นี้ไม่ได้ใหม่ แต่เป็น model ที่มีอยู่แล้วนำมา implement เพราะประเด็นคือ ไม่มีใครทำจริงจัง ซึ่งThailand Inno Space จะทำจริงจัง

MBA : แล้ว Application จะยื่นได้เมื่อไหร่?

ดร.สันติ ตั้งใจว่าหลังจากยื่นเรื่องของบริษัทจะรับทันที ช่วงต้นปี หมายความว่าตอนนี้ใคร มีไอเดียก็มายื่นได้เลย เพราะเป็น pre-seed ผมคิดว่ายังไม่จำเป็นว่าจะต้องตั้งนิติบุคคลก่อน แต่ต้องมี contract ระหว่างกัน

MBA : จะเป็น Grant หรือ Equity?

ดร.สันติ : อยากให้เป็น equity เพราะผมเป็นคนไฟแนนซ์ ผมเชื่อเรื่อง agency problem เงิน ที่ให้เปล่ามันเป็น free lunch ปัญหาเกิดแน่ เราตามดูไม่ได้ทั้งหมด ในตลาดตอนนี้ หลายโปรแกรมใจป้ำมาก มีเงินให้เปล่า ให้ไปเลย มองว่าถ้า grant ไปเลยจะ ควบคุมไม่ได้ เราจะรู้ได้ยังไงว่าเอาเงินไปทำอะไร ตรงวัตถุประสงค์หรือไม่? ผมคิดว่า มีสองทางคือ ถ้าไม่เป็น equity ก็เป็น debt และอีกอย่างคือเราไม่ได้คิดจะให้แค่เงิน เราไม่ได้ทำงานคนเดียว เราพร้อมจะเป็นพันธมิตร ตอนนี้ เรามี Science Park อยู่หลายแห่ง อย่างเชียงใหม่ก็มี STEP น่าอยู่มาก เป็นทั้ง co-working space หรือที่ระยองก็มี RAIST (Rayong Advanced Institute of Science and Technology) ที่พูดได้ว่าเป็นScience engineer ระดับtop ของประเทศไทย ซึ่งต่อไปก็จะมาร่วมกัน provide facilities ในเรื่อง ของการดูแล Startup ในโครงการ

MBA : ความมั่นใจว่า Thailand Inno Space จะสำเร็จและตอบโจทย์ของStartup มีแค่ไหน?

ดร.สันติ : ถ้าพูดจริงๆ แล้วเนื่องจาก mission ผมมีอย่างเดียวคือต้องการ innovation เราจะ ใส่ทรัพยากรที่เรามี และใส่เต็มที่ ผมจะอำนวยในด้านสภาพแวดล้อมให้ หน้าที่คุณ คือใช้แรงบันดาลใจ ใช้creativity และถ้าเรามีสภาพแวดล้อมโดยที่เอาอิสราเอลมา เอาไต้หวันมา ผมเชื่อว่าไปได้ไกล

MBA : ความพร้อมของ Thailand Inno Space ที่จะเปิดตัว

ดร.สันติ : ในด้าน Concept ชัดเจนแล้ว หน้าที่ผมคือขายให้กับรัฐบาลให้เห็นชัด ในด้าน พันธมิตรก็ได้มีการพูดคุยกันแล้ว และคาดว่าหากไม่มีอะไรเปลี่ยนแปลงก็จะผลักดัน ให้เกิดภายในปีนี้ ภายใต้รัฐบาลนี้


เรื่อง : กองบรรณาธิการ
ภาพ : สาธิดา พิชณุษากร

X

Right Click

No right click