ธนาคารกสิกรไทย เปิดยุทธศาสตร์สร้างการเติบโตธุรกิจในระยะยาว ประกาศแยก “บริษัท กสิกร อินเวสเจอร์ จำกัด” หรือ เคไอวี (KASIKORN INVESTURE: KIV) และ พัชร สมะลาภา เข้าดำรงตำแหน่ง Group Chairman ของ เคไอวี เพิ่มความคล่องตัวในการรุกธุรกิจให้บริการการเงินกับลูกค้ารายย่อย พร้อมใช้ศักยภาพของพันธมิตรร่วมกับโครงสร้างพื้นฐานที่มีอยู่ของธนาคาร เพื่อให้สามารถลดต้นทุนธุรกิจ และลดต้นทุนความเสี่ยงด้านเครดิต ปัจจุบัน บริษัทที่อยู่ในโครงสร้างของเคไอวี ประกอบด้วย 14 บริษัท มีมูลค่าการลงทุนรวมประมาณ 30,000 ล้านบาท

นางสาวขัตติยา อินทรวิชัย ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร ธนาคารกสิกรไทย กล่าวว่า บริษัท กสิกร อินเวสเจอร์ จำกัด หรือ เคไอวี เป็นบริษัทโฮลดิ้งภายใต้กลุ่มธุรกิจทางการเงินของธนาคารกสิกรไทย เพื่อลงทุนในบริษัทร่วมกับพันธมิตร สอดคล้องกับยุทธศาสตร์ของธนาคารที่มุ่งเพิ่มอำนาจให้ทุกชีวิตและธุรกิจของลูกค้า (Empower Every Customer’s Life and Business) โดยเคไอวีจะมีบทบาทสำคัญในการเสริมความแข็งแกร่งของธนาคารและพันธมิตร เพื่อสร้างรายได้บนความเสี่ยงที่คุ้มค่า ด้วยต้นทุนที่เหมาะสม

“ธนาคารได้ปรับรูปแบบการบริหารจัดการของเคไอวี โดยมีคุณพัชร สมะลาภา เข้าดำรงตำแหน่ง Group Chairman ของ เคไอวี และแยกเคไอวีออกมา เพื่อทำให้มีความยืดหยุ่นและคล่องตัวในการดำเนินธุรกิจ ขยายความร่วมมือกับพันธมิตร ภายใต้การใช้ศักยภาพที่มีอยู่ของธนาคารให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น ธนาคารมั่นใจว่า การปรับครั้งนี้จะเพิ่มขีดความสามารถการแข่งขันในการให้บริการการเงินกับกลุ่มลูกค้ารายย่อย และสร้างรายได้ใหม่ให้กับธนาคาร ทำให้ธนาคารมีกำไรทางธุรกิจที่สูงกว่าธนาคารบริหารจัดการเอง รวมทั้งทำให้ธนาคารมีการเติบโตต่อเนื่องอย่างแข็งแกร่งและยั่งยืน”

นายพัชร สมะลาภา Group Chairman ของ บริษัท กสิกร อินเวสเจอร์ จำกัด กล่าวว่า เป้าหมายของ เคไอวี คือ เพิ่มความสามารถในการให้บริการการเงินกับกลุ่มลูกค้ารายย่อย ซึ่งมีโจทย์สำคัญคือ ต้องลดต้นทุนการดำเนินงาน (Operating Cost) และลดต้นทุนความเสี่ยงจากการให้สินเชื่อ (Credit Cost) เพื่อให้ยังคงความสามารถในการสร้างกำไรของธุรกิจ การดำเนินงานของเคไอวีอาศัยความเชี่ยวชาญของพันธมิตรในแต่ละด้าน รวมกับการใช้โครงสร้างและทรัพยากรของธนาคารกสิกรไทยที่มีอยู่แล้ว เช่น จำนวนลูกค้ากว่า 20 ล้านราย K PLUS เงินทุน ข้อมูล ไอที และสาขา เป็นต้น ซึ่งทำให้เคไอวีมีความเข้าใจลูกค้าที่หลากหลายมากยิ่งขึ้น สามารถให้บริการการเงินที่ครอบคลุมความต้องการของกลุ่มครัวเรือนรายได้น้อย เจ้าของร้านค้ารายเล็ก กลุ่มที่ไม่มีรายได้ประจำ ซึ่งเป็นกลุ่มที่มีความต้องการเงินทุนเสริมสภาพคล่อง ให้สามารถใช้บริการการเงินในระบบได้มากขึ้น

ปัจจุบัน บริษัทที่อยู่ในโครงสร้างของเคไอวี ประกอบด้วย 14 บริษัท มีมูลค่าการลงทุนรวมประมาณ 30,000 ล้านบาท

ช่วยขจัดปมขัดแย้งในครอบครัว ชี้ความผันผวนทางเศรษฐกิจ การเปลี่ยนผ่านระหว่างรุ่น และ การปรับรูปแบบธุรกิจครอบครัว กระตุ้นความต้องการ “บริการวางแผนทรัพย์สินครอบครัว” มากขึ้น

KBank Private Banking เห็นสัญญาณบวกในภาคการลงทุน จากที่ตลาดทยอยฟื้นตัวอย่างต่อเนื่องตั้งแต่ไตรมาสสุดท้ายของปีก่อน ส่งผลให้ความต้องการลงทุนในสินทรัพย์เสี่ยงเริ่มกลับมา แต่ความผันผวนโดยเฉพาะความเสี่ยงด้านภูมิรัฐศาสตร์ยังคงอยู่ในระดับสูง แนะนักลงทุนเพิ่มสัดส่วนการลงทุน ชู 3 กองทุนผสมภายใต้ K-ALLROAD Series* กองทุนอัจฉริยะที่กระจายลงทุนในสินทรัพย์หลากหลาย มาพร้อมปรับพอร์ตอัตโนมัติโดยยึดความเสี่ยงของสินทรัพย์เป็นหลัก จึงสร้างผลตอบแทนได้อย่างมั่นคงและควบคุมการขาดทุนได้ในทุกสภาพเศรษฐกิจ เผยเป็นซีรีส์กองทุนที่ลูกค้าตอบรับดี ระดมเงินลงทุนไปได้แล้วกว่า 6.3 พันล้านบาท **

นายจิรวัฒน์ สุภรณ์ไพบูลย์ Executive Chairman, Private Banking Group ธนาคารกสิกรไทย เปิดเผยว่า “บรรยากาศโดยรวมของการลงทุนในต้นปี 2566 นี้ปรับตัวดีขึ้น เห็นได้จากดัชนีตลาดหุ้นโลก MSCI World Index ที่มีผลตอบแทนตั้งแต่ต้นปีจนถึงวันที่ 28 กุมภาพันธ์ 2566 (YTD Returns) ที่ 4.16% อย่างไรก็ดี ยังมีหลายปัจจัยความเสี่ยงที่ต้องจับตา จากการประเมินของ Lombard Odier ค่าความผันผวนในตลาดยังคงอยู่ในระดับสูงถึง 78% ซึ่งชี้ให้เห็นว่าการฟื้นตัวของราคาสินทรัพย์ยังมีความเสี่ยงและยังไม่มีเสถียรภาพนัก อย่างไรก็ดี ดัชนีชี้วัดความเสี่ยงที่นักลงทุนรับได้ (Risk Appetite) จากการประเมินของ Lombard Odier ปรับตัวดีขึ้นเช่นเดียวกันมาอยู่ที่ระดับ 83% ถือว่าอยู่ในระดับพร้อมลงทุนในสินทรัพย์เสี่ยง (Risk on) จากก่อนหน้าช่วงปลายปีที่อยู่ในระดับ 36% ที่นักลงทุนไม่พร้อมที่จะรับความเสี่ยง (Risk off)

เพื่อเสริมความแข็งแกร่งให้พอร์ตการลงทุนท่ามกลางความผันผวนโดยเฉพาะอย่างยิ่งความเสี่ยงด้านภูมิรัฐศาสตร์ ไม่ว่าจะเป็น สงครามรัสเซีย-ยูเครน ความขัดแย้งระหว่างสหรัฐฯ-จีนที่ยังน่ากังวล KBank Private Banking ยังคงแนะนำลูกค้าบุคคลสินทรัพย์สูงของธนาคารให้แบ่งเงินลงทุน 50-60% ของพอร์ตลงทุนในสัดส่วนพอร์ตหลักโดยเน้นกระจายการลงทุนในสินทรัพย์หลายประเภททั่วโลก โดยเฉพาะอย่างยิ่งกลยุทธ์ Risk-Based Asset Allocation เพื่อสร้างผลตอบแทนในทุกสภาวะเศรษฐกิจ ช่วยให้สามารถลงทุนอย่างต่อเนื่อง (Stay Invested) ในทุกสภาวะตลาด ผ่านกองทุน K-ALLROAD Series ที่มาพร้อมกลไกอัจฉริยะที่กำหนดสัดส่วนการลงทุนให้สมดุลโดยอัตโนมัติในสภาวะเศรษฐกิจที่แตกต่างกัน อาทิ ในช่วงตลาดปกติเพิ่มอัตราทดเพื่อเพิ่มผลตอบแทน ในช่วงตลาดผันผวน ถือเงินสดเพิ่มขึ้นเพื่อลดความเสียหาย ในช่วงวิกฤตเศรษฐกิจ จัดการกับความเสียหายให้อยู่ในกรอบที่กำหนด

 

กองทุน K-ALLROAD Series ประกอบด้วย 3 กองทุนซึ่งแตกต่างกันตามระดับความเสี่ยงที่ยอมรับได้ คือ K-ALLROAD-UI, K-ALLGROWTH-UI และ K-ALLENHANCE-UI โดยผลการดำเนินงานย้อนหลังตั้งแต่จัดตั้งเมื่อ 10 ปีที่ผ่านมากองทุนหลัก LO FUNDS - ALL ROADS Series ในต่างประเทศสามารถสร้างผลตอบแทนและควบคุมความผันผวนได้ดีสมํ่าเสมอ สามารถให้ผลตอบแทนเป็นบวกได้ ถ้าลงทุนอย่างน้อย 3 ปีขึ้นไป

“KBank Private Banking ได้เริ่มแนะนำกองทุน K-ALLROAD Series ให้แก่ลูกค้าบุคคลสินทรัพย์สูงตั้งแต่ช่วงปลายปี 2564 และจากภาพรวมสถานการณ์เศรษฐกิจที่กำลังดีขึ้น ตลอดไตรมาสแรกของปี 2566 กิจกรรมการตลาดกับลูกค้าใน 4 ภูมิภาคทั่วประเทศ เพื่อชี้ให้เห็นถึงโอกาสในการลงทุนและเพิ่มสัดส่วนการลงทุนผ่านการลงทุนใน K-ALL ROAD Series คาดว่าจะยังคงได้รับกระแสตอบรับที่ดีจากลูกค้า ปัจจุบัน ทั้ง 3 กองทุนในซีรีส์นี้สามารถระดุมเงินลงทุนจากลูกค้าไปได้กว่า 6.3 พันล้านบาท** ” นายจิรวัฒน์ กล่าวปิดท้าย

หากต้องการข้อมูลเพิ่มเติม สามารถเยี่ยมชมเว็บไซต์ของ KBank Private Banking ได้ที่ https://kbank.co/3ETkS5v

KBank Private Banking ผู้ให้บริการที่ปรึกษาการบริหารทรัพย์สินภายในครอบครัวครบวงจรและครอบคลุมทุกมิติได้ถอดบทเรียนจากซีรีส์เกาหลี เผย 4 เทคนิค ยุติศึกชิงธุรกิจครอบครัว “วางแผน-กำหนดกติกา-สร้างการมีส่วนร่วม-บริหารอย่างมืออาชีพ

พร้อมรักษาสายสัมพันธ์ของครอบครัวให้การส่งต่อธุรกิจเป็นไปอย่างยั่งยืน แม้การทำธุรกิจร่วมกับคนในครอบครัวจะเป็นเรื่องยาก แต่ก็มีหลายครอบครัวที่ประสบความสำเร็จ สามารถบริหารและส่งต่อธุรกิจครอบครัวจากรุ่นสู่รุ่นได้

นายพีระพัฒน์ เหรียญประยูร Managing Director, Wealth Planning and Non Capital Market Head, Private Banking Group ธนาคารกสิกรไทย เปิดเผยว่า สิ่งที่มาควบคู่กับธุรกิจครอบครัว ก็คือความอ่อนไหวและความเคยชินในการเป็นสมาชิกครอบครัว การข้ามผ่านความเป็นครอบครัวไปสู่การบริหารธุรกิจอย่างมืออาชีพจึงเป็นเรื่องยากสำหรับหลายๆ ครอบครัว แต่ก็ไม่ใช่ว่าการก้าวผ่านความเป็นธุรกิจครอบครัวจะไม่สามารถทำได้ ในประเทศไทยเองก็มีหลายธุรกิจครอบครัวที่ประสบความสำเร็จและสามารถส่งต่อธุรกิจกันมาหลายต่อหลายรุ่น\

ล่าสุด เรื่องราวประเด็นปัญหาของการส่งต่อธุรกิจ ได้ถูกนำมาถ่ายทอดเป็นซีรีส์เกาหลีที่ได้รับความนิยม เล่าเรื่องเกี่ยวกับตระกูลมหาเศรษฐีที่บริหารธุรกิจกันโดยสมาชิกในครอบครัว สะท้อนให้เห็นถึงปมปัญหาธุรกิจครอบครัวที่กำลังอยู่ในช่วงเปลี่ยนผ่านจากรุ่นพ่อไปสู่รุ่นลูก โดยที่พ่อยังยึดมั่นในธรรมเนียมดั้งเดิมที่ต้องการส่งต่อธุรกิจให้กับลูกชายคนโต เมื่อเกิดความรู้สึกไม่เป็นธรรม พี่น้องจึงพร้อมแย่งชิงธุรกิจและทรัพย์สมบัติกันเองจนแทบไม่เหลือความเป็นครอบครัว

KBank Private Banking ได้ถอดบทเรียนจากซีรีส์เกาหลี สรุปปัจจัยสำคัญที่จะทำให้การส่งต่อธุรกิจครอบครัวประสบความสำเร็จอย่างยั่งยืน ประกอบด้วย 4 ประการได้แก่ “วางแผน-กำหนดกติกา-สร้างการมีส่วนร่วม-บริหารอย่างมืออาชีพ” โดยมีรายละเอียด ดังนี้

1. วางแผน สมาชิกในครอบครัวต้องร่วมกันกำหนดเป้าหมาย และร่วมกันวางแผนเพื่อให้สามารถเดินไปถึงเป้าหมายนั้นได้ ซึ่งนอกจากจะต้องวางแผนในเชิงธุรกิจแล้ว ระบบการจัดการภายในเป็นสิ่งสำคัญไม่ยิ่งหย่อนไปกว่ากัน ดังนั้น ครอบครัวที่ประสบความสำเร็จจึงต้องมีการตั้งเป้าหมาย วิเคราะห์จุดอ่อนจุดแข็งของครอบครัว วางแผน และลงมือปฏิบัติเพื่อให้ไปถึงเป้าหมายที่วางไว้ได้ เช่น ตั้งเป้าหมายให้ผลิตภัณฑ์ของครอบครัวเป็นสินค้าระดับโลก ธุรกิจครอบครัวจะต้องมีการปรับตัวอย่างไร สมาชิกต้องมีบทบาทและหน้าที่อะไรบ้าง สิ่งใดเป็นข้อดี สิ่งใดที่ยังขาด จะต้องมีการนำเรื่องเหล่านี้มากำหนดเป็นแผน และทำให้สมาชิกทุกคนเข้าใจตรงกัน เป็นต้น

2. กำหนดกติกา สมาชิกครอบครัวจะต้องมีการกำหนดกติกาต่างๆ เพื่อให้เกิดความเข้าใจตรงกัน ลดความขัดแย้ง โดยสมาชิกจะต้องรับรู้ถึงบทบาท สิทธิและหน้าที่ของตนเอง รวมถึงผลประโยชน์ที่สมาชิกครอบครัวแต่ละคนจะได้รับ ซึ่งหากเป็นการตกลงร่วมกัน จะช่วยลดความรู้สึกไม่เป็นธรรม นอกจากกติกาแล้ว การบริหารจัดการยังจะต้องแยกเสาหลักของการจัดการ “ธุรกิจ” และ “ครอบครัว” ออกจากกัน แต่ยังต้องมีความเชื่อมโยงซึ่งประสานประโยชน์ระหว่างสองเรื่องนี้ได้ เช่น การบริหารจัดการธุรกิจอาจทำเป็นระบบเช่นเดียวกับองค์กรธุรกิจทั่วไป แต่ในขณะเดียวกันการตัดสินใจในฐานะผู้ถือหุ้น การปันผลเพื่อประโยชน์ของสมาชิกในครอบครัว ยังคงเป็นเรื่องภายในครอบครัว เป็นต้น

3. สร้างการมีส่วนร่วม สมาชิกในครอบครัวไม่จำเป็นต้องเข้าไปมีส่วนในการดำเนินธุรกิจหรือระบบการจัดการภายในครอบครัวทุกคน แต่สิ่งสำคัญคือการยึดถือและมีส่วนร่วมในการปฏิบัติตามกติกาที่ครอบครัวได้ตกลงร่วมกันไว้ นอกจากนี้ การสื่อสารภายในครอบครัวอย่างสม่ำเสมอจะช่วยสร้างความเข้าใจ ลดความเคลือบแคลงที่อาจเกิดเป็นปัญหาผิดใจกัน และส่งผลกระทบต่อธุรกิจได้ ในปัจจุบัน หลายๆ ครอบครัวจะมีการจัดกิจกรรมระหว่างสมาชิกครอบครัวในรุ่นต่างๆ เพื่อให้คนในครอบครัว ไม่ว่าจะเป็น ลูกพี่ลูกน้อง ป้าหลาน ปู่ย่าตายาย มีความใกล้ชิดกัน ซึ่งนอกจากจะส่งผลดีในแง่ของความสัมพันธ์ในครอบครัวแล้ว ยังจะช่วยส่งเสริมให้ธุรกิจครอบครัวมีความเข้มแข็งอีกด้วย

4. บริหารอย่างมืออาชีพ หนึ่งในการข้ามผ่านความเป็นธุรกิจครอบครัวคือการบริหารอย่างมืออาชีพ บางครอบครัวอาจมีข้อตกลงร่วมกันที่จะว่าจ้างผู้บริหารมืออาชีพเข้ามาบริหารธุรกิจครอบครัว เพื่อทำให้ธุรกิจสามารถแข่งขันได้ บางครอบครัวอาจจะยังให้สมาชิกในครอบครัวบริหารเองอยู่ แต่ก็จำเป็นจะต้องเรียนรู้ทักษะและประสบการณ์ใหม่ๆ เพื่อให้มีความพร้อมในการบริหารมากขึ้น นอกจากตัวบุคคลแล้ว โครงสร้างของธุรกิจครอบครัว จะต้องมีการจัดระบบที่สามารถรองรับการบริหารอย่างมืออาชีพได้แทนการบริหารจัดการธุรกิจแบบครอบครัวอย่างเดิม

สำหรับการส่งมอบบริการบริหารจัดการทรัพย์สินครอบครัว KBank Private Banking นำประสบการณ์และองค์ความรู้กว่า 225 ปีที่ได้รับถ่ายทอดจาก Lombard Odier ซึ่งยังเป็นธุรกิจครอบครัวที่ส่งต่อกันมาถึง 7 รุ่นด้วยกัน ทำให้สามารถส่งมอบบริการที่ปรึกษาด้านการบริหารทรัพย์สินครอบครัวได้อย่างครบวงจร เพื่อช่วยให้ทุกครอบครัวสามารถวางแผนและดำเนินการบริหารธุรกิจครอบครัวได้อย่างมีประสิทธิภาพ สร้างการเติบโตให้สินทรัพย์ครอบครัวงอกเงยอย่างยั่งยืน ถ่ายทอดจากรุ่นสู่รุ่นอย่างเป็นระบบได้ และเป็นกำลังขับเคลื่อนที่สำคัญของระบบเศรษฐกิจไทยต่อไป” นายพีระพัฒน์ กล่าวปิดท้าย

 

ล่าสุด ยกระดับบริการ “สำนักงานครอบครัว” ตอบทุกโจทย์ความต้องการลูกค้าเศรษฐีไทย

Page 3 of 5
X

Right Click

No right click