September 11, 2024

จากกรณีรถไฟขบวน 201 (กรุงเทพมหานคร-พิษณุโลก) มุ่งหน้าไปพิษณุโลก เฉี่ยวชนรถกระบะ หมายเลขทะเบียน บม 5669 พิจิตร บริเวณถนนตัดทางรถไฟ เยื้อง อบต.ปากทาง หมู่บ้านราชช้างขวัญ ตำบลปากทาง อำเภอเมือง จังหวัดพิจิตร เป็นเหตุทำให้มีผู้เสียชีวิต 5 ราย และบาดเจ็บ 2 ราย เมื่อวันที่ 8 กรกฎาคม 2567 สำนักงานคณะกรรมการกำกับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย (สำนักงาน คปภ.) โดยสายคุ้มครองสิทธิประโยชน์ สายส่งเสริมและประกันภัยภูมิภาค สำนักงาน คปภ. ภาค 2 (นครสวรรค์) และสำนักงาน คปภ. จังหวัดพิจิตร ในฐานะเจ้าของพื้นที่เกิดเหตุได้ตรวจสอบข้อมูลการทำประกันภัย พร้อมทั้งติดตามรายงานความเสียหายอย่างเร่งด่วนผ่าน Platform การรายงานข้อมูลกรณีอุบัติภัยกลุ่มหรือรายใหญ่ด้วยระบบอิเล็กทรอนิกส์ รวมทั้งลงพื้นที่เพื่ออำนวยความสะดวกด้านประกันภัยให้กับครอบครัวของผู้ประสบภัยอย่างเต็มที่ เพื่อให้ระบบประกันภัยช่วยบรรเทาความเดือดร้อนให้กับครอบครัวของผู้เสียชีวิตและบาดเจ็บได้อย่างมีประสิทธิภาพและเป็นธรรม

ทั้งนี้ สำนักงาน คปภ. จังหวัดพิจิตร ได้ลงพื้นที่ทันทีและจากการตรวจสอบเบื้องต้นพบว่า รถกระบะ หมายเลขทะเบียน บม 5669 พิจิตร จัดทำประกันภัยรถยนต์ภาคบังคับ (พ.ร.บ.) ไว้กับบริษัท เออร์โกประกันภัย (ประเทศไทย) จำกัด (มหาชน) เริ่มคุ้มครองวันที่ 4 พฤศจิกายน 2566 ถึงวันที่ 4 พฤศจิกายน 2567 กรมธรรม์ให้ความคุ้มครองกรณีเสียชีวิต หรือทุพพลภาพถาวรสิ้นเชิง 500,000 บาทต่อคน กรณีบาดเจ็บค่ารักษาสูงสุดไม่เกิน 80,000 บาทต่อคน กรณีสูญเสียอวัยวะ 200,000-500,000 บาทต่อคน กรณีทุพพลภาพอย่างถาวร 300,000 บาทต่อคนและกรณีเข้ารักษาในสถานพยาบาลในฐานะคนไข้ในจะได้รับค่าชดเชยรายวัน 200 บาทต่อวัน รวมกันไม่เกิน 20 วัน

นอกจากนี้มีการทำประกันภัยรถยนต์ภาคสมัครใจ (ประเภท 2) ไว้กับบริษัท เมืองไทยประกันภัย จำกัด (มหาชน) เริ่มความคุ้มครองวันที่ 29 พฤศจิกายน 2566 ถึงวันที่ 29 พฤศจิกายน 2567 โดยกรมธรรม์ให้ความคุ้มครองต่อความเสียหายต่อชีวิต ร่างกาย หรืออนามัยของบุคคลภายนอก จำนวน 500,000 บาทต่อคน 10,000,000 บาทต่อครั้ง ความเสียหายต่อทรัพย์สินบุคคลภายนอก 1,000,000 บาทต่อครั้ง รถยนต์สูญหาย/ไฟไหม้ 290,000 บาท สำหรับความคุ้มครองอุบัติเหตุส่วนบุคคลตามเอกสารแนบท้ายกรมธรรม์ กรณีเสียชีวิต สูญเสียอวัยวะ ทุพพลภาพถาวร (ร.ย. 01) ผู้ขับขี่/ผู้โดยสาร 2 คน ๆ ละ 100,000 บาท และค่ารักษาพยาบาล (ร.ย. 02) จำนวน 100,000 บาทต่อคน ประกันตัวผู้ขับขี่ (ร.ย. 03) 300,000 บาทต่อครั้ง

สำหรับการติดตามค่าสินไหมทดแทนให้กับครอบครัวของผู้เสียชีวิตจากเหตุการณ์ครั้งนี้ เบื้องต้นในกรณีที่รถยนต์กระบะหมายเลขทะเบียน บม 5669 พิจิตร (ถ้าเป็นฝ่ายผิด) ทายาทโดยธรรมของผู้โดยสารรถยนต์ที่ประสบอุบัติเหตุเสียชีวิต จะได้รับค่าสินไหมทดแทนรายละ 500,000 บาท จากการทำประกันภัย พ.ร.บ. และประกันภัยรถยนต์ภาคสมัครใจ ประเภท 2 รายละ 500,000 บาท (ตามเงื่อนไขกรมธรรม์ประกันภัย) และค่าสินไหมทดแทนความคุ้มครองอุบัติเหตุส่วนบุคคลตามเอกสารแนบท้ายกรมธรรม์ กรณีเสียชีวิต สูญเสียอวัยวะ ทุพพลภาพ จำนวน 200,000 บาท โดยเฉลี่ยจ่ายทั้ง 5 ราย รายละ 40,000 บาท และจากกรมธรรม์ประกันภัยอุบัติเหตุสำหรับนักเรียน นิสิต นักศึกษา กรณีเสียชีวิต (อบ.2) จากอุบัติเหตุทั่วไป จำนวน 1 ราย จะได้รับค่าสินไหมทดแทนจำนวน 100,000 บาท จากบริษัท สยามสไมล์ ประกันภัย จำกัด (มหาชน)

สำหรับผู้ขับขี่และผู้โดยสารที่ได้รับบาดเจ็บทั้ง 2 ราย สำนักงาน คปภ.จังหวัดพิจิตรได้ประสานกับบริษัทประกันภัยเข้าไปอำนวยความสะดวกและรับรองสิทธิค่ารักษาพยาบาลกับโรงพยาบาลพิจิตรโดยตรง โดยผู้บาดเจ็บไม่ต้องสำรองจ่ายค่ารักษาตามสิทธิแต่อย่างใด

ต่อมาเมื่อวันที่ 9 กรกฎาคม 2567 สำนักงาน คปภ. ภาค 2 (นครสวรรค์) และสำนักงาน คปภ. จังหวัดพิจิตร ได้ประสานงานกับบริษัท เออร์โกประกันภัย (ประเทศไทย) จำกัด (มหาชน) และบริษัท เมืองไทยประกันภัย จำกัด (มหาชน) เพื่อรวบรวมเอกสารและอำนวยความสะดวกเพื่อดำเนินการชดใช้ค่าสินไหมทดแทนอย่างรวดเร็วแล้ว ซึ่งขณะนี้อยู่ระหว่างรอทายาทโดยธรรมจัดเตรียมเอกสารให้แก่บริษัทประกันภัย

นอกจากนี้ สำนักงาน คปภ. อยู่ระหว่างบูรณาการร่วมกับสมาคมประกันชีวิตไทย และสมาคมประกันวินาศภัยไทย เพื่อตรวจสอบเพิ่มเติมว่า ผู้ประสบภัยหรือผู้เสียชีวิตในเหตุการณ์ครั้งนี้มีการทำประกันภัยเพิ่มเติมนอกเหนือจากนี้อีกหรือไม่ หากตรวจสอบพบว่ามีการทำประกันภัยก็จะได้รับสิทธิตามสัญญาประกันภัยที่ระบุไว้ทุกประการ

นายชูฉัตร ประมูลผล เลขาธิการคณะกรรมการกำกับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย (เลขาธิการ คปภ.) นำคณะผู้บริหาร สำนักงานคณะกรรมการกำกับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย (สำนักงาน คปภ.) บันทึกเทปถวายพระพรชัยมงคล พระบาทสมเด็จพระปรเมนทรรามาธิบดีศรีสินทร มหาวชิราลงกรณ พระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัว เนื่องในโอกาสวันเฉลิมพระชนมพรรษา 28 กรกฎาคม 2567 เพื่อร่วมแสดงออก ซึ่งความจงรักภักดี และน้อมรำลึกในพระมหากรุณาธิคุณ ณ สถานีโทรทัศน์ช่อง 9 MCOT HD  

เพิ่มช่องทางเชื่อมต่อข้อมูลประกันภัยแบบไร้รอยต่อเพียงปลายนิ้วสัมผัส

เมื่อเร็วๆ นี้ ศาลปกครองกลาง ได้นัดฟังคำพิพากษาในคดีหมายเลขดำที่ 752/2565 กรณีบริษัท สินมั่นคงประกันภัย จำกัด (มหาชน) ยื่นฟ้อง สำนักงานคณะกรรมการกำกับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย (สำนักงาน คปภ.) เพื่อเรียกค่าเสียหาย 4 หมื่นล้านบาท โดยศาลปกครองกลางได้มีคำพิพากษาให้สำนักงาน คปภ. เป็นฝ่ายชนะคดี ซึ่งคำพิพากษาดังกล่าวไม่เกินความคาดหมายของสำนักงาน คปภ. เนื่องจาก สำนักงาน คปภ. ออกคำสั่งนายทะเบียนที่ 38/2564 ห้ามการบอกเลิกกรมธรรม์ประกันภัยสำหรับกรมธรรม์ประกันภัยโควิด เว้นแต่ปรากฏหลักฐานชัดเจนต่อบริษัทว่าผู้เอาประกันภัยได้กระทำการทุจริตหรือฉ้อฉลประกันภัย เพื่อให้ตนเองหรือผู้อื่นได้รับประโยชน์จากการประกันภัย

โดยมูลเหตุสำคัญในการออกคำสั่งดังกล่าวมาจากในช่วงกลางปี 2564 สถานการณ์โควิด 19 ระบาดอย่างหนัก บริษัท สินมั่นคงประกันภัยฯ ซึ่งเป็นบริษัทประกันภัยที่ขายประกันภัยโควิดแบบเจอ-จ่าย-จบ หรือ COVID 2 in 1 นับ 1,000,000 ฉบับ ได้ส่งหนังสือถึงลูกค้าของบริษัทฯ โดยกล่าวอ้างเหตุของการบอกเลิกสัญญาสรุปได้ว่าเป็นผลสืบเนื่องจากการระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) ทำให้ผู้เอาประกันภัยของบริษัทฯ ได้รับความเดือดร้อนเสียหายในช่วงเวลาที่เกิดโรคระบาดอย่างรุนแรง เกิดความตื่นตระหนกแก่ผู้เอาประกันภัยของบริษัทอื่นและกรมธรรม์อื่นว่าจะถูกบอกเลิกกรมธรรม์หรือไม่ และทำให้เกิดกระแสสังคมวิพากษ์วิจารณ์ธุรกิจประกันภัยในแง่ลบ จึงมีความจำเป็นเร่งด่วนเพื่อแก้ไขปัญหาไม่ให้ลุกลาม เพราะถ้าหากบริษัท สินมั่นคงประกันภัยฯ สามารถบอกเลิกกรมธรรม์ประกันภัยโควิดได้เป็นผลสำเร็จ ก็สุ่มเสี่ยงที่จะถูกนำไปเป็นโมเดลให้กับบริษัทประกันภัยรายอื่น ๆ สามารถบอกเลิกกรมธรรม์ในลักษณะเดียวกันนี้ได้เช่นกัน ซึ่งจะส่งผลกระทบเป็นวงกว้างกับประชาชนที่ถือกรมธรรม์ประกันภัยโควิดรายอื่นทั้งหมดด้วย

สำนักงาน คปภ. ในฐานะหน่วยงานกำกับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย รวมทั้งมีหน้าที่คุ้มครองสิทธิประโยชน์ด้านประกันภัยให้กับประชาชนผู้เอาประกันภัย จึงได้อาศัยฐานอำนาจที่มีอยู่ออกคำสั่งนายทะเบียนที่ 38/2564 ห้ามการบอกเลิกกรมธรรม์ประกันภัยสำหรับกรมธรรม์ประกันภัยโควิด เพื่อปกป้องผลประโยชน์ของประชาชนที่ถือกรมธรรม์ประกันภัยโควิด 19 ทั้งระบบจำนวน 16 ล้านฉบับ มูลค่าสินไหมทดแทนเกือบ 100,000 ล้านบาท ให้ได้รับความคุ้มครองตามเงื่อนไขกรมธรรม์ประกันภัยต่อไปจนกว่าจะหมดอายุกรมธรรม์

นอกจากนี้ สำนักงาน คปภ. เล็งเห็นว่าหากปล่อยให้มีการบอกเลิกกรมธรรม์ประกันภัยโควิด 19  ในขณะที่สถานการณ์โควิดรุนแรงและประชาชนหาซื้อประกันภัยโควิด 19 ไม่ได้ ก็จะเป็นการปล่อยปละละเลยให้บริษัทผู้รับประกันภัยใช้สิทธิโดยไม่สุจริตและเอาเปรียบประชาชนจนถึงขั้นอาจถูกมองได้ว่าเป็นการลอยแพประชาชนไปตามยถากรรม เนื่องจากหากประชาชนรู้ว่าจะถูกยกเลิกกรมธรรม์เมื่อเกิดภัย ก็คงไม่มีใครซื้อประกันภัยอย่างแน่นอน

ดังนั้น คำพิพากษาในคดีนี้จึงมีความสำคัญอย่างยิ่ง เพราะถ้าหากสำนักงาน คปภ. เป็นฝ่ายแพ้คดี ก็อาจถูกนำไปใช้เป็นบรรทัดฐานใหม่ให้กับบริษัทผู้รับประกันภัยใช้เป็นแนวทางบอกเลิกกรมธรรม์ประกันภัยประเภทอื่น ๆ หากเห็นว่ารับประกันภัยไปแล้ว แต่มีแนวโน้มที่บริษัทผู้รับประกันภัยจะต้องจ่ายค่าสินไหมทดแทนเป็นจำนวนมาก บริษัทผู้รับประกันภัยอาจใช้เป็นเหตุในการบอกเลิกกรมธรรม์ประกันภัยได้แบบเหมาเข่งในทุกกรณี ซึ่งไม่เคยเกิดขึ้นในสารบบของธุรกิจประกันภัยทั่วโลกมาก่อน และอาจส่งผลกระทบต่อความเชื่อมั่นของประชาชนที่มีต่อระบบประกันภัยในภาพรวมทั้งหมด

สำนักงาน คปภ. ขอกราบขอบพระคุณศาลปกครองกลางที่ให้ความเป็นธรรมกับหน่วยงานของรัฐที่ทำหน้าที่กำกับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย รวมถึงคุ้มครองสิทธิประโยชน์ของประชาชนด้านการประกันภัย ให้ปฏิบัติตาม กฎ กติกา มีจริยธรรมในการดำเนินธุรกิจ เพื่อปกป้องผลประโยชน์ของประชาชนไม่ให้ถูกเอารัดเอาเปรียบ และพร้อมที่จะดำเนินการตามหน้าที่และอำนาจเพื่อคุ้มครองประโยชน์สาธารณะและรักษาความเชื่อมั่นของระบบประกันภัยไทยไว้อย่างสุดกำลังความสามารถ เพื่อให้ระบบประกันภัยไทยเป็นที่พึ่งของประชาชนอย่างแท้จริง

เล็งใช้เป็นเครื่องมือปรับตัวได้เร็วกับความเสี่ยงและสภาพแวดล้อมที่เปลี่ยนแปลงไปทั้งปัจจุบันและอนาคต

X

Right Click

No right click