ธนาคารยูโอบี ประเทศไทย แต่งตั้งให้นายริชาร์ด มาโลนีย์ เป็นกรรมการผู้จัดการใหญ่คนใหม่ของธนาคาร มีผลตั้งแต่วันที่ 1 กรกฎาคม 2567 โดยจะเข้ามารับตำแหน่งต่อจาก นายตัน ชุน ฮิน ผู้ซึ่งดำรงตำแหน่งกรรมการผู้จัดการใหญ่มาตั้งแต่ปี 2559 ทั้งนี้ นายตัน ชุน ฮิน จะกลับไปรับบทบาทใหม่ในตำแหน่ง รองประธานฝ่ายกำกับดูแลความเสี่ยงและกำกับธุรกิจของกลุ่มธนาคาร (Deputy Head of Group Governance, Risk and Compliance) ของกลุ่มธนาคารยูโอบี ที่สำนักงานใหญ่ ประเทศสิงคโปร์

นายริชาร์ด มาโลนีย์ มีประสบการณ์ในวงการธนาคารกว่า 40 ปี ในด้านกลุ่มธุรกิจขนาดใหญ่ ตลาดทุน และกลุ่มธุรกิจลูกค้ารายย่อย ในภูมิภาคอาเซียน เขาดำรงตำแหน่งเป็นประธานเจ้าหน้าที่ฝ่ายปฏิบัติการ ของ Group Wholesale Banking นับตั้งแต่ร่วมงานกับยูโอบีในปี 2557 ก่อนหน้านี้นายมาโลนีย์ ดำรงตำแหน่งเป็นประธานเจ้าหน้าที่ฝ่ายปฏิบัติการประจำภูมิภาคอาเซียนที่ธนาคารระดับโลกแห่งหนึ่ง เขาเริ่มต้นอาชีพด้วยตำแหน่งด้านการเงินในนิวยอร์ก หลังจากนั้นจึงย้ายไปทำงานที่ลอนดอน ฮ่องกง และสิงคโปร์

ในฐานะที่เป็นประธานเจ้าหน้าที่ฝ่ายปฏิบัติการของกลุ่มธุรกิจขนาดใหญ่ นายมาโลนีย์มีบทบาทสำคัญในการขับเคลื่อนการเติบโตของธนาคาร ผ่านการพัฒนาและการดำเนินการตามกลยุทธ์สำคัญๆ เขาเป็นผู้นำพอร์ตโฟลิโอของหน่วยงานสนับสนุนธุรกิจ รวมถึงโครงการโครงสร้างพื้นฐานและพัฒนาผลิตภัณฑ์ การบริการลูกค้าและดูแลข้อตกลงทางธุรกิจ การปฏิบัติการต่อต้านอาชญากรรมทางการเงินและการขายข้อมูล ในบทบาทใหม่นี้ นายมาโลนีย์จะเป็นผู้นำในการเพิ่มศักยภาพด้านดิจิทัลของธนาคารยูโอบี ประเทศไทย เพิ่มสิทธิประโยชน์ของผลิตภัณฑ์ และเชื่อมโยงลูกค้าเข้ากับโอกาสทางธุรกิจในประเทศไทยและทั่วทั้งเครือข่ายระดับภูมิภาคของกลุ่มธนาคารยูโอบี

นายวี อี เชียง รองประธานกรรมการและประธานเจ้าหน้าที่บริหาร ธนาคารยูโอบี กล่าวว่า “หลังจากการเข้าซื้อกิจการลูกค้ารายย่อยซิตี้แบงก์ในประเทศไทย เราจะมุ่งเน้นไปที่การนำเสนอผลิตภัณฑ์และบริการที่หลากหลายมากขึ้นให้กับลูกค้าที่มีฐานใหญ่ขึ้น นายริชาร์ด เป็นนายธนาคารผู้ช่ำชองและมีความรู้กว้างขวางด้านการธนาคารทั้งแบบลูกค้าองค์กรและลูกค้ารายย่อย และเหมาะสมที่จะเป็นผู้นำการเติบโตในระยะต่อไปสำหรับเครือข่ายของธนาคารในประเทศไทย สำหรับนายชุน ฮิน ที่เป็นผู้นำที่มีความสามารถหลากหลายและมากประสบการณ์ในการบริหารจัดการทั้งในระดับประเทศและภูมิภาค จึงเหมาะสมที่จะช่วยพัฒนาประสิทธิภาพของการกำกับดูแล ความเสี่ยง และกำกับธุรกิจทั่วทั้งกลุ่มธนาคาร”

นายตัน ชุน ฮิน ร่วมงานกับยูโอบีในปี 2555 ในตำแหน่งหัวหน้าฝ่ายสินเชื่อรายย่อยของกลุ่มธนาคาร ภายใต้การนำของเขาในฐานะกรรมการผู้จัดการใหญ่ของธนาคารยูโอบี ประเทศไทย ทำให้ธนาคารเติบโตขึ้นจนกลายเป็นธนาคารต่างประเทศที่ใหญ่เป็นอันดับสอง และผลักดันให้ธุรกิจบัตรเครดิตของธนาคารใหญ่เป็นอันดับที่สามในประเทศไทย เขายังได้ขับเคลื่อนกลุยทธ์สำคัญของธนาคาร ในการดึงดูดการลงทุนโดยตรงจากต่างประเทศเข้ามาในประเทศไทย และสนับสนุนลูกค้าในภูมิภาคให้เข้าสู่ตลาดใหม่

ในฐานะรองประธานฝ่ายกำกับดูแลความเสี่ยงและกำกับธุรกิจของกลุ่มธนาคาร นายตัน ชุน ฮิน จะรับผิดชอบเรื่องการปรับปรุงแนวทางการบริหารจัดการความเสี่ยงของธนาคาร เพื่อเสริมสร้างการกำกับดูแลและวัฒนธรรมความเสี่ยงทั่วทั้งองค์กร เขาจะรับผิดชอบด้านการบริหารความเสี่ยง กำกับธุรกิจ กฎหมายและสำนักเลขาธิการของกลุ่มธนาคาร การอนุมัติสินเชื่อในการทำธุรกรรมต่างๆ และการจัดการการเรียกคืนสินทรัพย์ของกลุ่มธนาคาร

นางวีระอนงค์ จิระนคร ภู่ตระกูล ซึ่งปัจจุบันเป็นกรรมการผู้จัดการ Retail and Brand ธนาคารยูโอบี ประเทศไทย จะได้รับแต่งตั้งให้เป็นกรรมการผู้จัดการ Wholesale Banking และ Deputy CEO ธนาคารยูโอบี ประเทศไทย เธอเคยดำรงตำแหน่งเป็นผู้บริหารระดับสูงทั้งลูกค้ารายย่อยและลูกค้าองค์กรในซิตี้แบงก์ ประเทศไทย ก่อนที่จะมาร่วมงานกับยูโอบีในปี 2565 เพื่อช่วยดูแลการรวมธุรกิจลูกค้ารายย่อยของกลุ่มซิตี้เข้ากับยูโอบี ประเทศไทย 

ประเทศไทยนับเป็นตลาดสำคัญของเครือข่ายระดับภูมิภาคของธนาคาร ธนาคารยูโอบีได้ดำเนินธุรกิจในประเทศไทยมาอย่างยาวนานกว่า 20 ปี และได้เข้าซื้อธุรกิจธนาคารรายย่อยของซิตี้กรุ๊ปในประเทศไทยในเดือนพฤศจิกายน 2565 ด้วยช่องทางการให้บริการลูกค้าที่มากขึ้นและเครือข่ายพันธมิตรที่แข็งแกร่งขึ้น ธนาคารจึงสามารถนำเสนอผลิตภัณฑ์ บริการ และสิทธิประโยชน์ที่หลากหลายมากขึ้นให้กับฐานลูกค้าที่ขยายใหญ่ขึ้น

ธนาคารยูโอบี ประเทศไทย เปิดตัว UOB Sustainability Compass เครื่องมือชิ้นแรกที่ออกแบบมาเพื่อสนับสนุนผู้ประกอบการธุรกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (เอสเอ็มอี) ในทุกอุตสาหกรรมในการเปลี่ยนผ่านธุรกิจสู่ความยั่งยืน ด้วยการทำแบบประเมินออนไลน์เพื่อรับรายงานที่ระบุแผนงานและขั้นตอนการดำเนินงานที่ชัดเจน

ผลสำรวจจากรายงาน UOB Business Outlook Study 2024 พบว่าร้อยละ 94 ของธุรกิจไทยตระหนักว่าประเด็นความยั่งยืนเป็นสิ่งสำคัญสำหรับธุรกิจ โดยร้อยละ 22 ของผู้ตอบแบบสำรวจมีแผนที่จะเปลี่ยนวิธีการดำเนินธุรกิจโดยคำนึงถึงสิ่งแวดล้อม สังคม และธรรมาภิบาล (ESG) ในอีก 3 ปีข้างหน้า และต้องการความช่วยเหลือจากธนาคารในด้านต่างๆ เช่น ต้องการเชื่อมต่อกับบริษัทที่อยู่ในระบบนิเวศอุตสาหกรรมเดียวกันเพื่อเรียนรู้แนวปฎิบัติตัวอย่าง ต้องการบริการด้านการลงทุนรวมถึงคำแนะนำที่เกี่ยวข้องกับมาตรฐานด้าน ESG และต้องการเข้าถึงแหล่งเงินทุน

เพื่อตอบสนองต่อความต้องการธุรกิจ ธนาคารยูโอบี ประเทศไทย จึงร่วมกับ พีดับบลิวซี พัฒนา UOB Sustainability Compass ซึ่งเป็นเครื่องมือในรูปแบบของแบบประเมินออนไลน์ ที่จะช่วยวัดระดับและประเมินความพร้อมด้านความยั่งยืนของบริษัทว่าอยู่ในระยะใด บริษัทสามารถลงทะเบียนเพื่อทำแบบสอบถาม และรับรายงานที่รวบรวมแนวทางที่ชัดเจนในการพัฒนาธุรกิจไปสู่ความยั่งยืน โดยรายงานมีการรวบรวมข้อมูลจำเพาะของกฎระเบียบ บรรทัดฐาน และมาตราฐานที่เกี่ยวกับการบริหารจัดการด้านความยั่งยืนที่จะมีผลต่อการดำเนินธุรกิจของบริษัทของแต่ละอุตสาหกรรม พร้อมคำแนะนำเกี่ยวกับโซลูชันทางการเงินที่เหมาะสมให้แก่บริษัท

นางสาวอัมพร ทรัพย์จินดาวงศ์ ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการใหญ่ Commercial Banking ธนาคารยูโอบี ประเทศไทย กล่าวว่า “ความยั่งยืนถือเป็นหนึ่งในกลยุทธ์สำคัญที่จะช่วยสร้างความแตกต่างให้แก่บริษัทในการดำเนินธุรกิจ เพื่อให้บริษัทสามารถตอบสนองต่อความต้องการของลูกค้า และปรับแนวทางการดำเนินงานให้สอดคล้องกับกฎระเบียบและเทรนด์การดำเนินธุรกิจที่เกี่ยวข้อง บริษัทที่สามารถพัฒนาธุรกิจให้มีความยั่งยืนจะช่วยสร้างความแตกต่างและขับเคลื่อนองค์กรไปสู่ความสำเร็จในระยะยาว เราในฐานะธนาคารชั้นนำของภูมิภาคตระหนักถึงความสำคัญในการสนับสนุนลูกค้าให้สามารถพัฒนาธุรกิจไปสู่ความยั่งยืนได้อย่างสะดวกขึ้น ธุรกิจสามารถใช้ประโยชน์จาก UOB Sustainability Compass เพื่อรับทราบแผนงานที่ชัดเจนเพื่อข้ามอุปสรรค และความท้าทายในการพัฒนาธุรกิจไปสู่ความยั่งยืน”

นางพณิตตรา เวชชาชีวะ ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการใหญ่ Financial Institutions และ ESG Solutions ธนาคารยูโอบี ประเทศไทย กล่าวว่า “ผู้ประกอบการเอสเอ็มอีจำเป็นต้องหันมาให้ความสำคัญกับการดำเนินธุรกิจที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมมากขึ้น เพราะความยั่งยืนเป็นหนึ่งในเกณฑ์ที่บรรษัทขนาดใหญ่นำมาพิจารณาสำหรับคัดสรรองค์กรที่ต้องการทำธุรกิจร่วมกัน ธนาคารจึงได้ออกแบบกรอบแนวคิดที่เรียกว่า Sustainable Finance Framework เพื่อนำเสนอผลิตภัณฑ์ทางการเงินเพื่อความยั่งยืนประเภทต่างๆ อาทิ  สินเชื่อเพื่ออาคารสีเขียว (Green Building) สินเชื่อเพื่อเมืองอัจฉริยะ (Smart Cities) สินเชื่อเพื่อความยั่งยืนด้านเศรษฐกิจหมุนเวียน (Circular Economy) และสินเชื่อเพื่อการเปลี่ยนผ่าน (Transition Financing) ซึ่งสินเชื่อประเภทต่างๆ นี้ จะช่วยลดระยะเวลาและลดการใช้ทรัพยากรภายในองค์กรให้แก่ธุรกิจ ช่วยให้กระบวนการเปลี่ยนผ่านธุรกิจไปสู่ความยั่งยืนเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ และตอบสนองต่อความต้องการของตลาดได้อย่างทันท่วงที”

ปัจจุบันมีบริษัทจากหลากหลายอุตสาหกรรมได้ทดลองใช้เครื่องมือ UOB Sustainability Compass ประกอบด้วย บริษัท มโนห์รา อุตสาหกรรมอาหาร จำกัด ผู้ผลิตข้าวเกรียบรายใหญ่ของประเทศ และ บริษัท ยูนิคอุตสาหกรรมพลาสติก จำกัด

นายอภิวัฒน์ วังวิวัฒน์ ผู้ก่อตั้งและประธานกรรมการ บริษัท มโนห์รา อุตสาหกรรมอาหาร จำกัด กล่าวว่า “การเป็นองค์กรที่ให้ความสำคัญต่อการดำเนินธุรกิจอย่างมีความรับผิดชอบมีความสำคัญเป็นอย่างยิ่งสำหรับภาคอุตสาหกรรมอาหารที่มีการแข่งขันสูง บริษัทของเรามีการส่งออกผลิตภัณฑ์ไปยังประเทศต่างๆทั่วโลก เราจึงให้ความสำคัญกับการดำเนินธุรกิจที่มีความรับผิดชอบเป็นอย่างมาก ตั้งแต่การเลือกใช้บรรจุภัณฑ์ที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม ไปจนถึงปฎิบัติตามมาตราฐานระบบจัดการสิ่งแวดล้อมในกระบวนการผลิตของโรงงานอย่างเคร่งครัด หลังจากที่ได้ทดลองใช้ UOB Sustainability Compass เราได้รับรายงานที่รวบรวมกฎระเบียบสำคัญที่มีผลต่อการดำเนินธุรกิจของบริษัท และเราสามารถใช้ข้อมูลจากรายงานฉบับนี้เพื่อประกอบการตัดสินใจในการหาแนวทางการดำเนินธุรกิจที่จะช่วยลดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมเพิ่มเติม เพื่อขับเคลื่อนวาระ ESG ของเราไปข้างหน้าอย่างต่อเนื่อง”

นายโสฬส ยอดมงคล ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท ยูนิคอุตสาหกรรมพลาสติก จำกัด กล่าวว่า “รายงานที่บริษัทได้รับจากการใช้ UOB Sustainability Compass ช่วยตอกย้ำถึงความมุ่งมั่นของบริษัทในการพัฒนาธุรกิจของเราไปสู่ความยั่งยืน ข้อมูลที่เราได้รับจากรายงานฉบับนี้ทำให้เราสามารถระบุแนวทางที่บริษัทควรบฎิบัติเพื่อทำให้ธุรกิจให้มีความยั่งยืน เช่น การพัฒนาผลิตภัณฑ์ใหม่ การคัดสรรพันธมิตรทางธุรกิจ และการเลือกใช้ซัพพลายเออร์ที่เหมาะสม ควบคู่ไปกับการสร้างผลกระทบเชิงบวกต่อสิ่งแวดล้อมและชุมชนมากยิ่งขึ้น เราพร้อมที่จะร่วมมืออย่างใกล้ชิดกับธนาคารยูโอบีเพื่อขอสนับสนุนสินเชื่อทางการเงินเพื่อความยั่งยืน ที่จะช่วยสนับสนุนการลดการปล่อยก๊าซคาร์บอนทั้งภายในและภายนอกองค์กรของเรา”

ตั้งแต่ธนาคารยูโอบีเปิดตัว UOB Sustainability Compass เมื่อเดือนพฤศจิกายน 2565 ที่ประเทศสิงคโปร์และมาเลเซีย มีบริษัทกว่า 1,700 แห่งทั่วภูมิภาคได้ทดลองใช้เครื่องมือนี้เพื่อเป็นตัวช่วยในการเปลี่ยนผ่านไปสู่ธุรกิจสีเขียว ธนาคารมีแผนจะเปิดตัวเครื่องมือนี้ที่ประเทศอินโดนิเซียนเป็นลำดับต่อไปภายในปีนี้ สามารถดูข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ uob.co.th/compass-th

ธนาคารยูโอบี ประเทศไทย ร่วมกับ Fund House ชั้นนำอย่าง UBS, UOBAM, Franklin Templeton จัดงานสัมมนา Mid-Year Investment Outlook ขึ้นเพื่อให้นักลงทุนทราบถึงกลยุทธ์การจัดพอร์ตลงทุนที่แข็งแกร่งท่ามกลางความไม่แน่นอนทั่วโลก เพื่อรับมือในช่วงครึ่งหลังของปี 2567 โดยมีบริษัทจัดการกองทุนที่มีชื่อเสียงมากมาย มาให้ข้อมูลเกี่ยวกับกลยุทธ์เพื่อสร้างพอร์ตโฟลิโอที่แข็งแกร่งแก่นักลงทุนกลุ่มมั่งคั่งของธนาคาร ณ โรงแรม ดิ แอทธินี โฮเทล แบงค็อก, อะ ลักซ์ชูรี คอลเล็คชั่น โฮเทล

ธนาคารยูโอบี ประเทศไทย ลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือทางวิชาการกับคณะพาณิชย์ศาสตร์และการบัญชี มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ พัฒนาหลักสูตร Banker’s Executive Certification Programme เร่งเพิ่มพูนความรู้ด้านการเงินและทักษะการทำงานให้แก่ที่ปรึกษาธุรกิจสำหรับกลุ่มลูกค้าธุรกิจขนาดกลางและขนาดย่อม เพื่อสนับสนุนการเติบโตของธุรกิจของลูกค้า

ภายใต้ข้อตกลงนี้ ธนาคารได้ร่วมกับคณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชี มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ออกแบบหลักสูตรที่ผสานการเรียนรู้ทั้งแบบในห้องเรียน การลงมือปฎิบัติจริงจากกรณีตัวอย่างศึกษา (case study) การเข้าร่วมเวิร์คช็อป การจำลองเหตุการณ์จากสถานการณ์จริง และการบรรยายพิเศษจากบุคคลากรชั้นนำในอุตสาหกรรม ในหัวข้อต่างๆ ประกอบด้วย เทรนด์การดำเนินธุรกิจที่ผู้ประกอบการเอสเอ็มอีให้ความสำคัญ การวิเคราะห์ข้อมูลเพื่อออกแบบแผนธุรกิจ กลยุทธ์ และแผนการดำเนินงานของหน่วยงานที่ตอบสนองความต้องการของลูกค้าเอสเอ็มอี การวางแผนแนวทางการขายและบริหารความเสี่ยง รวมถึงการเสริมทักษะด้านการสื่อสารที่มีประสิทธิภาพ และทักษะที่จำเป็นในการบริหารทีมงานให้แก่ผู้จัดการสัมพันธ์ของธนาคารที่จะก้าวขึ้นมาเป็นผู้บริหารยุคใหม่ 30 คน เป็นระยะเวลารวม 3 เดือน

นางสยุมรัตน์ มาระเนตร ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการใหญ่ ธุรกิจเอสเอ็มอี ธนาคารยูโอบี ประเทศไทย กล่าวว่า “ในฐานะธนาคารชั้นนำของภูมิภาคอาเซียนสำหรับธุรกิจเอสเอ็มอี ยูโอบีให้ความสำคัญกับการพัฒนาศักยภาพบุคคลากรของเราให้มีความพร้อมที่จะเป็นที่ปรึกษาทางการเงิน และรับมือกับความต้องการที่หลากหลายของกลุ่มลูกค้าธุรกิจเอสเอ็มอีในประเทศที่เติบโตอย่างต่อเนื่อง หลักสูตรในปีนี้นอกจากจะช่วยเพิ่มพูนความรู้เชิงเทคนิค และยกระดับทักษะทางธุรกิจที่มีอยู่เดิมให้แก่พนักงานที่เข้าร่วมโครงการแล้ว ยังสอดแทรกวิธีการสื่อสารและแนวทางการบริหารจัดการทีมงานที่สามารถนำไปปรับใช้ในการทำงานได้จริง เพื่อช่วยให้พนักงานของเราสามารถส่งมอบการบริการและนำเสนอโซลูชันทางการเงินที่ตอบโจทย์การดำเนินธุรกิจของลูกค้าต่อไป”

ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.อรพรรณ ยลระบิล รองคณบดีฝ่ายวิชาการและเครือข่ายพันธมิตร คณะพาณิชย์ศาสตร์และการบัญชี มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ กล่าวว่า “เรามีความยินดีเป็นอย่างยิ่งที่ได้ร่วมมือกับธนาคารยูโอบี ประเทศไทย เพื่อพัฒนาโปรแกรมส่งเสริมศักยภาพบุคคลากรของธนาคาร หลักสูตรในปีนี้เราเน้นให้ผู้เข้าอบรมยึดลูกค้าเป็นศูนย์กลางในการบริการ และการปรับกระบวนทัศน์ความคิดแบบ agile mindset  ที่เน้นการเพิ่มประสิทธิผลและความคล่องตัวในการทำงาน ผู้เข้าอบรมจะมีโอกาสฝึกการตัดสินใจ แก้ปัญหา และพัฒนาความสามารถในด้านการนำเสนอผลิตภัณฑ์ทางการเงินให้ตอบโจทย์ความต้องการของลูกค้า รวมถึงเรียนรู้แนวทางการสื่อสารให้มีประสิทธิภาพ ซึ่งจะช่วยสร้างความแตกต่างให้แก่ตนเองในฐานะที่ปรึกษาทางการเงินที่ลูกค้าให้ความไว้วางใจ”  

นางสาวศศิวิมล อารยวัฒนาพงษ์  ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการใหญ่ ทรัพยากรบุคคล ธนาคารยูโอบี ประเทศไทย กล่าวว่า “บุคลากรถือเป็นทรัพย์สินที่มีค่าและสำคัญที่สุดของธนาคาร และเราให้ความสำคัญกับการพัฒนาบุคคลากรของเราให้เติบโตไปพร้อมกับองค์กร หลักสูตร Banker’s Executive Certification Programme นับเป็นส่วนหนึ่งของโครงการพัฒนาบุคคลากรและเสริมสร้างศักยภาพความเป็นผู้นำที่ธนาคารเตรียมไว้ให้แก่พนักงานเพื่อพัฒนาทักษะที่จำเป็นในการเป็นที่ปรึกษาทางธุรกิจอย่างมืออาชีพ และเสริมสร้างภาวะผู้นำให้แก่ผู้เข้าร่วมโครงการได้เติบโตภายในธนาคาร  ความร่วมมือที่เกิดขึ้นระหว่างยูโอบี ประเทศไทย และ คณะพาณิชย์ศาสตร์และการบัญชี มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ถือเป็นอีกหนึ่งข้อพิสูจน์ถึงความมุ่งมั่นของธนาคารในการส่งเสริมการเรียนรู้ เสริมสร้างทักษะที่จำเป็นสำหรับการทำงานให้แก่พนักงาน เพื่อรักษาพนักงานให้เติบโตในสายอาชีพและพร้อมก้าวขึ้นมาเป็นผู้นำที่สามารถบริหารทีมงานได้อย่างมีประสิทธิภาพต่อไปในอนาคต”

ตั้งแต่ริเริ่มโครงการ The Banker’s Executive Certification Programme ในปี 2560 มีบุคคลากรที่ปรึกษาธุรกิจสำหรับกลุ่มลูกค้าธุรกิจเอสเอ็มอี 102 คน ที่เข้ารับการฝึกอบรม ในจำนวนนี้มี 55 คนที่

พิเศษสำหรับลูกเพจ MatchLink ลงทะเบียน คลิก >>> https://bit.ly/MatchLink_UOBBiz.
เปิดบัญชีออมทรัพย์ "UOB BizSuper" เพื่อผู้ประกอบการ SME
- รับดอกเบี้ยเงินฝาก 1% ต่อปี
- ไม่มีค่าธรรมเนียมจ่ายเงินเดือนพนักงาน (Payroll)
- ไม่มีค่าธรรมเนียมโอนเงินระหว่างบัญชีธนาคารยูโอบี
- ไม่มีค่าธรรมเนียมโอนเงินระหว่างธนาคารแบบส่งรายการภายในวัน (สำหรับยอดการโอนตั้งแต่ 1 บาท จนถึง 500,000 บาทแรก)
- ไม่มีค่าธรรมเนียมผูกคู่โอนอัตโนมัติ (Fund Sweeping) ระหว่างบัญชีออมทรัพย์ BizSuper และบัญชีกระแสรายวัน BizSuper
- ไม่มีค่าธรรมเนียม UOB eAlerts! บริการแจ้งเตือนความเคลื่อนไหวของบัญชีผ่านทางอีเมล
- ไม่มีค่าบริการสำหรับสมุดเช็คเดือนละ 1 เล่ม และส่วนลด 50% สำหรับเล่มถัดไป

*รายละเอียดและเงื่อนไขเป็นไปตามที่ธนาคารกำหนด

Page 1 of 9
X

Right Click

No right click