November 21, 2024

อีกก้าวสำคัญของการขับเคลื่อนสังคมสุขภาวะ Imagine Thailand Movement เปิดห้องปฎิบัติการทางสังคม ปลุกพลังผู้ก่อการดี  8 ชุมชน  ทั้งศิลปินแห่งชาติ ศิลปินพื้นบ้าน ปราชญ์ เยาวชน ผู้นำชุมชน หลากหลายวัย จากหลายพื้นที่ เข้ามาร่วมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ ภายใต้โครงการ “พัฒนาพื้นที่สุขภาวะเพื่อลดปัจจัยเสี่ยงทางสุขภาพ”

ดีแทคคอลเซ็นเตอร์ มุ่งมั่นภารกิจเปลี่ยนผ่านเพื่อนำลูกค้าทุกกลุ่มสู่ยุคดิจิทัล ผ่าน 3 กลยุทธหลัก

บริษัท เจริญโภคภัณฑ์อาหาร จำกัด (มหาชน) หรือ ซีพีเอฟ   เปิดตัวรายงานยั่งยืน ประจำปี 2564 ร่วมสร้างการเปลี่ยนแปลงที่ดีขึ้น สู่ทศวรรษใหม่แห่งความยั่งยืน ด้วยการลงมือทำ  ขับเคลื่อนเป้าหมายกลยุทธ์ความยั่งยืน CPF 2030 Sustainability in Action มุ่งมั่นสร้างความมั่นคงทางอาหาร สร้างผลกระทบเชิงบวกทางสังคมตลอดห่วงโซ่คุณค่า ก้าวสู่เป้าหมายองค์กรลดปล่อยก๊าซเรือนกระจกเป็นศูนย์  (Net-Zero Emissions)     

เรเซอร์ (Razer™) แบรนด์ไลฟ์สไตล์ชั้นนำระดับโลกสำหรับเกมเมอร์

องค์การเพื่อการส่งเสริมความเสมอภาคระหว่างเพศและเพิ่มพลังของผู้หญิงแห่งสหประชาชาติ หรือ UN Women

การระบาดของโควิด-19 ผลักดันให้มีการใช้อุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ ทั้งคอมพิวเตอร์ แท็บเล็ตและอุปกรณ์มือถือต่อคนต่อครัวเรือนสูงขึ้น

บริษัท เอ็มเอสดี ประเทศไทย (บริษัทในเครือของ บริษัท เมอร์ค แอนด์ คัมปานี อินคอร์ปอเรท เมืองเคนิลเวิร์ธ มลรัฐนิวเจอร์ซี ประเทศสหรัฐอเมริกา)

นางเธียรรัตน์ นะวะมะวัฒน์ โฆษกกระทรวงแรงงาน (ฝ่ายการเมือง) ร่วมกับ นายสัมฤทธิ์ แสงลอย (ผู้แทน บริษัท เจริญโภคภัณฑ์อาหาร จำกัด (มหาชน) หรือซีพีเอฟ ถวายจตุปัจจัยและสิ่งของเครื่องอุปโภคบริโภคของใช้ที่จำเป็น ได้แก่ ไข่ไก่สดซีพี จำนวน 10,000 ฟอง และน้ำมันพืชจากกระทรวงแรงงาน จำนวน 25 ลัง ให้แก่ พระคุณเจ้าเลขา ชินกรณ์ ศิริจันโท วัดพระบาทน้ำพุ จังหวัดลพบุรี เพื่อนำไปช่วยเหลือผู้ป่วยและผู้ยากไร้ในสังคม ผ่านโครงการเมตตาธรรมค้ำจุนโลก มูลนิธิธรรมรักษ์ เพื่อเป็นการสร้างบุญกุศล และทำประโยชน์ต่อสั่งคมไทยร่วมกัน โดยมี ผู้ตรวจราชการกระทรวงแรงงาน​ ข้าราชการกระทรวงแรงงาน และชาวซีพีเอฟจิตอาสา ร่วมมอบ ณ วัดพระบาทน้ำพุ อำเภอเมือง จังหวัดลพบุรี

โครงการเมตตาธรรมค้ำจุนโลก มูลนิธิธรรมรักษ์ ของวัดพระบาทน้ำพุ จังหวัดลพบุรี เกิดขึ้นตามนโยบายโครงการ Volunteer Thailand เพื่อนำจตุปัจจัยและสิ่งของเครื่องอุปโภคบริโภคของใช้ที่จำเป็นไปบริหารจัดการดูแลผู้ป่วย HIV เด็กกำพร้า คนชราถูกทอดทิ้ง และผู้ยากไร้ในสังคม ให้ได้รับการช่วยเหลือและพัฒนาคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้นในสังคม ขณะเดียวกัน ท่านเจ้าคุณอลงกต ติกฺขปญฺโญ เจ้าอาวาสวัดพระบาทน้ำพุ และทีมงาน ยังมีโครงการที่อยู่ภายใต้แบรนด์ “นาถะ” ซึ่งเป็นสินค้าสมุนไพรของหลวงพ่อฯ ที่นำมาจำหน่ายเพื่อนำรายได้ไปใช้ในการสานต่อโครงการต่างๆ ที่เป็นประโยชน์ต่อทุกชีวิตภายในวัดที่ท่านดูแล และยังมีดนตรีจิตอาสาด้วย

Go Beyond (Dis) abilities into possibilities together แผนธุรกิจเพื่อต่อยอดศักยภาพผู้พิการ พลิกการขาดหาย ให้กลายเป็นพลังใหม่ พร้อมพาทุกชีวิต “ดีทั่วดีถึง ดีไปด้วยกัน ทุกคน”

6 CSR Trends 2022

March 08, 2022

ปัจจัยความท้าทายใหม่ๆ ในปี 2565 ทั้งปัญหาการเติบโตของเศรษฐกิจโลก ความขัดแย้งทางการเมืองระหว่างประเทศ เสถียรภาพทางการเมืองในประเทศ ความเหลื่อมล้ำทางเศรษฐกิจและปัญหาหนี้สินในภาคครัวเรือนที่เพิ่มขึ้น ล้วนส่งอิทธิพลต่อการเติบโตทางธุรกิจและความก้าวหน้าทางสังคม นอกเหนือจากผลพวงของสถานการณ์โควิดที่ยังส่งผลสืบเนื่องต่อในปีนี้


ดร.พิพัฒน์ ยอดพฤติการ ประธานสถาบันไทยพัฒน์ ได้กล่าวในงานแถลงทิศทาง CSR ปี 2565 ที่จัดขึ้นในปลายเดือนกุมภาพันธ์ ที่ผ่านมาว่า “ภาคธุรกิจกำลังเผชิญสถานการณ์ที่ไม่อาจพึ่งพารูปแบบการดำเนินธุรกิจตามปกติ (Business as Usual) ในการเติบโตได้ดังเดิม หลายกิจการที่ได้รับผลกระทบ จำเป็นที่จะต้องมองหาและพัฒนารูปแบบการดำเนินธุรกิจในวิถีปกติใหม่ (Business as New Normal) ที่เอื้อต่อการเติบโตทางธุรกิจในแบบยั่งยืน และสามารถเสริมหนุนการพัฒนาทางสังคมควบคู่ไปพร้อมกัน”
ในปีนี้ สถาบันไทยพัฒน์ ได้ทำการประเมินทิศทางธุรกิจที่รับผิดชอบต่อสังคม หรือ CSR ภายใต้รายงานที่มีชื่อว่า 6 ทิศทาง CSR ปี 2565: From ‘Net Zero’ to ‘Social Positive’ สำหรับหน่วยงานและองค์กรธุรกิจในการใช้พัฒนาแนวทางการสื่อสารข้อมูลผลกระทบทางบวกที่มีต่อสังคมให้เกิดประสิทธิผล สมตามเจตนารมณ์ของกิจการ โดยแนวโน้มทั้ง 6 ประกอบด้วย

1. Regenerative Agriculture & Food System ระบบอาหารและการเกษตรแบบเจริญทดแทน เป็ นธุรกิจการเกษตรที่เน้นการคืนสภาพของหน้าดิน การเพิ่มความหลากหลายทางชีวภาพ การปรับปรุงวัฏจักรของน้า การเพิ่มพูนบริการจากระบบนิเวศการ สนับสนุนการกักเก็บคาร์บอนด้วยวิธีการทางชีวภาพ การเพิ่มภาวะพร้อมผันจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ ซึ่งเกี่ยวข้องตั้งแต่กระบวนการเพาะปลูก การเก็บเกี่ยวการแปรรูป การขนส่งการจัดจำหน่าย การบริโภค ไปจนถึงกระบวนการก าจัดของเสีย รวมไปถึงการสร้างนวัตกรรมการผลิตอาหารที่เป็น ผลบวกต่อธรรมชาติ(Nature-Positive Production)


2. Biotechnology เทคโนโลยีชีวภาพ เป็นธุรกิจที่จะไปเสริมหนุนการขับเคลื่อนการพัฒนาเศรษฐกิจใหม่ (BCG Economy) ที่ใช้วิทยาศาสตร์เทคโนโลยีและนวัตกรรม มาเสริมสร้างจุดแข็งของ ประเทศไทยอาทิพันธุวิศวกรรม (การดัดแปลงยีน) การผลิตสารเวชภัณฑ์(เช่น ยา วัคซีน โปรตีนเพื่อการบ าบัด) การผลิตชุดตรวจวินิจฉัยทางการแพทย์ การเกษตรอาหารและสิ่งแวดลอ้ม การผลิตที่ใช้เซลล์จุลินทรีย์เซลล์พืช และเซลล์สัตว์ในการผลิตสารชีวโมเลกุล สารออกฤทธิ์ ชีวภาพ การผลิตวัตถุดิบและ/ หรือวัสดุจำเป็นที่ใช้ในการทดลองหรือทดสอบด้านชีววิทยาระดับโมเลกุลรวมท้งับริการตรวจวิเคราะห์และ/หรือสังเคราะห์สารชีวภาพ


3. Renewable Resources & Alternative Energy ทรัพยากรหมุนเวียนและพลังงานทางเลือก เป็นธุรกิจที่สอดรับกับแนวทางการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกในภาคพลังงาน เช่น การใช้เชื้อเพลิงสะอาด การเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตไฟฟ้าและการ เพิ่มสัดส่วนการใช้พลังงานทดแทน สำาหรับรองรับการยกระดับการแก้ไขปัญหาสภาพภูมิอากาศ ตามที่ประเทศไทยประกาศในเวทีประชุม World Leaders Summit ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของการประชุมรัฐภาคีกรอบอนุสัญญาสหประชาชาติว่าด้วยการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ สมัยที่26 (UNFCCC COP26) ที่จะ บรรลุเป้าหมายความเป็นกลางทางคาร์บอนภายใน ค.ศ. 2050 และบรรลุเป้าหมายการปล่อยก๊าซเรือนกระจกสุทธิเป็นศูนย์ภายใน ค.ศ. 2065


4. Electric Vehicles & Components ยานยนต์ไฟฟ้าและชิ้นส่วนประกอบ เป็นธุรกิจที่สอดรับกับแนวทางการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกในภาคขนส่งและร่วมผลักดันให้ประเทศไทยก้าวสู่การเป็นฐานการผลิตยานยนต์ไฟฟ้าและ ชิ้นส่วนที่สำคัญของโลก ั ตามนโยบาย 30/30 คือการตั้งเป้าผลิตรถ ZEV (Zero Emission Vehicle) หรือรถยนต์ที่ปล่อยมลพิษเป็นศูนย์ให้ได้อย่างน้อย 30% ของการผลิตยานยนต์ทั้งหมดในปีค.ศ. 2030


5. Social Digital Assets สินทรัพย์ดิจิทัลเพื่อสังคม เป็นธุรกิจการเงินแบบหลากหลาย (Diversified Finance) ที่ไม่ได้มีเพียงธนาคาร เงินทุนและหลักทรัพย์หรือธุรกิจประกัน โดยธนาคารแห่งประเทศไทยก าลัง อยู่ระหว่างศึกษาการออกใช้สกุลเงินดิจิทัลของธนาคารกลางในระดับรายย่อย (Retail CBDC) เพื่อเป็นทางเลือกให้ประชาชนในการใช้จ่ายและช าระเงินที่ ปลอดภัยลดต้นทุนต่อหน่วยของการใช้เงินสดในระบบ เอื้อประโยชน์ต่อสังคมและเศรษฐกิจโดยรวม อีกทั้งได้เริ่มมีผู้ประกอบธุรกิจสินทรัพย์ดิจิทัลที่ เป็นศูนย์ซื้อขาย (Exchange) นายหน้า (Broker) ผู้ค้า (Dealer) ที่ปรึกษา (Advisor) และผู้จัดการเงินทุน (Fund Manager) ด าเนินการขอใบอนุญาตประกอบ ธุรกิจ ที่ก.ล.ต. เพิ่มมาเป็นประเภทธุรกิจใหม่ภายใต้การกำกับดูแลในปัจจุบัน


6. Metaware for Vulnerable Groups เมตาแวร์เพื่อกลุ่มเปราะบาง เป็นธุรกิจที่นาเทคโนโลยีในโลกเมตาเวิร์ส มาพัฒนาอุปกรณ์หรือเมตาแวร์สำหรับเสริมสร้างคุณภาพชีวิตกลุ่มเปราะบางอาทิกลุ่มคนพิการในกลุ่มที่มีปัญหา ทางการเคลื่อนไหวหรือทางร่างกาย กลุ่มผู้สูงอายุที่อยู่ติดบ้านและติดเตียง แต่ประสาทสัมผัสทั้งห้ายังเป็นปกติเนื่องจากเมตาเวิร์ส สามารถช่วยจำลองให้ บุคคลไปอยู่ในสถานที่ต่างๆ ได้โดยอาศัยการสวมใส่อุปกรณ์ที่สร้างการรับรู้ผ่านประสาทสัมผัสในรูปแบบของภาพและเสียง เช่น อุปกรณ์สวมศีรษะ VR (Virtual Reality) และสามารถมีปฏิสัมพันธ์ระหว่างบุคคลที่อยู่ในเมตาเวิร์สเดียวกันผ่านการเชื่อมต่อเครือข่ายอินเทอร์เน็ต เปิด โอกาสให้กลุ่มเปราะบาง ดังกล่าว สามารถใช้ประโยชน์จากเมตาเวิร์ส มาทดแทนข้อจำากัดในการทำกิจกรรมที่ต้องเดินทางหรือต้องออกจากบ้าน

X

Right Click

No right click