บริษัทสยามคูโบต้าคอร์ปอเรชั่น จำกัด เดินหน้าสานต่อโครงการ “คูโบต้าพลังใจสู้ภัยหนาว” ต่อเนื่องเป็นปีที่ 25 นำคาราวานแห่งไออุ่น ลงพื้นที่มอบเสื้อกันหนาว 10,000 ตัว ร่วมกับกองทัพบกใน 4 จังหวัด ภาคเหนือและภาคตะวันออกเฉียงเหนือ พร้อมจับมือร้านค้าผู้แทนจำหน่ายมอบสิ่งของจำเป็นให้โรงเรียนและชุมชนในพื้นที่ นอกจากนี้ยังมอบเสื้อกันหนาว 3,000 ตัว ผ่านกรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย เพื่อกระจายความอบอุ่นไปยังผู้ที่ขาดแคลน ตอกย้ำการสร้างสังคมแห่งการแบ่งปันในการมุ่งมั่นเคียงข้างสังคมและเกษตรกรไทย
นางวราภรณ์ โอสถาพันธุ์ กรรมการรองผู้จัดการใหญ่อาวุโส บริษัทสยามคูโบต้าคอร์ปอเรชั่น จำกัด กล่าวถึงการจัดกิจกรรมในครั้งนี้ว่า “ในสถานการณ์ปัจจุบันที่โลกต้องเผชิญกับการเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศ (Climate Change) ก่อให้เกิดภัยธรรมชาติจากสภาพอากาศที่แปรปรวนอย่างภัยหนาว เราเล็งเห็นว่าเสื้อกันหนาวถือเป็นสิ่งจำเป็นอย่างยิ่ง สามารถพกพาหรือสวมใส่เพื่อให้ความอบอุ่นแก่ร่างกายและป้องกันความหนาวที่อาจส่งผลกระทบต่อสุขภาพร่างกาย เราจึงตั้งใจดำเนินโครงการคูโบต้าพลังใจสู้ภัยหนาว อย่างต่อเนื่องเป็นปีที่ 25 ในการช่วยเหลือบรรเทาความเดือดร้อนให้กับผู้ประสบภัยหนาวในพื้นที่ห่างไกล และถือเป็นการแสดงความห่วงใยในชีวิตความเป็นอยู่ของพี่น้องประชาชน เด็กๆ เยาวชน รวมถึงพี่น้องเกษตรกรทุกคน โดยตลอดระยะเวลา 46 ปี เราตระหนักถึงการดำเนินธุรกิจควบคู่กับความรับผิดชอบต่อสังคม ซึ่งเป็นหนึ่งในนโยบายสำคัญของสยามคูโบต้า ทั้งนี้ สยามคูโบต้าได้รับความร่วมมือจากกองทัพบกที่ทำงานใกล้ชิดดูแลประชาชนในพื้นที่ห่างไกล จึงมีความเข้าใจและเข้าถึงพื้นที่ต่างๆ ในการกำหนดพื้นที่เป้าหมายร่วมกัน โดยเราจะพิจารณาพื้นที่ที่อยู่ห่างไกล และมีประชาชนที่ขาดแคลนเครื่องนุ่งห่มกันหนาว นอกจากนี้ยังคำนึงถึงความรวดเร็วทันต่อสถานการณ์ภัยหนาวด้วย
สำหรับในปีนี้ สยามคูโบต้าได้ร่วมจัดคาราวานแบ่งปันความอบอุ่นผ่านเสื้อกันหนาว 4 จังหวัด ในพื้นที่ ภาคเหนือ ได้แก่ จังหวัดเชียงใหม่ และจังหวัดแม่ฮ่องสอน ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ได้แก่ จังหวัดนครพนมและจังหวัดมุกดาหาร และได้รับความร่วมมือจากร้านค้าผู้แทนจำหน่ายสยามคูโบต้ามอบสิ่งของจำเป็นให้โรงเรียนและชุมชนในพื้นที่ พร้อมกันนี้ยังได้ส่งมอบเสื้อกันหนาวผ่านกรมป้องกัน และบรรเทาสาธารณภัย ซึ่งถือเป็นหน่วยงานที่มีความสำคัญในการป้องกันบรรเทา และช่วยเหลือฟื้นฟูในทุกภัยพิบัติ ตลอดจนเป็นที่พึ่งให้แก่ผู้ประสบภัยทั่วประเทศ รวมทั้งสิ้นจำนวน 13,000 ตัว มูลค่ารวมกว่า 3,900,000 บาท ทั้งนี้ สยามคูโบต้าต้องขอขอบคุณทุกหน่วยงานที่ได้ให้ความร่วมมือในการเดินหน้าส่งเสริมคุณภาพชีวิต และแบ่งปันพลังแห่งความอบอุ่นเคียงข้างพี่น้องประชาชนและสังคมไทย”
พลเอก วสุ เจียมสุข ผู้ช่วยผู้บัญชาการทหารบก กล่าวว่า “กองทัพบกเป็นหน่วยงานที่ตั้งอยู่ทั่วประเทศ พร้อมเข้าให้การช่วยเหลือบรรเทาทุกข์ให้แก่ประชาชนในทุกกรณีที่ประชาชนได้รับความเดือดร้อน โดยร่วมบูรณาการกับหน่วยงานทั้งภาครัฐและเอกชน ซึ่งสยามคูโบต้าเป็นภาคเอกชนที่ให้การสนับสนุนกองทัพบกมาอย่างต่อเนื่องยาวนานถึง 11 ปี ซึ่งในปีนี้กรมอุตุนิยมวิทยาประกาศให้ประเทศไทยเริ่มเข้าสู่ฤดูหนาวในช่วงเดือนพฤศจิกายน ดังนั้นการรับมอบเสื้อกันหนาวในครั้งนี้ จึงนับว่าเป็นการร่วมมือกันอย่างแน่นแฟ้น ระหว่างกองทัพบกและสยามคูโบต้าในการเข้าถึงประชาชนที่ได้รับความเดือดร้อนจากภัยหนาวได้อย่างทันท่วงที
ด้าน นายไชยวัฒน์ จุนถิระพงศ์ อธิบดีกรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย กล่าวว่า “สำหรับปีนี้ เป็นการดำเนินโครงการร่วมกันระหว่างกรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย กับ สยามคูโบต้า ต่อเนื่องเป็นปีที่ 5 ในฐานะหน่วยงานกลางของภาครัฐในการดำเนินการป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยของประเทศ เราได้เตรียมความพร้อมในการช่วยเหลือผู้ประสบภัยหนาวโดยเป็นศูนย์กลางการประสานการช่วยเหลือฯ โดยเฉพาะในพื้นที่จังหวัดที่เสี่ยงภัยหนาว เน้นกลุ่มเปราะบางในพื้นที่ที่ห่างไกลทุรกันดาร โดยได้วางแผนส่งมอบเสื้อกันหนาว ในพื้นที่เป้าหมาย 3 จังหวัด ได้แก่ จังหวัดเชียงเชียงราย พะเยา และเลย ซึ่งเป็นจังหวัดที่มีความต้องการเครื่องนุ่งห่มกันหนาวและเป็นพื้นที่ที่คาดว่าจะเกิดภัยหนาวตามการคาดการณ์ของกรมอุตุนิยมวิทยา”
จากวันแรกของการริเริ่มโครงการจวบจนปีที่ 25 วันนี้สยามคูโบต้าได้บรรเทาความหนาวให้พี่น้องประชาชนไปแล้วกว่า 183,000 ราย ด้วยความมุ่งหวังสร้างสังคมแห่งการแบ่งปัน ภายใต้นโยบายความรับผิดชอบต่อสังคมที่สอดคล้องกับเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน หรือ Sustainable Development Goals (SDGs) ของสหประชาชาติ พร้อมมุ่งมั่นตอบแทนสังคมเพื่อยกระดับคุณภาพชีวิตและความเป็นอยู่ของเกษตรกร และร่วมเป็นพลังในการขับเคลื่อนคุณภาพชีวิตของเกษตรกรไทยให้ดียิ่งขึ้น
THAIBIZ สื่อภาษาญี่ปุ่นระดับชั้นนำที่นำเสนอข้อมูลแวดวงเศรษฐกิจและธุรกิจในประเทศไทย เปิดตัวโครงการระดมทุนเพื่อช่วยเหลือผู้ประสบอุทกภัยในพื้นที่ภาคเหนือ โดยได้รับการสนับสนุนจาก 3 บริษัทชั้นนำของญี่ปุ่น ได้แก่ บริษัท โตโยต้า ทูโช (ไทยแลนด์) จำกัด, บริษัท เดนท์สุ โซเคน (ไทยแลนด์) จำกัด และบริษัท เซนโช (ไทยแลนด์) จำกัด ร่วมบริจาคเงินรวมทั้งสิ้น 350,000 บาท ผ่านสำนักงานข้าหลวงใหญ่ผู้ลี้ภัยแห่งสหประชาชาติ (UNHCR) เพื่อจัดหาปัจจัยยังชีพและสิ่งของที่จำเป็นแก่ผู้ประสบภัยในพื้นที่จังหวัดเชียงราย ที่ได้รับผลกระทบ อาทิ อาหาร น้ำดื่ม และยารักษาโรค
ยูกิโกะ ซากุราอิ (Yukiko Sakurai) PPH Officer จาก UNHCR ประจำภูมิภาคเอเชียและแปซิฟิก กล่าวว่า “ขอขอบคุณทุกฝ่ายที่ให้การช่วยเหลือผู้ประสบภัยอย่างเต็มที่ ซึ่งการสนับสนุนครั้งนี้ถือเป็นจุดเริ่มต้นที่ดีสำหรับเราและองค์กรญี่ปุ่น รวมถึงอาจนำไปสู่ความร่วมมือระหว่างกันที่แนบแน่นยิ่งขึ้นในอนาคต”
นอกจากนี้จากผลสำรวจของหอการค้าญี่ปุ่น-กรุงเทพฯ (JCC) เกี่ยวกับการช่วยเหลือผู้ประสบอุทกภัยในภาคเหนือของประเทศไทยเมื่อเดือนตุลาคม 2567 ที่ผ่านมา เผยให้เห็นว่ามี 77 บริษัทจาก 93 บริษัทสมาชิก ร่วมดำเนินการบริจาค หรือมีแผนที่จะบริจาคเงินและสิ่งของต่างๆ เพื่อให้การช่วยเหลือฯ รวมมูลค่ากว่า 30 ล้านบาท ผ่านหลายองค์กร JCC ยังร่วมสมทบทุนบริจาคเงินเพิ่มอีก 200,000 บาท ซึ่งช่วยสะท้อนให้เห็นถึงสายสัมพันธ์อันแน่นแฟ้นระหว่างบริษัทญี่ปุ่นและประเทศไทยที่พร้อมจะยืนเคียงข้างแม้ในยามวิกฤตได้เป็นอย่างดี
นอกจากนี้ เมื่อวันที่ 25 ตุลาคม 2567 ทาง THAIBIZ รับหน้าที่ประสานเพื่อส่งมอบเตาแก๊สพกพา 480 ชุดจากบริษัท อิวาตานิ คอร์ปอเรชั่น (ประเทศไทย) จำกัด ให้แก่ผู้ประสบภัยที่เขตพื้นที่อำเภอแม่สาย ภายใต้โครงการ "หมดตัวไม่หมดใจเพราะยังมี...ตันXจัน" ของ ตัน ภาสกรนที และสำนักข่าวอีจัน ณ ที่ทำการอำเภอแม่สาย จังหวัดเชียงรายอีกด้วย
กันตธร วรรณวสุ กรรมการผู้จัดการ บริษัท เมดิเอเตอร์ จำกัด และผู้ก่อตั้งสื่อ THAIBIZ กล่าวว่า “การร่วมส่งต่อน้ำใจจากบริษัทญี่ปุ่นในครั้งนี้ ไม่เพียงช่วยเหลือผู้ประสบภัยที่กำลังเดือดร้อนให้มีกำลังใจในการก้าวเดินต่อไป แต่ยังเป็นสะพานเชื่อมความร่วมมือระหว่างบริษัทญี่ปุ่นกับองค์กรระหว่างประเทศอย่าง UNHCR ซึ่งสะท้อนให้เห็นถึงศักยภาพของบริษัทญี่ปุ่นในประเทศไทยที่จะก้าวไปมีบทบาทสำคัญในเวทีนานาชาติในอนาคต
ขณะเดียวกันในฐานะที่ THAIBIZ ซึ่งทำหน้าที่เป็นสื่อกลางคอยให้ข้อมูลและเชื่อมความสัมพันธ์ระหว่างบริษัทไทยและญี่ปุ่นมาโดยตลอด ดังนั้นโครงการระดมทุนในครั้งนี้จึงถือเป็นการตอกย้ำบทบาทของ THAIBIZ ในการส่งเสริมความร่วมมือระหว่างไทยและญี่ปุ่นให้ยั่งยืนและเข้มแข็งขึ้นต่อไปในอนาคต”
สำหรับองค์กรไทยที่ต้องการสร้างการรับรู้ในหมู่นักลงทุนญี่ปุ่น สามารถติดต่อเพื่อประชาสัมพันธ์ผ่านสื่อ THAIBIZ ได้ที่โทร. 02-392-3288 หรือ e-mail This email address is being protected from spambots. You need JavaScript enabled to view it. หรือเว็บไซต์ https://th-biz.com/ (ภาษาญี่ปุ่น)
ไม่ใช่แค่สร้างบ้านคุณภาพเพียงอย่างเดียวแต่ต้องสร้างเสริมชุมชนที่ปลอดภัยน่าอยู่ด้วย นี่คือความเชื่อของ วรยุทธ กิตติอุดม ซีอีโอ บมจ.ซีเนกซ์ พร็อพเพอร์ตี้ มาโดยตลอด ซึ่งได้จัดกิจกรรมพิเศษเพื่อลูกบ้านและชาวบ้านโดยรอบได้มาแจมกันอยู่เสมอ เช่น กิจกรรมมินิคอนเสิร์ต Zenex Limitless Party ที่สร้างความบันเทิงให้กับลูกบ้าน พนักงาน และชุมชน ทั้งยังมีไอเดียจะเพิ่มกิจกรรมเพื่อผู้สูงอายุโดยเฉพาะ ไม่ว่าจะเป็นโยคะ เวิร์คช็อป หรือการแสดง เพื่อช่วยลดความเหงาและส่งเสริมสุขภาพจิตที่ดีในกลุ่มญาติผู้ใหญ่ ทั้งยังเป็นการตอกย้ำถึงจุดยืนของบริษัทฯ ที่สนับสนุนในเรื่องการพัฒนาที่ยั่งยืน และใส่ใจต่อสังคมผู้สูงวัยอีกด้วย
มูลนิธิบีเจซี บิ๊กซี เปิดให้บริการ “บีเจซี บิ๊กซี คิดส์ แคร์” ศูนย์ดูแลเด็กอายุ 1-3 ปี สนับสนุนดูแลลูกของพนักงานที่ทำงานในบีเจซี บิ๊กซี สำนักงานใหญ่ในระหว่างวันทำงาน นำเสนอกิจกรรมการเรียนรู้หลากหลาย โภชนาการที่ดี มีความปลอดภัย พร้อมส่งเสริมนโยบายเป็นมิตรสำหรับครอบครัว ดูแลเด็กอย่างมีคุณภาพ สร้างสมดุลระหว่างงานและครอบครัว
นางฐาปณี เตชะเจริญวิกุล กรรมการ เลขานุการ และเหรัญญิก มูลนิธิ บีเจซี บิ๊กซี เปิดเผยว่า “บีเจซี บิ๊กซี เปิดให้บริการศูนย์รับเลี้ยงเด็กเล็ก “บีเจซี บิ๊กซี คิดส์ แคร์” เพื่อช่วยดูแลเด็กเล็กที่เป็นบุตรของพนักงานในกลุ่มบีเจซี บิ๊กซี สำนักงานใหญ่ในระหว่างวันทำงาน เนื่องจากเล็งเห็นถึงความสำคัญในการสนับสนุนให้พนักงานได้ใช้เวลากับบุตรหลานมากที่สุด โดยสภาพการเดินทางและการทำงานในยุคปัจจุบันอาจทำให้พ่อแม่มีเวลาอยู่กับลูกน้อยลง มีความลำบากในการหาสถานที่ดูแลเด็กที่มีคุณภาพดี ไว้ใจได้ สามารถดูแลลูกได้อย่างใกล้ชิด ดังนั้นการตั้งศูนย์ฯ นี้จะช่วยตอบโจทย์ผู้ปกครองได้มาก สำหรับศูนย์ฯ ดังกล่าว ตั้งอยู่ในพื้นที่ใกล้เคียงกับอาคารสำนักงานใหญ่บีเจซี บิ๊กซี เริ่มเปิดให้บริการอย่างเป็นทางการ วันที่ 27 พฤศจิกายน 2567
“บีเจซี บิ๊กซี คิดส์ แคร์” คือ ศูนย์เด็กที่ออกแบบตามมาตรฐาน ยึดหลักความสำคัญกับความปลอดภัยเป็นอันดับแรก ให้บริการโดยผู้เชี่ยวชาญด้านการดูแลเด็กที่มีประสบการณ์ในการดูแลเด็กปฐมวัยมากกว่า 10 ปี รวมถึงมีพี่เลี้ยงเด็กที่จบการศึกษาด้านปฐมวัยโดยตรง จึงสามารถส่งเสริมการเรียนรู้และออกแบบกิจกรรมเพื่อส่งเสริมพัฒนาการด้านต่าง ๆ ของลูกหลานพนักงานได้อย่างถูกต้องและเหมาะสม ทั้งยังมีหลักการดูแลเด็กๆ ให้ได้รับโภชนาการที่ดี นอกจากนี้ ยังมีอุปกรณ์การเรียนรู้ หนังสือ ของเล่นเด็กต่างๆ ที่ช่วยเสริมสร้างพัฒนาการสำหรับเด็กมากขึ้น ทั้งนี้ ศูนย์ฯ ดังกล่าวเปิดให้บริการสำหรับกลุ่มพนักงานที่ลูกมีอายุระหว่าง 1-3 ปี เปิดดำเนินการวันจันทร์ - วันศุกร์ เวลา 07.30 – 18.00 น.
นางฐาปณี กล่าวว่า “บีเจซี บิ๊กซี เชื่อว่าการเนรมิตศูนย์เด็ก “บีเจซี บิ๊กซี คิดส์ แคร์” นี้จะเป็นประโยชน์มากสำหรับพนักงานที่จะช่วยแบ่งเบาหน้าที่ในการดูแลลูก และตัวเด็กที่จะได้รับการดูแลที่เหมาะสม เรามุ่งเน้นสร้างสรรค์การเป็นองค์กรที่เป็นมิตรกับครอบครัว เราอยากให้พนักงานที่มีบุตรหลานได้ทำงานอย่างสบายใจ และเด็ก ๆ ก็สามารถเล่นได้อย่างปลอดภัย เราเข้าใจและใส่ใจพนักงานทุกคนและมุ่งมั่นที่จะทำให้สถานที่ทำงานเปรียบเสมือนบ้านของครอบครัว”
มูลนิธิบีเจซี บิ๊กซี ได้ให้การสนับสนุนยูนิเซฟ ประเทศไทยในการส่งเสริมการพัฒนาเด็กปฐมวัยที่มีคุณภาพ การเปิดศูนย์ดูแลเด็กแห่งนี้เป็นส่วนหนึ่งของความพยายามของบริษัทในการ "ลงมือทำจริง" ด้วยนโยบายที่เป็นมิตรกับครอบครัว โดย นางคยอนซอน คิม ผู้อำนวยการองค์การยูนิเซฟ ประเทศไทย กล่าวว่า ทุกวันนี้ครอบครัวต้องเผชิญกับความยากลำบากในการหาศูนย์ดูแลเด็กที่เหมาะสมและราคาไม่แพง โดยเฉพาะหลังจากสิ้นสุดช่วงลาคลอดที่แม่ต้องกลับไปทำงาน ซึ่งศูนย์ดูแลเด็กที่เปิดในวันนี้จะช่วยเติมเต็มช่องว่างนี้ให้กับพนักงาน และเปลี่ยนแปลงชีวิตของพ่อแม่และลูก ๆ ไปในทางที่ดีขึ้น ทั้งนี้ หนึ่งในวิธีที่ดีที่สุดในการส่งเสริมการพัฒนาเด็กปฐมวัย คือการสนับสนุนให้นายจ้างนำนโยบายที่เป็นมิตรกับครอบครัวมาใช้ เช่น นโยบายลาคลอดที่ได้รับค่าจ้าง เวลาพักให้นมแม่ บริการดูแลเด็กที่มีคุณภาพ ตลอดจนสวัสดิการสำหรับเด็ก ศูนย์ดูแลเด็กแห่งนี้จึงถือเป็นแบบอย่างที่ดีสำหรับสถานประกอบการและบริษัทอื่น ๆ ต่อไป”
พฤกษา โฮลดิ้ง พร้อมด้วยบริษัทในเครือ ได้แก่ โรงพยาบาลวิมุต และ อินโนโฮม คอนสตรัคชัน ร่วมกับพันธมิตรทั้งภาครัฐและเอกชน รวมพลังสานต่อโครงการ “บ้านใส่ใจเพื่อคนพิการ By PRUKSA” เดินหน้าต่อเนื่องมาสู่ปีที่ 6 โดยโครงการนี้มีเป้าหมายสำคัญในการปรับปรุงและสร้างบ้านใหม่ให้แก่คนพิการ เพื่อให้คนพิการได้มีที่อยู่อาศัยที่เหมาะสม ปลอดภัยและตอบสนองต่อความพิการเฉพาะรายบุคคล เพื่อช่วยให้สามารถใช้ชีวิตอย่างสะดวกสบายมากขึ้น พร้อมทั้งสนับสนุนสร้างโอกาสในการมีอาชีพของคนพิการ เพื่อส่งเสริมคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น สามารถพึ่งพาตนเองได้และยืนหยัดอย่างมีศักดิ์ศรีในสังคม
การลงพื้นที่สำรวจปัญหาอย่างละเอียดเพื่อแก้ไขตรงจุด
พฤกษาฯ และทีมงานได้ลงพื้นที่สำรวจสภาพแวดล้อมและความต้องการของคนพิการอย่างใกล้ชิด โดยการลงพื้นที่ครั้งนี้ได้ช่วยให้ทีมงานสามารถประเมินปัญหาที่แท้จริงของแต่ละครอบครัว ทำให้การช่วยเหลือสามารถออกแบบให้เหมาะสมกับแต่ละบุคคลได้อย่างมีประสิทธิภาพ โดยเริ่มต้นจากการเยี่ยมเยียนบ้านแต่ละหลังเพื่อพูดคุยกับคนพิการและครอบครัวในพื้นที่จังหวัดขอนแก่นและเชียงใหม่ ทีมงานได้ทำการตรวจสอบสภาพแวดล้อมโดยรอบทั้งด้านโครงสร้างพื้นฐาน ระบบสาธารณูปโภค และความสะดวกในการเข้าถึงบริการต่าง ๆ ข้อมูลเหล่านี้ช่วยให้ทีมงานสามารถวางแผนการออกแบบและปรับปรุงบ้านที่ตอบโจทย์ความต้องการเฉพาะของแต่ละบุคคลได้อย่างแท้จริง
พลังของพันธมิตรภาครัฐและเอกชน ผนึกกำลังเพื่อคุณภาพชีวิตคนพิการ
โครงการนี้ได้รับความร่วมมือจากหลากหลายองค์กรพันธมิตรทั้งภาครัฐและเอกชน ซึ่งรวมพลังกันในด้านทรัพยากร ความรู้ และความเชี่ยวชาญในการสร้างบ้านและสิ่งอำนวยความสะดวกให้แก่คนพิการ ไม่ว่าจะเป็นมูลนิธินวัตกรรมทางสังคม โรงพยาบาลสิรินธร ขอนแก่น ชมรมชมภูม่วนใจ๋ กระทรวงสาธารณสุข กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ รวมถึงหน่วยงานท้องถิ่นในพื้นที่ที่ร่วมมือกันอย่างใกล้ชิด ทุกหน่วยงานทำหน้าที่บูรณาการความช่วยเหลือในหลากหลายด้าน เริ่มตั้งแต่การประเมินปัญหาการอยู่อาศัยของคนพิการ การจัดลำดับความช่วยเหลืออย่างเป็นระบบ การส่งเสริมการเข้าถึงบริการและสวัสดิการของรัฐ และการให้คำปรึกษาในการพัฒนาอาชีพให้ยั่งยืน ซึ่งการทำงานร่วมกันในครั้งนี้ไม่เพียงแต่ช่วยพัฒนาคุณภาพชีวิตของคนพิการ แต่ยังเป็นการแสดงถึงความรับผิดชอบและความห่วงใยที่องค์กรทั้งหลายมีต่อสังคมอย่างแท้จริง
นวัตกรรมเพื่อการอยู่อาศัยและการเสริมสร้างอาชีพที่ยั่งยืน
หนึ่งในจุดเด่นของโครงการ “บ้านใส่ใจเพื่อคนพิการ By PRUKSA” คือการใช้ความเชี่ยวชาญและนวัตกรรมมาปรับปรุงพื้นที่อยู่อาศัยให้ตอบโจทย์ความต้องการของผู้พิการในแต่ละพื้นที่ โดยพฤกษาและทีมงานออกแบบโซลูชันที่เป็นมิตรกับการใช้งาน เช่น การปรับแต่งบ้านให้เข้าถึงได้ง่ายด้วยทางเดินที่ปราศจากสิ่งกีดขวาง พื้นห้องน้ำที่ไม่ลื่น ปรับระดับและความสูงของเครื่องมือในบ้านให้เหมาะสมกับการใช้งานของผู้พิการ รวมถึงการใช้วัสดุที่ทนทานและปลอดภัย โดยเตรียมพร้อมเพื่อส่งมอบบ้านที่ปรับปรุงแล้วเสร็จในช่วงปลายปีนี้
นอกจากนี้ พฤกษาและพันธมิตรยังให้การสนับสนุนด้านการส่งเสริมอาชีพเพื่อให้คนพิการสามารถพึ่งพาตนเองได้ ด้วยการนำเสนอแนวทางการประกอบอาชีพที่เหมาะสมกับความสามารถและสถานะของแต่ละคน เช่น การฝึกฝนอาชีพที่สามารถทำได้ที่บ้าน หรือการสร้างรายได้ผ่านการเชื่อมต่อกับเครือข่ายทางธุรกิจในท้องถิ่น เป็นการยกระดับคุณภาพชีวิตให้กับผู้พิการในระยะยาว
พฤกษามุ่งมั่นในการสร้างสังคมแห่งความเป็นธรรมและเสมอภาค
ด้วยปณิธานของพฤกษา โฮลดิ้ง ที่ยังคงมุ่งมั่นในการสร้างสรรค์โครงการที่มุ่งเน้นการพัฒนาสังคมให้เป็นธรรมและเสมอภาค โดยไม่มองข้ามกลุ่มคนที่ต้องการความช่วยเหลือในสังคม ทั้งนี้ พฤกษาเชื่อมั่นว่าทุกคนควรได้รับโอกาสที่เท่าเทียมกันในการมีชีวิตที่ดีขึ้น มีที่อยู่อาศัยที่มั่นคง และสามารถพึ่งพาตนเองได้อย่างยั่งยืน โครงการ “บ้านใส่ใจเพื่อคนพิการ By PRUKSA” จึงเป็นการแสดงถึงความตั้งใจของพฤกษาที่จะช่วยสร้างความเปลี่ยนแปลงที่ยั่งยืนและเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม ซึ่งสะท้อนถึงความรับผิดชอบต่อสังคมและจิตวิญญาณในการพัฒนาชุมชนอย่างแท้จริง
บริษัท ซีพี แอ็กซ์ตร้า จำกัด (มหาชน) ผู้ดำเนินธุรกิจค้าส่งค้าปลีก “แม็คโคร-โลตัส” นำโดยนางนภัสจิรา อิงคโรจน์ฤทธิ์ ผู้จัดการอาวุโส สายงาน กิจกรรมความรับผิดชอบต่อสังคมและความยั่งยืน มอบเงินสนับสนุนการจัดกิจกรรม “หนาวนี้ทำดีเพื่อพ่อ 2568” ต่อเนื่องปีที่ 3 จำนวน 100,000 บาท ให้แก่พลโท นายแพทย์อำนาจ บาลี ผู้อำนวยการสำนักงานบรรเทาทุกข์และประชานามัยพิทักษ์ สภากาชาดไทย ประธานจัดกิจกรรมฯ ในการจัดกิจกรรมส่งมอบผ้าห่ม เครื่องกันหนาว รวมถึงบริการด้านสุขภาพ เพื่อให้ประชาชนผู้ยากไร้และด้อยโอกาสในถิ่นทุรกันดารที่ประสบกับอากาศที่หนาวเย็น ในพื้นที่อำเภอทองผาภูมิ อำเภอสังขละบุรี และอำเภอศรีสวัสดิ์ จังหวัดกาญจนบุรี ได้มีสุขภาพอนามัยและคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น สอดคล้องกับความมุ่งมั่นของซีพี แอ็กซ์ตร้า ในการเป็นองค์กรที่มุ่งเคียงข้างชุมชนไทย โดยกิจกรรมนี้จะจัดขึ้นในวันที่ 26-28 พฤศจิกายน 2567
บริษัท ทิพยประกันภัย จำกัด (มหาชน) ร่วมสนับสนุนโครงการประกวดคลิปวีดีโอ “Thailand Tomorrow คนรุ่นใหม่ทำความดีเพื่อสังคม” ที่จัดขึ้นโดยกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ โดยกรมกิจการเด็กเเละเยาวชน มูลนิธิพุทธภูมิธรรม ศูนย์คุณธรรม (องค์การมหาชน) มีวัตถุประสงค์เพื่อส่งเสริมให้เด็กและเยาวชนได้แสดงศักยภาพและไอเดียสร้างสรรค์ ผ่านการสร้างสรรค์คลิปวีดีโอที่สะท้อนการทำความดีเพื่อสังคม
นางวิชชุดา ไตรธรรม ที่ปรึกษากรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท ทิพยประกันภัย จำกัด (มหาชน) ได้เข้าร่วมพิธีประกาศผลและมอบรางวัลให้แก่ผู้ชนะในการประกวดครั้งนี้ ซึ่งมีรางวัลรวมมูลค่ากว่า 160,000 บาท นอกจากนี้ ยังได้รับเกียรติจากนายอนุกูล ปีดแก้ว ปลัดกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ เป็นประธานในพิธี
ภายในงานยังมีผู้ทรงคุณวุฒิจากองค์กรต่าง ๆ ร่วมแสดงความยินดี ได้แก่ นางอภิญญา ชมภูมาศ อธิบดีกรมกิจการเด็กและเยาวชน, รองศาสตราจารย์ นายแพทย์สุริยเดว ทรีปาตี ผู้อำนวยการศูนย์คุณธรรม (องค์การมหาชน) และอาจารย์วิจักษณ์ สองจันทร์ ประธานมูลนิธิพุทธภูมิธรรม โดยพิธีจัดขึ้น ณ อาคารกรมพัฒนาสังคมและสวัสดิการ กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์
บมจ.กรุงไทย-แอกซ่า ประกันชีวิต นำโดย คุณสุกัญญา อิสรานุวัฒน์ชัย รองประธานอาวุโส ฝ่ายสื่อสารการตลาด และภาพลักษณ์องค์กร (คนที่ 7 จากซ้าย แถวที่ 2) และคุณเต๋า เศรษฐพงศ์ เพียงพอ CR Influencer (คนที่ 9 จากซ้าย แถวที่ 2) ร่วมส่งมอบเงินสมทบทุน จำนวน 30,000 บาท ให้แก่ศูนย์ปฎิบัติการไฟป่า จังหวัดเชียงราย เพื่อสนับสนุนอุปกรณ์ในการช่วยเหลือยับยั้ง และเป็นแนวตั้งรับการดับไฟป่า ภายใต้กิจกรรม Wild Life จากแคมเปญ Commit To Climate ปีที่ 3 โดยได้รับเกียรติจาก คุณนิคม อิ่มเอิบ ผู้อำนวยการ ส่วนควบคุม และปฎิบัติการไฟป่า สำนักบริการพื้นที่อนุรักษ์ที่ 15 จังหวัดเชียงราย (คนที่ 8 จากซ้าย แถวที่ 2) เป็นผู้รับมอบ
ทั้งนี้กิจกรรม Wild Life เป็นการเชิญชวนประชาชนทั่วไป ให้ได้ตระหนักถึงปัญหาของไฟป่า ซึ่งสร้างมลพิษทางอากาศเป็นจำนวนมาก อีกทั้งยังทำลายชีวิตและแหล่งที่อยู่อาศัยของสัตว์ป่าและพันธุ์พืช ซึ่ง 75% ของเหตุการณ์ไฟป่าเกิดจากกิจกรรมมนุษย์ เช่น การเผาป่า การรุกป่าทำแปลงเกษตรและปศุสัตว์ ผ่านการเล่นเกมส์ที่ให้ความรู้เรื่องไฟป่า โดยทุกๆการเล่นเกมจะถูกแปลงเป็นเงิน 5 บาท เพื่อสมทบทุนซื้ออุปกรณ์ทำแนวกันไฟ ให้แก่ศูนย์ปฎิบัติการไฟป่า จังหวัดเชียงราย โดยกิจกรรมดังกล่าวได้ยอด Reach สูงถึง 512,000 reach ซึ่งถือเป็นอีกหนึ่งกิจกรรมที่ได้รับการตอบรับเป็นอย่างดี และเป็นไปตามจุดมุ่งหมายของบริษัทฯ ที่เคียงข้าง คุ้มครอง พร้อมใส่ใจสิ่งแวดล้อม
นายโชน โสภณพนิช (ที่ 3 จาก ซ้าย) กรรมการผู้จัดการใหญ่และประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท กรุงเทพประกันชีวิต จำกัด (มหาชน) พร้อมด้วยคณะผู้บริหาร และกลุ่มตัวแทนจาก BLA Top 100 Club ร่วมกิจกรรมโครงการ “สานฝันจากพี่สู่น้อง” ปี 2567 ณ โรงเรียนบ้านยางงาม โดยมีเป้าหมายในการส่งเสริมให้เยาวชนไทยเข้าถึงการศึกษา มีพัฒนาการ และสุขภาพที่ดี โดยได้มอบทุนการศึกษา ครุภัณฑ์ ชุดปฐมพยาบาล พร้อมสร้างพื้นที่การเรียนรู้สนามเด็กเล่นพร้อมเครื่องเล่นสำหรับเด็กปฐมวัย ปรับปรุงทัศนียภาพ รวมทั้งติดตั้งระบบน้ำดื่มสะอาด โดยมี นางสาวอัจฉรี สรรพคุณ (ที่ 3 จาก ขวา) ผู้อำนวยการโรงเรียน พร้อมด้วยคณะครูให้การต้อนรับ ณ โรงเรียนบ้านยางงาม อำเภอแกลง จังหวัดระยองเมื่อเร็วๆนี้
บริษัท เจริญโภคภัณฑ์อาหาร จำกัด (มหาชน) หรือซีพีเอฟ สานต่อโครงการ “ต่อชีวิตช้างไทย” จับมือพันธมิตรและคู่ค้าอาหารสัตว์บกทั่วประเทศ ร่วมบริจาคแต้ม (Point) สมทบทุนซื้ออาหารช้าง ช่วยเหลือช้างกลุ่มเปราะบาง อาทิ ช้างป่วย ช้างชรา ช้างแม่ลูกอ่อน ที่ได้รับผลกระทบจากมหาอุทกภัย ผนึกกำลังร้านเชียงใหม่ธนากุล ร่วมส่งมอบอาหารช้างเอราวัณ รวม 12 ตัน กระจายสู่ปางช้างแม่สา และปางช้างแม่แตง จ.เชียงใหม่ ตลอดจน สถาบันคชบาลแห่งชาติ ในพระอุปถัมภ์ฯ หรือศูนย์อนุรักษ์ช้างไทยลำปาง
นายฤทธิชัย ภูมิอมร ผู้อำนวยการอาวุโส ธุรกิจอาหารสัตว์บก ซีพีเอฟ เปิดเผยว่า ซีพีเอฟร่วมร้อยเรียงความดีเดินหน้าโครงการ “ต่อชีวิตช้างไทย” มอบอาหารคุณภาพให้ช้างอิ่มท้อง สร้างสุขภาพดี นับตั้งแต่วิกฤติช้างไทยในสถานการณ์โควิด-19 ที่บริษัทได้ส่งต่ออาหารช้างให้กับหลายหน่วยงานที่ช่วยเหลือช้าง จนถึงอุทกภัยครั้งใหญ่ที่เกิดขึ้นในพื้นที่ภาคเหนือในช่วงที่ผ่านมา ซึ่งส่งผลกระทบต่อความเป็นอยู่ของช้างโดยตรง ซีพีเอฟในฐานะผู้ผลิตอาหารช้าง ที่มุ่งสร้างสังคมแห่งการแบ่งปันร่วมกัน จึงจับมือพันธมิตรและคู่ค้าอาหารสัตว์บกทั่วประเทศ ขยายผลสร้างเครือข่ายช่วยเหลือช้าง แบ่งเบาภาระผู้เลี้ยงช้างกลุ่มเปราะบางที่ได้รับผลกระทบ ด้วยการส่งต่ออาหารที่เพียงพอ มีคุณค่าทางโกชนาการ ช่วยแก้ไขปัญหาภาวะทุพโภชนาการให้กับช้างไทย
“โครงการ “ต่อชีวิตช้างไทย” เป็นนวัตกรรมทางสังคมในการสร้างการมีส่วนร่วมรับผิดชอบต่อสังคม ทั้งเกษตรกรที่เป็นลูกค้าอาหารสัตว์บกซีพีเอฟ คู่ค้า และทุกภาคส่วนมาร่วมกันอนุรักษ์ช้าง ด้วยการนำแต้ม CPF Feed Point จากช่องทางออนไลน์ และแอปพลิเคชัน CP SmartMORE มาแลกเป็นอาหารช้าง ขอขอบคุณทุกคนที่ร่วมกันบริจาคแต้มเปลี่ยนให้เป็นอาหารช้าง ส่งต่อไปยังช้างกลุ่มเป้าหมาย ให้มีคุณภาพชีวิตที่ดี และขอบคุณเชียงใหม่ธนากุล ร้านตัวแทนจำหน่ายอันดับหนึ่งของอาหารสัตว์บก ที่ช่วยอำนวยความสะดวกเรื่องการขนส่งอาหารในครั้งนี้ ” นายฤทธิชัย กล่าว
ทางด้าน นางอัญชลี กัลมาพิจิตร ผู้บริหารปางช้างแม่สา กล่าวว่า ปางช้างแม่สาก่อตั้งมาตั้งแต่ปี 2519 เรารู้จักอาหารช้างเอราวัณ ของซีพีเอฟมานานกว่า 20 ปี และเป็นผู้ใช้จริง ปัจจุบันนำอาหารเสริมนี้ผสมหญ้าให้กับช้างชราซึ่งเป็นกลุ่มเปราะบาง ที่ต้องการวิตามิน เกลือแร่เพิ่มมากขึ้นกว่าช้างแข็งแรงและอายุยังน้อย ดีใจมากที่ทางซีพีเอฟ เชียงใหม่ธนากุล และพันธมิตร มามอบอาหารเม็ดให้กับช้างในปางช้างแม่สา โครงการต่อชีวิตช้างไทยนี้ถือเป็นความร่วมมือของเกษตรกรที่ซื้ออาหารไปให้สัตว์ของตนเองและมีการสะสมแต้มจนเป็นที่มาของการแบ่งปันเช่นนี้
ด้าน น.สพ.ดร.ทวีโภค อังควานิช หัวหน้าฝ่ายอนุรักษ์ช้าง สถาบันคชบาลแห่งชาติ ในพระอุปถัมภ์ฯ กล่าวว่า ศูนย์อนุรักษ์ช้างไทยลำปาง นอกจากมีช้างในความดูแลแล้ว ยังมีรถเคลื่อนที่ออกไปช่วยเหลือช้างภายนอกด้วย ดูแลช้าง 90% ของภาพรวมทั้งหมด ที่ผ่านมาช้างต้องประสบปัญหาทั้งโควิด-19 ภัยแล้ง จนถึงภัยน้ำท่วม เกิดความผันผวนทางธรรมชาติที่ส่งผลกระทบต่อชีวิตความเป็นอยู่และอาหารของช้าง การที่ซีพีเอฟเข้ามาสนับสนุนเช่นนี้จึงเป็นการช่วยพยุงชีวิตให้กับช้างไทย ขอบคุณซีพีเอฟและทีมงานจิตอาสาทุกคนที่นึกถึงช้าง และร่วมสนับสนุนศูนย์ฯของเราในทุกๆปี
ส่วน นายสุพงษ์ ลักษณ์ธนากุล ผู้บริหารเชียงใหม่ธนากุลกรุ๊ป กล่าวว่า เชียงใหม่ธนากุลทำกิจกรรมดีๆร่วมกับซีพีเอฟ ด้วยโครงการต่อชีวิตช้างไทย ร่วมกันบริจาคอาหารช้างให้กับปางช้างแม่สา ปางช้างแม่แตง และสถาบันคชบาลลำปาง ขอขอบคุณซีพีเอฟที่ริเริ่มโครงการเพื่อช้างและขอเชิญชวนทุกคนมาทำกิจกรรมดีๆเช่นนี้ต่อไป
ซีพีเอฟ นำศักยภาพของบริษัทด้านการเป็นผู้นำการผลิตอาหารสัตว์คุณภาพ มาต่อยอดสู่การช่วยเหลือช้าง ผ่านโครงการ “ต่อชีวิตช้างไทย” ปีที่ 3 ด้วยการมอบอาหารช้างเอราวัณ ผลิตจากโรงงานผลิตอาหารสัตว์บกหนองแค จ.สระบุรี เพื่อร่วมบรรเทาปัญหาของปางช้างพื้นที่ภาคเหนือ ที่ได้รับผลกระทบจากเหตุอุทกภัย นอกจากการท่องเที่ยวที่หยุดชะงักแล้ว หลังภาวะน้ำหลากทำให้พื้นที่แหล่งอาหารธรรมชาติถูกทำลาย ส่งผลให้ช้างเลี้ยงในแต่ละปางช้างต้องขาดแคลนอาหาร สุขภาพร่างกายอ่อนแอลง อาหารช้างเอราวัณ E3 มีส่วนสำคัญที่ทำให้ช้างมีอาหารเสริมที่มีคุณภาพ มีคุณค่าโภชนาการอาหารสัตว์ ทั้งโปรตีน วิตามิน และแร่ธาตุ ใช้ส่วนผสมวัตถุดิบจากพืช มีเยื่อใยสูงเหมาะสำหรับช้างทุกระยะ
ทั้งนี้ การซื้อขายอาหารสัตว์บกซีพีเอฟผ่านร้านตัวแทนจำหน่ายในระบบออนไลน์ จะได้รับแต้ม CPF Feed Point ในทุกการใช้จ่าย 100 บาท มีค่าเท่ากับ 1 แต้ม รวมถึงเกษตรกรโคนมที่ใช้แอปพลิเคชัน CP SmartMORE ในทุก 29 แต้ม ซีพีเอฟจะสบทบทุนเพิ่มเป็น 100 บาท เปลี่ยนเป็นอาหารช้างส่งต่อสู่กลุ่มช้างเปราะบางทั่วประเทศ สามารถร่วมบริจาคแต้มสมทบทุนเป็นอาหารช้างได้ เพื่อกระจายความช่วยเหลือสู่ช้างทั่วประเทศ สำหรับผู้สนใจสามารถบริจาคสมทบทุนซื้ออาหารช้างได้ที่ https://liff.line.me/1654713008-raEmYnyj หรือแอดไลน์ @cpffeedonline ในอนาคตโครงการฯ จะต่อยอด การนำแต้มมาบริจาคให้หลากหลายมากยิ่งขึ้น จาก “ต่อชีวิตช้างไทย” สู่การต่อชีวิตเด็กไทย และการต่อชีวิตสิ่งแวดล้อมไทย สิ่งแวดล้อมโลก
กรุงศรี (ธนาคารกรุงศรีอยุธยา จำกัด (มหาชน)) โดย นายพูนสิทธิ์ ว่องธวัชชัย (ซ้าย) ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการใหญ่ ผู้บริหารสายงานการพัฒนาด้านสิ่งแวดล้อม สังคม และธรรมาภิบาลสู่ความยั่งยืน ธนาคารกรุงศรีอยุธยา จำกัด (มหาชน) มอบเงินจำนวน 500,000 บาท เพื่อสนับสนุนมูลนิธิถันยรักษ์ ในพระราชูปถัมภ์สมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี ในการตรวจแมมโมแกรมคัดกรองมะเร็งเต้านมแก่สตรีด้อยโอกาส ต่อเนื่องเป็นปีที่ 15 โดยมี ศาสตราจารย์คลินิก นายแพทย์วิศิษฎ์ วามวาณิชย์ (ขวา) ประธานศูนย์ถันยรักษ์ เป็นผู้รับมอบ ณ ศูนย์ถันยรักษ์ โรงพยาบาลศิริราช
สถานเอกอัครราชทูตสวิตเซอร์แลนด์ ประจำประเทศไทย นำโดย นายเปโดร สวาห์เลน เอกอัครราชทูตสมาพันธรัฐสวิสประจำประเทศไทย ร่วมกับ บริษัท โนวาร์ตีส (ประเทศไทย) จำกัด จัดงาน “Cardio Catalyst: Driving Change in Heart Health” ครั้งที่ 2 เพื่อตอกย้ำความมุ่งมั่นในการยกระดับคุณภาพการดูแลรักษาผู้ป่วยโรคหัวใจและหลอดเลือด ให้มีประสิทธิภาพ และเพื่อสร้างอนามัยและสุขภาวะที่ดีให้กับคนไทย โดยได้รับเกียรติจาก นายสมศักดิ์ เทพสุทิน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข และ นายเควิน โจว Head, Asia Aspiring Cluster, Novartis International ร่วมเปิดงาน ณ สถานเอกอัครราชทูตสวิตเซอร์แลนด์ ประจำประเทศไทย
ภายในงานมีการเสวนาระหว่างแพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านโรคหัวใจและหลอดเลือด เพื่อแลกเปลี่ยนมุมมองและความคิดเห็นจากหลายภาคส่วนเกี่ยวกับการสร้างความตระหนักรู้ การพัฒนาการรักษา และแนวทางการทำงานร่วมกัน เพื่อสานต่อความมุ่งมั่นนี้ให้เกิดผลเป็นรูปธรรม นอกจากนี้ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข ได้มอบโล่ AHA GWTG HF และแสดงความยินดีกับ 6 โรงพยาบาลที่ได้รับการรับรองคุณภาพการรักษาผู้ป่วยหัวใจล้มเหลวตามมาตรฐานระดับนานาชาติจาก American Heart Association ซึ่งแสดงถึงศักยภาพและคุณภาพการดูแลผู้ป่วยในระดับสากล
นพ.โสภณ เอี่ยมศิริถาวร ผู้ตรวจราชการกระทรวงสาธารณสุข เขตสุขภาพที่ 2 กล่าวว่า “การประชุมครั้งนี้นับเป็นโอกาสสำคัญในการหารือเกี่ยวกับปัญหาโรคหัวใจและหลอดเลือด ซึ่งเป็นสาเหตุการเสียชีวิตอันดับต้นๆ ของประเทศไทยและทั่วโลก จากข้อมูลสถิติของกรมการแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข พบว่าอัตราการเกิดโรคหัวใจและหลอดเลือดมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นทุกปี โดยเฉพาะในกลุ่มอายุ 60 ปีขึ้นไป และกลุ่มวัยทำงานที่อายุน้อยลง กระทรวงสาธารณสุขได้ตระหนักถึงความรุนแรงของปัญหานี้ และกำหนดให้เป็นหนึ่งใน
ยุทธศาสตร์หลักของกระทรวงสาธารณสุข โดยเน้นความร่วมมือระหว่างภาครัฐ ภาคเอกชน และสถาบันการแพทย์ ในการสร้างโครงการและนวัตกรรมใหม่ ๆ เช่น การจัดตั้งคลินิกโรคหัวใจล้มเหลว และการพัฒนาแอปพลิเคชันต่างๆ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการตรวจคัดกรอง ติดตาม และให้คำแนะนำผู้มีปัจจัยเสี่ยงต่อโรคหัวใจและหลอดเลือด ในโอกาสนี้ ขอแสดงความยินดีกับทีมแพทย์และผู้เชี่ยวชาญที่ได้รับรางวัลจากสมาคมโรคหัวใจแห่งสหรัฐอเมริกา เป็นการยืนยันถึงความมุ่งมั่นในการยกระดับมาตรฐานการดูแลผู้ป่วยภาวะหัวใจล้มเหลวอย่างมีประสิทธิภาพและยั่งยืน”
พล.ต.ต.นพ.เกษม รัตนสุมาวงศ์ นายกสมาคมแพทย์โรคหัวใจแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์ อธิบายถึงสถานการณ์การดูแลรักษาโรคหัวใจและหลอดเลือดในปัจจุบันว่าแบ่งออกเป็นสองส่วนหลัก คือ การดูแลรักษาผู้ป่วยที่เป็นโรคหัวใจแล้ว และการป้องกันการเกิดโรคหัวใจในผู้ที่มีปัจจัยเสี่ยงแต่ยังไม่เป็นโรคหัวใจ สำหรับการดูแลผู้ป่วยโรคหัวใจ ประเทศไทยมีการพัฒนาการรักษาอย่างต่อเนื่อง โดยการขับเคลื่อนจากกระทรวงสาธารณสุขรวมถึงอีกหลายๆหน่วยงานและสมาคมวิชาชีพต่างๆซึ่งรวมถึงสมาคมแพทย์โรคหัวใจแห่งประเทศไทยในพระบรมราชูปถัมภ์ เพื่อพัฒนาระบบ ‘Fast Track’ ที่ช่วยให้ผู้ป่วยภาวะกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือดเฉียบพลันสามารถเข้าถึงการรักษาได้อย่างรวดเร็วและได้รับผลการรักษาที่ดียิ่งขึ้น นอกจากนี้ยังสนับสนุนให้มีการจัดตั้ง ‘คลินิกหัวใจล้มเหลว’ ในหลายโรงพยาบาลทั่วประเทศ ไปพร้อมกับการทำงานร่วมกันระหว่างทีมสหวิชาชีพ เพื่อให้ผู้ป่วยได้รับการดูแลตามมาตรฐานสูงสุดที่เป็นที่ยอมรับในระดับสากล สำหรับการป้องกันการเกิดโรคหัวใจในผู้ที่ยังไม่เป็นโรคหัวใจ คือการสร้างความตระหนักรู้เพื่อให้ประชาชนเข้าใจถึงปัจจัยเสี่ยง สัญญาณเตือนและอันตรายของโรคหัวใจ โดยเผยว่าปัจจุบันมีการเผยแพร่ข้อมูลที่อาจไม่ถูกต้องในสื่อโซเชียลมีเดียอยู่และทำให้ผู้ป่วยมีความสับสนในการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการดำเนินชีวิต พฤติกรรมบริโภค การออกกำลังกาย การรับประทานอาหารอาหารเสริมรวมถึงความกังวลถึงผลข้างเคียงของยา ทางสมาคมฯ จึงได้จัดทำ เว็บไซต์ ThaiHealthyHeart.com ซึ่งเป็นแหล่งข้อมูลเพื่อสร้างความเข้าใจที่ถูกต้องเกี่ยวกับการป้องกันและดูแลตนเองสำหรับผู้ที่ยังไม่เป็นโรคหัวใจ โดยเฉพาะผู้ที่มีปัจจัยเสี่ยง และจัดทำแนวเวชปฏิบัติในการดูแลผู้ป่วยภาวะหัวใจขาดเลือดเฉียบพลัน ภาวะหัวใจขาดเลือดเรื้อรัง และผู้ป่วยภาวะหัวใจล้มเหลว
“สำหรับงาน Cardio Catalyst: Driving Change in Heart Health ในวันนี้ มองว่าเป็นจุดเริ่มต้นที่ดี ที่จะขับเคลื่อนการดูแลรักษาผู้ป่วยโรคหัวใจและหลอดเลือด ซึ่งเป็นปัญหาสาธารณสุขอันดับต้นๆ ของประเทศไทย ให้เป็นไปในทิศทางเดียวกัน และช่วยผลักดันให้เกิดความร่วมมือกันระหว่างทุกภาคส่วน ในการดูแลสุขภาพของประชาชนไทยให้มีคุณภาพชีวิตที่ดี เพื่อลดอุบัติการณ์การเกิดโรคหัวใจและหลอดเลือด”
นอกจากนี้ ยังได้กล่าวถึงหลักการ 4A ในการพัฒนาระบบการดูแลรักษาโรคหัวใจและหลอดเลือดในประเทศไทย อันได้แก่ การตระหนักรู้เกี่ยวกับโรค (Awareness) การประเมินความเสี่ยงของการเกิดโรค (Assessment) การเข้าถึงการรักษาตามมาตรฐานที่เหมาะสม (Accessibility) และการมีวินัยในการรับการรักษาและการรับประทานยา (Adherence)
ทางด้าน เภสัชกรหญิงสุมาลี คริสธานินทร์ ประธานบริหาร บริษัท โนวาร์ตีส (ประเทศไทย) จำกัด ได้กล่าวถึงความสำคัญในการสร้างความตระหนักรู้ เข้าใจถึงสาเหตุและปัจจัยเสี่ยงต่างๆ เพื่อลดอัตราการเกิดโรคหลอดเลือดและหัวใจ และส่งเสริมให้เกิดผลการรักษาที่ดีขึ้น
“ที่โนวาร์ตีส เราเล็งเห็นว่า การเสียชีวิตจากโรคหัวใจและหลอดเลือดเป็นสิ่งที่สามารถป้องกันได้ เราจึงเชื่อว่าการทำงานร่วมกับผู้ป่วย บุคลากรทางการแพทย์ และองค์กรต่างๆ ทั่วโลก จะนำไปสู่การพัฒนาการดูแลโรคหัวใจที่ก้าวหน้าไปมากกว่าการใช้ยาเพียงอย่างเดียว โดยในปีนี้เราได้ต่อยอดจากความสำเร็จในปีที่ผ่านมา ด้วยความมุ่งหวังที่จะช่วยผลักดันให้เกิดความเปลี่ยนแปลงที่ดีขึ้นทางด้านการดูแลรักษาโรคหัวใจและหลอดเลือด เนื่องจากโรคเหล่านี้กำลังส่งผลกระทบเป็นวงกว้าง ไม่เพียงในผู้สูงอายุ แต่ยังรวมถึงผู้ที่มีอายุน้อยทั่วโลก ผ่านเวทีที่ช่วยสร้างความตระหนักรู้เกี่ยวกับโรคในทุกภาคส่วนให้ห่างไกลจากโรคหัวใจและหลอดเลือด ที่ผ่านมาเราได้ทำงานร่วมกับหลายภาคส่วนในการยกระดับการรักษาภาวะหัวใจล้มเหลวให้ได้มาตรฐานสากล เราภูมิใจที่ได้เป็นส่วนหนึ่งของความก้าวหน้านี้ และขอขอบคุณโรงพยาบาลและทีมบุคลากรทางการแพทย์ซึ่งมีบทบาทสำคัญในการดูแลและทุ่มเทเพื่อผู้ป่วยอย่างตั้งใจเสมอมา ด้วยความร่วมมือกัน เราจะสามารถช่วยให้ผู้ป่วยโรคหัวใจและหลอดเลือดมีชีวิตที่ยืนยาว สุขภาพดียิ่งขึ้น และได้ใช้เวลาอันมีค่ากับคนที่รักมากขึ้น”
การเสวนาและกิจกรรมครั้งนี้ เป็นการผนึกกำลังอย่างเหนียวแน่นจากทุกภาคส่วน เพื่อส่งเสริมการดูแลสุขภาพหัวใจและลดอัตราการเสียชีวิตทำให้ผู้ป่วยมีอายุยืนยาวขึ้น กลับมานอนโรงพยาบาลซ้ำน้อยลง และเพิ่มคุณภาพชีวิตที่ดีให้ผู้ป่วย ตอกย้ำถึงเส้นทางความสำเร็จในวันข้างหน้าที่มุ่งสู่การสร้างคุณภาพชีวิตที่ยั่งยืนแก่ประชาชนไทย ในขณะเดียวกันประชาชนยังสามารถมีส่วนร่วมในการลดจำนวนผู้ป่วยโรคหัวใจและโรคหลอดเลือดได้ โดยการหมั่นตรวจสุขภาพหัวใจ คอยสังเกตและเอาใจใส่ครอบครัวและคนใกล้ชิด เพื่อป้องกันและลดปัจจัยเสี่ยงที่จะเกิดโรค รวมถึงกระตุ้นให้ผู้ป่วยให้มีวินัยในการรักษามากขึ้น เพื่อเพิ่มโอกาสในการใช้ชีวิตได้อย่างมีความสุข