เนื่องด้วยสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 ในพื้นที่ชายแดนภาคใต้ ยังมีความรุนแรงและมีการพบผู้ติดเชื้อเพิ่มขึ้นต่อเนื่อง Sea (Group) และบริษัทในเครือ ได้แก่ การีนาและช้อปปี้ จึงมุ่งเป็นส่วนหนึ่งในการสนับสนุนการรักษาผู้ป่วยโควิด-19 ด้วยการส่งมอบถังออกซิเจนเพื่อใช้ในการดูแลรักษาผู้ป่วยขั้นวิกฤต
ในโอกาสวันไปรษณีย์โลก หรือ World Post Day 9 ตุลาคม นับเป็นวันสำคัญของหน่วยงานที่เป็นตัวกลางสื่อสารระหว่างผู้คนมาตั้งแต่อดีต ที่เชิญชวนให้ผู้คนรำลึกถึงการเขียนจดหมาย ซึ่งเป็นการสร้างสัมพันธภาพผ่านตัวอักษร ให้ทุกคนบนโลกใบนี้สามารถติดต่อสื่อสารถึงกันได้อย่างทั่วถึง และแม้ในปัจจุบันการเขียนจดหมายจะลดลง แต่ความสัมพันธ์ที่เชื่อมโยงผ่านไปรษณีย์ก็ยังไม่หายไป ไม่ใช่แค่ระหว่างบุคคล แต่ความสัมพันธ์ระหว่างเหล่า “น้อนๆ 4 ขา” กับพี่ไปรษณีย์ก็ยังไม่เปลี่ยนแปลง โดยเฉพาะเจ้าแสบสี่ขาจากบ้านนินจาแอนด์เดอะแก๊ง (Ninja and the gang) ที่มักจะแชร์คลิปความสัมพันธ์สุดน่ารักกับพี่ไปรฯ ที่อยู่ในระหว่างนำจ่ายพัสดุ ซึ่งได้กลายเป็นเรื่องราวที่น่าสนใจบนโซเชียลมีเดียในทุกแพลตฟอร์มไปเป็นที่เรียบร้อยแล้ว
จากเรื่องราวน่าประทับใจดังกล่าว ทำให้ไปรษณีย์ไทยอยากพาทุกคนมาพบกับมุมมองชวนยิ้ม ระหว่างสิ่งมีชีวิตต่างเผ่าพันธุ์ที่เหมือนจะเป็นไม้เบื่อไม้เมากันมาตลอดอย่างคนส่งไปรษณีย์กับสุนัข ที่ไม่ว่าจะเดินทาง ไปทำภารกิจนำจ่ายที่ไหนล้วนต้องได้พบเจอกับน้องๆ สี่ขา ที่วิ่งมาต้อนรับทั้งด้วยความยินดีและไม่ยินดีทั้งสิ้น ผ่านการพูดคุยกับผู้ปกครองสุดใจดีของเหล่าน้องหมาแห่งบ้าน Ninja and the gang ที่ได้พบเจอเหตุการณ์
เปิดสตอรี่เพื่อนแท้ “พี่ไปรฯ x น้อนสี่ขา” แห่งบ้านนินจาแอนด์เดอะแก๊ง พลังแห่งสัมพันธภาพที่เกิดขึ้นระหว่างเส้นทางการขนส่ง
#THP #ไปรษณีย์ไทย #ส่งพลังสร้างสัมพันธ์ #JCCOTH #Ninjaandthegang
น่าประทับใจดังกล่าวมาระยะหนึ่งแล้ว จนเกิดเป็นเรื่องราวที่อยากแบ่งปันให้กับทุกคนได้รับรู้ถึงความน่าเอ็นดูระหว่างพี่ไปรฯ กับน้องหมาที่จะสามารถสร้างรอยยิ้มให้ผู้พบเห็นไปได้ตามๆ กัน
นายเศรษฐ์ เดชสุภา และ นางสาว รักชนก เจริญมากสุวรรณ เจ้าของเฟซบุ๊คเพจ Ninja And The Gang เล่าว่า ปกติที่บ้านจะชอบพาสุนัขออกไปเดินเล่น เพื่อให้น้อง ๆ ได้ทำธุระและออกกำลังกายเป็นประจำทุกวันอยู่แล้ว โดยเวลาที่พาออกจากบ้านมักตรงกับช่วงที่เจ้าหน้าที่นำจ่ายไปรษณีย์ไทย หรือ พี่ไปรฯ มาทำหน้าที่ในละแวกบ้านพอดี ซึ่งเขาเป็นคนที่ส่งของในเขตนี้เป็นประจำ รวมถึงเป็นคนที่มาส่งจดหมายให้ที่บ้านบ่อยครั้ง ดังนั้น ตั้งแต่ช่วงที่ที่บ้านเริ่มรับฟีนิกซ์ สุนัขพันธุ์นิวฟาวด์แลนด์ (Newfoundland) ที่เป็นสุนัขเด็กและมีนิสัยใจดีขี้เล่นเข้ามาดูแล ก็ทำให้ทั้งเจ้าฟีนิกซ์กับพี่ไปรฯ ที่ไม่เคยเจอกันได้ทำความรู้จักกัน พี่ไปรฯ ก็ได้เห็นพัฒนาการเติบโตของฟีนิกซ์ตลอด และด้วยความขี้อ้อนของเจ้าฟีนิกซ์ รวมทั้ง โทร่า นินจา โนว่า ก็คงเป็นสาเหตุทำให้พี่ไปรฯ ต้านไม่ไหว ต้องจอดรถแวะเล่นด้วยทุกครั้ง ซึ่งฟีนิกซ์ก็ยิ่งติดใจเพราะรับรู้ได้ว่าพี่ไปรฯ อยากเล่นด้วย จนเวลาผ่านมาหลายเดือน ทั้งสองก็เริ่มสนิทกันมากขึ้นและผูกพันกันในที่สุด
นายพงษ์ศักดิ์ เรืองศรี บุรุษไปรษณีย์สังกัดไปรษณีย์รามอินทรา เล่าถึงความน่ารักของแก๊งสี่ขาว่า ระหว่างที่กำลังปฏิบัตินำจ่ายสิ่งของให้ผู้รับ ก็มักจะพบกับน้องหมาที่ออกมาเดินเล่นกับเจ้าของอยู่เสมอ ตนจึงแวะทักทายด้วยความเอ็นดู และหยอกล้อกับน้องหมาด้วยความคุ้นเคย เพราะมาส่งของในละแวกนี้เป็นประจำ แก๊งน้อง ๆ ก็จะคุ้นเคยและเข้ามาเล่นด้วยอย่างเป็นมิตร เรียกได้ว่าเจอกันทุกครั้งก็จะมีการทักทาย และแสดงความรักความเอ็นดูถึงกันตลอด สำหรับการได้พบเจอกันในแต่ละครั้ง ไม่ว่าจะเป็นเจ้าของบ้าน หรือแม้แต่น้อง ๆ สี่ขา ตอนนี้ได้กลายเป็นความสนิท เป็นความผูกพัน และเป็นความรู้สึกที่นอกเหนือจากพันธะระหว่างคนนำจ่าย และผู้รับสิ่งของไปแล้ว ซึ่งตนเชื่อว่าความผูกพันนี้เป็นสิ่งพิเศษและเป็นระยะทางแห่งความสุข ที่ไปรษณีย์ทั่วโลกก็พร้อมมอบให้กับผู้ใช้บริการทุกคนเช่นเดียวกัน
จากเรื่องราวความผูกพันระหว่างพี่ไปรฯ และเหล่าน้อน ๆ แสดงให้เห็นถึงพลังแห่งสัมพันธภาพที่เกิดขึ้นระหว่างเส้นทางการขนส่งของไปรษณีย์ไทย ที่ผูกพันใกล้ชิดกับทั้งคนไทย รวมทั้งน้อน ๆ ที่น่ารักอย่างไม่เสื่อมคลาย ซึ่งเชื่อว่าหลาย ๆ บ้าน ที่เคยได้ใช้บริการของไปรษณีย์ไทยก็มีจะความรู้สึกดี ๆ ที่ไม่ใช่เพียงแค่การส่งและรับสิ่งของ แต่ยังมีความหมายอื่น ๆ ซ่อนอยู่ โดยเฉพาะด้านความผูกพัน และความไว้วางใจ เพราะไปรษณีย์ไทยเข้าใจและเข้าถึงคนไทยได้มากที่สุด... #สุขสันต์วันไปรษณีย์โลก
โอกาสสำคัญของแบรนด์ผู้ประกอบการที่ต้องการการรับรองสถานะ “Plastic Neutral” เพื่อเพิ่มอัตราการรีไซเคิลพลาสติกอย่างเป็นรูปธรรม สร้างมูลค่าและเข้าสู่สถานะแบรนด์สีเขียวด้วยการรับรองมาตรฐานระดับสากล และเพิ่มความได้เปรียบทางการแข่งขันในตลาดโลก
คอร์สแอร์ กรุ๊ป อินเตอร์เนชั่นแนล (Corsair Group International) ผู้พัฒนาโซลูชั่นธุรกิจด้านสิ่งแวดล้อมซึ่งมีสำนักงานใหญ่ประจำประเทศไทย (Corsair Group Thailand) และสำนักงานใหญ่ประจำภาคพื้นยุโรปที่เนเธอร์แลนด์ ประกาศเปิดตัว “CSR PLASTIC CREDIT” นำเสนอแพ็คเกจการรีไซเคิลขยะพลาสติกหลากรูปแบบ เพื่อให้ผู้ประกอบการธุรกิจได้การรับรองสถานะการลดขยะพลาสติกเป็นศูนย์ (Plastic Neutral) เพื่อยกระดับฐานะหน่วยงานสู่การเป็นองค์กรสีเขียว ด้วยการรับรองมาตรฐานระดับโลก พร้อมเพิ่มอัตราการรีไซเคิลขยะพลาสติกเป็นรูปธรรมพร้อมกันทั่วโลก
มลภาวะจากขยะพลาสติกล้วนเกิดจากมนุษย์ทุกคน โดยเฉลี่ยมนุษย์จะสร้างขยะพลาสติกราวคนละ 50 กิโลกรัมต่อปี ดังนั้น ตลอดชีวิตของเราจะสร้างขยะพลาสติกถึง 4,000-5,000 กิโลกรัม ธุรกิจขนาดเล็กจะสร้างขยะพลาสติกนับสิบหรือนับร้อยกิโลกรัมต่อเดือน ในขณะที่บริษัทขนาดใหญ่จะสร้างหลายสิบหรือหลายร้อยล้านกิโลกรัมต่อเดือนเลยทีเดียว เฉพาะในประเทศไทย มีการผลิตขยะพลาสติกปีละกว่า 2 พันล้านกิโลกรัม ซึ่งในจำนวนนี้ถูกนำไปรีไซเคิลไม่ถึง 10% เท่านั้น และแม้ผู้คนต้องการร่วมลดขยะพลาสติกเพื่อช่วยรักษ์โลก แต่ยังไม่ปรากฏแนวทางปฏิบัติเพื่อสร้างความแตกต่างที่ชัดเจน
คอร์สแอร์ เข้าใจถึงความท้าทายในการแก้ไขปัญหาขยะพลาสติกอย่างมีประสิทธิภาพ จึงพัฒนาแนวทางที่สะดวกง่ายดายสำหรับทุกคนในการร่วมสร้างผลกระทบเชิงบวกในรูปแบบ “CSR Plastic Credit” แพ็คเกจการรีไซเคิลขยะพลาสติกแนวใหม่ โดยแต่ละแพ็คเกจจะกำหนดปริมาณขยะพลาสติกมากน้อยแตกต่างกัน เพื่อให้ผู้สนใจสามารถเลือกแพ็คเกจที่มีปริมาณขยะพลาสติกเหมาะสมกับขนาดองค์กรของตนเอง ซึ่ง “CSR Plastic Credit” จะเป็นเครื่องมือทั้งสำหรับบุคคล บริษัทผู้ประกอบการมุ่งสู่สถานะการลดขยะพลาสติกเป็นศูนย์ (Plastic Neutral) ได้อย่างแท้จริง
“CSR Plastic Credit” ทำงานอย่างไร?
หลักการทำงานของ “CSR Plastic Credit” จะเหมือนกับ Carbon Credit ยกตัวอย่างเช่น หากบริษัทของผู้ประกอบการมีอัตราการสร้างขยะพลาสติกราว 50 กิโลกรัมต่อปี ก็สามารถเลือกซื้อแพ็คเกจ 10 ปี ซึ่งกำหนดปริมาณขยะพลาสติกที่ 500 กิโลกรัม (ปีละ 50 กิโลกรัม) และคอร์สแอร์จะเป็นผู้รับผิดชอบรีไซเคิลขยะพลาสติกแทนบริษัทผู้ซื้อแพ็คเกจในปริมาณ 50 กิโลกรัมต่อปี ซึ่งเท่ากับว่า บริษัทที่เข้าร่วมโครงการมีอัตราการสร้างขยะพลาสติกปีละ 50 กิโลกรัมและสามารถรีไซเคิลขยะพลาสติกได้ 50 กิโลกรัมเช่นกัน จึงมีสถานะการสร้างขยะพลาสติกเป็นศูนย์ (Plastic Neutral) โดยสมบูรณ์
ในแง่ของการปฏิบัติงาน คอร์สแอร์จะรับภาระแทนบุคคลและบริษัทต่าง ๆ ในการเก็บรวบรวมขยะพลาสติกเข้าสู่กระบวนการแปรรูปในโรงงานที่มีเทคโนโลยีขั้นสูงและเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม เพื่อรีไซเคิลขยะพลาสติกให้เป็นน้ำมันชีวภาพขั้นสูง (Advanced Bio-oil) และสามารถนำมาใช้เป็นวัตถุดิบในการผลิตเชื้อเพลิงที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมมากกว่า เช่น น้ำมันเบนซินและดีเซล และสำคัญที่สุดคือสามารถเป็นผลิตภัณฑ์พลาสติกชิ้นใหม่ได้ วิธีการนี้จึงสามารถลดความจำเป็นในการใช้น้ำมันแบบเดิม ๆ และยังช่วยลดการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์สู่ชั้นบรรยากาศอย่างได้ผล
ประโยชน์ของผู้เข้าร่วมโครงการ “CSR Plastic Credit”
ผู้เข้าร่วมโครงการที่ซื้อแพ็คเกจ “CSR Plastic Credit” จะได้รับใบเสร็จดิจิทัลซึ่งจะระบุถึงข้อมูลปริมาณขยะพลาสติกที่ถูกขจัดออกจากสภาพแวดล้อมจริง โดยขยะพลาสติกทุก ๆ 1 กิโลกรัมที่คอร์สแอร์ขจัดออกจากสภาพแวดล้อม บริษัทจะออกแต้ม CSR Plastic Credits 10 แต้ม ซึ่งขั้นตอนการทำงานและแต้มเครดิตจะถูกบันทึกบนเทคโนโลยีบล็อกเชนซึ่งเป็นระบบเก็บข้อมูลแบบ Open Source เพื่อมอบความโปร่งใสและความเชื่อถือได้ต่อสาธารณะ
ผู้เข้าร่วมโครงการยังสามารถนำตัวเลขนี้ไปหักลบข้อมูลการสร้างขยะพลาสติก (Plastic Footprint) ในรายงานผลประกอบการขององค์กร ตลอดจนนำไปใช้ในการประชาสัมพันธ์และการตลาดเพื่อยกระดับหน่วยงานหรือแบรนด์สินค้าสู่สถานองค์กรที่ไม่สร้างขยะพลาสติกสู่สิ่งแวดล้อมอย่างเป็นรูปธรรมโดยมีตรามาตรฐานระดับสากลให้การรับรอง ซึ่งจะส่งผลถึงการสร้างความได้เปรียบทางการแข่งขันทางธุรกิจและการดำเนินงานอย่างมหาศาล
องค์การกองทุนสัตว์ป่าโลกสากล (World Wildlife Fund: WWF) นิยาม Plastic Credit ว่า “หน่วยการถ่ายโอนที่แสดงถึงปริมาณพลาสติกจำนวนหนึ่งซึ่งถูกเก็บรวบรวมและนำไปรีไซเคิล เพื่อไม่ให้ปนเปื้อนในสภาพแวดล้อม” ซึ่งนอกจากองค์การกองทุนสัตว์ป่าโลกสากล องค์กรและบริษัทระดับโลกอีกหลายแห่ง เช่น Unilever, Starbucks, PepsiCo และ Microsoft ก็ได้รับรองแผนการปฏิวัติพลาสติกเครดิต (Plastic Credit Revolution) แล้วอย่างเป็นทางการ ซึ่ง CSR Plastic Credit ของคอร์สแอร์ก็มีการดำเนินงานในรูปแบบนี้เช่นกัน
การนำขยะพลาสติกที่ถูกทิ้งมาแปรรูปเป็นผลิตภัณฑ์ที่มีประโยชน์ แทนการทิ้งขว้างสู่สิ่งแวดล้อมหรือปนเปื้อนในมหาสมุทรจนสร้างความเสียหายแก่โลกของเรา ในขณะเดียวกัน ยังช่วยยกระดับฐานะขององค์กรหรือหน่วยงานของผู้ซื้อแพ็คเกจ “CSR Plastic Credit” ให้เข้าใกล้การเป็น “องค์กรสีเขียว” เพื่อสร้างความได้เปรียบในการแข่งขันและการดำเนินงาน ถือเป็นโซลูชั่นที่ win-win สำหรับทุกคน
นายยูสซี เว็คโค ซาโลรานตา (Mr.Jussi Veikko Saloranta) ประธานกรรมการบริหารและประธานเจ้าหน้าที่บริหาร คอร์สแอร์ กรุ๊ป อินเตอร์เนชั่นแนล กล่าวว่า “เราปฏิวัติการบริหารจัดการขยะพลาสติกด้วยระบบดิจิทัล งานศึกษาในปัจจุบันแสดงให้เห็นว่าผู้บริโภค 80% ในสหรัฐฯ ต้องการซื้อพลิตภัณฑ์และบริการจากแบรนด์ที่มีการลดขยะพลาสติกและมีส่วนร่วมในการบริหารจัดการขยะพลาสติกที่เหมาะสม งานชิ้นนี้ยังชี้ว่าผู้บริโภคมีความวิตกกังวลถึงผลกระทบจากขยะพลาสติกที่มีต่อมหาสมุทร มากกว่าผลกระทบต่อการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศโลก”
“เราทุกคนต่างเคยเห็นภาพที่น่าสยดสยองของขยะพลาสติกที่ทำอันตรายหรือคร่าชีวิตสัตว์น้ำ และสร้างมลภาวะต่อโลกนี้มาแล้ว ภาพเหล่านั้นถือเป็นสินค้าของแบรนด์ เพราะแน่นอนว่าบริษัทต่าง ๆ ที่ทุ่มเงินหลายล้านดอลลาร์เพื่อการโฆษณาแบรนด์และทำการตลาดในแต่ละปี ย่อมไม่ต้องการให้แบรนด์ของตัวเองถูกมองแง่ลบแบบนั้น และที่สำคัญ ผู้บริโภคคงไม่ต้องการมีส่วนเกี่ยวข้องกับแบรนด์ในเรื่องแบบนี้ด้วย ดังนั้น นี่คือโอกาสสำคัญเพื่อการยกระดับแบรนด์ได้อย่างง่ายดาย โดย CSR Plastic Credit สามารถช่วยให้คุณลดและขจัดขยะพลาสติกในระบบเพื่อเข้าสู่สถานะการสร้างขยะพลาสติกเป็นศูนย์”
“การมีสถานะขยะพลาสติกเป็นศูนย์ (Plastic Neutral) ควรเป็นเป้าหมายที่เราทุกคนควรเดินหน้าทำให้สำเร็จ และหากเราร่วมมือกันตั้งแต่วันนี้ อนาคตย่อมจะดีขึ้นอย่างแน่นอน ภารกิจนี้จำเป็นต้องผสานความร่วมมือของกลุ่มต่าง ๆ เพื่อสร้างความแตกต่าง ทั้งกลุ่มธุรกิจและกลุ่มประชาชนในวงกว้างทั่วโลก รวมถึงประเทศไทย เพราะเรามีโลกเพียงใบเดียว เราจึงควรปฏิบัติต่อโลกอย่างเคารพและใส่ใจ เพื่อให้เป็นบ้านที่น่าอยู่ของคนรุ่นใหม่ในอนาคต”
คอร์สแอร์ บริษัทผู้ดำเนินธุรกิจรีไซเคิลชั้นนำของประเทศ ต้องการนำเสนอแนวทางที่สะดวกง่ายดายสำหรับทุกคนในการร่วมปกป้องสภาพแวดล้อมของเรา ด้วยเทคโนโลยีอันล้ำสมัยและแผนการดำเนินงานของคอร์สแอร์ ทำให้เรานำเสนอ CSR Plastic Credit เพื่อให้ทุกคนและทุกบริษัทสามารถก้าวสู่สถานะขยะพลาสติกเป็นศูนย์ผ่านการลดและขจัดอัตราการสร้างขยะพลาสติก
“ปัจจุบัน บริษัทและองค์กรที่มีแนวคิดก้าวหน้าและมุ่งเน้นการพัฒนาสิ่งใหม่หลายแห่งในเมืองไทยต่างทำงานร่วมกับคอร์สแอร์ในโครงการรีไซเคิลขยะพลาสติก ไม่ว่าจะเป็นไทยรุ่ง, ไมเนอร์ กรุ๊ป, เซ็นทารา กรุ๊ป, ชาเทรียม โฮเทล แอนด์ รีสอร์ท (โอ๊กวู้ด), มิชลิน, โรงเรียนนานาชาติ โชรส์เบอรี่, เดอะ บางกอก คลับ, บริษัท ล็อกซเล่ย์ จำกัด (มหาชน), บริษัท แอสเซทไวส์ จำกัด (มหาชน), สถาบันปัญญาภิวัฒน์, มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ และอีกหลายแห่ง รวมถึงกลุ่ม Less Plastic Thailand และอีกมากมาย เราขอขอบคุณสำหรับความร่วมมือเป็นพันธมิตรที่ดีเยี่ยมและความมุ่งมั่นในการทำงานร่วมกับเราเพื่อสร้างสรรค์สิ่งแวดล้อมที่สวยงามของเมืองไทยให้ปลอดจากขยะพลาสติกอย่างยั่งยืน” นายยูสซี เว็คโค ซาโลรานตา กล่าวเสริม
ผู้สนใจสามารถดูรายละเอียดเพิ่มเติมเกี่ยวกับแพ็ตเกจ “CSR Plastic Credit” ได้ที่ https://csrnow.com หรือเว็บไซต์อย่างเป็นทางการของคอร์สแอร์ที่ CorsairNow.com
จบไปแล้วกับงาน BIG DAY 2021 ที่จัดขึ้นเมื่อเร็วๆ นี้ โดยมูลนิธิโรงเรียนวันเสาร์ โดยงาน BIG DAY ในปี 2021 นี้ มาพร้อมกับธีม “เที่ยวทิพย์ with Saturday School” ซึ่งมียอดผู้เข้าชมเฉียดหลักหมื่นวิว
พระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ พระราชทานแนวพระราชดำริในการพัฒนาแหล่งน้ำมาโดยตลอดมากมายหลายโครงการ จนถึงรัชสมัยของพระบาทสมเด็จพระปรเมนทรรามาธิบดีศรีสินทรมหาวชิราลงกรณ พระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ พระราชทานแนวสืบสานศาสตร์พระราชบิดาแห่งการพัฒนาบริหารจัดการน้ำของประเทศ โดยกรมชลประทานได้ปฏิบัติหน้าที่สนองพระราชดำริกว่า 70 ปี และจะยังคงดำเนินต่อไปภายใต้วิสัยทัศน์ "กรมชลประทานเป็นองค์กรอัจฉริยะ ที่มุ่งสร้างความมั่นคงด้านน้ำ (Water Security) เพื่อเพิ่มคุณค่าการบริการ ภายในปี 2580”
จากจุดเริ่มต้นของโครงการอ่างเก็บน้ำเขาเต่า อำเภอหัวหิน จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ โครงการพัฒนาแหล่งน้ำอันเนื่องมาจากพระราชดำริแห่งแรกที่กรมชลประทานก่อสร้างมาสู่โครงการพัฒนาแหล่งน้ำอันเนื่องมาจากพระราชดำริจำนวนมาก ซึ่งเป็นโครงการที่ดำเนินการโดยกรมชลประทานรวมแล้ว 183 โครงการ ไม่ว่าจะเป็นการสร้าง การปรับปรุง การจัดหาน้ำเพื่อช่วยเหลือพื้นที่การเกษตรและอุปโภคบริโภคของประชาชน ตลอดจนการพัฒนาพื้นที่แบบบูรณาการ หลายโครงการเป็นการต่อยอดพัฒนาแหล่งน้ำ โดยยึดมั่นในแนวทางบริหารจัดการน้ำอย่างยั่งยืนที่ครอบคลุ่มตั้งแต่ต้นน้ำ กลางน้ำ ถึงปลายน้ำ
ศูนย์ศึกษาการพัฒนาห้วยฮ่องไคร้ฯ อันเนื่องมาจากพระราชดำริ จ.เชียงใหม่
รัชกาลที่ 9 พระราชทานพระราชดำริ เมื่อวันที่ 11 ธันวาคม 2525 ให้พิจารณาจัดตั้งขึ้นบริเวณป่าขุนแม่กวง อำเภอดอยสะเก็ด จังหวัดเชียงใหม่ ขอบเขตพื้นที่โครงการประมาณ 8,500 ไร่ โดยมีพระราชประสงค์ที่จะให้เป็นศูนย์กลางในการศึกษา ทดลอง วิจัย เพื่อหารูปแบบการพัฒนาด้านต่าง ๆ ที่เหมาะสมกับสภาพพื้นที่ภาคเหนือ และเผยแพร่แก่ราษฎรให้สามารถนำไปปฏิบัติได้ด้วยตนเองต่อไป โดยทำการศึกษาพัฒนาป่าไม้ 3 อย่าง 3 วิธี เพื่อประโยชน์ 4 อย่าง คือมีไม้ใช้สอย ไม้ผล ไม้เชื้อเพลิง ซึ่งจะอำนวยประโยชน์ในการอนุรักษ์ดิน น้ำ และพื้นที่ต้นน้ำลำธาร ตลอดจนคงความชุ่มชื้นเอาไว้ โดยต้นทางเป็นการศึกษาสภาพพื้นที่ป่าไม้ต้นน้ำลำธารและปลายทางเป็นการศึกษาด้านการประมงตามอ่างเก็บน้ำต่าง ๆ ผสมกับการศึกษาด้านการเกษตรกรรม ปศุสัตว์และโคนม และเกษตรอุตสาหกรรม เพื่อให้เป็นศูนย์ที่สมบูรณ์แบบ เอื้อประโยชน์ต่อการพัฒนาด้านเกษตรกรรมได้อย่างยั่งยืน ชุมชนรอบพื้นที่สามารถดำรงชีวิตอยู่ได้อย่างไม่ก่อให้เกิดผลกระทบต่อสภาพทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมต้นน้ำลำธาร ทำให้ผืนป่าต้นน้ำลำธารเป็นแหล่งต้นน้ำลำธารที่อุดมสมบูรณ์ สามารถผลิตน้ำไปใช้ในส่วนพื้นที่ด้านล่างได้
ประตูระบายน้ำอุทกวิภาชประสิทธิ จ.นครศรีธรรมราช
อุทกภัยเป็นปัญหาสำคัญอีกประการหนึ่งของลุ่มน้ำปากพนังที่เกิดขึ้นในช่วงฤดูฝน เนื่องจากมีปริมาณฝนตกมากแต่พื้นที่ลุ่มน้ำเป็นพื้นที่ลุ่มราบ มีความลาดชันน้อย ประกอบกับภาวะอุทกภัยมักจะเกิดในช่วงน้ำทะเลหนุน
สูงทำให้ไม่สามารถระบายน้ำออกสู่ทะเลได้ เกิดภาวะน้ำท่วมสร้างความเสียหายให้แก่พื้นที่เพาะปลูก และพื้นที่ชุมชนเมืองเป็นบริเวณกว้าง รัชกาลที่ 9 ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ พระราชทานพระราชดำริในการฟื้นฟูและพัฒนาพื้นที่ลุ่มน้ำปากพนังแก่หน่วยงานที่เกี่ยวข้องมาดำเนินการ โดยหนึ่งในวิธีการแก้ปัญหาคือให้เร่งดำเนินการก่อสร้างประตูระบายน้ำปากพนัง เพราะเป็นจุดเริ่มต้นและเป็นงานหลักในการแก้ไขปัญหาการขาดแคลนน้ำจืด
กรมชลประทานได้ดำเนินการตามแนวพระราชดำริโดยก่อสร้างประตูระบายน้ำ "อุทกวิภาชประสิทธิ” ตั้งแต่ปี 2539 และเมื่อเสร็จสมบูรณ์ปี 2542 ซึ่งเป็นประตูที่แบ่งแยกน้ำ มีการบริหาร จัดการ อย่างสมดุล ปิดกั้นน้ำเค็มไม่ให้รุกเข้าไปในลำน้ำ กักเก็บน้ำจืดไว้ใช้ดำรงชีพ และเอื้ออำนวยให้การใช้ทรัพยากรธรรมชาติในลุ่มน้ำปากพนังเป็นไปอย่างยั่งยืน ประตูระบายน้ำแห่งนี้มีความสามารถเก็บกักน้ำจืดเหนือประตูระบายน้ำได้ 72 ล้านลูกบาศก์เมตร มี 10 ช่องบานระบายและมีประสิทธิภาพในการระบายน้ำ ในอัตรา 1,246 ลูกบาศก์เมตร/วินาที มีการบริหารจัดการอย่างผสมผสานทั้งหลักวิชาการและเทคโนโลยีการจัดการน้ำของกรมชลประทาน ผนวกกับการมีส่วนร่วมขององค์กรท้องถิ่นในรูปของคณะกรรมการเปิด-ปิดประตูระบายน้ำเพื่อให้เกิดประโยชน์แก่ คน และสิ่งแวดล้อมในพื้นที่ลุ่มน้ำปากพนังอย่างสมบูรณ์ ตลอดจนการยกระดับและพัฒนาคุณภาพชีวิตประชาชนในพื้นที่ได้อย่างครบวงจร ถือเป็นศูนย์รวมในการแก้ไขปัญหาการขาดแคลนนํ้าจืดสำหรับใช้ในการเกษตร การอุปโภคฤดูแล้ง ปัญหานํ้าทะเลบุกรุกในฤดูแล้ง และปัญหานํ้าท่วมพื้นที่ทำกินของราษฎรเป็นบริเวณกว้างในฤดูฝน
โครงการประตูระบายน้ำคลองลัดโพธิ์อันเนื่องมาจากพระราชดำริ จ.สมุทรปราการ
ตั้งอยู่ในบริเวณแม่น้ำเจ้าพระยาตอนล่าง เป็นทางลัดระบายน้ำเหนือ ทำให้ช่วยระบายน้ำได้เร็วเพราะระยะทางสั้น หากวันใดมีน้ำทะเลขึ้นสูงก็ปิดประตูไม่ให้น้ำทะเลเข้ามา โดยโครงการฯ สร้างเสร็จเมื่อปี 2548 สามารถร่นระยะทางการระบายน้ำของแม่น้ำเจ้าพระยาจาก 18 กิโลเมตร เหลือ 600 เมตร และลดเวลาจาก 5 ชั่วโมง เหลือเพียง 10 นาที ทำให้ช่วยลดผลกระทบน้ำท่วมต่อพื้นที่ริมแม่น้ำเจ้าพระยา ในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล ถือเป็นโครงการแรกที่ถูกจัดตั้งมาเพื่อต่อสู้กับภัยธรรมชาติ และช่วยให้ประชาชนมีชีวิตความเป็นอยู่ที่ดีขึ้น นอกจากนี้กรมชลประทานได้ร่วมมือกับมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ทำการค้นคว้าและวิจัยกังหันไฟฟ้าพลังงานน้ำ เพื่อพัฒนาเครื่องผลิตกระแสไฟฟ้าจากการระบายน้ำให้มากที่สุด และยังเป็นต้นแบบกังหันน้ำที่ถูกน้ำไปติดตั้งที่ประตูระบายน้ำทั่วประเทศด้วย
อ่างเก็บน้ำนฤบดินทรจินดา จ.ปราจีนบุรี
โครงการชลประทานขนาดใหญ่ เขื่อนดินแบบแบ่งโซน (Zone Type Dam) สูง 33 เมตร ยาว 3,970 เมตร มีทำนบดินปิดช่องเขาต่ำ 2 แห่ง อ่างเก็บน้ำมีความจุ 295 ล้านลูกบาศก์เมตร พร้อมระบบส่งน้ำและระบายน้ำ ครอบคลุมพื้นที่ชลประทาน 111,300 ไร่ นับตั้งแต่ปี 2560 จวบจนปัจจุบัน เขื่อนได้ทำหน้าที่ในการบริหารจัดการน้ำในทุกมิติมาอย่างต่อเนื่อง นับตั้งแต่การเก็บกักน้ำในช่วงหน้าฝน ลดน้ำท่วมในพื้นที่ได้ตามเป้าหมาย จนปัจจุบันปัญหาเหล่านี้ไม่เกิดขึ้นแล้ว ส่วนหน้าแล้งสามารถส่งน้ำช่วยเหลือพื้นที่การเกษตรในระบบชลประทาน สามารถผลักดันน้ำเค็มที่เคยรุกล้ำลุ่มน้ำปราจีนและบางปะกงจนก่อให้เกิดความเสียหายต่อแปลงเพาะปลูกและการผลิต
น้ำประปาของทั้ง 2 จังหวัด อาทิ สวนทุเรียนปราจีนบุรี ก็ไม่ได้รับผลกระทบจากน้ำเค็มอีก และเนื่องจากอ่างเก็บน้ำอยู่กลางอุทยานแห่งชาติ จึงสร้างความชุ่มชื้นให้กับพื้นที่ป่า สัตว์ป่ากลับมาหากินในพื้นที่มากขึ้นไม่ว่าจะเป็น หมี ช้าง และกระทิง อีกทั้งประชาชนบางส่วนได้เปลี่ยนอาชีพจากการเพาะปลูก มาเป็นชาวประมงจับปลาในอ่างเก็บน้ำแล้วนำมาแปรรูปสร้างรายได้ ขณะเดียวกันธรรมชาติก็สวยงามเป็นที่สนใจของนักท่องเที่ยวธรรมชาติ
อ่างเก็บน้ำห้วยทรายขมิ้น จ.สกลนคร
จากเหตุการณ์อุทกภัยจากพายุโซนร้อนเซินกา เมื่อปี 2560 ทำให้เกิดภาวะฝนตกหนักต่อเนื่อง น้ำไหลข้ามทำนบดินบ่าเข้าท่วมพื้นที่เกษตรและบ้านเรือนของประชาชน รัชกาลที่ 10 ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ส่วนราชการที่เกี่ยวข้องเร่งดำเนินการปรับปรุงอ่างเก็บน้ำห้วยทรายขมิ้นมีอายุการใช้งานมากกว่า 60 ปีซึ่งได้รับความเสียหายให้ใช้การได้โดยเร็ว ต่อมาเมื่อวันที่ 12 สิงหาคม ในปีเดียวกัน ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ รับเป็นโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริ ปัจจุบันอ่างเก็บน้ำแห่งนี้มีขนาดความจุของระดับเก็บกัก 3,000,000 ลูกบาศก์เมตร ทำให้ชาวอำเภอเมืองสกลนคร จำนวน 1,223 ครัวเรือน 4,584 คน มีน้ำสำหรับใช้ทำการเกษตรและอุปโภคบริโภคอย่างเพียงพอ สนับสนุนพื้นที่ทำการเกษตรในช่วงฤดูแล้งและฤดูฝน นอกจากนี้ยังได้มีการจัดตั้งคณะกรรมการจัดการชลประทาน (JMC) เพื่อบริหารจัดการน้ำในลุ่มน้ำห้วยทรายขมิ้นให้เกิดประโยชน์สูงสุด
ทั้งหมดนี้เป็นเพียงส่วนหนึ่งของการสนองพระราชดำริด้านงานชลประทานที่กรมชลประทาน ตั้งปณิธานสืบสาน รักษา และต่อยอด เพื่อพัฒนาแหล่งน้ำและบริหารจัดการน้ำด้วยความเชี่ยวชาญอย่างมืออาชีพ ปฏิบัติงานด้วยระบบงานมาตรฐานอันทันสมัย ใส่ใจการมีส่วนร่วมของประชาชนทุกภาคส่วน เพื่อขับเคลื่อนองค์กรสู่ความสำเร็จอย่างมั่นคงและยั่งยืน
คุณเจตน์ บูรณะโสภณ ผู้จัดการภาคตะวันออกเฉียงเหนือ 2 บมจ.ทิพยประกันภัย พร้อมสำนักงานทิพยประกันภัย สาขาร้อยเอ็ดและสาขานครราชสีมา นำทีม TIP Smart Assist พร้อมกับทีมงานบริษัท นครหลวง แคปปิตอล จำกัด (มหาชน) ลงพื้นที่มอบถุงยังชีพให้กับผู้ประสบภัยน้ำท่วม ในจ.ชัยภูมิ นอกจากนี้ยังได้จัดรถยกเพื่อช่วยเคลื่อนย้ายรถให้กับประชาชนและลูกค้าฟรีอีกด้วย
เอไอเอ ประเทศไทย นำโดย นายกฤษณ์ จันทโนทก ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร เข้ามอบเงินจำนวน 1,000,000 บาท สมทบทุนโครงการ “ประกันภัยรวมใจมอบวัคซีนต้านโควิดสู่ประชาชน” เพื่อร่วมกับสำนักงานคณะกรรมการกำกับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย (คปภ.) โดยมี ดร.สุทธิพล ทวีชัยการ เลขาธิการคณะกรรมการกำกับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย (คปภ.) เป็นผู้รับมอบ เพื่อสนับสนุนในการจัดหาวัคซีนต้าน โควิด19 ‘ซิโนฟาร์ม’ จากราชวิทยาลัยจุฬาภรณ์ จำนวน 20,000 โดส ให้แก่ประชาชนทั่วไป โดยเฉพาะอย่างยิ่งกลุ่มผู้พิการและกลุ่มเปราะบาง เพื่อให้ได้รับวัคซีนอย่างทั่วถึง พร้อมสานต่อคำมั่นสัญญา ‘Healthier, Longer, Better Lives’ ที่มุ่งสนับสนุนให้คนไทยมีสุขภาพและชีวิตที่ดีขึ้น ผ่านการให้ความสนับสนุนนโยบายภาครัฐในการเร่งฉีดวัคซีนโควิด 19 เพื่อสร้างภูมิคุ้มกันหมู่ ลดการแพร่ระบาดของโรคโควิด 19 โดยงานจัดขึ้น ณ สำนักงานคณะกรรมการกำกับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย เมื่อเร็ว ๆ นี้
-จบ-
‘กองทุนมิตรผล-บ้านปู รวมใจช่วยไทย สู้ภัย COVID-19’ มุ่งสานต่อภารกิจเคียงข้างคนไทย ฝ่าวิกฤติโควิด-19 โดยเพิ่มงบประมาณอีก 500 ล้านบาท รวมทั้งสิ้นเป็น 1,000 ล้านบาท พร้อมกลยุทธ์ 7 หมวดหมู่ของการส่งมอบความช่วยเหลือ โดยมุ่งเน้นช่วยเหลือภาคประชาชนที่ได้รับผลกระทบทางเศรษฐกิจ ทั้งในเรื่องชีวิตความเป็นอยู่-สุขภาวะ
ดีแทค เน็ตทำกิน จับมือ ดีป้า มูลนิธิอินเทอร์เน็ตร่วมพัฒนาไทย และ ยังแฮปปี้ (YoungHappy) เปิดโครงการ เน็ตทำกิน ในภารกิจปั้นผู้ประกอบการวัยเก๋า 50+ เล็งยกระดับทักษะดิจิทัลให้ผู้สูงวัยอาศัยลำพังรุ่นแรก 250 คนให้พึ่งพาตนเองได้ ท่ามกลางสภาวะการเข้าสู่สังคมสูงวัยเต็มรูปแบบ เชื่อเศรษฐกิจสูงวัยขับเคลื่อนได้ด้วยองค์ความรู้ด้านดิจิทัลและความพร้อมในการเป็นผู้ประกอบการ
ดีแทค Safe Internet เปิดเวทีให้เยาวชนได้แสดงพลังลงมือสร้างการเปลี่ยนแปลง ภายใต้โครงการ Young Safe Internet Young Leader Cyber Camp ที่เยาวชนได้เปิดโลกองค์ความรู้ด้านดิจิทัล และสัมผัสกระบวนการบ่มเพาะความคิด เพื่อส่งเสริมให้เยาวชนไทยเป็นพลเมืองอินเทอร์เน็ตที่มีความรับผิดชอบ (Responsible netizen) ดีแทค Safe Internet ชวนฟังเสียงของเยาวชน Gen Z ผ่าน 10 โปรเจกต์ ที่พวกเขาได้ลงมือสร้างสรรค์กว่า 3 เดือน เริ่มต้นตั้งแต่กระบวนการบ่มเพาะไอเดีย (Incubation process) สู่ปฏิบัติการสร้างสรรค์วัฒนธรรมออนไลน์
บริษัท เจริญโภคภัณฑ์อาหาร จำกัด (มหาชน) หรือ ซีพีเอฟ ยังเดินหน้าขับเคลื่อนการเป็นองค์กรเคารพสิทธิมนุษยชนในองค์กรต่อเนื่อง
นางสาวพิมลรัตน์ รีพัฒนาวิจิตรกุล ประธานผู้บริหาร ทรัพยากรบุคคล เครือซีพี และซีพีเอฟ กล่าวว่า บริษัทฯ ตระหนักถึงความสำคัญของบุคลากรเป็นฟันเฟืองสำคัญในการผลิตและร่วมส่งมอบอาหารปลอดภัย บริษัทฯ จึงมุ่งเน้นให้ทุกสถานประกอบการบริหารและจัดการแรงงานตามมาตรฐานสากลอย่างจริงจังและต่อเนื่อง ที่ผ่านมา สถานประกอบการโรงงานและฟาร์มของซีพีเอฟได้เข้ารับรองมาตรฐานแรงงานไทย มรท. 8001 และได้รับการตรวจประเมินจากองค์กรภายนอก (Third Party) อย่าง SGS Thailand Limited ,TUV SUD (Thailand) ตั้งแต่ปี 2558 เป็นต้นมา และในปีนี้ เพื่อให้สอดคล้องกับสถานการณ์ปัจจุบัน บริษัทฯ เดินหน้าส่งเสริมทุกหน่วยงานยกระดับการดำเนินงานด้านแรงงานให้สอดคล้องกับมาตรฐานแรงงานไทยฉบับปรับปรุงใหม่ ที่ได้เพิ่มเติมการคุ้มครองแรงงานหญิงที่มีครรภ์และกำลังให้นมบุตร การป้องกันการใช้ความรุนแรง รวมถึงการคุกคามในสถานประกอบการ เพื่อให้มั่นใจ แรงงานทุกคนทั้งของบริษัทฯ ได้ทำงานในสถานที่เหมาะสม และมีสภาพแวดล้อมที่ปลอดภัยต่อสุขภาพอนามัยควบคู่กับนโยบายการดูแลพนักงานให้มีความปลอดภัยในระดับสูงสุดในสถานการณ์การแพร่ระบาดของโควิด-19 รวมทั้งจัดอบรมให้ความรู้แก่แรงงานหญิงได้เข้าใจและสนับสนุนการเลี้ยงบุตรด้วยนมแม่ การจัดทำมาตรการป้องกันลูกจ้างถูกคุกคามล่วงเกิน และการคุกคามไม่ให้เกิดความรุนแรงในสถานประกอบการ พร้อมทั้งส่งเสริมและส่งต่อแนวปฏิบัติที่ดีแก่คู่ค้าธุรกิจต่อไป
"ซีพีเอฟให้ความสำคัญตลอดห่วงโซ่อุปทานอาหารของบริษัทฯ ปฏิบัติและบริหารจัดการแรงงานตามหลักสากลและคงไว้ซึ่งสิทธิมนุษยชน เพื่อให้พนักงานทุกคนทำงานด้วยความมั่นใจในความปลอดภัย และมั่นคง ตลอดจน ได้รับการคุ้มครอง และที่สำคัญบริษัทฯ ให้ความสำคัญกับช่องทางการสื่อสารต่างๆ ของพนักงาน เพื่อส่งเสริมให้ทุกคนตระหนักและเคารพสิทธิมนุษยชนอย่างเท่าเทียมและเสมอภาคกัน ซึ่งจะมีส่วนช่วยให้องค์กรเป็นที่ยอมรับ ได้รับความไว้วางใจจากลูกค้า คู่ค้าและผู้บริโภคทั่วโลก" นางสาวพิมลรัตน์กล่าว
ทั้งนี้ ในปี 2564 นี้ สถานประกอบการของซีพีเอฟ โรงงานและฟาร์มในธุรกิจสัตว์น้ำและสัตว์บกได้รับการรับรองมาตรฐานแรงงานไทย มรท.8001 แล้วประมาณร้อยละ 94 และที่เหลืออยู่ในระหว่างขอการรับรองตามแผนภายในสิ้นปีนี้ ขณะเดียวกัน โรงงานและฟาร์มเลี้ยงสัตว์ยังได้นำแนวปฏิบัติที่ดีในการใช้แรงงาน หรือ หลัก GLP (Good Labour Practices) มาประยุกต์ใช้ควบคู่กันด้วย
ขณะเดียวกัน ซีพีเอฟ ในฐานะเป็นสมาชิกของสมาคมผู้ผลิตไก่เพื่อส่งออกไทย ยังได้ประกาศเจตนารมย์ร่วมกับองค์การแรงงานระหว่างประเทศ (ILO) สภาองค์การนายจ้างแห่งประเทศไทย และสมาคมผู้ผลิตไก่เพื่อส่งออกไทยในการสร้างงานที่ดีและมีคุณค่า ส่งเสริมการจัดการด้านแรงงานอย่างรับผิดชอบในห่วงโซ่อุปทานไก่เนื้อไทยสู่มาตรฐานสากล โดยพัฒนาวิทยากรต้นแบบ (Training of Trainer) ขึ้นเพื่อทำหน้าที่ช่วยขับเคลื่อนงานการดูแลและคุ้มครองแรงงาน และพัฒนาสภาพการทำงาน สอดคล้องกับมาตรฐานสากล ซึ่งนอกจากจะเป็นการยกระดับคุณภาพของสินค้าตอบรับกับความคาดหวังของสังคม คู่ค้า ลูกค้าและผู้บริโภค ยังเป็นการยกระดับคุณภาพชีวิตของแรงงานตามหลักการของเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน
นอกจากนี้ บริษัทฯ ยังได้สนับสนุนให้เกษตรกรในโครงการคอนแทรคฟาร์มปฏิบัติต่อแรงงานตามหลัก GLP ตั้งแต่ปี 2559 เป็นต้นมา โดยบริษัทฯ เข้าไปติดตามประเมินผลเป็นประจำทุกปี พร้อมทั้งให้คำแนะนำเกษตรกรยกระดับมาตรการป้องกันและดูแลความปลอดภัยของคนงานในฟาร์มอย่างเคร่งครัด เพื่อให้มั่นใจว่าแรงงานทุกคนในห่วงโซ่อุปทานของบริษัทฯ ได้ทำงานอย่างปลอดภัย และได้รับการปฏิบัติที่ดีตามมาตรฐานสากล และร่วมกันขจัดการใช้แรงงานผิดกฎหมายทุกประเทศ รวมถึงการป้องกันใช้แรงงานเด็กอย่างจริงจัง
เอไอเอ ประเทศไทย นำโดย นายกฤษณ์ จันทโนทก ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร นายณัฐพิสิษฐ์ ครุฑครองชัย ประธานเจ้าหน้าที่ฝ่ายตัวแทนประกันชีวิต
foodpanda (ฟู้ดแพนด้า) ผู้นำด้านการให้บริการสั่งซื้
บริษัท มิตซูบิชิ มอเตอร์ส (ประเทศไทย) จำกัด พร้อมด้วย มูลนิธิ มิตซูบิชิ มอเตอร์ส ประเทศไทย นำโดย มร. โมะริคาซุ ชกกิ (ซ้ายสุด) ประธานมูลนิธิฯ จัดพิธีมอบทุนการศึกษาในโครงการ “มิตซูบิชิ มอเตอร์ส ให้น้องได้เรียน” (Mitsubishi Motors Give Chance, Give Education) โดยมีนายนพพร สุวรรณรุจิ (แถวบน ซ้าย) อนุกรรมการบริหารจัดการเงินหรือทรัพย์สิน กองทุนเพื่อความเสมอภาคทางการศึกษา (กสศ.) ดร. นิอร ศรีสุนทร รองผู้อำนวยการสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาชลบุรี เขต 1 นางสาวสายใจ พุ่มถาวร รองผู้อำนวยการสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาปทุมธานี เขต 2 คณาจารย์ และผู้บริหารจาก มิตซูบิชิ มอเตอร์ส ประเทศไทย ร่วมแสดงความยินดีในพิธี เพื่อสนับสนุนให้เยาวชนไทยที่เรียนดี แต่ขาดแคลนทุนทรัพย์ได้มีโอกาสศึกษาเล่าเรียนอย่างต่อเนื่อง แม้ในช่วงสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคโควิด-19
มร. โมะริคาซุ ชกกิ ประธาน มูลนิธิ มิตซูบิชิ มอเตอร์ส ประเทศไทย กล่าวว่า มิตซูบิชิ มอเตอร์ส ประเทศไทย ได้ดำเนินธุรกิจในประเทศไทยมาเป็นเวลากว่า 60 ปี ด้วยความมุ่งมั่นที่จะอยู่เคียงข้างคนไทย จึงได้ก่อตั้ง “มูลนิธิ มิตซูบิชิ มอเตอร์ส ประเทศไทย” ขึ้นในฐานะองค์กรที่ไม่แสวงหากำไร เพื่อดำเนินโครงการเพื่อสังคมอย่างยั่งยืนใน 3 ด้านหลักสำคัญ ได้แก่ 1) สิ่งแวดล้อม 2) สุขภาพและชีวอนามัย 3) การศึกษาและจริยธรรม ภายใต้ปณิธาน ด้านความรับผิดชอบต่อสังคม “สรรค์สร้าง เคียงข้าง สังคมไทย” โดยในปีนี้มูลนิธิฯ ได้ดำเนินโครงการต่าง ๆ ไปแล้ว อาทิ การมอบสิ่งของให้กับโรงพยาบาล เพื่อช่วยเหลือในช่วงสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 โครงการปลูกป่า 60 ไร่ ในจังหวัดชลบุรีและจังหวัดสระแก้ว
มิตซูบิชิ มอเตอร์ส ประเทศไทย ร่วมกับ กองทุนเพื่อความเสมอภาคทางการศึกษา ภายใต้การกำกับดูแลของนายกรัฐมนตรี ได้ก่อตั้งโครงการ “มิตซูบิชิ มอเตอร์ส ให้น้องได้เรียน” เพื่อมอบทุนการศึกษาให้แก่นักเรียนในระดับมัธยมศึกษาตอนต้นที่มีผลการเรียนดีเด่น ให้สามารถพัฒนาศักยภาพด้านการศึกษาของตนได้ โดยในปีนี้โครงการได้มอบทุนการศึกษาให้กับนักเรียนรวมทั้งสิ้น 100 คน โดยแบ่งเป็นนักเรียนในจังหวัดชลบุรี 70 คน และจังหวัดปทุมธานี 30 คน ซึ่งอยู่ในพื้นที่ตั้งของศูนย์การผลิตที่แหลมฉบังและสถาบันการศึกษาและฝึกอบรม มิตซูบิชิ มอเตอร์ส ประเทศไทย ซึ่งผมขอแสดงความยินดีกับนักเรียนทุกคนที่ได้รับทุนการศึกษาในปีนี้ ขอให้เด็ก ๆ ทุกคนขยันตั้งใจเรียน และมุ่งมั่นพยายามทำตามความฝันของตนเองให้สำเร็จ และขอขอบคุณทุกภาคส่วนที่ให้การสนับสนุนโครงการนี้เป็นอย่างดี
นายนพพร สุวรรณรุจิ อนุกรรมการบริหารจัดการเงินหรือทรัพย์สิน กองทุนเพื่อความเสมอภาคทางการศึกษา กล่าวว่า “ผมขอขอบคุณ มิตซูบิชิ มอเตอร์ส ประเทศไทย ที่ได้ก่อตั้งโครงการทุนการศึกษานี้ขึ้นมา เพื่อร่วมกันสร้างโอกาสทางการศึกษาให้กับนักเรียนทุนเสมอภาค เพื่อช่วยบรรเทาค่าใช้จ่ายที่เกี่ยวข้องทางการศึกษาให้กับนักเรียน โดย กสศ. มีภารกิจในการปฏิรูปเพื่อลดความเหลื่อมล้ำทางการศึกษา โครงการนี้จึงเป็นความร่วมมือระหว่าง มิตซูบิชิ มอเตอร์ส ประเทศไทย กสศ. และคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (สพฐ.) กระทรวงศึกษาธิการ ที่ร่วมกันระดมทุกสรรพกำลังเพื่อนำโอกาสทางการศึกษาไปให้ถึงเด็ก ๆ เพื่อเติมเต็มโอกาสทางการศึกษาอย่างเป็นรูปธรรมที่เรียกว่า “All for Education ปวงชนเพื่อการศึกษา”