October 18, 2024
×

Warning

JUser: :_load: Unable to load user with ID: 806

JUser: :_load: Unable to load user with ID: 802

JUser: :_load: Unable to load user with ID: 805

JUser: :_load: Unable to load user with ID: 813

กรมป่าไม้  บริษัท เจริญโภคภัณฑ์อาหาร จำกัด (มหาชน) หรือซีพีเอฟ ร่วมกับมูลนิธิเจริญโภคภัณฑ์ นำทัพจิตอาสาซีพีเอฟเกือบ 500 คน อนุรักษ์และฟื้นฟูป่า เขาพระยาเดินธง จ.ลพบุรี ภายใต้โครงการ “ซีพีเอฟรักษ์นิเวศ ลุ่มน้ำป่าสัก เขาพระยาเดินธง” เข้าสู่ปีที่ 3 

ทิพยประกันภัย จัดโครงการ “ทิพยพัฒนาเยาวชนสืบสานการเรียนรู้ศาสตร์พระราชา” นำเด็กนักเรียนกว่า 4,000 คน เข้าร่วมกิจกรรมเพื่อปลูกฝังความรู้ ให้มีความเข้าใจหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง เกษตรทฤษฎีใหม่ เรียนรู้ศาสตร์พระราชา ในพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช บรมนาถบพิตร ในหลวงรัชกาลที่ 9 ที่พระองค์ได้ทรงพระราชทานโครงการต่างๆ เพื่อเป็นแนวทางในการปฏิบัติให้กับพสกนิกรชาวไทย ณ หมู่บ้านอนุรักษ์ควายไทย จ.สุพรรณบุรี

ดร.สมพร สืบถวิลกุล กรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท ทิพยประกันภัยจำกัด (มหาชน) เปิดเผยถึงการจัดโครงการฯ ครั้งนี้ ว่า เพื่อเป็นการน้อมสำนึกในพระมหากรุณาธิคุณของ พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช บรมนาถบพิตร ในหลวงรัชกาลที่ 9 ที่พระองค์ได้ทรงพระราชทานโครงการต่างๆ และแนวทางในการดำเนินชีวิตหลักเศรษฐกิจพอเพียง ให้กับพสกนิกรของพระองค์ โดยให้มีการจัดโครงการ “ทิพยพัฒนาเยาวชนสืบสานการเรียนรู้ศาสตร์พระราชา” นำเด็กนักเรียนตลอดโครงการกว่า 4,000 คน มาเรียนรู้ศาสตร์พระราชา ที่พระองค์ได้ทรงพระราชทานโครงการต่างๆไว้มากมาย

ทั้งนี้เพื่อให้เด็กนักเรียนได้เรียนรู้ด้วยตนเอง เสริมประสบการณ์เรียนรู้จากการปฏิบัติจริง ในพื้นที่จริง เรียนรู้เกี่ยวกับวิถีการทำนาปลูกข้าว การไถนา การคราดนา การดำนา การหว่านข้าว การนวดข้าวโดยการฟาดและใช้แรงควาย การสีข้าว การฝัดข้าว การแปรรูปข้าว การจับปลาโดยการใช้สุ่ม การทำปุ๋ยสูตรพระราชทาน การทำน้ำส้มควันไม้ ทดลองปลูกผักปลอดสารพิษ ทำฮอร์โมนไข่ไก่ และชมการแสดงการใช้แรงงานจากควายไทยในการทำการเกษตร ฯลฯ เพื่อให้เด็กนักเรียนสามารถนำกลับไปประยุกต์ใช้ในการดำเนินชีวิตต่อไปในอนาคต

ดร.สมพร กล่าวว่านอกจากการที่เด็กนักเรียนที่มาร่วมโครงการได้เรียนรู้จากกิจกรรมต่างๆในโครงการแล้ว เด็กๆยังได้สำนึกในความเป็นคนไทย ในความโชคดีที่ได้เกิดมาเป็นคนไทย ที่มีพระมหากษัตริย์ที่ทรงห่วงใยในพสกนิกรของพระองค์ ทรงอุทิศกำลังพระวรกายเพื่อประโยชน์สุขของราษฎร และเพื่อความเจริญพัฒนาของประเทศ โดยมิได้คำนึงถึงประโยชน์สุขส่วนพระองค์ ทรงได้พระราชทานโครงการต่างๆนานัปการมากมาย เพื่อปวงชนชาวไทยตลอดมา โดยทิพยประกันภัยหวังเป็นอย่างยิ่งว่า โครงการนี้จะเป็นจุดเล็กๆที่จะช่วยสืบสานศาสตร์พระราชา และองค์ความรู้ต่างๆ ที่พระองค์ได้ทรงพระราชทานไว้ให้กับประชาชนคนไทยให้คงอยู่ตลอดไป

การปลูกฝังวินัยการออมให้แก่เยาวชนในโลกไร้เสียง ด้วยการตั้งธนาคารโรงเรียนอย่างเป็นระบบ ช่วยเปิดโอกาสเยาวชนพิเศษได้เรียนรู้ เข้าใจทฤษฎี เข้าถึงการปฏิบัติและก้าวข้ามพรมแดนของคนพิการ ด้วยเหตุนี้ อาสาสมัครทีเอ็มบี ได้เข้าไปช่วยวางระบบ “ธนาคารโรงเรียนเพื่อเด็กพิเศษ” ที่โรงเรียนโสตศึกษาอนุสารสุนทร จ.เชียงใหม่ เพื่อเสริมสร้างความรู้ในด้านการออม ส่งต่อความเข้าใจในการดำเนินชีวิตอย่างพอเพียง ให้เด็กหูหนวกสามารถเข้าถึงบริการธนาคารได้ด้วยตนเอง นอกจากนี้ยังจัดทำคู่มือภาษามือสำหรับพนักงานทีเอ็มบี เพื่อใช้ในการสื่อสารกับผู้พิการทางการได้ยิน โดยธนาคารทีเอ็มบี รวม 14 แห่ง จ.เชียงใหม่ สามารถบริการคนหูหนวก โดยไม่ผ่านล่ามภาษามือ ช่วยยกระดับคุณภาพชีวิตผู้พิการทางการได้ยินซึ่งเป็น 1 ใน 37 กิจกรรมเปลี่ยนชุมชนเพื่อความยั่งยืน ภายใต้แนวคิด TMB Make THE Difference 

 

นายเวธน์วิภพ ภาสพสิษฐ์ ผู้จัดการภาคธุรกิจสาขา ทีเอ็มบี เผยว่า “โครงการธนาคารโรงเรียนเพื่อ เด็กพิเศษ เป็นการเสริมสร้างวินัยการออมให้นักเรียน รู้จักการออมบนพื้นฐานของการดำรงชีวิตอย่างพอเพียง นอกจากนี้ อาสาสมัครและพนักงานทีเอ็มบี รวม 14 สาขา ยังได้เรียนและจัดทำคู่มือภาษามือ สำหรับใช้ ในการสื่อสารและส่งมอบคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้นแก่ผู้พิการทางการได้ยิน ภายใต้แนวคิด TMB Make THE Difference” 

 

นางยุพิน คำปัน ผู้อำนวยการโรงเรียนโสตศึกษาอนุสารสุนทร จ.เชียงใหม่ เผยว่า “เราเป็นโรงเรียนประจำ ผู้ปกครองจะให้เงินสำหรับการใช้จ่ายทั้งเทอมบ้าง รายเดือนบ้าง เด็กๆ ไม่รู้จักการแบ่ง การออม มีเยอะ ก็ใช้เยอะ ไม่กี่วันก็หมดแล้ว ดังนั้นการเปิดธนาคารโรงเรียนมีประโยชน์กับทุกฝ่าย สำหรับนักเรียน ก็คือ เด็กรู้จักการออม ซึ่งเป็นคุณลักษณะที่ดี รู้จักการวางแผนการใช้เงิน ปลูกฝังเรื่องความพอเพียง เพื่อให้เป็นพลเมืองที่ดีของสังคม กับคุณครูเองก็มีแหล่งเรียนรู้ ที่จะสอนนักเรียนให้เรียนรู้จากการปฏิบัติจริง เรียนอย่างเป็นระบบจากธนาคารจำลองสภาพเหมือนจริง สำหรับโรงเรียน ก็ลดปัญหาภายใน เพราะเด็กๆ มีพอใช้ พอซื้อขนม คาดว่าโครงการนี้ ได้ช่วยเปิดโลกทัศน์ให้อาสาสมัครทีเอ็มบี ในเรื่องการเรียนรู้บุคคลที่ต่างจากเรา การเรียนรู้บุคคลที่แตกต่างจากเรา จะนำไปสู่ความเข้าใจ รวมถึงการมอบโอกาสแก่ผู้อื่น ซึ่งจะเป็นการพัฒนาสังคม ที่ยั่งยืนต่อไป” 

นายเจษฎา บุญมี อาสาสมัครทีเอ็มบี หัวหน้าโครงการธนาคารโรงเรียนเพื่อเด็กพิเศษฯ เผยว่า “โครงการธนาคารโรงเรียนเพื่อเด็กพิเศษ นับเป็นจุดเริ่มต้นของการเชื่อมสองโลกเข้าด้วยกัน เป็นความร่วมมือของคนหูดีและคนหูหนวก ช่วยส่งเสริมการอยู่ร่วมกันของคนในสังคมไทย อาสาสมัครทีเอ็มบีก็ได้เรียนรู้สิ่งใหม่ๆ 

ที่ท้าทายความสามารถ ได้เข้าไปในอีกโลกที่ไม่เคยเจอ น้องๆ ผู้พิการทางการได้ยิน สามารถทำธุรกรรมที่แบงก์ด้วยตนเอง และพนักงานสามารถสื่อสารภาษามือได้” 

 

ส่วน นางสาวสายสุนีย์ คำมูล อาสาสมัครทีเอ็มบี เผยว่า “ในระหว่าง 3 เดือน เราแบ่งการสอนออกเป็น 2 ส่วน สอนนักเรียนเกี่ยวกับหลักการออม ทำสมุดรายรับรายจ่าย โดยมีครูภาษามือช่วย และสอนคุณครูเกี่ยวกับโปรแกรมธนาคาร ระบบฝาก-ถอนด้วยคอมพิวเตอร์ คีย์ข้อมูลรายชื่อนักเรียน เปิดบัญชี พิมพ์หน้าสมุดและเรียงเก็บไว้ ธนาคารโรงเรียน เปิด 2 วัน วันพุธเป็นวันถอน ส่วนวันจันทร์คือวันฝากเงิน สำหรับการเรียนภาษามือ มีตื่นเต้น ทำผิดบ้าง ถูกบ้างช่วงแรก แต่พอเราเริ่มสื่อสาร ส่งสัญญาณมือที่คุยกับน้องๆ ได้ เรารู้สึก ดีใจมาก เราเริ่มเรียนรู้ เพื่อให้สื่อสารได้ อย่าง ฝากเงิน ถอนเงิน โอนเงิน บัญชี ชื่อ เซ็นชื่อ ฯลฯ 

 

สายน้ำผึ้ง ลุงทูน นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 โรงเรียนโสตศึกษาอนุสารสุนทร จ.เชียงใหม่ เผยว่า “สนุกและได้ความรู้เกี่ยวกับการจัดการเรื่องเงิน และยังได้ฝึกความรับผิดชอบ เกี่ยวกับการให้บริการ วันนี้ได้ช่วยคุณครูเรื่องการพิมพ์บัญชีออมเงิน ธนาคารโรงเรียนเปิดวันจันทร์ และวันพุธ ระหว่าง 15:30 น. -17:00 น.ค่ะ”

 

เมื่อเร็วๆนี้ที่ผ่านมา บริษัท ที.แมน ฟาร์มา จำกัด (T.MAN Pharma) นำโดยคณะผู้บริหาร เดินทางไปยังมูลนิธิสงเคราะห์เด็กอ่อนพิการทางสมองและปัญญา (บ้านเฟื่องฟ้า) จ.นนทบุรี เพื่อมอบผลิตภัณฑ์สินค้านวัตกรรมของทางบริษัท Polar Spray (โพลาร์สเปรย์) และ Mossiguard (มอซซี่การ์ด) เพื่อส่งเสริมสุขภาพและความเป็นอยู่ที่ดีของเด็กๆในมูลนิธิ 

กับการพาไปกระทบไหล่นักฟุตบอลในดวงใจ สโมสรฟุตบอล บุรีรัมย์ ยูไนเต็ด

 

จากการแสข่าวในโลกโซเชียล วอนช่วยเด็กชายพิการกระดูกสันหลังคด เมื่อปีที่แล้ว มาวันนี้ เด็กชายวันชัย ฤทธิเกษร (น้องแม็ก) อายุ 15 ปี ได้มีชีวิตใหม่ ไม่ต้องทนทุกข์ทรมาณ ผ่านกองทุนสมิติเวช เพื่อชีวิตใหม่แก้ไขกระดูกหลังคด 

 

นพ. ศรันย์ อินทกุล รองผู้อำนวยการ รพ.สมิติเวช ศรีนครินทร์  กล่าวว่า เด็กไทยมีกระดูกสันหลังคดในอัตรา 1 ต่อ 10,000  คน ซึ่งถ้าเป็นไม่มากจะไม่มีอาการ และประมาณ 80% เป็นชนิดที่ไม่ทราบสาเหตุ และระยะหลังพบเด็กเป็นโรคนี้มากขึ้น  ซึ่งส่งผลเสียต่อสุขภาพถึงขั้นพิการหรือเสียชีวิตได้ และมีค่าใช้จ่ายในการรักษาสูง ด้วยเหตุในปี 2559  สมิติเวช จึงตั้งกองทุนสมิติเวช เพื่อชีวิตใหม่แก้ไขกระดูกสันหลังคด เพื่อช่วยเหลือผู้ป่วยโรคกระดูกสันหลังคดที่ขาดแคลนทุนทรัพย์  ให้เด็กๆเหล่านั้น มีโอกาสเติบโตอย่างแข็งแรง เป็นกำลังสำคัญของชาติต่อไปในอนาคต  ปัจจุบันได้ทำการผ่าตัดช่วยเหลือเด็กที่มีกระดูกสันหลังคดไปแล้วทั้งหมด  3  ราย   

สำหรับกรณีของน้องแม็กนั้น สมิติเวชรู้สึกดีใจมาก ที่ได้มีโอกาสช่วยเหลือน้องแม็ก โดยสมิติเวช ได้ทราบเรื่องราวผ่านรายการ ปันฝันปันยิ้ม จึงประสานรับน้องแม็กเข้าผ่าตัดรักษาโดยผ่านกองทุน เพื่อชีวิตใหม่แก้ไขกระดูกหลังคด (โดยไม่เสียค่าใช้จ่าย) ณ รพ.สมิติเวช ศรีนครินทร์ เมื่อวันที่ 5 กรกฎาคม 2559 ที่ผ่านมา ซึ่งด้วยความพร้อมของทีมแพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านการผ่าตัดรักษาโรคกระดูกสันหลัง และทีมแพทย์เวชศาสตร์ฟื้นฟู นำโดย ศ.เกียรติคุณ นพ. เจริญ โชติกวณิชย์ และ นพ.ประวิทย์ สุขเจริญชัยกุล รวมถึงจิตใจอันเข้มแข็งของน้องแม็ก ทำให้ผลการผ่าตัดผ่านไปด้วยดี พร้อมกันนี้สมิติเวชได้รับความกรุณาจากผู้สนับสนุนใจบุญ  คุณเนวิน ชิดชอบ ประธานบริหารสโมสรฟุตบอลบุรีรัมย์ ยูไนเต็ด และคุณกรุณา ชิดชอบ (ภรรยา)  ในการจัด แมตซ์ฟุตบอลครั้งยิ่งใหญ่ เพื่อหาเงินเข้ากองทุนนี้  โดยได้รับเงินกว่า  300,000  บาท และเราได้นำเงินนั้นมาช่วยเหลือน้องแม็กและเด็กอื่นๆ   และวันนี้เราได้สานฝันน้องแม็ก ในการมากระทบไหล่นักฟุตบอลในดวงใจ 

 

เด็กชาย วันชัย ฤทธิเกษร (น้องแม็ก) กล่าวว่า ขอบคุณคุณหมอและทุกคนมากครับเพราะกระดูกสันหลังคดมันทรมาณมากๆ  ขนาดหายใจยังเจ็บเลย ตอนนี้ผมเหมือนได้มีชิวิตใหม่ ทำให้ผมมีความภูมิใจที่ได้ดูแลคุณยาย และได้เล่นฟุตบอลกับเพื่อนๆ เป็นครั้งแรก เพราะที่ผ่านมาไม่เคยมีใครชวนผม เล่นหรอกครับ  หมอบอกผมว่า ผมจะได้ใช้ชีวิตที่เป็นปกติ เพราะชีวิตที่เป็นปกติคือชีวิตที่มีความสุข  วันนี้ผมเข้าใจความหมายที่คุณหมอพูดแล้วครับ  ชีวิตของผมมีความฝันที่จะได้เตะฟุตบอลและชมการแข่งขันฟุตบอลกับนักกีฬาระดับประเทศครับ  วันนี้ผมมีความสุขมากครับเพราะสมิติเวชได้ช่วยทำความฝันของผมให้เป็นจริงครับ  ขอบคุณทุกท่านมากครับ

 

เป้าหมายการพัฒนายั่งยืนหรือ (SDGsSustainableDevelopment Goals เป็นเป้าหมายการพัฒนาประเทศของสหประชาชาติที่อยู่ภายใต้การพัฒนา ปี ค.ศ. 2030 โดยมีประเทศสมาชิก 194 ประเทศร่วมลงนามเพือรับรองและให้คำมั่นว่าจะร่วมกันบรรลุ SDGs ภายในปี ค.ศ. 2030 ซึ่งประเทศไทยก็เป็นหนึ่งในสมาชิกที่ให้คำมั่นด้วย ในการนี้รัฐบาลไทยจึงดำเนินการผลักดัน SDGs ผ่านกลไกคณะกรรมการที่ยั่งยืน(กพย.) ในโอกาสที่สำนักงานกองทุนสนันสนุนการวิจัย (สกว.) และโครงการประสานงานการวิจัยเพื่อสนับสนุนการพัฒนาที่ยั่งยืน SDGs Move เปิดเวทีสาธารณะ เป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืนของประเทศไทย : สถานะก้าวต่อไป" ณ.โรงแรมโนโวเทล สยามสแควร์ องค์กรหลายภาคส่วนได้เข้าร่วมงาน เพื่อร่วมระดมความคิดเห็นและพร้อมขับเคลื่อนการพัฒนาที่ยั่งยืน SDGs ผ่านภาคีเครือข่ายประชารัฐ องค์กรเอกชนและกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมืองที่มีทั่วประเทศ 

ดร.สุวิทย์ เมษินทรีย์ รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี  เป็นประธานเปิดงานและปาฐกถาพิเ ศษ เรื่อง“SEP for SDGs: หัวใจขับเคลื่อน Thailand 4.0” กล่าวว่า เป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน (Sustainable Development Goals: SDGs) และปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง (Sufficiency Economy Philosophy: SEP) ในนาม "SEP for SDGs" กับ "Thailand 4.0" มีความเหมือนหรือแตกต่างกันอย่างไร บางท่านเห็นว่า SDGs เป็นการนำแนวคิดจากข้างบนลงมาสู่ระดับล่าง From Grand To Ground ซึ่งเห็นว่าหลักการ SDGs นำมาจากหลักเศรษฐกิจพอเพียงที่ รัชกาลที่ 9 ได้ผ่านการลงพื้นที่ปฎิบัติจริงและพิสูจน์มาแล้ว จากนั้นจึงนำมาเป็นแนวคิดใหม่ของการพัฒนาโลก From Grand To Ground 

ดังนั้น SEP และ SDGs จึงสอดรับไปด้วยกัน และประเทศไทยของเราจะก้าวเดินไป ทางไหนในอนาคต ทางสกว.จะดำเนินโครงการสำรวจสถานะของเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืนในบริบทประเทศไทย ซึ่ง"SEP for SDGs" และ "Thailand 4.0" นั้นเป็นเรื่องที่สอดรับกัน และมีเป้าหมายเดียวกัน นั่นคือการมุ่งพัฒนาประเทศไปสู่ “ความยั่งยืน” การเดินหน้าไปสู่ความยั่งยืนนั้น จะต้องเริ่มจากการสร้างสมดุลในการพัฒนา หรือ "Thriving in Balance" ตามปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง ซึ่งจะต้องมีการปรับเปลี่ยนหลัก คิดของคนให้ถูกต้อง และปรับกระบวนทัศน์ในการพัฒนาให้ถูกทาง เพื่อเปลี่ยนผ่านประเทศไปสู่ Thailand 4.0

 

สำหรับการปรับโครงสร้างสู่ ระบบเศรษฐกิจที่เน้นคุณค่า (Value-Based Ecosystem) ได้แก่

          1.ระบบเศรษฐกิจไหลเวียน (Circular Economy)ระบบเศรษฐกิจที่ทำให้มนุษย์มีความสมดุลอยู่ร่วมกับธรรมชาติ ตอบโจทย์ ความยั่งยืน การเติบโตโดยใช้ทรัพยากรอย่างชาญฉลาด ไม่ทำลายสิ่งแวดล้อม เช่น การมุ่งเน้นธุรกิจ การผลิตและการใช้เทคโนโลยีที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม  การปรับแนวคิดจากเดิมที่เคยคำนึงแต่ความได้เปรียบเรื่องต้นทุนเป็นหลัก (Cost Advantage)มาเป็นการคำนึงถึงประโยชน์ที่ได้จากการสูญเสียที่เกิดขึ้นทั้งระบบ(Loss Advantage) การส่งเสริมองค์กรที่ คิดดี ทำดี การบริหารจัดการความเสี่ยงจากภัยพิบัติ การพัฒนาเมืองอัจฉริยะและเมืองน่าอยู่ การมุ่งเน้นการใช้พลังงานทดแทน ตัวอย่างงานวิจัยของ ม.เทคโนโลยีสุรนารีได้ทำโครงการ จัดตั้งศูนย์ถ่ายทอดนวัตกรรมเศรษฐกิจหมุนเวียน, เทคโนโลยีบำบัดขยะมูลฝอยโดยวิธีกลและชีวภาพ

          2.ระบบเศรษฐกิจกระจายตัว (Distributive Economy)  จะลดความเหลื่อมล้ำทำให้เกิดสมดุลระหว่างมนุษย์กับมนุษย์ จะได้ตอบโจทย์ ความมั่นคง” โดยกระจายความมั่งคั่งและโอกาส ทำให้คนอยู่ร่วมกันได้อย่างสันติสุข เช่น สร้างภูมิคุ้มกันที่เพียงพอให้ กับคนยากจน 40 แรก การส่งเสริมวิสาหกิจเพื่อสังคม ยกระดับผลิตภาพของาคการเกษตร การปรับปรุงคุณภาพของการศึกษาและ ปรับทักษะแรงงานให้สอดรับกับโลก ยุค 4.0 การส่งเสริมเอสเอ็มอีให้เข้มแข็ งและแข่งขันได้บนเวทีโลก การสร้างคลัสเตอร์เศรษฐกิจระดับ กลุ่มจังหวัด และจังหวัด  การพัฒนา Innovation Hub ให้กระจายในระดับูมิภาค การสร้างเศรษฐกิจฐานรากในชุมชน การสร้างเครือข่ายความร่วมมือใน รูปแบบประชารัฐ เป็นต้น ยกตัวอย่าง ภาคประชารัฐและมหาวิทยาลัยในภาคอีสาน ได้ทำวิจัยโครงการเสริมสร้างศักยภาพสินค้าและผลิตภัณฑ์ชุมชนเพื่อการท่องเที่ยว

         

3.ระบบเศรษฐกิจขับเคลื่อนด้วยนวัตกรรม (Innovation-Driven Economy ) เป็นกลไกขับเคลื่อนสู่ ความมั่งคั่ง”  ปรับเปลี่ยนจากเดิมที่เน้นเงิน ทุนและทุนทางกายภาพ มาเป็นการเน้นปัญญามนุษย์และเทคโนโลยี เพราะมันจะตอบโจทย์ความสมดุลระหว่างมนุษย์กับเทคโนโลยี ทำให้เทคโนโลยีเกิดประโยชน์ต่อมนุษย์ นำความมั่งคั่งมาให้ เช่น การยกระดับทักษะด้านดิจิตอลไอซีทีและมีเดีย การยกระดับความสามารถด้านวิจัยและพัฒนา การสร้างคลัสเตอร์และเทคโนโลยีและนวัตกรรม การบ่มเพาะผู้ประกอบการด้านเทคโนโลยี การออกแบบและความคิดสร้างสรรค์ การพัฒนาวิสาหกิจที่ขับเคลื่อนด้วยนวัตกรรม การพัฒนาทักษะและงานใหม่เพื่อรองรับการเปลี่ยนแปลงในอนาคต การสร้างสภาพแวดล้อมที่เอื้อต่อ การทำธุรกิจ การบริหารจัดการสมัยใหม่ เป็นต้น

 

        

ทั้ง  ระบบเศรษฐกิจที่เน้นคุณค่า นี้ช่วยสร้างสมดุลให้เกิดขึ้น ทั้งระหว่าง "มนุษย์ กับ ธรรมชาติ" "มนุษย์ กับ มนุษย์" และ "มนุษย์ กับ เทคโนโลยี" สอดรับกับ SDGs ทั้ง 17 เป้าหมายอย่างสอดคล้องลงตัว ในบริบทของเอกชนนั้น การพัฒนาที่ยั่งยืนยากที่จะเกิดขึ้น จากการทำกิจกรรม CSR เพียงอย่างเดียว แต่จะเกิดขึ้นได้อย่างยั่งยืนถาวรก็ต่อเมื่อภาคเอกชนมีการ ปรับเปลี่ยนกระบวนทัศน์ในการดำเนินธุรกิจ จาก"Greed for Growth, Growth for Greed" มาเป็น "Doing Good, Doing Well" Doing Good เพื่อตอบโจทย์ Stakeholders ส่วน Doing Well เพื่อตอบโจทย์ Shareholders ของบริษัท Doing Good สะท้อนความเป็น "คน" ขององค์กร ในขณะที่ Doing Well สะท้อนความเป็น "ตน" ขององค์กร Doing Good และ Doing Well จึงเสมือน หยิน กับ หยาง ที่ต้องสร้างให้เกิดความสมดุล เมื่อสมดุลจึงจะเกิดการเติบโต แต่เป็นการเติบโตที่ยั่งยืน

 

การขับเคลื่อน SEP for SDGs บนภาคีเครือข่ายความร่วมมือประชารัฐ และกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมืองทั่วประเทศ  79,593 แห่งจะเป็นแพลตฟอร์มที่ยั่งยืน SEP for SDGs จะเกิดขึ้นไม่ได้ หากไม่มีการ “ลงมือปฏิบัติ” อย่างจริงจัง และต้องเป็นการลงมือปฏิบัติในระดับพื้นที่ ภูมิสังคม ศักยภาพ เงื่อนไขและความท้าทายที่แตกต่างกัน ตามโมเดล "Action-Oriented Area-Based Economy ส่วนโมเดลธุรกิจที่ยั่งยืน จะยังคงเป็นกลไกทางตลาด (Market-Based Economy) แต่ต้องเสริมสร้างให้เป็น "Merit-Oriented Market-Based Economy" ที่แต่ละองค์กรดำเนินธุรกิจคิดดี ทำดีจะได้รับประโยชน์ โดยยึด “Doing Good, Doing Well” เป็นสำคัญนั่นเอง

        "SEP for SDGs" จะบรรลุผล หากร่วมมือกันและลงไปสู่พื้นที่อย่างจริงจัง ถึงเวลาที่เราคนไทยทุกาคส่วนจะร่วมกันทำเรื่องนี้ให้ กลายเป็นจริง เชื่อว่าอีก 3-4 ปีข้างหน้าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างแท้จริง 

 
 

ประเทศไทยประกาศใช้แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติในปี 2504 ซึ่งเป็นแผนแม่บทในการพัฒนาประเทศฉบับแรก โดยมีเป้าหมายชัดเจนในการพัฒนาเศรษฐกิจของประเทศให้เติบโต ซึ่งยังคงเป็นจุดมุ่งหมายหลักของแผนพัฒนาฯ ทุกฉบับนับตั้งแต่นั้นมา

การเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม ขององค์กรที่มีจิตสำนึกด้านความรับผิดชอบต่อสิ่งแวดล้อมอย่างแท้จริง นับว่าเป็นปัจจัยที่สำคัญในอันดับต้นๆของภาคอุตสาหกรรมและธุรกิจการค้า ที่ได้ชื่อว่ายึดมั่นในการประกอบกิจการ เพื่อการพัฒนาอย่างยั่งยืน

ผู้บริหารและพนักงานของบริษัท เจริญโภคภัณฑ์อาหาร จำกัด (มหาชน) หรือ ซีพีเอฟ ในประเทศไทย เวียดนามและฟิลิปปินส์ น้อมรำลึกในพระมหากรุณาธิคุณ ร่วมปลูกต้นดาวเรืองในพื้นที่ของสำนักงานและโรงงานซีพีเอฟทุกแห่ง ที่ตั้งอยู่ในประเทศไทย รวมถึงในเวียดนามและฟิลิปปินส์ เพื่อให้ดอกดาวเรืองบานเหลืองอร่ามอย่างพร้อมเพรียงกันในช่วงพระราชพิธีถวายพระเพลิงพระบรมศพฯ เดือนตุลาคมนี้ 

 

นายสุขสันต์ เจียมใจสว่างฤกษ์ ประธานคณะผู้บริหาร ธุรกิจเกษตรอุตสาหกรรม และกรรมการผู้จัดการใหญ่ (ร่วม) ซีพีเอฟ กล่าวว่า ผู้บริหารและพนักงานของซีพีเอฟที่ปฏิบัติงานในต่างประเทศต่างก็มีความรู้สึกเช่นเดียวกับคนไทยทุกคนในทุกมุมโลก ที่ล้วนสำนึกในพระมหากรุณาธิคุณของพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช และเพื่อเป็นการถวายความอาลัยอีกครั้ง จึงได้ร่วมกันจัดกิจกรรมปลูกต้นดาวเรืองกว่า 1 แสนต้น ในพื้นที่สำนักงานและโรงงานของประเทศเวียดนามและฟิลิปปินส์ พร้อมกับโรงงานและสำนักงานซีพีเอฟในประเทศไทย 

 

ทั้งนี้ ประเทศเวียดนาม โดย บริษัท ซี.พี.เวียดนาม คอร์ปอเรชั่น ได้จัดกิจกรรม “รวมใจปลูกดาวเรืองให้บานสะพรั่งทั่วเวียดนาม” โดยเริ่มต้นที่ สำนักงานใหญ่ในกรุงโฮจิมินซิตี้ และฟาร์มของบริษัท 9 แห่งทั่วประเทศเวียดนาม อาทิ กรุงฮานอย เมืองด่องนาย เป็นต้น โดยจะนำต้นดาวเรืองที่ออกดอกและบานสะพรั่งไปมอบแด่ สถานเอกอัครราชทูต ณ กรุงฮานอย และสถานกงสุลใหญ่ ณ นครโฮจิมินห์ ใช้ประดับตกแต่งสถานที่ 

 

เช่นเดียวกันกับผู้บริหาร และพนักงานของซีพีเอฟ ฟิลิปปินส์ โดยโรงงานผลิตอาหารสัตว์น้ำ ที่ตั้งอยู่บนเกาะซามาล ประเทศฟิลิปปินส์ ก็ได้ร่วมกันปลูกดาวเรือง เพื่อประดับตกแต่งพื้นที่โรงงาน โดยดอกดาวเรืองที่ปลูกในฟิลิปปินส์จะบานสะพรั่งพร้อมกัน ในช่วงพระราชพิธีเดือนตุลาคมศกนี้พอดี

 

บริษัท ทิพยประกันชีวิต จำกัด (มหาชน) นำโดยนายนพพร บุญลาโภ กรรมการผู้จัดการใหญ่ จัดงาน TIPlife เติมพลังใจให้น้องครั้งที่ 3  “พาน้องดูหนังแอนิเมชั่นเรื่อง Cars 3”  โดยเปิดโอกาสให้เด็กนักเรียนยากไร้ในถิ่นทุรกันดารจังหวัดลพบุรีจำนวนกว่า 250 คน ซึ่งอยู่ในความดูแลของมูลนิธิ ซี.ซี.เอฟ. เพื่อเด็กและเยาวชน ในพระราชูปถัมภ์ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ได้มีโอกาสร่วมชมภาพยนตร์แอนิเมชั่นยอดนิยมเรื่อง Cars 3 โดยมี ดร กรรณชฎา พิริยะรังสรรค์ ผู้อำนวยมูลนิธิ ซี.ซี.เอฟ. และคณะผู้บริหารจากบริษัท ทิพยประกันชีวิต จำกัด (มหาชน) ร่วมชมด้วย  เมื่อวันที่ 25 สิงหาคม 2560  ณ โรงภาพยนตร์ SF เซ็นทรัลพลาซ่า พระราม 9

ซึ่งเด็กๆ กว่า 250 คน ที่มาจากโรงเรียนอนุบาลพระเพนียด, โรงเรียนบ้านเขาแหลม, โรงเรียนบ้านท่งตาแก้ว จังหวัดลพบุรี ต่างก็ดีใจและตื่นเต้นเป็นอย่างมากกับการชมภาพยนตร์ในโรงภาพยนตร์เป็นครั้งแรก พร้อมกันนี้ทางบริษัทฯ ยังได้จัดเตรียมกระเป๋า อุปกรณ์การเรียน กระปุกออมสิน พร้อมทั้งทุนอาหารกลางวัน ตลอดจนถึงป๊อบคอน และน้ำดื่ม ไว้ให้น้องๆ อย่างเต็มที่

นายนพพร กล่าว“ในปัจจุบันโครงสร้างทางสังคมไทยยังคงมีช่องว่างและความเหลื่อมล้ำอยู่มาก เราในฐานะผู้ประกอบการธุรกิจประกันชีวิต จึงมีความต้องการให้ชีวิตความเป็นอยู่ของประชาชนดีขึ้น ซึ่งจะเห็นได้จากกิจกรรมสร้างสรรค์สังคมของบริษัทฯ จะให้ความสำคัญต่อการช่วยเหลือสังคมในทุกมิติ โดยไม่เจาะจงหรือแบ่งแยกเชื้อชาติ ศาสนา อย่างงาน“TIPlife เติมพลังใจให้น้องก็เป็นโครงการช่วยเหลือสังคมที่บริษัทได้จัดตั้งขึ้นเพื่อส่งเสริม สนับสนุนเด็กและเยาวชน  เพราะเราเห็นความสำคัญของเด็กในวันนี้ ต่อการขับเคลื่อนอนาคตของชาติ หากเราไม่สนับสนุน ไม่มอบโอกาสที่ดี หรือไม่ใส่ใจในเสียงเล็กๆ ของเด็กด้อยโอกาสเหล่านี้  ผมเชื่อว่าพวกเราไม่เพียงแค่ละเลยฟันเฟืองสำคัญของสังคม แต่ยังอาจจะเป็นผู้ส่งเสริมให้เกิดปัญหากลับสู่สังคมอย่างไม่ตั้งใจ

การที่ทิพยประกันชีวิต ได้จัดฉายภาพยนตร์แอนิเมชั่นเรื่อง Cars 3 ให้เด็กๆ ด้อยโอกาสได้ชม ก็เพื่อเป็นการช่วยเปิดโลกทัศน์ในการเรียนรู้ เติมเต็มประสบการณ์นอกห้องเรียน สร้างสรรค์พัฒนาการ สร้างแรงบันดาลใจ พร้อมมอบความสุข รอยยิ้ม และเสียงหัวเราะ เป็นการเติมพลังใจให้น้องๆ และยังมีอีกนัยสำคัญคือเราต้องการบอกว่าเราเห็นคุณค่าในตัวพวกเขา  ผมหวังว่าเด็กๆ เหล่านี้จะได้ตระหนักถึงความสำคัญของการมีตัวตน เห็นคุณค่าในตนเอง หากพวกเราที่ยังมีกำลัง ช่วยกันส่งเสริมก็จะเป็นการสนับสนุนให้เด็กๆ เหล่านี้ได้เติบโตขึ้นเป็นบุคลากรที่มีคุณภาพของสังคม ผมหวังเป็นอย่างยิ่งว่าน้องๆ ที่ได้มีโอกาสมาชมภาพยนตร์ในวันนี้ จะมีความสุข มีกำลังใจที่จะประพฤติตนเป็นเด็กดี และเมื่อมีโอกาสที่ดีในอนาคตก็หวังว่าเด็กเหล่านี้จะมอบโอกาสให้แก่ผู้อื่นต่อไปครับ”

ซึ่งกิจกรรม TIPlife เติมพลังใจให้น้อง  มีแผนการดำเนินงานอย่างต่อเนื่อง ในการสนับสนุนเด็กยากไร้ทั่วประเทศให้ได้รับโอกาสหลากหลายด้าน เพื่อความเป็นอยู่อย่างมีคุณภาพมากขึ้น ในการสร้างสรรค์สังคมไทยให้มีความเข้มแข็งและก้าวหน้าไปอย่างยั่งยืน

X

Right Click

No right click