4 ภาคีความร่วมมือภาคประชาสังคม ภาคเอกชน ท้องถิ่น และมหาวิทยาลัยในพื้นที่ หนึ่งในหัวใจสำคัญของการดำเนินโครงการ “โรงเรียนร่วมพัฒนา” หรือ “Partnership School” ประสานพลังความร่วมมือช่วยยกระดับคุณภาพการศึกษาในด้านต่างๆ ให้มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น และช่วยให้สถานศึกษาเหล่านั้นกลายเป็นแหล่งเรียนรู้ตลอดชีวิตของคนในชุมชน
โดยล่าสุดบริษัท ซีพี ออลล์ จำกัด (มหาชน) ผู้ก่อตั้งร้านเซเว่น อีเลฟเว่น ในประเทศไทย ในฐานะภาคเอกชนที่มุ่งมั่นส่งเสริมการศึกษาและพัฒนาเยาวชนอย่างต่อเนื่อง ได้ลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือพัฒนาการศึกษากับ มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงราย, สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา เชียงราย เขต 1 และโรงเรียนอนุบาลดงมหาวัน จ.เชียงราย สถานศึกษาในท้องถิ่น เพื่อร่วมกันต่อยอดโครงการโรงเรียนร่วมพัฒนา สร้างนวัตกรรมการบริหารจัดการสถานศึกษา ตามเป้าหมาย 4 ด้าน คือ การพัฒนาคุณภาพผู้เรียน การพัฒนาครู การพัฒนาคุณภาพสถานศึกษา และการพัฒนาคุณภาพการบริหารจัดการภายในโรงเรียน เพื่อยกระดับสถานศึกษาให้เป็นแหล่งเรียนรู้ตลอดชีวิตในชุมชน แก่โรงเรียนอนุบาลดงมหาวัน 1 ใน 50 โรงเรียนรุ่นแรกที่เข้าร่วมโครงการฯ
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ศรชัย มุ่งไธสง อธิการบดีมหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงราย กล่าวว่าบทบาทของมหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงราย จะเข้ามาทำหน้าที่เป็นสถาบันการศึกษาพี่เลี้ยงแก่โรงเรียนอนุบาลดงมหาวัน ซึ่งเป็นสถานศึกษาในท้องถิ่น จ.เชียงราย โดยได้จัดตั้งคณะกรรมการทำงานขึ้นมาทั้งหมด 2 ส่วน ได้แก่ 1.คณะผู้บริหารคณะครุศาสตร์ ทำหน้าที่เป็น “พี่เลี้ยง” พัฒนาระบบการเรียนการสอน การบริหารจัดการ การเรียนรู้ให้มีประสิทธิภาพ พร้อมส่งนักศึกษาคณะครุศาสตร์เข้าไปทำหน้าที่ครูฝึกสอน สร้างความพร้อมในเชิงบุคลากร และ 2.คณะผู้บริหารคณะนวัตกรรมและการศึกษาต่อเนื่อง ร่วมผลักดันและสนับสนุนการทำกิจกรรม และทรัพยากรต่างๆ ที่จะก่อให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุดต่อการจัดการเรียนการสอน
“ซีพี ออลล์ ในฐานะภาคเอกชนมีความพร้อมด้านการบริหารจัดการ ขณะที่มหาวิทยาลัยของเราเป็นผู้นำในการพัฒนาบุคลากรด้านครุศาสตร์ในพื้นที่ภาคเหนือตอนบน มีเครือข่ายความร่วมมือในระดับสากล จึงมีความเชี่ยวชาญและสามารถช่วยเป็นพี่เลี้ยงให้กับโรงเรียนได้ และเชื่อว่าการทำงานร่วมกันระหว่างหลายๆ ภาคส่วนจะเกิดเป็นโมเดลในการขยายเครือข่ายลักษณะนี้ต่อไปในอนาคต” ดร.ศรชัย กล่าว
อีกหนึ่งบทบาทความร่วมมือนายประหยัด ทัพธานี ผู้อำนวยการโรงเรียนอนุบาลดงมหาวัน กล่าวว่า โรงเรียนอนุบาลดงมหาวันเป็นโรงเรียนขนาดเล็กระดับประถมศึกษา มีนักเรียนตั้งแต่ระดับชั้นอนุบาลถึงประถมศึกษาปีที่ 6 รวม 200 คน ที่ผ่านมาโรงเรียนได้รับการสนับสนุนด้านการศึกษาผ่านโครงการโรงเรียนประชารัฐ ภายใต้การดูแลของซีพี ออลล์ อย่างต่อเนื่อง ทำให้นักเรียนมีโอกาสทางการศึกษามากขึ้น โดยเฉพาะโครงการอุทยานการเรียนรู้ยุวเกษตรกรรม ซึ่งดึงจุดแข็งด้านเกษตรกรรมที่มีในชุมชนให้เยาวชนได้ “เรียนรู้ รักษา และพัฒนาต่อยอด” เกิดเป็นการสร้างงาน สร้างอาชีพ สร้างรายได้ ให้กับเยาวชน และชุมชน
“ในวันนี้โรงเรียนอนุบาลดงมหาวันได้รับคัดเลือกให้เป็น 1 ใน 50 โรงเรียนร่วมพัฒนารุ่นแรกของกระทรวงศึกษาธิการ ถือเป็นอีกหนึ่งมิติที่จะสร้างโอกาสให้โรงเรียนของเราได้เตรียมทักษะ ความพร้อมของนักเรียนในอนาคต เมื่อโตขึ้นพวกเขาจะสามารถใช้ศักยภาพ ความสามารถในการเรียนรู้ วิเคราะห์ มีจิตสาธารณะ มีคุณธรรม เป็นพลเมืองที่มีคุณภาพต่อไปในอนาคต” นายประหยัด ย้ำ
ด้านนายสุวิทย์ กิ่งแก้ว รองกรรมการผู้จัดการอาวุโส บมจ.ซีพี ออลล์ ผู้ก่อตั้งร้านเซเว่น อีเลฟเว่น ในประเทศไทย กล่าวว่า ถือเป็นโอกาสดีที่ภาคประชาสังคม ท้องถิ่น และมหาวิทยาลัยในพื้นที่ เปิดโอกาสให้ภาคเอกชนเข้ามามีบทบาทในการพัฒนาการศึกษาไทย โดยโรงเรียนอนุบาลดงมหาวัน
จ.เชียงราย ถือเป็นหนึ่งใน 2 โรงเรียนที่ซีพี ออลล์ เข้าไปนำร่องในโครงการโรงเรียนร่วมพัฒนา และต้องการสร้างเป็นโมเดลในการพัฒนาโรงเรียนในพื้นที่ต่างจังหวัด ให้มีความพร้อมอย่างรอบด้าน โดยบริษัทจะนำองค์ความรู้ด้านการบริหารจัดการไปต่อยอดสร้างสรรค์ให้สอดคล้องกับบริบทของโรงเรียนที่เข้าไปร่วมพัฒนา เพื่อเตรียมความพร้อมผู้เรียนสำหรับอนาคตให้มีทักษะการใช้ชีวิตอย่างรอบด้านและเป็นคนดี-คนเก่งของสังคม ตามปณิธานขององค์กร “ร่วมสร้างสรรค์และแบ่งปันโอกาสให้ทุกคน”
โครงการโรงเรียนร่วมพัฒนา เป็นหนึ่งในนโยบายปฏิรูปการศึกษาสอดคล้องกับยุทธศาสตร์ชาติในระยะ 20 ปีของรัฐบาล โดยมีหลักการสำคัญคือ การเปิดโอกาสให้ทุกภาคส่วนเข้ามาร่วมพัฒนาการศึกษา โดยเชื่อว่าพลังจากภายนอกจะมีส่วนสำคัญที่ช่วยผลักดันการบริหารงานในแนวทางใหม่ ๆ ที่จะส่งผลต่อการยกระดับคุณภาพการศึกษาและผลสัมฤทธิ์ที่ดี สร้างเด็กไทยตอบโจทย์ยุค 4.0 พร้อมพัฒนาสถานศึกษาให้เป็นแหล่งเรียนรู้ตลอดชีวิตในชุมชน
เบทาโกร จัดกิจกรรมแฟนมีท โป๊ป ธนวรรธน์ พรีเซ็นเตอร์ไส้กรอกรมควันเบทาโกร “Sport Day เฮลั่น มันส์กับโป๊ป” แฟนคลับเข้าร่วมมหกรรมเกมและการแข่งขันกีฬาอย่างคึกคัก สนุกสุด ฟินสุด พร้อมชวนติดตามแคมเปญใหม่เบทาโกรร่วมกับโป๊ปในปีนี้
วสิษฐ แต้ไพสิฐพงษ์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหารและกรรมการผู้จัดการใหญ่ เครือเบทาโกร เปิดงาน BETAGRO Fan Meet “Sport Day เฮลั่น มันส์กับโป๊ป” กิจกรรมขอบคุณลูกค้าและแฟนคลับ โป๊ป ธนวรรธน์ วรรธนะภูติ พรีเซ็นเตอร์ไส้กรอกรมควัน BETAGRO โดยมีแฟนคลับและชาวเบทาโกรเข้าร่วมงานอย่างคับคั่ง ทั้งการแข่งขันเกม กีฬา ร่วมเชียร์ และร่วมสัมผัสความอร่อยกับไส้กรอกรมควัน BETAGRO ณ อาคารเฉลิมราชสุดากีฬาสถาน (CU Sports Complex) จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
กิจกรรมเริ่มขึ้นอย่างคึกคัก เมื่อโป๊ปเดินเข้าสู่สนามพร้อมขบวนพาเหรด ทักทายแฟนคลับและพูดคุยอัพเดทผลงาน โดยมี ดีเจเชาเชา ชวลิต ศรีมั่นคงธรรม และ คิง-ก่อนบ่าย ณภัทร ชุ่มจิตตรี ร่วมเป็นพิธีกรสร้างสีสันความสนุกตลอดงาน ทั้งเกมการแข่งขันกีฬาสี ชักเย่อ 4 เส้นรวมใจให้โป๊ป ฮูลาฮูปรวมพลังคล้องใจพี่โป๊ป กระดึ๊บสามัคคี…เส้นทางนี้เพื่อพี่โป๊ป และวิ่งผลัดท้าชิมไส้กรอกลอยฟ้า จนถึงไฮไลท์ของงานคือการแข่งขันฟุตซอล “รวมพลซัลโว Let’ s go ยิงประตูโป๊ป” โดยมี วสิษฐนำทีมผู้บริหารร่วมเตะบอลกับโป๊ป ท่ามกลางเสียงเชียร์ของเหล่าแฟนคลับและชาวเบทาโกรที่ร่วมลุ้นกันอย่างสนุกสนาน ภายหลังประกาศผลและมอบรางวัลให้กับ สีเหลืองทีมชนะเลิศ เป็นช่วงที่ทุกคนรอคอยกับกิจกรรมแฟนมีทสุดฟิน ใกล้ชิดโป๊ปแบบเอ็กซ์คลูซีฟ และปิดท้ายสุดประทับใจด้วยบทเพลงเซอร์ไพรซ์โป๊ป “เป็นทุกอย่างให้เธอ” พร้อมมอบภาพถ่ายที่ระลึก-ข้อความให้กำลังใจ
นายวสิษฐ กล่าวว่า “ปีที่ผ่านมาเครือเบทาโกร ออกแคมเปญ “อร่อยใช่…สัมผัสไหนก็โดน” โดยมี โป๊ป เป็นพรีเซ็นเตอร์ ชวนทุกคนมาเปิดสัมผัสความอร่อยกับไส้กรอกรมควัน BETAGRO ถือว่าได้รับการตอบรับอย่างดียิ่ง เพราะเราคัดสรรวัตถุดิบ เนื้อหมู เนื้อไก่คุณภาพ มาผลิตเป็นไส้กรอกคุณภาพดีและรสชาติอร่อย กิจกรรมในวันนี้เป็นความตั้งใจของเบทาโกรเพื่อขอบคุณลูกค้าและแฟนคลับโป๊ปที่ให้การสนับสนุนเรามาโดยตลอด ซึ่งเบทาโกรจะยังคงมุ่งมั่นพัฒนาสินค้าให้ดียิ่งขึ้น เพื่อส่งมอบอาหารคุณภาพให้ถึงมือผู้บริโภค และสำหรับปีนี้เราจะมีแคมเปญใหม่ร่วมกับโป๊ปอีกแน่นอน ฝากทุกคนติดตามและสนับสนุนกันด้วยนะครับ”
ยิ่งประเทศมุ่งผลักดันการผลิตในภาคอุตสาหกรรมให้มีความเติบโตบนพื้นฐานการเล็งผลด้านเศรษฐกิจ เพื่อเป้าหมายการยกระดับรายได้และคุณภาพชีวิตของประชาชนผู้คนในประเทศให้อยู่ดีและมีสุขสภาวะแห่งความสุข แต่ยิ่งการผลิตยิ่งขยาย ตัวเลขรายได้ประชากรเพิ่ม ผลสืบเนื่องต่อมาอาจไม่ได้ให้คำตอบของเป้าหมายในปลายทางในด้านของการพัฒนาอย่างเป็นเอกฉันท์
ปัญหาเรื่องสิ่งแวดล้อมเป็นประเด็นในระดับโลกที่ไม่อาจละวางไปจากสายตา ในขณะที่เราพยายามจะสร้างการพัฒนาด้วยการนำมาซึ่งเทคโนโลยีเพื่อขับเคลื่อนระบบเศรษฐกิจให้ดีขึ้น แต่ดูเหมือนในแต่ละก้าวของเราจะส่งผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมไม่ทางใดก็ทางหนึ่ง ตลอดระยะเวลาที่ผ่านมา
บนเวทีเสวนาในหัวข้อ “เรื่องสิ่งแวดล้อม เรื่องของเรา” ซึ่งจัดขึ้นในวันสิ่งแวดล้อมไทย 4 ธันวาคม 2561 ณ ห้องประชุม ชั้น 2 อาคารเจริญวิศวกรรม คณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ดำเนินรายการโดย รศ.ดร.พิสุทธิ์ เพียรมนกุล มีการพูดคุยถึงประเด็นหลักในเรื่องการขับเคลื่อนประเทศไทยบนเส้นทางใหม่ด้วยยุทธศาสตร์ที่ 5
ภายใต้เป้าหมายหลักอย่างยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปี โดยมีการนำเสนอมุมมองที่น่าสนใจจากหน่วยงานที่มีส่วนร่วมในการปลุกปั้นยุทธศาสตร์ที่ 5 ขึ้นมาเพื่อพัฒนาประเทศของเราให้ เติบโต สมดุล ยั่งยืน เป็นมิตรต่อทรัพยากรและสิ่งแวดล้อม
ยุทธศาสตร์ชาติด้านที่ 5 : เติบโตบนคุณภาพชีวิตที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม
เริ่มต้นด้วยภาพรวมเพื่อให้ผู้เข้าร่วมเสวนาได้เห็นภาพและเข้าใจหลักการของยุทธศาสตร์ที่ 5 โดย ดร.ธนวัฒน์ จารุพงษ์สกุล ประธานกรรมการจัดทำยุทธศาสตร์ชาติด้านที่ 5 ว่าด้วยการสร้างการเติบโตบนคุณภาพชีวิตที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม ได้อธิบายในส่วนนี้ไว้ว่า “กระทรวงอุตสาหกรรมและสภาอุตสาหกรรมมีการทำ MOU เพื่อจะทำงานร่วมกันโดยมุ่งเป้าการพัฒนาภาคอุตสาหกรรมในประเทศ โดยยึดเอายุทธศาสตร์ชาติเป็นแกนหลักโดยมีการขอความร่วมมือจากหลายๆ ภาคส่วนให้เข้ามามีส่วนร่วม จนเป็นที่มาของ Factory 4.0 ซึ่งโครงการมีวัตถุประสงค์และเป้าหมายอันประกอบไปด้วยเรื่องต่างๆ ได้แก่
บนเวทีเสวนาได้หยิบประเด็นที่ประเทศไทยซึ่งกำลังพัฒนาไปข้างหน้าโดยมีบริบทแวดล้อมที่แตกต่างไปจากอดีต ซึ่งแบ่งได้เป็นสองมิติใหญ่ๆ คือ
เรื่องเทคโนโลยีซึ่งทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงที่รวดเร็วและปัญหาเรื่องสิ่งแวดล้อมที่เกี่ยวกับ Climate Change ที่อาจจะมีความรุนแรงมากขึ้นอีก ดังนั้น เราจึงจำเป็นจะต้องมียุทธศาสตร์มาเป็นตัวชี้เป้าว่าประเทศเราในอีก 20 ปีข้างหน้านั้นมีเป้าหมายอย่างไรในภาพกว้าง ระหว่างนั้นก็สามารถปรับเปลี่ยนวิธีการจัดการได้ เพื่อให้การพัฒนาสามารถดำเนินไปได้อย่างต่อเนื่องในโลกที่มีความ uncertainty อย่างมาก”
อุตสาหกรรม แล การสร้างความเติบโต
ทั้งนี้ บนเวทีเสวนามีการกล่าวถึง ประเด็นเรื่องการเติบโต ซึ่งแน่นอนว่าต้องมีเรื่องการพัฒนาอุตสาหกรรมเข้ามาเกี่ยวข้อง โดยเรื่องนี้ อภิจิณ โชติกเสถียร รองปลัดกระทรวงอุตสาหกรรม ได้ระบุถึงแนวนโยบายที่จะถูกนำมาใช้ในการพัฒนาประเทศไทยควบคู่ไปกับการดูแลสิ่งแวดล้อม โดยรองปลัดกระทรวงอุตสาหกรรมได้กล่าวบนเวทีว่า “หากมองย้อนกลับไปในช่วงที่ผ่านมา ประเทศไทยของเรามีการพัฒนาจากประเทศยากจนขึ้นมาได้ แต่ช่วงระยะเวลา 50 ปีให้หลังมานี้ จะเห็นว่าเราติดอยู่ที่เดิม เนื่องจากเราพุ่งเป้าไปที่การพัฒนาภาคอุตสาหกรรมโดยที่ไม่ได้คำนึงถึงผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม แต่ในอนาคต เข็มทิศและแนวทางของการพัฒนาอุตสาหกรรม เราได้กำหนด motto หรือคติพจน์ว่า เติบโต สมดุล ยั่งยืน โดยมีวิสัยทัศน์ของยุทธศาสตร์ที่ 5 ที่จะถูกนำมาใช้ในการผลักดันให้ประเทศมีคุณภาพชีวิตและสิ่งแวดล้อมดีที่สุดในอาเซียนภายในปี พ.ศ. 2580 โดยให้ความสำคัญกับ 6 ประเด็นหลัก บนหลักการ 3 สร้าง : 2 พัฒนา : 1 ยก
3 สร้าง : สร้างการเติบโตอย่างยั่งยืนบนสังคมเศรษฐกิจสีเขียว สร้างความเติบโตในภาคทะเล และสร้างความเติบโตที่เป็นมิตรกับภูมิอากาศ
2 พัฒนา : พัฒนาพื้นที่การเกษตร อุตสาหกรรมและชุมชนให้เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม พัฒนาแหล่งทรัพยากรและพลังงาน และ
1 ยก : ยกระดับกระบวนทัศน์เพื่อกำหนดอนาคตประเทศไทย
ทั้งนี้กลยุทธ์สูตร 3:2:1 เหล่านี้จะตั้งอยู่บนเป้าหมายอยู่ 4 ข้อ คือ 1.การอนุรักษ์ไว้ซึ่งทรัพยากรธรรมชาติ, สิ่งแวดล้อมและวัฒนธรรมให้คนรุ่นหลัง 2.ฟื้นฟูผลกระทบทางลบที่เกิดขึ้นในอดีต 3.บริหารจัดการการใช้ทรัพยากรให้คุ้มค่า และ 4.สรรหาเครื่องมือและวิธีการใหม่ๆ มาใช้ในการพัฒนา
“ในประเทศอื่นมีการวางยุทธศาสตร์ชาติมานานมากแล้ว อย่างในญี่ปุ่นอาจจะมียุทธศาสตร์ระยะยาวถึง 50 ปี เขาจึงสามารถพัฒนาประเทศขึ้นมาได้อย่างรวดเร็ว ทั้งๆ ที่มีแหล่งทรัพยากรไม่มากและภูมิประเทศเป็นเกาะ ประเทศไทยจะถอยหลังไปแบบเดิมไม่ได้อีกแล้ว เราต้องก้าวไปข้างหน้า ในส่วนของผู้ประกอบการหรือภาคอุตสาหกรรมเองเราก็ต้องการที่จะส่งเสริมและสนับสนุนให้มีการนำเอาเทคโนโลยี หรือนวัตกรรมใหม่ๆ มาใช้โดยตระหนักในเรื่องสิ่งแวดล้อมด้วย เพื่อให้ประเทศก้าวข้ามกับดักรายได้ปานกลางไปให้ได้ อย่างคณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาฯ ซึ่งมีส่วนสำคัญในการช่วยสร้างและผลิตคนที่มีความรู้ความสามารถมาช่วยพัฒนาประเทศในอนาคตได้” อภิจิน โชติกเสถียร รองปลัดกระทรวงอุตสาหกรรม กล่าว
ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม : บนมิติความยั่งยืน
ผู้ทรงคุณวุฒิอีกท่านบนเวทีเสวนา ดร.อัษฎาพร ไกรพานนท์ ผู้ตรวจราชการ กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ได้ร่วมบอกเล่าและแบ่งปันแง่มุมของเรื่องสิ่งแวดล้อมบนมิติของความยั่งยืน ว่า “กิจการใดๆ ก็แล้วแต่ไม่ว่าเราจะทำอะไรล้วนแล้วแต่มีผลกระทบต่อทรัพยากรและสิ่งแวดล้อม ในสถานการณ์การพัฒนาประเทศไทยเราจากอดีตที่เราเริ่มต้นจากการเป็นประเทศเกษตรกรรม ทำให้เกิดผลกระทบแรกต่อสิ่งแวดล้อมในเชิงพื้นที่ โดยมีการบุกรุกพื้นที่ป่า เป็นสัดส่วนที่ค่อนข้างสูง ต่อมาก็พัฒนาเข้าสู่ยุคอุตสาหกรรม มีกิจการหลายๆ ประเทศย้ายฐานการผลิตมาที่ประเทศไทย ซึ่งแม้จะมีการจำกัดเขตนิคมอุตสาหกรรมหรือเขตเศรษฐกิจพิเศษไว้ในบางพื้นที่ก็ตาม แต่ก็ต้องยอมรับว่าในระยะแรกๆ เราเน้นไปที่เรื่องการสร้างความเติบโตทางเศรษฐกิจและสังคม โดยไม่ได้คำนึงถึงผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรธรรมชาติมากนัก ทำให้เกิดผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อมตามมาหลายอย่าง ทั้งมลพิษปริมาณมากส่งผลต่อคุณภาพชีวิตประชาชน ทั้งเรื่องแหล่งน้ำ และอีกหลายระลอกของผลกระทบต่อมา เมื่อภาคอุตสาหกรรมมีความเติบโต ก็ทำให้การเติบโตทางธุรกิจอสังหาริมทรัพย์โตตามไปด้วย มีความแออัดจากการอพยพเข้ามาอยู่ในเมืองมากขึ้น ส่งผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมคล้ายกับการทำการเกษตร นั่นคือสูญเสียพื้นที่บางส่วนไปเพื่อใช้ในการพัฒนา รวมถึงส่งผลในเรื่องมลพิษขยะและน้ำเสีย ดังนั้น สามส่วนนี้ต่างก็ส่งผลต่อสิ่งแวดล้อมทั้งหมดแต่แตกต่างกันในเรื่องสัดส่วนและลักษณะของการพัฒนดำเนินงาน”
ดร.อัษฏาพร ยังได้เปิดเผยถึงแนวทางนโยบายเรื่องนี้ว่า “ จริงๆ เรามีนโยบายในการดูแลเรื่องทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมมานานแล้ว ซึ่งสืบเนื่องมาจากกระแสโลกในการประชุม Earth Summit 1992 (Rio) ซึ่งให้ความสำคัญในเรื่องของผลกระทบจากการพัฒนาเมืองในด้านต่างๆ ต่อสิ่งแวดล้อม ประเทศไทยได้มีการออกพระราชบัญญัติส่งเสริมและรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ พ.ศ. 2535 ซึ่งมาดูแลในภาพรวม ต่อมาในปี พ.ศ.2545 ก็มีการตั้งกระทรวงทรัพยากรและสิ่งแวดล้อมขึ้นมาโดยมีนโยบายในการดูแลเรื่องทรัพยากรและสิ่งแวดล้อมต่อเนื่องมาโดยตลอด”
ในเรื่องกฎหมาย ดร.อัษฎาพร ได้กล่าวถึงการปรับปรุงแก้ไขพระราชบัญญัติส่งเสริมและรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ พ.ศ. 2535 ซึ่งเพิ่มเติมไปจากเดิมในประเด็นของผู้ประกอบการว่า จากนี้ไปหากกิจการหรือกิจกรรมอะไรก็แล้วแต่ ถ้าดำเนินการสร้างไปก่อนโดยไม่ทำรายงานผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม กฎหมายจะบังคับปรับถึงวันละ 100,000 บาท
นอกจากนี้ พระราชบัญญัติป่าไม้ พ.ศ.2484 ในมาตรา 7 ที่กำลังจะมีการแก้ไขโดยอนุญาตให้ประชาชนปลูกไม้มีค่าต่างๆ ในขอบเขต 58 ชนิด จะสามารถตัดขายหรือใช้เป็นหลักประกันกู้ยืมเงินได้ นอกจากนี้ยังมีการประเมินผลกระทบเชิงยุทธศาสตร์ (Strategic Environmental Assessment : SEA) โดยการมองภาพรวมทั้งพื้นที่เพิ่มเข้ามาด้วย
อีกสิ่งหนึ่งที่สำคัญ คือ เรื่องนวัตกรรม ซึ่ง ดร.อัษฎาพร ได้แสดงความคิดต่อวงเสวนาว่า “ถ้าเราสามารถสร้างนวัตกรรมได้เองที่สามารถนำมาใช้พัฒนา Circular Economy และ Bio Economy ก็จะทำให้เราสามารถยืนหยัดได้ด้วยขาของเราเองอย่างยั่งยืนได้”
พัฒนาเศรษฐกิจและสังคม : สามประสานภาครัฐ เอกชน และประชาชน
ลดาวัลย์ คำภา อดีตรองเลขาธิการ คณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติและคณะกรรมการจัดทำยุทธศาสตร์ชาติด้านที่ 5 เปิดประเด็นบนเวทีอภิปรายว่า
“การที่เราจะบรรลุเป้าหมายยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปี ได้นั้น ไม่ใช่แค่อาศัยการทำงานจากภาครัฐแต่เพียงเท่านั้น ต้องมีการร่วมมือกันทั้งภาคเอกชนและประชาชนด้วย กล่าวง่ายๆ คือ การดูแลสิ่งแวดล้อมเป็นเรื่องของเราทุกคน “
นอกเหนือไปจากการบรรยายให้รายละเอียดของแผนและนโยบายต่างๆ ของงานยุทธศาสตร์ชาติซึ่งถือเป็นแผนหลักของประเทศอันดับหนึ่ง โดยมีแผนสองคือแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ รวมถึงแผนปฏิรูป แผนแม่บทและแผนเรื่องความมั่นคง ส่วนแผนสามคือแผนของหน่วยกระทรวงต่างๆ ซึ่งจะต้องมีการทำงานที่สอดคล้องกันทั้งหมด หากหน่วยงานไหนดำเนินการไม่เป็นไปในทิศทางเดียวกันอาจมีบทลงโทษและถูกฟ้องร้องได้ ภายใต้แผนทั้งหมดยังมีการเปิดรับฟังความคิดเห็นของภาคประชาชนเพื่อนำมาปรับ เพราะต้องมีความร่วมมือระหว่างประชาชนและภาคเอกชนด้วยถึงจะทำให้ทำงานสำเร็จตามที่ตั้งเป้าเอาไว้
ลดาวัลย์ คำภา ได้กล่าวถึงเป้าหมายของความสำเร็จของยุทธศาสตร์ชาติ ที่กำหนดไว้ 4 ประเด็นสำคัญด้วยกัน คือ
1.สาระในยุทธศาสตร์ชาติต้องเป็นสิ่งที่ให้ประโยชน์จริงๆ
2.กลไกปฏิบัติ ในเบื้องต้นจะเริ่มจากภาครัฐ แล้วค่อยขยายไปภาคประชาชน
3.กฎหมาย ต้องมีการปรับเปลี่ยนแก้ไขให้มีความเหมาะสมกับยุคสมัย
4.เป็นที่ยอมรับของสังคม โดยให้ทุกคนตระหนักและการยอมรับเป้าหมายร่วมกัน
ภายใต้การทำยุทธศาสตร์ทั้งหมด 6 ด้าน แบ่งเป็นแผนแม่บททั้งหมด 23 แผน โดยครอบคลุมเรื่องการเกษตร อุตสาหกรรม การท่องเที่ยว การพัฒนาเมือง ระบบขนส่ง ค่านิยมวัฒนธรรม การสร้างความสุขและการบริหารจัดการ ซึ่งแผนที่เกี่ยวข้องกับยุทธศาสตร์ชาติโดยตรงคือแผนแม่บทที่ 18 และ 19 ซึ่งเน้นการเติบโตอย่างยั่งยืน ทั้งหมดล้วนเกี่ยวกับสิ่งแวดล้อมเป็นหลัก “ ในอีก 20 ปีข้างหน้า ประเทศของเรามีแนวโน้มเข้าสู่ Aging Society อย่างรวดเร็วกว่าในประเทศอื่นๆ เพราะฉะนั้นสิ่งที่สำคัญซึ่งอยู่ในยุทธศาสตร์ที่ 5 เช่นกัน นั่นคือ การปรับกระบวนทัศน์ในเรื่องของสิ่งแวดล้อมให้ดีขึ้น ในอดีตถ้าเราขับรถไปต่างจังหวัดอาจจะเห็นคนทิ้งขยะตามข้างถนนค่อนข้างเยอะ บางทีไปสร้างความเดือดร้อนให้รถคันอื่นบนท้องถนน ดังนั้น การปรับทัศนคติต่อเรื่องเหล่านี้จึงเป็นสิ่งที่ทุกคนต้องมีจิตสำนึกร่วมกัน เราต้องเป็นประเทศที่พัฒนาแล้วและมีสิ่งแวดล้อมที่ดีด้วย” คือคำกล่าวของ ลดาวัลย์ คำภา บนเวทีเสวนา เรื่องสิ่งแวดล้อม เรื่องของเรา อีกหนึ่งเวทีที่เริ่มขับเคลื่อนการก้าวไปข้างหน้าบนแนวทางของยุทธศาสตร์ด้านที่ 5 ซึ่งจัดขึ้นที่คณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาฯ
เรื่อง บรรณาธิการ
ภาพ ภัทรวรรธน์ พงษ์บริพันธ์
แผ่นรองพรมรักษ์โลกจากพอลิเมอร์ย่อยสลายได้ทางชีวภาพ ย่อยสลาย ลดปัญหาขยะพลาสติก ผลงานนักศึกษาปริญญาโท นางสาวประภัสสร วันนิจ นักศึกษาสาขาวิศวกรรมวัสดุ คณะวิศวกรรมศาสตร์ อาจารย์ที่ปรึกษา ผศ.ดร.สมหมาย ผิวสอาด ดร.วีราภรณ์ ผิวสอาด คณะวิศวกรรมศาสตร์ คว้าเหรียญทอง ในงาน “Seoul International Invention Fair 2018” ณ กรุงโซล สาธารณรัฐเกาหลี
นางสาวประภัสสร วันนิจ เล่าว่า พรมปูพื้นในปัจจุบันทำจากพลาสติกจำพวกพอลิโพรไพลีน(Polypropylene, PP) หรือพอลิเอสเตอร์ (Polyester) ประเภทพอลิเอทิลีนเทเรฟทาเลต (Poly(ethylene terephthalate), PET) ซึ่งพลาสติกเหล่านี้ไม่ย่อยสลาย และจากปริมาณการผลิตพรมในประเทศไทยมีมากกว่า 4,000 ตันต่อปี ดังนั้นปริมาณของขยะพลาสติกที่เกิดจากพรมในแต่ละปีจึงมีจำนวนไม่น้อยไปกว่าปริมาณการผลิต เนื่องจากอายุการใช้งานของพรมอยู่ระหว่าง 2-5 ปี ขยะพลาสติกจากพรมจึงเป็นปัญหาต่อการกำจัด ซึ่งการนำกลับมาใช้ใหม่ไม่เหมาะสมเนื่องจากคุณภาพและสมบัติทางกายภาพของพอลิเมอร์ที่ลดลง พอลิเมอร์เหล่านี้ไม่สามารถย่อยสลายได้ทางชีวภาพ จึงเป็นแหล่งของปัญหาขยะพลาสติกที่ไม่สามารถกำจัดได้อย่างมีประสิทธิภาพ ดังนั้นคณะผู้วิจัยจึงศึกษาหาวัสดุชนิดใหม่ที่สามารถย่อยสลายได้ทางชีวภาพและเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมเพื่อใช้ทดแทน PP หรือ PET โดยศึกษาการใช้พอลิแลคติคแอซิด(Poly(lactic acid), PLA) เพื่อขึ้นรูปชิ้นส่วนของพรมและใช้ทดแทนพอลิเมอร์แบบเดิม
งานวิจัยได้ทำการศึกษาการประยุกต์เทคโนโลยีการใช้พอลิเมอร์ย่อยสลายได้ทางชีวภาพ เพื่อผลิตชิ้นส่วนของพรม และศึกษากระบวนการขึ้นรูปที่มีประสิทธิภาพสูงกว่ากระบวนการแบบเดิมเพื่อให้ได้ผลิตภัณฑ์ที่มีสมบัติที่ดีกว่าเดิม โดยศึกษากระบวนการขึ้นรูปผ้าไม่ถักไม่ทอ (nonwoven) แบบใหม่คือ Melt jet spinning หรือ Cotton candy method เป็นกระบวนการขึ้นรูปผ้าไม่ถักไม่ทอที่สามารถผลิตเส้นใยที่มีขนาดเล็กได้ในระดับไมโครเมตร และสามารถผลิตเส้นใยได้ในประมาณที่มาก ไม่ต้องใช้แรงดันไฟฟ้าสูงในกระบวนการ ทำให้ประหยัดพลังงานและได้ผลิตภัณฑ์ที่มีความนุ่มมากขึ้นและมีสมบัติเชิงกลที่ดีขึ้น ลักษณะของพรมรักษ์โลกต้นแบบเป็นแผ่นผ้าที่มีลักษณะคล้ายสำลีหรือขนมสายไหม ฟูๆ นิ่ม สีขาว
ความแตกต่างของพรมรักษ์โลกต่างจากพรมในปัจจุบันเรื่องของการย่อยสลาย พรมส่วนใหญ่ที่ผลิตจากพลาสติกใช้เวลาในการย่อยสลายมากกว่า 400 ปี สำหรับแผ่นรองพรมที่คิดค้นจากพอลิเมอร์ที่สามารถย่อยสลายได้ทางชีวภาพ เมื่อทิ้งเป็นขยะจะสามารถเริ่มกระบวนการย่อยสลายได้ตั้งแต่ 2 เดือนขึ้นไป ทำให้ช่วยลดปัญหาสิ่งแวดล้อมที่เกิดจากขยะพลาสติก เป็นการพัฒนากระบวนการผลิตพรมโดยใช้พอลิเมอร์ที่สามารถย่อยสลายทางชีวภาพเพื่อทดแทนพอลิเมอร์ที่เป็นผลิตภัณฑ์จากปิโตรเลียมและไม่ย่อยสลาย การผลิตผ้าไม่ถักไม่ทอจากกระบวนการ Melt jet spinning หรือกระบวนการ Cotton candy เป็นกระบวนการที่ช่วยลดค่าใช้จ่ายในการผลิต เนื่องจากใช้แรงดันไฟฟ้าต่ำ และยังสามารถผลิตผ้าไม่ถักไม่ทอได้เป็นจำนวนมาก
รู้สึกดีใจและเป็นเกียรติมากที่ได้รับรางวัลเหรียญทองในครั้งนี้ และภูมิใจที่งานวิจัยสามารถช่วยลดปัญหาสิ่งแวดล้อมและเป็นส่วนหนึ่งที่จะทำให้คนทั่วไปตระหนักถึงปัญหาที่เกิดจากขยะพลาสติกมากขึ้น
เนื่องในโอกาสครบรอบการก่อตั้ง 100 ปี ของพานาโซนิคในประเทศญี่ปุ่น พานาโซนิคทั่วโลกได้มีการเฉลิมฉลอง และจัดกิจกรรมเพื่อตอกย้ำความเป็นแบรนด์คุณภาพ ภายใต้แนวคิด “A Century of Reliability หนึ่งร้อยปีแห่งความไว้วางใจ” โดยตลอดระยะเวลา 57 ปีที่กลุ่มบริษัทพานาโซนิคดำเนินงานในประเทศไทย มีการสร้างสรรค์กิจกรรมเพื่อสังคม คุณภาพชีวิต และสิ่งแวดล้อมอย่างต่อเนื่อง
ล่าสุดกับโครงการ “พานาโซนิค มอบ 10,000 หลอดไฟทั่วไทย ปันรอยยิ้มสู่ชุมชน” มีวัตถุประสงค์เพื่อมอบหลอดไฟให้กับโรงเรียนและโรงพยาบาลที่ต้องการใช้หลอดไฟเพื่อสาธารณประโยชน์ ซ่อมแซมหลอดไฟเดิม หรือเพิ่มความสว่างให้กับสถานที่ โดยมีเป้าหมายในการมอบจำนวน 10,000 หลอดทั่วประเทศไทย ซึ่งเป็นหลอดประหยัดไฟแอลอีดีรุ่น LDAHV8DG4A ที่ประหยัดไฟมากกว่าหลอดไส้ทั่วไป ทนต่อการเปิด-ปิด เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมเพราะปราศจากสารปรอท และมีอายุการใช้งานที่ยาวนาน
โดย มร.ฮิเดคาสึ อิโตะ กรรมการผู้จัดการ บริษัท พานาโซนิค ซิว เซลส์ (ประเทศไทย) จำกัด ได้เริ่มต้นมอบหลอดไฟให้กับโรงเรียนและโรงพยาบาลแล้ว 3 แห่ง ได้แก่ โรงเรียนบ้านศาลา จ.เชียงใหม่ จำนวน 200 หลอด โรงเรียนบ้านชัยพร มิตรภาพ ที่ 67 จังหวัดอุดรธานี จำนวน 200 หลอด และโรงพยาบาลอุดรธานี จำนวน 500 หลอด
สำหรับโรงเรียนหรือโรงพยาบาลที่ต้องการหลอดไฟใช้เพื่อสาธารณประโยชน์ สามารถติดต่อได้ที่ โทร. 0-2731 – 8888 #2911 ตั้งแต่บัดนี้เป็นต้นไป
มร.ฮิเดคาสึ อิโตะ กรรมการผู้จัดการ บริษัท พานาโซนิค ซิว เซลส์ (ประเทศไทย) จำกัด และนางรสชรินทร์ คำโพธิ์ ผู้อำนวยการ โรงเรียนบ้านศาลา จังหวัดเชียงใหม่
บรรยากาศการรับมอบหลอดไฟพานาโซนิค โรงเรียนบ้านชัยพร มิตรภาพ ที่ 67 จังหวัดอุดรธานี
มร.ฮิเดคาสึ อิโตะ และ นายยืนยง อภิชนกิจ มอบหลอดไฟแก่โรงพยาบาลอุดรธานี จังหวัดอุดรธานี โดยมีนพ. เกรียงศักดิ์ พิมพ์ดา รองผู้อำนวยการฝ่ายการแพทย์ พร้อมด้วยเภสัชกรดำรงเกียรติตั้งเจริญ หัวหน้ากลุ่มงานเภสัชกรรมและรักษาการรองผู้อำนวยการฝ่ายบริหาร และพญ.ศศินี อภิชนกิจ หัวหน้ากลุ่มงานการแพทย์แผนไทย และการแพทย์ทางเลือก โรงพยาบาลอุดรธานี เป็นผู้รับมอบ
ย้อนเส้นทางสานต่อศาสตร์พระราชา ผ่านโครงการ “รักษ์น้ำ จากภูผาสู่มหานที” โดยเอสซีจี ผลสัมฤทธิ์แห่งการส่งเสริมนวัตกรรมเพื่อบริหารจัดการน้ำอย่างยั่งยืนและพลิกฟื้นความเข้มแข็งให้ชุมชน
“เพราะน้ำคือชีวิตของทุกสรรพสิ่ง ที่ใดมีน้ำที่นั่นย่อมมีชีวิต...” เอสซีจี จึงได้เดินอยู่บนเส้นทางแห่งการบริหารจัดการน้ำร่วมกับชุมชนและภาคีเครือข่ายมากว่า 10 ปี
จุดเริ่มต้นเส้นทางสู่ความยั่งยืนด้านสิ่งเเวดล้อม และวิถีชีวิตความเป็นอยู่
เอสซีจี ได้น้อมนำเเนวพระราชดำริ 'จากภูผาสู่มหานที' ผสานเเนวคิดเศรษฐกิจหมุนเวียน (Circular Economy) มาต่อยอดโครงการ “รักษ์น้ำเพื่ออนาคต” ที่ดำเนินมากว่า 10 ปี ด้วยโครงการ “รักษ์น้ำจากภูผาสู่มหานที” ในปี 2561 เพื่อขยายผลการดูแลจัดการน้ำให้เหมาะสมกับเเต่ละพื้นที่ สร้างต้นน้ำที่ดี กลางน้ำที่สมบูรณ์ สู่ปลายน้ำที่ยั่งยืน ผ่านกระบวนการสร้างการมีส่วนร่วมกับชุมชน ให้เข้าใจการบริหารจัดการน้ำในพื้นที่ตนเองอย่างแท้จริง ตลอดจนเดินหน้าสร้างความร่วมมือกับหน่วยงานภาครัฐในท้องถิ่น จิตอาสา เเละพนักงาน เพื่อสร้างพลังเเละเชื่อมความรู้การจัดการน้ำอย่างเป็นระบบ
“ฝายชะลอน้ำ” ต้นแบบการพลิกฟื้นพื้นที่ต้นน้ำ
เริ่มต้นจากพื้นที่ต้นน้ำ อ.เเม่ทะ จ.ลำปาง ต้นแบบการพลิกฟื้นพื้นที่ด้วยการสร้างฝายชะลอน้ำ เพื่อช่วยบรรเทาปัญหาน้ำแล้งในฤดูเเล้ง น้ำท่วมในฤดูน้ำหลาก เเละป้องกันไฟไหม้ป่า ก่อนขยายไปยังพื้นที่ อ.แจ้ห่ม จ.ลำปาง เมื่อฝายชะลอน้ำช่วยให้น้ำกลับคืนมาสู่พื้นที่ จึงนำไปสู่การสร้างสระพวงเชิงเขา วิธีการกักเก็บน้ำที่ใช้การเชื่อมต่อสระน้ำเป็นพวง ทำให้มีน้ำเพียงพอสำหรับทำการเกษตรในพื้นที่ไม่อุ้มน้ำ ชุมชนสามารถเพาะปลูกเมล็ดพันธุ์พืชแบบใช้น้ำน้อย เช่น ฟักทอง บวบ ถั่วฝักยาว มะระขี้นก ได้มากถึง 7 ครั้งต่อปี เกิดรายได้รวมในชุมชนถึง 18 ล้านบาทต่อปี และยังใช้วิธีการกระจายน้ำในพื้นราบด้วยระบบแก้มลิง ทำให้เกษตรกรนำน้ำไปใช้ในพื้นที่กว่า 500 ไร่ สร้างรายได้กว่า 100,000 บาท / ครัวเรือน / ปี ช่วยให้ชุมชนมีแหล่งน้ำสำรองในฤดูแล้งอีกประมาณ 134,000 ลบ.ม. สามารถบริหารจัดการน้ำได้อย่างเต็มระบบและพัฒนาต่อยอดเป็นแหล่งท่องเที่ยวเชิงนิเวศ เพื่อสร้างอาชีพ เสริมรายได้ให้ชุมชนอย่างยั่งยืน
ไม่เฉพาะภาคเหนือ แต่แนวคิดการสร้างฝายชะลอน้ำยังได้ขยายผลสู่ ต.ถ้ำใหญ่ อ.ทุ่งสง จ.นครศรีธรรมราช ที่ชุมชน ภาคีเครือข่าย และเอสซีจี ได้ร่วมสร้างฝายเพื่อรักษาและฟื้นฟูระบบนิเวศป่าต้นน้ำของลำน้ำสาขาจากเทือกเขานครศรีธรรมราช อันเป็นต้นน้ำของลุ่มน้ำตรัง ขณะเดียวกัน ก็ได้ส่งต่อแนวคิดไปสู่พื้นที่ อ.ไทรโยค จ.กาญจนบุรี ที่ประสบปัญหาพื้นที่แห้งแล้งจากการแผ้วถางป่าสำหรับขยายพื้นที่ทำกิน และหน้าดินที่ถูกชะล้างซึ่งสร้างความเดือดร้อนให้ชุมชน ฝายชะลอน้ำจึงถูกนำไปใช้เป็นเครื่องมือช่วยชะลอน้ำและฟื้นคืนสภาพพื้นที่ให้เป็นแหล่งอาหารและสร้างรายได้ให้กับชุมชน
“ฝายช่วยคืนความสมดุลให้ป่า และป่ายังเปรียบเสมือนซุปเปอร์มาเก็ตที่ชุมชนสามารถเข้าไปหาของป่าสำหรับนำมาใช้ทำอาหารให้ครอบครัวและแบ่งขายสร้างรายได้เพิ่มมากขึ้น ยิ่งไปกว่านั้น ไม่น่าเชื่อว่าเพราะการที่ชุมชนช่วยกันลงแรงร่วมใจกันสร้างฝายชะลอน้ำ จะทำให้ชุมชนของเรามีโอกาสพูดคุย เข้าใจกัน และรักสามัคคีกันมากขึ้น” ผู้ใหญ่ครุฑ นายเต้นยิ้ว วชิรพันธ์วิชาญ ประธานป่าชุมชนบ้านบ้านยางโทน กล่าว
“แก้มลิง” กักเก็บน้ำในพื้นที่กลางน้ำ พลิกฟื้นพื้นที่ทำการเกษตร
สำหรับพื้นที่กลางน้ำ เอสซีจีได้ร่วมกับชุมชนป่าภูถ้ำ ภูกระแต อ.แวงน้อย จ.ขอนแก่น ต้นแบบชุมชนบริหารจัดการน้ำตามแนวพระราชดำริ และมูลนิธิอุทกพัฒน์ ในพระบรมราชูปถัมภ์ ขยายการดำเนินงานการบริหารจัดการน้ำอย่างยั่งยืนสู่บ้านโนนเขวา อ.แวงน้อย จ.ขอนแก่น โดยจัดทำ “แก้มลิง” แหล่งสำรองน้ำจากการขุดลอกหนองน้ำเดิม เพื่อเชื่อมต่อจากแม่น้ำชีไปสู่หนองน้ำในพื้นที่ทำการเกษตรของชุมชน สำหรับเก็บกักน้ำ ช่วยบรรเทาปัญหาภัยแล้งและน้ำท่วมพื้นที่เกษตรได้กว่า 250 ไร่ อีกทั้งยังใช้เป็นแหล่งเลี้ยงปลาเพิ่มรายได้ให้ชุมชนอย่างน้อยปีละ 30,000 บาท และบรรเทาปัญหาขาดแคลนน้ำอุปโภคในครัวเรือน
“บ้านปลาเอสซีจี” ผลสำเร็จในพื้นที่ปลายน้ำ
ทอดยาวไปยังพื้นที่ปลายน้ำ เอสซีจีได้นำท่อ PE100 ที่เหลือจากการขึ้นรูปสำหรับทดสอบเม็ดพลาสติกภายในโรงงานมาใช้ประกอบเป็นบ้านปลา เพื่อฟื้นฟูและอนุรักษ์ระบบนิเวศชายฝั่งทะเลภาคตะวันออก เพิ่มที่อยู่อาศัยและเป็นแหล่งอนุบาลสัตว์ทะเลขนาดเล็ก คืนความสมบูรณ์สู่ท้องทะเลไทย โดยปัจจุบันได้วางบ้านปลาลงสู่ใต้ท้องทะเลไปแล้ว 1,600 หลัง ใน จ.ระยอง ชลบุรี และจันทบุรี คิดเป็นพื้นที่อนุรักษ์ทรัพยากรทางทะเลกว่า 40 ตร.กม. เกิดความหลากหลายทางชีวภาพทางทะเลของสัตว์น้ำเศรษฐกิจและปลาสวยงามกว่า 172 ชนิด
“หัวใจสำคัญของโครงการตลอดระยะเวลากว่า 6 ปีที่ผ่านมา คือ ความเข้มแข็งของชุมชนประมงพื้นบ้านที่ช่วยกันสร้างบ้านปลา และดูแลพื้นที่อนุรักษ์อย่างต่อเนื่อง รวมถึงพลังของจิตอาสาที่ร่วมกิจกรรมตั้งแต่เริ่มต้นจนถึงปัจจุบันกว่า 11,500 คน และขณะนี้ เอสซีจียังทดลองนำขยะพลาสติกจากทะเล และชุมชนมาเข้าสู่กระบวนการรีไซเคิลเพื่อนำมาผลิตเป็นท่อสำหรับสร้างบ้านปลาตามแนวคิดเศรษฐกิจหมุนเวียนอีกด้วย” นายชลณัฐ ญาณารณพ รองผู้จัดการใหญ่ และประธานคณะกรรมการการพัฒนาอย่างยั่งยืน เอสซีจี กล่าว
นอกจากนี้ ในพื้นที่ชายฝั่งทะเลภาคใต้ ชาวประมงพื้นบ้านบ้านมดตะนอย ต.เกาะลิบง อ.กันตัง จ.ตรัง ซึ่งประสบปัญหาจากการไม่สามารถออกหาปลาในทะเลช่วงมรสุมได้ เมื่อจะใช้คลองที่อยู่ใกล้ชุมชนเป็นที่ทำกินก็พบว่า ปลามีจำนวนน้อยเพราะขาดแหล่งที่อยู่อาศัยอันอุดมสมบูรณ์ เอสซีจีจึงเข้าไปร่วมกับชุมชนพัฒนาแหล่งที่อยู่อาศัยใต้ทะเลที่เหมาะสมกับพื้นที่ โดยนำนวัตกรรมปูนงานโครงสร้างทนทานพิเศษ เอสซีจี มาหล่อเป็นบ้านปลาในลักษณะวงกลมที่มีช่องขนาดหลากหลาย เพื่อให้ปลาสามารถว่ายผ่านไปมาได้และสามารถใช้หลบภัยได้เป็นอย่างดี รวมถึงการปลูกป่าโกงกาง และหญ้าทะเล สำหรับช่วยเหลือพะยูนและสัตว์ทะเลใกล้สูญพันธุ์ด้วย
เสริมความแข็งแกร่งให้ชุมชนด้วยนวัตกรรมเพื่อสังคม
ด้วยความเชี่ยวชาญของเอสซีจี เเละประสบการณ์ด้านการบริหารจัดการน้ำร่วมกับชุมชนมาอย่างต่อเนื่อง ทำให้เอสซีจีมองเห็นปัญหาที่เกิดขึ้นในพื้นที่ต่างๆ จึงได้นำ "นวัตกรรมผ้าใบคอนกรีต" ของธุรกิจซีเมนต์และผลิตภัณฑ์ก่อสร้าง ที่ผสมผสานเทคโนโลยีซีเมนต์เเละเทคโนโลยีสังเคราะห์ซึ่งมีความเเข็งเเรงและปรับรูปแบบได้ตามต้องการ มาใช้สร้างสระพวงสำหรับกักเก็บน้ำที่บ้านสาแพะ จ.ลำปาง เพื่อแก้ปัญหาดินทรายไม่อุ้มน้ำ
นอกจากนั้น ยังได้มีการใช้ “นวัตกรรมปูนงานโครงสร้างทนทานพิเศษ เอสซีจี” ที่ทนซัลเฟตและคลอไรด์ในน้ำทะเลได้นานกว่าปูนธรรมดา มาหล่อเป็นบ้านปลาสำหรับเป็นแหล่งพักพิงของสัตว์ทะเลในพื้นที่ภาคใต้ ซึ่งได้รับการรับรองความปลอดภัยและเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม รวมทั้งยังแข็งแรงทนทาน ไม่มีส่วนประกอบที่สามารถแตกหักเสียหายกลายเป็นขยะใต้น้ำได้
ขณะเดียวกันก็ได้นำ "นวัตกรรมบ้านปลาจากท่อ PE100" ที่เป็นวัสดุเหลือใช้จากกระบวนการผลิตเม็ดพลาสติกของธุรกิจเคมิคอลส์ ซึ่งได้รับการรับรองความปลอดภัยในการขนส่งน้ำ มาออกแบบสร้างเป็นแหล่งอนุบาลสัตว์ทะเลในพื้นที่ จ.ระยอง ซึ่งพบปัญหาจำนวนปลาใกล้ชายฝั่งลดน้อยลง
เครือข่ายพลังคนรุ่นใหม่ จิตอาสาเพื่อความยั่งยืน
ทุกๆ กิจกรรมที่จัดขึ้นตลอดทั้งปี 2561 ไม่เพียงแต่จะมีชุมชน หน่วยงานภาครัฐ และพนักงานเอสซีจี ร่วมเป็นจิตอาสาสร้างฝายชะลอน้ำและประกอบบ้านปลาเท่านั้น แต่ยังมีกลุ่ม Young รักษ์น้ำ ซึ่งเป็นกลุ่มคนรุ่นใหม่จากหลากหลายสถาบันการศึกษากว่า 80 คน ร่วมเดินทางขึ้นเหนือล่องใต้ร่วมกับเอสซีจีในทุกทริป เพื่อมาแลกเปลี่ยนเรียนรู้แนวคิดด้านการบริหารจัดการน้ำ และได้ลงมือทำกิจกรรมด้วยตัวเอง รวมทั้งได้ไปชมผลสำเร็จของบริหารจัดการน้ำ ด้วยเชื่อว่าพลังจากคนรุ่นใหม่จะช่วยสืบสาน รักษา และต่อยอดการบริหารจัดการน้ำอย่างยั่งยืนตามแนวพระราชดำริให้คงอยู่สืบไป
“ไม่น่าเชื่อว่า การเริ่มต้นทำฝายจากจุดเล็กๆ ด้วยหัวใจของพี่ๆ ในชุมชน และแรงของเพื่อนๆ นักศึกษาจิตอาสา กลับส่งผลให้ป่าทั้งป่ากลับมาอุดมสมบูรณ์ได้อีกครั้ง นึกภาพไม่ออกเลยว่าพื้นที่ที่เคยแห้งแล้งและมีปัญหาน้ำท่วมเป็นอย่างไร ถ้าครั้งหน้ามีกิจกรรมนี้อีก จะขอเป็นอีกหนึ่งแรงที่ลงมือช่วยเพื่อประเทศไทยของเรา” นางสาวช่อผกา พจนาสุคนธ์ นักศึกษาชั้นปีที่ 4 มหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง หนึ่งในเยาวชนจิตอาสาคนรุ่นใหม่ Young รักษ์น้ำ
ก้าวต่อไปของ “รักษ์น้ำ จากภูผาสู่มหานที”
เอสซีจีจะยังคงเดินหน้าสานต่อโครงการ “รักษ์น้ำ จากภูผาสู่มหานที” ในพื้นที่ต่างๆ ทั่วประเทศ ให้ครบตามเป้าหมายที่ตั้งไว้ภายในปี 2020 ซึ่งที่ผ่านมาได้ร่วมกับชุมชนและจิตอาสา สร้างฝายชะลอน้ำไปแล้วกว่า 83,200 ฝาย และจะขยายการสร้างฝายในพื้นที่ต้นน้ำให้ครอบคลุมทุกภูมิภาคทั่วประเทศให้ครบ 100,000 ฝาย ขุดสระพวงเชิงเขาส่งต่อน้ำเพื่อทำการเกษตรไปแล้ว 7 สระ โดยมีเป้าหมายจะขุดสระพวงให้ครบ 20 สระ และจัดทำระบบแก้มลิงในพื้นที่กลางน้ำไปแล้ว 8 พื้นที่ โดยตั้งเป้าหมายจะทำให้ครบ 20 พื้นที่ รวมถึงวางบ้านปลาในพื้นที่ปลายน้ำไปแล้ว 1,900 หลัง โดยตั้งเป้าหมายจะวางให้ครบ 2,600 หลัง รวมทั้งเอสซีจีมีความตั้งใจที่จะส่งเสริมชุมชนให้มีความสามารถในการพัฒนาและแปรรูปผลิตภัณฑ์จากผลผลิตในท้องถิ่นเพื่อสร้างอาชีพและส่งเสริมให้เกิดรายได้ตลอดทั้งปี โดยผู้สนใจสามารถติดตามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ www.scg.com/lovewater
ด้วยเชื่อว่าการมีส่วนร่วมของชุมชนเป็นหัวใจสำคัญของการพัฒนาเพื่อให้เกิดความยั่งยืน รวมถึงการสร้างเครือข่ายให้เกิดพลังที่เข้มแข็งเป็นกุญแจสำคัญในการสร้างต้นน้ำที่ดี สู่ปลายน้ำอันอุดมสมบูรณ์ ก่อเกิดเป็นความสมดุลที่หล่อเลี้ยงชีวิตของผู้คนในทุกพื้นที่ เอสซีจีจึงยังคงเดินหน้าสานต่อโครงการร่วมกับชุมชนในพื้นที่ต่างๆ ทั่วประเทศ พร้อมถ่ายทอดและต่อยอดแนวความคิดในการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติอันเป็นต้นทุนสำคัญของทุกชีวิตนี้ให้คงอยู่อย่างยั่งยืนต่อไป
เอไอเอ ประเทศไทย ตระหนักถึงความสำคัญของการศึกษาซึ่งถือเป็นพื้นฐานในการพัฒนาคุณภาพชีวิต อีกทั้งยังเป็นการส่งเสริมสังคมไทยให้แข็งแกร่ง โดยเมื่อวันที่ 14 ธันวาคม 2561 เอไอเอได้เดินทางลงใต้เพื่อส่งมอบ “ห้องสมุดเอไอเอ” หลังที่ 36 ให้แก่นักเรียน โรงเรียนอนุบาลบ้านด่าน อำเภอกะเปอร์ จังหวัดระนอง ซึ่งมีนักเรียนจำนวนรวมกว่า 778 คน ซึ่งยังขาดแคลนอุปกรณ์ด้านการศึกษา รวมถึงห้องสมุดที่จะเป็นแหล่งค้นคว้าหาความรู้ของเด็กนักเรียนและคนในชุมชน เพื่อเป็นการตอกย้ำถึงความมุ่งมั่นของเอไอเอ ที่ต้องการสนับสนุนให้เยาวชนได้รับองค์ความรู้ที่เป็นประโยชน์ พร้อมสร้างนิสัยรักการอ่านให้แก่เด็กไทย ซึ่งโครงการ “ห้องสมุดเอไอเอ” เป็นโครงการที่เอไอเอ ประเทศไทย ริเริ่มและดำเนินการมาอย่างต่อเนื่องตั้งแต่ปี 2548 โดยได้สร้างห้องสมุดและส่งมอบให้แก่โรงเรียนต่างๆ ตามชุมชนที่อยู่ห่างไกลมาแล้วทั่วทุกภูมิภาคในประเทศ
โดยในพิธีเปิดห้องสมุดเอไอเอ หลังที่ 36 ได้รับเกียรติจาก นายจตุพจน์ ปิยัมปุตระ ผู้ว่าราชการจังหวัดระนอง เป็นประธานในการเปิดงาน พร้อมด้วยตัวแทนจาก เอไอเอ ประเทศไทย นำโดย นายเอกรัตน์ ฐิติมั่น ประธานเจ้าหน้าที่ฝ่ายการตลาด นางสาวรพีพร วงศ์ทองคำ ผู้อำนวยการฝ่ายสื่อสารองค์กรและภาพลักษณ์ และนายกฤษณ์ อัตตะสาระ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร ฝ่ายตัวแทนภูมิภาค 5 ร่วมกันส่งมอบห้องสมุดเอไอเอ หลังที่ 36 ให้แก่ นายมนูญ จันทร์สุข ผู้อำนวยการสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาระนอง และนายวันชาติ สุทธิศักดิ์ ผู้อำนวยการโรงเรียนอนุบาลบ้านด่าน โดยมีคณะครูและนักเรียน ร่วมเป็นสักขีพยาน
สำหรับห้องสมุดเอไอเอหลังนี้ เป็นห้องสมุดขนาด 54 ตารางเมตร โดยได้มีการออกแบบให้มีความสวยงาม โปร่งตา และดูทันสมัย เพื่อดึงดูดให้เยาวชนอยากเข้ามาใช้บริการ เน้นประโยชน์ใช้สอย และรวบรวมหนังสือและนิตยสารที่มีคุณภาพ ครอบคลุมสาขาวิชาแขนงต่างๆ ที่สำคัญ เอไอเอ ยังได้มอบคอมพิวเตอร์เพื่อให้นักเรียนได้ใช้ค้นหาความรู้ใหม่ๆ จากทั่วทุกมุมโลก โดยเอไอเอ หวังว่าห้องสมุดหลังนี้จะเป็นแหล่งรวบรวมองค์ความรู้เพื่อให้นักเรียนและคนในชุมชนได้ค้นคว้าหาความรู้ที่นอกเหนือจากในห้องเรียน
นอกจากนี้ เอไอเอ ประเทศไทย ยังได้มอบทุนการศึกษาให้แก่นักเรียนที่เรียนดีและมีจริยธรรม ทั้งสิ้น 6 ทุน ทุนละ 2,000 บาท พร้อมกับมอบอุปกรณ์เสริมทักษะการศึกษา อุปกรณ์กีฬา และเลี้ยงอาหารกลางวันแก่เด็กนักเรียนโรงเรียนอนุบาลบ้านด่านอีกด้วย
ในปี 2561 เป็นปีที่ เอไอเอ ประเทศไทย ฉลองครบรอบ 80 ปี ในการดำเนินธุรกิจในประเทศไทย ซึ่งถือเป็นบริษัทประกันชีวิตที่อยู่เคียงข้างคนไทยมาอย่างยาวนาน โดยตลอดระยะเวลา 80 ปีที่ผ่านมา เอไอเอได้รับความไว้วางใจจากคนไทยทั่วประเทศให้ดูแล พร้อมทั้งได้ส่งมอบหลักประกันชีวิตเพื่อสร้างความมั่งคงให้แก่ชีวิตและสังคมไทยมาเป็นเวลายาวนาน โดย เอไอเอ ประเทศไทย ยึดมั่นที่จะสร้างสรรค์โครงการและกิจกรรมต่างๆ เพื่อตอบแทนสังคมอย่างต่อเนื่อง พร้อมกับมุ่งส่งเสริมและสนับสนุนให้คนไทยมีสุขภาพและคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น ตามคำมั่นสัญญาของเอไอเอ “Healthier, Longer, Better Lives”
บรรยากาศเช้าวันเวิร์คช้อป The Ozonor Hackathon จัดขึ้นที่ NAP LAB จุฬาลงกรณ์ ซอย 6 หนึ่งในกิจกรรมน่าสนใจภายใต้โครงการ “เรื่องโอโซน เรื่องของเรา” ซึ่งเป็นการร่วมมือกันของหลายภาคส่วน รวมถึงหน่วยงานอย่างธนาคารโลกเต็มไปด้วยความกระตือรือร้นและซุ้มเสียงของผู้เข้าร่วมงานรุ่นใหม่ ที่ต่างก็พกเอาไอเดียและความคิดสร้างสรรค์ใส่กระเป๋ามาจากบ้าน พร้อมสำหรับการระดมความคิดนำเสนอให้ได้ผลิตผลตลอดสองวันหนึ่งคืนเพื่อจะเอาไปต่อยอดพัฒนานโยบายในการจัดการสิ่งแวดล้อมให้ดีขึ้น
ดร. วิรัช วิฑูรย์เธียร ผู้แทนธนาคารโลก หนึ่งในพันธมิตรผู้ร่วมจัดกิจกรรมในครั้งนี้ ได้อธิบายถึงจุดยืนและบทบาทของธนาคารโลกต่อเป้าหมายการพัฒนาเศรษฐกิจในประเทศไทยไว้ว่า “เราถือเป็นธนาคารเพื่อการพัฒนา (Development Bank) ไม่ใช่ธนาคารพาณิชย์ เพราะฉะนั้นเราจะให้ความสำคัญกับเทคโนโลยีที่อาจจะยังไม่สามารถทำในเชิงพาณิชย์ได้ เนื่องจากยังมีความเสี่ยงค่อนข้างสูงในการผลิตออกสู่ตลาด โดยคำนึงถึงและให้ความสำคัญในการกระจายความช่วยเหลืออย่างเท่าเทียมกัน ใครที่สนใจมีสิทธิเข้าร่วมทุกคนหากผ่านเงื่อนไขต่างๆ เพราะฉะนั้น ทีมของเราจึงมีทั้งนักการเงิน นักเศรษฐศาสตร์ นักสังคมวิทยา นักสิ่งแวดล้อมและวิศวกรร่วมมือกันเพื่อการพัฒนา ซึ่งคนทั่วไปอาจจะยังไม่เข้าใจถึงความแตกต่างในจุดนี้ และสำหรับองค์กรเอกชนที่ต้องการเพิ่มปริมาณหรือพัฒนาธุรกิจที่สามารถทำการค้าได้แล้วในระดับหนึ่ง ทางธนาคารโลกก็มีหน่วยงานที่เรียกว่า บรรษัทเงินทุนระหว่างประเทศ (International Finance Corporation: IFC) ซึ่งจะมีบทบาทเข้าไปร่วมลงทุนในภาคเอกชนได้โดยตรง”
อดีตที่ผ่านมาจากการที่ประเทศไทยได้ลงนามในพิธีสารมอนทรีออล (Montreal Protocol) ทำให้เรามีนโยบายในการลดละ เลิก การใช้สารทำความเย็นกลุ่ม CFCs (Chlorofluorocarbon) ในการผลิตตู้เย็น เครื่องปรับอากาศ รถยนต์และกระป๋องสเปรย์ และพยายามผลักดันทุกภาคส่วนให้หันไปใช้สารอื่นทดแทน นั่นก็คือ HFC (Hydro chlorofluorocarbon) ซึ่งไม่ค่อยมีอันตราย ไม่ติดไฟ เมื่อผู้ผลิตเริ่มเปลี่ยนไปหมด ตลาดก็ไม่มีตัวเลือกมาก เหตุการณ์นี้คือการเปลี่ยนแปลงตลาดในฝ่ายผู้ผลิต จึงจะเห็นว่าในอดีตเราใช้กลยุทธ์นี้ในการเข้าถึงผู้บริโภคและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในการออกกฎหมาย เพียงเท่านี้ก็สามารถเปลี่ยนแปลงตลาดได้ทั้งหมด แต่ปัจจุบันเราก็พบว่า HFC เป็นก๊าซเรือนกระจกที่มีผลต่อชั้นบรรยากาศทำให้โลกร้อนค่อนข้างสูง ก็เริ่มมีการคิดค้นสารตัวต่อไปคือ HC (hydrocarbon) ที่จะเข้ามาทดแทน แต่ติดปัญหาตรงที่มีคุณสมบัติค่อนข้างอันตรายคือติดไฟได้หรือมีความเป็นพิษสูง อาจมีอัตรายต่อทั้งผู้ผลิตและผู้ใช้งาน เพราะฉะนั้นผู้ใช้จึงจำเป็นต้องคอยดูแลและระมัดระวัง ต้องรู้จักการบำรุงรักษาเพื่อให้ประสิทธิภาพของการใช้งานของเครื่องใช้ไฟฟ้าเหล่านี้คงที่ ยกตัวอย่าง สมัยนี้ที่เรามักได้ยินว่าเครื่องปรับอากาศระบบอินเวอร์เตอร์ช่วยประหยัดพลังงานได้ดี แต่พอซื้อมาเรากลับไม่ค่อยได้ดูแลรักษาเท่าไหร่ จนกระทั่งเครื่องปรับอากาศเสียเราก็จะเรียกช่างมาซ่อม ซึ่งถ้าลองไปเปิดดูจะพบว่ามีฝุ่นเกาะจำนวนมากทำให้การถ่ายเทความร้อนไม่ดี แทนที่จะประหยัดพลังงานกลับทำให้เกิดการใช้พลังงานมากขึ้นกว่าปกติ ดังนั้น ถ้ามีการส่งเสริมเรื่องเทคโนโลยีที่จะช่วยในการประหยัดพลังงาน ก็มีความจำเป็นที่ภาคประชาชนต้องเข้ามามีส่วนร่วม ทางธนาคารโลกจึงหันมาส่งเสริมเรื่องความปลอดภัยและการประหยัดพลังงานโดยการสร้างการตระหนักรู้ต่อพฤติกรรมผู้บริโภคมากขึ้น เพื่อให้ทุกคนสามารถใช้ผลิตภัณฑ์เหล่านี้ได้อย่างมีประสิทธิภาพและปลอดภัยสูงสุด
เป้าหมายและความคาดหวังต่อ โครงการ “เรื่องโอโซน เรื่องของเรา”
สำหรับโครงการนี้เป็นความร่วมมือหนึ่งที่ทางธนาคารโลกดำเนินการร่วมกับภาคส่วนต่างๆ ในประเทศไทย ในเรื่องของโอโซนนี้ ทางธนาคารโลกได้มีการทำงานร่วมกันกับทางรัฐบาลไทยโดยเฉพาะกับกระทรวงอุตสาหกรรม ในช่วงแรกเรื่องของโอโซนอาจเป็นเรื่องที่เรายังไม่ค่อยได้ยินกันมากนัก เพราะว่าผลกระทบที่เกิดขึ้นส่วนใหญ่จะอยู่ที่ภาคอุตสาหกรรมซึ่งเป็นผู้ผลิต ทางภาคประชาชนจะไม่ค่อยได้เกี่ยวข้อง แต่ช่วงที่ผ่านมาเรื่องโอโซนได้ส่งผลกระทบต่อภาวะโลกร้อนและมีเรื่องความปลอดภัยต่างๆ จากสารทดแทนเข้ามาเกี่ยวข้อง ภาคประชาชนจึงจำเป็นที่จะต้องเข้ามารับรู้และมีส่วนร่วมมากขึ้น จึงทำให้กระทรวงอุตสาหกรรมเล็งเห็นว่าน่าจะขยายงานและประยุกต์กิจกรรมต่างๆ ให้เข้ากับภาคประชาชนมากขึ้น โดยมีเป้าหมายคือ อยากให้เกิดความรู้ความเข้าใจในเรื่องการป้องกันชั้นบรรยากาศว่าคืออะไร เกี่ยวข้องกับการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศอย่างไร และจะมีโอกาสเข้ามามีส่วนร่วมได้อย่างไร นอกเหนือไปกว่านี้ยังคาดหวังถึงความคิดเห็น ข้อมูลต่างๆ และความคิดใหม่ๆ ของผู้ที่มาเข้าร่วม ในแง่ของประชาชนคนรุ่นใหม่ ซึ่งมีบริบทการใช้ชีวิตต่างจากอดีตว่า ควรใช้สื่อประเภทไหนที่จะสามารถเข้าถึงและดึงดูดความสนใจของประชาชนได้มากกว่า เพื่อเป็นข้อมูลที่จะนำมาทำแผนในการลด หรือ เลิก ใช้สารที่กำลังถูกควบคุมในอนาคตเพื่อนำมาเป็นแนวทางในการดำเนินงานในอนาคต
ทิศทางและแนวโน้มต่อมุมมองเรื่องปัญหาสิ่งแวดล้อมในประเทศไทย ทั้งในเรื่องดิน น้ำ และอากาศ ซึ่งหมายรวมถึงเรื่องโอโซนด้วย
ดร.วิรัช เปิดเผยเรื่องนี้กับทาง MBA ว่า “เรื่องของการรณรงค์เพื่อเป้าหมายในการลดภาวะโลกร้อนเป็นเรื่องที่เราทุกคนต่างมีส่วนร่วมและการกระทำของเราก็ส่งผลต่อคนอื่นๆ จึงอาจเกิดปัญหาการว่าใครควรเริ่มก่อน แม้แต่เรื่องของการป้องกันชั้นบรรยากาศหรือโอโซนที่เริ่มกันมาตั้งแต่ปี พ.ศ.2530 ก็ไม่มีใครคิดว่าจะประสบความสำเร็จ แต่การที่ประสบความสำเร็จได้ก็เพราะเราสามารถทำปัญหานี้ให้กลายเป็นเรื่องที่ชัดเจนสามารถแก้ไขได้ อย่างเรื่องน้ำยาที่มีผลต่อชั้นบรรยากาศก็มีการหาทางปิดโรงงานที่ผลิตสารเหล่านี้ แล้วเอาสารทดแทนตัวอื่นไปให้ผู้ใช้หรือโรงงานที่นำสารนี้ไปใช้ต่อ ปัญหาเลยถูกแก้ไขได้ง่าย เราสามารถใส่ทรัพยากรต่างๆ ลงไปทดแทนเพื่อแก้ปัญหาได้สำเร็จ แต่ในแง่ของสภาพภูมิอากาศมีปัจจัยมากมาย เพราะฉะนั้น ในตอนนี้เราทุกฝ่ายต้องมีการจับมือร่วมกัน สิ่งไหนที่ทำได้เร็วทำได้ก่อนก็ต้องเริ่มทันที อย่างเรื่องสาร HFCs ที่ประเทศไทยนำเข้ามา หากเราไม่ลงมือทำอะไรเลย ภายในปี พ.ศ.2565 หรือ พ.ศ.2566 อาจจะมีปริมาณสูงถึง 120 ล้านตัน ถ้าเราสามารถลดการนำเข้าลงเพียง 20 เปอร์เซ็นต์ ทำให้เกิดการรั่วไหลน้อยลง เราก็สามารถลดปริมาณสารไปได้มากกว่า 30 ล้านตัน ที่รัฐบาลได้ตั้งเป้าหมายว่าจากปี 2563 ถึง 2566 เราจะลดอัตราการปล่อยก๊าซที่ทำลายชั้นบรรยากาศ 20 – 25 เปอร์เซ็นต์ หรือประมาณ 110 – 130 ล้านตัน ถ้าประชาชนเราสามารถบำรุงรักษาใช้เครื่องไฟฟ้าเหล่านี้ได้มีประสิทธิภาพและเกิดการรั่วไหลน้อยที่สุด แค่เรื่องของการใช้เครื่องปรับอากาศถ้านับจากการใช้ทั่วประเทศเราอาจลดการนำเข้าสารนี้ไปได้ 10 – 20 เปอร์เซ็นต์ ส่วนอีก 5 เปอร์เซ็นต์ก็คือเป้าหมายที่จะไปจัดการในส่วนของการลดอัตราการปลดปล่อยสารเหล่านี้ออกสู่บรรยากาศ เพราะฉะนั้นเรื่องไหนที่เราทำได้ก่อนเราก็ทำเลย เรื่องไหนที่ยังทำไม่ได้เราก็พยายามพัฒนาต่อ ถ้าเราไม่ทำตอนนี้ภายในปี พ.ศ.2573 อุณหภูมิโลกอาจเพิ่มขึ้น 1.5 องศาเซลเซียสแน่นอน”
สำหรับการทำการเกษตรและปศุสัตว์ที่มีการปล่อยก๊าซเรือนกระจก (ก๊าซมีเทนและไนตรัสออกไซด์) ส่งผลต่อชั้นบรรยากาศ ก็ต้องมีการเข้าไปสำรวจและพูดคุยกันจากหลายๆ ฝ่าย ในการนำเทคโนโลยีมาใช้ รวมถึงส่งเสริมให้มีการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมผู้บริโภคให้ลดปริมาณการบริโภคเนื้อสัตว์ เพราะกระบวนการผลิตนั้นใช้คาร์บอนไดร์ออกไซด์ในอัตราที่สูง ทั้งนี้ ก็เป็นเรื่องที่ต้องใช้เวลาในการส่งเสริมให้มีการประยุกต์และปรับเปลี่ยน และอีกด้านก็คือการเพิ่มประสิทธิภาพให้กับระบบขนส่ง อย่างอาหารทะเล บ้านเราถือเป็นประเทศที่ส่งออกอาหารทะเลอันดับต้นๆ ของโลก ประเด็นคือเราจะทำอย่างไรให้อุตสาหกรรมนี้มีประสิทธิภาพมากขึ้น ไม่ใช่ว่าจับได้มากขึ้นแต่เป็นการเพิ่มอัตราการส่งอาหารหรือทรัพยากรเหล่านี้ไปให้ถึงมือผู้บริโภคให้มากขึ้น จากเดิมเราจับมาได้ 100 เปอร์เซ็นต์แต่ไปถึงผู้บริโภคเพียง 60 - 70 เปอร์เซ็นต์ ซึ่งถ้าเราสามารถเพิ่มเป็น 100 เปอร์เซ็นต์ได้ก็อาจช่วยลดอัตราการจับสัตว์น้ำให้น้อยลงได้ ธนาคารโลกเองมีบทบาทในการส่งเสริมเทคโนโลยีระบบทำความเย็นทำให้สามารถควบคุมอุณหภูมิได้ดี โดยมีการกำหนดกลยุทธ์และแผนการในการขนส่งที่มีการเลือกใช้เทคโนโลยีที่เหมาะสมและประหยัดพลังงาน อาจไม่ต้องเป็นเทคโนโลยีใหม่ก็ได้ แต่ต้องมีการมองอย่างเป็นระบบ วิธีการนี้จะทำให้เกิดการแข่งขันที่มากขึ้น ราคาสินค้าก็ถูกลง เพราะเราไม่ต้องจ่ายให้กับส่วนต่างของมูลค่าสินค้าที่สูญเสียไประหว่างทาง ซึ่งสินค้าเหล่านี้เองที่ทำให้เกิดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกในอัตราที่สูงที่สุด
และสำหรับประเด็นทางสิ่งแวดล้อมอื่นๆ ทางธนาคารโลกก็มีกระบวนการทำงานที่ต่างจากอดีต คือการมองปัญหาที่เกิดขึ้นในประเทศไทย (Strategic Country Diagnostic : SCD) แล้วจึงมากำหนดว่าอะไรที่ควรให้ความสำคัญก่อน โดยทางรัฐบาลจะมีการกำหนดขึ้นมาว่าต้องการให้ทางธนาคารโลกให้ความช่วยเหลือในด้านใดบ้าง มีการสร้างขอบเขตความร่วมมือระหว่างธนาคารโลกกับประเทศไทยขึ้นมาภายในระยะเวลาประมาณ 5 ปี อย่างเร็วๆ นี้ก็จะเป็นประเด็นการลดขยะพลาสติก ซึ่งถือเป็นปัญหาระดับโลกที่เกิดขึ้นในหลายประเทศทั้งในอินโดนีเซีย เวียดนาม ฟิลิปปินส์ จีนและไทย ต่างก็ต้องเผชิญกับวิกฤตในครั้งนี้
การดำเนินงานตามนโยบายส่งเสริมการใช้เทคโนโลยีและการสร้างนวัตกรรมสามารถทำควบคู่การแก้ไขหรือป้องกันปัญหาด้านสิ่งแวดล้อมได้อย่างไร
ในเรื่องการเสริมสร้างเศรษฐกิจให้เติบโตควบคู่กับความพยายามป้องกันและแก้ไขปัญหาสิ่งแวดล้อมนั้น ท่าน ดร.วิรัช ได้อธิบายแง่มุมใหม่ๆ ที่น่าสนใจให้เราฟังว่า “ในอดีตเราอาจมองว่า การพัฒนาอุตสาหกรรมกับการพัฒนาเศรษฐกิจมีผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม แต่เดี๋ยวนี้โลกเปลี่ยนไป เทคโนโลยีก็เปลี่ยนไป ดังนั้น การพัฒนาอุตสาหกรรมให้เติบโตอาจไม่ทำให้เกิดความเสื่อมโทรมทางสิ่งแวดล้อมเสมอไป อยู่ที่ว่าเราจะเลือกใช้เทคโนโลยีใดมาช่วยรักษาสมดุลเพื่อจะส่งผลดีต่อสิ่งแวดล้อมมากที่สุด อย่างในตอนนี้ที่เราเปลี่ยนการใช้น้ำยาในเครื่องปรับอากาศจาก CFCs มาเป็น HFC ที่แยกออกมาอีกหลายประเภททั้ง R22 และ R410A ซึ่งก็ยังมีผลที่ทำให้โลกร้อนขึ้นได้ประมาณ 1,810 – 2,090 เท่าของคาร์บอนไดร์ออกไซด์ ล่าสุดภาคอุตสาหกรรมจึงหันมาเลือกใช้สารที่มีประสิทธิภาพกลางๆ คือ HFC R32 มีค่าที่ทำให้โลกร้อนเพียง 675 เท่าของคาร์บอนไดร์ออกไซด์ ไซต์ แม้จะยังเป็นค่าที่สูงแต่ก็มีการออกแบบให้มีการรั่วไหลของสารในปริมาณที่น้อยที่สุดด้วยการลงทุนทำระบบข้อต่อต่างๆ ให้ดีขึ้น ผลปรากฏว่าระบบนี้กลับมีปริมาณการรั่วน้อยและเพิ่มประสิทธิภาพในการประหยัดพลังงาน ทำให้สามารถผลิตเครื่องปรับอากาศให้มีขนาดเล็กลงได้ด้วย เพราะการทำความเย็นที่ดีกว่า ขนาดของเครื่องปรับอากาศจึงสามารถลดลงส่งผลต่อการลดต้นทุนในการผลิตและท้ายที่สุดทำให้เกิดขยะน้อยลง ฉะนั้น การปฏิบัติตามแนวทางนี้นอกจากจะทำให้เศรษฐกิจดีขึ้น ความสามารถในการแข่งขันมากขึ้น ยังส่งผลดีต่อสิ่งแวดล้อมด้วย เดี๋ยวนี้เทคโนโลยีที่เรามีค่อนข้างพร้อมอยู่ที่ว่าเราจะหยิบเอามาใช้ให้ได้ประโยชน์ต่อหลายๆ ฝ่าย”
ทั้งนี้ เทคโนโลยีในปัจจุบันอาจจะยังไม่เดินไปถึงขั้นที่เราสามารถลดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมได้ทั้งหมด นอกจากนี้เทคโนโลยีที่จะถูกนำมาใช้นั้นยังต้องขึ้นอยู่กับความพร้อมของแต่ละประเทศ ถ้าประเทศไทยมีช่างที่มีคุณภาพและประชาชนรู้ว่าการซ่อมบำรุงที่ถูกต้องคืออะไร เราสามารถควบคุมความเสี่ยงได้ เราก็สามารถเดินไปหน้าต่อไปในแนวทางนั้นได้ ปัจจุบันมีความพยายามที่จะพัฒนาและส่งเสริมขีดความสามารถของช่างซ่อมบำรุงให้มากขึ้น ดึงเอาส่วนผู้บริโภคเข้ามามีส่วนร่วมในเรื่องการดูแลรักษาของใช้ เมื่อเราพร้อมและมีความรู้ความเข้าใจในการรับมือเป็นอย่างดีเมื่อไหร่ เราจึงสามารถเดินหน้าใช้สารที่มีประสิทธิภาพมากกว่านี้ (แต่อาจมีอันตรายมากกว่าด้วย) เราไม่ควรให้ความสมบูรณ์กลายมาเป็นสิ่งที่ทำลายเราในภายหลังจะดีกว่า กรณีที่การส่งเสริมภาคอุตสาหกรรมที่ประสบความสำเร็จในอดีตที่ผ่านมาคือ การทำความร่วมมือระหว่างทางธนาคารโลกกับรัฐบาลญี่ปุ่น ในการเจรจาขอนำเทคโนโลยี R32ซึ่งขณะนั้นมีบริษัทญี่ปุ่นเจ้าเดียวที่ถือครองสิทธิบัตรอยู่เข้ามาให้กับผู้ผลิตในประเทศไทย โดยสุดท้ายแล้วเราก็สามารถผลิต จัดจำหน่ายได้โดยไม่ต้องเสียค่าสิทธิบัตร และถือเป็นการเปิดโอกาสการเข้าถึงเทคโนโลยีนี้ให้โรงงานผลิตเครื่องปรับอากาศจำนวนมาก ทำให้เกิดการแข่งขันได้ในวงกว้าง ทั้งนี้ เพราะเราสามารถสร้างเงื่อนไขที่ทั้งประเทศไทยและเจ้าของสิทธิบัตรสามารถมีประโยชน์ร่วมกันได้ นอกจากนี้ ในส่วนของเทคโนโลยีภาคการผลิตในอนาคต ธนาคารโลกเองก็กำลังร่วมมือกับทางสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทยและกรมโรงงานอุตสาหกรรมในการทำ Business Matching โดยส่งเสริมให้บริษัทที่มีความรู้เรื่องเทคโนโลยีอินเวอร์เตอร์แต่ยังไม่สามารถเปิดตลาดและบริษัทที่มีความต้องการเทคโนโลยีตัวนี้มาทำการค้าร่วมกันทั้งในตลาดประเทศไทยเอง รวมถึงในประเทศเพื่อนบ้านอย่างเวียดนามหรือฟิลิปปินส์เพื่อขยายตลาด เมื่อผู้ผลิตหันมาสั่งซื้อสินค้าที่เดียวกัน ปริมาณการซื้อขายก็มากขึ้น ราคาก็จะลดลง คนที่ให้เทคโนโลยีก็สามารถทำยอดขายได้เพิ่ม เป็นการสร้างพันธมิตรทางธุรกิจของภาคอุตสาหกรรม
ดร.วิรัช แสดงความเห็นทิ้งท้ายต่อปัญหาที่เป็นกังวลมากที่สุดในระดับสากลตอนนี้คือ เรื่องการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ โดยได้มีการประชุมและทำข้อตกลงร่วมกันเรื่องการเปลี่ยนแปลงของสภาพอากาศโลกครั้งที่ 21 หรือ COP21 ที่กรุงปารีส คือ จะพยายามควบคุมไม่ให้อุณหภูมิเฉลี่ยโลกเพิ่มขึ้นเกิน 2 องศาเซลเซียส หากเราไม่สามารถลดปริมาณก๊าซเรือนกระจกได้อาจทำให้อุณหภูมิโลกสูงขึ้นถึง 1.5 องศาเซลเซียสในอีกไม่กี่ปีข้างหน้า และเมื่ออุณหภูมิสูงขึ้นไปจนถึงจุดหนึ่งจะทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงของระบบนิเวศทั้งหมดทำให้เปลี่ยนกลับมาไม่ได้อีก เราในส่วนของประชาชนผู้มีส่วนร่วมควรตระหนักและคำนึงถึงผลกระทบที่จะเกิดขึ้น แน่นอนว่าเรื่องความอยู่รอดและปากท้องเป็นสิ่งสำคัญ แต่หากเรามุทะลุตั้งหน้าตั้งตากอบโกยเอาแต่ผลประโยชน์เข้าตัวเพียงอย่างเดียว สักวันหนึ่งการกระทำเหล่านี้อาจย้อนกลับมาเป็นปัญหาลูกโซ่ทำร้ายลูกหลานของเราในอนาคตได้
เรื่อง : ณัฐพัชฐ์ สุมา
ผู้บริหาร และ พนักงานจิตอาสา บริษัท เจริญโภคภัณฑ์อาหาร จำกัด (มหาชน) หรือ ซีพีเอฟ ผนึกพลังกับบริษัทในเครือเจริญโภคภัณฑ์ ร่วมทำกิจกรรมจิตอาสา "เราทำความ ดี ด้วยหัวใจ" บริเวณถนนสีลม และในชุมชนโดยรอบสถานประกอบการพร้อมกันทั่วประเทศ เพื่อสนองพระราชปณิธาน สมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ในการสืบสาน ต่อยอด รักษา เพื่อประโยชน์และความสุขของประชาชน
นายสุขสันต์ เจียมใจสว่างฤกษ์ ประธานคณะผู้บริหาร ธุรกิจเกษตรอุตสาหกรรม และกรรมการผู้จัดการใหญ่ (ร่วม) นำคณะผู้บริหารและพนักงานซีพีเอฟ และเครือเจริญโภคภัณฑ์ ร่วม 300 คน พร้อมใจแต่งกายด้วยเสื้อโทนสีเหลือง เข้าร่วมกิจกรรมจิตอาสา ทำความสะอาด ปลูกต้นไม้ ทาสีทางเท้า และปรับปรุงภูมิทัศน์บริเวณทางเท้า บริเวณหน้าอาคาร ซี.พี.ทาวเวอร์ ถนนสีลม จนถึง ถนนนราธิวาสราชนครินทร์
ขณะที่ นายสุขวัฒน์ ด่านเสริมสุข ประธานคณะผู้บริหาร ธุรกิจอาหาร และกรรมการผู้จัดการใหญ่ (ร่วม) นำผู้บริหารและพนักงานจิตอาสา ร่วมชุมชน ช่วยกันทำความสะอาดพื้นที่วัดอู่ตะเภา โรงเรียน และชุมชนใกล้โรงงานอาหารสำเร็จรูปหนองจอก
นอกจากนี้ ซีพีเอฟจิตอาสา โรงงานและฟาร์มยังได้จัดกิจกรรมบำเพ็ญประโยชน์ร่วมกับชุมชนทั่วประเทศโดยพร้อมเพรียงกัน อาทิ เก็บขยะบริเวณชายหาด ทำความสะอาดริมถนนทางหลวง เป็นต้น ทั้งนี้ เพื่อเป็นการสร้างจิตสำนึกให้บุคลากรของบริษัทฯ ได้ตระหนักถึงการตอบแทนคุณสังคม ช่วยกันพัฒนาความเจริญให้กับชุมชนที่อยู่
เอสซีจี ได้รับ 2 รางวัล Bronze Awards จากเวที “MAT Award 2018” ครั้งที่ 10 โดยสมาคมการตลาดแห่งประเทศไทย ในประเภทธุรกิจอสังหาริมทรัพย์และวัสดุก่อสร้าง (Real Estate) จากผลงาน “เปิดตลาดหลังคาบ้านเก่า SCG Roof Renovation เรือลำแรกในมหาสมุทร Blue Ocean มูลค่า 10,000 ล้านบาท” และประเภทธุรกิจเพื่อสังคม (Sustainable Marketing) จากผลงาน “บ้านปลาเอสซีจี คืนวิถีชีวิตประมงไทย สร้างสมดุลสู่ท้องทะเลอย่างยั่งยืน” เผย “การเข้าใจความต้องการของผู้มีส่วนได้เสียอย่างแท้จริง” เป็นหัวใจความสำเร็จที่ช่วยผลักดันให้เอสซีจีสามารถคิดค้นและต่อยอดนวัตกรรมเพื่อสังคม และการอยู่อาศัยเพื่อคุณภาพชีวิตที่ดีสำหรับคนไทย และพร้อมนำแนวคิดเศรษฐกิจหมุนเวียน (Circular Economy) มาใช้ยกระดับกระบวนการดำเนินงานตลอดห่วงโซ่คุณค่า
นายฎายิน เกียรติกวานกุล Marketing Director – Roof Business บริษัท กระเบื้องหลังคาซีแพค จำกัด ในเอสซีจี กล่าวว่า “จากผลสำรวจที่อยู่อาศัยทั่วประเทศพบว่า มีบ้านเก่าที่อายุ 10 ปีขึ้นไปจำนวนกว่า 18 ล้านหลังคาเรือน และกว่า 1.5 ล้านหลังคาเรือนประสบปัญหาหลังคารั่วซึม หรือหลังคาเก่าโทรม ซึ่งเจ้าของบ้านต้องการเปลี่ยนหลังคาเก่าให้กลับมาสวยเหมือนใหม่ ในขณะที่สถานการณ์ปัจจุบัน มีเพียงผู้รับเหมารายย่อยที่รับซ่อมแซม และแก้ไขปัญหาหลังคา แต่ไม่สามารถรับประกันคุณภาพงานได้ เอสซีจีเข้าใจถึงปัญหาดังกล่าว จึงพัฒนาบริการ “SCG Roof Renovation” อย่างครบวงจร เพื่อเป็นทางเลือกในการปรับปรุง และซ่อมแซมหลังคาสำหรับเจ้าของบ้านให้ได้รับบริการที่มีมาตรฐาน เชื่อถือได้
โดยเจ้าของบ้านสามารถ “มั่นใจ” ในบริการจากทีมช่างคุณภาพและมากด้วยประสบการณ์ที่ผ่านการฝึกอบรมหลักสูตรเฉพาะทางด้านรีโนเวทหลังคา พร้อมการรับประกัน 1 ปี สำหรับงานเปลี่ยนหลังคาทั้งผืน “วางใจได้” ด้วยเทคโนโลยีหลังคา และระบบหลังคาคุณภาพมาตรฐานเอสซีจี “ไร้กังวล” ด้วยทีมสำรวจหน้างานที่วางแผนแก้ปัญหาอย่างตรงจุด และ “สบายใจ” ด้วยการติดตั้งอย่างเป็นระบบ โดยเจ้าของบ้านสามารถอยู่อาศัยในบ้านได้ตามปกติระหว่างติดตั้ง ด้วยความเข้าใจปัญหา ตลอดจนความมุ่งมั่นในการพัฒนาสินค้า และบริการเพื่อตอบสนองความต้องการของลูกค้า จึงทำให้เอสซีจีได้รับรางวัลจากสมาคมการตลาดฯ ในครั้งนี้”
ทั้งนี้ สามารถขอรับคำปรึกษาเรื่องหลังคาได้ฟรีที่ เอสซีจี คอนแทค เซ็นเตอร์ โทร.02-586-2222 เอสซีจี เอ็กซ์พีเรียนซ์ และเอสซีจี โฮมโซลูชั่น ทุกสาขาในกรุงเทพฯ และปริมณฑล หรือหาข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ https://roofexpert.scgbuildingmaterials.com/service/renovate”
ด้านนางสาวน้ำทิพย์ สำเภาประเสริฐ Brand Management & CSR Director ธุรกิจเคมิคอลส์ เอสซีจี กล่าวว่า “เอสซีจีดำเนินงานด้านการพัฒนาอย่างยั่งยืน เพื่อสร้างสมดุลในทุกมิติทั้งด้านเศรษฐกิจ สังคม และสิ่งแวดล้อม ซึ่งธุรกิจเคมิคอลส์ได้นำแนวทางการพัฒนาอย่างยั่งยืนมาปรับใช้ในพื้นที่ระยอง โดยวิเคราะห์ปัญหาที่เกิดขึ้นภายในชุมชน และนำความเชี่ยวชาญภายในองค์กรมาช่วยแก้ไข รวมทั้งหาโซลูชั่นที่เหมาะสม สำหรับรางวัลที่ได้รับจากสมาคมการตลาดฯ ในครั้งนี้ มาจาก “โครงการรักษ์น้ำจากภูผา สู่มหานที ...จิตอาสาสร้างบ้านปลาเอสซีจี”
ซึ่งช่วยแก้ปัญหาความเสื่อมโทรมของทรัพยากรธรรมชาติทางทะเลและชายฝั่ง โดยเอสซีจีได้น้อมนำพระราชปณิธาน “จากภูผา สู่มหานที” ซึ่งเป็นแนวทางการดูแลและจัดการน้ำให้เหมาะสมกับแต่ละพื้นที่ ผ่านกระบวนการสร้างการมีส่วนร่วมกับคนในชุมชนมาเป็นแนวทางการดำเนินงาน
โครงการฯ ดังกล่าว เป็นความร่วมมือระหว่างเอสซีจีกับภาครัฐ และภาคประชาสังคมในการบริหารจัดการน้ำในจังหวัดระยอง ตั้งแต่ต้นน้ำผ่านกิจกรรมสร้างฝายชะลอน้ำในพื้นที่เขายายดา จนถึงการอนุรักษ์ทรัพยากรชายฝั่งและระบบนิเวศทางทะเลที่ปลายน้ำผ่านโครงการบ้านปลาเอสซีจี ซึ่งนำท่อ PE 100 ที่เหลือจากกระบวนการผลิตมาสร้างเป็นบ้านปลา นับเป็นการใช้ทรัพยากรให้เกิดประโยชน์สูงสุดตามแนวคิดเศรษฐกิจหมุนเวียน (Circular Economy) ตลอดระยะเวลา 6 ปีที่ผ่านมา เอสซีจีได้วางบ้านปลาไปแล้วจำนวน 1,600 หลัง ใน 37 กลุ่มประมงพื้นบ้านทั่วภาคตะวันออก ก่อให้เกิดความหลากหลายทางชีวภาพทางทะเลกว่า 172 ชนิด ซึ่งเป็นเสมือนคลังทรัพยากรในทะเลที่ชาวประมงพื้นบ้านสามารถทำมาหากินได้อย่างยั่งยืน โดยมีจิตอาสาสร้างบ้านปลาแล้วกว่า 11,500 คน”
รางวัล Bronze Award จาก “เปิดตลาดหลังคาบ้านเก่า SCG Roof Renovation เรือลำแรกในมหาสมุทร Blue Ocean มูลค่า 10,000 ล้านบาท” และ “บ้านปลาเอสซีจี คืนวิถีชีวิตประมงไทยสร้างสมดุลสู่ท้องทะเลอย่างยั่งยืน” นับเป็นความภาคภูมิใจของเอสซีจี และพนักงานทุกคนที่ได้มุ่งมั่นและทุ่มเทดำเนินงานอย่างสุดความสามารถ ตลอดจนเป็นการยืนยันความสำเร็จที่เอสซีจียึดถือความต้องการของผู้มีส่วนได้เสียเป็นหัวใจในการคิดค้น และพัฒนานวัตกรรมเพื่อสังคม และการอยู่อาศัย
เอสซีจีจะยังคงเดินหน้าสร้างสรรค์นวัตกรรมที่ตอบสนองต่อความต้องการของลูกค้าให้ดีขึ้นอย่างต่อเนื่อง ด้วยการวิจัยและพัฒนา การนำเทคโนโลยีดิจิทัล ตลอดจนการนำแนวคิดเศรษฐกิจหมุนเวียน (Circular Economy) มาใช้ยกระดับกระบวนการดำเนินงานตลอดห่วงโซ่คุณค่า เพื่อเป็นรากฐานสำคัญในการสร้างความเข้มแข็งให้ธุรกิจเติบโตควบคู่กับการสร้างความยั่งยืนให้แก่ผู้มีส่วนเกี่ยวข้องทุกฝ่ายต่อไป
ทั้งนี้ แคมเปญการตลาด MAT Award 2018 ครั้งที่ 10 นี้ จัดขึ้นเพื่อส่งเสริมและเชิดชูนักการตลาดไทยที่มีศักยภาพ เพื่อสร้างแรงบันดาลใจ และสนับสนุนให้นักการตลาดไทยก้าวสู่ระดับสากล โดยในปีนี้ มีผู้ส่งผลงานเข้าร่วมทั้งสิ้น 40 ผลงาน ใน 11 กลุ่มรางวัล
บริษัท เชสเตอร์ฟู้ด จำกัด โดยผู้บริหารและพนักงานเชสเตอร์จิตอาสา 120 คน จัดกิจกรรมมอบความสุขและสร้างกำลังใจให้แก่ผู้สูงอายุ มูลนิธิธารนุเคราะห์ สถานพักฟื้นคนชราบางเขน ในโครงการ "เชสเตอร์ ปันรัก ปันน้ำใจ" ปีที่ 6 โดยกิจกรรมประกอบด้วย การจัดเลี้ยงอาหารกลางวัน กิจกรรมสันทนาการร่วมกับผู้สูงอายุ และการปรับทัศนียภาพในสถานพักฟื้นฯ พร้อมมอบสิ่งของอุปโภคบริโภค และเงินบริจาค มูลค่ารวม 80,000 บาท ที่ได้จากการร่วมสมทบทุนของ ผู้บริหาร พนักงาน และลูกค้าเชสเตอร์ ให้แก่มูลนิธิฯได้ใช้ประโยชน์ต่อไป
นายธิติธัช ไกรเกรียงศรี ผู้ช่วยผู้จัดการมูลนิธิธารนุเคราะห์ สถานพักฟื้นคนชราบางเขน กล่าวว่า มูลนิธิฯ ก่อตั้งขึ้นโดย นาย ยก ตั้งตรงศักดิ์ นักธุรกิจและนักสังคมสงเคราะห์ เพื่อให้ความช่วยเหลือและอุปการะคนชรายากไร้และด้อยโอกาสที่ไม่มีผู้เลี้ยงดู ตั้งแต่ปี 2516 ซึ่งปัจจุบันมูลนิธิฯ ได้ให้การอุปการะคนชราชายอยู่ 65 คน จึงยินดีเป็นอย่างยิ่งที่ได้รับน้ำใจจากจิตอาสาเชสเตอร์ ร่วมกันเลี้ยงอาหารกลางวัน จัดกิจกรรมสันทนาการ และมอบเงินพร้อมสิ่งของเครื่องใช้ที่จำเป็น แก่มูลนิธิฯ ให้สามารถดูแลผู้สูงวัยที่อยู่ในมูลนิธิฯ ได้อย่างมีประสิทธิภาพ
“ประชากรผู้สูงวัยต้องการความเอาใจใส่ด้วยความรักจากลูกหลาน ดังนั้น การที่จิตอาสาเชสเตอร์เข้ามาจัดกิจกรรมในวันนี้ ช่วยสร้างรอยยิ้ม ความสุข ความอบอุ่น กับคนชราในสถานพักฟื้นฯ แห่งนี้ ให้ได้มีสุขภาพกาย สุขภาพใจที่ดี และมีกำลังใจพร้อมดำเนินชีวิตในช่วงบั้นปลายได้ต่อไป” นายวิสุทธิ์กล่าว
นางรุ่งทิพย์ พรหมชาติ ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการด้านปฏิบัติการ บริษัท เชสเตอร์ฟู้ด จำกัด ธุรกิจร้านอาหารเชสเตอร์ ของบริษัท เจริญโภคภัณฑ์อาหาร จำกัด (มหาชน) หรือ ซีพีเอฟ กล่าวว่า เชสเตอร์ จัดกิจกรรม “เชสเตอร์ ปันรัก ปันน้ำใจ” เป็นประจำทุกปี ต่อเนื่องกันเป็นปีที่ 6 เป็นความตั้งใจของเชสเตอร์ฟู้ดที่จะสร้างการมีส่วนร่วม ระหว่างผู้บริหาร พนักงาน และกลุ่มลูกค้าให้ได้ทำกิจกรรมแบ่งปันน้ำใจแก่ผู้ด้อยโอกาสในสังคม ปีละ 2 ครั้ง โดยในปีนี้กิจกรรมครั้งแรกจัดขึ้นที่สถานแรกรับเด็กชายปากเกร็ด (บ้านภูมิเวท) นนทบุรี และวันนี้เป็นกิจกรรมครั้งที่ 2 ที่เชสเตอร์นำเงินรับบริจาคจากผู้บริหารและเพื่อนพนักงานชาวเชสเตอร์ฟู้ด รวมถึงกลุ่มลูกค้าที่ร่วมสมทบทุนผ่านกล่องรับบริจาคที่ร้านเชสเตอร์ 200 สาขาทั่วประเทศ มามอบให้สถานพักฟื้นคนชราบางเขน สำหรับการดูแลคนชราและทำกิจกรรมต่างๆ ต่อไป
“เชสเตอร์ส่งเสริมให้ผู้บริหารและพนักงานเชสเตอร์มีจิตสาธารณะ มีน้ำใจ เอื้อเฟื้อเผื่อแผ่และเพิ่มความสุขให้กับคนในชุมชน ตอกย้ำการเป็นองค์กรที่มุ่งมั่นดำเนินธุรกิจด้วยความรับผิดชอบต่อสังคม โดยในปีหน้า เชสเตอร์ยังคงจัดกิจกรรม “เชสเตอร์ ปันรัก ปันน้ำใจ” อย่างต่อเนื่อง ซึ่งอาจจะปรับเปลี่ยนไปทำกิจกรรมเพื่อสังคมในรูปแบบอื่นๆ เพื่อขยายโอกาสให้ชาวเชสเตอร์จิตอาสาสร้างความสุขให้กับชุมชนได้เพิ่มขึ้น” นางรุ่งทิพย์กล่าว./
รศ.นพ.ทวีกิจ นิ่มวรพันธ์ (ที่ 3 จากขวา) รองผู้อำนวยการโรงพยาบาลรามาธิบดีจักรีนฤบดินทร์ คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี รับมอบเงินรายได้หลังหักค่าใช้จ่าย จำนวน 250,000 บาท จากการจัดกิจกรรม เดิน-วิ่ง การกุศล CPF BANGNA CHARITY RUN 2018 ที่จัดโดยชมรม ซีพีเอฟ รันนิ่ง คลับ บริษัท เจริญโภคภัณฑ์อาหาร จำกัด (มหาชน) หรือ ซีพีเอฟ เพื่อสมทบทุนซื้ออุปกรณ์เครื่องมือแพทย์แก่สถาบันการแพทย์จักรีนฤบดินทร์ คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดล โดยมี นายนิธิพงศ์ นงค์นาค (ที่ 3 จากซ้าย) ผู้จัดการทั่วไป โรงงานผลิตอาหารสัตว์บกบางนา กม.21 ซีพีเอฟ พร้อมทีมงาน เข้ามอบ ณ มูลนิธิรามาธิบดี/.