October 18, 2024
×

Warning

JUser: :_load: Unable to load user with ID: 802

JUser: :_load: Unable to load user with ID: 7637

เอไอเอ ประเทศไทย ฉลองครบรอบ 80 ปี ที่อยู่เคียงข้างคนไทยมาด้วยความมุ่งมั่นที่จะส่งมอบสุขภาพและชีวิตที่ดีให้กับประชาชนทั่วประเทศ จัดกิจกรรมเดิน-วิ่งการกุศลครั้งยิ่งใหญ่ ภายใต้โครงการ “AIA Sharing A Life Charity Run” พร้อมกันใน 10 จุดทั่วประเทศ ได้แก่ กรุงเทพมหานคร, เชียงใหม่, พิษณุโลก, อุดรธานี, ขอนแก่น, นครราชสีมา, นครปฐม, สุพรรณบุรี, ระยอง และสุราษฎร์ธานี โดยได้รับความร่วมมือจากหน่วยงานภาครัฐบาล อาทิ กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข, สำนักอนามัย กรุงเทพมหานคร คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล และหน่วยงานประจำจังหวัด ทั้ง 10 แห่ง  พร้อมใจกันมาร่วมเดิน-วิ่งการกุศล ทั้งสิ้นกว่า 50,000 พลังความดีจากทั่วประเทศ และได้ร่วมมอบเครื่องออกกำลังกายกลางแจ้ง ในโครงการ “AIA Vitality Workout” เพื่อส่งเสริมให้ผู้คนในชุมชนมีสุขภาพที่แข็งแรง สอดคล้องกับคำสัญญาของเอไอเอ ที่ต้องการสนับสนุนในคนไทยมีสุขภาพและชีวิตที่ดีขึ้น (Healthier, Longer, Better Lives) 

มร. ตัน ฮาค เลห์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร เอไอเอ ประเทศไทย กล่าวว่า “ในโอกาสที่ปีนี้ เอไอเอ ประเทศไทย ครบรอบ 80 ปี และเรามีคำมั่นสัญญาใหม่ที่มุ่งเน้นในการส่งเสริมและสนับสนุนให้คนไทยมีสุขภาพและชีวิตที่ดีขึ้น (Healthier, Longer, Better Lives) จึงเป็นที่มาของโครงการ AIA Sharing A Life Charity Run ซึ่งถือเป็นกิจกรรมเพื่อตอบแทนสังคมในรูปแบบการเดิน-วิ่ง พร้อมร่วมแบ่งปันให้กับองค์กรการกุศลต่างๆทั่วประเทศ นอกจากนี้ ทุกท่านที่มาร่วมงานนี้ ยังมีส่วนร่วมในการบริจาคเครื่องออกกำลังกายกลางแจ้งผ่านโครงการ AIA Vitality Workout โดยผมขอเป็นตัวแทนเอไอเอ ประเทศไทย ขอบคุณพลังความดีทั้งหมดกว่า 50,000 คนทั่วประเทศ ที่ออกมาแสดงพลังร่วมกันในวันนี้”

สำหรับที่กรุงเทพมหานคร ซึ่งกิจกรรมที่สวนจตุจักร กรุงเทพมหานคร เริ่มตั้งแต่ 6.00 น. โดยเริ่มด้วยกิจกรรมเดิน-วิ่งการกุศล ต่อจากนั้น เป็นพิธีมอบเงินบริจาคแก่องค์กรการกุศลต่างๆ ต่อด้วยการร่วมส่งมอบเครื่องออกกำลังกายกลางแจ้ง “AIA Vitality Workout” โดยมีผู้บริหารของสวนจตุจักรเป็นผู้รับมอบ และกิจกรรมปลูกต้นไม้ เพิ่มความร่มรื่นให้แก่สวนจตุจักร อีกด้วย

ทั้งนี้ เอไอเอ ประเทศไทย ยังคงยึดมั่นในการทำความดี ตอบแทนสู่สังคมไทย ผ่านกิจกรรมต่างๆอย่างต่อเนื่อง เพื่อตอกย้ำการเป็นบริษัทประกันชีวิตอันดับ 1 ของประเทศไทย และเป็นการฉลองครบรอบ 80 ปี ในการดำเนินธุรกิจในประเทศไทย ด้วยความมุ่งมั่นในการเป็นส่วนช่วยยกระดับคุณภาพชีวิตของคนไทย พร้อมกันกับการพัฒนาสังคมไทยให้เติบโตอย่างยั่งยืน เพื่อสุขภาพและชีวิตที่ดีขึ้นของคนไทยทั่วประเทศ

บริษัทเจริญโภคภัณฑ์อาหาร จำกัด (มหาชน) หรือ ซีพีเอฟ พร้อมสนับสนุนรัฐบาลเดินหน้าโครงการโรงเรียนร่วมพัฒนา มุ่งส่งเสริมศักยภาพนักเรียนด้านทักษะการงานอาชีพและประสบการณ์เพื่อสร้างโอกาสการทำงานให้นักเรียนหลังจบการศึกษา รองรับความต้องการของท้องถิ่น

ในโอกาสที่ ศาสตราจารย์คลินิก นายแพทย์ อุดม  คชินทร รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงศึกษาธิการ และนายมีชัย วีระไวทยะ คณะกรรมการพัฒนานวัตกรรมการบริหารจัดการสถานศึกษาในรูปแบบโรงเรียนร่วมพัฒนา หรือ Partnership School เยี่ยมชมและให้กำลังใจคณะผู้บริหารและนักเรียน ”โรงเรียนธงชัยเหนือวิทยา(โคกศิลา)” และ “โรงเรียนชุมชนบ้านวัด”  ซึ่งอยู่ในความรับผิดชอบและได้รับการสนับสนุนจาก บริษัท เจริญโภคภัณฑ์อาหาร จำกัด (มหาชน) หรือซีพีเอฟ ในโครงการโรงเรียนร่วมพัฒนา มุ่งสร้างครูและนักเรียนเป็นทั้งคนดีและคนเก่ง ส่งเสริมสถานศึกษาเป็นแหล่งเรียนรู้ของชุมชน

นายทวีสิน  คุณากรพิทักษ์กุล รองกรรมการผู้จัดการ ซีพีเอฟ กล่าวว่า บริษัทมุ่งมั่นมีส่วนร่วมขับเคลื่อนนโยบายการศึกษาของไทย โดยให้การสนับสนุนโรงเรียนในจังหวัดนครราชสีมา ตามแนวทางการพัฒนาการศึกษาของประเทศไทย ซึ่งโรงเรียนร่วมพัฒนาเป็นอีกรูปแบบหนึ่งของการจัดการศึกษาที่เพิ่มบทบาทให้ภาคเอกชน ชุมชน องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น และสถานศึกษาระดับอุดมศึกษาในพื้นที่ เข้ามามีส่วนร่วมพัฒนาระบบบริหารการศึกษาให้มีประสิทธิภาพ ส่งเสริมและสนับสนุนการจัดการศึกษาให้แก่ผู้เรียนอย่างทั่วถึง ลดความเหลื่อมล้ำ  รวมทั้งพัฒนาครูและบุคลากรทางการศึกษาให้มีความรู้ความสามารถ เพื่อที่จะพัฒนาเด็กนักเรียนให้เป็นคนดีและคนเก่ง พร้อมกันนี้ ส่งเสริมสถานศึกษาให้เป็นแหล่งเรียนรู้ของคนในชุมชน

ทั้งนี้ ซีพีเอฟ ได้ระดมสมองเพื่อทำแผน 5 ปี (2561-2566) เพื่อสนับสนุนโครงการฯทั้งด้านวิชาการและทักษะให้ตรงความต้องการและความถนัดของแต่ละคนเพื่อสร้างความเชี่ยวชาญ โดยเฉพาะการฝึกฝนจากการทดลองปฏิบัติจริงในโรงเรียนและการฝึกงานในโรงงาน เพื่อขับเคลื่อนโรงเรียนให้เป็นไปตามเป้าประสงค์

“ทั้ง 2 โรงเรียนมีศักยภาพในการพัฒนาให้เป็นโรงเรียนต้นแบบและศูนย์การเรียนรู้ของชุมชนและจังหวัด ซึ่งบริษัทเชื่อว่าการร่วมแรงร่วมใจกันระหว่างภาครัฐ เอกชน โรงเรียน ชุมชน และผู้เกี่ยวข้องทุกฝ่ายจะช่วยสนับสนุนให้โรงเรียนเดินหน้าสู่เป้าหมาย ช่วยยกระดับการศึกษา ทักษะและความชำนาญ ของเด็กให้แข่งขันกับนานาประเทศได้เป็นอย่างดี และเป็นกำลังสำคัญในการพัฒนาประเทศไทยอย่างยั่งยืน” นายทวีสิน กล่าว   

นายเมธี คอบตะขบ   ผู้อำนวยการโรงเรียนธงชัยเหนือวิทยา(โคกศิลา) กล่าวว่า  คณะกรรมการของโรงเรียนร่วมพัฒนา จะร่วมกันกำหนดแผนพัฒนาโรงเรียนร่วมพัฒนา เป็นแผนระยะ 5 ปี มีเป้าหมายให้นักเรียนทุกคนต้องอ่านออกเขียนได้ สามารถใช้ภาษาอังกฤษเพื่อการสื่อสารในชีวิตประจำวันได้ คุณครูนำเทคโนโลยีมาช่วยเพิ่มทักษะในการผลิตสื่อการเรียนการสอน นอกจากนี้ โรงเรียนต้องเป็นแหล่งเรียนรู้ของชุมชน และช่วยพัฒนาทักษะอาชีพให้นักเรียนมีอาชีพติดตัวหลังจากที่จบการศึกษาระดับมัธยมศึกษาปีที่ 3 ซึ่งโรงเรียนเปิดการเรียนการสอนตั้งแต่ ชั้นอนุบาล1 –  มัธยมศึกษาปีที่  3  มีจำนวนนักเรียน 240 คน

“โรงเรียนทำโครงการ 1 ห้องเรียน 1 ผลิตภัณฑ์ ตั้งแต่ระดับชั้นอนุบาลจนถึงชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ซึ่งแต่ละปีเด็กจะเรียนรู้ทักษะอาชีพ 2 ชิ้นงาน  อาทิ ระดับอนุบาล เรียนรู้วิธีการทำจ่อมเห็ด เพ้นท์สี ระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 ทำแซนวิชเห็ด ขยายพันธุ์กล้าไม้  ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ผลิตไม้ประดับแบบแขวน  ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ทำกระถางต้นไม้จากเศษผ้าขนหนู เป็นต้น นอกจากนี้ โรงเรียนจัดกิจกรรมโครงการศูนย์เศรษฐกิจพอเพียง การเพาะเห็ดนางฟ้าพัฒนาคุณภาพชีวิต เป็นโครงการที่สร้างกระบวนการเรียนรู้แบบครบวงจร เริ่มตั้งแต่ขั้นตอนการทำก้อนเชื้อเห็ด การเพาะเห็ดในโรงเรือน จำหน่ายผลผลิตเห็ดสด จนถึงการแปรรูปเห็ด  ซึ่งสามารถถ่ายทอดความรู้เให้แก่ชุมชนได้ด้วย” ผู้อำนวยการโรงเรียนธงชัยเหนือวิทยา กล่าว

ด้านนายธนยศ ปะเสทะกัง  ผู้อำนวยการโรงเรียนชุมชนบ้านวัด กล่าวว่า  โรงเรียนชุมชนบ้านวัดเป็นโรงเรียนขยายโอกาสทางการศึกษา เน้นพัฒนานักเรียนทั้งในด้านคุณธรรม จริยธรรม  ยึดหลักเศรษฐกิจพอเพียง และฝึกทักษะอาชีพให้นักเรียนรู้จักพึ่งพาตัวเองตามสภาพพื้นที่ของโรงเรียนและสภาพพื้นที่ของชุมชนโดยรอบ  เช่น กิจกรรมค่ายพัฒนาภาษาอังกฤษ กิจกรรมเลี้ยงปลาดุกในบ่อดินและกระชังบก กิจกรรมปลูกถั่วดาวอินคาเพื่อพัฒนาการเรียนรู้และทักษะอาชีพ ปลูกกล้วยน้ำว้า ปลูกฟักข้าว การเลี้ยงจิ้งหรีด เป็นต้น  โรงเรียนคาดหวังว่าการเข้าร่วมโครงการโรงเรียนร่วมพัฒนา จะให้ความสำคัญไปที่การพัฒนานักเรียนทั้งด้านวิชาการ ทักษะอาชีพ  มีภาวะผู้นำ เป็นทั้งคนเก่งและคนดี

ปัจจุบัน โรงเรียนชุมชนบ้านวัด อำเภอคง จังหวัดนครราชสีมา  มีจำนวนนักเรียน  230 คน เปิดสอนระดับชั้นอนุบาล 2 ถึงระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่  3  โรงเรียนอยู่ในเขตพื้นที่เฝ้าระวังการกระจายของยาเสพติด จึงเน้นทำกิจกรรมรณรงค์ต่อต้านยาเสพติดกับนักเรียนและชุมชน  รวมทั้งสร้างการมีส่วนร่วมระหว่างโรงเรียน ผู้ปกครอง และชุมชนในพื้นที่ ให้มีส่วนร่วมในการบริหารจัดการศึกษาและทักษะอาชีพ 

บริษัท ทิพยประกันชีวิต จำกัด (มหาชน) โดยคุณนพพร บุญลาโภ กรรมการผู้จัดการใหญ่ คุณศุภชัย จงศุภวิศาลกิจ รองกรรมการผู้จัดการใหญ่ ร่วมถวายเงินเพื่อสมทบทุนในการสร้างกุฎิที่พักพระภิกษุสงฆ์ สามเณร ให้แก่พระครูปลัดวรกร เขมปญโญ (พระครูบาน้อย เขมปญโญ) เจ้าอาวาสและเจ้าสำนักศาสนศึกษาวัดสันปูเลยสะหลีเวียงแก้ว โดยมีคุณชาติชาย พยุหนาวีชัย ผู้อำนวยการธนาคารออมสิน พร้อมทีมผู้บริหารร่วมด้วย  เมื่อวันที่ กันยายน 2561 ณ วัดสันปูเลยสะหลีเวียงแก้ว จ.เชียงใหม่

เอสซีจีลงนามบันทึกความเข้าใจการอุทิศที่ดินบึงบางซื่อใน “โครงการสานพลังประชารัฐ-การพัฒนาพื้นที่บึงบางซื่อ” ร่วมกับกรมธนารักษ์ มุ่งพัฒนาพื้นที่ให้เกิดประโยชน์สูงสุดกับสังคม และยกระดับคุณภาพชีวิตชุมชนกว่า 800 ชีวิต พร้อมผลักดันสู่ต้นแบบที่อยู่อาศัยชุมชนเมือง และแหล่งพักผ่อนของคนกรุงเทพฯ คาดบ้านใหม่โครงการแรกพร้อมเข้าอยู่ปี 2562 บึงน้ำสาธารณะต้องใช้เวลาพัฒนาร่วมกับกทม. โดยมีผู้บริหารจากกรุงเทพมหานคร และสถาบันพัฒนาองค์กรชุมชน พร้อมด้วยคณะกรรมการสหกรณ์เคหสถาน บ่อฝรั่งริมน้ำพัฒนา จำกัด ร่วมเป็นสักขีพยาน ณ เอสซีจี สำนักงานใหญ่

นายรุ่งโรจน์ รังสิโยภาส กรรมการผู้จัดการใหญ่ เอสซีจี เปิดเผยว่า “การดำเนินงานในโครงการฯ เป็นไปตามแนวทางที่ตั้งเป้าหมายไว้เพื่อยกระดับคุณภาพชีวิต และความเป็นอยู่ของชุมชนบึงบางซื่อกว่า 800 ชีวิต ทั้งด้านการพัฒนาที่อยู่อาศัยชุมชนที่จะก่อสร้างที่พักอาศัยจำนวน 197 ยูนิต แบ่งเป็นบ้านทาวน์เฮ้าส์ 60 ยูนิต อาคารชุดพักอาศัย 4 ชั้น 3 อาคาร รวม 133 ยูนิต และบ้านกลางสำหรับผู้สูงอายุที่ไม่มีผู้ดูแลอีก 4 ยูนิต สำหรับงานก่อสร้างทาวน์เฮ้าส์และบ้านกลางได้รับใบอนุญาตก่อสร้างแล้ว และคาดว่าจะแล้วเสร็จตามแผนที่กำหนดไว้คือภายในปี 2562 จากนั้น จะเริ่มก่อสร้างอาคารชุดพักอาศัย ซึ่งอยู่ระหว่างการจัดทำรายงานวิเคราะห์ผลกระทบสิ่งแวดล้อม หรือ EIA (Environmental Impact Assessment Report) คาดว่าจะสามารถเริ่มดำเนินการก่อสร้างได้ปลายปี 2562 และจะแล้วเสร็จพร้อมเข้าอยู่ภายในปี 2563 สำหรับการพัฒนาบึงน้ำสาธารณะ จะเริ่มดำเนินการพัฒนาหลังจากชุมชนได้ย้ายเข้าที่อยู่อาศัยใหม่ครบหมดแล้ว ซึ่งอาจจะต้องใช้เวลาในการพัฒนาร่วมกับกรุงเทพมหานครไม่น้อยกว่า 1 ปี

ส่วนความคืบหน้าความร่วมมือกับหน่วยงานอื่นๆ นั้น สถาบันพัฒนาองค์กรชุมชน (องค์การมหาชน) หรือ พอช. ได้พิจารณาอนุมัติวงเงินสินเชื่อเพื่อสร้างบ้านสำหรับชุมชนจำนวน 48 ล้านบาท การรถไฟแห่งประเทศไทยได้พิจารณาอนุญาตให้เช่าที่ดินเพื่อพัฒนาเป็นทางเข้า – ออก และที่จอดรถ และสำนักงานเขตจตุจักรได้พิจารณาออกใบอนุญาตก่อสร้างทาวน์เฮ้าส์ ระหว่างนี้ เอสซีจียังคงลงพื้นที่ทำกิจกรรมร่วมกับชุมชนเพื่อพัฒนาระบบโครงสร้างสหกรณ์ พัฒนาศักยภาพคณะกรรมการและคณะทำงาน รวมถึงจัดตั้งกลุ่มออมสัจจะสะสมทรัพย์ ดูแลเยาวชนและผู้สูงอายุ”

ด้านนายพชร  อนันตศิลป์  อธิบดีกรมธนารักษ์ กล่าวว่า “หลังจากที่ได้รับมอบที่ดินจากเอสซีจีแล้ว สำหรับพื้นที่อยู่อาศัยชุมชนกรมธนารักษ์จะให้สหกรณ์เคหสถานบ่อฝรั่งริมน้ำพัฒนา จำกัด ซึ่งเป็น
นิติบุคคลที่เกิดจากการรวมกลุ่มก่อตั้งของชุมชนในพื้นที่บ่อฝรั่ง เช่าระยะยาว 30 ปี โดยกรรมสิทธิ์ของบ้านพัก

อาศัยจะเป็นของชุมชนผู้เข้าร่วมโครงการ และกรมธนารักษ์จะคิดค่าเช่าที่ดินในอัตราเดียวกับโครงการบ้านมั่นคงในที่ราชพัสดุ สำหรับพื้นที่สวนสาธารณะ กรมธนารักษ์มอบให้กรุงเทพมหานครร่วมกับเอสซีจี และภาคีเครือข่ายอื่นๆ ร่วมกันพัฒนาเป็นบึงน้ำสาธารณะ โดยกรมธนารักษ์จะพิจารณาให้สิทธิ์แก่องค์กร หรือนิติบุคคลอื่นๆ ทำหน้าที่บริหารจัดการ ดูแลรักษาพื้นที่ในส่วนนี้ให้เป็นไปตามวัตถุประสงค์ของบึงน้ำสาธารณะ โดยมีกรุงเทพมหานครทำหน้าที่ดูแลความเป็นระเบียบเรียบร้อยและความปลอดภัยแทนกรมธนารักษ์”

โครงการสานพลังประชารัฐ-การพัฒนาพื้นที่บึงบางซื่อ เป็นความร่วมมือของภาครัฐ เอกชน และชุมชน ได้แก่ เอสซีจี สำนักงานสลากกินแบ่งรัฐบาล สถาบันพัฒนาองค์กรชุมชน (องค์การมหาชน) การรถไฟแห่งประเทศไทย สำนักงานเขตจตุจักร สำนักงานทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์ ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร กรุงเทพมหานคร และกรมธนารักษ์ มุ่งเป็นต้นแบบการยกระดับคุณภาพชีวิตชุมชน 4 ด้าน ได้แก่ หนึ่งในต้นแบบโครงการสานพลังประชารัฐ ลดความเหลื่อมล้ำของสังคม ยกระดับคุณภาพชีวิตชุมชน ต้นแบบที่อยู่อาศัยชุมชนเมือง จัดสรรพื้นที่อย่างคุ้มค่า มีพื้นที่ส่วนกลางใช้ประโยชน์ร่วมกัน ต้นแบบการมีส่วนร่วมของชุมชน เปิดโอกาสร่วมกันออกแบบที่อยู่อาศัยที่ลงตัวกับทุกวิถีชีวิต กระตุ้นให้เกิดการออมในชุมชน และต้นแบบบึงน้ำสวนสาธารณะ เพื่อเป็นแก้มลิงและแหล่งพักผ่อนของคนกรุงเทพฯ

 

EIA Monitoring Awards เป็นรางวัลที่สำนักงานนโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม (สผ.) มอบให้แก่สถานประกอบการที่ปฏิบัติตามมาตรการในรายงานการวิเคราะห์ผลกระทบสิ่งแวดล้อม และมีการจัดการสภาพแวดล้อมดีเด่น โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อสร้างแรงจูงใจและให้กำลังใจแก่สถานประกอบการในการปฏิบัติตามมาตรการป้องกันแก้ไข และมาตรการติดตามตรวจสอบผลกระทบสิ่งแวดล้อมที่กำหนดไว้ในรายงานการวิเคราะห์ผลกระทบสิ่งแวดล้อมหรือ EIA และส่งเสริมให้สถานประกอบการพัฒนากลไกการจัดการสิ่งแวดล้อมของตนเอง และเป็นแบบอย่างแก่สถานประกอบการอื่นๆ ได้ปฏิบัติตาม และเป็นการประชาสัมพันธ์ให้สาธารณชนทั่วไปได้รับทราบ และเห็นความสำคัญของการป้องกันและลดผลกระทบสิ่งแวดล้อมอย่างจริงจัง

กรมชลประทานเฝ้าติดตามตรวจสอบผลกระทบสิ่งแวดล้อมสิ่งแวดล้อม (EIA) ตลอดระยะเวลา 6 ปีที่ผ่านมา เพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสูดแก่ทุกภาคส่วน ตั้งแต่ปี 2555 จนถึงปัจจุบัน ในการพัฒนาโครงการอ่างเก็บ น้ำ เพื่อก่อให้เกิดประโยชน์สูงสุดแก่ผู้สนใจทั่วไปที่ต้องการค้นคว้ารายละเอียดเกี่ยวกับการพัฒนาโครงการฯ และยังดำเนินงานการป้องกันแก้ไขหรือลดผลกระทบที่เกิดขึ้นให้อยู่ในระดับที่น้อยที่สุด เพื่อให้เกิดการพัฒนาสิ่งแวดล้อมและติดตามตรวจสอบผลกระทบสิ่งแวดล้อมของโครงการฯ ได้เป็นอย่างดี

 

ประเภทรางวัลที่ได้รับ

ระดับ ยอดเยี่ยม โครงการที่มีคะแนนรวมผ่านเกณฑ์ที่กำหนดตั้งแต่ 90 ขึ้นไปและโครงการที่ได้รับรางวัล EIA Monitoring Awards ในระดับที่ไม่ต่ำกว่าระดับดีเด่นไม่น้อยกว่า 3 ครั้ง

ระดับ ดีเด่น โครงการที่มีคะแนนรวมผ่านเกณฑ์ที่กำหนด ตั้งแต่ 85 คะแนนขึ้นไป

ระดับ ชมเชย โครงการที่มีคะแนนรวมผ่านเกณฑ์ที่กำหนด ไม่ต่ำกว่า 75 คะแนน

  

EIA Monitoring Awards 2011

ปี พ.ศ. 2554 เป็นปีแรกที่กรมชลประทานได้ส่งโครงการพัฒนาแหล่งน้ำที่ผ่านการเห็นชอบในรายงานการวิเคราะห์ผลกระทบสิ่งแวดล้อม และมีการดำเนินการตามแผนปฏิบัติการป้องกันแก้ไขผลกระทบสิ่งแวดล้อมและแผนติดตามตรวจสอบผลกระทบสิ่งแวดล้อมเข้าร่วมการประกวด จำนวน 2 โครงการ ได้แก่ โครงการกิ่วคอหมา จังหวัดลำปาง และโครงการเขื่อนแควน้อยบำรุงแดน จังหวัดพิษณุโลก โดยโครงการกิ่วคอหมา จังหวัดลำปาง ได้รับรางวัล EIA Monitoring Awards 2011 ระดับ ชมเชย และโครงการเขื่อนแควน้อยบำรุงแดน จังหวัดพิษณุโลก ได้รับรางวัลระดับ ดีเด่น

โดยมี ดร.พิทยา พุกกะมาน ผู้ช่วย รมว. กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม เป็นผู้มอบรางวัล เมื่อวันที่ 26 กันยายน 2555 ณ โรงแรมเซ็นทรา ศูนย์ราชการและคอนเวนชันเซ็นเตอร์
 

EIA Monitoring Awards 2014

ในปี พ.ศ. 2556 กรมชลประทานได้ส่งโครงการพัฒนาแหล่งน้ำเข้าร่วมการประกวด จำนวน 3 โครงการ ได้แก่ โครงการกิ่วคอหมา จังหวัดลำปาง โครงการเขื่อนแควน้อยบำรุงแดน จังหวัดพิษณุโลก และโครงการอ่างเก็บน้ำคลองหลวง รัชชโลทร จังหวัดชลบุรี และทั้ง 3 โครงการ ได้รับรางวัล EIA Monitoring Awards 2014 ระดับ ดีเด่น

โดยมี รมว. กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม พลเอกดาว์พงษ์ รัตนสุวรรณเป็นผู้มอบรางวัล เมื่อวันที่ 18 ธันวาคม 2557 ณ โรงแรมเซ็นทารา ศูนย์ราชการและคอนเวนชันเซ็นเตอร์

  

EIA Monitoring Awards 2016

ในปี พ.ศ. 2559 กรมชลประทานได้ส่งโครงการพัฒนาแหล่งน้ำเข้าร่วมการประกวด จำนวน 3 โครงการ ได้แก่ โครงการเขื่อนแควน้อยบำรุงแดน จังหวัดพิษณุโลก โครงการอ่างเก็บน้ำคลองหลวง รัชชโลทร จังหวัดชลบุรี และโครงการอ่างเก็บน้ำห้วยน้ำรีอันเนื่องมาจากพระราชดำริ จังหวัดอุตรดิตถ์ และทั้ง 3 โครงการ ได้รับรางวัล EIA Monitoring Awards 2016 ระดับ ดีเด่น

โดยมี รมว. กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม พลเอกสุรศักดิ์ กาญจนรัตน์ เป็นผู้มอบรางวัล เมื่อวันที่ 6 มีนาคม 2560 ณ โรงแรมรามา การ์เดนส์

ดร. เยอร์เกน มายน์ กรรมการผู้จัดการ บริษัท โคเวสโตร (ประเทศไทย) จำกัด (ซ้าย) มอบหนังสือสำหรับเยาวชน “จุดประกายความคิด เพื่อชีวิตที่สดใส” จำนวน 250 เล่ม ให้แก่โรงเรียนสัจจพิทยา โดยมีนางปรารถนา ลิมะหุตะเศรณี ผู้อำนวยการโรงเรียนฯ เป็นผู้รับมอบ มีวัตถุประสงค์เพื่อเสริมสร้างความรู้และปลูกฝังจิตสำนึกแก่เยาวชนเรื่องการกำจัดขยะอย่างถูกวิธี
การมอบหนังสือนี้ เป็นส่วนหนึ่งของกิจกรรมส่งเสริมวิชาการจัดการขยะและสิ่งแวดล้อมศึกษา เนื่องในวันวิทยาศาสตร์แห่งชาติ ประจำปี 2561 

นอกจากนี้ โคเวสโตร ประเทศไทย ยังได้ร่วมมือกับสถานทูตสาธารณรัฐเยอรมนี ประจำประเทศไทย จัดแสดงนวัตกรรมและเทคโนโลยี เพื่อให้ความรู้เรื่องการกำจัดขยะ การลดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมและการสร้างความยั่งยืน ในงานมหกรรมวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ

 

 

ดร.เยอร์เกน มายน์ กรรมการผู้จัดการ บริษัท โคเวสโตร (ประเทศไทย) จำกัด นำทีมพนักงาน จัดกิจกรรมอาสาสมัครให้ความรู้เรื่องการจัดการขยะและสิ่งแวดล้อม แก่นักเรียนโรงเรียนสัจจพิทยา พร้อมมอบหนังสือสำหรับเยาวชน “จุดประกายความคิด เพื่อชีวิตที่สดใส” เนื่องในวันวิทยาศาสตร์แห่งชาติ

บริษัท ไทยซัมซุง ประกันชีวิต จำกัด (มหาชน) นำพนักงานจิตอาสาของไทยซัมซุงประกันชีวิต และพนักงานจิตอาสาของซัมซุงประกันชีวิต จากประเทศเกาหลี รวมกว่า 50 ชีวิต ร่วมปลูกป่าชายเลนถาวร ณ สถานีพัฒนาทรัพยากรป่าชายเลนที่ 6 จ.เพชรบุรีในโครงการ “Green Global Project...We love Thailand” ครั้งที่ 11

 

 

ซัมซุงประกันชีวิต ประเทศเกาหลี และ ไทยซัมซุงประกันชีวิต เห็นถึงความสำคัญในการดำเนินกิจกรรมเพื่อตอบแทนสังคม หรือ CSR (Corporate Social Responsibility) ควบคู่ไปกับการดำเนินธุรกิจ ทั้งนี้ ทั้งสองประเทศได้จัดกิจกรรมเพื่อสังคมภายใต้คำขวัญ “We Love & Share” ปลูกฝังจิตสำนึกและส่งเสริมการมีส่วนร่วมของพนักงานในรูปแบบ “จิตอาสา” นำไปสู่การสร้างวัฒนธรรมองค์กร โดยได้ดำเนินการปลูกป่าชายเลนถาวรในโครงการ Green Global Project…We love Thailand” เพื่อรักษาและคืนความสมดุลแก่ระบบนิเวศป่าชายเลนของไทย และยังเป็นการรักษาพื้นที่ชายฝั่งทะเลและแหล่งอนุบาลสัตว์น้ำอีกทางหนึ่ง  

 

 

“โครงการ Green Global Project…We love Thailand  ได้จัดขึ้นอย่างต่อเนื่องเป็นประจำทุกปี ซึ่งที่ผ่านมา โครงการนี้จัดขึ้นมาแล้ว 10 ครั้ง ได้ปลูกพันธุ์ไม้ป่าชายเลนต่าง ๆ ไปแล้วกว่า 7,900 ต้น สำหรับครั้งนี้เป็นครั้งที่ 11 ของโครงการฯ และได้ปลูกต้นโกงกางรวม 2,000 ต้น  โดยมีพนักงานจิตอาสาจากซัมซุงประกันชีวิตประเทศเกาหลี และพนักงานจิตอาสาของไทยซัมซุงประกันชีวิตกว่า 50 คน ร่วมลงมือลงแรงกันอย่างเต็มที่ ด้วยความหวังเป็นอย่างยิ่งว่าโครงการฯ จะก่อให้เกิดประโยชน์แก่ชุมชนที่อยู่โดยรอบป่าชายเลนแห่งนี้ในระยะยาว  

 

 

สำหรับกิจกรรมในวันที่สอง พนักงานจิตอาสาจากทั้งสองประเทศ ได้เดินทางไปยังโรงเรียนปัญญาวุฒิกร มอบอุปกรณ์เสริมการเรียนรู้และเงินทุนสนับสนุนด้านการศึกษา รวมทั้งจัดทำและเตรียมอาหารกลางวันให้แก่น้อง ๆ นักเรียน ในช่วงบ่ายได้แบ่งกลุ่มลงมือลงแรงในกิจกรรมจิตอาสา ทั้งปรับปรุงและทาสีเครื่องเล่นในสนามเด็กเล่น รวมทั้งจัดเตรียมแปลงผักสวนครัวกินได้ให้กับทางโรงเรียนอีกด้วย

 

 

แม้ว่าโครงการที่เกิดขึ้น จะเป็นเพียงส่วนเล็ก ๆ ในการอนุรักษ์และฟื้นฟูระบบนิเวศป่าชายเลนของประเทศ แต่ซัมซุงประกันชีวิตและไทยซัมซุงประกันชีวิตเชื่อว่า โครงการนี้จะเป็นจุดเริ่มต้นที่ดีในการสร้างจิตสำนึกร่วมในการอนุรักษ์ธรรมชาติให้เกิดขึ้นในสังคม โดยบริษัทฯ ยังคงมุ่งมั่นดำเนินกิจกรรมและสานต่อนโยบายด้าน CSR อย่างต่อเนื่อง เพื่อให้ได้รับความไว้วางใจจากลูกค้าทั้งในการดำเนินธุรกิจและเป็นบริษัทที่ให้ความสำคัญกับการดูแลสังคมควบคู่กันไป

นับจากปี 2553 ทีเอ็มบี ได้ริเริ่มกิจกรรมเปลี่ยนชุมชนเพื่อความยั่งยืนขึ้น ภายใต้แนวคิด Make THE Difference   เปลี่ยน... เพื่อให้ชีวิตคุณดีขึ้น โดยมุ่งเน้นจุดประกายความคิดสร้างสรรค์  สร้างประโยชน์ให้กับชุมชน และส่งมอบสิ่งดีๆ กลับสู่สังคม ผ่านการทำกิจกรรมร่วมกันระหว่างพนักงานทีเอ็มบีทั่วประเทศ ลูกค้า เยาวชน และชุมชน โดยมีพนักงานเป็นผู้จุดประกายและลงมือ “เปลี่ยน” ชุมชนให้ดีขึ้น

เริ่มจากการเข้าไปในชุมชนที่อยู่ใกล้สาขาเพื่อสำรวจปัญหาต่างๆ  จุดประกายให้คนในชุมชนออกมา ร่วมกับทีมอาสาสมัคร  ช่วยกันคิด วางแผน และกำหนดแนวทางในการ “เปลี่ยน”  เพื่อให้เหมาะกับชุมชนหรือตอบสนองความต้องการของชุมชนนั้น ซึ่งกิจกรรมเปลี่ยนชุมชนเพื่อความยั่งยืน  มุ่งสร้างประโยชน์ให้ชุมชนอย่างต่อเนื่องเป็นระยะเวลา 5 ปี สำหรับในปีนี้มีโครงการที่เกิดขึ้นจากการจุดประกายของพนักงานทีเอ็มบีจำนวน 37 โครงการ และ “โครงการ ฟื้นฟูตำนานด่านวัดขนอน”  ซึ่งเป็นโครงการที่ 3 ของเขตราชบุรี ก็เป็นอีก 1 ในโครงการของปี 2561 นี้เช่นกัน

 

สำหรับวัดขนอน อ.โพธาราม จังหวัดราชบุรีนั้น  เป็นวัดที่อนุรักษ์ศิลปวัฒนธรรมการแสดงหนังใหญ่ เป็น 1  ใน 6 ชุมชนดีเด่นของโลกในด้านการฟื้นฟูวัฒนธรรม ประกาศโดยยูเนสโก มีการแสดงหนังใหญ่เป็นประจำทุกวันเสาร์-อาทิตย์ เดิมบริเวณหน้าวัดขนอนติดกับแม่น้ำเป็นที่ตั้งด่านเก็บภาษีอากรทางเรือ และเป็นตลาดที่แลกเปลี่ยนสินค้า แต่ในปัจจุบันแม่น้ำมีความตื้นเขินความเป็นมาในด้านของด่านวัดขนอนจึงเลือนหายไป

 

 พระครูพิทักษ์ศิลปาคม เจ้าอาวาสวัดขนอน เล่าโดยสรุปว่า โครงการฟื้นฟูตำนานด่านวัดขนอนครั้งนี้เป็นเหมือนการ “สานต่อลมหายใจให้ชุมชน”  นอกเหนือจากการอนุรักษ์ศิลปวัฒนธรรมการแสดงหนังใหญ่วัดขนอนแล้ว ยังเป็นการส่งเสริมการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมในท้องถิ่น และสร้างรายได้ให้แก่ชุมชน ตลอดจนส่งเสริมกิจกรรมของกลุ่มเยาวชนในด้านการอนุรักษ์ศิลปะแขนงต่างๆ โดยตลาดที่เคยรุ่งเรืองในอดีตอันเป็นตำนานด่านวัดขนอนนั้น จะสามารถเติมเต็มและเกื้อหนุนซึ่งกันและกันกับการแสดงหนังใหญ่วัดขนอน ที่แม้จะขึ้นชื่อในการอนุรักษ์และสืบสานมรดกไทย แต่การเข้าถึงมหรสพชนิดนี้นั้นยากกับการเจาะเข้าสู่กลุ่มวัยรุ่นหนุ่มสาว การมีตลาดด้วยนั้นจะเป็นการดึงกลุ่มนักท่องเที่ยวในวัยนี้ให้เพลิดเพลินมากขึ้นกับกิจกรรมท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมอื่นๆ มีสิ่งของดีๆ ให้เลือกในการจับจ่าย นอกจากการมาศึกษาและดูมหรสพหนังใหญ่แล้ว ยังเป็นการเพิ่มรายได้กับชุมชนอีกทางหนึ่งด้วย

 

นางภัทรวดี ปานเพ็ชร ผู้จัดการเขตธุรกิจสาขาราชบุรี ทีเอ็มบี เปิดเผยว่า “อาสาสมัครทีเอ็มบีที่เข้าร่วมพัฒนาชุมชนฯ ในครั้งนี้  เป็นพนักงาน สาขาราชบุรีที่มีจิตอาสาตั้งใจจะพัฒนาชุมชนให้ได้ประโยชน์ ผ่านการทำกิจกรรมที่มีอยู่หลายด้าน ไม่ว่าจะเป็นการเข้าไปช่วยสนับสนุนเยาวชนในชุมชนอนุรักษ์วัฒนธรรมประเพณีท้องถิ่น และจัดการระบบหน้าที่ต่างๆ ให้แก่เยาวชน ทำหน้าที่นักสื่อสารข้อมูลท้องถิ่น เพื่อนำเที่ยวแก่นักท่องเที่ยว ช่วยพัฒนาการจัดการให้แก่ชาวบ้านที่มาค้าขาย และทำให้ตลาดด่านขนอนเป็นที่รู้จักมากขึ้น มีการจัดทำ QR Code เพื่อให้นักท่องเที่ยวสแกน และรับทราบถึงประวัติความเป็นมาของวัดขนอน จัดทำป้ายแผนที่บอกเส้นทางท่องเที่ยวขนาดใหญ่ เพื่อให้นักท่องเที่ยวได้ชมครบทุกสถานที่ในชุมชนฯ ตลอดจนปรับปรุงภูมิทัศน์บริเวณรอบวัดขนอน และตลาดด่านขนอน ให้ดูสวยงามมากยิ่งขึ้น โดยเราต้องการให้ทุกอย่างที่เราทำนี้เป็นวงจร เป็นความยั่งยืน ที่คนในชุมชนจะได้ประโยชน์”

 

 นายจฬรรณ์ ถาวรนุกูลพงศ์ ผู้จัดการฝ่ายการแสดงหนังใหญ่ วัดขนอน เล่าต่อว่า เรื่องของการอนุรักษ์หนังใหญ่วัดขนอนนั้นทำการต่อสู้เพื่อการอนุรักษ์มากว่า 20 ปี โดยมีต้นทุนการแสดงที่ทางวัดขนอนได้ช่วยออกทุนในการทำการแสดงเล็กๆ ก่อน จนหางบประมาณมาทำเป็นโรงละครและลานแสดงที่ดีขึ้นกว่าเดิม  แต่เมื่อนักท่องเที่ยวมาดูหนังใหญ่แล้วกลับไป ไม่ได้ท่องเที่ยวดูสิ่งอื่นๆ ของชุมชน จึงมาคิดร่วมกันว่า ชุมชนเคยมีตลาดด่านขนอน จึงได้จำลองขึ้นมาใหม่ในบางส่วน และให้ชาวบ้านขายของ เพื่อเป็นการดึงนักท่องเที่ยวเข้ามา ซึ่งตลาดด่านขนอนนั้น เป็นตลาดที่ชาวบ้านโพธารามจะนำอาหารพื้นเมือง ขนม สินค้าพื้นบ้าน งานทำมือ มาขายให้แก่นักท่องเที่ยวในราคาย่อมเยา ซึ่งตลาดจะเปิดให้เข้าชมทุกวันเสาร์และวันอาทิตย์ตั้งแต่เวลา 09.00 – 17.00 น. โดยจะมีการแสดงหนังใหญ่แสดงทุกวันเสาร์ และวันอาทิตย์  วันละ 1 รอบ  ในช่วงเวลา 11.00 น.

 

สำหรับกิจกรรม เปลี่ยน ชุมชนเพื่อความยั่งยืนโดยอาสาสมัครทีเอ็มบี ได้ค้นพบความต้องการที่แท้จริงของชุมชนและสามารถแบ่งความต้องการออกเป็น 5 ด้าน เพื่อให้ทำงานตอบโจทย์ของชุมชนได้ถูกจุด ได้แก่

โครงการสร้างเสริมสุขภาวะสิ่งแวดล้อม โครงการเพื่อพัฒนาคุณภาพชีวิตผู้พิการหรือมีความต้องการพิเศษ โครงการด้านอนุรักษ์หรือฟื้นฟูศิลปวัฒนธรรม โครงการสร้างอาชีพและส่งเสริมเศรษฐกิจพอเพียง และโครงการด้านการเรียนรู้ของเด็กและเยาวชนและทั้งหมดนี้คือ หนึ่งในโครงการเพื่อสังคมของทีเอ็มบี ภายใต้แนวคิด Make THE Difference ที่สร้างสรรค์และส่งมอบสิ่งดีๆ ให้ชุมชน พัฒนาและอยู่ได้อย่างยั่งยืน....   

 

สามารถติดตามกิจกรรมดีๆ ของอาสาสมัครทีเอ็มบี เพื่อร่วมสร้างแรงบันดาลใจ หรือสนับสนุนการ “เปลี่ยน” เพื่อสังคมที่น่าอยู่ ได้ที่   

 https://www.tmbfoundation.or.th,  https://www.instagram.com/makethedifference_by_tmb

ปัจจุบันปัญหาขยะถือเป็นสิ่งที่ทั่วโลกต้องเผชิญ เนื่องจากส่งผลต่อระบบนิเวศ ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม รวมทั้งผู้คนอย่างมาก ซึ่งในส่วนของประเทศไทย มีรายงานสถานการณ์มลพิษประจำปี 2559 โดยกรมควบคุมมลพิษ ระบุว่า มีปริมาณขยะมูลฝอยทั่วประเทศถึง 27.04 ล้านตัน หรือคิดเป็น 74,073 ตันต่อวัน แต่ได้รับการกำจัดอย่างถูกวิธีเพียง 9.59 ล้านตันเท่านั้น ที่เหลือเป็นการเผาและนำไปเทกองรวม ซึ่งทำให้เกิดผลกระทบตามมาอย่างมหาศาล

ดังนั้น เพื่อเป็นการหาทางออกให้กับการจัดการปัญหาขยะของประเทศ ในงาน “SD Symposium 2018 (Sustainable Development Symposium 2018)” ภายใต้แนวคิด “Circular Economy: The future we create” เอสซีจีจึงได้จัดเสวนาในหัวข้อ Circular Waste Value Chain” โดยมีตัวแทนจากภาครัฐ ภาคเอกชน ภาคประชาสังคมที่เกี่ยวข้องร่วมพูดคุยหาแนวทางแก้ปัญหาที่เกิดขึ้น ได้แก่ “ธนา ยันตรโกวิท” รองอธิบดีกรมส่งเสริมการปกครองส่วนท้องถิ่น (สถ.) กระทรวงมหาดไทย, “สุวรรณา จุ่งรุ่งเรือง” รองปลัดกรุงเทพมหานคร, “สินชัย เทียนศิริ” ผู้อำนวยการสถาบันการจัดการบรรจุภัณฑ์และรีไซเคิลเพื่อสิ่งแวดล้อม (TIPMSE) สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย, “ศักดิ์ชัย ปฏิภาณปรีชาวุฒิ” Vice President - Polyolefins and Vinyl Business ธุรกิจเคมิคอลส์ เอสซีจี และ “เพชร มโนปวิตร” องค์กรสหภาพนานาชาติเพื่อการอนุรักษ์ธรรมชาติและทรัพยากรธรรมชาติ (IUCN)

 

ชู 3Rs ต้นทางการจัดการขยะ สร้างพฤติกรรมใหม่ให้ประชาชน

“ธนา” กล่าวว่า แม้จะมีการออกกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับการจัดการขยะหลายฉบับ และเกี่ยวข้องกับหลายหน่วยงาน ทั้งกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม กระทรวงสาธารณสุข กระทรวงมหาดไทย แต่ไม่ได้มีใครเป็นผู้รับผิดชอบโดยตรงในการเก็บขยะ ดังนั้น สถ. จึงเป็นหน่วยงานหลัก เนื่องจากมีองค์กรปกครองส่วนถิ่น (อปท.) อยู่กว่า 7,851 แห่ง ซึ่งมีศักยภาพแตกต่างกันไป แต่กว่าร้อยละ 70 ของ อปท. มีรายได้น้อยและไม่ได้รับเงินอุดหนุนที่เพียงพอ
 “จากการสำรวจพบว่า อปท. กว่า 3,000 แห่ง ไม่มีรถเก็บขยะและมีสถานที่กำจัดขยะที่ไม่ถูกต้องอีกกว่า 2,810 กอง ซึ่งหลังจากรัฐบาลประกาศปัญหาขยะเป็นวาระแห่งชาติ โดยมอบหมายให้กระทรวงมหาดไทยรับผิดชอบ จึงมีการวางแผนจัดการขยะแบบองค์รวม ทั้งขยะเก่าที่มีอยู่หรือขยะใหม่ที่จะเกิดขึ้น และการใช้มาตรการทางกฎหมายให้ครอบคลุม รวมถึงการสร้างจิตสำนึกให้ประชาชน”
“ปัญหาขยะที่เกิดขึ้น วงจรสำคัญคือต้นทางที่เป็นผู้บริโภค ซึ่งที่ผ่านมา สถ. ได้รณรงค์ “ใช้น้อย ใช้ซ้ำ ใช้ใหม่” ที่แปลงมาจาก 3Rs โดยให้ อปท. และชุมชน เชื่อมโยงชาวบ้านให้เกิดการคัดแยกขยะ และมีกิจกรรมต่างๆ ทั้งตลาดนัดขยะและผ้าป่าขยะ ทำให้เกิดกลไกการจัดการตั้งแต่ต้นทางถึงปลายทางเพื่อการรีไซเคิล อีกทั้ง สถ. ยังจัดทำโครงการ From Bin to Bag” หรือการเปลี่ยนจากถังขยะมาเป็นถุงขยะ เพื่อให้มีการคัดแยกขยะก่อนทิ้ง ตลอดจนโครงการ “Fast track to zero waste” เพื่อสร้างชุมชนต้นแบบในการจัดการขยะให้เป็นศูนย์ ด้วยการคัดแยกและกำหนดวันจัดเก็บขยะ”
“อย่างไรก็ตาม การจะทำให้เกิดผลเป็นรูปธรรมนั้น ทุกหน่วยงานต้องร่วมมือกันอย่างเป็นระบบและมีแนวทางที่ชัดเจน โดยเฉพาะการสร้างจิตสำนึกในการคัดแยกขยะตั้งแต่ต้นทาง เพื่อให้ปัญหาปลายทางที่เป็นการกำจัดขยะหมดไป ทั้งยังจะทำให้เกิดเศรษฐกิจหมุนเวียนที่สมบูรณ์ได้อีกทางด้วย”

 

ด้าน “สุวรรณา” กล่าวเสริมว่า การจะทำให้เกิดเศรษฐกิจหมุนเวียนโดยเฉพาะการจัดการของเสียเพื่อนำกลับมาใช้เป็นวัตถุดิบอีกครั้งนั้น แนวทาง 3Rs ถือว่าสำคัญ เนื่องจากเป็นการรักษาต้นทุนทางธรรมชาติ การจัดการทรัพยากรอย่างเป็นระบบ รวมถึงการใช้ให้เกิดประโยชน์สูงสุด ซึ่งทุกภาคส่วนต้องร่วมมือกัน โดยเฉพาะผู้ผลิตที่ต้องใช้วัตถุดิบจากธรรมชาติให้น้อยที่สุดและทำให้นำกลับมาใช้ใหม่ได้ ขณะที่ผู้บริโภคก็ต้องเลือกใช้สินค้าและบริการที่ให้ความสำคัญกับเรื่องเหล่านี้
“การจัดการขยะของ กทม. เน้นดำเนินการอย่างเป็นระบบ โดยเฉพาะการลดการฝังกลบให้เหลือน้อยที่สุดและให้เป็นแนวทางสุดท้าย เนื่องจากเราพยายามลดขยะที่ต้นกำเนิด ไม่ว่าจะเป็นการนำเศษอาหารและพืชผักผลไม้ไปทำปุ๋ย การส่งเสริมการคัดแยกขยะด้วยหลัก 3Rs ให้ครอบคลุม และการสื่อสารทำความเข้าใจกับประชาชนอย่างต่อเนื่อง ทำให้ลดปริมาณขยะไปได้อย่างมาก”
“แม้ว่าการจัดการขยะของ กทม. จะมีหลายชุมชนประสบความสำเร็จ แต่โมเดลเหล่านั้นกลับไม่ได้ขยายออกไปเพราะไม่ได้รับความร่วมมือจากประชาชน  ดังนั้น ทุกฝ่ายจึงต้องร่วมกันส่งเสริมให้คนตระหนักถึงปัญหาดังกล่าว ที่สำคัญภาครัฐต้องมีแนวทางดำเนินงานที่ชัดเจน ตลอดจนการกำกับดูแลและบังคับใช้กฎหมาย เพื่อเชื่อมโยงให้การจัดการขยะเกิดผลเป็นรูปธรรม ซึ่ง กทม. จะร่วมทำงานอย่างบูรณาการ เพื่อสร้างโมเดลต้นแบบการจัดการขยะที่ต่อเนื่องระดับชาติต่อไป”

 

สร้างศูนย์กลางรับซื้อบรรจุภัณฑ์เก่าและใช้นวัตกรรมการผลิตที่มีประสิทธิภาพ

ขณะที่ “สินชัย” มองว่า การจัดการบรรจุภัณฑ์ไม่ว่าจะเป็นกระดาษ แก้ว พลาสติก หรือโลหะ ต้องเกิดขึ้นตั้งแต่ต้นทาง และส่งต่อให้สามารถนำกลับไปใช้ใหม่ได้ ซึ่งที่ผ่านมาการดำเนินงานของ TIPMSE เป็นความร่วมมือของภาคอุตสาหกรรมทั้งผู้ผลิต ผู้จำหน่าย ผู้บริโภค ผู้แยกขยะ/รับซื้อของเก่า และโรงงานรีไซเคิล ในการสนับสนุน สร้างความรู้ความเข้าใจ และเชื่อมโยงให้เกิดวงจร CLP (Closed Loop Packaging) เพื่อให้การกำจัดขยะไม่ได้เป็นเพียงการทำลาย แต่เป็นการจัดการปัญหาที่ได้ผลตอบแทน
“การจะทำให้ CLP เกิดขึ้นจริงนั้น ทุกภาคส่วนต้องร่วมกันขับเคลื่อนด้วยโมเดลทางธุรกิจ ซึ่งอาจเป็นกิจการเพื่อสังคม (Social Enterprise - SE) ที่ให้ผู้สูงอายุเข้ามาร่วมดำเนินงาน โดยต้องมีศูนย์กลางรับบรรจุภัณฑ์หรือของที่ไม่ใช้แล้ว และต้องมีการเก็บข้อมูลปริมาณขยะทุกประเภทก่อน เพื่อหาความคุ้มทุนและแนวทางการขนส่ง จากนั้นควรหาพันธมิตรมาร่วมดำเนินการ โดยเฉพาะภาคเอกชนและอุตสาหกรรมที่เกี่ยวข้อง ซึ่งได้เริ่มทดลองในลพบุรีและนนทบุรีไปแล้ว”
“วิธีการนี้เป็นอีกทางหนึ่งที่จะทำให้เกิดการแก้ปัญหาขยะได้อย่างยั่งยืน ที่สำคัญคือต้องมีพันธมิตรหลายภาคส่วนมาร่วมกัน โดยเปลี่ยนความคิดจาก “ภาระ” ให้เป็น “ภารกิจ” สร้างความตระหนักให้ประชาชน ด้วยการสร้างแรงจูงใจในการจัดการขยะ ซึ่งจะทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมไปพร้อมกัน”

 

สอดคล้องกับ “ศักดิ์ชัย” ที่มองว่า เศษบรรจุภัณฑ์หรือพลาสติกมีคุณค่าทางเศษฐกิจอย่างมาก แต่ส่วนใหญ่มักไม่มีการคัดแยกอย่างถูกต้อง ทำให้เกิดการปนเปื้อนในรูปแบบต่างๆ ดังนั้น โมเดลศูนย์กลางการรับซื้อขยะแบบซาเล้งจึงควรเกิดขึ้น เพื่อให้สามารถนำพลาสติกเหล่านั้นกลับมาใช้ใหม่ได้
“พลาสติกอยู่ในบรรจุภัณฑ์เกือบทุกส่วนและยังจำเป็นต่อชีวิตประจำวันของคน แต่เราควรลดการใช้พลาสติกประเภทใช้ครั้งเดียวแล้วทิ้ง (Single-Use Plastic) ที่ก่อให้เกิดขยะจำนวนมาก ซึ่งที่ผ่านมา เอสซีจีในฐานะผู้ผลิตก็ตระหนักถึงปัญหานี้ จึงได้พยายามคิดค้น วิจัย และพัฒนาเทคโนโลยีร่วมกับหลายหน่วยงานในการนำพลาสติกกลับไปรีไซเคิลให้ได้มากที่สุด เพื่อให้เกิดการใช้ประโยชน์สูงสุด”
“ไม่เพียงเท่านี้ ในการผลิตสินค้าพลาสติกของเอสซีจี ยังได้คิดค้นนวัตกรรมเพื่อให้ผลิตภัณฑ์ต่างๆ มีความแข็งแรงทนทาน มีความบางแต่เหนียว สามารถทดแทนวัสดุธรรมชาติ ทั้งยังสามารถรีไซเคิลได้ซึ่งเป็นอีกหนึ่งแนวทางในการลดปัญหาขยะจากต้นกำเนิด แต่สิ่งสำคัญคือทุกฝ่ายต้องร่วมมือกันอย่างบูรณาการ โดยเฉพาะผู้บริโภคที่ต้องตระหนักและเปลี่ยนพฤติกรรมด้วย”

 

แนะใช้มาตรการเศรษฐศาสตร์รวมต้นทุนค่าจัดการสิ่งแวดล้อม

ขณะที่ “เพชร” กล่าวว่า แนวทางเศรษฐกิจหมุนเวียนสอดคล้องกับการจัดการปัญหาขยะ แต่จะทำอย่างไรให้ขยะลดลง เกิดการจัดการอย่างมีประสิทธิภาพ และไม่กระทบต่อสิ่งแวดล้อม ซึ่งปัจจุบันทั่วโลกมีขยะพลาสติกกว่า 8,000 ล้านตัน แต่สามารถนำมารีไซเคิลหรือใช้ใหม่ได้ไม่ถึง 10% ทำให้มีตกค้างในธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมจำนวนมาก โดยเฉพาะในท้องทะเล จากการจัดการขยะที่ไม่มีประสิทธิภาพ เน้นเทกองจนไหลลงทะเล ทำให้สัตว์ทะเลกว่า 700 ชนิดและปะการังได้รับผลกระทบ
“ขณะที่องค์การอนามัยโลกระบุว่า ปัจจุบันร่างกายมนุษย์มีไมโครพลาสติก (Micro Plastic) ที่เกิดจากการแตกตัวของพลาสติกในเสื้อผ้า ใยสังเคราะห์ ยางรถยนต์ หรือพลาสติกอื่นๆ ทำให้ปนเปื้อนในน้ำประปา รวมถึงเกลือสมุทร เบียร์ และน้ำดื่มบรรจุขวดเป็นจำนวนมาก อีกทั้งองค์การสหประชาชาติได้ประกาศให้ปัญหาพลาสติกเป็นวาระของโลก เนื่องจากส่งผลต่อสุขภาพ สังคม และสิ่งแวดล้อม ทั้งยังทำให้สูญเสียมูลค่าทางเศรษฐกิจอย่างน้อยปีละกว่า 13,000 ล้านเหรียญสหรัฐ”
“ดังนั้น การใช้พลาสติกโดยเฉพาะการใช้ครั้งเดียวแล้วทิ้งจึงต้องมีการลดหรือเลิกใช้ ซึ่งจะต้องมีเทคโนโลยีหรือนวัตกรรมเข้ามาจัดการ และภาคส่วนต่างๆ ต้องร่วมมือกัน โดยเฉพาะผู้ผลิตต้องมีส่วนรับผิดชอบ และประชาชนทุกคนต้องเปลี่ยนพฤติกรรม ซึ่งอาจจะนำมาตรการทางเศรษฐศาสตร์เข้ามาช่วย โดยเฉพาะการรวมต้นทุนการจัดการสิ่งแวดล้อมไปในผลิตภัณฑ์ เพื่อให้เกิดการลดละตั้งแต่ต้นทาง และจะเป็นโอกาสให้ภาคเอกชน ภาคอุตสาหกรรมได้คิดค้นนวัตกรรมและออกแบบวัสดุใหม่ๆ ในอีกทางหนึ่งด้วย”

 

การจัดการขยะจึงไม่ใช่หน้าที่ของหน่วยงานใดหน่วยงานหนึ่งเท่านั้น แต่ทุกฝ่ายต้องร่วมมือกันอย่างบูรณาการ โดยเฉพาะการจัดการที่ต้นทางและสร้างจิตสำนึกให้ผู้บริโภค เปลี่ยนแปลงพฤติกรรมและมีจิตสาธารณะร่วมกันในการจัดการปัญหาอย่างยั่งยืน ซึ่งจะทำให้เกิดเศรษฐกิจหมุนเวียนที่สมบูรณ์ได้ต่อไป

ด้วยความเชื่อว่า ไม่มีการสร้างใด จะยั่งยืนไปกว่าการสร้าง ‘คน’ มูลนิธิเอสซีจี จึงส่งเสริมคนรุ่นใหม่ให้กลับมาพัฒนาบ้านเกิดทั้งด้านการศึกษา สังคม วัฒนธรรม ทรัพยากรธรรมชาติ และสิ่งแวดล้อม ภายใต้โครงการ ต้นกล้าชุมชน ที่เริ่มต้นขึ้นตั้งแต่ปี 2559 เพื่อมุ่งสร้างนักพัฒนารุ่นใหม่ให้เป็นกำลังสำคัญในการดูแล และพัฒนาท้องถิ่นของตนให้เข้มแข็งอย่างยั่งยืน โดยมูลนิธิเอสซีจีได้สนับสนุนเบี้ยยังชีพ และค่าดำเนินกิจกรรมสาธารณประโยชน์ในพื้นที่ให้แก่ต้นกล้าเป็นระยะเวลา 3 ปี และเชิญเครือข่ายนักพัฒนารุ่นพี่ผู้มากประสบการณ์ในพื้นที่ทำหน้าที่เป็นผู้ชี้แนะแนวทางการทำงาน ซึ่งปัจจุบันมีต้นกล้าชุมชนกระจายตัวอยู่ทั่วประเทศ นอกจากนั้น มูลนิธิฯ ยังได้จัดกิจกรรมพัฒนาศักยภาพต้นกล้าอย่างต่อเนื่อง ด้วยการเชิญวิทยากรผู้เชี่ยวชาญหลากหลายสาขามาถ่ายทอดความรู้ให้กับต้นกล้า และจัดกิจกรรมศึกษาการทำงานชุมชนในพื้นที่ต่างๆ อย่างต่อเนื่อง เพื่อเสริมประสบการณ์ พร้อมสร้างเครือข่ายและเชื่อมโยงการทำงานระหว่างกัน

สำหรับกิจกรรมครั้งนี้ มูลนิธิฯ ได้นำต้นกล้าชุมชน รุ่นที่ 2 และพี่เลี้ยง รวม 44 คน ลงพื้นที่ชุมชนศึกษาพื้นที่จังหวัดลำปาง ลำพูน และเชียงใหม่ ร่วมกับ Mr. Tadashi Uchida, President of International OVOP Exchange Committee และทีมงานจากประเทศญี่ปุ่น เพื่อร่วมแลกเปลี่ยน เรียนรู้ตามแนวคิดปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง ซึ่งต้นกล้าและพี่เลี้ยง รวมถึงชุมชนต่างได้รับคำแนะนำ และแนวทางทางการแก้ไขปัญหา และพัฒนาผลิตภัณฑ์ชุมชนจาก Mr. Tadashi Uchida ที่สามารถนำไปปรับใช้ด้วยการนำเสนอจุดแข็งของสินค้าผ่านการเล่าเรื่องที่แตกต่างอย่างสร้างสรรค์ เพื่อสร้างจุดเด่น อันจะนำไปสู่การสร้างรายได้ให้กับชุมชนอย่างยั่งยืน ครั้งนี้ ยังเป็นโอกาสที่ต้นกล้าได้เชื่อมโยงเครือข่าย และเสริมสร้างการทำงานภาคสังคมที่เข้มแข็งต่อไปในอนาคต

นอกจากนี้ ต้นกล้าชุมชนยังได้ศึกษาดูงานจากชุมชนบ้านใต้ อ.แจ้ห่ม จ.ลำปาง และชุมชนโหล่งฮิมคาว อ.สันกำแพง จ.เชียงใหม่ ที่ประสบความสำเร็จในการเพิ่มคุณค่าและมูลค่าของผลิตภัณฑ์ชุมชน รวมถึงเยี่ยมชมตลาดประชารัฐของดีจังหวัด ณ ลานพุทธามหาชัย อ.แม่ทา จ.ลำพูน ที่เริ่มต้นขึ้นจากแรงผลักดันของพฤติพร จินา ต้นกล้าชุมชนหญิงรุ่นที่ 2 ที่ได้แรงบันดาลใจมาจากครั้งที่มูลนิธิฯ พาไปเรียนรู้ที่โอย่าม่าแลนด์ ประเทศญี่ปุ่น

สุวิมล จิวาลักษณ์ กรรมการและผู้จัดการมูลนิธิเอสซีจี กล่าวถึงวัตถุประสงค์ในการพัฒนาศักยภาพต้นกล้าชุมชนว่า “มูลนิธิเอสซีจีตระหนักดีว่า ต้นกล้าชุมชนจะเติบโตและแข็งแรงได้นั้น ต้องได้รับการพัฒนาที่เหมาะสม การจัดกิจกรรมพัฒนาศักยภาพให้น้องๆ ต้นกล้า ทั้งการดูงานที่เมืองฮอกไกโด และเมืองโออิตะ เพื่อศึกษาการพัฒนาผลิตภัณฑ์ OVOP (One Village One Product) หรือโอทอป และการเชิญผู้เชี่ยวชาญจากต่างประเทศ เช่น Mr. Tadashi Uchida และทีมงาน ที่มีความเชี่ยวชาญเรื่องการขับเคลื่อนพัฒนา และยกระดับผลิตภัณฑ์ชุมชนจากประเทศญี่ปุ่น มายังประเทศไทยเพื่อให้ความรู้กับน้องๆ ทำให้ต้นกล้าได้ปิดประสบการณ์ แนวคิด และมุมมองใหม่ๆ เพราะเราเชื่อว่าการได้สัมผัสประสบการณ์จริงย่อมมีคุณค่าและสร้างแรงแรงบันดาลใจให้กับน้องๆ ต้นกล้า ตลอดจนพี่เลี้ยงได้นำกลับไปปรับใช้ตามความเหมาะสมของชุมชนตนเอง ถือเป็นเครื่องมือในการเสริมศักยภาพความเข้มแข็งอย่างสมดุลและยั่งยืน

ด้าน Mr. Tadashi Uchida, President of International OVOP Exchange Committee กล่าวถึงการเดินทางมาในครั้งนี้ว่า “หนึ่งหมู่บ้านหนึ่งผลิตภัณฑ์ หรือ OVOP มีความใกล้เคียงกับหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 9 อย่างมาก คือ เริ่มจากการทำสิ่งเล็กๆ ง่ายๆ ที่สามารถทำด้วยตนเอง แล้วใส่พลังความคิดสร้างสรรค์และความพยายามอย่างต่อเนื่อง ทำงานอย่างกระตือรือร้น  กล้าหาญ และมุ่งมั่น ผมเชื่อว่าน้องๆ ต้นกล้าสามารถทำได้แน่นอน ดังนั้น ภารกิจของพวกเราคือ ให้คำแนะนำ ความมั่นใจ และความหวังแก่น้องๆ ต้นกล้า พี่เลี้ยง และชุมชนที่เราไปเยี่ยมชม เพื่อให้เขาสามารถพัฒนาและยกระดับผลิตภัณฑ์ โดยให้ความสำคัญกับคุณค่าของจิตใจมากกว่าคุณค่าของเงิน และเมื่อพวกเขาสามารถพึ่งพาตัวเองได้ มีความภาคภูมิใจ และมีเกียรติ ก็จะส่งผลให้ชุมชนมีเสถียรภาพและความยั่งยืน ทำให้คนหนุ่มสาวไม่อยากละทิ้งบ้านไปทำงานในเมือง และใช้ชีวิตอย่างมีความสุขในชุมชน

ต้นกล้าหญิง พฤติพร จินา ต้นกล้าชุมชน รุ่นที่ 2  เจ้าของโครงการสืบสานพันธุกรรมท้องถิ่นเพื่อความมั่นคงทางอาหาร จ.ลำพูน กล่าวถึงความประทับใจว่า “ได้พลังอย่างมากจากคำแนะนำของคุณอูชิดะ และพี่เลี้ยง ทุกคำติชมช่วยยืนยัน และเพิ่มความมั่นใจให้กับเราทุกคน ความทรงจำแบบนี้ให้แรงบันดาลใจมากกว่าการดูจากภาพ หรือการเล่าให้ฟัง การพาไปเจอและได้สัมผัสทำให้เราได้คิดทบทวนแล้วนำกลับไปปรับใช้ ถือเป็นโอกาสที่ดี ขอขอบคุณมูลนิธิเอสซีจีมาก นับเป็นบันไดขั้นแรกในการต่อยอดสู่ความสำเร็จสำหรับการเริ่มต้นพัฒนาผลิตภัณฑ์พัฒนาชุมชนต่อไป

ด้านบรรจง นะแส ที่ปรึกษาสมาคมรักษ์ทะเลไทย นักพัฒนารุ่นพี่กล่าวเสริมว่า “ครั้งนี้ พี่ว่ามีความสมบูรณ์ คือเราได้ดูงานในพื้นที่จริง ทั้งร้านอาหาร กิ๊ฟท์ช้อป ร้านผักอินทรีย์ ทำให้น้องๆ ต้นกล้าที่ยังไม่เห็นภาพการทำงาน ยังมีความลังเล ได้พบปะพูดคุยแลกเปลี่ยนกัน เธอทำได้ ฉันก็ต้องทำได้ การดูงานในพื้นที่จริง ทำให้เห็น ทำให้เกิดแนวคิดใหม่ๆ ส่วนวิทยากรที่เดินทางมาจากญี่ปุ่น ช่วยให้พวกเราได้รับคำแนะนำดีๆ หลายเรื่อง อย่างเรื่องสินค้าที่ดีและมีคุณภาพต้องมีอะไรบ้าง การอธิบายเรื่องราวของผลิตภัณฑ์ บรรจุภัณฑ์ในรูปแบบที่ตลาดต้องการ หลักการตลาด สิ่งที่พี่ชอบมาก คือ การตลาดที่ดีที่สุด คือ ปากต่อปาก บางทีเราละเลยไป ทำอย่างไรให้คนมาเห็นแล้วพูดถึง คิดถึง พี่ว่ากิจกรรมครั้งนี้มีประโยชน์ ถือเป็นคุณูปการแก่นักพัฒนารุ่นใหม่อย่างแท้จริง

มูลนิธิเอสซีจีภาคภูมิใจที่ได้เป็นส่วนหนึ่งในการสร้างนักพัฒนารุ่นใหม่ เพราะไม่ใช่เพียงต้นกล้าเหล่านี้จะมีอาชีพเป็นของตัวเอง แต่ยังสามารถสร้างอาชีพ กระจายรายได้ให้คนในชุมชน ได้ทำงานในบ้านเกิด ส่งผลให้ชุมชนสามารถพึ่งพาตนเองได้ อยู่ร่วมกันอย่างมีความสุขและมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น โดยไม่ละทิ้งรากเหง้าและวิถีชีวิตอันงดงามของตัวเอง มูลนิธิฯ หวังว่าโครงการต้นกล้าชุมชนจะจุดประกายให้เมล็ดพันธุ์นักพัฒนารุ่นใหม่ได้เติบโต หยั่งราก และตั้งมั่น รับใช้บ้านเกิดของตนเองต่อไป    

มูลนิธิเอสซีจี “เชื่อมั่นในคุณค่าของคน”

X

Right Click

No right click