เมื่อเร็วๆ นี้ พญ.ศิรประภา ลิ้มประเสริฐ ภาควิชาเวชศาสตร์ฟื้นฟู คณะแพทย์ศาสตร์ ศิริราชพยาบาล
กองทุนพัฒนาสื่อปลอดภัยและสร้างสรรค์ เดินหน้าต่อเนื่องในการให้ทุนสนับสนุนการผลิตสื่อปลอดภัยและสร้างสรรค์ ในปีนี้
กองทุนพัฒนาสื่อปลอดภัยและสร้างสรรค์ เตรียมจัดงานแถลงข่าวและเปิดตัวรายการ “สวัสดีวันสุข” ในการกระชับพื้นที่ “ความสุข” โดยมี นายวสันต์ ภัยหลีกลี้ ผู้จัดการกองทุนพัฒนาสื่อปลอดภัยและสร้างสรรค์ พร้อมร่วมฟังเรื่องราวดีๆ จากเหล่าดารานักแสดงกับบทบาทพิธีกรรายการ ‘สวัสดีวันสุข’ ได้แก่ คุณเพชร กรุณพล เทียนสุวรรณ คุณป๊อก โฆษวิส ปิยะสกุลแก้วและคุณมิว ลักษณ์นารา เปี้ยทา ร่วมชม Teaser รายการสวัสดีวันสุขครั้งแรก พร้อมชมการแสดงสดจากศิลปินมากความสามารถ โจ้ วง Carry Melons ในเพลง ‘สวัสดีวันสุข’ ในวันศุกร์ที่ 15 พฤศจิกายน 2562 เวลา 13.30 – 15.00 น. ณ ลานกิจกรรม ชั้น 7 ศูนย์การค้าเซ็นทรัล พลาซา แกรนด์ พระราม 9
การเปลี่ยนสังคมให้เกิดคุณภาพ เป็นเรื่องที่ทุกคนควรมีส่วนร่วม แต่สำคัญที่สุดคือต้องเริ่มและเริ่มต้นจากตัวเอง ซึ่งแนวคิดนี้ “ปันบุญ”
“เคทีซี” หรือ บริษัท บัตรกรุงไทย จำกัด (มหาชน) และโรงเรียนเศรษฐเสถียร ในพระราชูปถัมภ์ เปิดเวทีรับฟังการนำเสนอโครงงาน ภายใต้โครงการ “เรียนรู้ ต่อยอด ยั่งยืน” โดยน้องๆ นักเรียนระดับมัธยมศึกษาปีที่ 4 - 6 ได้ร่วมกันจัดนิทรรศการความรู้พร้อมนำเสนอโครงงานและผลงานต่างๆ ที่ได้เรียนรู้ตลอดระยะเวลา 12 สัปดาห์ จากวิทยากรฟาร์มเห็ดโพธิ์ทอง และผู้บริหารเคทีซี โดยเริ่มตั้งแต่การเรียนรู้ชนิดของเห็ด กระบวนการทำก้อนเห็ด การเพาะเห็ด การดูแลเห็ดในโรงเรือน การแปรรูปเห็ดเป็นวัตถุดิบ ออกแบบบรรจุภัณฑ์ โลโก้ การสร้างแบรนด์และการทำพรีเซนเทชัน
รวมถึงการบริหารต้นทุนและการวางแผนการใช้จ่าย ภายในงานน้องๆ ยังได้ช่วยกันโชว์ฝีมือสร้างสรรค์เมนูอาหารว่างจากเห็ดที่เพาะได้ในโรงเรือนต้นแบบ ได้แก่ คานาเป้เห็ด คุ้กกี้เห็ด วาฟเฟิลเห็ด พิซซ่าเห็ด และเห็ดทอด โดยมี อาจารย์สายใจ สังขพันธ์ รองผู้อำนวยการฝ่ายวิชาการ โรงเรียนเศรษฐเสถียร ในพระราชูปถัมภ์ ร่วมเป็นเกียรติในงาน ณ ห้องประชุมใหญ่ ชั้น 2 โรงเรียนเศรษฐเสถียรในพระราชูปถัมภ์ ถนนพระราม 6
“สิ่งที่ทำให้ครูตัดสินใจทุ่มเทแรงกายแรงใจช่วยเหลือเด็กพิเศษกลุ่มนี้ก็คือ ครูมองเห็นความสามารถที่ซ่อนอยู่ในตัวของพวกเขา หากเรามีวิธีการสอนด้วยความเข้าใจและมอบโอกาสที่พวกเขาสมควรได้
“เคทีซี” หรือ บริษัท บัตรกรุงไทย จำกัด (มหาชน) จับมือ “ยูเอฟเอ็ม” โรงเรียนสอนการผลิตอาหารและขนมมาตรฐาน เปิดคอร์สเอ็กซ์คลูซีฟสอนทำไอศครีมโฮมเมดสูตรพิเศษ อร่อยเข้มเต็มคำกับ 2 รสยอดนิยม รสทุเรียนกับรสมะม่วง ให้กับสมาชิกบัตรกดเงินสด “เคทีซี พราว” เพื่อเป็นทางเลือกในการนำไปประกอบอาชีพเสริมและสร้างรายได้ต่อไป กิจกรรมจะจัดขึ้นในวันเสาร์ที่ 3 สิงหาคม 2562 โดยสามารถสมัครเรียนได้ในราคาพิเศษเพียง 499 บาทต่อท่าน (ปกติ 3,000 บาท) หรือใช้คะแนน KTC Forever ทุก 1,000 คะแนน แทนเงินสดมูลค่า 100 บาท สมาชิก 1 ท่านลงทะเบียนได้ 2 ที่นั่ง สำรองที่นั่งได้ที่โทรศัพท์ 0-2123-5420 ตั้งแต่วันที่ 9-10 กรกฎาคม 2562 เวลา 08.30 น. – 17.00 น.
สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ KTC PHONE 02 123 5000 หรือสมัครเป็นสมาชิก “เคทีซี พราว” ได้ที่ศูนย์บริการสมาชิก “เคทีซี ทัช” ทั่วประเทศ #สุขได้ไม่จำกัด กับบัตรเคทีซี
ลอรีอัล ฉลองครบรอบ 10 ปี ลอรีอัล ซิติเซ่น เดย์ (L’Oréal Citizen Day) ในประเทศไทย พร้อมส่งเสริมให้พนักงานในองค์กรมีจิตสาธารณะ ทำกิจกรรมที่เป็นประโยชน์คืนสู่สังคม และสิ่งแวดล้อมอย่างต่อเนื่อง สำหรับ บริษัท ลอรีอัล (ประเทศไทย) จำกัด ที่ล่าสุด ชวนนักแสดงหนุ่มชื่อดัง อาเล็ก-ธีรเดช เมธาวรายุทธ กิจการเพื่อสังคม GEPP และพนักงานกว่า 420 ชีวิต
จากสถานการณ์ค่าฝุ่นละอองเกินมาตรฐาน หรือปัญหาฝุ่น PM 2.5 ที่เกิดขึ้นกับประเทศไทยในช่วงที่ผ่านมา ได้ส่งผลกระทบต่อสุขภาพของประชาชนเป็นวงกว้าง ตลอดจนกระทบถึงภาพลักษณ์ของประเทศ ทั้งด้านการท่องเที่ยวและการจัดการด้านสิ่งแวดล้อมของประเทศไทย ปัญหาดังกล่าวจึงถูกยกขึ้นเป็นวาระแห่งชาติที่ต้องดำเนินการแก้ไขอย่างเร่งด่วน พร้อมหามาตรการป้องกันไม่ให้เกิดปัญหาซ้ำรอยในอนาคต
คณะกรรมการจัดทำยุทธศาสตร์ชาติ ด้านการสร้างการเติบโตบนคุณภาพชีวิตที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม ได้ร่วมมือกับคณะปฏิรูปประเทศด้านทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม สำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ และอาศรมความคิดด้านระบบโลกศาสตร์และวิทยาศาสตร์สิ่งแวดล้อม ราชบัณฑิตยสภา จัดงานเสวนาในหัวข้อ “การขับเคลื่อนยุทธศาสตร์ชาติและปฏิรูปประเทศด้านการจัดการมลพิษทางอากาศ PM 2.5 ทั้งระบบ” ณ ห้องประชุมศรีสุริยวงศ์บอลรูม ชั้น 11 โรงแรมตวันนา สุรวงศ์ โดยมี พลเอกประวิตร วงษ์สุวรรณ รองนายกรัฐมนตรี ที่กำกับงานด้านทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม กล่าวเปิดงานเสวนาในครั้งนี้
Temperature Inversion ปรากฏการณ์ฝาชีอากาศผกผัน
ศ.ดร.ธนวัฒน์ จารุพงษ์สกุล ประธานกรรมการจัดทำยุทธศาสตร์ชาติด้านการสร้างการเติบโตบนคุณภาพชีวิตที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม ราชบัณฑิต สำนักวิทยาศาสตร์ ราชบัณฑิตยสภา ระบุว่า มลพิษทางอากาศที่ล้วนมีสาเหตุหลักจากมนุษย์เป็นผู้สร้าง ก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงของภูมิอากาศในอนาคต หากไม่ดำเนินมาตรการจัดการกับปัญหาฝุ่นละอองก็จะเกิดการสะสมไปเรื่อยๆ เมื่ออากาศเปลี่ยนผันเข้ามาก็กลายเป็นฝาชีครอบเอาไว้ ทำให้ฝุ่นละอองจะไม่สามารถกระจายไปไหนได้ จนท้ายที่สุดฝุ่นละออง PM 2.5 ก็มีการสะสมในปริมาณมาก และส่งผลกระทบต่อประชาชน ถึงขั้นก่อให้เกิดอันตรายกับสุขภาพได้
ความมุ่งหวังต่ออายุคาดเฉลี่ยของการมีสุขภาพดี...ที่ดียิ่งขึ้น
บนเวทีเสวนา นายแพทย์ดนัย ธีวันดา รองอธิบดีกรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข ได้เปิดประเด็นเกี่ยวกับความมุ่งหวังในอีก 20 ข้างหน้า กับการได้เห็นคนไทยมีช่วงอายุของการมีสุขภาพดีที่ยืนยาวขึ้น มีอายุคาดเฉลี่ยของการมีสุขภาพดีไม่ต่ำกว่า 75 ปี และมีอัตราการเสียชีวิตที่เกี่ยวข้องกับมลพิษทางอากาศ เพราะปัจจุบันมีคนไทยจำนวนไม่น้อยที่ประสบปัญหาสุขภาพตั้งแต่ช่วงอายุประมาณ 50 ปี ส่วนหนึ่งเป็นผลมาจากมลพิษอากาศที่กระตุ้นให้เกิดโรคภัยได้ง่ายขึ้น โดยมลพิษทางอากาศนั้นจัดเป็นสาเหตุอันดับ 2 ของการเกิดโรคไม่ติดต่อรองจากการสูบบุหรี่ ทั้งโรคหลอดเลือดสมอง โรคปอดอุดกั้นเรื้อรัง โรคหัวใจขาดเลือด และมะเร็งปอด ซึ่งมีประชากรปีละกว่า 7 ล้านคนทั่วโลกที่ต้องเสียชีวิตก่อนเวลาอันควรจากมลพิษทางอากาศ
บนเวทีเสวนา นายแพทย์พันศักดิ์ ได้เผยถึงการดำเนินงานของกระทรวงสาธารณสุขตลอดช่วงที่ผ่านมาว่า “จากสถานการณ์ฝุ่นละออง PM 2.5 ที่เกิดขึ้น เรามีการประเมินสถานการณ์ในทุกๆ วัน ผ่านการเฝ้าระวังสถานการณ์ฝุ่นละอองจากกรมควบคุมมลพิษ และนำข้อมูลเหล่านั้นแปลงเป็นสาระสำคัญสื่อสารไปยังหน่วยงานที่เกี่ยวข้องต่างๆ ต่อไป ขณะเดียวกันเรามีการเฝ้าระวังโรค โดยเฉพาะในกลุ่มเสี่ยงที่เป็นผู้สูงอายุ เด็กเล็กหญิงตั้งครรภ์ และกลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรังอย่าง หอบหืด หลอดลมอุดกั้นเรื้อรัง หัวใจและหลอดเลือด รวมทั้งจัดทําแนวทางการดูแลประชาชนกลุ่มเสี่ยง เปิดศูนย์ปฏิบัติการด้านการแพทย์และสาธารณสุข (EOC) และยังดำเนินการสื่อสาร แจ้งเตือนประชาชน ให้ข้อมูลความรู้กับทุกภาคส่วน พร้อมสนับสนุนการใช้ พ.ร.บ.สธ. 2535”
อย่างไรก็ตาม รองอธิบดีกรมอนามัย กล่าวทิ้งท้ายถึงภาพรวมที่มุ่งหวังให้เกิดการขับเคลื่อนอย่างแท้จริง นั่นคือการบริหารจัดการ ข้อมูลข่าวสารต่างๆ และการวิจัยของประเทศไทยเองที่จับต้องได้ สามารถเชื่อมโยงให้เห็นได้ชัดเจนว่า มลพิษทางอากาศก่อให้เกิดผลกระทบต่อสุขภาพของคนไทยจริงๆ ไม่ใช้เพียงค่าประมาณการ หรืองานวิจัยอ้างอิงจากต่างประเทศ ที่อาจจะไม่ใช่บริบทของคนไทย
สร้างระบบภูมิคุ้มกันให้กับ...ทรัพยากรฯ และสิ่งแวดล้อม
ด้านผู้แทนจากกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม นายพันศักดิ์ ถิรมงคล ผู้อำนวยการสำนักจัดการคุณภาพอากาศและเสียง ชี้ให้เห็นในเบื้องต้นว่า จากสภาพอุตุนิยมวิทยาในช่วงต้นปีที่มีสภาวะอากาศนิ่ง ลมสงบ ไม่เอื้อต่อการกระจายตัว ได้ส่งผลต่อการสะสมของฝุ่นในบรรยากาศอีกทั้งจากการเผาไหม้ของเชื้อเพลิงอันเกิดจากแหล่งกำเนิดต่างๆ อาทิ การคมนาคมและขนส่ง ภาคอุตสาหกรรม การเผาในที่โล่ง การก่อสร้าง และหมอกควันข้ามแดนจากประเทศใกล้เคียง ล้วนเป็นปัจจัยสำคัญที่มีผลต่อการเพิ่มขึ้นของ PM 2.5 ที่ประเทศไทยกำลังเผชิญ
ทั้งนี้ กรมควบคุมมลพิษได้จัดทำร่างแผนปฏิบัติการขับเคลื่อนวาระแห่งชาติ ในการแก้ไขปัญหามลพิษด้านฝุ่นละออง โดยมีสาระสำคัญภายใต้กรอบแนวคิดที่จะใช้หลักการจัดการเชิงรุก เน้นการป้องกันผลกระทบล่วงหน้า ด้วยการสร้างระบบภูมิคุ้มกันให้กับทรัพยากรฯ และสิ่งแวดล้อม โดยเฉพาะพื้นที่เสี่ยงหรือพื้นที่ที่มีปัญหามลพิษ เพื่อนํามาใช้เป็นแนวทางในการป้องกันความเสียหายหรือผลกระทบที่จะเกิดขึ้น พร้อมคํานึงถึงกิจกรรมที่จะก่อให้เกิดความเสี่ยง และเป็นอันตรายต่อสุขภาพอนามัยหรือสิ่งแวดล้อม ผ่าน 3 มาตรการสำคัญ ได้แก่
มาตรการที่ 1 : การเพิ่มประสิทธิภาพในการบริหารจัดการเชิงพื้นที่ โดยกําหนดเป็นแนวทางการดําเนินงานในระยะเร่งด่วน รวมถึงแนวทางปฏิบัติการแก้ไขปัญหาในช่วงวิกฤตในพื้นที่ที่มีปัญหาหรือพื้นที่เสี่ยง โดยอาศัยกลไกของระบบศูนย์สั่งการแบบเบ็ดเสร็จ (Single Command) โดยมีผู้ว่าราชการจังหวัดเป็นผู้บัญชาการเหตุการณ์ มาตรการที่ 2 : การป้องกันและลดการเกิดมลพิษจากแหล่งกำเนิด โดยให้หน่วยงานที่มีหน้าที่ตามกฎหมายออกกฎระเบียบ หรือแนวทางข้อบังคับในการแก้ไขปัญหาฝุ่นละออง มาตรการที่ 3 : การเพิ่มประสิทธิภาพการบริหารจัดการมลพิษ ผ่านการพัฒนาระบบ เครื่องมือ กลไกในการบริหารจัดการ รวมถึงศึกษาวิจัยเพื่อพัฒนาองค์ความรู้ด้านต่างๆ เพื่อเป็นข้อมูลประกอบการตัดสินใจและกําหนดแนวทางมาตรการป้องกันและแก้ไขปัญหาในอนาคต
เมื่ออุตสาหกรรมเติบโต ต้องเติบโตอย่างยั่งยืน
ขณะที่ นางสาวพะเยาว์ คำมุข ผู้อำนวยการกองวิจัยและเตือนภัยมลพิษโรงงาน ผู้แทนจากกระทรวงอุตสาหกรรม บอกเล่าถึงความคาดหวังในอีก 20 ปีข้างหน้าที่อยากเห็นการเจริญเติบโตของภาคอุตสาหกรรมในรูปแบบของ Green Industry ที่สามารถอยู่ร่วมกับประชาชนได้อย่างยั่งยืน โดยชี้ให้เห็นถึงมาตรการป้องกันและแก้ไขปัญหาฝุ่นละออง PM 2.5 จากภาคอุตสาหกรรม ผ่านการดำเนินงานการกำกับดูแลให้โรงงานระบายอากาศตามมาตรฐานที่กฎหมายกำหนด ทั้งในกลุ่มโรงงานทั่วไป กลุ่มโรงงานที่ก่อให้เกิดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม และกลุ่มโรงงานที่ก่อให้เกิดมลพิษสูง พร้อมตรวจสอบและเฝ้าระวังโรงงานเพื่อป้องกันการเกิดฝุ่นและมลพิษทางอากาศทั่วประเทศ รวมถึงการสุ่มตรวจวัดมลพิษทางอากาศในพื้นที่ที่มีโรงงานหนาแน่น
นอกจากนี้ ยังมีมาตรการส่งเสริมการใช้ยานยนต์ไฟฟ้าภายในประเทศ (S-Curve) ในการเปลี่ยนผ่านจากเครื่องยนต์ดีเซลเป็นเครื่องยนต์ไบโอดีเซล เร่งส่งเสริมการใช้ยานยนต์ไฟฟ้าหรือ EV ภายในประเทศ พร้อมพัฒนามาตรฐานการควบคุมปริมาณสารมลพิษอเสียของเครื่องยนต์จาก EURO 4 เป็น EURO 5 และยังมีการร่วมมือกับ METI ประเทศญี่ปุ่น จัดทำโครงการศึกษาแหล่งกำเนิดและผลกระทบของ PM 2.5 ในภาคอุตสาหกรรมไทย
มากกว่านั้น ภาคอุตสาหกรรมยังร่วมกับ ปตท. และ กทม. สร้างและติดตั้งเครื่องต้นแบบ “ระบบขจัดมลพิษแบบเคลื่อนที่” ในพื้นที่สาธารณะ 11 เครื่อง ควบคู่กับการขอความร่วมมือรณรงค์ประชาสัมพันธ์และกำหนดหลักเกณฑ์เกี่ยวกับการกำหนดให้ “ชาวไร่อ้อยไม่เผาอ้อย” และขอความร่วมมือจากสมาชิด ส.อ.ท. ดำเนินมาตรการการหยุดหรือลดกำลังการผลิตในบางช่วงเวลา การบำรุงรักษาเครื่องจักร และ Big Cleaning โรงงาน ร่วมด้วย
งบประมาณที่เสียไป… ต้องได้กลับมาอย่างคุ้มค่า
จากการกำหนดนโยบายต่างๆ หรือแม้แต่มาตรการจัดการที่แต่ละหน่วยงานได้จัดทำออกมานั้น ล้วนแล้วแต่ต้องใช้งบประมาณในการดำเนินการ แต่ประเด็นคือ เราจะใช้งบประมาณเหล่านั้นอย่างไรให้คุ้มค่าที่สุด? ดังนั้น นักวิชาการด้านเศรษฐศาสตร์จึงทำการตีมูลค่าจากมลพิษที่เกิดขึ้นว่าก่อให้เกิดต้นทุนกับสังคมไทยมากน้อยแค่ไหน เพื่อนำไปสู่การเลือกใช้มาตรการที่ดีที่สุดภายใต้ทรัพยากรและงบประมาณที่มีอยู่อย่างจำกัด โดยใช้วิธีทางเศรษฐมิติประมาณค่าความเต็มใจที่จะจ่ายต่อครัวเรือนสำหรับความเสียหายขั้นต่ำ อิงจาก PM 10 จำนวน 1 ไมโครกรัม/ลบ.ม. = 6,380 บาท/ปี และจากยอดจำนวนครัวเรือนในกรุงเทพจาก 2.89 ล้านครัวเรือน ดังนั้น สำหรับกรุงเทพฯ ทุกๆ 1 ไมโครกรัมต่อลบ.ม. ของ PM10 ที่เกินระดับปลอดภัย จึงสร้างความเสียหายมูลค่า 18,420 ล้านบาท/ปี ซึ่งในปี 2560 กรุงเทพฯ มีค่าเฉลี่ย PM10 = 44.21 ไมโครกรัม ต่อ ลบ.ม./ปี ดังนั้น เมื่อคำนวณแล้วจะพบว่าความเสียหายทั้งหมดที่เกิดขึ้นจากมลพิษทางอากาศจึงตีเป็นมูลค่าได้สูง 446,023 ล้านบาท/ปี
รศ.ดร.วิษณุ อรรถวานิช นักวิชาการด้านเศรษฐศาสตร์ ได้เสนอมาตรการจัดการผ่านการออกกฎหมายโดยใช้แนวคิดทางเศรษฐศาสตร์ที่อาศัยกลไกในการควบคุมพฤติกรรม หรือการสร้างแรงจงูใจ ไม่เน้นการบังคับอย่างเดียว โดยให้มีการจัดทำมาตรการทั้งระยะสั้น ระยะกลาง และระยะยาว ผ่านการสร้างความตระหนักรู้ถึงอันตรายของมลพิษ ลดมลพิษจากการเผาไหม้ของเชื้อเพลิงในรถยนต์ ลดมลพิษจากการเผาในภาคเกษตรและป่าไม้ ลดมลพิษจากการเผาไหม้ของเชื้อเพลิงจากกระบวนการผลิตในโรงงานอุตสาหกรรม ลดมลพิษที่มาจากประเทศเพื่อนบ้าน และประเมินผลสัมฤทธิ์ของมาตรการ
“มาตรการที่เสนอข้างต้นจะประสบผลสำเร็จอย่างยั่งยืนก็ต่อเมื่อ เรามีงบประมาณด้านสิ่งแวดล้อมที่เพียงพอและต่อเนื่อง ควบคู่ไปกับการริเริ่มนำกฎหมายอากาศสะอาดมาบังคับใช้ (Clean Air Act) พร้อมจัดตั้งหน่วยงานพิทักษ์สิ่งแวดล้อม (Environmental Protection Agency) และสำคัญที่สุดคือ การมีส่วนร่วมของภาคประชาชน” รศ.ดร.วิษณุ อรรถวานิชกล่าวทิ้งท้าย
“เคทีซี” ผู้นำธุรกิจบริการสินเชื่อเพื่อผู้บริโภคของไทย เผยทิศทางการทำ CSR ปี 2562 มุ่งเน้นการให้โอกาสทางการศึกษากับเยาวชนทุกกลุ่มแบบไม่มีข้อจำกัด โดยเฉพาะกลุ่มผู้บกพร่องทางร่างกาย ซึ่งมีศักยภาพในการพัฒนาและเรียนรู้ได้ โดยมีจุดมุ่งหมายเพื่อให้มีการนำไปปรับใช้และพัฒนาไปเป็นอาชีพในการเลี้ยงดูตนเอง และยังสามารถถ่ายทอดต่อให้ผู้อื่น เพื่อสร้างความยั่งยืนในสังคมในระยะยาว ซึ่งสอดคล้องกับแนวคิด SD
นางสาวอภิวันท์ บากบั่น ผู้อำนวยการ - ทรัพยากรบุคคล “เคทีซี” หรือ บริษัท บัตรกรุงไทย จำกัด (มหาชน) เผยว่า เคทีซีเป็นสถาบันการเงินที่เล็งเห็นถึงความสำคัญของการให้โอกาสทางการศึกษา และสนับสนุนการให้ความรู้กับคนในสังคม โดยเฉพาะการร่วมพัฒนาศักยภาพเยาวชนไทยให้มีคุณภาพอย่างไม่มีขีดจำกัด ผ่านการเรียนรู้ในเรื่องต่างๆ ที่เป็นประโยชน์ ด้วยเป้าหมายของการนำความรู้ที่ได้รับไปประยุกต์ต่อยอดในด้านต่างๆ ซึ่งสอดคล้องกับแนวคิดการพัฒนาที่ยั่งยืนด้านเศรษฐกิจ สังคม และสิ่งแวดล้อม (Sustainable Development Goals–SDGs) รวม 3 เป้าหมาย ได้แก่
1. การให้การศึกษาที่เท่าเทียม(Quality Education)
2. การมีสุขภาพและความเป็นอยู่ที่ดี (Good Health and Well-Being)
3. การบริโภคและการผลิตที่ยั่งยืน (Responsible Consumption and Production)
“เคทีซีจึงได้ริเริ่มโครงการ CSR ประจำปี 2562 “เรียนรู้ ต่อยอด ยั่งยืน” เพื่อร่วมเตรียมพร้อมให้นักเรียนรู้จักการพึ่งพาตนเอง โดยไม่มีข้อจำกัดเรื่องความบกพร่องทางกายเป็นอุปสรรค โดยได้รับความร่วมมือที่ดีจากโรงเรียนเศรษฐเสถียรฯ บรรจุโครงการนี้ไว้ในหลักสูตรการเรียนการสอนของนักเรียนระดับมัธยมศึกษาปีที่ 4-6 ซึ่งน้องๆ จะได้เรียนรู้ทฤษฎีและฝึกปฏิบัติการเกษตรเพื่อนำความรู้ที่ได้รับไปพัฒนาและต่อยอดสร้างอาชีพ สร้างรายได้ และบริหารการใช้จ่ายเพื่อการใช้ชีวิตที่มีความสุขอย่างยั่งยืน อีกทั้งรู้จักถ่ายทอดแบ่งปันให้กับสังคม โดยเราได้เลือกกระบวนการเพาะเห็ดออร์กานิคครบวงจร เพื่อทำกินและสร้างอาชีพเป็นโครงการนำร่อง โดยเริ่มตั้งแต่การเรียนรู้ชนิดของเห็ด กระบวนการเพาะเห็ด การแปรรูปเป็นวัตถุดิบในการประกอบอาหารกลางวัน ทำให้โรงเรียนประหยัดค่าใช้จ่าย รวมทั้งการพัฒนาผลิตภัณฑ์เพื่อ ต่อยอดสร้างอาชีพสร้างรายได้ ตลอดจนส่งเสริมให้นักเรียนรู้จักบริหารการใช้จ่าย และเรียนรู้การทำบัญชีรายรับ-รายจ่าย เพื่อใช้ในชีวิตจริงให้เกิดประโยชน์กับตนเองและครอบครัว สำหรับหลักสูตรการเรียนการสอน รวม 12 สัปดาห์ จะมีวิทยากรให้ความรู้จากผู้เชี่ยวชาญจากฟาร์มเห็ดโพธิ์ทอง อาจารย์โรงเรียน เศรษฐเสถียรฯ และเคทีซี โดยจะมีการประเมินความรู้ก่อนและหลังเรียนรวมทั้งเปิดเวทีให้น้องๆ นำเสนอผลงานในสัปดาห์สุดท้าย”
อาจารย์สายใจ สังขพันธ์ รองผู้อำนวยการฝ่ายวิชาการ โรงเรียนเศรษฐเสถียรในพระราชูปถัมภ์ กล่าวว่า “โรงเรียนเศรษฐเสถียรฯ ขอขอบคุณเคทีซีและทีมงานทุกฝ่าย ที่ให้ความสำคัญกับการพัฒนาอาชีพให้กับคนพิการ โครงการ CSR ครั้งนี้ เน้นการออกแบบกิจกรรมที่เปิดโอกาสให้นักเรียนได้เรียนรู้ฝึกทักษะสร้างอาชีพและสร้างรายได้ ในรูปแบบ “เรียนรู้ ต่อยอด ยั่งยืน” เชื่อมโยงกับการจัดการเรียนการสอนบูรณาการแบบโครงงานเพาะเห็ดในโรงเรียน นักเรียนจะได้ฝึกปฏิบัติจริงลงพื้นที่จริงกับวิทยากรที่มีความเชี่ยวชาญ และอาจารย์จะร่วมถ่ายทอดด้วยภาษามือ เพื่อให้สอดคล้องกับศักยภาพของนักเรียนที่มีความบกพร่องทางการได้ยิน ซึ่งจะเรียนรู้ได้ดีจากการมองเห็นและสัมผัสจริง นอกจากนั้นเห็ดที่เกิดขึ้นจากการเพาะในโครงการ ยังสามารถนำไปเป็นอาหารหรือจำหน่ายเป็นรายได้ ก็จะทำให้นักเรียนมีความเข้าใจในการทำอาชีพมากขึ้น สร้างแรงบันดาลใจให้เกิดความคิดในเชิงบวกต่ออาชีพ จะได้คิดเป็นทำเป็น และเป็นความยั่งยืนในการนำความรู้ที่ได้ไปใช้ประกอบอาชีพจริงด้วยความภาคภูมิใจในตนเองและของผู้ปกครอง”
นางสาวฐิติรัตน์ พ่วงโพธิ์ทอง เจ้าของ “ฟาร์มเห็ดโพธิ์ทอง” เกษตรกรผู้เชี่ยวชาญด้านการเขี่ยเชื้อเห็ดและการเพาะเห็ด กล่าวถึงกระบวนการเพาะสายพันธุ์เห็ดเศรษฐกิจ การต่อยอดทางอาชีพตามวิถีเกษตรพอเพียงว่า “จากประสบการณ์การทำงานและอยู่ในกระบวนการเพาะเห็ดอย่างครบวงจรมามากกว่า 30 ปี ตลอดจนทำการแปรรูปเป็นอาหารคาว-หวานและเครื่องดื่ม ซึ่งนำมาสู่การต่อยอดเป็นอาชีพตามวิถีเศรษฐกิจพอเพียงของในหลวงรัชกาลที่ 9 ครั้งนี้จึงมีความรู้สึกยินดีและเป็นเกียรติที่ได้ร่วมเป็น ส่วนหนึ่งของกิจกรรมเพาะเห็ดต่อยอดอย่างยั่งยืน โดยน้องๆ โรงเรียนเศรษฐเสถียรฯ จะได้เรียนรู้การ เพาะเห็ดแบบไม่ใช้สารเคมี ไม่ทำลายสิ่งแวดล้อม และเมื่อเรียนแล้วสามารถนำไปทำเองที่โรงเรียนได้ สิ่งที่ได้รับจากการเพาะเห็ดจะเป็นประโยชน์ในภายภาคหน้า เพราะเรียนรู้จากผู้มีประสบการณ์จริงและสามารถทำได้จริง ดีใจที่จะได้ร่วมกับเคทีซีและโรงเรียนในการสร้างแนวทางให้กับนักเรียน รวมทั้งประสบการณ์ที่ได้รับนั้นจะเป็นแนวทางให้นักเรียนสร้างรายได้ สร้างความสุขและสร้างความยั่งยืนในอนาคต”
นางสาวอภิวันท์ กล่าวปิดท้าย “การที่เคทีซีเลือกการเพาะเห็ดเป็นหลักสูตรให้กับโรงเรียน เศรษฐเสถียรฯ เพราะเห็ดเป็นผักที่ได้รับความนิยม มีรสชาติดีและมีคุณค่าทางอาหารสูง สภาพดินฟ้าอากาศของไทยเหมาะต่อการเจริญเติบโต และยังได้ผลผลิตสูง ขายง่าย ได้ราคาดี เป็นที่ต้องการของตลาด วิธีการเพาะเห็ดก็ทำได้ง่ายและลงทุนไม่มาก จึงน่าจะเรียนรู้และนำไปพัฒนาต่อได้ไม่ยาก โดยเคทีซียังได้สร้างโรงเรือนเพาะเห็ดในโรงเรียนเศรษฐเสถียรฯ เพื่อประกอบการเรียนการสอน และหวังอย่างยิ่งว่านักเรียน และบุคลากรโรงเรียนเศรษฐเสถียรฯ จะได้รับประโยชน์จากองค์ความรู้ที่เคทีซีตั้งใจมอบให้ เพื่อเป็นแหล่งความรู้ และส่งต่อการเรียนรู้จากรุ่นสู่ร่นต่อไป”
การทำงานร่วมกันของกลุ่มบุคคลจากหลากหลายเพศสามารถนำมาซึ่งโซลูชันที่สร้างสรรค์และแปลกใหม่ด้วยมุมมองที่แตกต่างจะส่งผลให้เกิดผลงานที่สมบูรณ์ อย่างไรก็ตามการเหมารวมว่าวงการเทคโนโลยีเป็นอุตสาหกรรมสำหรับผู้ชายเป็นหลักนั้นอาจ
เอสซีจี โดยนายชนะ ภูมี Vice President-Cement and Construction Solution Business เอสซีจี ซิเมนต์-ผลิตภัณฑ์ก่อสร้าง และนายศาณิต เกษสุวรรณ ผู้อำนวยการ-ธุรกิจสัมพันธ์และพัฒนาอย่างยั่งยืน ธุรกิจซิเมนต์-ผลิตภัณฑ์ก่อสร้าง ร่วมกับกองทัพบก และเครือข่ายจิตอาสา ส่งมอบถังเก็บน้ำผลิตด้วยวัสดุพอลิเมอร์ “เอลิเซอร์” ของเอสซีจี จำนวน 115 ถัง ให้แก่ นายศุภชัย เอี่ยมสุวรรณ ผู้ว่าราชการจังหวัดเชียงใหม่ จำนวน 50 ถัง และนายทรงพล สวาสดิ์ธรรม ผู้ว่าราชการจังหวัดลำปาง จำนวน 65 ถัง เพื่อช่วยเหลือเเละบรรเทาภัยแล้งระยะเร่งด่วนแก่ผู้ประสบภัยในพื้นที่จังหวัดเชียงใหม่ และลำปาง ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งในกิจกรรม “เฉลิมราชย์ราชา จิตอาสาบรรเทาภัยแล้ง” ที่ร่วมเฉลิมพระเกียรติเเละถวายเป็นพระราชกุศล เนื่องในมหามงคลสมัยที่พระบาทสมเด็จพระปรเมนทรรามาธิบดีศรีสินทรมหาวชิราลงกรณ พระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 10 เสด็จขึ้นครองราชย์ พร้อมเชิญชวนจิตอาสาระดมพลังสร้างฐานติดตั้งถังเก็บน้ำจากวัสดุรีไซเคิลที่เหลือจากการก่อสร้าง ซึ่งออกแบบโดยทีมงานเอสซีจีให้สอดคล้องกับแนวทาง SCG Circular Way หรือการใช้ทรัพยากรให้คุ้มค่าที่สุด และนำกลับมาใช้ใหม่ให้เกิดประโยชน์สูงสุด สำหรับประชาชนที่สนใจเข้าร่วมเป็นจิตอาสาในโครงการ “เฉลิมราชย์ราชา” สามารถติดตามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ทาง www.scg.com/volunteerproject
เอสซีจี ยังคงมุ่งมั่นสร้างเครือข่ายจิตอาสาทั่วประเทศ โดยอาศัยการมีส่วนร่วมของชุมชนและภาคีเครือข่ายเป็นหัวใจสำคัญ พร้อมเชิญชวนทุกภาคส่วนให้ร่วมเป็นส่วนหนึ่งของโครงการ “เฉลิมราชย์ราชา” ผ่านการดำเนิน 3 กิจกรรมหลัก ได้แก่ กิจกรรม “เฉลิมราชย์ราชา จิตอาสาบรรเทาภัยแล้ง” กิจกรรม “เฉลิมราชย์ราชา จิตอาสารักษ์น้ำ” และกิจกรรม “เฉลิมราชย์ราชา จิตอาสาพัฒนาโรงพยาบาลสมเด็จพระยุพราชทั่วไทย” เพื่อสร้างพลังที่เข้มแข็ง อันจะนำไปสู่การผลักดันสังคม และชุมชนให้มีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น และสามารถพึ่งพาตนเองได้ ซึ่งช่วยขับเคลื่อนประเทศให้เกิดความยั่งยืน และสร้างโลกที่น่าอยู่สำหรับคนรุ่นต่อไป
ประเด็นด้านสิ่งแวดล้อมกำลังเป็นสิ่งที่ทั่วโลกให้ความสนใจ ซึ่งทุกคนไม่ว่าจะอยู่ในฐานะผู้บริโภคหรือผู้ผลิตต่างก็เป็นส่วนสำคัญที่จะช่วยรักษาสิ่งแวดล้อม ด้วยการใช้ทรัพยากรที่มีอยู่อย่างจำกัดให้คุ้มค่าที่สุด โดยการใช้ให้น้อยและนานที่สุด หรือ
บมจ.ไทยสมุทรประกันชีวิต รักคือพลังของชีวิต โดย คุณนุสรา (อัสสกุล) บัญญัติปิยพจน์ กรรมการผู้จัดการ ประกาศเดินหน้าเข้าสู่ปีที่ 70 ด้วยการส่งมอบพลังความรักให้ชุมชนสามารถก้าวเดินไปข้างหน้าได้อย่างแข็งแกร่ง ด้วยการสร้างฐานรากที่มั่นคงทางอาชีพและรายได้ โดยในปี 2562 ได้ดำเนินโครงการ “ไทยสมุทร รักชุมชนไทย” ต่อเนื่องเป็นปีที่ 6 ภายใต้เจตนารมย์ “ปั้นแบรนด์ไทย ไปอินเตอร์”
ด้วยการคัดเลือกชุมชนภายในโครงการที่มีศักยภาพ นำมาพัฒนาอาชีพอย่างเจาะลึก ด้วยหลักสูตรที่เข้มข้นจากวิทยากรมืออาชีพ ตั้งแต่กระบวนการผลิต พัฒนาผลิตภัณฑ์ โดยคำนึงถึงความสอดคล้องกับความสามารถและทักษะของสมาชิกในชุมชน ในขณะที่ยังคงดำรงไว้ซึ่งอัตลักษณ์ของชุมชน ทำให้เมื่อต้นปีที่ผ่านมา ผลิตภัณฑ์จากกลุ่มจักสานจากต้นคล้า บ้านโนนสะอาด อำเภอทุ่งฝน จังหวัดอุดรธานี ภายใต้แบรนด์ “มือดี” ได้รับการคัดเลือกให้จัดแสดงผลงาน และร่วมแฟชั่นโชว์ในงาน Bangkok Design Week 2019 จัดโดย Thailand Creative & Design Center (TCDC) ด้วยการยกระดับงานจักสานกระติ๊บข้าวในรูปแบบเดิม ๆ ปรับเปลี่ยนแนวคิดเป็นกระเป๋าดีไซน์เก๋ ทำให้ได้รับการยอมรับในวงกว้าง
OCEAN LIFE ไทยสมุทร ยังคงมุ่งมั่น สร้างมูลค่าเพิ่มให้กับผลิตภัณฑ์จากชุมชน ด้วยการผลักดันให้เป็นผลิตภัณฑ์ระดับประเทศ ที่สามารถก้าวไกลสู่ระดับโลกได้ในอนาคต สร้างชุมชนที่เข้มแข็ง ตอกย้ำการส่งผ่านความรัก และความปรารถนาดีให้กับชุมชนทั่วไทยต่อไป